สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว 271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปัจจัยหลักๆ มาจากการ ‘กันสำรอง’ ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน
โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%
สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%
ด้านภาพรวมการเติบโตของ ‘สินเชื่อ’ ในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%
สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63
สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)
สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ
สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด
“คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์”
ด้าน ‘คุณภาพสินเชื่อ’ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%
ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย
กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน
ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย
]]>
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมี จำนวน 12,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากรายได้ที่สูงขึ้นของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจประกันและรายการพิเศษครั้งเดียวจากการขายเงินลงทุนและธุรกรรมของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และจากมาตรการปิดเมืองในช่วงไตรมาส 2 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักและทำให้ปริมาณธุรกิจของธนาคารลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนเมษายน อย่างไรก็ดี ได้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจในเดือนมิถุนายน พร้อมกับการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองเป็นลำดับ
ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมี จำนวน 16,141 ล้านบาท ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลงระหว่างช่วงมาตรการปิดเมืองของประเทศ และการที่ธนาคารควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารในไตรมาส 2 ของปี 2563 ค่อนข้างคงที่ที่ 44.5%
ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกับการที่ธนาคารยังดำเนินโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงได้ตั้งเงินสำรอง จำนวน 9,734 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ของปี 2563 ทั้งนี้โครงการเยียวยาภาคธุรกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่คาดว่าจะเริ่มส่งผลในช่วงต่อไปจะช่วยให้ธนาคารสามารถประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ชัดเจนขึ้นและคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะสะท้อนในผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ปรับลดลงอยู่ที่ 3.05% ภายใต้กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพักการจัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือทางการเงิน ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นเป็น 152% ทั้งนี้ เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18%
“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อรายได้และแนวโน้มกำไรของธนาคารในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารเชื่อมั่นว่าสถานะเงินกองทุนของธนาคารที่แข็งแกร่งและการตั้งสำรองหนี้สูญในระดับสูง จะช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือต่อภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ ตั้งแต่การเริ่มระบาดครั้งใหญ่นี้ ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าบุคคลไปแล้วกว่า 1.1 ล้านราย และลูกค้าธุรกิจกว่า 13,000 ราย รวมธุรกิจขนาดย่อมและบริษัทต่างๆ คิดเป็นยอดสินเชื่อภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 รวมประมาณ 840,000 ล้านบาท หรือ 39% ของยอดสินเชื่อรวมของธนาคาร”
นอกจากนี้ ธนาคารได้อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางดิจิทัลบน SCB EASY แอปพลิเคชัน ตลอดจนเปิดตัวแพลตฟอร์มบริการส่งอาหาร ROBINHOOD เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารและลูกค้ารายย่อยโดยทั่วไป แม้ว่าเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว แต่ผลกระทบในระยะยาวจากการระบาดของโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ในช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้ ธนาคารยังคงให้การสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าและทุกภาคส่วนของสังคมสามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน ในขณะเดียวกันธนาคารยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
