ภาวะเงินเฟ้อในปี 2553 มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา แม้ว่านับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน อัตราเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอลง ขณะที่แรงกดดันราคาที่มาจากด้านอุปสงค์ในประเทศในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีอาจลดน้อยลง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองต่อภาวะการใช้จ่ายของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แรงกดดันราคาที่มาจากด้านอุปทาน กล่าวคือ แนวโน้มราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น จะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในระยะต่อไป โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2553
เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนเมษายน 2553 ยังคงชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากที่ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในเดือนมีนาคม โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ระดับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 (Month-on-Month) ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพในส่วนของค่าน้ำประปา ซึ่งมีผลต่อเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 0.2 (MoM) นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสที่ 2/2553 อาจชะลอลงมาอยู่ไม่เกินร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปี ถ้าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกให้ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงาน มีแนวโน้มเข้าสู่ระยะขาขึ้นเช่นกัน โดยในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (YoY) และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะมีระดับเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่ 2/2553 จากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรก ก่อนที่จะเร่งตัวขึ้นจนเคลื่อนเข้าใกล้เพดานกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของ ธปท. ที่ร้อยละ 3.0 ในช่วงปลายปี
โดยภาพรวมในปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-4.0 จากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2552 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5-2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในปี 2552 โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าอาหาร เป็นสำคัญ
แม้แรงกดดันราคาจากปัจจัยด้านอุปสงค์อาจลดลง แต่ปัจจัยด้านอุปทานยังหนุนเงินเฟ้อพุ่ง
ในภาวะที่เศรษฐกิจและรายได้ของประชาชนเติบโตดี ดังเช่นสถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าอาจไม่มีผลกดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากนัก โดยแม้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาที่ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การบริโภคของภาคเอกชนในไตรมาสดังกล่าวอาจขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปีที่อัตราประมาณร้อยละ 3.9 (YoY) สูงขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 4/2552 (ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะมีการรายงานตัวเลขดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้) อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองจะเป็นปัจจัยลบต่อการบริโภคในช่วงเวลาที่เหลือของปี ซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนั้น จะยิ่งซ้ำเติมภาวะการบริโภคที่เผชิญปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองอยู่ก่อนแล้ว
ทั้งนี้ แม้ว่าแรงกดดันราคาที่มาจากด้านอุปสงค์อาจลดน้อยลงกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในเดือนเมษายน เนื่องจากภาวะอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลงอาจสร้างข้อจำกัดแก่ผู้ประกอบการไทยในการปรับขึ้นราคาสินค้า โดยหากสินค้ามีราคาแพงขึ้นผู้บริโภคก็อาจลดการบริโภคลง อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งแรงกดดันราคาที่มาจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ไม่อาจควบคุมได้นี้ จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น และอาจมีผลทำให้สินค้าบางประเภทขอปรับขึ้นราคาสินค้าหากไม่สามารถรับภาระต้นทุนไว้ได้
ผลกระทบจากการเมือง … ตัวแปรตัดสินมาตรการรัฐในการกระตุ้นกำลังซื้อ
จากทิศทางราคาสินค้าดังกล่าว อาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกนัยว่าการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการดูแลเสถียรภาพกำลังซื้อของประชาชนอาจยังมีความจำเป็น แต่ขอบเขตของการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคงต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปช่วยเหลือ และสถานะทางการคลังของรัฐบาลเองด้วย
แม้ขณะนี้ หลายประเทศในภูมิภาคจะเริ่มทยอยถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น แต่ในกรณีของประเทศไทย ที่มีปัจจัยเฉพาะจากปัญหาการเมืองภายในประเทศนั้น หากปัจจัยการเมืองส่งผลกระทบรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทางเลือกในการคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่ภาครัฐอาจพิจารณาดำเนินการ
ประเด็นเชิงนโยบาย นับจากนี้จึงต้องจับตานโยบายของทางการในการช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการช่วยเหลือที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและมีกำหนดที่จะสิ้นสุดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เช่น
