TPI เผยสัญญาการใช้บริการเอาท์ซอร์สในเอเชียแปซิฟิคเพิ่มขึ้น 100%

— ตลาดเอเชียแปซิฟิคมีธุรกิจใหม่ขยายตัวในรอบครึ่งปีเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน
— ตลาดบริการเอาต์ซอร์สสำหรับระบบงานทางธุรกิจ (BPO) ในเอเชียสวนกระแสตลาดโลก
— การรวมการส่งงานในต่างประเทศในข้อตกลงการทำเอาท์ซอร์สพุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์
— กลุ่มเทเลคอมมีมูลค่าการทำสัญญาเอาท์ซอร์สมากที่สุด

ข้อมูลดัชนีประจำไตรมาส (Quarterly Index) จาก TPI ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปรึกษาด้านการจัดหาสัญญา (sourcing) ระบุว่า ความต้องการบริการเอาท์ซอร์ส (outsourcing) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัญญาเอาท์ซอร์สใหม่ (ซึ่งไม่รวมสัญญาที่ต่ออายุใหม่หรือที่ปรับโครงสร้าง) ในตลาด plus bracket ซึ่งมีมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐ ซึ่งการเอาท์ซอร์สที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในตลาดดังกล่าว มีมูลค่ารวม 5.4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 100% จากช่วงครึ่งแรกของปี 2549

การขยายตัวอย่างมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคสวนทางกับการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในระดับโลกของธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 6% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

นายอาร์โน ฟรานซ์ หุ้นส่วนบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคจาก TPI กล่าวว่า “โดยธรรมเนียมแล้ว ตลาดบริการเอาท์ซอร์สในเอเชีย-แปซิฟิคเป็นตลาดที่ยังโตได้อีกเมื่อเทียบกับตลาดในอเมริกาและยุโรป และมีแนวโน้มที่กิจกรรมจะขยายตัวสูงสุดและต่ำสุด อย่างไรก็ดี การขยายตัวแข็งแกร่งของภูมิภาคนี้ในปี 2549 ได้โตต่อเนื่องมาจนถึงช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และเราก็ได้เห็นความต้องการธุรกิจใหม่ขยายตัวในรอบครึ่งปีแบบ 3 ปีติดต่อกัน และแม้จะมีสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดการเอาท์ซอร์สในเอเชีย-แปซิฟิคเริ่มทรงตัว แต่การขยายตัวสูงของเอเชีย-แปซิฟิคและยุโรปก็จะช่วยชดเชยตลาดสหรัฐที่ย่ำแย่มาก โดยธุรกิจการเอาท์ซอร์สใหม่ๆในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2537

การขยายตัวของเอเชีย-แปซิฟิคยังได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งในตลาด โลกในด้านปริมาณและมูลค่าของความสัมพันธ์ระดับเมก้า (mega relationship) ความสัมพันธ์ระดับเมก้า ซึ่งหมายถึงธุรกรรมที่มีงบรายจ่ายต่อปีโดยเฉลี่ย 100 ล้านดอลลาร์หรือสูงกว่า มีสัดส่วนเท่ากับ 23% ของปริมาณรวมทั่วโลก และ 23% ของมูลค่าทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ในขณะที่ความสัมพันธ์ระดับเมก้าในอเมริกาลดลงอย่างรุนแรง

เอเชีย-แปซิฟิคเป็นภูมิภาคเดียวที่มีการขยายตัวในตลาด BPO ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550

ในเอเชีย-แปซิฟิค มีการเซ็นสัญญา BPO จำนวน 8 ฉบับในประเภท 25 ล้านดอลลาร์หรือสูงกว่าซึ่งมีมูลค่ารวมของสัญญา 700 ล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบเป็นปริมาณ และเพิ่มขึ้น 133% เมื่อเทียบเป็นมูลค่ากับช่วงครึ่งแรกของปี 2549 โดยนายอาร์โน ฟรานซ์ กล่าวว่า:

“มูลค่าของสัญญาในตลาด BPO เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันแล้ว แม้จะยังคงเป็นตลาดเกิดใหม่ แต่ BPO ในเอเชีย-แปซิฟิคก็ดูเหมือนว่าจะโตสวนกระแสโลก และกำลังแสดงสัญญาณการเติบโตอย่างยั่งยืน แต่นี่ไม่ใช่กรณีที่เกิดขึ้นในยุโรปและอเมริกา ซึ่งตลาด BPO ยังคงซบเซาและชะลอตัว ที่จริงแล้ว ในภูมิภาคเหล่านี้ เรากำลังเห็นแนวโน้มที่จะหาโซลูชั่นมาใช้ผ่านบริษัทในเครือ หรือการทำ งานในต่างประเทศ อันเป็นทางเลือกที่นอกเหนือไปการเอาท์ซอร์สแบบเดิม”

ผลสำรวจล่าสุดจาก TPI Index มีสาระสำคัญด้านอื่นๆ ดังนี้

— การรวมการส่งงานในต่างประเทศในข้อตกลงการทำเอาท์ซอร์สพุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์

