การสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดย MasterCard Index™ ระบุว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิกยังคงอยู่ในเชิงบวก ในขณะที่ความเชื่อมั่นโดยรวมของภูมิภาคนี้ลดลง ซึ่งการลดลงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่การสำรวจครั้งก่อน (ครึ่งแรกของปี 2557) ระบุว่าความเชื่อมั่นในภูมิภาคนี้ มีอัตราสูงที่สุดมานานกว่า 10 ปี การเปิดเผยโดย MasterCard Index™ นี้เป็นผลจากการสำรวจในช่วงตุลาคม ถึงพฤศจิกายน 2557 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 8,235 คน อายุระหว่าง 18-64 ปี จาก 16 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นการสำรวจครั้งที่ 44 นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจเมื่อปี 2536
ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกถามคำถาม 5 ข้อที่เกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า อาทิ สภาวะเศรษฐกิจ การจ้างงาน รายได้ประจำ ตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต โดยคะแนนจากทั้ง 5 ตัวชี้วัด จะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 โดยค่า 0 แสดงทัศนคติด้านลบที่สุด ค่า 100 จะหมายถึงมุมมองด้านบวกที่สุด ส่วน 50 คือผลที่เป็นกลาง ทั้งนี้ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลการดำเนินงานการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น
Infographic_MICC H2 2014 ประเด็นสำคัญในภาพรวม
• โดยรวมความเชื่อมั่นของตลาดเอเชียแปซิฟิกยังคงอยู่ในเชิงบวก แม้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้ลดลงไป 2.9 จุด อยู่ที่ 65.5 จุด ในครึ่งปีหลังของปี 2557 ลดลงจาก 68.3 จุดในครึ่งปีแรกของปี 2557
• เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 มีเพียงประเทศฟิลิปปินส์ (ดัชนีเพิ่มขึ้น 7.7 จุด) และบังกลาเทศ (ดัชนีเพิ่มขึ้น 16.9 จุด) ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 จุด จากทั้งหมด 16 ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผลสำรวจยังพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน 10 จาก 16 ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงเสถียรโดยอาจดีขึ้นหรือตกลงเพียงเล็กน้อย
• ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดเอเชียแปซิฟิก ที่มีต่อ 5 ปัจจัยหลักทางเศรษฐกิจลดลง ด้านภาวะเศรษฐกิจ (จาก 67.1 จุด ในครึ่งปีแรกของ 2557 ลดลงเหลือ 62.7 จุด ในครึ่งปีหลังของปีเดียวกัน แนวโน้มการจ้างงาน (จาก 69.2 เหลือ 65.8 จุด) แนวโน้มของรายได้ (จาก 77.6 เหลือ 75.5 จุด) ตลาดหุ้น (จาก 65.7 เหลือ 61.5 จุด) และคุณภาพชีวิต (จาก 62.2 เหลือ 61.9 จุด)
ประเด็นสำคัญในแต่ละประเทศ
· บังกลาเทศเป็นประเทศเดียวที่มีการพัฒนามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ย้ายบังกลาเทศจากกลุ่มที่มีความเชื่อมั่นด้านบวกมาอยู่ในกลุ่มที่มีทัศนคติด้านบวกที่สุดด้วยดัชนีที่ 83.3 จุด เพิ่มขึ้น 16.9 จุด จึงทำให้บังกลาเทศเป็นตลาดเดียวที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคาเพิ่มขึ้นระดับสองจุด
· พม่า อินเดีย และอินโดนีเชีย เป็นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากที่สุด โดยดัชนีอยู่ที่ 97.2 จุด 01.6 จุด และ 90.1 จุด ตามลำดับ
· ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 7.7 จุด จึงทำให้ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มประเทศที่อยู่เชิงบวก (77.1 จุด) ในขณะที่ประเทศมาเลเซียพบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง 11.5 จุด ส่งผลให้ดัชนีของประเทศมาเลเซียในครึ่งปีหลังของปี 2557 อยู่ที่ 49.9 จุด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ต่ำกว่าค่ากลางๆ ที่ 50 จุด นับตั้งแต่วิกฤติทางการเงินในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552
· ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศเวียดนามและประเทศไทยยังเป็นบวกมาก โดยดัชนีอยู่ที่ 85.3 จุด และ 83.6 จุดตามลำดับ
· ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศจีน (เพิ่มขึ้นมา 2.7 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 85.3 จุด ในครึ่งหลังของปี 2557) และประเทศเกาหลีใต้ (เพิ่มขึ้นมา 1.7 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 43.6 จุด) ยังคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยส่งผลให้ทั้งสองประเทศถูกจัดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนประเทศอื่นในแถบใกล้เคียง ซึ่งนำโดย ประเทศไต้หวัน (มีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง 23.8 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 33.8 จุด) ญี่ปุ่น (ลดลง 17.6 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 34.2 จุด) และฮ่องกง (ลดลง 13.5 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 40.9 จุด) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของทั้งสามประเทศกลับอยู่ในจุดต่ำกว่าเกณฑ์ที่เป็นกลางในการสำรวจครั้งนี้
· การสำรวจชี้ให้เห็นความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งลดลง 3.2 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 34.1 จุด ในครึ่งหลังของปี 2557 จึงทำให้ประเทศออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มที่อยู่ด้านลบ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดัชนีของประเทศออสเตรเลียตกลงมาต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2552 ขณะเดียวกัน ดัชนีของประเทศนิวซีแลนด์นั้นอยู่คาบเส้น หลังจากดัชนีตกลงมา 9.4 จุด ทำให้ดัชนีของประเทศนิวซีแลนด์อยู่ที่ 56.4 จุด
มร. ปิแอร์ เบอร์เรท์ ที่ปรึกษาของมาสเตอร์การ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกที่ลดลงไปเล็กน้อยแสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้คนที่ยังคงอยู่ในด้านบวกแต่ระมัดระวัง ผู้ริโภคทั่วภูมิภาคกำลังรอสัญญาณของการเติบโตอย่างมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่เกิดใหม่เช่น ประเทศพม่า อินเดีย และอินโดนีเซียมีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในด้านบวกที่สุด โดยอาจมาจากความคาดหวังในอนาคตที่สดใส หรือความคาดหวังจากรัฐบาลชุดใหม่ ในทางกลับกัน ตลาดที่พัฒนาแล้วเช่นประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง กลับมีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เป็นบวกน้อยกว่ามาก ซึ่งในตลาดดังกล่าว สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการก็คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการพัฒนาและเติบโตในระยะยาวรวมทั้งโอกาส ซึ่งโอกสดังกล่าวต้องหายไปเนื่องจากวิกฤติทางการเมืองครั้งล่าสุดของฮ่องกงและค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงในญี่ปุ่น” มร. เบอร์เรท์ กล่าว