โออิชิ ฟรุตโตะ กลับมาคราวนี้คู่แข่ง คือ เพียวริคุ

หลังจากโออิชิเคยวางจำหน่าย “โออิชิ ฟรุตโตะ” มาแล้วในแพ็กเก็จจิ้งแบบกล่องยูเอชที แต่เพราะว่าน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 จนทำให้กำลังการผลิตแบบกล่องของโออิชิต้องหยุดชะงักไปรวม 1 ปี 3 เดือน โออิชิจึงเข็นโออิชิ ฟรุตโตะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งตั้งแต่ต้อนปี 2556 โดยแปลงโฉม วางโพซิชั่นใหม่ แล้วจับใส่ขวด พลาสติค ไซส์350 มิลลิลิตร ราคา 12 บาท ซึ่งงานนี้เท่ากับว่าเจ้าตลาดอย่างโออิชิ หันมาท้าชิงในตลาดที่ชาขาวเพียวริคุ เจ้าของมาร์เก็ต แชร์เบอร์ 3 แบบเต็มๆ เพราะราคากับรสชาติที่ชูภาพลักษณ์ชากับผลไม้เป็นตลาดเดิมของเพียวริคุ

การกลับมารีลอนช์สินค้าในช่วงนี้มาพร้อมกับการผลิกโฉมของ “โออิชิ ฟรุตโตะ” จากเดิมที่จะใช้แพ็กเก็จจิ้งแบบกล่องยูเอชที มาสู่ขวด โดยโพซิชั่นนิ่งของสินค้าก็เปลี่ยนไปโดยสินเชิง จากที่เป็นภาพการ์ตูนก็กลายเป็นฉลากที่เน้นธรมชาติ และบอกสารอาหาร

อนิรุทธิ์ มหธร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีนี้จะเป็นปีแห่งนวัตกรมสำหรับโออิชิ เราจะเกาะกระแสเรื่อง Cross Segment ที่เราเริ่มมาแล้ว โดยเริ่มต้นปีนี้ด้วยชาเขียวกับผลไม้ ซึ่งมันเป็นขั้นตอนของการ Cross Segment ภายใต้คอนเซ็ปท์ Perfect Combination เลย ไม่ใช่แค่การใส่ Flavor เข้าไป”

โดยตอนนี้เปิดตัวเบื้องต้น 2 รสชาติ “สตรอเบอร์รี่ เมลอน” และ “เลมอน เบอร์รี่” โดยแคมเปญเปิดตัวนี้ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายปีแรก 500 ล้านบาท และส่งผลให้โออิชิมีมาร์เก็ต แชร์เพิ่มขึ้น 5% จากเดิมที่มีส่วนแบ่งตลาด 45-50% ของมูลค่าตลาดชาพร้อมดื่ม 12,000 ล้านบาท

สุธี ธรรมสิทธิ์บูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ 15-18 ปี พบว่า 96% ชื่นชอบในคอนเซปต์ผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ 91% มีความชื่นชอบในรสชาติ และสนใจจะซื้อดื่มแน่นอน ส่วนความพึงพอใจด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีการปรับเปลี่ยนใหม่นั้นสูงถึง 95%

กลยุทธ์การตลาดของโออิชิในปีนี้ นอกจากเรื่องโปรดักท์ใหม่ที่แผนจะออกสินค้าไตรมาสล่ะ 1 สินค้า ยังมีเรื่องของแพ็กเก็จจิ้งขนาดต่างกัน เพื่อให้เขาถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เช่น ไซส์ 350 มิลลิลิตร ที่ตั้งราคา 12 บาทนี้ ก็เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าวัยรุ่น เพราะพฤติกรรมของวัยรุ่นมักดื่มเครื่องดื่มครั้งล่ะไม่มาก แต่ดื่มต่อวันค่อนข้างถี่ และการที่โออิชิออกสินค้าราคา 12 บาท ในครั้งนี้ ก็ทำให้เป็นคู่แข่งขันโดยตรงของ เพียวริคุ ซึ่งจำหน่ายสินค้าราคา 13 บาทมานับตั้งแต่เปิดตัว ในส่วนของโออิชิเองถ้านับเฉพาะแค่ขวดพลาสติค PT เฉพาะที่ขายในร้านสะดวกซื้อถึง 3 ระดับราคา ประกอบด้วย 12 บาท, 15 บาท, 20 บาท นอกจากนี้ก็มีกล่องยูเอชทีซึ่งมูลค่าตลาดกล่องยูเอชทีอยู่ที 20% ของตลาด โออิชิก็จะยังไม่ถอยในตลาดนี้แน่นอน บวกกับขวด PT ไซส์ใหญ่ 1 ลิตร 29 บาท

“ราคาที่ง่ายสำหรับผู้บริโภคก็คือราคาที่มันเป็นเลขกลมๆ ลงตัว 10 บาท 15 บาท แล้วก็ 20 บาทไปเลย แต่อันนี้ที่เราออกราคา 12 บาท ก็เพราะว่าระหว่าง 10 บาท ไป 15 บาทมันมีช่องว่างอยู่เยอะ ก็เลยมองที่ 12 บาท ซึ่งก็น่าจะเป็นตัวเลขที่ง่ายสำหรับผู้บริโภค” อนิรุทธิ์ มหธร เปิดเผย

ส่วนเรื่องที่น่านี่เป็นสงครามราคาหรือไม่ อนิรุทธิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า “สงครามราคาก็คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครเล่นมาเราก็พร้อมที่จะต่อสู้ให้เต็มที่ แต่ก็คงไม่เริ่มก่อน”

มูลค่าตลาด ชาพร้อมดื่มปัจจุบัน 12,000 ล้านบาท*
เติบโต 30% (อัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปี)
ส่วนแบ่งตลาดของโออิชิ 45-50% (อัตราการเติบโตในปี ’55 เป็นตัวเลข 2 หลัก)
งบการตลาดปี 2556 12% ของยอดขาย จากเดิม 10% ของยอดขาย
งบการตลาดเฉพาะการรีลอนช์โออิชิ ฟรุตโต 80 ล้านบาท
*ข้อมูลจากโออิชิ