“กังนัม” ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนยุค เปลี่ยนกระแส สร้างความแตกต่าง (Economic Culture)

ปรากฏการณ์ความสำเร็จของ “กังนัมสไตล์” (Gungnam Style) ที่เป็นปรากฏการณ์ออกมาดังระเบิดโลกครั้งนี้ ซึ่งมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ยูทูบกว่า 500  ล้านครั้ง ตัวเลขนี้อาจจะเพิ่มขึ้นก็ได้

จะสังเกตว่าในเวลาที่ผ่านมา มีศิลปิน K-Pop ของเกาหลีใต้ ฝ่าฝันอุปสรรคเรื่องของภาษา เข้ามาอยู่ในใจวัยรุ่น เด็ก แม้แต่คุณพ่อ คุณแม่ที่ต้องตามกระแสลูกๆ ต้องรู้จักซุปเปอร์จูเนียร์ เกิร์ล เจนเนอเรชั่น  

แต่ใครจะไปคาดคิดว่าตี๋หนุ่มตันๆ หนุ่มไซ หรือ ปาร์ค แจ ซัง เจ้าของเพลง “กังนัมสไตล์” จะขึ้นติดชาร์ตของเกาหลี แถมยังเคยขึ้นอันดับหนึ่ง ชาร์ตมิวสิกวิดีโอของสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินเกาหลีใต้คนแรกที่ทำได้ กลายเป็นนักร้องโกอินเตอร์ สร้างผลงาน “กังนัมสไตล์” สะท้านโลกไปเลย

มองดูแล้ว ทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีที่วิเคราะห์อาจจะนอกตำราไปเลยที่กระแสความแรง  หากมองในไทย “กังนัมสไตล์” ได้เป็นที่รู้จักเรื่อยๆ จากสื่อทีวีที่มีนักข่าวตามเกาะกระแสมาเรื่อยๆ เช่น ข่าวช่อง 3, ข่าวยามเช้า ที่หลายช่องประโคมข่าวความดังอย่างมาก

เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ปรากฏการณ์แบบนี้ สื่อจะมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก  เพราะสื่อถือเป็น Gatekeeper ในการสื่อสารระหว่างผู้ชมกับข่าวที่เกิดขึ้น เพราะข่าวบางอย่างนั้น ถ้าผู้ส่งสารย้ำบ่อยๆ ข่าวนั้นจะเกิดความเชื่อถือ และข่าวนั้นอาจเป็นข่าวที่จากไม่จริง จนเป็นจริงในความรู้สึก

เพลงกังนัมสไตล์ที่เด็กเล็ก ผู้ใหญ่ นำมาเป็นกระแส ก็ต้องบอกได้เลยว่าส่วนหนึ่งมาจากเกาหลีก็ได้ เพราะเวลาที่เกาหลีใต้ทำอะไรโลกก็จับตาดูอยู่แล้ว เพียงแต่คลิกให้โดนก็พอ และเมื่อเพลง กังนัมสไตล์ ที่แตกต่างแบบไม่หล่อ แถมอ้วน แต่ฮิตทั่วโลก  เพราะสร้างความต่างในแบบที่ไม่ลอกใคร คือ Differentiate อย่างไม่ตามใคร ถึงแม้ในอนาคตอาจจะหายไป แต่ “กังนัมสไตล์” ก็ทำให้เห็นว่า กระแสของวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Culture) ของเกาหลีเป็นตัวนำได้เหมือนกัน ในบางประเทศใช้วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจเป็นตัวนำทางเศรษฐกิจของประเทศได้เหมือนกัน เห็นชัดคือเกาหลีใต้ ที่ใครต้องฝึกทำกิมจิ ฝึกชงชา เป็นต้น

ในประเทศไทย แต่ก่อนคนต่างชาติที่เข้ามาก็มาดูวิธีการไหว้ การรำวง การทำอาหารสไตล์ไทยๆ  แต่กลับไม่เป็นกระแสแบบเกาหลีทั้งที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่ดีๆ มากมาย เช่น  อาหารไทย ดนตรีไทย จังหวะรำวงแบบไทยๆ  ซึ่งน่าเป็นแรงผลักดันให้เป็นวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Culture) ได้ แต่ทำไมเราไม่สร้างกระแสทางนี้บ้าง คงมีแต่กระแส “จ๊ะคันหู” ที่ทำให้คนไทยได้วิจารณ์กันสักพักกับท่าเต้นที่ออกจะล่อแหลม กวนๆ ในที แต่ก็สู้ท่าม้าย่องแบบ “กังนัมสไตล์” ได้ ซึ่งดูแล้วสนุกสนาน ในเมืองไทย ถ้าใช้ Culture ที่เรามีมาเป็นแนวทางการนำทางเศรษฐกิจก็น่าจะดี แต่ไม่ค่อยมีใครมองเรื่อง Culture นำเศรษฐกิจเหมือนเกาหลีใต้ที่เขาใช้ Cultureมาเป็นตัวนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีเหมือนกัน

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า อัลบั้มชุดที่ 2 จะสร้างงานสะท้านโลกแบบกังนัมสไตล์ได้หรือไม่  อาจต้องเปลี่ยนสไตล์ท่าเต้นใหม่ๆ ก็ได้ ก็น่าจะลองเอาท่าเต้น จ๊ะคันหู ไปลองเต้นดู อาจสะท้านโลกได้ ครั้งหน้า คงมีเรื่องของกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ที่กำลังเป็นกระแสมาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครับ