กองทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Dec 2023 04:14:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองปีหน้า ‘เทคคอมปานี’ อาเซียนมีโอกาส ‘ระดมทุน’ ได้มากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขต้องเห็นหรือมีแผนทำ ‘กำไร’ ชัดเจน https://positioningmag.com/1456527 Wed, 20 Dec 2023 10:37:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456527 นับตั้งแต่ปี 2560 การลงทุนของเหล่า Venture Capital หรือ VC ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าในปีหน้า เหล่า VC จะมีการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตามรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company พบว่า เนื่องจากกระแสระดับโลก เช่น อัตราเงินเฟ้อและต้นทุนเงินทุนที่สูง ได้ส่งผลให้การใช้เงินทุนภาคเอกชนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี และจากข้อมูลของ KPMG ระบุว่า การร่วมทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลงเหลือ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2560 ขณะที่ในไตรมาสสองของปี 2566 การลงทุนของกลุ่ม VC ในภูมิภาคอยู่ที่ 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ปริมาณการลงทุนและข้อตกลงทั่วโลกก็แตะระดับต่ำสุดในรอบหลายปีเช่นกัน โดยการลงทุนของ VC ทั่วโลกในไตรมาสที่สามอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2559 ในขณะที่ปริมาณข้อตกลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2562

อย่างไรก็ตาม Jussi Salovaara ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Antler มองว่า การระดมทุนของ VC จะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ขณะที่ Peng T. Ong ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Monk’s Hill Ventures มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ปีหน้าจะได้เห็นการลงทุนมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เราเชื่อว่าการลงทุนกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาสักหน่อยในการฟื้นตัว” Jussi Salovaara กล่าว

ดังนั้น หากปีหน้ามีการลงทุนจาก VC เพิ่มขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีโอกาสเติบโตขั้นต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อดึงดูดเงินทุนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีจำเป็นต้องแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าพวกเขามีเส้นทางสู่การทำกำไรที่ชัดเจนและเป็นไปได้ เพราะที่ผ่านมานักลงทุนมีความรอบคอบมากขึ้นเกี่ยวกับตัวเลือกการลงทุน

สำหรับเงินทุนพร้อมใช้ของกลุ่ม VC เพิ่มขึ้นจาก 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 เป็น 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นปี 2565

Source

]]>
1456527
คุยกับผู้ก่อตั้ง “เทรเชอริสต์” มองหลากมุมกับพฤติกรรมการลงทุนของวัยรุ่นไทย https://positioningmag.com/1455063 Sun, 10 Dec 2023 12:22:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455063 Positioning คุยกับ Group CEO และผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์ นอกจากนี้เขาเองยังเป็นผู้ก่อตั้งเพจและเว็บไซต์ Thailand Investment Forum ในหลากเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นมุมมองการลงทุนของวัยรุ่น การลงทุนในชีวิต มุมมองการลงทุนในระยะยาว หรือแม้แต่การหาความสุขในชีวิต

วัยรุ่นไทยนั้นในปัจจุบันถือว่ามีความลำบากในการใช้ชีวิตไม่น้อย หลายครั้งถ้าหากมีการพูดคุยเรื่องการลงทุน หรือแม้แต่เรื่องของการออมเงิน อาจสร้างความไม่พอใจให้กับวัยรุ่นเช่นกัน ซ้ำร้ายกว่านั้นคือเกิดมหกรรมทัวร์ลงเสียด้วยซ้ำโดยเฉพาะผ่านช่องทางเครือข่ายสังคม

และเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยเช่นเดียวกัน เพราะวัยรุ่นหลายคนเองก็พูดถึงปัญหาของการเก็บเงินออมไว้เช่นกัน

เรื่องที่เกิดขึ้นรวมถึงพฤติกรรมการลงทุนของวัยรุ่นไทยในยุคปัจจุบันเราจะทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร

Positioning พาไปคุยกับ ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์ Group CEO และผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์ นอกจากนี้เขาเองยังเป็นผู้ก่อตั้งเพจและเว็บไซต์ Thailand Investment Forum

เรื่องของการปรับค่าแรง เพื่อวัยรุ่นได้เหลือเงินเก็บ

ศกุนพัฒน์ มองว่าควรปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากทุกวันนี้ค่าแรงไม่ได้ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่ควร ถ้าเราเปรียบเทียบกับต่างประเทศไม่มีสถิติที่ชัดเจนว่า ประเทศไหนที่ค่าแรงสูง แล้วเศรษฐกิจจะมีปัญหา แต่มันจะทำให้เกิดการหมุนเวียน ประชาชนมีกำลังซื้อ มีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น ถึงแม้ว่าตอนแรกเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ในท้ายที่สุดนั้นเงินเฟ้อก็จะปรับตัวกลับไปสู่ตัวเลขตามปกติ

เขามองว่าประเด็นเรื่องค่าแรงในไทยดังกล่าวไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงในสังคมเท่าไหร่ มองว่าเรื่องของการเพิ่มรายได้ยังสร้าง Peace of mind ให้กับประชาชนด้วย ขณะที่เรื่องของทัวร์ลงของวัยรุ่นมองว่าปัญหาสำคัญคือเรื่องค่าแรงที่ได้กล่าวไปในข้างต้น

นอกจากนี้เขายังได้ให้มุมมองว่ารัฐฯ ควรที่จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ เพื่อคนใช้แรงงานหรือ First Jobber ฯลฯ จะได้มีมาตรฐานในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น และยังเพิ่มสวัสดิภาพของประชาชน

ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์ – Group CEO และผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์

ทำไมวัยรุ่นถึงลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมวัยรุ่นหลายคนถึงชื่นชอบหรือแม้แต่มองสินทรัพย์ดิจิทัลในแง่บวกอย่างมาก ศกุนพัฒน์ ได้กล่าวว่า เราต้องมองว่าทำไมวัยรุ่นถึงทำอย่างงั้น จะเห็นได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล แม้ว่าคนที่อายุเยอะกว่าเห็นแล้วยังตื่นเต้นกับราคาที่เพิ่มขึ้น ในช่วงที่ผ่านมาเขามองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ราคาเพิ่มขึ้นมาในช่วงหลายปีสามารถที่จะเปลี่ยนชีวิตคนได้ และถ้าหากมองกลับไปว่าวัยรุ่นเองนั้นมีเงินตั้งต้นที่น้อยกว่า ก็ต้องพึ่งพาการเติบโตของผลตอบแทนที่สูง ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลตอบโจทย์ดังกล่าว

เขายังยกตัวอย่างเช่น วัยรุ่นถ้าต้องการเก็บเงิน 10,000 บาทอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี แต่ถ้าหากลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลในจังหวะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อนแรง ก็อาจใช้เวลาน้อยกว่านั้นมาก และตัวของวัยรุ่นเองก็หมดหวังในหลายเรื่องรวมถึงเรื่องการลงทุนในรูปแบบทั่วไปด้วย กว่าที่จะลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้นั้นโอกาสมีน้อยมาก

ช่วงเวลาดังกล่าวสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเปรียบเหมือแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทำให้วัยรุ่นหลายคนตัดสินใจลงทุน ด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่ของทุกคน จึงไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ราคาที่ขึ้นมาจากหลักหมื่นบาทเป็นหลักล้านบาท ฉะนั้นแล้วการมองการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวของวัยรุ่นว่าเป็นเรื่องลบก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ยุติธรรมเท่านัก

ศกุนพัฒน์ให้มุมมองว่า สินทรัพย์ดิจิทัลที่ราคาเพิ่มขึ้นมาในช่วงหลายปีสามารถที่จะเปลี่ยนชีวิตคนได้ จากผลตอบแทนที่สูง – ภาพจาก Shutterstock

วัยรุ่นและการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ

ผู้ก่อตั้งของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ เทรเชอริสต์ รายนี้เคยเขียนไว้ใน Facebook ส่วนตัวว่า เขาทำงานในสถาบันการเงิน การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือแม้แต่เรื่องเศรษฐกิจมหภาค บางช่วงก็ยาก โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ถือว่ายากขึ้น หากสินทรัพย์เวลาปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในบางช่วง ทุกอย่างถือว่าเป็นเรื่องง่ายหมด แต่ถ้าหากราคาสินทรัพย์ไม่ไปไหน แกว่งตัวไปมา คนในวงการเองก็ยังมองยาก

เมื่อประกอบกับเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลในระดับที่ต่างกันระหว่างบุคคลทั่วไป กับนักลงทุนสถาบัน ที่นักลงทุนสถาบันและมืออาชีพ เข้าถึงได้ง่ายกว่า ยังรวมถึงเงินลงทุนที่มากกว่า ทำให้การจับจังหวะเพื่อทำกำไร หรือความสามารถในการวิเคราะห์ทำได้ต่างกัน แม้คนในแวดวงการลงทุนเองยังต้องใช้ความเข้าใจ แล้วคนนอกอย่างวัยรุ่น ที่จะต้องมารับมือกับสภาวะตลาดแบบนี้ถือเป็นโจทย์ที่ยากมาก

จากหลายๆสาเหตุประกอบกัน ส่งผลต่อมุมมองในการเปิดรับความเสี่ยงของวัยรุ่นที่เราเห็น ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคน ถ้าตัดสินใจลงทุนอะไร จะลงแทบหมดหน้าตัก ศกุนพัฒน์ทำความเข้าใจแนวคิดนี่ว่า ในกรณีที่แย่ที่สุด ถ้าหากสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดเลย ก็อาจใช้เวลาไม่นานในการฟื้นกลับมา แต่ถ้าหากลงทุนสำเร็จ ก็เหมือนเปลี่ยนชีวิตของเขาได้เลย

เพราะการลงทุนที่ต้องใช้เวลายาวนาน ทำให้วัยรุ่น หรือแม้แต่คนทั่วไป ไม่อยากลงทุนระยะยาว – ภาพจาก Shutterstock

ทำไมวัยรุ่น (หรือแม้แต่คนทั่วไป) ไม่อยากลงทุนระยะยาว

ศกุนพัฒน์ให้มุมมองว่าสิ่งที่เหมือนกันระหว่างนักลงทุนระยะยาวกับระยะสั้นคือทุกคนอยากรวยเร็วเท่ากันหมด แต่ความเป็นจริงคือตลาดได้ให้ผลตอบแทนจริงๆ แบบนั้นหรือเปล่า ถ้าหากตลาดเป็นขาขึ้น การลงทุนระยะยาว 10 ปีถือเป็นเรื่องที่รับได้ เขาได้ยกตัวอย่างหุ้นสหรัฐฯ ที่ผลตอบแทนถือว่าดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็อาจให้ความหวังกับนักลงทุน แตกต่างกับสภาวะของตลาดหุ้นไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความผิดหวังกับนักลงทุน ทำให้หลายคนไม่กล้าลงทุน

การลงทุนในระยะยาวเป็นการตัดสินใจในวันนี้เพื่ออนาคต ซึ่งเรามักจะใช้ข้อมูลจากอดีต เพราะเราไม่มีข้อมูลอื่นประกอบมากนัก อย่างการลงทุนในกองทุน SSF ซึ่งเป็นกองประเภทที่ค่อนข้างใหม่ เราก็จะดูผลงานในอดีตของกองที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทุนที่ลงทุนระยะยาวเช่น LTF ก็ไม่ได้มีผลงานที่ดีนัก ซึ่งก็อาจจะทำให้คนกังวลมากขึ้นเพื่อต้องลงทุนยาว

