เอพีซี ชิงเปิดตัวโซลูชั่นใหม่ล้ำหน้าคู่แข่ง

29 มีนาคม 2548, กรุงเทพฯ – “เอพีซี” ผู้นำโซลูชั่นระบบสำรองกระแสไฟฟ้าแบบครบวงจร ติดอันดับท็อป 3 ของเมืองไทย ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นใหม่ ‘InfraStruXure? Data Centers on Demand’ พลิกโฉมรูปแบบการให้บริการระบบสำรองข้อมูลแก่องค์กรต่างๆ ใรูปแบบที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนในโลก หลังเล็งเห็นศักยภาพที่ดีเยี่ยมของตลาดในไทย และคว้าผลสำเร็จมาแล้วจากการเปิตลาดในต่างประเทศ ด้วยยอดขายทั่วโลกในปีที่ผ่านมาถึง 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชูจุดเด่นโซลูชั่นล่าสุดที่สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และความเหมาะสมของผู้ใช้งาน ทั้งยังมีความยืดหยุ่นสำหรับการปรับขยายในอนาคต และคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด

นายอดิศร อาศิรกานต์ ผู้จัดการทั่วไป สำนักงานประจำประเทศไทย อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น หรือเอพีซี ผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นการสำรองกระแสไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ระดับโลกเปิดเผยว่าขณะนี้ บริษัทได้เปิดตัวโซลูชั่นล่าสุดเพื่อให้ระบบการสำรองข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้งานได้ตรงจุด ภายใต้คอนเซ็ปต์ “InfraStruXure? Data Centers on Demand” ซึ่งก่อนหน้านี้เอพีซีในสาขาต่างประเทศได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นดังกล่าวมาแล้ว และได้รับผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม

โดยโซลูชั่นดังกล่าวเป็นการให้บริการแก่ลูกค้าแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษา การออกแบบ การติดตั้ง ไปจนถึงการให้บริการหลังการขาย ด้วยข้อเสนอภายใต้เทคโนโลยี และระบบโครงสร้างพื้นฐานหลัก 5 ส่วน ได้แก่ Rack Power และ Cooling Management และ Services เพื่อใช้ในการประกอบ/จัดสร้าง หรือปรับปรุงห้องศูนย์ข้อมูล (Data Centers) ภายใต้รูปแบบโครงสร้างที่ปราศจากความซับซ้อนแต่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความเหมาะสมของผู้ใช้งาน โซลูชั่นดังกล่าวนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับองค์กรธุรกิจประเภทต่างๆ ที่มีความต้องการวางแผนจัดสร้างศูนย์ข้อมูลของตนเองภายใต้สภาพแวด-
ล้อมอันเหมาะสม

นายอดิศรเปิดเผยอีกว่า โซลูชั่น InfraStruXure? Data Centers on Demand เป็นระบบที่ให้ความคุ้มค่าแก่การลงทุนสูงสุดสำหรับลูกค้าประเภทองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีจุดเด่น 4 ประการ ได้แก่ 1) เป็นระบบที่สามารถปรับขยายได้ตามต้องการของลูกค้า 2) สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างดีเยี่ยมในแง่ความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ3) สามารถลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังใช้งานอยู่เกิดขัดข้องหรือระบบล่ม โดยโซลูชั่นดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาในการกู้คืนข้อมูลเป็นศูนย์และ 4) สามารถให้ความยืดหยุ่นด้วยฟังก์ชั่นการปรับเปลี่ยนตามความต้องการใช้งานของลูกค้า

“เราต้องการออกแบบศูนย์ข้อมูลให้กับลูกค้าด้วยการทำให้เป็นรูปแบบของไอทีเบส (IT Base) ซึ่งทำให้ผู้บริหารระดับ CIO หรือ MIS Manager สามารถเข้าไปสัมผัสและปรับเปลี่ยนระบบตามความต้องการได้ด้วยตนเอง โซลูชั่นใหม่ดังกล่าว จะทำให้บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย และการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายอดิศรกล่าวเพิ่มเติม

