อีริคสันเตรียมพร้อมกับบทบาทในการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมธุรกิจ

·  การคาดการณ์ปี 2015 กับการให้ความสำคัญไปที่การเพิ่มการใช้งานของวิดีโอ จำนวนผู้บอกรับบริการเครือข่าย LTE และพื้นที่ให้บริการโมบายด์บรอดแบนด์

·  การประกาศอัพเกรด hyperscale สำหรับ Ericsson Cloud System ด้วยการเพิ่มซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ใหม่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบคลาวด์ ตลอดจนการเปิดตัว Ericsson Traffic Cloud เทคโนโลยีการควบคุมและจัดการการจราจร

·  เทคโนโลยีและโซลูชั่นที่เปิดตัวขึ้นมาทั้งหมดนี้เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มผู้ให้บริการในด้านของวิวัฒนาการของเครือข่าย การปรับเปลี่ยนของไอที ตลอดจนสร้างโอกาสในด้านของนวัตกรรมและการเติบโตของรายได้

นาง คามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัทอีริคสันประเทศไทย ได้สะท้อนมุมมองจากงาน Mobile World Congress ซึ่งจัดขึ้นในเมืองบาเซโลน่าที่ผ่านมา โดยงานนี้ อีริคสันได้มีการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ๆ ที่บริษัทนั้นมีความต้องการที่จะนำเข้าสู่ตลาด รวมถึงเสนอมุมมองการคาดการณ์เทรนด์ธุรกิจการสื่อสารในปี 2015 และมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นในหลากหลายวงการธุรกิจ

ทั้งนี้ นาง คามิลล่า กล่าวว่า “เราคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญ 4 อย่างในช่วงปี 2015 นี้ คือ 1.ผู้คนจำนวนมากขึ้นจะชมวิดีโอจากการสตรีมเป็นรายสัปดาห์มากกว่าชมรายการทีวีตามผังรายการ 2. ครึ่งหนึ่งของการรับส่งข้อมูลในในเครือข่ายโมบายล์จะอยู่ในรูปแบบวิดีโอ 3. ผู้ใช้บริการเครือข่าย LTE จะเพิ่มเกินกว่าร้อยละ 80 และ 4.พื้นที่ให้บริการโมบายล์บรอดแบนด์ทั่วโลกจะเกินกว่าร้อยละ 70 โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเป็นแรงผลักดันของการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้กับทั้งอุตสากรรมไอซีทีและอุตสาหกรรมในแขนงอื่นๆ

ทั้งนี้ นาง คามิลล่า ยังกล่าวเสริมอีกว่า “มีความคิดแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในหลายๆ อุตสาหกรรม โดยเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากตัวและรูปแบบสินค้าทางกายภาพไปสู่การให้บริการในรูปแบบดิจิตอล โมเดลทางธุรกิจแบบใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งก็จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารต่างๆ โดยจะเพิ่มสร้างประสิทธิภาพการติดต่อและความใกล้ชิดกับผู้บริโภคที่เสมือนจริง ผ่านอุปกรณ์และเครื่องมือทางดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น และทั้งหมดนี้ถือว่าเทตโนโลยีไอซีทีนั้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม”

ทั้งนี้ ภายในงาน Mobile World Congress ที่ผ่านมานั่น อีริคสันได้นำเสนอโซลูชั่นและความสามารถต่างๆที่มีอยู่รอบด้านเพื่อจะเข้ามารองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยโซลูชั่นที่เปิดตัวขึ้นมาทั้งหมด 9 ประเภทนั้นมาภายใต้แนวคิดของการเปลี่ยนแปลงและสร้างประสบการณ์ดิจิตอลใหม่ๆนั้นเอง

นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ ของ อีริคสันประเทศไทย กล่าวเสริม ความสำเร็จจากงาน Mobile World Congress ไม่เพียงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเท่านั้นแต่จะส่งผลให้เกือบจะทุกๆอุตสาหกรรมต้องมีปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายล์ การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ และระบบคลาวด์ โดยทั้งสามส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและใช้บริการต่างๆจากระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์แบบบรอดแบนด์ได้ในทุกๆที่ทั่วโลก นั้นหมายความว่า รูปแบบของบริการรวมถึงลูกค้าและผู้ให้บริการจะไม่ได้ถูกจำกัดภายใต้ปัจจัยธุรกิจแบบเดิมๆเช่น การตลาด การขาย การส่งสินค้า สถานที่และเวลาอีกต่อไป เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่ สังคมแห่งเครือข่าย หรือ Networked Society ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์หรือ Digital Economy

มุมมองสำคัญจากงาน MWC ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมประเทศไทย

·  งาน Mobile World Congress เป็นงานที่แสดงความนวัตกรรม ความร่วมมือ และกลุ่มพันธมิตร โดยจุดประสงค์เพื่อปลดล็อกผลประโยชน์ของเศรษฐกิจและสังคมจาก MBB อินเทอร์เนต และไอซีที

·  โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เนตจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย โดยมีตัวเลขที่เผยออกมาว่าร้อยละ 23 ของคนไทยใช้โซเชียลมีเดียและการส่งข้อความ IM ในชีวิตประจำวัน และร้อยละ 89 ของคนไทยใช้โซเชียลมีเดียทุกสัปดาห์

·  โมบิลิตี้ คลาวด์ และบรอดแบนด์เป็นตัวผลักดันสังคมเครือข่าย (Networked Society) โดยสังคมเครือข่ายนั้นนั้นจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของคนไทย รวมถึงอุตสาหกรรมธุรกิจ และภาครัฐ

·  สังคมเครือข่ายจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เนตและเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์

·  สิ่งที่จะกีดขวางไม่ให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของ Internet Economy คือ โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม ข้อมูล และความเป็นปัจเจก

·  ภาครัฐควรที่จะสร้างการเข้าถึงให้กับทุกคน ด้วยการสร้างบทบาทที่ชัดเจนในการวางแผนและการใช้งานสเปกตรัม ตลอดจนมีมุมมองระยะยาวและการดำเนินการแผนเครือข่าบบรอดแบนด์แห่งชาติร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ

·  อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยควรที่จะมีสเปกตรัมเพิ่มขึ้นเพื่อการใช้งานโมบายบรอดแบนด์ในราคาที่ถูกลง พร้อมทั้งสร้างการแข่งขันและความน่าดึงดูดจากในภูมิภาค ทั้งนี้ด้วยความสามารถของเครือข่ายที่ก้าวหน้าจะช่วยให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศจะได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริงของ digital economy