]]>
ขณะที่ไตรมาส 2/2563 แนวโน้มยอดสั่งซื้อจีนเริ่มดีขึ้
อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN กล่าวว่า
“ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 มีรายได้รวม 1,110 ล้านบาท ลดลง 13.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ขณะเดียวกันมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 85.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการควบคุมต้นทุนทั้
ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนการจัดประเภทสิ
1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่
2. กลุ่มขนมขบเคี้ยวมุ่งเน้นการเพิ่
3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้
ธนาคาร HSBC เป็นสถาบันการเงินที่มีขนาดธุรกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนในเอเชีย ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาด COVID-19 โดยเฉพาะตลาดใหญ่ในจีน เเละอาจมีผลต่อกำไรของบริษัทตลอดทั้งปีนี้
“แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2020 แย่ลงอย่างมากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะมีหนี้เสียเกิดขึ้นพร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรของธนาคาร”
สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1/2020 ของ HSBC มีกำไรก่อนหักภาษีลดลง 48% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ ระดับ 6.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงสู่ระดับ 3.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดไว้ที่ 3.67 พันล้านเหรียญ ขณะที่รายได้ของธนาคารลดลง 5.1% สู่ระดับ 1.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
โดย HSBC ได้เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 2.4 พันล้านเหรียญเป็น 3 พันล้านเหรียญเนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ประกอบกับราคาน้ำมันที่ดิ่งลงจากพิษเศรษฐกิจ นอกจากนี้ทางธนาคารยังอ้างถึง “ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงขององค์กรในสิงคโปร์” ด้วย
เเม้ว่า HSBC จะไม่ระบุถึงชื่อบริษัทในสิงคโปร์ เเต่มีรายงานว่าธนาคารเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ของ Hin Leong บริษัทผู้ค้าน้ำมันที่เคยทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เเต่ตอนนี้กำลังยื่นฟ้องล้มละลายหลังประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก
นับตั้งเเต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา หุ้นของ HSBC ในตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงกว่า 29% ส่วนหุ้นที่เทรดที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงลดลง 35.1% จากแรงกดดันต่อผลกำไรเเละการเทขายหุ้นของนักลงทุน หลังบริษัทประกาศลดการจ่ายเงินปันผลของปี 2020 เพื่อรักษาสภาพคล่อง จากที่เคยจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
ก่อนหน้านี้ HSBC วางเเผนปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ โดยจะปรับลดพนักงานทั่วโลกลง 15% ให้เหลือ 2 เเสนคนในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมปรับลดจำนวนสาขาในสหรัฐฯ ลงถึง 1 ใน 3 ของจำนวนสาขาที่มีในปัจจุบัน 224 สาขา ซึ่งทาง HSBC จะให้บริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ธนาคารยังเตรียมควบรวมธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเข้ากับธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง รวมถึงแผนการปรับลดขนาดของธุรกิจนายหน้าและการจัดทำบทวิเคราะห์ในตลาดทุนของยุโรปด้วย
อ่านเพิ่มเติม : HSBC ปรับลดขนาดบริษัท เตรียมปลดพนักงานทั่วโลก 35,000 คน ภายใน 3 ปี
ที่มา : CNBC, financial times
]]>
พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในไตรมาส 1 ปี 2563 โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 28,082 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ และการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) จากเดิมรับรู้ตามสัญญา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9 รวมถึงการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง
ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.49% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ระดับ 3.32%
ด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 7,372 ล้านบาท ลดลง 39.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากผลกระทบของ COVID-19 รวมทั้ง TFRS 9 กำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าของเงินลงทุนใหม่ โดยสะท้อนในรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนี้
ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ อยู่ที่ 17,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหนี้ ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) อยูที่ระดับ 49.31%
ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) เพิ่มขึ้นจำนวน 4,292 ล้านบาท จากปีก่อน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL gross) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 3.86% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ที่อยู่ระดับ 3.65% โดยธนาคารได้มีการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งควบคุมดูแลคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างใกล้ชิด
ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 138.66% โดยสิ้นปี 2562 อยู่ที่ระดับ 148.60%
“กิจกรรมทางเศรษฐกิ
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,483,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.76% จากสิ้นปี 2562 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และการเติบโตของสินเชื่อ สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 18.53% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.17%
]]>
โดยปัจจัยหลักของการเติบโตอันโดดเด่นนี้ มาจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งจากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (Operation & Maintenance หรือ O&M) ในรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่เพิ่งเปิดให้บริการ รวมถึงกำไรจากธุรกิจสื่อโฆษณาภายใต้การบริหารงานของ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ทั้งนี้ BTS Group ประกาศกำไรสุทธิประจำไตรมาสนี้ จำนวน 1,278 ล้านบาท และกำไรสุทธิสำหรับช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2562/63 จำนวน 2,171 ล้านบาท
ในไตรมาสนี้ ธุรกิจขนส่งมวลชนยังคงเป็นหน่วยธุรกิจหลักที่เดินหน้าสร้างรายได้และผลกำไรให้กับ BTS Group โดยรายได้รวมจากธุรกิจขนส่งมวลชน อยู่ที่ 9,132 ล้านบาท คิดเป็น 80% ของรายได้รวมจากการดำเนินงาน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองและรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ จำนวน 7,531 ล้านบาท
รวมถึงการเปิดให้บริการโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง – เคหะฯ) ทั้งสายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ส่งผลให้รายได้ O&M เติบโตขึ้น 414 ล้านบาท หรือ 91.5% จากปีก่อนหน้า เป็น 866 ล้านบาท ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งจากการให้บริการ O&M นี้ ถือเป็นปัจจัยหนุนหลักที่ทำให้ BTS Group สามารถสร้างสถิติกำไรสุทธิจากรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำสูงสุดได้ในไตรมาสนี้
นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจระบบขนส่งมวลชนของเราในครึ่งปีหลังและในอนาคตจะยังคงเติบโตแข็งแกร่ง จากการทยอยเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวสถานีใหม่ๆ และผลจากความรุดหน้าของงานก่อสร้างรถไฟฟ้า
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 มีการเปิดให้บริการสถานีแรก (สถานี N9: สถานีห้าแยกลาดพร้าว) ของโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ และเราคาดว่าจะเปิดให้บริการโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนืออีก 4 สถานี (ถึงสถานี N13: สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ในเดือนธันวาคม 2562 โดยเราเชื่อมั่นว่าการเปิดให้บริการทั้ง 5 สถานีดังกล่าวในปีงบประมาณนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารในระบบ รวมถึงช่วยเพิ่มรายได้จากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) อย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ คาดว่าโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือจะเปิดให้บริการทั้งสาย จากหมอชิตถึงคูคต (ระยะทาง 17.8 กม., 16 สถานี) ได้ภายในปี 2563 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองนั้นคาดว่าเส้นทางหลักของทั้ง 2 โครงการดังกล่าวจะสามารถเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคม ปี 2564
