“ซีทีเอช” บิ๊กคอนเนกชั่น อำนาจใหม่ดึงโฆษณา

จากเครือข่ายเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่ตอบโจทย์รสนิยมของผู้ชมในแต่ละอำเภอ แต่ละจังหวัด ด้วยคุณภาพตามราคา ภาพนี้กำลังเปลี่ยน …กลายเป็นเครือข่ายเคเบิลทีวีที่ทันสมัย อินเตอร์แอคทีฟ ออนดีมานด์ มีพลังพอที่จะดึงเม็ดเงินโฆษณามากขึ้น จากการเข้ามาของกลุ่มทุนที่ลงทุนด้วยเม็ดเงินหลายหมื่นล้าน ด้วยความมั่นใจว่าโลกใหม่ธุรกิจทีวีมาถึงแล้ว

ชื่อของบริษัทเคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ซีทีเอช เป็นที่รู้จักเฉพาะในวงการเคเบิลทีวีท้องถิ่นมาหลายปีเพราะเป็นบริษัทตัวแทนของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ในการต่อรองกับเอเยนซี่โฆษณา และซื้อรายการมาให้สมาชิกออกอากาศ ทำธุรกิจแบบเงียบๆ ไม่หวือหวา และขาดทุน

แต่เมื่อ “วิชัย ทองแตง” อดีตทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีซุกหุ้น และนักลงทุนเจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลพญาไทและกรุงเทพ จับมือมากับทายาทของ นสพ.ไทยรัฐ ประกาศซื้อหุ้นในซีทีเอช พร้อมลงทุน 25,000 ล้านบาท ในการวางเครือข่ายส่งสัญญาณทีวี ทำให้ซีทีเอชกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในสปอตไลต์ทันที เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เม็ดเงิน  

และล่าสุดเมื่อบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เข้ามาถือหุ้นด้วย ยิ่งทำให้ซีทีเอชถูกจับตามอง 

นี่คือความเคลื่อนไหวของผู้เล่นหน้าใหม่ที่มากด้วยคอนเนกชั่น ผ่านโมเดลการลงทุนอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเป็นเจ้าของเครือข่ายไปจนถึงคอนเทนต์ และที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มพลังกลุ่มเคเบิลทีวีท้องถิ่นในการทำเงินจากโฆษณา 

“วิชัย” เล่าให้ฟังถึงอนาคตซีทีเอชว่า เขาและผู้ร่วมทุนเข้ามาพร้อมกับเงินทุน และไอเดียธุรกิจที่จะทำให้ภาพของเคเบิลทีวีท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง โดยผู้ร่วมทุนพร้อมลงขัน ตั้งแต่การเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมซีทีเอชมีทุนจดทะเบียนอยู่เพียง 50 ล้านบาท เพิ่มเป็น 150 ล้านบาท และจะกลายเป็น 1,000 ล้านบาทในเร็วๆ นี้ จนถึงการลงทุน 25,000 ล้านบาท เพื่อทำให้บริการดีขึ้น ทำให้ซีทีเอชเลิกขาดทุนที่สะสมอยู่ปัจจุบัน 100 ล้านบาท กลายเป็นธุรกิจที่กำไรและพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

การลงทุนของซีทีเอช จะลงทุนด้านเครือข่าย ที่ทำให้การส่งสัญญาณรายการบนเครือข่ายเคเบิลทีวีทันสมัยขึ้น ที่ขณะนี้ทีมผู้บริหารของซีทีเอชกำลังพิจารณาเลือกเทคโนโลยี ซึ่งความทันสมัยนี้ “วิชัย” บอกว่าจะทำให้ผู้ชมสามารถซื้อรายการที่ต้องการชมได้แบบออนดีมานด์ ผู้ชมสามารถอินเตอร์แอคทีฟกับรายการทีวีได้ และที่สำคัญระบบจะทำให้วัดเรตติ้งได้ว่ารายการใดฮิต มีเรตติ้งดี 

แม้ “วิชัย” จะไม่ได้คร่ำหวอดในวงการโฆษณามาก่อน แต่ก็รู้ดีว่าโฆษณาต้องการอะไร ดังนั้นไม่เพียงเรตติ้งเท่านั้น แต่ระบบยังสามารถวัดได้ว่าโฆษณาที่ออนแอร์อยู่นั้น ผู้ชมดูจนจบหรือไม่ หรือดูอยู่แค่กี่วินาที โดยมีเซ็กเมนต์ผู้ชมให้เลือกในการเจาะกลุ่มเป้าหมาย ตามจำนวนช่องที่เตรียมไว้ถึง 120 ช่องรายการ

“ซีทีเอช” ซึ่งไม่ได้นับหนึ่งในการรุกธุรกิจทีวี แต่คือการต่อยอดจากปัจจุบัน ที่มีทรัพยากรสำคัญคือจำนวนสมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ 3.5 ล้านครัวเรือน ที่จ่ายค่าบริการสมาชิกรายเดือนเฉลี่ย 300 บาท 

“วิชัย” บอกว่าซีทีเอชจะมีอำนาจในการต่อรองกับทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์รายการทั้งในและต่างประเทศ และต่อรองกับสินค้าหรือเอเยนซี่ที่ต้องการลงโฆษณา ที่อนาคตรายได้หลักนอกจากค่าสมาชิกแล้วยังมาจากเม็ดเงินโฆษณาด้วย

