เจาะ 5 ขุมพลัง ‘AIS Business’ และรายแรกที่บุก ‘Thailand Digital Valley’ เตรียมพร้อมติดปีกอุตสาหกรรมไทยเติบโตยั่งยืน


นับตั้งแต่การระบาดของโควิด ทำให้หลายองค์กรตระหนักและเริ่มนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทรานส์ฟอร์ม โดย AIS Business ผู้นำบริการด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อองค์กรภาคธุรกิจของไทย ได้เผยถึง 5 ขุมพลังดิจิทัล รวมถึงการเปิด AIS Evolution Experience Center ในพื้นที่ Thailand Digital Valley ให้องค์กรได้เข้าไปสัมผัสว่า เทคโนโลยีของ AIS Business จะช่วยติดสปีดการทำงานขององค์กรธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ให้ชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันให้ประเทศ ได้อย่างไรบ้าง


รู้จัก 5 ขุมพลังด้านดิจิทัล

ภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS เล่าว่า จากการที่ เอไอเอส พูดคุยกับลูกค้าองค์กรถึงสถานการณ์และความท้าทายที่ต้องเผชิญในปัจจุบันพบว่า มี 4 ปัจจัย หลัก ๆ ได้แก่

  • Digital Disruption
  • สงครามการค้า
  • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ปัญหา Climate Change

“สถานการณ์การดิสรัปต์มันชัดตั้งแต่ช่วงโควิด ทำให้ฝั่งธุรกิจมองหาเทคโนโลยีมาช่วย แต่เรายังเชื่อมั่นในโมเดลของเราก็คือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน นั่นแปลว่า มันไม่สามารถทำได้ด้วยคนเดียว ดังนั้น ทิศทางของ AIS Business คือ Digital Evolution: Sustainable Business for a Sustainable Nation เพื่อทรานส์ฟอร์มธุรกิจและประเทศชาติอย่างยั่งยืน”

จากแนวคิด Sustainable Business for a Sustainable Nation ของ AIS Business ได้สร้างสรรค์ 5 ขุมพลังด้านดิจิทัล ประกอบด้วย

  • 5G Ecosystem ขุมพลัง 5G อัจฉริยะ : จากศักยภาพและคลื่นความถี่ซึ่งมีมากที่สุดในรูปแบบหลากหลายทั้ง Network Slicing, Private Network เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นด้วยศักยภาพของ Paragon Platform แพลตฟอร์มที่รวบรวม 5G โซลูชันส์ อาทิ 5G Network Orchestrator, MEC, Edge, Cloud,  Application Ecosystem มีกว่า 17 องค์กร ที่เริ่มใช้งานจริงแล้วเช่นกัน

Intelligent Network and Infrastructure ขุมพลังแห่งโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ ครบครันตั้งแต่ On-Premise Cloud ไปจนถึงระดับไฮเปอร์สเกล การันตีด้วยรางวัล Microsoft Partner of the Year – Thailand 3 ปีซ้อน (2022-2024), ผู้ให้บริการ Broadcom’s VMware Cloud Service Provider อันดับหนึ่งในไทย พร้อมความร่วมมือกับ Oracle เพียงรายเดียวในประเทศที่จะทำให้บริการ Cloud พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ องค์กรต่าง ๆ สามารถแสดงความจำนงการใช้บริการศูนย์ GSA ดาต้าเซ็นเตอร์ จากความร่วมมือของ Gulf, Singtel และ AIS ขนาดกว่า 20 เมกะวัตต์ ที่มุ่งนำเทคโนโลยีล้ำสมัยจากพลังงานสะอาดได้แล้ว ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2025

  • AI and Data Analytics ขุมพลังแห่งปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ที่พร้อมเปิดตัวบริการ Analytic X บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Insight) ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการวางกลยุทธ์และสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างตรงจุด
  • Digital Platform and APIs ขุมพลังแห่งการเชื่อมต่อ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล อย่าง AIS Open APIs มาตรฐานระดับโลกของ GSMA และ CAMARA ที่ทำให้นักพัฒนา สามารถออกแบบบริการที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และ AIS CPaaS – Communication Platform as a service แพลตฟอร์มการสื่อสารในรูปแบบบนคลาวด์ ที่ช่วยยกระดับการสื่อสารขององค์กรให้สามารถสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ ทั้ง เสียง วิดีโอ และ SMS
  • Industry Transformation ขุมพลังการยกระดับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยเน้นให้ความสำคัญกับองค์กรในทุกระดับ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต, ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก, ธุรกิจ SME, องค์กรสาธารณะและภาครัฐ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ EEC จึงเป็นที่มาของการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง


