จากรายงานการสำรวจดัชนีความก้าวหน้าของสตรี ที่จัดทำขึ้นล่าสุด (ครึ่งปีหลังของปี 2557) โดยมาสเตอร์การ์ด เผยว่าหญิงไทยได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำทางธุรกิจสูงสุด แม้จะเป็นเพศที่ถูกมองว่าอ่อนแอกว่าในหลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่ ดัชนีความก้าวหน้าในศักยภาพของเพศหญิงในประเทศไทยในปี 2558 เพิ่มขึ้น 20.4 จุด เป็น 62.7 ผู้หญิงจำนวนมากในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคถูกจำกัดโอกาสในการเป็นผู้นำทางธุรกิจแม้พวกเธอจะมีการศึกษาที่เหมาะสมก็ตาม
ผลสำรวจพบว่าการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและภาวะผู้นำในธุรกิจในประเทศไทยมีความเกี่ยวพันกัน (ผู้หญิงที่มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีดัชนีอยู่ที่ 123.6 และมีโอกาสในการเป็นผู้นำธุรกิจอยู่ที่ 62.7) จากการสำรวจทั้งหมด 16 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพบว่า ผู้หญิงใน 10 ประเทศ ได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าผู้ชาย ประเทศฟิลิปปินส์ (ดัชนีการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 130.8; มีดัชนีความเป็นผู้นำธุรกิจอยู่ที่ 92.5) และ ประเทศนิวซีแลนด์ (มีดัชนีการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 146.3; และดัชนีความเป็นผู้นำธุรกิจอยู่ที่ 70.2) ประเทศไทยติด 1 ใน 5 ประเทศ (นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ศรีลังกา) ซึ่งมีคะแนนความสามารถที่ 100 คะแนน นั่นหมายความว่าผู้หญิงในประเทศเหล่านี้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษาเท่าเทียมหรือมากกว่าผู้ชาย
ประเทศไทยยังมีอัตราการลดลงสูงสุดอยู่ (ดัชนีที่ 59.4, ลดลง 7.2 จุด ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557) ทำให้ดัชนีของประเทศไทยนั้นถดถอยลงที่สุด หนทางสู่ความเท่าเทียมทางเพศยังคงต้องการการพัฒนาอย่างมากในประเทศ ถึงแม้ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับการศึกษามากกว่าผู้ชาย แต่แนวโน้มที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศในด้านการเป็นผู้นำทางธุรกิจ การเป็นเจ้าของธุรกิจ และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ยังคงเป็นไปอย่างล่าช้าในหลายๆ ประเทศ
ความเป็นผู้นำทางธุรกิจ ยังคงเป็นปัจจัยที่อ่อนไหวที่สุดในปีที่แล้ว (และตั้งแต่ปี 2007)
ผู้หญิงไทยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางศักยภาพสูงที่สุด ในขณะที่นิวซีแลนด์มีตัวเลขอยู่ที่ (50.6) และฟิลิปปินส์ (50.1) ซึ่งมีเพียงสองประเทศนี้เท่านั้นที่มีสัดส่วนผู้หญิงมากกว่า 50 คนต่อผู้ชาย 100 คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ระดับผู้บริหารในองค์กรและระดับผู้นำในคณะรัฐบาล
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของสตรีที่จัดทำขึ้นโดยมาสเตอร์การ์ดนี้ ถือเป็นเครื่องมือสำหรับการวัดจุดยืนของผู้หญิงในเชิงสังคมและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยดัชนีนี้ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลักที่มีรากฐานมากจากปัจจัยชี้วัดย่อย ได้แก่ การจ้างงาน(การมีส่วนร่วมในการทำงานและการจ้างงานประจำ) ความสามารถ (การศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา) และความเป็นผู้นำ (เจ้าของธุรกิจ ตำแหน่งผู้บริหารในองค์กร และผู้นำทางการเมือง)