"หมีคุมามอน" ฮิตถึงฮ่องกง

หมี “คุมามอน” สัญลักษณ์ประจำจังหวัดคุมาโมโต เตรียมข้ามน้ำข้ามทะเลไปวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อที่ฮ่องกง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
       
ของที่ระลึกรูป “คุมามอน” หมีสีดำ สัญลักษณ์ประจำจังหวัดคุมาโมโต เมืองสำคัญของเกาะคิวซู ประเทศญี่ปุ่น จะวางจำหน่ายในห้างสะดวกซื้อ Circle K 330 แห่งทั่วเกาะฮ่องกง โดย Circle K ถือเป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในฮ่องกง รองจาก 7-11
       
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ Circle K ได้เข้ากับกับนายอิคุโอะ คาบาชิมะ ผู้ว่าราชการจังหวัดคุมาโมโต และได้ตกลงกับทางสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดคุมาโมโต เพื่อวางจำหน่ายของที่ระลึกหมีคุมามอนในฮ่องกง ข้อตกลงนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือที่สมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยทางจังหวัดคุมาโมโตสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว ขณะที่ร้าน Circle K ก็ต้องการนำเสนอสินค้าใหม่ๆให้กับลูกค้า
       
หมี “คุมามอน” เป็นที่นิยมอย่างมากในฮ่องกง โดยห้างสรรพสินค้าหลายแห่งได้นำของที่ระลึก “คุมามอน” จากแดนอาทิตย์อุทัยมาจำหน่าย หากแต่ Circle K เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศรายแรกที่ได้รับลิขสิทธิ์จากทางจังหวัดคุมาโม โตอย่างเป็นทางการ
       
ของที่ระลึกหมี “คุมามอน” 37 ชนิด เช่น พวงกุญแจ, สายคล้องโทรศัพท์มือถือ,ตุ๊กตา รวมทั้งขนมและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีสัญลักษณ์หมีดำผู้น่ารัก จะวางจำหน่ายที่เกาะฮ่องกงตั้งแต่เดือนนี้จนถึงวันที่ 29 เมษายนเท่านั้น โดย Circle K คาดว่าจะมียอดขายมากกว่า 19.7ล้านเยน
       
นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่ของของที่ระลึก “คุมามอน” ครบจำนวนตามยอดซื้อ รวมทั้งจะแจกกระดาษทิชชู่รูปหมี “คุมามอน” 5 ล้านชิ้นตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของฮ่องกงด้วย
       
การขายสินค้าของที่ระลึกประจำท้องถิ่นของญี่ปุ่นในต่างแดนถือเป็น เรื่องพิเศษ โดยเครือข่ายร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ของฮ่องกงได้เดินตามรอยร้าน 7-11 ในไต้หวัน ที่เคยนำ “คุมามอน” ไปจำหน่ายในร้านค้าหว่า 5,000 แห่งในปีที่แล้ว และได้รับความนิยมอย่างมาก
       
ชาวฮ่องกงเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นมากเป็น อันดับที่ 4 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ทางจังหวัดคุมาโมโตจึงทุ่มงบประมาณ 280 ล้านเยนเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยว โดยจะโฆษณาผ่านทางวีดีโอในรถเมล์ของฮ่องกงมากว่า 2,600 คัน รวมทั้งจะจัดทำโฆษณาบนรถไฟใต้ดินความยาว 36 เมตรด้วย.

ที่มา : http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000026225