“โนเกียช้อป”โจทย์เก่า..คำตอบใหม่

“โนเกีย” พยายามอีกครั้งในการกลับมาสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ หลังจากปล่อยวินโดวส์โฟน ตระกูล Lumia  แล้ว ก็เร่งเครื่องเต็มที่ โดยล่าสุดดีไซน์ช้อปใหม่ที่ชั้น 3 สยามพารากอนท่ามกลางการรายล้อมของคู่แข่งที่แข็งแรง

งานนี้โจทย์ของโนเกียยังเป็นข้อเดิม คือการชิงตลาดสมาร์ทโฟนกลับคืนมาให้ได้ หลังจากสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งคนสำคัญคือกลุ่มแอนดรอยด์โฟน ที่นำโดยซัมซุง และไอโอเอส ของไอโฟน 

โนเกียพยายามเป็นครั้งที่ 4 ในการพัฒนาช่องทางการขายที่สยามพารากอน

ครั้งแรก เปิดเป็นร้านโนเกียช้อป พร้อมกับการเปิดห้างสยามพารากอนเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว (ปัจจุบันเป็นร้านของแบล็กเบอรี่)  

ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2553 ได้เพิ่มพื้นที่หน้าร้านเป็น  Nokia Experience Studio ขนาดประมาณครึ่งสนามบาสเกตบอล  เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสสินค้า และหากสนใจซื้อก็เข้าไปที่ช้อปข้าง ๆ  

ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2554 โนเกียปิดช้อป เหลือแต่ Nokia Experience Studio 

ครั้งที่ 4  เมื่อต้นปี 2555 ได้ปิดปรับปรุง  Nokia Experience Studio   และเปิดเป็น Nokia Lifestyle Shopเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ด้วยเป้าหมายเป็น Brand Touch Point เป็นช่องทางการขายแบบ Experience Marketing ให้กลุ่มเป้าหมายได้สัมผัสเครื่องเต็มที่และปิดการขายได้ที่นี่

ช้อปใหม่ มาพร้อมกับดีไซน์ ที่ “แกรนท์ แมคบีธ” กรรมการผู้จัดการ โนเกีย ประเทศไทย และตลาดเอเชียเกิดใหม่ บอกว่าเป็น Open Space เปิดโล่งให้ลูกค้าตัดสินใจเดินเข้ามามากขึ้น ดึงความสนใจกลุ่มเป้าหมายด้วยการให้อินเตอร์แอ๊คทีฟกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโนเกีย 

แน่นอนว่าสำหรับผู้บริหารโนเกียแล้ว นี่คือความพยายามอีกครั้ง ที่จะทำให้แบรนด์โนเกียสดใส มียอดขายมากขึ้น อย่างที่ “แกรนท์ แมคบีธ” ได้เซ็นต์ข้อความแสดงความรู้สึกระหว่างอีเวนต์การเปิดร้านว่า “Exciting to Open First Ever Nokia Lifestyle Shop in Thailand”

แต่ทั้งหมดนี้คำตอบอยู่ที่ว่ามือถือรุ่นใหม่ ๆ ของโนเกีย จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกตื่นเต้นอีกครั้งด้วยหรือไม่

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

รายละเอียดNokia
Lifestyle Shop ดีไซน์คอนเซปต์

Open Space มีทางเข้า 3 ทาง
โปร่งโล่งด้วยกระจกและลายเส้น จากเดิมที่มีทางเข้า 2 ทาง และค่อนข้างปิดทึบ บริษัทผู้ออกแบบ Fitch UK
เป็นบริษัทที่รับดีไซน์ช้อปให้โนเกียทั่วโลก ผู้บริหารร้านค้า “ไออีซี” บริษัทของไทย
ที่รับบริหารช่องทางจำหน่ายให้โนเกียปัจจุบันทั้งหมด 11 แห่ง
(ปัจจุบันมีอีก 13 แห่งที่บริหารโดยเครือเซ็นทรัล)  เป้าหมายจำนวนผู้เดินเข้าร้าน 2-3 หมื่นคนต่อวัน คาดหวังผล มีผู้ซื้อสินค้าประมาณ 9-10%
ของจำนวนผู้ที่เดินเข้าร้านภายใน 6 เดือนจากเดิมมียอดประมาณ 7%