ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารกรุงไทย

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารกรุงไทย (“KTB”) ที่ระดับ ‘BBB+’ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘D’ และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’ รวมทั้งได้คงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ KTB ที่ระดับ ‘BBB’ ในขณะเดียวกัน บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวของ KTB ที่ระดับ ‘AA+(tha)’ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ระดับ ‘F1+(tha)’ และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘AA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตทั้งหมดมีเสถียรภาพ

ฟิทช์กล่าวว่าอันดับเครดิตของ KTB มีพื้นฐานมาจากการถือหุ้นใหญ่และการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาล รวมทั้งสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น แม้ว่าการที่ทางรัฐบาลถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจควบคุมธนาคารมีส่วนช่วยสนับสนุนอันดับเครดิตระยะยาวของ KTB ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมีแนวโน้มที่อาจทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารอ่อนแอลงได้ KTB เป็นธนาคารไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 โดยมีส่วนแบ่งตลาด 19% โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้น 56.4% ในธนาคาร

เมื่อพิจารณาถึงขนาดและความสำคัญต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของ KTB รวมทั้งการที่ทางรัฐบาลถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจควบคุมธนาคาร ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหากต้องการความช่วยเหลือ การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ KTB ในเดือนพฤษภาคม 2548 สืบเนื่องมาจากการปรับเพิ่มอันดับเครดิตของประเทศ รวมถึงการทบทวนของฟิทช์เกี่ยวกับโอกาสที่ทางธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในระยะยาวซึ่งมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะคงสัดส่วนการถือหุ้นอย่างน้อย 51% ในอนาคต

ธนาคารแห่งประเทศไทย (“BOT”) ได้สั่งการให้ KTB ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อเมื่อกลางปี 2547 ส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 แม้ว่าการจัดชั้นสินเชื่อใหม่ดังกล่าวจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของ KTB มากนัก เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้ส่งผลให้ธนาคารทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงและจัดโครงสร้างการบริหารใหม่ รวมทั้งปรับปรุงวัฒนธรรมการทำงานและองค์กรให้เน้นการทำธุรกิจในเชิงพาณิชย์มากขึ้น รวมทั้งมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น

หลังจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งปี 2547 ในงวดเก้าเดือนแรกของปี 2548 กำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 12.2 พันล้านบาท จาก 10.6 ล้านบาท ในงวดเก้าเดือนแรกของปี 2547 และอัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นเป็นประมาณ 3.3% แม้ว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อจะลดลง การที่ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นและการเติบโตของสินเชื่อชะลอตัวลงเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทำให้แนวโน้มในปีหน้าของธนาคารดูท้าทายมากขึ้น

การจัดชั้นสินเชื่อครั้งใหญ่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ได้เน้นถึงความกังวลของฟิทช์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอของ KTB เนื่องมาจากการตัดบัญชีหนี้สูญในครึ่งหลังของปี 2547 และการขายหนี้ที่ไม่

หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้

คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฏข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน