ซิตี้แบงก์ ร่วมกับ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโครงการค่ายพัฒนาเยาวชน ภายใต้แนวคิด “สำนึกคุณแผ่นดิน ร่วมสร้างถิ่น รักษาสิ่งแวดล้อม” โดยนำคณะนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปกว่า 80 ชีวิตจากทั่วประเทศ ร่วมบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมผ่านกิจกรรม นอกห้องเรียน เพื่อมุ่งให้เยาวชนตระหนักถึงความหวงแหนในแผ่นดิน และ ทรัพยากรธรรมชาติ ณ วังสิงห์ รีสอร์ท จ. กาญจนบุรี เมื่อวันก่อน
มร.ปีเตอร์ เอเลียต ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ซิตี้แบงก์ มีปณิธานที่ จะตอบแทนสู่สังคมด้วยการสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนไทย เป็นการติดอาวุธทางความคิด และ สติปัญญา ให้มีโอกาสพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผ่านกระบวนการ การศึกษานอกห้องเรียนในรูปแบบค่ายพัฒนา ในปีนี้ธนาคารซิตี้แบงก์ได้มอบทุนการศึกษา แก่นักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปทั้งหมด จำนวน 118 ทุน เป็นเงิน 3,015,000 บาท แบ่งเป็นระดับมัธยมปลาย 27 ทุน ระดับอาชีวะ 6 ทุน และระดับอุดมศึกษา 85 ทุน พร้อมจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนที่ได้รับทุน เพื่อส่งเสริมการการเรียนรู้นอกห้องเรียน และปลูกฝังจิตสำนึก ในการตอบแทนสังคมในประเด็นต่าง ๆ โดยเปลี่ยนสถานที่และวัตถุประสงค์ของโครงการค่ายพัฒนา เยาวชนให้แตกต่างกันไปในแต่ละปี
“ เราได้จัดโครงการนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปและค่ายพัฒนาเยาวชนติดต่อกันมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้ร่วมมือกับ สภาสังคมสงเคราะห์ฯ จัดโครงการ ค่ายพัฒนาเยาวชน “สำนึกคุณแผ่นดิน ร่วมสร้างถิ่น รักษาสิ่งแวดล้อม” โดยมีเยาวชนชาย-หญิง อายุระหว่าง 17-22 ปี ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลาย ถึง อุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรมที่เราเลือก จ.กาญจนบุรี เพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากเหมาะกับคอนเซ็ปต์ของกิจกรรมที่เราวางแผนไว้ นอกจากนี้ ยังมีโบราณสถานล้ำค่า คือ ปราสาทเมืองสิงห์ ที่สะท้อนถึงความเป็นมา อันยาวนานของถิ่นฐาน กิจกรรมที่เยาวชนร่วมกันทำจะเป็นการปลูกฝังให้เขาตระหนัก รักถิ่นฐานและโบราณสถานที่สำคัญ ของไทย เช่น การร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์ และทำความสะอาด ปราสาทเมืองสิงห์ ทั้งนี้กิจกรรมในค่ายของแต่ละปี ไม่เพียงแต่มุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชน และพัฒนาความรู้และศักยภาพเท่านั้น แต่ยังปลูกฝังเรื่องจิตอาสาให้เยาวชนได้บำเพ็ญประโยชน์ แก่สังคมอีกด้วย”
สำหรับรูปแบบกิจกรรม จะเป็นการให้ความรู้ พร้อมกับให้เหล่าเยาวชนได้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วม กัน รวมถึงการรับฟังบรรยาย ทัศนศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฎิบัติหลายๆ รูปแบบเพื่อให้เกิดการ แบ่งปันประสบการณ์ และเกิดการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน โดยเน้นให้เกิดความสำนึกคุณ ของแผ่นดิน ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติผ่านกิจกรรม ต่างๆ ตามสถานที่สำคัญที่น่าสนใจของจังหวัดนี้ ได้แก่ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกรักแผ่นดิน, รวมพลคนรักษ์สิ่งแวดล้อม, ร่วมสร้างถิ่นแผ่นดินปราสาทเมืองสิงห์, การสำรวจแหล่งกำเนิด ต้นน้ำ ลำธาร การก่อกำเนิด และการดำรงอยู่ของผืนป่า ที่หมู่บ้านช้าง อ.ไทรโยค, รู้จักป่า รู้จักคน รู้จักเขา ที่ช่องเขาขาด, เยี่ยมโรงถ่ายภาพยนตร์ เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร”, รณรงค์รวมพลคนรักษ์สิ่งแวดล้อมและปกป้องภัยโลกร้อน ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นต้น