การมองไม่เห็นอนาคต 10 ปีเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เขาได้กล่าวกับลูกค้าว่ากองทุนระยะยาว โดยเฉพาะกองทุนลดหย่อนภาษีแบบ RMF / SSF สามารถที่จะสลับกองทุนได้ ถ้าหากช่วงไหนหุ้นตกจนเสียแนวโน้มชัดเจน ก็สามารถสลับมาถือกองทุนตราสารหนี้ได้ และถ้าสลับกองทุนลดหย่อนภาษีในบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนเดียวกันยิ่งถือเป็นเรื่องที่ง่ายมาก สามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าหากคนเข้าใจว่ากองทุนระยะยาว โดยเฉพาะกองทุนลดหย่อนภาษีแบบ RMF หรือ SSF สามารถสลับกองทุนได้ ก็จะทำให้คนมาสนใจการลงทุนระยะยาวมากขึ้น

ศกุนพัฒน์ยังมองถึงเรื่องการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีว่ามนุษย์เงินเดือนที่เป็นเหล่า Top Management มีฐานภาษี 35% เท่ากับได้สิทธิประโยชน์จากการลงทุนในกองลดหย่อนภาษี จากภาษีที่ลดลงไปมากกว่าคนทั่วไปหรือวัยรุ่น ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากตรงนั้น สามารถทำให้ลดความคาดหวังของผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาว ในขณะที่คนเพิ่งเริ่มทำงานที่ยังเงินเดือนและฐานภาษีไม่มาก จะได้ประโยชน์ทางภาษีน้อยกว่า ทำให้ต้องพิจารณาว่า การลงทุนระยะยาวอย่าง SSF และ RMF คุ้มค่ามากกว่าเลือกลงทุนอย่างอื่นหรือไม่

นอกจากนี้ยังรวมถึงอัตราภาษีที่วัยรุ่นที่เป็น First Jobber นั้นยังไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากจะเริ่มเสียภาษีจริงๆ แล้วจะต้องมีเงินเดือนประมาณ 27,000 กว่าบาทขึ้นไปแล้ว เขายังตั้งคำถามว่าด้วยเงินเดือนที่มากกว่า 27,000 บาทนั้นไม่ใช่สัดส่วนคนส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้หลายคนจึงยังมองว่า การลงทุนระยะยาว เช่นการลงทุนในกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ยังไม่ใช่สินทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับตัวเขาเอง

ศกุนพัฒน์มองว่าลงทุนเหมือนเป็นพื้นฐานคณิตศาสตร์ กับเรื่องของตรรกะ แค่คำนวณเลขได้ และมีเหตุผลโอเคก็สามารถลงทุนได้แล้ว – ภาพจาก Unsplash

ความรู้เรื่องลงทุน วัยรุ่นจะศึกษายังไงดี

เขามองว่าเรื่องลงทุนเหมือนเป็นพื้นฐานคณิตศาสตร์ กับเรื่องของตรรกะ แค่คำนวณเลขได้ และมีเหตุผลโอเคก็สามารถลงทุนได้แล้ว ไม่ได้เป็นศาสตร์ที่ลึกลับซับซ้อนแต่อย่างใด ถ้าเรามีวิธีคิดที่ถูกต้อง เราจะเอาไปปรับใช้กับการตัดสินใจได้ แม้ว่าเราจะเห็นหลายๆ สถาบันการเงิน แพลตฟอร์มการลงทุนได้ให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

แต่เขาก็ชี้ว่า เพราะต่างคนต่างพูด ตามแต่วัตถุประสงค์ของหน่วยงานในขณะที่เรื่องดังกล่าวควรจะให้ความรู้แบบเป็นขั้นเป็นตอนจากเรื่องการเงินส่วนบุคคล เช่น การคำนวณดอกเบี้ย การคิดมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ควรรู้

นอกจากนี้สถานศึกษาควรจะให้ความรู้เช่นกัน เขายังเปรียบว่าวิชาการเงินส่วนบุคคลนั้นบางคนคิดว่าตัวเองอาจเข้าใจอยู่แล้ว เปรียบได้กับการข้ามถนนด้วยตัวเอง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ และไม่มีใครสอนเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นจริงเป็นจัง และเรื่องนี้ควรจะมีการจัดทำหลักสูตรอย่างจริงจัง รวมถึงการทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาเหล่านี้

ไม่เพียงเท่านี้ศกุนพัฒน์ยังมองว่าปัญหาทุกอย่างข้างต้นถือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนที่ไม่ได้สอนเรื่องการเงินส่วนบุคคล ทำงานกลับได้ค่าแรงที่ต่ำจนเงินก็ไม่เหลือเก็บ เป็นหนี้บริหารไม่ได้ เลยไม่เหลือเงินมาลงทุน ซ้ำร้ายยังโดนคนด่าว่าเป็นเรื่องที่ตัวเองทำล้วนๆ ทั้งๆ ที่บางทีคนเหล่านี้เกิดมาบนสภาพแวดล้อมแบบนี้ และถูกส่งต่อมาเรื่อยๆ ถ้าหากผู้มีอำนาจไม่เข้ามาจัดการ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจไม่เกิด

ด้วยธุรกิจที่ศกุนพัฒน์ทำอยู่ เขาเองอยากให้ทุกคนมีเงินมากกว่านี้ เพราะไม่งั้นแล้วธุรกิจอย่างเขาก็จะจับแต่กลุ่มนักลงทุนเดิมๆ ที่มีความพร้อม ซึ่งจริงๆ ก็ง่าย แต่เขาเองก็ต้องการอยากให้ทุกคนมีรายได้ที่ดี มีเงินเหลือเก็บ และเขาจะได้ช่วยบริหารเงินเหล่านี้ให้ได้ และคนไปมุ่งเป้าพัฒนาความเชี่ยวชาญของตัวเอง แต่ปัจจุบันคือหลายคนยังติดหล่มเป็นหนี้ส่วนบุคคลอยู่ด้วยซ้ำ

นอกจากนี้เขายังชี้ว่าถ้าหากวัยรุ่นยังเป็นหนี้ โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงมาก ควรที่จะรีบจ่ายหนี้ดังกล่าวก่อน เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

ถ้าหากวัยรุ่นยังเป็นหนี้ โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงมาก ควรที่จะรีบจ่ายหนี้ดังกล่าวก่อน เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญมาก – ภาพจาก Shutterstock

ศึกษาหาความรู้ เป็นอีกวิธีในการลงทุน (ในตัวเอง)

ศกุนพัฒน์กล่าวถึงการแบ่งชีวิตของเขาเองเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือตอนเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ นั้นจะเรียกตัวเองว่า Saver เขาได้เล่าถึงความโชคดีของเขาที่ได้อยู่บ้านกับพ่อแม่ จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก แล้วเก็บเงินแบบออมทรัพย์ จากนั้นเมื่อเติบโตในการทำงานมากขึ้น ทำให้เก็บเงินได้มากขึ้น สามารถต่อยอดการลงทุนได้ ทำให้เริ่มเปลี่ยนโหมดมาเป็น Investor ต่อมาก็ได้เปิดกิจการของตนเอง คือเป็นโหมด Creator เป็นคนนำเสนอสินค้าและบริการด้วยการก่อตั้งธุรกิจจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของตนเอง

ผู้ก่อตั้งของบริษัทกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์ กล่าวเสริมว่า ถ้ามีเงินเก็บ 100,000 บาทจะเก็บให้ได้ 200,000 บาทยังไง วิธีแรกคือเก็บเงินหลักพันจากเงินเดือนทุกเดือนซึ่งอาจใช้เวลานานหน่อย แต่ก็มีอีกวิธีคือ ถ้าหากเราพัฒนาตัวเองจนได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการทำงาน เช่น จาก 30,000 ไป 40,000 บาท หรือเพิ่มเยอะกว่านั้น ก็จะทำให้เรามีเงินเก็บได้ไวขึ้น นั่นคือการลงทุนกับตัวเองเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถ และเต็มที่กับการทำงาน

เพราะการมีรายได้เพิ่มขึ้นผ่านวิธีการดังกล่าวนี้มีความเสี่ยงเท่ากับศูนย์ ยกเว้นกรณีตกงานกะทันหัน ดังนั้นสำหรับวัยรุ่นที่ยังมีโอกาสเติบโตในการทำงานอีกมาก เขาแนะนำว่าการลงทุนกับตัวเอง จะทำให้ประสบความสำเร็จทางการเงินได้เร็วและยั่งยืนกว่า

ลงทุนเพื่อยามแก่ และอดทนอย่างไร

หากยึดโยงกับหลักการลงทุน ศกุนพัฒน์ ชี้ว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างหุ้น ในระยะยาวโดยเฉพาะหุ้นเติบโต ให้ผลตอบแทน 2 หลักต่อปี ซึ่งถ้าหากเศรษฐกิจมีปัญหาขึ้นมา ก็มีมาตรการช่วยเหลือจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศ เช่น กรณีการทำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของสหรัฐอเมริกา ทำให้ผลตอบแทนนั้นเพิ่มมากขึ้น เพราะสหรัฐอเมริกาทำอะไร โลกจะขยับตามเสมอ

นอกจากนี้ถ้าหากมองอีกแนวคือตามช่วงชีวิต (Life-path) ถ้าหากอายุน้อยรับความเสี่ยงสูงได้ แนะนำให้ลงทุนในหุ้นทั่วโลก ที่ไม่ได้จำกัดในประเทศไทยอย่างเดียว เนื่องจากผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงกว่า และพออายุมากขึ้นก็ลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงมา มาถือสินทรัพย์ปลอดภัยสัดส่วนมากขึ้น อย่างตราสารหนี้ โดยมองว่าเงินก้อนในช่วงที่อายุมากแล้วจะเยอะ เช่น 10 ล้าน ถ้าหากได้ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ 3% ต่อปี ก็จะได้ผลตอบแทน 300,000 บาท โดยไม่ต้องรับความเสี่ยงมาก

สำหรับวิธีสำหรับการอดทนในการลงทุน ศกุนพัฒน์ มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะในวงการการลงทุนนั้นมองไม่เหมือนกัน เพราะหลายคนมองว่าก็ทนไปเดี๋ยวดีเอง แต่เขาได้ยกตัวอย่างว่า กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบางกองทุนนั้น ผลตอบแทนตกลงมาจาก 100 เหลือ 20 แบบนี้เราไม่ควรอดทน จะไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้ ต้องรู้ร้อนรู้หนาวพอสมควรที่จะจัดการเรื่องดังกล่าวได้

Group CEO และผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์ ยังทิ้งท้ายว่า “ดังนั้นอย่าลืมที่จะหาความสุขให้กับตัวเองในวันนี้ด้วย” – ภาพจาก Unsplash

สมดุลของชีวิต

เขาชี้ว่าชีวิตควรจะมีความสุข ก็ต้องสร้างความสมดุลให้กับตัวเอง ซึ่งจุดสมดุลของแต่ละคน และแต่ละจังหวะชีวิตไม่เท่ากัน ถ้าเราเพิ่งเริ่มทำงาน และยังมีโอกาสเติบโตในการทำงานอีกมาก ก็ควรจะทำให้เต็มที่ ถ้าหากว่ามีโอกาสที่จะทำให้เรามีเงินเดือนเพิ่มขึ้นมากใน 5-10 ปี เราก็ควรจะให้น้ำหนักไปกับตรงนั้น ก็ถือว่าเป็นการสร้างสมดุลให้เหมาะกับจังหวะของตัวเอง

แต่เขายังทิ้งท้ายว่า โดยธรรมชาตินั้นอะไรก็เกิดขึ้นได้ มนุษย์ไม่รู้ว่าเราตัวเองจะตายเมื่อไหร่ ดังนั้นอย่าลืมที่จะหาความสุขให้กับตัวเองในวันนี้ด้วย ลองกลับมาคิดบ้างว่าชีวิตวันนี้มีความสุขไหม เราอาจจะเลือกให้ตัวเองไม่มีความสุขในวันนี้แล้วหวังว่าจะมีความสุขในวันข้างหน้าอย่างเดียว แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างมีความไม่แน่นอน เราต้องอย่าลืมสมดุลชีวิตในมุมนี้ด้วยเช่นกัน

]]>
1455063
เปิด 3 ธีมเมกะเทรนด์ จัดพอร์ตกองทุน SSF-RMF อย่างไร ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1361364 Wed, 10 Nov 2021 12:11:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361364 SCB CIO เเนะเเนวจัดพอร์ตลงทุน RMF – SSF ช่วงปลายปีนี้ กับ 3 ธีมเมกะเทรนด์ หุ้นโลก “กลุ่มสุขภาพ – กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน – หุ้นจีนกลุ่ม Tech และ A-Shares” มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยถึง มุมมองต่อการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อการออมสำหรับการเกษียณและการลดหย่อนภาษี โดยใช้โอกาสจากการลงทุนในกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) และ SSF (Super Savings Fund) ในช่วงปลายปี เป็นเครื่องมือช่วยออมและวางแผนเกษียณในระยะยาว

โดยประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังมีเงินออมไม่เพียงพอและมีแผนการเงินระยะยาวไม่ครอบคลุมต่อการเกษียณอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ครอบครัวส่วนใหญ่มีขนาดที่เล็กลง การพึ่งพาตนเองจึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับสังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลก

“การวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณไม่ควรพึ่งระบบบำเหน็จบำนาญ หรือสวัสดิการของรัฐเป็นช่องทางหลัก หรือพึ่งพารายได้จากลูกหลาน แต่ควรให้ความสนใจกับแผนการลงทุนส่วนบุคคลเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและพึ่งพาตนเองได้ในยามเกษียณ”

ผู้ลงทุนควรเลือกเทรนด์การลงทุนที่คาดว่า จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่เติบโตให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง เช่น ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล ที่คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุของเราที่มากขึ้น และราคาของค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย

เกาะ 3 ธีม ลงทุนปลายปี

ในการลงทุนระยะยาว SCB CIO ได้เลือก 3 ธีมเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ดังนี้

ธุรกิจสุขภาพ – Healthcare

เป็นเทรนด์ที่เหมาะกับการถือลงทุนในระยะยาว เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลคิดเป็นสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

ขณะที่โครงสร้างประชากรเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด ซึ่งการลงทุนในหุ้นของบริษัทด้านธุรกิจสุขภาพทั่วโลก เป็นโอกาสการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมย่อยที่มีความสำคัญ เช่น

  • บริษัทยา (Pharmaceutical)
  • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
  • เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology)
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
  • ประกันสุขภาพ (Health Insurance)
  • อุปกรณ์การแพทย์ (Medical Devices and Instruments)

“การลงทุนในหุ้นบริษัทธุรกิจสุขภาพโลก มองเป็นการลงทุนได้ทั้งในสไตล์หุ้น defensive ที่มีความผันผวนไม่มาก รวมถึงสไตล์หุ้น growth ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้อย่างสมดุล ซึ่งเหมาะกับแผนการลงทุนระยะยาว เนื่องจากธุรกิจสุขภาพถือเป็นธุรกิจหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMGHC (RMF)”

Photo : Shutterstock

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน – Fintech 

วิวัฒนาการของภาคเทคโนโลยีทางการเงินมีความคืบหน้าต่อเนื่องและ Fintech ยังมีแนวโน้มเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในระยะยาว เนื่องจากกระแส Digital Transformation ทั่วโลกเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันกระแส Fintech เป็นเรื่องปกติในทุกภาคส่วน

สำหรับหุ้นธุรกิจ Fintech ที่น่าสนใจ ได้แก่ บริษัทที่ทำธุรกิจในเรื่องของ E-Commerce, Social Platform, Digital Payment, Digital Lending, Cloud Computing รวมไปถึงธุรกิจด้าน Wealth Management และ Robo Advisory และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน Cryptocurrency และเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากคนรุ่นใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตและถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ล้วนเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด Fintech ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวเช่นกัน สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBFINTECH (SSF)

Photo : Shutterstock

หุ้นจีนกลุ่มTech และ A-Shares

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ประเทศจีนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดในโลก และยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

แม้ในปีนี้ราคาหุ้นจีนปรับลดลงมามากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศอื่น เนื่องจากแรงกดดันจากการคุมเข้มด้านกฎระเบียบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และการปฏิรูปเศรษฐกิจและธุรกิจตามแนวทางความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity)

ความกังวลด้านกฎระเบียบยังอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นจีนในช่วงสั้น แต่จากแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีนยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนอีกมาก ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่สามารถพลิกโฉมเศรษฐกิจและมีความเป็นเลิศในวิทยาการด้านต่างๆ ทั้งสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันได้กับชาติมหาอำนาจตะวันตก และด้วยขนาดประชากรจีนที่มีมากราว 1.4 พันล้านคน ทำให้ยังมีกำลังซื้ออีกมหาศาลและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO เห็นโอกาสการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ที่ได้อานิสงส์จากการบริโภคภายในประเทศที่ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทางการจีนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีจีนที่ปีนี้ ราคาหุ้นปรับฐานลงมามากจากความกังวลและการคุมเข้มด้านกฎระเบียบ ทำให้ราคาหุ้นเริ่มถูกและมี valuation ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMCHA (RMF) และ SCBCTECH-SSF

Photo : Shutterstock

ปรับการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง 

โดยสรุป 3 ธีมเมกะเทรนด์ :

จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก ด้าน Fintech จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง 

ส่วนหุ้นจีนแม้ปีนี้ มีการปรับตัวลงมาค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ จากความกังวลเรื่องกฎระเบียบต่างๆ จึงเป็นจังหวะการเข้าลงทุน เนื่องจากจีนมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจอีกมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO มองว่า โอกาสการลงทุนในระยะยาว ทำให้ 3 ธีมเมกะเทรนด์ข้างต้นเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในตัวช่วยการลดหย่อนภาษีและการวางแผนการลงทุนในระยะยาว สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนและได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม กองทุน RMF และ SSF มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรพิจารณาทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง โดยพิจารณาทั้งจากจุดประสงค์ในการลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน ความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน การกระจายความเสี่ยงไปหลายกองทุน

“สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ควรจะต้องสอดคล้องกับอายุและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนด้วย หากอายุมากขึ้นก็ควรจะต้องทยอยลดน้ำหนักในกองทุนหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงให้น้อยลงไปด้วยเช่นกัน” 

 

]]>
1361364
FinTech VS TechFin ความต่างขั้วที่มาบรรจบกันเพื่อเปลี่ยนโลกการเงิน https://positioningmag.com/1360978 Wed, 10 Nov 2021 05:38:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360978

นับวันโลกดิจิทัลหมุนเร็วขึ้นมาก หนึ่งในอุตสาหกรรมใหญ่ที่เกิดการดิสรัปชันมากที่สุด ต้องยกให้อุตสาหกรรมทางการเงินโลก

คงจำกันได้ในช่วงหลายปีก่อน ผู้ให้บริการทางการเงิน ‘FinTech’ ได้ก่อให้เกิดดิสรัปชัน หรือการทำลายล้างสถาบันการเงินที่ให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม (Tradition) ที่ยืนต่อคิวยาวๆ เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินหน้าเคาน์เตอร์ผ่านสาขา มาเป็นรูปแบบใหม่ ทำธุรกรรมบนสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่รู้หรือไม่ว่า วันนี้ ถึงคิวผู้ให้บริการทางการเงิน FinTech ที่จะถูกดิสรัปต์จากผู้ให้บริการ TechFin นี่คือปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการเงินโลกอีกระลอก

Photo : Shutterstock

ความหมายของคำว่า ‘FinTech’ กับ ‘TechFin’ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เชื่อว่าผู้คนยังมีความสับสนกันมาก ว่าเป็นการเล่นคำสลับกันหรือเปล่า? ซึ่งไม่ใช่ครับ ผมขอฉายภาพการเปลี่ยนผ่านโลกเทคโนโลยีทางการเงินให้ฟังอย่างนี้ครับ

จุดแจ้งเกิด ‘FinTech – TechFin’ ต่างขั้วที่เหมือนกัน

ผู้ให้บริการทางการเงิน FinTech คืออะไร ผมขอย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน กระแสธุรกิจ FinTech เป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกทึ่งกับศักยภาพของกลุ่ม ‘สตาร์ตอัป’ ที่มีคนทำงานไม่กี่คน รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทขึ้นมาด้วย ‘เงินทุนต่ำ’ แต่พนักงานเหล่านี้มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง และคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาให้กับผู้ใช้มากกว่า

จึงเป็นที่มาของการพลิกโฉมรูปแบบให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ที่ทั่วโลกฮือฮา ไม่ว่าจะเป็นระบบ Mobile Banking ระบบ Digital Banking และก็มีแอปพลิเคชันทางการเงินต่างๆ ตามมาด้วยการเกิดเงินสกุลดิจิทัล เป็นต้น

FinTech พัฒนารูปแบบให้บริการต่างๆ ล้วนตอบโจทย์ที่ใช่แก่ผู้ใช้บริการ ภาษาสตาร์ตอัป เรียกว่า แก้บรรดา Pain Point ให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างตรงจุดมากที่สุด โดยภาพรวมคือรวดเร็วกว่า ทำธุรกรรมได้ง่ายกว่า ค่าธรรมเนียมถูกกว่า ทำที่ไหนเวลาใดก็ได้ สะดวกไม่ต้องเดินทาง และที่สำคัญมีความปลอดภัยด้วย

Photo : Shutterstock

ช่วงแรกๆ ของการแจ้งเกิดดาวรุ่ง FinTech แม้จะให้บริการเฉพาะทางหรือบางธุรกรรม เช่น โอนเงิน ชำระบิล แต่ต่อมาได้พัฒนาเพิ่มบริการอื่นๆ จนปัจจุบันสามารถให้บริการสินเชื่อดิจิทัลเปิดประตูให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น และคล่องตัว รวมถึงการเข้าสู่การลงทุนที่มีทางเลือกและสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า สะดวกสบายไม่ต้องยื่นเอกสารมากมาย ผู้คนหันมาใช้บริการ ส่งผลให้ FinTech ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ความสำเร็จของสตาร์ตอัป FinTech จำนวนมากเติบโตเป็น ‘ยูนิคอร์น’ และพาเหรดกันเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั่วโลกด้วย เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ จีน เป็นต้น และเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีผลประกอบการโดดเด่น ราคาหุ้นพุ่งพรวด มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด มีขนาดใกล้เคียงกับสถาบันการเงินรายใหญ่ๆที่เก่าแก่เลยทีเดียว

ชื่อบริษัท FinTech ดังๆ ในอุตสาหกรรมทางการเงิน เช่น ที่สหรัฐฯ จะมี Paypal และ Square ส่วนยุโรป ก็คือ บริษัท Revolut และ N26 หรือในจีน เช่น Lufax และ OneConnect เป็นต้น

ส่วน TechFin คืออะไร มาฟังกันครับ

จริงๆ แล้ว คนไทยก็เคยได้ยินชื่อหรือรู้จักบริการของบริษัทเหล่านี้มาก่อนแล้ว ที่ดังๆ ก็จะมี WeChat Pay หรือ LINE Pay เพียงแต่เจ้าของผู้ให้บริการเหล่านี้ เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ที่มีแพลตฟอร์มของตัวเอง พวก Social Network ขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้หลักพันล้านคน และแต่ละคนจะใช้เวลาอยู่กับแพลตฟอร์มนี้หลายชั่วโมงต่อวัน บริษัทบิ๊กเทคเหล่านี้จึงเห็นเป็นโอกาส ในการต่อยอดสู่ธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงิน ที่เรียกกันว่า TechFin นั่นเอง

และด้วยจุดแข็ง 2 ข้อคือ มีฐานผู้ใช้แพลตฟอร์มจำนวนมากและแต่ละคนใช้เวลาหลายชั่วโมงบนแพลตฟอร์ม จึงทำให้ผู้ให้บริการ TechFin แจ้งเกิดได้อย่างรวดเร็ว และมียอดผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดการทำธุรกรรมก็เติบโตก้าวกระโดด โดยเฉพาะบรรดาแพลตฟอร์มระดับโลก อาทิ Google Amazon Facebook Apple บริษัทในกลุ่มสัญชาติอเมริกันส่วนสัญชาติจีนจะมี Baidu Alibaba และ Tencent ทางด้านแพลตฟอร์มใหญ่ในไทยก็ต้องยกให้ LINE เป็นต้น

Photo : Shutterstock

หากยกตัวอย่างบริการธุรกรรมการเงินจากบริษัท TechFin ใหญ่ๆ ดังๆ ได้แก่ WeChat Pay จากค่ายอาลีบาบาสัญชาติจีน ซึ่ง WeChat Pay เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ชำระเงินได้ผ่านแอปฯ WeChat โดยตรง หรือ LINE Pay สัญชาติญี่ปุ่น ที่เป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ใช้ชำระเงินผ่านแอปฯ LINE แม้แต่ Google สัญชาติอเมริกัน ก็มี Google Pay เป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับชำระเงินตามร้านค้าต่างๆ เป็นต้น

TechFin จึงมีพลังมหาศาลที่เข้ามาช่วงชิงเค้กจาก FinTech ได้อย่างง่ายดาย แม้จะแจ้งเกิดทีหลัง FinTech ก็ตามที

4 ข้อได้เปรียบของ TechFin มีอะไรบ้าง

หากถามว่า อะไรที่ทำให้ TechFin ติดลมบนได้เร็ว หลักๆ จะมี 4 ข้อได้เปรียบ คือ

อย่างแรก ผู้ใช้บริการ TechFin มีความเคยชินกับการใช้แพลตฟอร์มของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มาก่อนแล้ว เมื่อมีบริการทางการเงิน TechFin เพิ่มขึ้น ก็สามารถยืนยันตัวตนได้ง่ายพร้อมใช้งานต่อได้ทันที ไม่ต้องไปดาวน์โหลดแอปฯ และเริ่มต้นลงทะเบียนใหม่ เช่น WeChat Pay แต่ถ้าเป็นแอปฯ FinTech เช่น Pay Pal ก็จะต้องโหลดแอปฯ และจะต้องเริ่มขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ลงทะเบียนจนจบกระบวนการจึงจะเริ่มใช้งานได้

Photo : Shutterstock

อย่างที่สอง บิ๊กดาต้า รวบรวมจากที่มีผู้คนใช้แพลตฟอร์ม Social Network วันละหลายชั่วโมง ทำให้ TechFin สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และมีความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และสามารถสร้าง Engagement กับผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า ซึ่งปัจจุบัน ภาคธุรกิจต่างล้วนต้องการข้อมูลเหล่านี้อย่างมากเพื่อนำมาสร้างประการณ์บริการที่ดีและรู้ใจผู้ใช้มากที่สุด แน่นอนว่า บิ๊กดาต้าของ TechFin ถังใหญ่กว่า FinTech

อย่างที่สาม บริษัทเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจ TechFin มีศักยภาพสูง ทั้งคนทำงานจำนวนมากกว่าและมีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ทางด้านระบบเทคโนโลยีขั้นสูง และเงินลงทุนที่เหนือกว่ากลุ่ม FinTech อยู่แล้ว ยิ่งทำให้ TechFin สามารถวางโครงสร้างเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า สร้างระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน พร้อมรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากๆได้

และสุดท้าย TechFin มีพลังในการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ขนาดใหญ่ของแพลตฟอร์ม ทำให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ของผู้คนจำนวนมาก

Photo : Shutterstock

แม้ว่าวันนี้ TechFin กำลังเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สร้างดิสรัปชันทั้ง FinTech และสถาบันการเงินไม่ว่าแบงก์หรือนอนแบงก์ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ให้บริการทางการเงินที่เผชิญกับการดิสรัปชันเหล่านี้ จะต้องสูญเสียธุรกิจหรือล้มหายตายจากไปจากอุตสาหกรรมทางการเงิน

เพราะผมมองว่า บรรดา ‘สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม’ ก็ยังคงมีจุดแข็งในตัวเอง ทั้งจากความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจการเงินและการธนาคารมายาวนาน การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพกว่า ความปลอดภัยในการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ล้วนเป็นเกราะความมั่นคงต่อฐานะทางการเงินของแบงก์ ที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากลูกค้าแบงก์ได้ดีกว่า

ที่สำคัญแม้โลกการเงินเปลี่ยนเร็ว แต่สถาบันการเงินต่างๆ ก็เดินหน้าสู้ทุกวิถีทางเพื่อยืนบนโลกดิจิทัล แบงก์กิ้ง ซึ่งมีทั้งการปรับองค์กรแบบดิสรัปต์ตัวเอง การเปิดกว้างใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไล่ล่าสิ่งใหม่ๆ หรือคิดค้นวิธีบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ผ่านการจับมือพันธมิตรทางธุรกิจทั้งบริษัทเทคโนโลยี สตาร์ตอัป FinTech หรือธนาคารอื่นๆ พร้อมเปลี่ยนสถานะจากคู่แข่ง มาเป็นคู่มิตร เพื่อเกม Win Win ด้วยกัน

ยกตัวอย่างธนาคารในไทยที่เพิ่งประกาศดิสรัปต์ตัวเอง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ด้วยการตั้งบริษัทโฮลดิ้งชื่อ เอสซีบีเอกซ์ (SCBX) เพื่อลงทุนในบริษัทลูกต่างๆ นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ และมีบริษัทย่อยๆ กว่า 20 แห่งที่แตกหน่อพร้อมให้บริการเชื่อมต่อธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการเงิน

และล่าสุด SCB Securities ได้เข้าไปลงทุนใน ‘บิทคับ ออนไลน์’ (Bitkub Online Co., Ltd.) ซึ่งให้บริการแพลตฟอร์มด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย เป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับกลุ่ม SCBX ที่สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย คงชูบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป (KBTG) และ ธนาคารกรุงไทย ที่ตั้ง Krungthai Innovation Lab หรือศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายก้าวสู่ “ธนาคารในอากาศ” จะเห็นว่า แม้แต่แบงก์ไทยก็มองหาโอกาสทางธุรกิจทางการเงินใหม่ๆ เช่นเดียวกับตลาดโลก

ขณะเดียวกัน สนามธุรกิจ FinTech และ TechFin แม้จะต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น แต่เป้าหมายของทุกบริษัท ก็ล้วนต้องการเพิ่มทางเลือกบริการทางการเงินให้ลูกค้ามาใช้ ซึ่งฐานผู้ใช้บริการมีความหลากหลายของกลุ่มย่อย (Segment) แต่ละ Segment จะมีพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการที่แตกต่างกัน เมื่อดูตัวเลขประชากรทั่วโลกที่มีจำนวนกว่า 7.7 พันล้านคน ทุกคนย่อมต้องมีการทำธุรกรรมทางการเงินอยู่แล้ว และส่งผลดีต่อภาพการเติบโตทางด้านธุรกิจโดยรวม

Photo : Shutterstock

ยิ่งไปกว่านั้น ในด้านการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั่วโลก ก็จะมีทางเลือกลงทุนหุ้นคุณภาพในกลุ่มเมกะเทรนด์ FinTech และเทคโนโลยี ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อการเติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาว สร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้แก่นักลงทุน

จะเห็นได้จาก ผลตอบแทนของกองทุนส่วนบุคคล Thematic ธีมเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ของ บลจ. จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินจากทั่วโลก อย่าง PayPal และ Sqaure ผ่านกองทุน Global X FinTech ETF ครอบคลุม 33 หุ้นในกลุ่มธุรกิจ อาทิ ประกัน ลงทุนระดมทุน สินเชื่อที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินอย่าง เช่น Blockchain Cryptocurrency และการบริหารความมั่งคั่งแบบอัตโนมัติ (Automated Wealth Management) ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา 41.47% และผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) 10.06% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 64)

หรือธีมเทคโนโลยี (Technology) ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมในวงกว้าง โดย Jitta Wealth ลงทุนผ่านกองทุน iShares Exponential Technologies ETF ที่ครอบคลุมบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Alphabet (Google) Apple Amazon และ Tencent ซึ่งขยายธุรกิจไปยัง TechFin โดยธีมนี้ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา 37.26% และผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) 14.21% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 64)

ส่วนตัวผมยังมองเห็นภาพเมกะเทรนด์ของ FinTech และ Technology ว่า เป็นถนนสายยาวๆ จากโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่ผูกกับบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งคาดได้ยากว่าจะสิ้นสุดอย่างไร

เพราะฉะนั้น เมื่อตลาดผู้ใช้บริการมีจำนวนมหาศาล ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นแบงก์ หรือธุรกิจอื่นๆ FinTech และ TechFin ต่างก็ย่อมปักหมุด หมายให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่แล้ว เพราะตราบใดที่พวกเขามีศักยภาพในการดึงพลังเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด มาพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเติมเต็มบริการที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าให้แก่ผู้ใช้บริการแล้ว แน่นอนว่า ผลลัพธ์ที่จะได้กลับมา คือ พวกเขาจะสามารถชิงเค้กก้อนใหญ่ยืนหยัดบนตลาดเทคโนโลยีการเงินได้ สร้างความความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ หนุนการเติบโตในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

]]>
1360978
รู้จัก ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ 3 พันล้าน เปิดทางนักลงทุน ร่วมปั้นยูนิคอร์นไทย https://positioningmag.com/1348779 Fri, 27 Aug 2021 09:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348779 มาทำความรู้จักกับฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ มูลค่า 3 พันล้าน โปรเจกต์ใหม่จากกรุงศรี ฟินโนเวต‘ เตรียมเปิดรับนักลงทุนสถาบันนักลงทุน Ultra High Net Worth ร่วมปั้นทีมยูนิคอร์นไทยลุยฟินเทคอีคอมเมิร์ซออโตโมทีฟ