ในส่วนของธุรกิจสื่อโฆษณา VGI ได้สร้างสถิติรายได้และกำไรสุทธิสูงสุดในไตรมาสที่ผ่านมาเช่นกัน จากความสำเร็จในกลยุทธ์การเป็นผู้ให้บริการการตลาดแบบ Offline-to-Online (O2O) Solutions ส่งผลให้ VGI รายงานรายได้เพิ่มขึ้น 36.5% YoY จาก 1,222 ล้านบาท เป็น 1,668 ล้านบาท (เติบโต 36.5% จากปีก่อน) และ VGI ยังสามารถสร้างผลกำไรที่เติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยประกาศกำไรสุทธิรายไตรมาสสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน 355 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.6% YoY ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือทางด้าน synergy ภายในกลุ่ม VGI
หนึ่งในการเดินหน้าปรับกลยุทธ์มุ่งสู่ O2O solutions ของ VGI นั้น คณะกรรมการบริษัทมาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) (MACO) (บริษัทย่อยของ VGI) ได้มีการอนุมัติการเข้าลงทุน 50% ในบริษัท ฮัลโล บางกอก แอล อี ดี จำกัด และการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน (Private Placement) จำนวน 1,080 ล้านหุ้น ให้แก่ บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) (PlanB) ทั้งนี้ เมื่อธุรกรรมดังกล่าวแล้วเสร็จ MACO จะเดินหน้ารุกต่อขยายการเติบโตในต่างประเทศ สำหรับธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศ MACO จะให้สิทธิ PlanB เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการขายและบริหารสื่อทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การทำธุรกรรมให้แล้วเสร็จสมบูรณ์นั้น ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่จะจัดขึ้นใน วันที่ 17 ธันวาคม 2562
“จากผลการดำเนินงานของธุรกิจสื่อโฆษณาที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เรามั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายของธุรกิจสื่อโฆษณาสำหรับปี 2562/63 ที่ตั้งไว้ได้ เพราะกลุ่ม VGI มีพัฒนาการที่สำคัญทั้งจากการดำเนินงาน ผสานเข้ากับการบูรณาการภายในกลุ่มธุรกิจภายใต้ VGI จะช่วยยกระดับผลการดำเนินงานให้เติบโต สามารถสร้างรายได้ ผลกำไร และมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างมั่นคงยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต”
โดยในช่วงครึ่งปีแรก BTS Group ไม่เพียงแค่สร้างผลการดำเนินงานด้านการเงินที่แข็งแกร่ง แต่ยังคงได้รับการจัดอันดับจากสถาบันที่ประเมินผลการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน ดังวิสัยทัศน์หลัก City Solutions ของเราที่มุ่งหวังจะเป็นผู้นำและยกระดับการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างยั่งยืน โดย BTS Group ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) ประจำปี 2562 ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 และได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment หรือ THSI) ประจำปี 2562 เป็นปีแรก
นอกจากนี้ BTS Group ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 บริษัทที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2562 โดยสถาบันไทยพัฒน์อีกด้วย
“รางวัลที่น่าภาคภูมิใจในครั้งนี้ เป็นผลมาจากความทุ่มเทและการร่วมมือกันของทุกหน่วยงานใน BTS Group ในการมุ่งไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเรามุ่งเน้นให้บริษัทฯ มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำพากลุ่มบริษัท บีทีเอสของเราไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ลงทุนในระยะยาวอย่างยั่งยืน”
]]>โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการขยายตัวของสินเชื่อที่แข็งแกร่งที่ 6.4% จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561
เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“ผลประกอบการที่แข็งแกร่งแสดงถึงศักยภาพของกรุงศรีในการบริหารจัดการพอร์ตสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ส่งผลให้มีการเติบโตของสินเชื่อที่ต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย”
