โคเลสเตอรอล…ยิ่งต่ำยิ่งดี

โคเลสเตอรอลเป็นไขมันประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดประเภทหนึ่งในร่างกายมนุษย์ แต่เป็นไขมันชนิดที่ไม่มีใครอยากมีเนื่องจาก การมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดการพัฒนาของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในปัจจุบันพบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย โดยผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดยิ่งสูงเท่าไรก็จะมีอัตราการตายที่สูงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของจำนวนการตายทั้งหมด หรือ 4 คนต่อชั่วโมง

โคเลสเตอรอลร่างกาย นั้น ได้มาจาก 2 ทางด้วยกันคือ ทางแรกคือร่างกายสร้างขึ้นเองจากตับ ซึ่งตับจะควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย ด้วยการสร้างโคเลสเตอรอลประเภทที่ร่างกายต้องการ และรักษาระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดด้วยการกำจัดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดีและนำโคเลสเตอรอลที่จำเป็นมาแทนที่ และทางที่สองคือได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วมีการดูดซึมผ่านลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารประเภทประเภทจานด่วน หรือของขบเคี้ยวนั้นเป็นสาเหตุให้ระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง

การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตันที่ดีที่สุดคือ การควบคุมระดับโคเลสเตอรอลโดยเฉพาะ LDL ซึ่งเกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน ให้ได้เป้าหมายในระดับที่เหมาะสม ซึ่งสำหรับบุคคลทั่วไปอาจทำได้โดยควบคุมการรับประทาน ลดอาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูงนั้น การลดระดับโคเลสเตอรอลจำเป็นต้องให้ได้บรรลุถึงระดับเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มตามความเสี่ยง โดยตามแบบแผนการรักษาของ NCEP (National Cholesterol Education Program) ATP III ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มเสี่ยงสูงมาก กลุ่มเสี่ยงสูงปานกลางถึงสูงมาก กลุ่มเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มเสี่ยงต่ำ เป้าหมายที่ต้องการลดระดับ LDL โคเลสเตอรอล ในกลุ่มเสี่ยงสูงควรมีระดับน้อยกว่า 100 mg/dL (หรืออาจต้องลดลงถึง 70 mg/dL ในบางราย) , 130 mg/dL สำหรับกลุ่มเสี่ยงปานกลางถึงสูง และกลุ่มเสี่ยงปานกลาง และ 160 mg/dL สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่ำ หากยังไม่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้ถึงเป้าหมายด้วยการควบคุมการรับประทาน และการออกกำลังกาย แพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณาให้ยาลดโคเลสเตอรอลในเลือดร่วมด้วย

ยารักษาภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในปัจจุบัน มักเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลด LDL โคเลสเตอรอลซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัวร้าย กลุ่มยาที่ใช้กันบ่อยได้แก่ ยากลุ่มสแตติน (Statin) ซึ่งไปยับยั้งการสร้างโคเลสเตอรอลจากตับ แต่การใช้ยากลุ่มสแตตินเพียงอย่างเดียว นอกจากอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อตับจากการเพิ่มขนาดยาที่ใช้ในการรักษา และบางครั้งไม่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้ตามเป้าหมายได้ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึงโดยเฉลี่ยแล้วมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเท่านั้น ที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้ตามเป้าหมาย จึงได้มีการพัฒนายากลุ่มลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่ลำไส้ ซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่มสแตตินแล้วทำให้มีจำนวนผู้ป่วยที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้ตามเป้าหมายมากขึ้น

และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการพัฒนายาตัวใหม่ที่ซึ่งเป็นการนำยาสองตัวคือ ยากลุ่มสแตติน และยาลดการดูดซึมที่ลำไส้มาผสมผสานกันอยู่ในยาเม็ดเดียว ซึ่งสามารถลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ร่วมกับลดการสร้างโคเลสเตอรอลที่ตับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและมีผลข้างเคียงต่ำ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัย ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาที่พัฒนาโดย บริษัทเชอริ่ง-พลาว จำกัด โดยในประเทศไทยนั้น ยานี้ได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนยาใหม่ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งยานี้ปัจจุบันได้รับความนิยมในการรักษาการมีระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูงอย่างมากในต่างประเทศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโคเลสเตอรอล โปรดติดต่อ 02-2879999

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ กรุณาติดต่อ:
อรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ หรือ อริยา อินทสุวรรณ
เวเบอร์ แชนด์วิค
โทร. 02 287 1000 ต่อ 169, 215
E-mail: [email protected] or
[email protected]