กรี๊ด “คาวาอิ คัลเจอร์” เคแบงก์ส่งคิตตี้เซย์ฮัลโหล

แมวเหมียวแสนน่ารัก “เฮลโล คิตตี้” ตัวการ์ตูนของผู้หญิงทั่วโลก เป็น “คาแร็กเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง” ล่าสุดที่เคแบงก์นำมาชิงลูกค้าบัตรเดบิต หลังจากพิสูจน์แล้วว่ากลยุทธ์นี้สำเร็จจริงจากการทำตลาดบัตรเดบิต “พอล แฟรงค์” และ “แองกรี้ เบิร์ดส” ก่อนหน้านี้

“ศีลวัต สันติวิสัฎฐ์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ เคแบงก์ บอกว่า ยุคนี้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายด้วยสิทธิประโยชน์หรือ Functional อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Emotional ด้วย และตัวการ์ตูนน่ารักคือจุดที่ง่ายที่สุดในการดึงความสนใจกลุ่มเป้าหมาย

“เฮลโล คิตตี้” มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง แน่นอนว่าการบุกครั้งนี้เคแบงก์ต้องการดึงกลุ่มผู้หญิงเป็นหลัก จากเดิมที่ลิงซ่า “พอล แฟรงค์” สามารถดึงกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์ทันสมัยมาใช้บัตรได้ 1 แสนบัตร และนกยั้วะ “แองกรี้ เบิร์ดส์” ดึงกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y ที่ชอบเทคโนโลยี เล่นเกม ได้แล้ว 3 แสนบัตร ถึงสิ้นปีตั้งเป้าหมายไว้ 5 แสนบัตร 

ส่วนบัตรแมวเหมียวนี้ตั้งเป้าไว้ 3 แสนบัตร รวมลูกค้าเคแบงก์จะถือบัตรเดบิตที่มีลวดลาย ”การ์ตูน” ประมาณ 9 แสนบัตร ซึ่ง 30% หรือเกือบ 3 แสนคือลูกค้าใหม่ที่มาเปิดบัญชีเงินฝากกับเคแบงก์ โดยตั้งเป้าหมายผู้ใช้บัตรเดบิตใหม่ปีนี้เพิ่มสุทธิ 2 ล้านบัตร รวมสิ้นปี 2555 มีที่ลูกค้ารวม 9 ล้านบัตร

งานนี้เคแบงก์มั่นใจว่าจะทะลุความต้องการของผู้หญิง เพราะใช้ Emotional ได้ผลกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะการตาม “วัฒนธรรมคาวาอิ” หรือการชอบความน่ารักสไตล์ญี่ปุ่น 

ส่วนผลนั้นคาดหวังยอดไว้สูง โดยไม่ได้โปรโมตแบบ Full Campaign ไม่มีทีวีซี มีแค่อีเวนต์และตกแต่งสาขา และอาศัยบอกปากต่อปาก ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ค่าลิขสิทธิ์ที่ประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งแพงกว่าพอล แฟรงค์ ไม่ถึง 10 ล้านบาท และไม่ได้ทำแคมเปญใหญ่ และ แองกรี้ เบิร์ดส์ รวมลิขสิทธิ์และแคมเปญเต็มที่ด้วยงบกว่า 40 ล้านบาท

การทุ่มทุนและปักธงจุดขายชัดเจน ทำให้ลูกค้านึกถึงเมื่ออยากได้บัตรเดบิตการ์ตูนที่ชอบของเคแบงก์ทำให้ทุกวันนี้ยังไม่จบที่ “เฮลโล คิตตี้” เพราะทุกวันนี้ ”ศีลวัต” บอกว่าลูกค้ามีเสนอมาตลอดเวลาอยากได้คาแร็กเตอร์ต่างๆ นี่คือการบ้านต่อสำหรับเคแบงก์ในการหามาจัดให้ลูกค้า เพื่อขยับจากตำแหน่งเบอร์ 2 ของตลาด รองจากไทยพาณิชย์ ขึ้นเป็นผู้นำของตลาดบัตรเดบิตให้ได้

Profile เฮลโลคิตตี้

เฮลโล คิตตี้ เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทซานริโอ ชื่อเล่น คือ ”คิตตี้จัง” ผู้ออกแบบคนแรกคือ ”อิคุโกะ ซิมิชุ เมื่อ 1 พ.ย.1974 คนต่อมาคือ เซ็ตสึโกะ โยนิคุโบะ และปัจจุบันคือ ยูโกะ ยามางูชิ เป็นคาแร็กเตอร์การ์ตูนที่ออกโลดแล่นมีชีวิตในหนัง ซีรี่ส์ และบนสินค้าประเทศต่างๆ ตั้งแต่เครื่องประดับราคาแพง สายการบิน ธุรกิจการเงิน โทรศัพท์มือถือ จนถึงขนมขบเคี้ยว

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>Infographic
68,893,243 ใบ คือจำนวนบัตรเงินพลาสติกในไทย ณ
สิ้นปี้ 2554 15,328,291 ใบ เป็นบัตรเครดิต ใช้จ่ายต่อบัตร
4,192 บาทต่อเดือน 16,201,587 ใบ เป็นบัตรเอทีเอ็ม
ถอนเงินสดต่อบัตร 7,731 บาทต่อเดือน *37,363,365 ใบ เป็นบัตรเดบิต – ใช้บัตรรูดใช้จ่าย 181
บาทต่อเดือน – ใช้บัตรถอนเงินสด 9,531
บาทต่อเดือน *คนไทยยังนิยมใช้เงินสดในการจับจ่ายใช้สอยแม้จะถือบัตรเดบิตกันมากที่สุดก็ตาม style=”font-weight: bold;”>ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้บัตรเงินสดเดบิต 1. กลุ่มที่ใช้แต่บัตรเครดิต
ไม่ใช่บัตรเดบิตเลย 2. กลุ่มที่ยังไม่มีบัตรเครดิต
เพราะเริ่มทำงาน เงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์ 15,000 บาท เป็น เจนฯY
อยากมีบัตรเดบิตไว้รูดซื้อสินค้าเพราะดูเท่กว่าใช้เงินสด 3. กลุ่มมีทั้งบัตรเครดิตและเดบิต
แต่ต้องการคุมการใช้จ่ายจึงใช้บัตรเดบิตเป็นหลัก ที่มา :
เคแบงก์