เล็งโตในไทย หลังคว้าชัยในต่างประเทศ

สำหรับแผนการทำตลาดโซลูชั่นดังกล่าวนี้นายอดิศรกล่าวว่า ในช่วงปีแรกเอพีซีจะร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักย-ภาพความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและมีฐานลูกค้าแข็งแกร่งในกลุ่มองค์กรระดับกลางถึงเล็ก (SMEs) ไปจนถึงระดับใหญ่ (Enterprise) ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐ โดยจะร่วมมือกันจัดสัมมนาเพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจถึงระบบการทำงานของโซลูชั่น InfraStruXure? Data Centers on Demand อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน เอพีซีจะจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติ หรือเวิร์คช้อปให้แก่คู่ค้าควบคู่ไปด้วย โดยจะเริ่มจากพันธมิตรในเขตกรุงเทพฯ ก่อนจะขยายไปยังหัวเมืองใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพในอนาคต

“เรามองว่าแนวโน้มของผลิตภัณฑ์แร็ค (Rack) ภายใต้บริการโซลูชั่นนี้ เอพีซีจะมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูงมาก เนื่องจากยังไม่มีใครผลิตออกมาในขณะนี้และมูลค่าตลาดในส่วนของดาต้าเซ็นเตอร์จะมีสัดส่วนมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์เทียบกับมูลค่าโดยรวมของโปรเจ็กต์ ด้านไอทีในเมืองไทย ขณะที่ในตลาดต่างประเทศเอพีซีมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในระดับ 60 ถึง 70เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากเอพีซีได้ใช้งบลงทุนด้านการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของยอดจำหน่ายโดยรวมของบริษัท” นายอดิศรกล่าวเสริม

InfraStruXure? Data Centers on Demand เป็นกลยุทธ์เพื่อบุกเบิกตลาดระดับโลกของเอพีซี โดยไทม์ วอร์เนอร์ เคเบิลเป็นหนึ่งในองค์กรตัวอย่างที่ได้ใช้โซลูชั่นดังกล่าวของ APC ในการปกป้องแอพลิเคชั่นสำคัญสำหรับให้บริการ Video on Demand ทั้งนี้ ไทม์ วอร์เนอร์ เคเบิลเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมด้านเคเบิลยักษ์ใหญ่ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยของสหรัฐ โดยนำเสนอบริการสู่ลูกค้าถึง 11 ล้านคนใน 27 รัฐ หนึ่งในนวัตกรรมเพื่อสร้างความบันเทิงที่ไทม์ วอร์เนอร์ได้ป้อนสู่ลูกค้า ชื่อว่า video on demand หรือ iControl เป็นระบบใหม่ที่ประกอบด้วยเครือข่ายหลากหลายชนิด โดยนำส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านสายเคเบิลในระยะทางกว่า 5,000 ไมล์ ครอบคลุมจุดให้บริการ 6 เขตในรัฐนิวยอร์ค iControl ให้บริการลูกค้าทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป โรงเรียนหรืองานด้านธุรกิจทั้งของรัฐและเอกชน

มร. วินซ์ ปอมโบ รองประธานฝ่ายวิศวกรรมและ มร. ริช แฟลนเดอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ไทม์ วอร์เนอร์ เคเบิล กล่าวว่า จุดเด่นของ iControl คือ ผู้ชมสามารถดูตัวเลือกและสามารถกำหนดเนื้อหาที่ต้องการชมได้ด้วยตัวเอง เช่น เลือกชมภาพยนต์ที่ตัวเองชอบ แอพพลิเคชั่น iControl จึงต้องการระบบสำรองพลังงานที่แข็งแกร่ง สำหรับปกป้องการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ และสามารถรับมือกับอุปสงค์ที่ไม่สามารถคาดเดาจากลูกค้าได้ สืบเนื่องจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยาวนานหลายปีระหว่างไทม์ วอร์เนอร์ และเอพีซี ในที่สุดไทม์ วอร์เนอร์จึงตัดสินใจติดตั้งระบบ InfraStruXure? โซลูชั่นล่าสุดของเอพีซี