กรุงศรี ฟินโนเวตบริษัทร่วมลงทุนเเบบ Corporate venture Capital หรือ CVC ในเครือธนาคารกรุงศรีฯ ที่เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2558 ด้วยเป้าหมายเฟ้นหาสตาร์ทอัพใหม่ๆ บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยเเละอาเซียน

หลังคลุกคลีในวงการนี้หลายปี ทุ่มเงินลงทุนให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่หลายสิบเจ้า จนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ธุรกิจขนส่งดาวรุ่งอย่าง ‘Flash Express’ ขึ้นเเท่นยูนิคอร์นรายเเรกของไทยได้สำเร็จ

มาวันนี้ ถึงเวลาขยับไปอีกก้าว ด้วยการจัดตั้ง ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ ประเภท Private Equity Trust รายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่า 3,000 ล้านบาท

ความน่าสนใจคือ เป็นการเปิดให้นักลงทุนสถาบันเเละนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) มีช่องทางใหม่ในการลงทุนบริษัทสตาร์ทอัพที่พวกเขาสนใจได้โดยเฉพาะ

แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เล่าให้ฟังว่า ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย และองค์กรที่สนใจลงทุนในสตาร์ทอัพ แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพได้เข้าลงทุน ซึ่งกรุงศรีฟินโนเวตจะเข้ามาช่วยในจุดนี้

โดยจะเริ่มเดินสายนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) และเปิดขายให้กับนักลงทุนสถาบัน ตั้งแต่ปลายเดือนส.. จากนั้นจะเตรียมขายให้กับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผ่านกองทุนรวม บริหารจัดการโดย บลจ.กรุงศรีอยุธยา ในช่วงเดือน พ.. เปิดลงทุนขั้นต่ำที่รายละ 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) ตามนิยามของ ก... คือ บุคคลธรรมดาผู้มีรายได้ต่อปี 7 ล้านบาทขึ้นไป (ถ้ารวมคู่สมรสจะเป็น 10 ล้านบาทขึ้นไป) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ไม่รวมเงินฝาก 25 ล้านบาทขึ้นไป หรือรวมเงินฝากจะเป็น 50 ล้านบาทขึ้นไป

-แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด

ตามหาสตาร์ทอัพเเบบไหน ?

กองทุนขนาด 3,000 ล้านบาทนี้ จะมุ่งเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับซีรีส์ A ขึ้นไป

เเบ่งคร่าวๆ เป็นการลงทุนสตาร์ทอัพในประเทศไทย ราว 70% และในต่างประเทศ อีก 30% โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เเละความน่าสนใจ เบื้องต้น จะเน้นไปการลงทุนในสตาร์อัพกลุ่มธุรกิจ ได้เเก่

  • ฟินเทค 40%
  • อีคอมเมิร์ซ 30%
  • นวัตกรรมยานยนต์ อีก 30% 

นอกจากนี้ ยังมองหากลุ่มสตาร์ทอัพที่ฟื้นตัวเร็วหรือได้รับโอกาสทางธุรกิจจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Post-Pandemic Boom Startup

กองทุนนี้มีโมเดลธุรกิจมาจาการลงทุนสตาร์ทอัพในญี่ปุ่นเเละสหรัฐฯ เเละการที่กรุงศรี ฟินโนเวต มีบริษัทเเม่เป็น  MUFG ธนาคารใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่มีเครือข่ายทั่วโลก มีความเชี่ยวชาญการลงทุนสตาร์ทอัพ ก็เป็นการอุดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งเเละต่อยอดพัฒนาธุรกิจกับพันธมิตรได้ในอนาคต

ผู้บริหาร กรุงศรี ฟินโนเวต ย้ำว่า ผลตอบแทนกองทุนนี้ไม่สามารถการันตีได้เเต่มั่นใจว่าจะสร้างผลตอบเเทนได้มากกว่าที่บริษัทเคยทำได้ เฉลี่ยที่ 20.8% มากกว่าผลตอบแทนของกองทุนเวนเจอร์ต่างๆ ในตลาดที่เฉลี่ยราว 18%

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าลงทุนใน 15 สตาร์ทอัพ มูลค่าลงทุนมากกว่า 1,500 ล้านบาทส่วน ธนาคารกรุงศรีฯ เป็นสถาบันการเงินที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 63 บริษัท กว่า 106 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือ 37 หน่วยธุรกิจ 

-สตาร์ทอัพชื่อดังที่กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าไปลงทุนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

หลายคนอาจจะสงสัยว่าประเทศไทยเเละอาเซียน มีศักยภาพเเละฐานผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน เเต่ทำไมบริษัทลงทุนต่างชาติ ยังไม่เข้ามาลงทุนมากนัก เมื่อเทียบกับโซนตะวันตก

หลักๆ มาจากปัจจัยวัฒนธรรมที่เเตกต่างกัน ปัญหาเรื่องภาษา เเละกฎระเบียบต่างๆ โดยกรุงศรี ฟินโนเวต จะพยายามเข้ามาเป็นตัวกลางประสานเเละเเก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สตาร์ทอัพคนไทยเเละอาเซียน

เราต้องการสร้างร่วมผลักดันให้สตาร์ทอัพในไทยและอาเซียน เติบโตเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกลายยูนิคอร์นตัวที่ 2 3 4 5 ต่อไปเรื่อยๆ

โอกาสตลาด ‘สตาร์ทอัพ’ โตในอาเซียน 

ด้านความพร้อมของกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ คาดว่าจะสามารถเริ่มลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพรายแรกได้ในเดือนธ..นี้ (หลังเปิดระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน/นักลงทุน Ultra High Net Worth)

ขณะนี้ มีสตาร์ทอัพที่น่าสนใจวางไว้ใน Pipeline ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัท และน่าจะสามารถเข้าไปลงทุนได้แน่นอน ราวบริษัท

ส่วนตลาดสตาร์ทอัพในอาเซียนที่น่าจับตามองหลักๆ จะอยู่ที่สิงคโปร์เเละอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มียูนิคอร์นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีฟิลิปปินส์และเวียดนาม ที่มีเทคสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้นมาต่อเนื่อง และเป็นประเทศที่เเละเป็นประเทศที่ธนาคารกรุงศรีเข้าไปขยายธุรกิจด้วย

สำหรับเเนวโน้มการเติบโตของสตาร์ทอัพในไทยเเซมมองว่า ในระยะ 3-5 ปี จากนี้ไปจะเป็นช่วงเวลาเเห่งการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ เเละน่าจะมีการเติบโตมากขึ้น

โดยนับจาก ปี 2558 พบว่ามีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโตขึ้น 3 เท่า เเละกำลังมีบริษัทที่รอจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกกว่า 10 เเห่ง ซึ่งหากมีโอกาสที่ดี มีเงินลงทุนช่วยเสริมศักยภาพที่มีอยู่ให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทยก็มีความหวังที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

 

]]>
1348779
หุ้น​ COVID-19 ตัวไหนปัง! พร้อมชี้เป้า ETF ลงทุนรับดีมานด์ทั่วโลก https://positioningmag.com/1347296 Sat, 21 Aug 2021 14:18:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347296
ตอนนี้…เวลานี้ ใครๆ ก็เรียกหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพราะพวกเรารู้ว่า วัคซีนจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้โลกของเราเอาชนะโรคระบาดครั้งสำคัญนี้ได้ แต่การผลิตวัคซีน รวมไปถึงจัดสรรและกระจายตามความต้องการของแต่ละประเทศทั่วโลก ยังทำได้ไม่ทั่วถึง จำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก

อัปเดตถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประชากรในสัดส่วน 30.02% ทั่วโลกได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และสัดส่วน 15.7% คือประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ยังไม่ใช่สัดส่วนที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือทำให้แต่ละประเทศเปิดพรมแดนเพื่อออกเดินทางกันอีกครั้ง

กว่า 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงสิงหาคม 2564 ที่กระจายวัคซีนไปแล้วกว่า 4,480 ล้านโดสทั่วโลก ตราบใดที่เชื้อไวรัส COVID-19 ยังสามารถกลายพันธุ์ไปได้อีกหลายสายพันธุ์ ทำให้เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วและอาการมีความรุนแรงมากขึ้น การพัฒนาวัคซีนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก…มีความจำเป็นอย่างมาก

ถ้าเชื้อไวรัสนี้ยังอยู่ ความต้องการวัคซีนก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็น Recurring Demand เหมือนกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เราฉีดทุกปี

นั่นหมายว่า การวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะไม่ได้จบเพียงเท่านี้ กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้น การลงทุนใหม่ๆ จะตามมา บริษัทไหนที่อยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน…กำลังเป็นโอกาสลงทุนครั้งสำคัญ

หุ้นวัคซีน COVID-19 ราคาขึ้นแรง

รู้หรือไม่ว่า… โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนในแต่ละชนิด ใช้เวลาตั้งแต่ 5-10 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น จนกว่าจะผลิตวัคซีนมีคุณภาพที่ดี ซึ่งไม่ง่ายนัก… ที่จะเอาชนะโรคระบาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แต่สำหรับ COVID-19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ห้วงเวลาการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนใช้เวลาไม่ถึง 9 เดือน ตัดขั้นตอนการทดสอบหลายระดับ ให้เหลือเพียง 3 ระยะ เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอในระดับที่สามารถใช้ได้ในร่างกายมนุษย์

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้รัฐบาลแต่ละประเทศต่างเร่งรัดรับรองการใช้วัคซีน COVID-19 เป็นการฉุกเฉิน (Emergency Use) เพราะการแพร่ระบาดจนมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกรวมๆ กว่า 4.328 ล้านคน (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564) ไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ

เมื่อเวลาไม่คอยท่า แต่ละบริษัทในกลุ่มบริการสุขภาพทั่วโลกต่างเร่งสปีดพัฒนาวัคซีน บางบริษัทได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล จึงเป็นที่มาของวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน หรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

1.Genetic Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ยีนของไวรัส หรือที่เรารู้จักกันว่า วัคซีน mRNA (Messenger RNA) ปัจจุบันมี 2 ผู้ผลิต ได้แก่ Pfizer (ร่วมกับ BioNTech ของเยอรมนี) และ Moderna จากสหรัฐฯ

โรคระบาด COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งครั้งสำคัญที่ทำให้เกิดวัคซีน mRNA แรกของโลก โดยมีรายงานว่า ให้ประสิทธิภาพป้องกัน และไม่ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงได้สูงถึง 94-95% [4]

vaccine covid-19 pfizer
Photo : Shutterstock

นอกจากนี้วัคซีน mRNA ยังมีรายงานด้วยว่า ยังมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ เช่น สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) เป็นต้น

ส่งผลให้ความต้องการวัคซีน mRNA พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศต่างเร่งรัดส่งคำสั่งซื้อหลายล้านโดส เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด จนมีข่าวว่าภูมิภาคอาเซียนมียอดคำสั่งซื้อเต็มโควตาปี 2564 แล้ว หากต้องการจะสั่ง ต้องรอปีต่อไป [6]

สำหรับ 3 บริษัทที่พัฒนาวัคซีน มีราคาหุ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ Moderna (+534.3%) BioNTech (+463.22%) และ Pfizer (+32.43%) (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

Photo : Shutterstock

ด้วยเหตุผลของประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA สูงพอที่จะป้องกันหลากหลายสายพันธุ์ของ COVID-19 ทำให้มีหลายบริษัทเตรียมที่จะพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ด้วย เช่น

