ข้อมูลจากการสำรวจ มาสเตอร์อินเด็กซ์ ครั้งล่าสุด พบว่าความมั่นใจของผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกทะยานขึ้นสูง ประเทศไทยมีคะแนนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

สิงคโปร – ความรู้สึกของผู้บริโภคโดยรวมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2004 นั้นกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง เหลังจากที่เคยอยู่ในระดับน่าเป็นห่วงในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ซึ่งมีปัจจัยสงครามในอิรัก โรคซาร์ส และการก่อการร้าย จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมาสเตอร์อินเด็กซ์ล่าสุดจากมาสเตอร์การ์ด

โดยความรู้สึกของผู้บริโภคในประเทศไทยนั้น ได้ทะยานขึ้นไปถึง 95.1 และทำให้ประเทศไทยมีคะแนนสูงที่สุดจากการสำรวจสองครั้งตอดต่อกัน นับเป็นความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจ หลังจากที่การสำรวจเมื่อหกเดือนก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีคะแนนอยู่ที่ 80.3 คะแนน ในครั้งนี้นับว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เริ่มการสำรวจครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 1995

โดยภาพรวมแล้ว คะแนนเฉลี่ยของการสำรวจมาสเตอร์อินเด็กซ์ล่าสุดอยู่ที่ 64.9 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยตัวเดียวกันนนี้ที่ 65.3 ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียช่วงกลางปี 1997 และมีระดับสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยประวัติศาสร์ที่ 55.2 อยู่พอสมควร

ผลการสำรวจปรากฏว่า ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม – ซึ่งเข้าร่วมการสำรวจมาสเตอร์อินเด็กซ์เป็นครั้งแรก – ติดอยู่ในระดับสูงสุดสามอันดับแรก ขณะที่ ฮ่องกง ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และไต้หวัน มีพัฒนาการดีที่สุด จากทั้งหมด 13 ประเทศ มีเพียง อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น เท่านั้นที่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะ 6 เดือนข้างหน้าเป็นลบ แม้ว่าในการสำรวจครั้งที่แล้วญี่ปุ่นจะมีพัฒนาการที่ยอดเยี่ยมก็ตาม

ประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจกล่ามตัวอย่างกว่า 5,447 คนในระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ถึง 15 ธันวาคา 2003 ที่ผ่านมา มีดังนี้

– ไทย มีคะแนนสูงสุดเป็นครั้งที่สองติดต่อกัน และยังสร้างคะแนนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศที่ 95.1 ส่วนมาเลเซีย มีคะแนนตามมาติดๆ ที่ 93.5 คะแนน ในส่วนของไทยนั้นถือว่ามีคะแนนสูงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์การสำรวจมาสเตอร์อินเด็กซ์ 11 ปี (คะแนนสูงสุดคือ 95-9 ที่อินโดนีเซียทำได้ในปี 1997)

– เวียดนามเข้าร่วมการสำรวจเป็นครั้งแรก และมีคะแนนน่าพอใจอย่างยิ่งที่ 91.0

– คะแนนของประเทศจีนขยับขึ้นอีกครั้งหลังจากที่คะแนนตกลงไปในการสำรวจครั้งที่แล้ว อันเป็นผลมาจากการเกิดวิกฤตโรคซาร์ส

– ประเทศที่มีพัฒนาการที่ยอดเยี่ยมนั้นได้แก่ ฮ่องกง (81.1) พัฒนาจากการติดลบในการสำรวจห้าครั้งหลังสุดติดต่อกัน ออสเตรเลีย (80.9) นิวซีแลนด์ (73.7) ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่เคยทำได้ ไต้หวัน (65.7) และสิงคโปร (65.3) ซึ่งพัฒนาขึ้นสูงมากเช่นกันจากระดับที่เรียกได้ว่าเกือบจะต่ำที่สุดที่คยทำได้

– ส่วนญี่ปุ่นนั้นยังคงมีระดับจากการสำรวจมาสเตอร์อินเด็กซ์ในครั้งนี้อยู่ในเชิงลบ อย่างไรก็ตาม ก็ถือได้ว่ามีพัฒนาการที่น่าชื่นชมเช่นเดียวกันด้วยคะแนนสูงสุด (31.8) นับจากเดือนมิถุนายน 2000 เป็นต้นมา

โดยการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภคมาสเตอร์อินเด็กซ์นี้จัดขึ้นสองครั้งต่อปี และถือว่าเป็นการสำรวจในประเภทนี้ที่มีเนื้อหาครอบคลุมและมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การสำรวจจะจัดให้มีขึ้นในเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมของทุกปี โดยครอบคลุม 13 ประเทศ ในปัจจุบัน เนื้อหาหลักของการสำรวจ คือ การวิเคราะห์ระดับความมั่นใจทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคในระยะหกเดือนข้างหน้า คะแนนจะอยู่ในระดับ 0 – 100 โดยมีตัวแปรที่สำคัญอยู่ห้าประการ คือ การจ้างงาน, สถานภาพเศรษฐกิจ, รายได้เฉลี่ย, สภาวะตลาดหลักทรัพย์ และคุณภาพชีวิต

ในส่วนของประเทศไทย ความมั่นใจของผู้บริโภคในไทยนั้นยังคงทะยานสูงขึ้นต่อไป (95.1) นับจากเริ่มฟื้นตัวเมื่อเดือนธันวาคา 2001 (46.3) เป็นต้นมา คะแนนในปัจจุบันนี้นั้นไดทำให้ไทยเป็นประเทศที่ทำคะแนนมาสเตอร์อินเด็กซ์สูงสุดเป็นครั้งที่สองติดต่อกัน และแสดงถึงพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นจากเมื่อหกเดือนที่แล้ว (80.3) อีกทั้งยังเป็นคะแนนสูงสุดในประวัติศาสตร์ของประเทศนับจากเริ่มเข้าร่วมการสำรวจในปี 1995 อีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกียวกับการสำรวจมาสเตอร์อินเด็กซ์ สามารถหาได้จากเว็บไซต์ www.mastercard-masterindex.com