ใช้ได้ทุกระดับ ไม่จำกัดแค่องค์กรใหญ่

นอกเหนือจากลูกค้าองค์กรระดับโลกมากมายที่เป็นลูกค้าเอไอเอส ไม่ว่าจะเป็น Midea ผู้นำการผลิตเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่ ได้เลือกใช้ AIS Dedicated 5G Private Network เป็นโครงข่ายหลักในการทำ Smart Factory รวมถึงบริษัท Mitsubishi Electric, Schneider Electric, AI and Robotics Ventures ที่ใช้เน็ตเวิร์ก 5G ของเอไอเอส หรือแม้กระทั่ง ไปรษณีย์ไทย ที่ใช้ AIS CPaaS เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบุรุษไปรษณีย์กับผู้รับ ผ่านระบบสมาร์ทคอล เป็นต้น SME ก็ยังเป็นกลุ่มที่เอไอเอสให้ความสำคัญ โดยหลายบริการนั้นเป็นแบบ Pay per use หรือ จ่ายเท่าที่ใช้งาน

“บริการเราหลายตัวเป็นแบบ Pay per use ดังนั้น ไม่จำกัดแค่ลูกค้ารายใหญ่ แต่ธุรกิจขนาดกลางหรือเล็กก็ใช้เราได้ทั้งหมด เราเน้นที่ธุรกิจแบ่งปัน ดังนั้น เราต้องการสร้างอีโคซิสเต็มส์ให้ได้จริง ๆ” ภูผา ย้ำ

ปัจจุบัน เอไอเอสโฟกัสใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต, โลจิสติกส์, ภาครัฐ, แบงก์ และ SME โดยเอไอเอสจะมีทีมที่ดูแลแต่ละอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เพื่อนำความต้องการ ฟีดแบกต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นเซอร์วิส

บริการไหนมีความต้องการมากสุด ขึ้นอยู่กับมุมมองหรือช่วงเวลาที่ต่างกันขององค์กรนั้น ๆ แต่ตอนนี้เราเห็นการใช้งานคลาวด์มากที่สุด เราเองก็พยายามจะลงทุนกับตรงนี้ และเรามั่นใจว่าสามารถตอบสนองความต้องการที่แอดวานซ์ของลูกค้า เพราะเรามีความยืดหยุ่น ที่สำคัญยังตรงตามกฎหมายไทย”


บุก Thailand Digital Valley เป็นรายแรก

นอกจากนี้ AIS Business ได้เป็นองค์กรแรกที่เข้ามาใน Thailand Digital Valley ผลงานการพัฒนาพื้นที่ของ depa ใน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใต้ชื่อ AIS EEC  หรือ AIS Evolution Experience Center โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เป็นศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ อาทิ 5G, Cloud, AI & Data Analytics, Digital Platform และยังเป็นพื้นที่ ที่เปิดให้สำหรับการทดสอบ ทดลองเชิงปฏิบัติ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมบนเครือข่าย และระบบนิเวศดิจิทัล สัมผัสประสบการณ์การนำเทคโนโลยีมาใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

สำหรับ AIS Evolution Experience Center หรือ AIS EEC โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • Exhibition Area
  • Meeting Area
  • Laboratory Area
  • Matching Area

“เราเชื่อมั่นว่าเราต้องเป็นคนเริ่ม เพื่อดึงองค์กรหรือโรงงานใน EEC ให้มาร่วมกับเรา และเรามั่นใจว่าเราเป็นบริษัทที่มองเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักจะช่วยดึงดูดพาร์ทเนอร์ เพราะธุรกิจทำคนเดียวไม่ได้ต้อง Co-Create เพื่อช่วยให้ธุรกิจและประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” ภูผา ทิ้งท้าย