 

“แกรมมี่” ร่วมขบวนแบบได้กับได้

ความแรงของกลุ่ม “ซีทีเอช” จึงทำให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) แทบจะไม่ลังเลในการร่วมทุน เพื่อให้ซีทีเอชเป็นอีกขาหนึ่งในการขยายฐานผู้ชม ที่แกรมมี่ได้รุกก่อนหน้านี้ด้วยธุรกิจจากและกล่องรับสัญญาณดาวเทียมในนามจีเอ็มเอ็ม แซท

“วัชร วัชรพล” ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ บุตรชายของ “ยิ่งลักษณ์ วัชรพล” ในฐานะผู้ถือหุ้นในซีทีเอช บอกว่าการมีพันธมิตรถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้ซีทีเอช ทำให้ผู้ชมได้รับชมรายการหลากหลาย ตอบโจทย์ธุรกิจ ที่ซีทีเอชต้องมีรายการหลากหลายมาบริการผู้บริโภค

แน่นอนว่าอนาคตคอนเทนต์ของกลุ่มสื่อยักษ์อย่างไทยรัฐจะเข้าถึงผู้ชมของซีทีเอชด้วย

อย่างที่ “ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม” ประธานกรรมการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บอกว่า การร่วมทุนครั้งนี้ในเบื้องต้นทำให้แกรมมี่สามารถนำคอนเทนต์ หรือรายการที่มีอยู่ และลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศ อย่างล่าสุดกับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ให้เครือข่ายเคเบิลทีวีซีทีเอชรับชม

สิ่งที่ตามมาชัดเจนคือแกรมมี่สามารถแปรจาก “ฟรีคอนเทนต์” ให้เป็นรายได้ เพราะที่ผ่านมาเคยให้คอนเทนต์ฟรีกับเคเบิลทีวีท้องถิ่นมานาน ต่อไปแกรมมี่จะมีรายได้จากการขายคอนเทนต์ให้ซีทีเอชไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

นอกเหนือจากที่ซีทีเอชเสริมให้มีผู้ชมทางสายเคเบิล และส่วนในพื้นที่ที่สายไม่ถึง จะชมระบบดาวเทียมจีเอ็มเอ็ม แซท และการร่วมทุนครั้งนี้แน่นอนว่าทำให้การต่อรองซื้อคอนเทนต์มีอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะการร่วมกันประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ

“ซีทีเอช” กับความเปลี่ยนแปลง ทำให้กลุ่มสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยต้องลดความเป็นเจ้าของ แม้หลายคนอาจเสียใจหรือไม่พอใจ แต่ท่ามกลางการแข่งขันธุรกิจทีวีอย่างรุนแรง ท่ามกลางผู้ชมที่หลากหลายและเปลี่ยนไป เพราะมีทางเลือกมากขึ้น การเป็นเจ้าของ 100% อาจไร้ความหมาย ถ้าผู้ชมค่อยๆ หายไป 

ทางเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้คือเงินทุน เทคโนโลยี  และอำนาจต่อรอง เพื่อทำให้ผู้ชมยังอยู่ด้วยกันตลอดไป

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

โมเดลธุรกิจ
ซีทีเอช

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>

ผู้ถือหุ้นบริษัทไทยโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ซีทีเอช

1.กลุ่มผู้ให้บริการเคเบิลทีวีท้องถิ่น
30% 2.วิชัย ทองแตง ทนายความ
เจ้าของและผู้บริหารเครือโรงพยาบาลพญาไท และนักลงทุน 23.5% 3.ยิ่งลักษณ์ วัชรพล ทายาท
และผู้บริหารระดับสูง นสพ.ไทยรัฐ 23.5% 4.บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด
(มหาชน) 23%

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>

ทุนจดทะเบียน

1,000 ล้านบาท เงินลงุทน 25,000 ล้านบาท ภายใน 4
ปี (14,000 ล้านบาท ลงทุนจัดซื้อกล่องรับสัญญาณ Set Top Box สำหรับผู้ชม)

เทคโนโลยี เป็นเครือข่ายเคเบิลใยแก้ว
ส่งความเร็วที่เสถียร เร็ว และสามารถสื่อสารได้สองทาง
ทำให้บริการทีวีแบบอินเตอร์แอคทีฟ ทีวีออนดีมานด์
และออกอากาศในระบบดิจิตอล ผ่านเครือข่ายทั้งทางสายเคเบิล ผ่านอินเทอร์เน็ต
ที่ผู้ชมสามารถรับได้ผ่านอุปกรณ์ทั้งเครือข่ายรับทีวี คอมพิวเตอร์
โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กำหนดเปิดให้บริการ เดือนพฤศจิกายนนี้
เป้าหมายผู้ชมเคเบิลทีวี 10 ล้านครัวเรือน ใน 4 ปี โดยในปี 2556 มีสมาชิก
4 ล้านครัวเรือน (จากปี 2555 มีสมาชิก 3.5 ล้านครัวเรือน 77 จังหวัด)
รายได้ 10,000 ล้านบาท

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>

โครงส้างรายได้

1.รายได้หลักคือโฆษณา 2.ส่วนแบ่งรายได้จากค่าสมาชิกเคเบิลทีวี 3.ค่าเชื่อมโครงข่าย
จากบริษัทผู้ผลิตรายการที่ต้องการออกอากาศผ่านเครือข่ายซีทีเอช