มาตรการตรึงราคาสินค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแนวทางขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ขยายระยะเวลาตรึงราคาสินค้าต่อไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2553 แต่ความสามารถที่จะรองรับการคงราคาสินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายคงขึ้นอยู่กับโครงสร้างต้นทุนการผลิตของสินค้าแต่ละประเภท
มาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ซึ่งปัจจุบัน (วันที่ 4 พฤษภาคม) ราคาดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 29.89 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง(โดยราคาปิดตลาดวันที่ 3 พฤษภาคม ราคาน้ำมันดิบเบรนท์สูงขึ้นมาถึง 88 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นมาที่ 84.44 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล) หากมีการปรับราคาดีเซลอีกครั้งก็จะสูงเกินระดับที่รัฐบาลพยายามที่จะคงราคาไว้ ซึ่งทางเลือกของรัฐบาลอาจใช้กลไกภาษีสรรพสามิตมาช่วยอุดหนุนให้ราคาขายปลีกยังคงไม่เกินระดับ 30 บาท ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับธุรกิจขนส่งนั้น ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจมีความเกี่ยวโยงไปสู่ทิศทางราคาสินค้าประเภทอื่นๆ โดยอาจเป็นเงื่อนไขให้สินค้าอื่นๆ ขอปรับราคาขึ้นเนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น
มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งขณะนี้มาตรการช่วยเหลือที่ยังคงไว้ โดยขยายระยะเวลาใช้มาตรการไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน คือ มาตรการลดค่าไฟฟ้า มาตรการรถเมล์และรถไฟฟรี และการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ซึ่งการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะยกเลิกหรือขยายอายุมาตรการต่อไป จะเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะมีผลต่อทิศทางเงินเฟ้อในครึ่งหลังของปี 2553
การดำเนินนโยบายการเงิน ภาวะเงินเฟ้อเป็นตัวแปรที่ ธปท. ให้ความสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในระยะข้างหน้าเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าใกล้เพดานกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายมากขึ้น หรือถึงแม้ไม่เกินเพดาน แต่เมื่อพิจารณาระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ซึ่งคิดจากอัตราดอกเบี้ย (อาจเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ) หักด้วยอัตราเงินเฟ้อ จะพบว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงอยู่ในระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 1.25 ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเริ่มสูงเกินร้อยละ 1.25 ในช่วงกลางหรือปลายไตรมาสที่ 2/2553 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเริ่มติดลบและจะยิ่งมีช่วงลบสูงขึ้นในครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว การที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งอาจไม่มีความจำเป็นที่ธนาคารกลางจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยทันที แต่การปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นเวลายาวนานและมีช่วงลบที่สูงมากจนเกินไป ก็จะเป็นผลเสียต่อผู้ที่มีเงินออม และไม่จูงใจให้เกิดการออม ดังนั้น สภาวะที่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในเวลาที่เศรษฐกิจอ่อนแอลง และต้องการมาตรการกระตุ้นนั้น ย่อมสร้างความซับซ้อนให้กับการตัดสินใจในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินในอนาคต
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในระยะเวลาที่เหลือของปีมีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน เหตุการณ์รุนแรงและความไม่แน่นอนทางการเมืองจะสร้างความเสี่ยงและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะข้างหน้า ทั้งในด้านการบริโภค การลงทุน และอาจรวมไปถึงการใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีโอกาสชะลอตัวนี้ อาจเป็นปัจจัยลบต่อภาวะการบริโภคให้ชะลอลงในระยะข้างหน้า หลังจากที่ผ่านมา การบริโภคของภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยคาดว่าอาจมีอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ประมาณร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่ 1/2553
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2553 อยู่ระหว่างร้อยละ 3.0-4.0 สูงขึ้นจากปี 2552 ที่ติดลบร้อยละ 0.9 ใน ขณะที่คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในปี 2552 โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัจจัยด้านอุปทาน เป็นสำคัญ
ทิศทางราคาสินค้าและความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกนัยเชิงนโยบายว่า ในการประคับประคองเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวต่อเนื่องต่อไปได้นั้น การดำเนินนโยบายของทางการในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือการดูแลเสถียรภาพกำลังซื้อของประชาชนอาจยังมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทย ซึ่งเผชิญปัจจัยเสี่ยงเฉพาะตัวจากปัญหาทางการเมือง ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และกำลังทยอยลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลง เงินเฟ้อครึ่งหลังปี 2553 มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้วิกฤตการเมืองฉุดอุปสงค์ในประเทศ
