เปิดตัวอย่างเป็นทางการ สำหรับเดนท์สุ มีเดีย พาเลท (ประเทศไทย) ผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2004 ในไทย จากบริษัทแม่ คือ เดนท์สุ อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดทั่วโลก โดยมี Marketing Partner คือ บริษัท ทศภาค จำกัด ทำหน้าที่ดำเนินงานด้านการตลาด และประสานงานการถ่ายทอดสดจากประเทศโปรตุเกส ออกอากาศผ่านทางช่อง 3 และช่อง 7 ทั้งสิ้น 33 นัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2547
สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 7 คือคู่สัญญาที่ทำอย่างเป็นทางการกับ FIFA โดยที่ทั้ง 2 ช่องจะทำการถ่ายทอดสดและออกอากาศพร้อมกันในนัดเปิดสนาม ระหว่าง โปรตุเกส กับ กรีซ และนัดชิงชนะเลิศ ขณะที่การแข่งขันคู่อื่นๆ ทั้ง 2 ช่องจะทำการถ่ายทอดสดสลับกันวันละ 2 คู่ในรอบแรก โดยคู่แรก ตั้งแต่เวลา 23.00-01.00 น. และคู่ที่สอง ในเวลา 01.45-03.45 น. สำหรับการแข่งขันรอบแรกนัดสุดท้ายที่ทุกคู่ในแต่ละสายจะต้องทำการแข่งขันในเวลาเดียวกัน รวมทั้งรอบ 8 ทีมสุดท้าย และรอบรองชนะเลิศ ทั้ง 2 ช่องจะถ่ายทอดสดการแข่งขันของแต่ละคู่พร้อมกัน ในเวลา 01.45-03.45 น.
แม้ฟุตบอลยูโร 2004 จะเป็นรายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ กระนั้นจำนวนสปอนเซอร์ที่สนับสนุนครั้งนี้ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่เดนท์สุวางไว้ 12 ราย เพราะปัจจุบันมีสปอนเซอร์ 7 ราย เท่านั้น แบ่งเป็น 3 package ประกอบด้วย
Platninum
– SPONSOR / PACKAGE : AIS, เบียร์ช้าง
– เงินสนับสนุน : รายละ 30 ล้านบาท
– เวลาโฆษณา : ช่วงพัก 1 นาที
ld
– SPONSOR / PACKAGE : Gold, Glico และ Yamaha
– เงินสนับสนุน : รายละ 15 ล้านบาท
– เวลาโฆษณา : ช่วงพัก 30 วินาที
Silver
– SPONSOR / PACKAGE : Silver, Toyota, M-150 และสปอนเซอร์
– เงินสนับสนุน : รายละ 10 ล้านบาท
– เวลาโฆษณา : ช่วงพัก 30 วินาที แต่จะได้รับสิทธิอื่นน้อยกว่า package Gold
*แต่ละ package จะได้รับสปอตโฆษณาระหว่างถ่ายทอดสดทั้ง 33 นัด และ
สปอตโฆษณาในรายการพิเศษเกี่ยวกับการแข่งขัน รวมทั้ง VTR ด้วย
*รวมรายได้จากสปอนเซอร์ ณ ขณะนี้ 130 ล้านบาท หากได้ครบ 12 รายตามเป้า ก็จะเป็น 240 ล้านบาท รายได้ส่วนนี้จะนำมาแบ่งเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน สำหรับ เดนท์สุ ทศภาค ช่อง 3 และช่อง 7
เดนท์สุ มีเดีย พาเลท คือเบื้องหลังความร่วมมือที่สามารถลดรายจ่ายค่าลิขสิทธิ์ลงไปกว่า 15 ล้านบาท คือ ครั้งนี้จ่ายเพียง 65 ล้านบาท จากครั้งก่อน ฟุตบอลยูโร 2000 ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เคยต้องจ่ายถึง 80 ล้านบาท “เพราะครั้งก่อนไป bid แข่งขัน แต่ครั้งนี้ไม่ต้อง bid ราคาต่ำลงกว่าเดิม ทุกฝ่าย happy”
สฤษฎกุล แจ่มสมบูรณ์ President & C.E.O. บริษัท เดนท์สุ มีเดีย พาเลท (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงที่มาที่ไปของค่าลิขสิทธิ์ซึ่งถูกลง
สปอนเซอร์ 3 ใน 7 ราย คือลูกค้าของ บริษัท เดนท์สุ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แก่ กูลิโกะ โตโยต้า และยามาฮ่า อาจมองได้ว่าด้วยความเป็น Agency ยักษ์ใหญ่ที่มีลูกค้าอยู่ในมือจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นสายเลือดญี่ปุ่นเหมือนกัน ทำให้การหาสปอนเซอร์เพิ่มอีกเพียง 5 รายให้เต็มโควตา (แต่ละ package กำหนดไว้ 4 ราย) ย่อมไม่ใช่เรื่องยาก เพราะขณะนี้อยู่ในระหว่างเจรจาอีก 2-3ราย และใกล้บรรลุข้อตกลงเต็มทีแล้ว
เดนท์สุ ประเทศไทย ไม่ใช่หน้าใหม่ในแวดวงทีวี เคยเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ญีปุ่น “โอชิน” เข้ามาถ่ายทอดในโทรทัศน์ เป็นเจ้าของรายการ “มาตามนัด” และยังคร่ำหวอดอยู่ในแวดวง sport marketing มาตั้งแต่ถ่ายทอดฟุตบอล “โตโยต้าคัพ” เป็นการดวลแข้งระหว่างแชมป์ทีมสโมสรยุโรป และแชมป์ทีมอเมริกาใต้ ซึ่งเดนท์สุเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการทำตลาด ต่อเนื่องมาถึงฟุตบอลโตโยต้าคัพ, ยามาฮ่าคัพ และยูลีก “เอเชียนเกมส์” ครั้งที่ 14 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2541 ฟุตบอลยูโร 20004 และสำหรับเดนท์สุแล้ว ถือว่าเป็นการขยับไปอีก step