บริติช เคานซิล องค์กรเพื่อส่งเสริมการศึกษาและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมจากสหราชอาณาจักร ขอเชิญชวนสื่อมวลชนและผู้สนใจร่วมฟังบรรยายพิเศษโดย ท่านเซอร์ จอห์น ซัลสทัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา ประจำปี 2002 ในหัวข้อ ยีน ความเสมอภาค กับการแพทย์เพื่อทุกชีวิต (Genes, Equity and Global Medicine) ในวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2550 เวลา 14.30–16.00 น. ณ ห้องบอลรูม 2 โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท (สถานีรถไฟฟ้า BTS อโศก)
ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้ สาขาชีววิทยาได้เติบโตและขยายขอบเขตความสำคัญโดยเฉพาะด้านการศึกษาออกไปอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนดังกล่าวก็ได้นำมาซึ่งการเรียกร้องความสมดุลระหว่างการแสวงหาผลกำไรกับความยุติธรรมสู่สังคม
การเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถได้รับการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงนั้นจะมีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของมนุษยชาติอย่างยิ่งยวด ในประเทศกำลังพัฒนา โรคภัยไข้เจ็บหลายโรคที่ถูกละเลยความสำคัญได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็ว และในทุกประเทศ ผู้ประสบกับโรคที่พบได้น้อยมักเสียเปรียบ เนื่องจากงานวิจัยและพัฒนาส่วนใหญ่จะได้รับทุนสนับสนุนเพื่อผลตอบแทนทางการเงินอันสูงสุดสำหรับโรคที่มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก ดังนั้นวิธีการพิจารณามอบทุนวิจัยแบบใหม่มีความจำเป็นมากเพื่อให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์จากความรู้ที่ค้นพบอย่างเท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ดี งานวิจัยทางการแพทย์คำนึงถึงประเด็นเรื่องความเสมอภาคไม่มากเท่าที่ควร สหราชอาณาจักรและประเทศไทยต่างพยายามผลักดันให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมกัน แม้ต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาอีกยาวไกลก็ตาม
***ดำเนินการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
กรุณาสำรองที่นั่งหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เพ็ญรพี รามอินทรา
บริติช เคานซิล
โทร 0-2652-5480-9 ต่อ 306
อีเมล์ [email protected]
www.britishcouncil.or.th
เกี่ยวกับท่านเซอร์ จอห์น ซัลสทัน
ท่านเซอร์ จอห์น ซัลสทัน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 1963 หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ในหัวข้อการสังเคราะห์ทางเคมีของ DNA ท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้าน prebiotic chemistry (กำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก) ณ สหรัฐอเมริกา
ในปี 1992 ท่านเซอร์จอห์น ซัลสทัน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของ Wellcome Trust Sanger Institute ซึ่งเป็นสถาบันสนับสนุนโครงการ international Human Genome ของอังกฤษ และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินโครงการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะการจัดตั้งหลักการที่ให้สามารถนำข้อมูลที่ค้นคว้าวิจัยไปใช้ได้อย่างอิสระเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากความรู้ที่ได้ และในปี 2000 ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่มีความสำคัญของอังกฤษโดยหนังสือพิมพ์ Observer
ท่านได้รับพระราชทานยศจากงานวิจัยด้านจีโนมในปี 2001
ท่านได้รับรางวัลโนเบล สาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา ในปี 2002 ร่วมกับ Sydney Brenner และ ob Horvitz จากงานที่พวกเขาำทำร่วมกันเกี่ยวกับ Understanding the development of the worm and particularly the role of programmed cell death