ว่าที่ร้อยตรีอนุรุทธ ผินสุวรรณ์ วิทยากรฝึกอบรม สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นทั้งผู้คิดกิจกรรมสำหรับน้องๆ ที่มาเข้าค่ายในครั้งนี้ และยังเป็นผู้สร้างสีสัน เสียงหัวเราะ ตลอดจนข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้กับชาวค่าย ได้กล่าวถึงคอนเซ็ปต์ของค่ายพัฒนาเยาวชน ในครั้งนี้ว่า เป็นการดำเนินงานตามชื่อโครงการเลยคือ สำนึกคุณแผ่นดิน ร่วมสร้างถิ่น รักษาสิ่งแวดล้อม เริ่มจาก การปลูกจิตสำนึกเรื่องรักแผ่นดิน โดยให้แด็กๆ ได้รู้ประวัติศาสตร์เรื่องการเสียดินแดนของไทย ไปชมโบราณสถาน และช่วยกันเก็บกวาดใบไม้ ถอนวัชพืชรอบๆ บริเวณปราสาทเมืองสิงห์ เพื่อเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่ รวมถึงไปสัมผัสสิ่งแวดล้อมพวกต้นน้ำ และสิ่งที่อยู่กับป่าคือช้างว่ามีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร
“นอกจากนี้ยังได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ของทหารออสเตรเลียที่ช่องเขาขาด เราพาเขาไปดูทางรถไฟ เดิมที่ร้างไปแล้ว ให้เขารู้จักคำว่า ไม้ คือ ป่าไม้รอบๆ, คน คือ ผู้ที่มาล้มตายที่นี่ และคนที่ยังมีชีวิตอยู่ จะรักษาป่าต่อหรือเปล่า แล้วเดินเลาะไปดูภูเขาซึ่งอยู่ล้อมรอบตลอด เด็กๆ จะสัมผัสด้วยตัวเองได้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ก็จะโยงเข้าสู่เรื่องรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยพวกเด็กๆ ต้องไปเดินรณรงค์ลดโลกร้อน ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว โดยแบ่งตามแนวคิดของแต่ละกลุ่มคือ กลุ่มน้ำ, กลุ่มไม้หรือป่า, กลุ่มขยะ และ กลุ่มลดโลกร้อน กิจกรรมแต่ละอย่างที่พวกเราวางไว้ให้ เขาสามารถนำไปใช้ได้จนถึงรุ่นลูกเขาเลย ไม่ว่าจะเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในแต่ละปีเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของเด็กที่มาค่าย มีการพัฒนาทางด้านความคิดขึ้นมาก สิ่งที่เขาจะได้รับจากการมาเข้าค่าย คือ การเป็นคนดีของสังคม ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โกงชาติ” วิทยากรรวยอารมณ์ขัน กล่าว
เอส-รักษพล สนิทยา นักศึกษาชั้นปี 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าให้ฟังว่าการมาค่ายครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 แล้ว สิ่งที่ได้รับจากการมาค่ายแต่ละครั้ง ได้ทั้งความสนุกสนาน เพราะมีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างทำให้ได้ความรู้ที่แตกต่างกันไป และได้เจอทั้งเพื่อนใหม่ เพื่อนเก่า หมุนเวียน กันไปทั่วประเทศ
“สำหรับการมาค่ายในปีนี้ สิ่งที่ตั้งใจอยากมาดูคือ โรงถ่ายภาพยนตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช”และประวัติของปราสาทเมืองสิงห์ เพราะผมเพิ่งเคยมาเมืองกาญจนบุรีเป็นครั้งแรก มาเห็นจริงๆ ก็ประทับใจมาก คิดว่าหลังจากจบจากค่ายนี้ สิ่งที่จะนำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันคือ การลด ปัญหาของภาวะโลกร้อน เพราะเป็นปัญหาที่ไม่ไกลตัวเรา ในฐานะที่เราเป็นสมองของชาติ หากมีเทคนิค หรือวิธีในการป้องกันโลกร้อนนี้ได้มากขึ้น ก็จะนำไปเผยแพร่ หรือรณรงค์ให้คนอื่นมาช่วยป้องกันโลกร้อน ได้มากขึ้น และสิ่งที่ผมเรียนเกี่ยวกับการวิจัย ก็สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ได้ จากการวิจัยทำให้เรา ทราบสาเหตุหลักๆ ของภาวะโลกร้อนว่ามาจากสาร CFC ที่ปล่อยมาจาก ตู้เย็น สเปรย์ ฯลฯ ส่วนน้องๆ ที่สนใจอยากมาร่วมค่ายในปีหน้า อยากให้มาสัมผัสกับบรรยากาศความสนุกสนานและความรู้ที่ได้จาก ค่าย ซึ่งมีคนส่วนน้อยที่จะได้รับโอกาสอย่างนี้” เอส กล่าว
ด๊ะห์-ซาอาดะห์ นิตีเมาะ นักศึกษาชั้นปี 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมาร่วมค่ายเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ด๊ะห์ ย้อนหลังถึงการเข้าค่ายครั้งแรกว่าได้ไปวัดต่างๆ ที่อยุธยา ซึ่งได้เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับโบราณสถานและประวัติศาสตร์ของจังหวัดนี้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร สำหรับ ครั้งที่ 2 ไปสระบุรี ได้ไปถ้ำกระบอกเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ติดยาและการบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 3 ไปเพชรบุรี เพื่อปลูกป่าชายเลน และล่าสุดก็มาที่กาญจนบุรี
“มาที่นี่ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแผ่นดินและให้เราช่วยกันคิดว่าจะสามารถบูรณา การหรือพัฒนาพื้นที่ได้ยังไง ส่วนสถานที่ ที่อยากไปดูมากคือ ช่องเขาขาด ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟที่ญี่ปุ่น ใช้ทหารเชลยเป็นคนก่อสร้าง และมีคนล้มตายจำนวนมาก ได้รับประโยชน์จากการมาค่ายมาก ทำให้เรา เปิดใจกว้างขึ้นว่าเราไม่ได้มีแค่เพื่อนมุสลิมเท่านั้น แต่ยังได้รู้จักน้องๆเพื่อนๆ เยอะขึ้น ถ้าเราไม่ได้มาค่ายนี้ ก็จะไม่มีเพื่อนต่างสถาบันที่หลากหลาย มีเพื่อนเก่งๆ หลายคนที่รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้อีกเยอะ จึงต้องกลับไป ศึกษาในสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ตัวเองเก่งขึ้น แล้วปีหน้าก็มาแชร์ความรู้กันใหม่ นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้สึกรัก ถิ่นฐานของตัวเองมากขึ้นด้วย” ด๊ะห์ กล่าว
ส่วน “แนน” พนิดา ถุงปัญญา นักศึกษาชั้นปี 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องยกให้เป็นขาประจำชาวค่าย เพราะมาถึง 6 ครั้งแล้วและเกิดความประทับใจ หลายๆ อย่าง สำหรับการมาเมืองกาญจนบุรีเป็นครั้งแรกเธอตั้งใจอยากไปดูสะพานข้ามแม่น้ำแควให้เห็น กับตา ว่าเป็นอย่างไร
“สิ่งที่ค่ายนี้สอนให้ได้เรียนรู้จริงๆ คือ การร่วมกันทำงานเป็นทีม แม้จะไม่มีหัวหน้ากลุ่ม คอยดูแลแต่ทุกคนก็สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี เพราะสังคมตรงนี้บังคับเราทางอ้อมอยู่แล้ว เช่น ถ้าเรามาสายคนทั้งกลุ่มก็ต้องรอเราคนเดียว จึงต้องบังคับตัวเองให้ดี สำหรับความรู้จากการมาค่ายนี้ ที่จะนำไปใช้ได้ต่อที่มหาวิทยาลัยและการทำงานคงเป็นเรื่องรูปแบบของกิจกรรม เพราะช่วย ในเชิงจิตวิทยาได้ ปีหน้าถ้ามีโอกาสก็จะมาค่ายอีก อยากให้น้องๆ ได้มาสัมผัสเพราะมันคุ้มค่ามาก เป็นโครงการและกิจกรรมดีๆ ที่เปิดโอกาสให้กับเด็กที่ขาดโอกาส น้องๆ จะได้มาเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย รับรองว่าจะต้องประทับใจทุกค่ายแน่นอน”
มาฟังเสียงหนุ่มๆ กันบ้าง สอาด สมกระบวน หรือ “หมอน้อย” ของเพื่อนๆ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมาร่วมค่ายเป็นครั้งที่ 5 เขาก็เหมือนเพื่อนๆ อีกหลายคนคือ เพิ่งมากาญจนบุรีเป็นครั้งแรก จึงรู้สึกตื่นเต้นกับการได้ทำกิจกรรม ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะการได้ไปขี่ช้างที่หมู่บ้านช้าง