ภาวะเงินเฟ้อในปี 2553 มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา แม้ว่านับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน อัตราเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอลง ขณะที่แรงกดดันราคาที่มาจากด้านอุปสงค์ในประเทศในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีอาจลดน้อยลง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองต่อภาวะการใช้จ่ายของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แรงกดดันราคาที่มาจากด้านอุปทาน กล่าวคือ แนวโน้มราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น จะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในระยะต่อไป โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2553
เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนเมษายน 2553 ยังคงชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากที่ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในเดือนมีนาคม โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ระดับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 (Month-on-Month) ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพในส่วนของค่าน้ำประปา ซึ่งมีผลต่อเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 0.2 (MoM) นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสที่ 2/2553 อาจชะลอลงมาอยู่ไม่เกินร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปี ถ้าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกให้ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงาน มีแนวโน้มเข้าสู่ระยะขาขึ้นเช่นกัน โดยในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (YoY) และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะมีระดับเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่ 2/2553 จากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรก ก่อนที่จะเร่งตัวขึ้นจนเคลื่อนเข้าใกล้เพดานกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของ ธปท. ที่ร้อยละ 3.0 ในช่วงปลายปี
โดยภาพรวมในปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-4.0 จากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2552 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5-2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในปี 2552 โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าอาหาร เป็นสำคัญ
แม้แรงกดดันราคาจากปัจจัยด้านอุปสงค์อาจลดลง แต่ปัจจัยด้านอุปทานยังหนุนเงินเฟ้อพุ่ง
ในภาวะที่เศรษฐกิจและรายได้ของประชาชนเติบโตดี ดังเช่นสถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าอาจไม่มีผลกดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากนัก โดยแม้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาที่ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การบริโภคของภาคเอกชนในไตรมาสดังกล่าวอาจขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปีที่อัตราประมาณร้อยละ 3.9 (YoY) สูงขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 4/2552 (ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะมีการรายงานตัวเลขดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้) อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองจะเป็นปัจจัยลบต่อการบริโภคในช่วงเวลาที่เหลือของปี ซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนั้น จะยิ่งซ้ำเติมภาวะการบริโภคที่เผชิญปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองอยู่ก่อนแล้ว
ทั้งนี้ แม้ว่าแรงกดดันราคาที่มาจากด้านอุปสงค์อาจลดน้อยลงกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในเดือนเมษายน เนื่องจากภาวะอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลงอาจสร้างข้อจำกัดแก่ผู้ประกอบการไทยในการปรับขึ้นราคาสินค้า โดยหากสินค้ามีราคาแพงขึ้นผู้บริโภคก็อาจลดการบริโภคลง อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งแรงกดดันราคาที่มาจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ไม่อาจควบคุมได้นี้ จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น และอาจมีผลทำให้สินค้าบางประเภทขอปรับขึ้นราคาสินค้าหากไม่สามารถรับภาระต้นทุนไว้ได้
ผลกระทบจากการเมือง … ตัวแปรตัดสินมาตรการรัฐในการกระตุ้นกำลังซื้อ
จากทิศทางราคาสินค้าดังกล่าว อาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกนัยว่าการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการดูแลเสถียรภาพกำลังซื้อของประชาชนอาจยังมีความจำเป็น แต่ขอบเขตของการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคงต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปช่วยเหลือ และสถานะทางการคลังของรัฐบาลเองด้วย
แม้ขณะนี้ หลายประเทศในภูมิภาคจะเริ่มทยอยถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น แต่ในกรณีของประเทศไทย ที่มีปัจจัยเฉพาะจากปัญหาการเมืองภายในประเทศนั้น หากปัจจัยการเมืองส่งผลกระทบรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทางเลือกในการคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่ภาครัฐอาจพิจารณาดำเนินการ
