Nostalgia เกิดจากการรวมกันของภาษากรีกสองคำ คือคำว่า nostosn แปลว่าการกลับบ้าน กับ algos แปลว่าความเจ็บปวด เป็นคำที่ใช้ในความหมายแทนการคิดคำนึงถึงอดีต ถึงช่วงเวลาที่ผ่านไป เขาว่ากันว่า การคิดถึงเป็นเรื่องของความรู้สึกมากกว่าความคิด โดยมองว่าความทรงจำที่ผ่านมาในอดีตนั้น ยังมีชีวิต และคงอยู่ไปตลอด อาจจะอยู่ในกล่อง หรือหีบสมบัติสะสมของเด็กบางคน ก็รอแค่เพียงวันเวลากลับมาเปิด “ลิ้นชักความทรงจำ” อีกครั้ง
กิจกรรมการตลาดที่เกิดขึ้นของกระแส RETRO จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สไตล์หรือการมีสีสันที่สด แตกต่างๆจากยุคที่เป็นอยู่อื่นๆเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ RETRO ที่ยังถือว่าร่วมสมัยอยู่ก็คือตั้งแต่ช่วงปี 50’s 60’s 70’s 80’s ที่ถือเอาช่วงชีวิตของคนบางคนที่เกิดและมีอายุประมาณ 20-50 ปี ซึ่งคนที่อายุน้อยกว่านี้บรรยายการหวนคิดถึงอดีตยังไม่มีความชัดเจนที่แตกต่างจนถือเป็นลักษณะเฉพาะได้มาก เพราะยังถือว่ามีความร่วมสมัยอยู่มาก คือ “ขาดประสบการณ์ร่วม” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายในตลาด RETRO ส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยทำงานทั้งหมด
การสร้างความรู้สึกให้ย้อนกลับไปสู่อดีต จึงเป็นการเดินทางที่ประกอบด้วยหลายทาง ทั้งอารมณ์ความรู้สึก วิถีชีวิต แฟชั่น และวัฒนธรรม กระแส RETRO จึงค่อนข้างครอบคลุมเกือบทุกด้านเท่าที่จะเป็นไปได้ของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่ ของตกแต่งเล็กๆภายในบ้าน ร้านอาหารที่เกิดขึ้นจำนวนมากที่ตกแต่งสไตล์นี้ ไล่ไปจนเรื่องดนตรี ภาพยนตร์ การแต่งกาย มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องรอบนอกอย่างแผ่นเสียงหรือเครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ ร้านขายของเก่า ร้านเฟอร์นิเจอร์ โดยไล่ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ก็ล้วนแต่ลงมาเล่นกับกระแสอารมณ์ความรู้สึกของ Retro
Retro Marketing
เป็นความน่าสนใจอย่างหนึ่งของคนที่อายุมากขึ้นเรื่องที่ได้เห็นเรื่องราวต่างๆไม่ว่าจะเป็นสไตล์ กระแส หรือแฟชั่นที่เปลี่ยนไปปีต่อปี และคนที่มีอายุมากที่สุดก็จะได้เห็นมันย้อนกลับมาอีกครั้งเรื่อยๆ
เทียบง่ายๆ ทุกคนคงเคยจะจำได้ดีกับของเล่นที่ตัวเองเคยชอบตอนเด็ก เสื้อผ้าที่ฮิต หรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่เราในพบทางตรง และของเหล่านี้สร้างความตื่นใจทุกทีที่เราไปเจอกับมันในร้านขายของเก่า ได้ฟังเพลงคุ้นเคยที่เราเคยร้องติดปากในร้านอาหาร หรือของบางอย่างที่เราคุ้นๆว่าเคยเห็นตอนเด็กๆ ในวงสนทนามีคนพูดถึงเหตุการณ์เก่าๆที่ผ่านไป
ประสบการณ์ร่วมที่จะเจอได้เฉพาะในความทรงจำของคนที่เคยผ่านมาแล้วเท่านั้น ถึงจะสร้างความสนิทแนบแน่นกับตัวสินค้าได้อย่างดี ซึ่งแบ่งออกได้สองอย่าง อย่างแรกคือ “เก่าจริง” อย่างที่สองคือ “เลียนแบบของเก่า” ที่นำเอาสไตล์ สีสัน แฟชั่นแบบอย่างเฉพาะลงมาอยู่ในตัวสินค้า ให้เรามีความรู้สึกหลงใหลกับวิธีส่งเสริมการขาย
นอกจากนั้น โดยทั่วไปเทรนที่เกิดขึ้นเฉพาะแค่ใน 3 อย่างแรกอย่าง เพลง ภาพยนตร์ เสื้อผ้า เราอาจจะเรียกว่าเป็นกระแสที่เป็น Fashion ได้ แต่เมื่อกระแสกินลึกเขามายังสินค้าที่เป็น ของใช้ภายในบ้าน อาจจะถือได้ว่าสิ่งเหล่านั้นถือเป็น Lifestyle เป็นวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ส่วนหนึ่ง เพราะอย่างน้อยคนที่ซื้อสิ่งของเหล่านี้ไปใช้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ หรือของใช้ตกแต่ง เป็นเรื่องของรสนิยมที่จะยอมรับและจะใช้สิ่งของเหล่านั้น ในระยะที่นับเป็นปี ไม่ใช่เดือน