Cool of the Ad

ปิดฉากไปแล้วสำหรับงน Adfest มหกรรมโฆษณาภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 9 ปีนี้ไฮไลต์งานคึกคักมีสีสันไม่แพ้ปีก่อน ทั้งปริมาณผลงานรวมทั้งสิ้น 4,738 ชิ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17 เปอร์เซ็นต์ จากเอเยนซี่ทั้งหมดกว่า 400 แห่งจาก 34 เมืองทั่วเอเชียแปซิฟิก

ผลงานจาก “อินเดีย” จัดว่าติดอันดับส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 797 ชิ้น จาก 5 เมืองทั่วประเทศ รองลงมาเป็นเอเยนซี่จาก “กรุงเทพ” ซึ่งส่งผลงานทั้งสิ้น 766 ชิ้น ตามด้วย “สิงคโปร์” 672 ชิ้น

ครั้งนี้จัดว่าสร้างปรากฏการณ์เด่นที่สุดต้องยกให้กลุ่ม “โปสเตอร์และโฆษณาสื่อกลางแจ้ง (Poster and Outdoor), “การตลาดโดยตรง (Direct Marketing)”, “อินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)” ที่เหล่าบรรดาเอเยนซี่ในภูมิภาคส่งจำนวนผลงานเพิ่มมากขึ้นรวม 3,260 ชิ้น สะท้อนให้เห็นแนวโน้มการใช้สื่อหลากหลาย เชื่อยโยง และสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นในภูมิภาค

สำหรับผลงานชิ้นโบแดงของโฆษณาประเภทการตลาดโดยตรง (Direct Marketing) ของ DDB New Zealand เมือง Aucland ที่วสามารถคว้ารางวัลGold ประเภทแคมเปญผสมผสาน (Integrated campaign) ของแมกกาซีนออนไลน์ Nzgirl ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ประยุกต์กับการใช้สื่อสาตลาดจนแคมเปญประสบความสำเร็จ สร้างกระแสทอล์กออฟเดอะทาวน์ได้อย่างท่วมท้น

สำหรับงาน Print Advertising จากเอเยนซี่ไทยก็จัดว่า “แจ้งเกิดเต็มตัว” ไม่แพ้กัน เพราะนอกจากติดอันดับผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมากที่สุด ประเภท Print รวม 323 ชิ้น และยังกวาดรางวัลเด่นๆแทบทุกประเภท และ categories เรียกว่าทั้ง The Best, Gold, Bronze, Silver รวม 26 รางวัล โดย The Best ของงาน แคมเปญผลงาน BBDO Bangkok คว้าไปครองจากชุดงาน Maglite ของ Campaign1/2/3

“ฟิล์มคราฟ์ (Print Craft) จัดเป็นอีกผลงานประกวดกลุ่มใหม่ที่คณะผู้จัดงานได้เพิ่มเข้าไปล่าสุด (New Categories) เพื่อเปิดกว้างให้แก่บรรดาช่างภาพ, ผู้สร้างสรรค์ภาพประกอบ, ผู้ที่ตกแต่งภาพ, สไตล์ลิสต์ และโปรดักชั่น ดีไซน์เนอร์ ซึ่งถือว่ามีส่วนสำคัญให้งานโฆษณาแต่ละชิ้นประสบความสำเร็จ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรวม 362 ชิ้น

มีเอเยนซี่ “สิงคโปร์” ส่งผลงานเข้ามากที่สุด 127 ชิ้น แต่คว้ารางวัล The Best ไปได้เพียง 3 รางวัล จากประเภทงาน Retouching Manipulation-Campaign, Single and Use of Retouching ขณะที่ “ไทย” สร้างชื่อเสียงบนเวทีเช่นกัน โดยคว้า The Best จากงานประเภท Photography Campaign ผลงานชิ้นเอกของ Remix Studio Bangkok “ในแง่ภาพรวมชิ้นงานโฆษณา “ฟิล์มคราฟท์” สำหรับไทยยังจัดว่าความโดดเด่นยังน้อย อาจเพราะส่วนหนึ่งจำนวนชิ้นงานที่ส่งเข้ามาจากไทยน้อยอยู่ แต่ก็ทำได้ดี” ตี๋-สมชาย ชีวสุทธานนท์ 1 ในกรรมการตัดสินรางวัล FLIM CRAFT ให้ความเห็น

อย่างไรก็ตาม เวทีประกวดงานคราฟ์ของแอดเฟสเป็นที่รู้จักในต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ชิ้นงานจากต่างประเทศเพิ่มเข้ามารวมเป็นกว่า 130 ชิ้นงานที่ส่งเข้าร่วมประกวด การแข่งขันจึงมีความรุนแรงขึ้นด้วย

ประเภทสื่อ : โฆษณากลางแจ้ง Outdoor
คว้ารางวัล : Gold
สินค้า : Sony Playstation2
ชื่อแคมเปญ : MAZE
บริษัทเอเยนซี่ : McCann Erickson เมือง Kuala Lump
จุดเด่นของงาน : เรียบง่าย ใช้ลายเส้น เทา-ขาว ทำเป็นช่องทางเดิน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์รูปภาพ แต่ให้เรื่องราวของโลกจินตนาการ

ประเภทสื่อ : อินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)
คว้ารางวัล : Gold ประเภท Website : Consumer
สินค้า : @nify Broadbrand คอนซูเมอร์
ชื่อแคมเปญ : The pitfalls of broadban
บริษัทเอเยนซี่ : Dentsu เมือง Tokyo
จุดเด่นของงาน : มีความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบเว็บไซต์ ชวนให้ติดตามและเข้าไปดูด้วยใช้กระจกบานคู่สะท้อนภาพเรื่องราวแรก ก้อนหินที่เรียงรายในสวนนอกบ้าน จากนั้นสะท้อนภาพชาย-หญิงกำลังกินอาหารอยู่บนโต๊ะ สุดท้ายปรากฏภาพชายสูงอายุนั่งอยู่คนเดียว

ประเภทสื่อ : Print Craft
คว้ารางวัล : The best ประเภท Photography Single AD
สินค้า : Maglite
ชื่อแคมเปญ : Campaign 1/2/3
บริษัทเอเยนซี่ : Remix Studio Bangkok เมือง Bangkok
จุดเด่นของงาน : งานแคมเปญสิ่งพิมพ์ชุดนี้มี 3 ชุดต่อเนื่อง มีเรื่องราวบอกเล่าสะท้อนมุมมองนักสร้างสรรค์ที่หยิบด้านมืดคนในสังคมมานำเสนอ สอดคล้องกับสินค้าได้ดี ชุดแรกเป็นสถานการณ์ในโรงภาพยนตร์ที่ชายสูงวัยนั่งบนเก้าอี้ อยู่ในอาการตกใจกับเรื่องราวที่เห็นขณะที่คนอื่นหมกมุ่นกับกิจกรรมตัวเอง สีภาพค่อนข้างซีดเบลอ

ขณะที่ชุดที่ 2 และ 3 เป็นด้านมืดคนในบาร์ ตามด้วยโฆษณาโสเภณีข้างถนน พร้อมข้อความใต้ “see the dark side” มีกระบอกไฟฉายสีดำที่ติดป้ายแบรนด์ Maglite แบรนดิ้งอย่างลงตัว