แม้ TPI สังเกตเห็นว่าการส่งงานในต่างประเทศผ่านบริษัทในเครือเพิ่มสูงขึ้น แต่การใช้การให้บริ การในต่างประเทศภายในขอบเขตเรื่องการเอาท์ซอร์สก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ 59% ของสัญญาที่ TPI ได้เป็นที่ปรึกษาให้นั้นเกี่ยวข้องกับการส่งงานในต่างประเทศบางส่วน ซึ่งนับเป็นเปอร์เซนต์สูงสุดในประวัติการณ์

— กลุ่มเทเลคอมมีการเอาท์ซอร์สมากที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค ขณะที่มูลค่าสัญญาของบริการทางการเงินลดลง

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ภาคบริการทางการเงินมีสัดส่วนคิดเป็น 28% ของตัวเลขมูลค่าการทำสัญญา (TCV) ทั่วโลกสำหรับสัญญาที่มีมุลค่าสูงกว่า 25 ล้านดอลลาร์ และ 38% ของ TCV ในเอเชีย-แปซิฟิค และในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แม้จะครองส่วนแบ่ง 34% ใน TCV โลก แต่ภาคบริการทางการเงินก็มีส่วนแบ่งแค่ 9% ใน TCV ของเอเชีย แปซิฟิค

กลุ่มเทเลคอมเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการเอาท์ซอร์สมากที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะ นี้ โดยในฐานะอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในเอเชีย-แปซิฟิค กลุ่มเทเลคอมครองส่วนแบ่ง 46% ของ TCV ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เทียบกับระดับเฉลี่ย 33% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การขยายตัวโดย รวมนี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างมากจากข้อตกลงระดับเมก้าของไชน่า โมบาย

ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีการเอาท์ซอร์สเพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ได้แก่ภาคการผลิตในสัดส่วน 26% และภาคพลังงาน 16% ของ TCV ในปี 2550 เทียบกับส่วนแบ่งแค่ 1% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา การเปิดยกเลิกการควบคุมกฎระเบียบในอุตสาหกรรมพลังงานในภูมิภาคนี้กำลังมอบโอกาสสำหรับการเอาท์ซอร์ส เนื่องจากบริษัทต่างๆจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้นทุนและปรับปรุงให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

การประชุมแถลงข่าวเรื่อง Index ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคของ TPI

การประชุมแถลงข่าว TPI Asia-Pacific Index รายไตรมาสครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันพุธที่ 18 ก.ค. 2550 เวลา 14.30 น. (AEST) หากต้องการเข้าร่วมการประชุม สามารถโทรศัพท์เข้ามาที่หมายเลขใดหมายเลขหนึ่งตามที่ปรากฏด้านล่าง และมีการถ่ายทอดผ่านเว็บที่ http://wcc.webeventservices.com/view/wl/r.htm?e=70763&s=1&k= 2354769FD9727017437C466E498FE8FA&cb=genesys (เนื่องจากความยาวของ URL ท่านอาจต้องก็อปปี้ URL นี้ลงในช่อง address บนหน้าอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ติดกันหมดโดยไม่ต้องเว้นวรรค)

ข้อมูลการเผยแพร่ซ้ำ

หมายเลขโทรศัพท์
ออสเตรเลีย: 1800 999 130
ฮ่องกง: (852) 3006 8116
สิงคโปร์: 800 852 3396
ญี่ปุ่น: 0053 185 0042
อินเดีย: 000 800 852 1136
จีน (ไชน่า เน็ทคอม): 1080 0852 0771
จีน (ไชน่า เทเลคอม): 1080 0152 1153

รหัสสำหรับเข้าร่วมประชุม: TPI7927
สำหรับผู้ที่ต้องการรับชมรีเพลย์ กรุณาใช้รหัสผ่าน 250707 โดยการประชุมจะเผยแพร่ซ้ำไปจนถึงวันที่ 25 ก.ค.เวลา 14.30 น.ตามเวลา AEST
หากต้องการสำเนารายงาน Index กรุณาติดต่ออลิสัน เอเมอรี่ หมายเลข +61 (0) 407 908 665

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

เกี่ยวกับ TPI
TPI เป็นผู้ก่อตั้งและผู้สร้างนวัตกรรมสำหรับธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดหาสัญญา (sourcing) และเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหาสัญญารายใหญ่ที่สุดของโลก เรามีความเชี่ยวชาญในงานสนับสนุนธุรกิจด้านต่างๆและระเบียบวิธีวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยการใช้ความชำนาญการของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จในวงการ ซึ่งมีประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติมากมาย TPI จึงทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆในการช่วยให้พวกเขาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการผสมผสานที่ดีที่สุดระหว่างการอินซอร์ส (insourcing), บริการแบบร่วมกันและการเอาท์ซอร์ส สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tpi.net

ติดต่อ: TPI
อาร์โน ฟรานซ์, +61 (0) 2 9006 1610
arno.franz@tpi.net
อลิสัน เอเมอรี่, +61 (0) 407 908 665
alison.emery@tpi.net