“ผมเป็นคนชุมพร ไม่มีช้างให้ดู พอได้มาเห็นก็รู้สึกตื่นเต้น อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพราะช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ปัจจุบันจะเห็นว่ามีช้างเข้าไปเดินในกรุงเทพฯ แล้วถูกรถชน อยากให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลตรงนี้ด้วย การมาค่ายทุกครั้งผมได้รับ อะไรกลับไปหลายอย่าง ในครั้งนี้ก็เช่นกัน อย่างแรกคือ ช่วยให้เราตระหนักถึงทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น ป่าไม้ ช้าง ต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่อนๆ ทุกคนก็คิดเหมือนกัน ปกติเราก็รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นปัญหา แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร พอได้มาอยู่ค่ายทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้น และสามารถช่วยแก้ปัญหาได้เบื้องต้นคือ ในการใช้ชีวิตประจำวันเราต้องทำตัวให้เกิดมลภาวะน้อยที่สุด” ว่าที่คุณหมอกล่าว พร้อมทิ้งท้ายให้คนชุมพรชื่นใจว่าหลังจากเรียนจบแล้วจะกลับไปเป็นคุณหมอที่บ้านเกิดแน่นอน
และสำหรับน้องใหม่แห่งค่ายเยาวชน วิรัชพงษ์ อาจวารินทร์ (เล็ก) อายุ 20 ปี ศึกษาอยู่ปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วม ค่ายพัฒนาเยาวชน จากคำชักชวนของพี่ๆ แล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะสนุกมาก มีกิจกรรมให้ทำหลายอย่าง แต่ที่ชอบมากที่สุด คือกิจกรรมรณรงค์รวมพลคนรักสิ่งแวดล้อมและป้องกันโลกร้อน
“กิจกรรมนี้จะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่จะถึงวันจริง ซึ่งวันจริงนั้น จะเป็นการเดินรณรงค์บริเวณ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ให้นักท่องเที่ยว ตลอดจน ผู้คนแถวนั้น ได้ทราบถึงภัยโลกร้อน และ ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เราได้รู้ว่า แม้เรื่องเล็ก ๆ เราก็สามารถช่วยลดโลกร้อนได้ สิ่งที่ได้จากค่ายนี้ มีเยอะมากครับ ได้ไปสถานที่ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ พบเพื่อนใหม่ ซึ่งชอบเพื่อน ๆ ที่ค่ายนี้มาก เพราะมีอัธยาศัยดี เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ดูแลกันเป็นอย่างดี” ชาวค่ายฯ น้องใหม่ กล่าว
เชื่อว่าตลอด 4 วันของการทัศนศึกษาในโครงการค่ายพัฒนาเยาวชน “สำนึกคุณแผ่นดิน ร่วมสร้างถิ่น รักษาสิ่งแวดล้อม” ที่กาญจนบุรี ในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้เยาวชนทุกคนในค่ายดังกล่าวตระหนักและรู้คุณค่าในความเป็นไทย ตลอดจนมีความห่วงใยในการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ซิตี้กรุ๊ป
ซิตี้กรุ๊ป เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของโลกที่ให้บริการแก่ลูกค้าถึง 200 ล้านรายในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมตั้งแต่ลูกค้า รายย่อยทั่วไป ลูกค้าองค์กร ภาครัฐ และสถาบันต่าง ๆ โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการบริการ หลากหลายประเภท อาทิ บุคคลธนกิจ การให้สินเชื่อ และบัตรเครดิต วาณิชธนกิจ การประกันภัย นายหน้าค้าหลักทรัพย์ และการบริหารสินทรัพย์ สำหรับธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า ร่มสีแดงของซิตี้กรุ๊ป ประกอบด้วย ซิตี้แบงก์, ซิตี้ไฟแนนเชียล, พรีมารีก้า, สมิธ บาร์นีย์ และบานาเม็กซ์ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ ค้นหาได้ที่เว็บไซต์ www.citigroup.com