ผู้บริหารฝ่ายวิศวกรรมของไทม์ วอร์เนอร์ เคเบิล กล่าวอีกว่า “โซลูชั่น InfraStruXure? ของเอพีซีสามารถสนองตอบความต้องการของเราใน 3 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือ โซลูชั่นนี้นำเสนอโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ทำให้เรามีความยืดหยุ่นในเชิงของระบบพลังงาน และเราสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นไม่หยุดชะงัก ส่วนที่สอง ระบบเซิร์ฟเวอร์หลักสำหรับบริการ Video on Demand ของเราถูกออกแบบให้มีความเย็นจากส่วนหน้าไปส่วนหลัง และระบบการรักษาความ เย็นของตู้แร็คเอพีซี ภายใต้การทำงานของ โซลูชั่นดังกล่าวก็ถูกออกแบบ ให้มีความเย็นจากส่วนหน้าไปส่วนหลังเช่นกัน เพราะฉะนั้น ตู้แร็คประเภทเดียวกันจึงทำให้ระบบพลังงาน และระบบเซิร์ฟเวอร์ของเราสามารถทำงานต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“ส่วนที่สาม ระบบมอนิเตอร์ของโซลูชั่น InfraStruXure? ของเอพีซีทำให้เราสามารถตรวจสอบระบบพลังงานแบบระยะไกลได้ โดยให้ข้อมูลของอายุแบ็ตเตอร์รี่ การตั้งเวลาเตือน ข้อมูลการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่าอุปกรณ์ในห้องศูนย์ข้อมูล ทำงานปกติดีหรือไม่ ทำให้เราทราบว่าจุดบกพร่อง หรือจุดที่เกิดความเสียหายอยู่ตรงไหน ซึ่งจะทำให้การควบคุม และการแก้ไขมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมอีกประการหนึ่งของโซลูชั่นนี้ คือ ความยืดหยุ่นของระบบที่ทำให้เราสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่หมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วได้ อันเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมเคเบิล ทีวีมักจะเผชิญ”

นายอดิศรเปิดเผยว่า ผลประกอบการในปีที่ผ่านมาของสำนักงานเอพีซีประจำประเทศไทยอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยสามารถทำยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ภายใต้แบรนด์ ‘APC’ สูงสุดติดอันดับหนึ่งในสามของผู้นำตลาดเมืองไทย จากยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาดในปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมา กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่ทำการติดตั้งระบบยูพีเอสของเอพีซี ได้แก่ ไอพี สตาร์ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและสำนักงานอัยการ เป็นต้น

สำหรับผลประกอบการโดยรวมทั่วโลกของเอพีซีในปีที่ผ่านมา รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2547 คือ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโต 16 เปอร์เซ็นต์เทียบกับปีก่อนหน้านี้ โดยมีรายได้รวมเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา 510.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ 2546 ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์

“ในปีนี้คาดว่าเอพีซี (ประเทศไทย) จะมีอัตราการเติบโตด้านยอดจำหน่ายมากเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย และจะมีอัตราการขยายตัวของยอดจำหน่ายมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยบวกมาจากเสถียรภาพที่มั่นคงและน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทย ผนวกกับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมหลักๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมรถยนต์ ปิโตรเคมี และพลังงาน รวมทั้งธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจโดยไม่หยุดชะงักและเอพีซีสามารถนำเสนอโซลูชั่น InfraStruXure? Data Centers on Demand’ เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี” นายอดิศรกล่าวปิดท้าย

เกี่ยวกับเอพีซี

สำนักงานประจำประเทศไทย อเมริกัน เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) นำเสนอระบบคุ้มครอง และป้องกันการเสียหายของข้อมูล การเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบงาน เอพีซีก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นผู้นำตลาดโลกในการนำเสนอและให้บริการระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า เอพีซีเป็นที่รู้จักด้านความน่าชื่อถือภายใต้นิยามว่า “ตำนานแห่งความไว้วางใจในระบบป้องกันปัญหาไฟฟ้า (Legendary Reliability)” ทั้งในด้านมาตรฐานแห่งคุณภาพ นวัตกรรมและการซัพพอร์ตโซลูชั่น เพื่อปกป้องพลังงาน

สำนักงานใหญ่เอพีซีตั้งอยู่ที่เขตเวสต์ คิงส์ตัน ในเกาะโร้ด สหรัฐอเมริกา ในปี 2547 รายได้ 50% ของเอพีซีมาจากตลาดอเมริกา (เขตตอนเหนือและแถบละตินอเมริกา) 32% มาจากตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ขณะที่18%มาจากตลาดในแถบเอเชีย ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เอพีซีมีพนักงานประจำทั่วโลกประมาณ 6,455 คน