นายอาคิตะ ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจโดยรวม ว่า “จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่ออุปสงค์ภายในประเทศและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยปรับลดประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลงมาอยู่ที่ 2.9% จาก 3.2% อย่างไรก็ตาม จากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังคงเกื้อหนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจต่อเนื่องในไตรมาส 4 กรุงศรีคาดว่าการขยายตัวของสินเชื่อสำหรับปี 2562 จะอยู่ในกรอบบนของเป้าหมายที่ 6 – 8%”
ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 กรุงศรี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าของไทยด้านสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินฝาก และเป็นหนึ่งในห้าสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) มีสินเชื่อรวม 1.78 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.50 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.27 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 263,9200 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 16.46% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นของเจ้าของคิดเป็น 11.79%.
]]>จากการตรวจสอบข้อมูล กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า “บีอีซี-มัลติมีเดีย” บริษัทที่ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 3 ช่อง จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมคมแห่งชาติ (กสทช.) รายงานผลประกอบการปี 2561 ทำกำไรสุทธิ 111 ล้านบาท หลังจาก 4 ปีแรก “ขาดทุน” ต่อเนื่อง และเป็นที่มาของการแจ้ง “คืนใบอนุญาต” ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2562 มาย้อนดูผลประกอบการ 5 ปี ของช่อง 3 Family, ช่อง 28 SD และช่อง 3 HD (หรือช่อง 33)
สำหรับผลประกอบการของ “บีอีซี-มัลติมีเดีย” ที่แจ้งต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นการรวมรายได้ทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่อง ไม่ได้ระบุว่ารายได้และผลขาดทุน-กำไรแบบรายช่อง ซึ่งรายได้หลักมาจากช่อง 3 HD
หลังเข้ารับตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการ บีอีซี เวิลด์ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา “บี๋ อริยะ พนมยงค์” ต้องร่วมตัดสินใจครั้งสำคัญกับบอร์ดบีอีซี ในการพิจารณา “คืนใบอนุญาต” ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดคำถามมากมายตามมากับอนาคตช่อง 3 หลังคืนช่องและนโยบายการบริหาร บีอีซี ภายใต้แม่ทัพคนใหม่ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา “บี๋ อริยะ” จึงจัดประชุม Townhall พบปะพูดคุยกับพนักงาน บีอีซี เป็นครั้งแรก หลังจากนั้น “บี๋ อริยะ” ได้ส่งสารสรุปเนื้อหาใจความการประชุม Townhall ดังนี้
สวัสดีครับเพื่อนพนักงาน ผมขอขอบคุณเพื่อนพนักงานที่ร่วมประชุม Townhall Meeting เมื่อวันพุธ 15 พ.ค. 2562 ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสพบกับเพื่อนพนักงานอย่างเป็นทางการครั้งแรก แม้ผมจะไม่มีโอกาสพูดคุยแบบตัวต่อตัวกับทุกท่าน แต่เมื่อเราทำงานร่วมกันต่อไปพวกเราก็จะได้มีโอกาสเจอกันบ่อยขึ้น
เพื่อนๆ พนักงานคงเห็นในวันประชุมแล้วว่าผมเป็นคนง่ายๆ สบายๆ ผมให้ความสำคัญการทำงานใกล้ชิดกับทีมงาน และผมก็เชื่อว่าต่อไปพวกเราจะได้ทำงานใกล้กันมากขึ้น
ผมอยากให้ทุกท่านทราบว่า ธุรกิจโทรทัศน์ยังคงเป็น “ธุรกิจหลัก” ของเราในทุกวันนี้ และต่อไปในอนาคต เพราะปัจจุบันนี้เรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน เราจึงต้องทำให้ “บีอีซี” ประสบความสำเร็จทั้งบนโลกออฟไลน์และโลกออนไลน์ไปพร้อมกัน ผมอยากขอให้เพื่อนพนักงานร่วมกันสู้ เพื่อเอาชนะความเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน และพวกเราจะทำให้ “บีอีซี” กลับมายิ่งใหญ่มากกว่าเดิม
ผมได้รับทราบทุกคำถามที่ทุกท่านถามมาในที่ประชุม มีอยู่หลายคำถามที่เกี่ยวกับแผนธุรกิจหลังจากคืนใบอนุญาตช่อง 13 และ 28 ไปแล้ว และผมยังไม่สามารถตอบเพื่อนพนักงานได้อย่างชัดเจนในทันที แต่ผมขอให้ความเชื่อมั่นว่าผมเข้าใจสิ่งที่พนักงานกังวล ผมและทีมผู้บริหารกำลังทำงานเพื่อวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อองค์กรของเราและตอนนั้นผมจะมีคำตอบที่ชัดเจน
