AMD Action ซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มผู้สนับสนุน แพทย์ และตัวแทนรัฐบาลจาก 21 ประเทศ ได้ออกแถลงการณ์ “เรียกร้องให้เกิดการลงมือปฏิบัติ” (Call to Action) เกี่ยวกับโรคจุดศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุมาก (Age-Related Macular Degenerstion : AMD) ซึ่งเป็นอาการเสื่อมสภาพของตาที่สามารถทำให้ตาบอดได้อย่างรวดเร็ว
“เราเรียกร้องให้รัฐบาล แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริโภค ตระหนักถึงภาระที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการตาบอดจากโรค AMD และจัดการกับวิกฤติการณ์นี้อย่างเร่งด่วนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุน
— การศึกษา
— การป้องกัน
— การตรวจหาอาการแต่เนิ่นๆ
— การรักษาอย่างทันท่วงที
— การฟื้นฟูและการบริการสังคม และ
— การวิจัย”
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตาบอดเนื่องจากอายุมากจากประเทศต่างๆ มากกว่า 100 คน ได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าวที่การประชุมสุดยอดซึ่งจัดโดยสหพันธ์โรคเอเอ็มดี นานาชาติ (AMDAI) และคณะกรรมการ AMD Action Global Steering Committee สตีฟ วินยาร์ด ประธานของ AMDAI และหัวหน้าแผนกนโยบายสาธารณะ สถาบันเพื่อคนตาบอดแห่งชาติอังกฤษ (Royal National Institute of the Blind : RNIB) แสดงความเห็นว่า “AMD พบมากโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ยุโรป แต่ละปีมีผู้ป่วย Wet AMD (โรค AMD ชนิดที่เกิดเส้นเลือดงอกใหม่ใต้จุดรับภาพ) เกิดขึ้นใหม่ประมาณ 500,000 คนทั่วโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค นี้ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตที่จะลดการสูญเสียการมอง เห็นและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ใน 5 ประเทศใหญ่สุดของยุโรป ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรค AMD เฉลี่ยต่อปี อยู่ระหว่าง 700 ล้านยูโรถึง 3 พันล้านยูโร”
(1) โรค AMD มีผลกระทบต่อประชากร 25-30 ล้านคนทั่วโลก และเป็นสาเหตุหลักของการตาบอดในประเทศที่พัฒนาแล้ว
(2) เมื่อประชากรที่เกิดในยุค “baby boom” มีอายุมากขึ้น คาดว่า โรค AMD จะเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในปีพ.ศ. 2568
(3) ผู้ป่วยโรค AMD ชนิด wet อาจตาบอดภายในเวลาเพียง 3 เดือนถ้าไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ
(4) อย่างไรก็ตาม การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค AMD ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยแบบสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับโรค AMD ในยุโรปเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า ประชากร 80% ไม่เคยได้ยินเรื่องโรค AMD ชนิด wet มาก่อน และมีเพียง 38% ที่รู้ว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้
(5) ดร. อลัน ครูส ศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยาและการมองเห็น มหาวิทยาลัย Dalhousie ประเทศแคนาดา ในฐานะผู้ดำเนินการประชุม AMD Action Summit กล่าวว่า “การเกิดขึ้นและความแพร่หลายของโรค AMD ได้เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีการรักษาใหม่ๆที่สามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็น แต่การรักษาแต่เนิ่นๆ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่แพทย์จะสามารถให้การรักษาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และได้รับอนุญาต ซึ่งสามารถช่วยรักษาอิสรภาพในการมองเห็นของผู้ป่วยไว้ได้นานเท่าที่จะเป็นไป ได้” วันที่สองของการประชุม AMD Action Summit จะมุ่งเน้นไปที่ตัวแทนพัฒนาแผนปฏิบัติการในระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้นเฉพาะในประเทศของตน
หมายเหตุ
สหพันธ์โรคเอเอ็มดีนานาชาติ (The AMD Alliance International) เป็นการรวมกลุ่มกันขององค์กรไม่แสวงกำไรเกี่ยวกับการมองเห็น การวิจัย และผู้อาวุโส เพื่อสร้างการรับรู้ต่อโรค AMD ให้ทางเลือกในการรักษาและการฟื้นฟู และให้ความสำคัญกับการตรวจหาอาการแต่เนิ่นๆ ปัจจุบันสมาชิกของสมาพันธ์ประกอบด้วยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจาก 21 ประเทศ ได้แก่ ผู้นำของโลกในด้านจักษุวิทยา การฟื้นฟูการมองเห็น ผู้ป่วย และผู้ให้ความช่วยเหลือผู้อาวุโส และการวิจัย
การประชุมสุดยอด AMD Action Summit โดยความร่วมมือกับสมาพันธ์โรคเอเอ็มดีนานาชาติ ได้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนและได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุ วิทยาและและกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือระดับแนวหน้าของโลก คณะกรรมการ The Global Steering Committee ประกอบด้วย ดร. ฮิวจ์ เทย์เลอร์ (ออสเตรเลีย), ดร. อลัน ครูส (แคนาดา) ศาสตราจารย์อูชา ชาคราวาร์ธี (ไอร์แลนด์), ศาสตราจารย์แฟรงก์ โฮลซ์ (เยอรมนี), สถาบัน RNIB (อังกฤษ), มูลนิธิ Macular Degeneration Foundation (ออสเตรเลีย), CNIB (แคนาดา), Retina International, Pro Retina Germany, IAPB Italy และ Retina France International
แบบสำรวจการรับรู้โรคเอเอ็มดีดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยทำการสำรวจประชาชน 3,675 คนในอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี อิตาลี และแคนาดา การสำรวจถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบระดับการรับรู้ในเรื่องโรค AMD ซึ่งได้แก่ อาการและปัจจัยเสี่ยงที่แปรผันได้ The AMD Action Summit เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือทางการเงินของ Pfizer Ophthalmics
(1) AMD BOI Study: Pfizer data on file
(2) WHO: Magnitude and causes of visual impairment. Factsheet 282. November 04
(3) AMD Alliance International Website http://www.amdalliance.com/media/media-kit/amd-facts.asp
(4) AMD Alliance International Campaign Report 2003. Country Reports on Early Detection and Low Vision Rehabilitation
(5) Pfizer data on file