  • Sanofi จะลงทุน 400 ล้านยูโรเพื่อพัฒนาและผลิตวัคซีน mRNA เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับ COVID-19
  • Fosun Pharma เซ็นร่วมมือกับ BioNTech เพื่อผลิตวัคซีน mRNA ในจีน กำลังการผลิต 1,000 ล้านโดส ลงทุนร่วมกัน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ก็มีรายงานว่า วัคซีน mRNA มีผลข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Heart Inflammation) โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เพิ่มคำเตือนลงไปในฉลากวัคซีนด้วย

2. Viral Vector Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง และไม่ก่อให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของ COVID-19 ปัจจุบันมี 4 แบรนด์ที่พัฒนาวัคซีนประเภทนี้ ได้แก่ AstraZeneca (ร่วมกับ University of Oxford) จากสหราชอาณาจักร, Johnson & Johnson จากสหรัฐฯ, CanSino Biologics จากจีน และ Sputnik V (Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology) จากรัสเซีย

โดย AstraZeneca เป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ทั่วโลก เพราะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่โดสแรก และมีงานวิจัยฉีดผสมกับวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ด้วย

Astrazeneca Vaccine
Photo : Shutterstock

สำหรับวัคซีน Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพสูงถึง 85% ส่วน AstraZeneca จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพ 82% และ Sputnik V จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพสูงถึง 92%

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าวัคซีน Viral Vector มีรายงานเรื่องผลข้างเคียงคือ เกิดลิ่มเลือดในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย มาจากทั้ง AstraZeneca และ Johnson & Johnson แต่ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์การเกิดไม่สูงมาก

สำหรับราคาหุ้นที่ผลิตวัคซีน Viral Vector ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มี CanSino Biologics ราคาเพิ่มขึ้น 69.58% และ Johnson & Johnson ราคาเพิ่มขึ้น 17.39% ส่วน AstraZeneca เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.86% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

3. Protein-based Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใส่ชิ้นส่วนโปรตีนของไวรัส เรียกอีกอย่างว่า Subunit Vaccine โดยบริษัทพัฒนาวัคซีนนี้ คือ Novavax จากสหรัฐฯ มีรายงานว่า ประสิทธิภาพการป้องกันสูงถึง 90%

ขณะนี้วัคซีนของ Novavax ยังไม่ได้มีสถานะการรับรองจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) FDA และสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) ของไทย คาดว่า เร็วๆ นี้ อาจจะมีความคืบหน้า มีการรับรองและอนุมัติแบบ Emergency Use

Photo : Shutterstock

ความหลากหลายของวัคซีน จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้น เพราะภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อน บางคนอาจจะแพ้วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งได้ ดังนั้น Subunit Vaccine ของ Novavax จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการต่อสู้กับ COVID-19

ราคาหุ้นของ Novavax ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวก และผลสำเร็จของวัคซีนเช่นเดียวกัน 28.96% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

4. Whole-virus Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง หรือไม่ทำงาน เรียกอีกอย่าง Inactivated Virus Vaccine หรือ วัคซีนเชื้อตาย ปัจจุบันจีนยังเป็นประเทศหลักที่ผลิตวัคซีนประเภทนี้ เช่น CoronaVac (Sinovac Biotech) และ Sinopharm จากจีน และยังมี Covaxin (Bharat Biotech พัฒนาร่วมกับ Indian Council of Medical Research) จากอินเดีย

เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ทำการทูตวัคซีน จึงส่งออกวัคซีนทั้ง 2 แบรนด์ไปยังประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนาทั่วโลก ในรูปแบบทั้งขาย และบริจาค จึงทำให้วัคซีนเชื้อตาย ถูกฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

Photo : Shutterstock

สำหรับ Covaxin ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก และยื่นขอการรับรองจาก WHO แต่กำลังประสบปัญหากับข้อตกลงส่งมอบวัคซีนกับประเทศในอเมริกาใต้ เช่น บราซิล ปารากวัย

ส่วนราคาหุ้น Sinopharm ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 9.67% (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

ในกลุ่มวัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้ มีการพัฒนามาแล้ว 21 แบรนด์ทั่วโลก และได้รับรอง Emergency Use ในบางประเทศ ส่วนที่ WHO รับรองแล้วมี 6 บริษัท ได้แก่ Pfizer-BioNTech Moderna AstraZeneca Johnson & Johnson Sinopharm และ Sinovac 

นอกจากนี้โรคระบาด COVID-19 ยังเป็นแรงส่งให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ในการพัฒนาวัคซีนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ล่าสุดมีการพัฒนาวัคซีนชนิดพ่นจมูก (Intranasal) ของบริษัท Meissa ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองกับสัตว์ มีรายงานว่า สามารถป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) และแอฟริกาใต้ (เบตา) ได้ โดยจะเป็นวัคซีนที่สามารถสร้างแอนติบอดีในระบบทางเดินหายใจ และหากจามออกมา จะไม่แพร่เชื้อ

หุ้นชุดตรวจ COVID-19 ที่น่าสนใจ

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนามาโดยตลอด ทำให้การตรวจ COVID-19 เบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน โดยคุณไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการออกไปข้างนอก

คุณสามารถใช้ชุดตรวจแบบ Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ทราบผลเร็วภายใน 30 นาที ปัจจุบันมีผู้ผลิตจากหลายๆ ชาติ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และเกาหลีใต้ รวมทั้งมีการขึ้นทะเบียนรับรองการใช้งานนับสิบแบรนด์ในทุกประเทศ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.Rapid Antigen Test

ใช้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 เพื่อประเมินการติดเชื้อเบื้องต้น โดยใช้การเก็บตัวอย่างด้วยการแยงไม้เข้าไปในโพรงจมูก ช่องคอ และน้ำลาย คล้ายคลึงกับการตรวจ RT-PCR (Real-time Polymerase Chain Reaction) ของโรงพยาบาล หากประเมินว่า ได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน จะได้ผลตรวจที่แม่นยำ

สำหรับไทย อย. เพิ่งประกาศให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจ ​​Rapid Antigen Test มาใช้เองได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ไม่อนุญาตให้ซื้อขายตามร้านขายยา แต่ในหลายๆ ประเทศ ประชาชนสามารถหาซื้อได้เอง อย่างในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

Photo : Shutterstock

2. Rapid Antibody Test

ใช้ตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน COVID-19 โดยใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือท้องแขน สามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้ในวันที่ 10 เป็นต้นไป นับจากที่คาดว่า ได้รับเชื้อ

การใช้ชุดตรวจ Rapid Antibody Test ผลที่ได้จะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์คัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้น เพราะการตรวจภูมิคุ้มกัน COVID-19 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว การฉีดวัคซีนป้องกัน และผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคนี้ สามารถตรวจพบภูมิต้านทานที่เพิ่มขึ้นได้

Photo : Shutterstock

ปัจจุบัน อย. ไทย ยังไม่รับรองให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงชุดตรวจ Rapid Antibody Test แต่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ใช้ตรวจได้เท่านั้น ส่วนประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจนี้ได้

ตัวอย่างหุ้นบริษัทที่ผลิตชุดตรวจที่น่าสนใจ บางรายเป็นผู้ผลิตทั้ง Rapid Antigen Test และ Rapid Antibody Test ได้แก่ Abbott Laboratories จากสหรัฐฯ ราคาหุ้นได้รับอานิสงส์จาก COVID-19 เพิ่มขึ้นเป็น 22.65% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564) โดยได้ผลิตชุดตรวจ Rapid Antigen Test แบบการ์ด ด้วยราคาเพียง 5 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมแสดงผลภายใน 15 นาทีผ่านแอปพลิเคชัน ส่วน Roche จากสวิตเซอร์แลนด์ ราคาเพิ่มขึ้น 16.32% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ชี้เป้า ETF ลงทุนหุ้น COVID-19

เชื้อ COVID-19 ค้นพบครั้งแรกในจีนเมื่อปลายปี 2563 จนตอนนี้ระยะผ่านมานานกว่า 1 ปีครึ่ง ทั่วโลกยังเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดหลายระลอก

บางประเทศคุมได้เร็ว แต่ก็ยังกลับมาระบาดได้อีก บางประเทศเลือกที่จะเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้สัดส่วนมากกว่า 70% ของประชากร มีเป้าหมายให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะคลายมาตรการล็อกดาวน์ เปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเปิดการท่องเที่ยว

ขณะที่หลายๆ ประเทศพยายามสั่งจองวัคซีนหลายล้านโดส จากหลายๆ แบรนด์ผู้ผลิต เพื่อมาฉีดให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับประชาชน จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

มิฉะนั้น…จะเปิดประเทศไม่ได้ จะเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้ เศรษฐกิจเสียหายหนักและใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนเกิด COVID-19

Photo : Shutterstock

แม้วัคซีนเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่เรายังคาดการณ์ไม่ได้ว่า โลกจะเอาชนะ COVID-19 ได้หรือไม่ หรือจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาด รวมทั้งไวรัสกลายพันธุ์ไปจนถึงเมื่อไร

มันเป็นวิกฤตของโลกที่กำลังสะเทือนเศรษฐกิจทุกประเทศ ในทางกลับกัน…โอกาสการลงทุนก็อยู่กับบริษัทที่พัฒนาและผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส และชุดตรวจ Rapid Test รวมทั้งถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

อย่างที่เราได้รวบรวมข้อมูลหุ้นวัคซีนและชุดตรวจ COVID-19 วัดกันที่ราคาหุ้นระยะสั้น ส่วนใหญ่มีทิศทางที่ดีจากการพัฒนาวัคซีนได้สำเร็จ มียอดสั่งซื้อจากทั่วโลก และการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ รวมไปถึงการคิดค้นชุดตรวจที่แสดงผลรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ธุรกิจบริการสุขภาพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างจีโนมิกส์  จึงมีความน่าสนใจมากในยุค New Normal นี้ โดย Jitta Wealth ได้คัดเลือก ETF 2 กอง เข้ามาเป็นตัวแทนของธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ในกองทุนส่วนบุคคล Thematic อย่างธีมสุขภาพ (Healthcare) และธีมจีโนมิกส์ (Genomics) ที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤต COVID-19 ด้วย

Photo : Shutterstock

ธีมสุขภาพ มี iShares Global Healthcare ETF (IXJ) ลงทุนในหุ้นธุรกิจบริการสุขภาพทั่วโลกประมาณ 110 บริษัท เป็น Passive Fund โดยมีดัชนีอ้างอิง S&P Global 1200 Healthcare Sector Index ลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตจากวิกฤต COVID-19 เช่น บริษัท Johnson & Johnson บริษัท Pfizer บริษัท Moderna บริษัท AstraZeneca บริษัท Sanofi บริษัท Abbott Laboratories และ Roche

ผลตอบแทนของ IXJ

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +21.87%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.26%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (13 พฤศจิกายน 2544) อยู่ที่ +374.37%

ธีมจีโนมิกส์ มี iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA) ลงทุนในหุ้นที่พัฒนานวัตกรรมจากระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต วินิจฉัยโรคในระดับยีน และลงลึกไปถึงระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งการพัฒนาวัคซีน mRNA คือ การใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ด้วย

IDNA เป็น Passive Fund โดยมีอ้างอิง 2 ดัชนี คือ NYSE FactSet Global Genomics และ Immuno Biopharma Index ลงทุนหุ้นที่พัฒนาวัคซีน mRNA เช่น บริษัท Moderna บริษัท BioNTech และบริษัท Sanofi

ผลตอบแทนของ IDNA

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +34.49%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.17%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (11 มิถุนายน 2562) อยู่ที่ +115.01%

สำหรับ การลงทุนในธุรกิจบริการสุขภาพในจีน ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และเป็นผู้พัฒนาวัคซีนจำนวนมหาศาลของโลกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ กองทุนส่วนบุคคล Thematic ของ บลจ. จิตต เวลธ์ มีธีมตลาดหุ้นจีน iShares MSCI China ETF (MCHI) ที่ลงทุนในหุ้น Sinopharm และ CanSino Biologics ด้วย

]]>
1347296
ธปท. สั่งเเบงก์ “งดจ่ายปันผล-ห้ามซื้อหุ้นคืน” ทำเเผนเงินกองทุนใหม่ รับความเสี่ยง COVID-19 https://positioningmag.com/1284347 Fri, 19 Jun 2020 13:49:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284347 “เเบงก์ชาติ” สั่งธนาคารพาณิชย์ ทำแผนบริหารเงินกองทุนใหม่ 1-3 ปีให้สอดรับเศรษฐกิจในอนาคต ของดจ่ายเงินปันผลในปีนี้ รวมถึงให้งดซื้อหุ้นคืนด้วย

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวว่า เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป และยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย

โดยระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์ จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563 รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืน เพื่อธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่ธนาคารกลางหลายประเทศได้ดำเนินการแล้ว เพื่อรองรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 

โดยล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้เเจงในกรณีนี้ว่า จากการขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ และ ‘งดซื้อหุ้นคืน’ สาเหตุเพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

ธปท.มองว่าภูมิคุ้มกันที่สำคัญอันหนึ่งของธนาคารพาณิชย์คือ ระดับเงินกองทุน ที่เป็นกันชนรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเงินกองทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง และเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม จากการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และแนวทางบริหารความเสี่ยงเดิมส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยเข้มแข็ง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือ BIS Ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ 18.7% ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถออกมาตรการช่วยดูแลและเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้หลากหลายมาตรการ

ทั้งนี้มองว่าจากความไม่แน่นอนสูง จึงควรจะรักษาระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ และ ‘งดซื้อหุ้นคืน’ เป็นมาตรการเพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์  ‘การ์ดตก’ ให้รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งต่อเนื่องจนกว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนใหม่ได้ชัดเจนขึ้น

ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ประเมินและจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทั้งลูกค้าและแผนธุรกิจของตนเองได้อย่างชัดเจน ธปท. จึงขอให้ธนาคารพาณิชย์เร่งทบทวนแผนบริหารจัดการเงินกองทุนในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

ขณะเดียวกัน ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือผ่านธนาคารพาณิชย์ที่เร่งดำเนินการเยียวยาและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ จึงต้องคำนวณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลประกอบการและระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์อย่างละเอียดในสถานการณ์ต่างๆ (Scenarios) ในอนาคตด้วย

ในภาวะปกติ ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) จะจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงเดือนสิงหาคม เงินปันผลระหว่างกาล หรือ Interim Dividend เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ต้องรอคำนวณผลการดำเนินงานเมื่อครบปี หรือครบรอบระยะเวลาบัญชี โดยอาจจะคำนวณจากผลประกอบการในรอบครึ่งปีแรก และผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม

ส่วนการ ‘ซื้อหุ้นคืน’ นั้น ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่คิดว่ามีเงินกองทุนในระดับสูงเกินความจำเป็น หรือเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดลงไปอยู่ในระดับต่ำเกินควร ได้มีแผนซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งหมายถึงการซื้อหุ้นของตัวเองจำนวนหนึ่งออกจากตลาดหลักทรัพย์มาเก็บไว้ หรือเพื่อนำไปลดทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลดลง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ไม่ปกติ ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบรุนแรง และยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ธนาคารพาณิชย์จึงควรใช้เวลาประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ วางแผนการดำเนินงานอย่างระมัดระวัง และทำงานกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนบริหารจัดการเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จัดทำใหม่สอดคล้องกับสถานการณ์ข้างหน้า และสอดคล้องกับบทบาทของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายหลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงด้วย

อย่างไรก็ตาม การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดซื้อหุ้นคืนนี้ แม้ว่าจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงสั้นๆ แต่จะเป็นผลดีสำหรับผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในระยะยาว เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมด้วย เพราะจะช่วยให้ระบบสถาบันการเงินไทยเข้มแข็ง รักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง มีกันชนที่จะรองรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก โดยเฉพาะถ้าเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระยะใหม่ๆ

 

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

]]>
1284347
เปิดลิสต์ 18 กองทุน SSF ซื้อลดหย่อนภาษี 2 แสนบาท ก.ล.ต.ไฟเขียว เสนอขายได้ 1 เม.ย.นี้ https://positioningmag.com/1271003 Tue, 31 Mar 2020 10:53:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271003 ก.ล.ต. อนุมัติจัดตั้ง “กองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” เเล้ว จำนวน 18 กองทุน จาก บลจ. 14 แห่ง เพื่อให้เสนอขายได้วันที่ 1 เมษายน นี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีภายใต้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 มีมติให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” นั้น โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

(1) ลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

(2) หักลดหย่อนภาษีเงินได้พึงประเมินตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด

(3) ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

(4) ถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ก.ล.ต. ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ไปแล้วจำนวน 18 กองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 14 แห่ง ซึ่งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน พร้อมเสนอขายได้ในวันที่ 1 เมษายน 2563 สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. ที่เสนอขายกองทุน ดังนี้

1. กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 – บลจ.กรุงศรี
2. กองทุนเปิด เค ซูเปอร์สตาร์ เพื่อการออมพิเศษ – กสิกรไทย
3. กองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้นทุน เพื่อการออม – ทิสโก้
4. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม – บัวหลวง
5. กองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี เพื่อการออม – กรุงไทย
6. กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม – กรุงไทย
7. กองทุนเปิดพรินซิเพิล เว็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม – พรินซิเพิล
8. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไทยเฟล็กซิเบิล เพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
9. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีหุ้นไทยเพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
10. กองทุนเปิดยูโอบี เพื่อการออม – ยูโอบี
11. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนี SET เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
12. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ผสม 70/30 เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
13. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยเเอคทีฟ เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
14. กองทุนเปิด เเอล เอช สมาร์ท เพื่อการออม – เเลนด์ เเอนด์ เฮ้าส์
15. กองทุนเปิด เเอสเซทพลัส สมอล เเอนด์ มิด เเคป อิควิตี้ เพื่อการออม – เเอสเซท พลัส
16. กองทุนเปิดภัทร SET50 ESG – ภัทร
17. กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง หุ้นทุนปันผลเพื่อการออมพิเศษ – ธนชาต
18. กองทุนเปิด วรรณ สนับสนุนตลาดทุนไทย เพื่อการออม – วรรณ

*ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563

อ่านเพิ่มเติม :
ส่องผลประโยชน์-ผลกระทบ “กองทุน SSF” ที่มาทดแทน LTF

 

 

]]>
1271003
อีสท์สปริงควบรวม บลจ.ธนชาต ขึ้นเป็น บลจ.ใหญ่อันดับ 4 ในตลาด ครองส่วนแบ่ง 12% https://positioningmag.com/1264273 Thu, 13 Feb 2020 09:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264273 อีสท์สปริงควบรวม บลจ.ธนชาต ผ่านการเข้าถือหุ้น 50.1% เปลี่ยนชื่อเป็น “Thanachart Fund Eastspring” ทำให้อีสท์สปริงขึ้นเป็น บลจ.ขนาดใหญ่อันดับ 4 ของไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 12% ระยะถัดไปเตรียมควบรวมบริษัทนี้เข้ากับ TMBAM Eastspring ด้าน “พรูเด็นเชียล” บริษัทแม่ ยืนยันให้ความสำคัญตลาดไทย ต้องการปักหลักระยะยาว

อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ บริษัทจัดการการลงทุนภายใต้ กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล แถลงความคืบหน้าการเข้าซื้อหุ้นในกิจการ บลจ.ธนชาต ตามแผนงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยบริษัทเข้าซื้อหุ้นรวม 50.1% มูลค่ารวมประมาณ 4,208 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจากธนาคารธนชาตจำกัด (มหาชน) 25.1% และจากธนาคารออมสิน 25.0% และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Thanachart Fund Eastspring

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายนปี 2561 อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ ได้เข้าซื้อหุ้น 65% ใน บลจ.ทหารไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น TMBAM Eastspring ทำให้เมื่อควบรวม บลจ.ธนชาตเข้ามาในครั้งนี้ จะทำให้อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการสุทธิ (AUM) 6.68 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 12% หรือใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาด

“นิค นิแคนดรู” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย กล่าวถึงการควบรวมเหล่านี้ว่า เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการรวมความเข้มแข็งของ บลจ.ทั้ง 2 ฝั่งมาสร้างการเติบโตและการบริการใหม่ๆ ช่วยให้บริษัทขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียได้ดีขึ้น

โดยปัจจุบันอีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์มีการลงทุนในทวีปเอเชียทั้งหมด 11 ประเทศ บริษัทยังกล่าวด้วยว่า ใน 7 ประเทศของเอเชียที่ลงทุนอยู่ ตนเป็นผู้นำในธุรกิจจัดการการลงทุนอยู่ขณะนี้

ด้าน “ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า เป้าประสงค์ของธนาคารคือต้องการให้การจัดการลงทุนเป็นสิ่งที่คนไทยชนชั้นกลางเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายขึ้น นั่นทำให้ธนาคารมีการเปิด open architecture และใช้เทคโนโลยี Smart Port ช่วยจัดพอร์ตลงทุน ส่วนการร่วมทุนกับอีสท์สปริงจะทำให้ธนาคารมีตัวเลือกการลงทุนทั่วโลกเพื่อนำมาใช้จัดพอร์ตกองทุน

“ธุรกิจนี้ ความสำคัญคือขนาด เพราะต้นทุนต่อหน่วยจะถูกลง และเราต้องการให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและหลากหลาย” ปิติกล่าว ถึงเหตุผลของการควบรวมกับอีสท์สปริง “ปกติกฎหมายไทยเปิดกว้างให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ แต่คนไทยทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินล้านจะนำเงินออกไปลงทุนได้อย่างไร? เราจึงมองว่าความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์ให้คนไทยที่มีเงินหลักแสนหรือหลักหมื่นได้โอกาสลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำเช่นนี้”

“ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี

สำหรับการควบรวม Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring เป็นบริษัทเดียวนั้น จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปตามแผนที่วางไว้แล้ว แต่ขณะนี้ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันในรูปแบบพันธมิตร

โดยบริษัทมีการเตรียมการแล้วผ่านการจัดตั้งทีมงานดูแลการควบรวมกิจการ 10 คน ตั้งกลุ่มผู้บริหารอาวุโสร่วมทั้งสองบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของสองบริษัทเป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้การควบรวมทุน คน สำนักงาน เป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่กระทบต่อลูกค้า

ด้านความกังวลถึงสถานการณ์ตลาดที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียระยะนี้ ทั้งประเด็นอัตราดอกเบี้ยต่ำและไวรัสโคโรนามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะทำให้พรูเด็นเชียลชะลอการลงทุนออกไปหรือไม่ พรูเด็นเชียลยืนยันว่า แผนการลงทุนใน Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring ถือเป็นการลงทุน “ขนาดใหญ่” ของบริษัทแม่ และบริษัทมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการทำงานและต้องการปักหลักระยะยาว

“พรูเด็นเชียลเราเริ่มการทำงานจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การอุบัติของไวรัส COVID-19 ยิ่งทำให้คนตระหนักถึงชีวิตและสุขภาพ การปกป้องตนเอง และการลงทุนมากขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้นเราไม่คิดจะชะลอการลงทุนในภูมิภาค แต่จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้นด้วย” นิคกล่าวย้ำ

]]>
1264273
เก่าไปใหม่มา! ส่องผลประโยชน์-ผลกระทบ “กองทุน SSF” ที่มาทดแทน LTF https://positioningmag.com/1256231 Mon, 09 Dec 2019 06:29:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256231 ครม.ไฟเขียวคลอดกองทุน Super Savings Fund (SSF) ทดแทนกองทุน LTF หักลดหย่อยได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน หรือไม่เกิน 2 แสนบาท หวังกระตุ้นให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางเริ่มต้นการออมระยะยาวมากขึ้น

ด้านประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ผิดหวังที่คลังไม่ให้ความสำคัญการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้น รวมทั้งเหมารวมวงเงินหักลดหย่อนทุกกองทุนได้ไม่เกิน 5 แสนบาท จากเดิมที่ 1 ล้านบาท

เมื่อวันอังคารที่ 3 ธันวาคม กระทรวงการคลัง เคาะกองทุน Super Savings Fund หรือ SSF แทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งกำลังจะยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีปีนี้เป็นปีสุดท้าย

ก่อนที่บอกว่า SSF มีคุณสมบัติอย่างไรนั้น หลาย ๆ คนอาจจะลืมไปแล้วว่า LTF ลงทุนอย่างไรบ้าง โดยคุณลักษณะหลักๆของ LTF ก็จะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนใน “หุ้น” ระยะยาวไม่ต่ำกว่า 65 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยมีทั้งกองทุนที่จ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล ซึ่งผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

ส่วนรายละเอียดและสิทธิประโยชน์ สำหรับการซื้อกองทุน SSF ที่จะมาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กำหนด ให้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ (กองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

กองทุน SSF สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง ผู้ซื้อกองทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

นอกจากนี้ เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน SSF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนได้ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2563-2567 โดยกระทรวงการคลังจะประเมินผลของมาตรการเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมอีกครั้งหลังปี 2567 ทั้งนี้คาดว่ากองทุน SSF จะเริ่มขายอย่างช้าสุดในเดือน ก.พ.เพื่อให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ปรับตัวและทำระบบใหม่ โดยในส่วนนี้ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะเป็นหน่วยงานที่ดูแล โดยหารือร่วมกับผู้จัดการกองทุนต่างๆ ถึงกองทุนใหม่ที่จะเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังยังปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับการซื้อกองทุน RMF ประกอบด้วยปรับสัดส่วนการหักลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จากเดิมไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน เป็นไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และได้ยกเลิกการกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF (เดิมกำหนดให้ซื้อไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้พึงประเมิน หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) เพื่อให้ผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงน้อยสามารถซื้อกองทุน RMF ได้ โดยยังคงกำหนดให้ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และไม่ระงับการซื้อเกิน 1 ปีติดต่อกันเช่นเดิม

เน้นส่งเสริมคนรายได้ปานกลาง-น้อย ออมระยะยาว

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุชัดเจนว่า การออกกองทุนใหม่ SSF มาแทนที่กองทุน LTF เดิมนั้นยังเน้นย้ำเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมระยะยาวมากขึ้น และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อยและผู้ที่เริ่มต้นวัยทำงานได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวเริ่มต้นการออมระยะยาวโดยเร็ว

“กระทรวงการคลังมุ่งหวังให้ประชาชนทุกกลุ่มมีวินัยการออม เริ่มต้นออมระยะยาวตั้งแต่เข้าสู่วัยทำงาน และรู้จักวางแผนทางการเงิน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางรายได้เมื่อพ้นวัยทำงาน”

ปี 61 ยอดขอคืน LTF รวม 1 หมื่นล้าน

ส่วนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ซึ่งจะสิ้นสุดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีนี้ นักลงทุนยังคงสามารถซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF ได้ และแม้ว่าจะไม่ได้รับการลดหย่อนภาษี สำหรับเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป แต่กระทรวงการคลังได้เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้ที่ถือหน่วยลงทุนได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน LTF เช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่น

โดยรอบปี 2561 ที่ผ่านมามีผู้ลดหย่อนภาษีจากกองทุน LTF จำนวน 400,000 ราย ขอคืนภาษีรวม 10,000 ล้านบาท ขณะที่กองทุน RMF มีผู้ขอยื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษี 200,000 ราย คิดเป็นเงินคืนภาษีกว่า 6,000 ล้านบาท

เทียบคุณสมบัติกองทุนใหม่-เก่า

สำหรับข้อมูล 3 กองทุนเพื่อการออม LTF-RMF และ SSF นั้นมีความเหมือนและต่างกันในรายละเอียด แต่ทั้ง 3 กองทุนผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่สามารถลงทุนในปีนี้ได้อีกปี บุคคลธรรมดาสามารถลงทุนได้ โดยไม่มีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ แต่สามารถลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี โดย LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปีเมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจากเงินลงทุนที่ขายคืนนั้น

ทั้งนี้ การลงทุนกองทุน LTF เพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ในปี 2562 เป็นปีสุดท้ายที่จะครบกำหนดการขยายสิทธิ์ (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2562)

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ฉบับแก้ไขใหม่ บุคคลธรรมดาสามารถนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

ทั้งนี้การได้มีการแก้ไขเงินลงทุน จากเดิมต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปีอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำกว่า และสามารถลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี ปรับเปลี่ยนเป็นไม่กำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำ แต่ยังต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข โดยนับเวลาแบบวันชนวัน เริ่มจากวันแรกที่ได้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) บุคคลธรรมดาสามารถซื้อกองทุน SSF เพื่อไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ (กองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

การหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนใน SSF กำหนดไว้ 5 ปี (2563 – 2567) หลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะประเมินผลและทบทวนมาตรการเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไปผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะต้องถือครอง SSF เป็นเวลา 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ จึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ โดยไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี และไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุนเพียงแต่ปีที่ลงทุนจึงจะได้ลดหย่อนภาษี และการลงทุนของ SFF จะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท

วงการตลาดทุน หวั่นกอง SSF กระทบตลาดหุ้น

อย่างไรก็ดี มีได้ก็ต้องมีเสีย เพราะแม้กองทุนใหม่จะช่วยส่งเสริมการออม แต่สำหรับวงการตลาดทุนนั้น ส่วนใหญ่มองว่าการเปลี่ยนกองทุนจาก LTF มาเป็น SSF อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของตลาดหลักทรัยย์ เพราะ LTF นั้นระบุให้ลงทุนในหุ้นได้ถึง 65% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม แต่ SSF ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภทไม่จำกัดเฉพาะหุ้น ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า พอใกล้ปลายปีเม็ดเงินจากการลงทุน LTF มักจะเข้ามาหนุนตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้พอร์ตการลงทุนดีขึ้น แต่หากปี 2563 หมดกองทุน LTFแล้ว เราอาจจะเห็นว่ามูลค่าการซื้อขาย หรือเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นลดน้อยลง

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังที่กระทรวงการคลังไม่เห็นถึงความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้น และที่ไม่เห็นด้วยคือ การที่กระทรวงการคลังเอาวงเงินลดหย่อนของกองทุนเพื่อการออมทุกประเภทมารวมกัน และกำหนดเพดานไว้ที่ 500,000 บาทเท่านั้น (จากเดิม 1 ล้านบาท) ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้คนรายได้ปานกลางที่มีศักยภาพในการออมสูง อาจเลือกที่จะออมน้อยลง และถ้ากลุ่มเป้าหมายหลักที่รัฐบาลต้องการให้ออมมาก ๆ เลือกที่จะออมไม่เต็มที่ ก็จะทำให้วงเงินออมรวมทั้งระบบไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร

แต่ชื่นชมที่ยังเห็นถึงความสำคัญของการออมระยะยาว ด้วยการขยายวงเงินลงทุนสูงสุดในกองทุน SSF และ RMF ให้ถึง 30% ของรายได้ที่พึงประเมิน (จากเดิม 15%) โดยกลุ่มคนที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการจัดตั้งกองทุน SSF และการปรับเงื่อนไขกองทุน RMF คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือคนที่รายได้ยังไม่สูงมากนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะวินัยการออมต้องเริ่มสร้างตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน

“การที่ไม่บังคับให้กองทุน SSF ต้องลงทุนในหุ้นเลย (ผิดกับ LTF ที่บังคับให้ลงทุนส่วนใหญ่ในหุ้น) ไม่น่าจะตอบโจทย์สังคมสูงวัยที่ต้องทำให้ทุกคนมีรายได้พอใช้หลังเกษียณ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐ เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยยังมีความรู้เรื่องการลงทุนน้อย และมีแนวโน้มที่คนส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนในกองทุน SSF ประเภทเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการออมก็จะต่ำตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้รายได้หลังเกษียณไม่เพียงพอ” นายไพบูลย์ กล่าว

เขายังกล่าวด้วยว่า น่าเสียดายมากถ้าวัฒนธรรมการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ (นับตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุน LTF) เริ่มสะดุดลงเพราะขาดแรงจูงใจ และนักลงทุนหันกลับไปลงทุนระยะสั้น แบบวันต่อวันกันมากขึ้น เสถียรภาพของระบบการเงินก็จะลดลง

ด้านนายสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บล.กสิกรไทย ระบุว่า จากสถิติแรงซื้อหุ้นของกองทุน LTF ในช่วง4 ปีย้อนหลังอยู่ที่ประมาณปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ จากวงเงินที่ให้สิทธิซื้อกองทุน SSF เมื่อรวมกับ กองทุน RMF และกองทุนอื่นไม่เกิน 5 แสนบาท ลดลงจากเดิมที่ 1 ล้านบาท ทำให้คนที่มีฐานรายได้ เกิน 4 ล้านบาทต่อปี ซื้อได้น้อยลงเหลือ ไม่เกิน 2 แสนบาท โดยบริษัทได้มีการจัดทำผลสำรวจ เบื้องต้นกลุ่มคนที่ได้สิทธิซื้อวงเงินเพิ่มจาก 15% เป็น 30% นั้น พบว่าประมาณ 70-80 % จะไม่ใช้สิทธิซื้อเพิ่ม ดังนั้นประเมินว่าเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนลดลงไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านบาท เหลือประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในปีหน้า

ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องบอกว่าเก่าไป LTF ใหม่มา SSF ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาก่อนการลงทุน คนที่ลงทุน LTF มาเป็นประจำอยู่แล้ว อาจมองว่า SSF ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า แต่ถ้ามองในแง่ของการออมแล้วก็ยังถือเป็นทางเลือกที่รัฐบาลพยายามหามาให้แทนที่ของเดิม และใครที่มองว่าออมแล้วได้ผลตอบแทนน้อย ก็อาจจะต้องหาทางเลือกจากการออมด้านอื่นเป็นตัวเลือกถัดไป แต่อย่างน้อย ๆ กองทุน SSF ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีของคนรายได้ไม่มากที่อยากจะออม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ หรือคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่

Source

]]>
1256231