ความสำเร็จของ บีอีซี ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากตัวผมเท่านั้น แต่ความสำเร็จขององค์กรจะต้องมาจากความร่วมมือ การสนับสนุนซึ่งกันและกันของเพื่อนพนักงานทุกท่าน และพนักงานคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของ บีอีซี
แม้ตัวเลขผลประกอบการ “บีอีซี-มัลติมีเดีย” ผู้ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 3 ช่อง ในปี 2561 จะโชว์กำไรครั้งแรก แต่สำหรับ บมจ. บีอีซี เวิลด์ บริษัทแม่ แจ้งผลประกอบการปี 2561 ขาดทุน 330 ล้านบาท และไตรมาสแรก ปี 2562 “ขาดทุน” 128 ล้านบาท
ไตรมาสแรกมีรายได้โฆษณาอยู่ที่ 1,718 ล้านบาท ลดลง 18.7% จากไตรมาสแรกปี 2561 ที่ 2,112 ล้านบาท จากปัจจัยภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาไตรมาสแรก ลดลง 1.5% อยู่ที่ 24,145 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายได้หลักจากการขายเวลาโฆษณาของกลุ่มบีอีซี มาจาก “ช่อง 3” ขณะที่รายได้จากการใช้สิทธิและบริการอื่นในไตรมาสแรก อยู่ที่ 205 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.1% จากไตรมาสแรกปีก่อน ส่วนรายได้การจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ไตรมาสแรก อยู่ที่ 83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากจำนวนกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น
โดยรายได้รวมของกลุ่มบีอีซีไตรมาสแรก ปี 2562 อยู่ที่ 2,052 ล้านบาท ลดลง 14.8% จากไตรมาสแรกปีก่อน รายได้จากการขายเวลาโฆษณาเป็นรายได้หลักอยู่ที่ 84.9% รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น มีสัดส่วน 10.1%
ผลประกอบการ บีอีซี เวิลด์
ข่าวเกี่ยวเนื่อง
]]>
ในปี 2561 “โอสถสภา” มี “รายได้” รวม 24,297 ล้านบาท ลดลง 2.9% สาเหตุหลักคือการที่สิ้นสุดสัญญาการจำหน่ายกับ “ยูนิชาร์ม” ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ‘มามี่โพโค’ ‘โซฟี’ และ ‘ไลฟ์รี่’ ที่ตัดสินให้ดึงกลับไปจัดจำหน่ายเอง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากรายได้ของ OEM โดยเฉพาะการจำหน่ายขาดแก้วลดลง 33.7% เนื่องจากปิดปรับปรุงเตาหลอมแก้วตอนต้นปี 2561
ยังดีหน่อยที่ “กำไร” สามารถเติบโตราว 6.1% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 3,005 ล้านบาท จากปี 2560 ที่ทำได้ 2,834 ล้านบาท โดยสามารถแยกย่อยลงไปใน 3 ธุรกิจหลัก ดังนี้
“กลุ่มเครื่องดื่ม” มียอดขายทั้งสิ้น 18,575 ล้านบาท ลดลง 2.1% หรือ 400 ล้านบาทจากที่เคยทำได้ในปีก่อน 18,975 ล้านบาท เมื่อมองลึงเข้าไปอีกจะพบยอดขายภายในประเทศอยู่ที่ 14,902 ล้านบาท ลดลง -0.4% ลดลง หรือ 65 ล้านบาท โดยการปรับภาพลักษณ์ใหม่ของ “โสมอินซัม” ช่วยให้ยอดขายโตขึ้นกว่า 109.1%
และยังมีการเปิดตัวเครื่องดื่มฉลามผสมกระชายดำในเดือนสิงหาคม ช่วยหยุดยั้งการลดลงยอดขายของ “ฉลาม” ได้เป็นอย่างดี ทั้งปีลดลงเพียง 0.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ลดลดถึง 15% ซึ่งสินค้าตัวใหม่นี้เข้ามากระตุ้นให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 18% นอกจากนี้ “กาแฟเอ็ม–เพรสโซ” ที่เพิ่งเปิดตัวไปในเดือนกุมภาพันธ์ ช่วยให้ยอดขายเครื่องดื่มโตด้วย
“โอสถสภา” ยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทยที่ 54% เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดย “เอ็ม-150” มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 37.9% เพิ่มขึ้น 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า
ที่น่าห่วงคือ รายได้จากต่างประเทศลดลง 335 ล้านบาท หรือ 8.4% คิดเป็นรายได้ 3,673 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและยอดขายที่ลดลงใน “กัมพูชา” แม้รายได้ใน “เมียนมา” ซึ่งเป็นตลาดหลัก จะยังคงเติบโตในระดับตัวเลขสองหลัก เพราะอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ก็ตามที
สำหรับกลุ่ม “ของใช้ส่วนบุคคล” มียอดขายทั้งสิ้น 2,452 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 11.7% หรือ 257 ล้านบาท การเติบโตหลักๆ มาจาก “เบบี้มายด์” ทำไป 1,637 ล้านบาท เพิ่ม 13.5% และ “ทเวลฟ์พลัส” เติบโต 10.1% คิดเป็นยอดขาย 705 ล้านบาท
เมื่อแยกเป็นยอดขายจากเมืองไทยเติบโต 8.5% หรือ 2,165 ล้านบาท หลักๆ ก็มาจาก 2 สินค้าหลัก เบบี้มายด์โต +10.1% ทเวลฟ์พลัสโต 7.4% “โอสถสภา” คาดหวังสินค้า 2 ตัวนี้จะเป็นหัวหอกในการฟันยอดขายต่อไป เพราะได้มีปรับหน่วยสินค้า ออกสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูงขึ้น และตวบคุมค่าใช้จ่ายจากโฆษณา
ด้านนึ้ยอดขายจากต่างประเทศเติบโตอย่างสวยหรู ด้วยตัวเลข 287 ล้านบาท เติบโตถึง 42.8% คิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 86 ล้านบาท
ยอดขายในกลุ่ม “ซัพลายเชน” ร่วงหนักสุด 582 ล้านบาท หายไป 16% คิดเป็นยอดขายปี 2561 อยู่ที่ 3,063 ล้านบาท โดยเหตุผลหลักมาจากสิ้นสุดสัญญาการจำหน่ายกับ “ยูนิชาร์ม” และการจำหน่ายขวดแก้วลดลงจากการปิดเตาหลอม
แม้จะมีรายได้จากเครื่องดื่ม ซี–วิต จะเติบโตถึง 74.6% ภายหลังการขยายกำลังการผลิต โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 25.0% สูงกว่าเบอร์ 2 ถึง 2.9%
อนึ่งภายหลังการเข้าตลาดอย่างเป็นทางการ “โอสถสภา” ได้ขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักไป 2 บริษัทคือในเดือนกันยายนได้ขาย “อินเตอร์แอคทีฟ คอมมิวนิเคชั่นส์” เป็นเอเยนซี่โฆษณาให้กับ “YDM Thailand” ตามที่ Positioning ได้รายงานดีลไปก่อนหน้านี้ (https://positioningmag.com/1208375)
และในเดือนพฤศจิกายนได้ขาย “บริษัท ไวท์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)” ซึ่งประกอบธุรกิจการค้าเคมีภัณเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และการให้บริการซ่อมบำรุง การขายทั้ง 2 ส่วนนี้สร้างกำไร 158 ล้านบาท
ในปี 2562 “โอสถสภา” คาดเติบโตรายได้และกำไรเป็นตัวเลข “หลักเดียว” โดยวางแผนเปิดเครื่องดื่มใหม่ 2-4 ชนิก เน้นกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ นอกจากนี้ในกลุ่ม “ของใช้ส่วนบุคคล” มีแผนที่จะขยายเข้าสู่กลุ่มดูแลผิวหน้าและผิวพรรณ
กัมพูชา เมียนมา และลาว เป็นตลาดหลักของเครื่องดื่มในต่างประเทศ ตลาดใหญ่สุดเป็นเมียนมา โดยเตรียมเพิ่มเกมการตลาดให้กับชาร์คเมียนมาและเอ็ม-150 พัฒนาช่องทางการขาย ส่วนโรงงานคาดเสร็จในปีนี้
ขณะนี้ “โอสถสภา” กำลังศึกษาตลาดเครื่องดื่มในเวียดนามและจีน พร้อมกับสนใจธุรกิจการจำหน่ายผ่านตู้อัตโนมัติ คาดสามารถตั้งบริษัทร่วมทุนได้ภายในสิ้นปี 2562.
]]>บีอีซี ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า รายได้รวมของทั้งกลุ่มในไตรมาส 3 ปี 2561 อยู่ที่ 2,672.5 ล้านบาท ลดลง 3% เมื่อเทียบกับรายได้ของไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ที่อยู่ที่ 2,756.3 ล้านบาท และยังลดลง 2.9% จากไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 2,751.8 ล้านบาท ด้วยเหตุผลของงบโฆษณารวมของทั้งอุตสาหกรรมที่ลดลง
รายได้หลักของกลุ่มยังมาจากรายได้ค่าโฆษณาที่คิดเป็น 84.4% ของรายได้รวม และรายได้จากค่าลิขสิทธิ์และบริการอื่นมีการเติบโต 34% จากไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วนสัดส่วน 8.1% ของรายได้รวม
โดยรายได้จากค่าโฆษณาไตรมาสนี้อยู่ที่ 2,255.8 ล้านบาท นับว่าลดลงจากไตรมาส 2 ของปีนี้ที่มีรายได้ส่วนนี้ที่ 2,399.3 ล้านบาท อีกทั้งยังลดลง 11.2% เมื่อเทียบไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ที่มีรายได้อยู่ที่ 2,540.6 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายรวมของกลุ่ม BEC ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ อยู่ที่ 2,167.3 ล้ำนบาท ลดลง 7.8% จากไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ที่มีค่าใช้จ่ายรวม 2,351.7 ล้านบาท และลดลง 6.8% จากไตรมาสที่ 3 ของปี 60 ที่มีค่าใช้จ่าย 2,324.4 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดต้นทุน ทั้งจากการทำละครรีรันมาออกอากาศ และไม่มีต้นทุนการถ่ายทอดกีฬา
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการขายและการให้บริการรวมของกลุ่ม BEC ได้มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากโครงการให้พนักงานลาออกก่อนเกษียณที่ทำในไตรมาสแรกของปีนี้
โดยสรุป กลุ่ม BEC มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ BEC ในไตรมาส 3 นี้อยู่ที่ 78.3 ล้านนบาท โดยมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 2.9% และมีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานจำนวน 2,346.7 ล้านบาท และมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นในงบดุลรวมจำนวน 1,929.8 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2561
ทั้งนี้กลุ่มบีอีซีมีผลประกอบการขาดทุนตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว จนถึง ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยมียอดขาดทุนอยู่ที่ -335.5 ล้านบาท ของไตรมาส 4/60 , -125.99 ล้านบาท ของไตรมาสแรกปีนี้ และ -22.6 ล้านบาท ของไตรมาส 2 ของปีที่นี้.
]]>