ประเด็นเชิงนโยบาย นับจากนี้จึงต้องจับตานโยบายของทางการในการช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการช่วยเหลือที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและมีกำหนดที่จะสิ้นสุดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เช่น
มาตรการตรึงราคาสินค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแนวทางขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ขยายระยะเวลาตรึงราคาสินค้าต่อไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2553 แต่ความสามารถที่จะรองรับการคงราคาสินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายคงขึ้นอยู่กับโครงสร้างต้นทุนการผลิตของสินค้าแต่ละประเภท
มาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ซึ่งปัจจุบัน (วันที่ 4 พฤษภาคม) ราคาดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 29.89 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง(โดยราคาปิดตลาดวันที่ 3 พฤษภาคม ราคาน้ำมันดิบเบรนท์สูงขึ้นมาถึง 88 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นมาที่ 84.44 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล) หากมีการปรับราคาดีเซลอีกครั้งก็จะสูงเกินระดับที่รัฐบาลพยายามที่จะคงราคาไว้ ซึ่งทางเลือกของรัฐบาลอาจใช้กลไกภาษีสรรพสามิตมาช่วยอุดหนุนให้ราคาขายปลีกยังคงไม่เกินระดับ 30 บาท ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับธุรกิจขนส่งนั้น ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจมีความเกี่ยวโยงไปสู่ทิศทางราคาสินค้าประเภทอื่นๆ โดยอาจเป็นเงื่อนไขให้สินค้าอื่นๆ ขอปรับราคาขึ้นเนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น
มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งขณะนี้มาตรการช่วยเหลือที่ยังคงไว้ โดยขยายระยะเวลาใช้มาตรการไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน คือ มาตรการลดค่าไฟฟ้า มาตรการรถเมล์และรถไฟฟรี และการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ซึ่งการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะยกเลิกหรือขยายอายุมาตรการต่อไป จะเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะมีผลต่อทิศทางเงินเฟ้อในครึ่งหลังของปี 2553
การดำเนินนโยบายการเงิน ภาวะเงินเฟ้อเป็นตัวแปรที่ ธปท. ให้ความสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในระยะข้างหน้าเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าใกล้เพดานกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายมากขึ้น หรือถึงแม้ไม่เกินเพดาน แต่เมื่อพิจารณาระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ซึ่งคิดจากอัตราดอกเบี้ย (อาจเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ) หักด้วยอัตราเงินเฟ้อ จะพบว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงอยู่ในระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 1.25 ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเริ่มสูงเกินร้อยละ 1.25 ในช่วงกลางหรือปลายไตรมาสที่ 2/2553 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเริ่มติดลบและจะยิ่งมีช่วงลบสูงขึ้นในครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว การที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งอาจไม่มีความจำเป็นที่ธนาคารกลางจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยทันที แต่การปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นเวลายาวนานและมีช่วงลบที่สูงมากจนเกินไป ก็จะเป็นผลเสียต่อผู้ที่มีเงินออม และไม่จูงใจให้เกิดการออม ดังนั้น สภาวะที่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในเวลาที่เศรษฐกิจอ่อนแอลง และต้องการมาตรการกระตุ้นนั้น ย่อมสร้างความซับซ้อนให้กับการตัดสินใจในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินในอนาคต
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในระยะเวลาที่เหลือของปีมีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน เหตุการณ์รุนแรงและความไม่แน่นอนทางการเมืองจะสร้างความเสี่ยงและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะข้างหน้า ทั้งในด้านการบริโภค การลงทุน และอาจรวมไปถึงการใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีโอกาสชะลอตัวนี้ อาจเป็นปัจจัยลบต่อภาวะการบริโภคให้ชะลอลงในระยะข้างหน้า หลังจากที่ผ่านมา การบริโภคของภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยคาดว่าอาจมีอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ประมาณร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่ 1/2553
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2553 อยู่ระหว่างร้อยละ 3.0-4.0 สูงขึ้นจากปี 2552 ที่ติดลบร้อยละ 0.9 ใน ขณะที่คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในปี 2552 โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัจจัยด้านอุปทาน เป็นสำคัญ
ทิศทางราคาสินค้าและความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกนัยเชิงนโยบายว่า ในการประคับประคองเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวต่อเนื่องต่อไปได้นั้น การดำเนินนโยบายของทางการในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือการดูแลเสถียรภาพกำลังซื้อของประชาชนอาจยังมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทย ซึ่งเผชิญปัจจัยเสี่ยงเฉพาะตัวจากปัญหาทางการเมือง ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และกำลังทยอยลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลง