ขนมขบเคี้ยว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Jul 2024 09:54:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เจ้าสัว” ส่งสินค้า “ฮาลาล” ลุยประเทศมุสลิม ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเพิ่มเป็น 38% https://positioningmag.com/1483619 Tue, 23 Jul 2024 08:46:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1483619 แผนบุกตลาดต่างประเทศของ “เจ้าสัว” วางเป้าปี 2569 เพิ่มสัดส่วนส่งออกต่างประเทศเป็น 38% โดยมีความคืบหน้าสำคัญใน 3 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ UAE เตรียมส่งออกสินค้า “ฮาลาล” เจาะกลุ่มมุสลิม

“ณภัทร โมรินทร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี (CHAO) ประกาศเป้าการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศของบริษัท หวังเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกเป็น 38% ของรายได้รวม ภายในปี 2569 โดยปัจจุบันมีการส่งออกแล้ว 12 ประเทศ เช่น จีน สหรัฐฯ กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นต้น

ล่าสุดในด้านการส่งออกมีความคืบหน้าสำคัญใน 3 ประเทศที่แบรนด์ “เจ้าสัว” และ “โฮลซัม” จะได้ขยายตลาดเพิ่มเติม ทั้งในกลุ่มอาหาร “ฮาลาล” และ “ไม่ใช่ฮาลาล” ดังนี้

  1. อินโดนีเซีย บรรลุความร่วมมือกับพันธมิตรคือบริษัท ‘CV Aneka’ ผู้จัดจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ในอินโดนีเซีย ได้เริ่มส่งสินค้าล็อตแรกเป็นสินค้าประเภทที่ไม่ใช่อาหารฮาลาล เช่น ข้าวตังหน้าหมูหยอง, หมูหยองพริกเผา และกลุ่มสินค้าฮาลาล เช่น ข้าวตังหน้าหมูหยองสาหร่าย, หน้ากุ้ง และหมึกย่างสวีทชิลลี่, fish snack, แครกเกอร์ธัญพืช, สินค้ากลุ่มถั่ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตขึ้นทะเบียน คาดว่าจะสามารถส่งออกไปได้ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
  2. ฟิลิปปินส์ เจ้าสัวมีการส่งออกสินค้าไปยังซูเปอร์มาร์เก็ต ‘Landers Superstore’ ซึ่งมีหน้าร้าน 8 สาขาทั่วประเทศ และช่องทาง Online platform โดยส่งสินค้าหลายชนิด เช่น ข้าวตังหน้าหมูหยอง, หน้าหมูหยองพริกเผา, หน้าหมูหยองสาหร่าย, หน้ากุ้ง, หมึกย่างสวีทชิลลี่, ข้าวตังหน้าไก่หยองเผ็ด, ไก่หยองสาหร่าย, ต้มยำกุ้ง เป็นต้น
  3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) – จัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์เจ้าสัว ผ่านช่องทาง Wemart Supermarket ด้วยสินค้ากลุ่มฮาลาล เช่น ข้าวตังหน้าซีฟู้ด, หนังปลากรอบ, แครกเกอร์ธัญพืช และสินค้ากลุ่มถั่วต่างๆ

เจ้าสัวเป็นบริษัทผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ มีสินค้าที่เป็นขนม เช่น ข้าวตัง หมูแท่งกรอบ หนังปลา แครกเกอร์ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร เช่น หมูหยอง กุนเชียง บริษัทมีทั้งธุรกิจรับจ้างผลิต (OEM) และสินค้าที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองคือแบรนด์ “เจ้าสัว” และ “โฮลซัม”

ในปี 2566 บริษัทเจ้าสัวทำรายได้ไป 1,511 ล้านบาท กำไรสุทธิ 162 ล้านบาท
ขณะที่ไตรมาส 1/2567 ทำรายได้ 344 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 27 ล้านบาท

เจ้าสัว
เจมส์จิ-จิรายุ ตั้งศรีสุข พรีเซ็นเตอร์แบรนด์เจ้าสัว

เมื่อปี 2565 รายงานภาวะอุตสาหกรรมของ Frost & Sullivan ระบุว่า ตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมูในไทยน่าจะมีขนาดตลาดราว 500 ล้านบาท และแบรนด์เจ้าสัวถือเป็นผู้ครองตลาดหลักด้วยมาร์เก็ตแชร์ 57%

ขณะที่ทิศทางการตลาดของเจ้าสัวต้องการจะขายสินค้าด้วยแบรนด์ของตนเองมากกว่า OEM ระยะหลังจึงมีการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมงานกับ YDM Thailand เป็นผู้ปรับแบรนด์ให้เจ้าสัวเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ปรับภาพลักษณ์ให้เป็นขนมที่ทานได้ทุกวันมากกว่าเป็นเพียงของฝาก และสื่อสารว่าเจ้าสัวเป็นทางเลือก “ขนมโปรตีน” ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

ปีนี้แบรนด์เจ้าสัวจึงมีการตั้งพรีเซ็นเตอร์เป็น “เจมส์จิจิรายุ ตั้งศรีสุข” มาช่วยสื่อสารแบรนด์ โดยทาง YDM Thailand ประเมินผลพบว่าการทำแคมเปญการตลาดต่างๆ ทำให้คนรุ่นใหม่วัยไม่เกิน 24 ปีเพิ่มสัดส่วนในกลุ่มลูกค้าเจ้าสัวที่จากเดิมมีสัดส่วน 33% เพิ่มเป็น 46% สำเร็จ

]]>
1483619
ป้องกันสับสน! 2 ยี่ห้อ “คุกกี้กล่องแดง” ต่างกันอย่างไร? https://positioningmag.com/1457468 Fri, 29 Dec 2023 08:40:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457468 คุกกี้ “กล่องแดง“ ในตำนานที่ได้รับเป็นของขวัญปีใหม่กันทุกปี ยี่ห้อหลักในตลาดจะมี 2 ยี่ห้อ คือ “อิมพีเรียล” กับ “อาร์เซนอล”

ถึงจะหน้าตาคล้ายกัน แต่มาจากผู้ผลิตคนละบริษัท และมีข้อแตกต่างให้สังเกตอยู่ค่ะ

ใครเป็นแฟนคลับยี่ห้อไหนฝากเมนต์บอกหน่อย เผื่อคนที่ยังสับสนคุกกี้กล่องแดงจะได้เลือกยี่ห้อที่ชอบได้คราวหน้านะ

#คุกกี้กล่องแดง #คุกกี้ #ของขวัญปีใหม่ #คุกกี้อิมพีเรียล #คุกกี้อาร์เซนอล #positioningmag

]]>
1457468
OREO x BLACKPINK แคมเปญเบิกทางให้ “โอรีโอ” เจาะกลุ่ม “วัยรุ่น” ได้มากขึ้น https://positioningmag.com/1414743 Fri, 06 Jan 2023 07:11:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414743 ตลาดครอบครัวและเด็กคือแกนหลัก แต่จะเติบโตได้เร็วต้องจับตลาดอื่นได้ด้วย! “โอรีโอ” ขนมคุกกี้ในเครือมอนเดลีซ เปิดแคมเปญใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา OREO x BLACKPINK ทำการตลาดผ่านวง K-Pop ระดับซูเปอร์สตาร์ เพื่อดันยอดขายในกลุ่มวัยรุ่น Gen Z เป็นใบเบิกทางสำหรับการตลาดตลอดปีนี้ที่จะสื่อสารกับวัยรุ่นสูงขึ้น

โอรีโอสีชมพูลายใหม่จากการคอลแลป OREO x BLACKPINK เริ่มวางจำหน่ายมาตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2565 แต่การเปิดตัวแคมเปญแบบแกรนด์โอเพนนิ่งจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ (6 มกราคม 2566) และจะโหมโปรโมตต่อเนื่องไปอีก 3 เดือนจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม

แคมเปญดังกล่าวเป็นแคมเปญการตลาดระดับภูมิภาคที่จะจัดขึ้นใน 7 ประเทศเอเชีย คือ 6 ประเทศอาเซียน และเกาหลีใต้ โดย “ไทย” กับ “อินโดนีเซีย” เป็น 2 ประเทศแรกที่เริ่มจัดก่อน ตอบรับการทัวร์คอนเสิร์ตของสาวๆ วง BLACKPINK

“ธานัท อนุตระกูลชัย” ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์โอรีโอ และขนมขบเคี้ยวขนาดเล็ก และ “ณัฐธิดา อนันต์นาท” ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกลุ่มสินค้าบิสกิตและชีส บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด

“ณัฐธิดา อนันต์นาท” ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกลุ่มสินค้าบิสกิตและชีส และ “ธานัท อนุตระกูลชัย” ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์โอรีโอ และขนมขบเคี้ยวขนาดเล็ก บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่าแคมเปญนี้มอนเดลีซทุ่มงบไป 200 ล้านบาท สูงที่สุดที่โอรีโอภูมิภาคเอเชียเคยทำมา และคาดว่าจะทำให้ยอดขายโอรีโอในรอบ 3 เดือนแรกปีนี้พุ่งขึ้นเป็นเท่าตัว

รายละเอียดแคมเปญใหญ่ OREO x BLACKPINK ที่จะดันให้ยอดขายพุ่ง ได้แก่

  • แพ็กเกจสินค้าใหม่ลาย BLACKPINK พร้อมลายเซ็นสมาชิกวง
  • สินค้ารสชาติพิเศษ คุกกี้สีชมพูสอดไส้ครีมดาร์กช็อกโกแลต
  • สินค้าแบบซอง Slug (แบบแท่งราคา 30 บาท) สุ่ม QR CODE แสกนชมคลิปวิดีโอทักทายจากสมาชิกวง
  • สินค้าขนาด MP9 (แพ็กใหญ่ราคา 59 บาท) สุ่มแถมโฟโต้การ์ดรูปสมาชิกวง มีทั้งหมด 10 ลาย
  • ซื้อสินค้าครบ 199 บาท ผ่านช่องทางออนไลน์หรือโมเดิร์นเทรด แลกรับหมอนคุกกี้สีชมพู (มีจำนวนจำกัด)
  • ส่งซองสินค้าชิงรางวัลอัลบัม Born Pink พร้อมลายเซ็นจริงของสมาชิกครบ 4 คน มีทั้งหมด 8 รางวัล
  • จัดทำ TVC โปรโมตแคมเปญ
  • กิจกรรมอีเวนต์ ณ สยามสแควร์ วันที่ 6-7 มกราคม 2566 พร้อมมินิคอนเสิร์ตจากวง LAZ1
  • ระดมพล KOLs เพื่อโปรโมตแคมเปญตลอด 3 เดือน
OREO BLACKPINK
สินค้าลายพิเศษ และรสชาติพิเศษเฉพาะแคมเปญนี้ในแพ็กเกจสีชมพู

 

พลัง K-Pop ดึง Gen Z เลือกแบรนด์

อย่างไรก็ตาม ยอดขายระยะสั้นไม่ใช่สิ่งเดียวที่โอรีโอต้องการ สิ่งสำคัญอีกส่วนคือ แคมเปญนี้จะเป็นใบเบิกทางให้โอรีโอเข้าไปอยู่ในใจวัยรุ่น Gen Z มากขึ้น

จากปกติโอรีโอมีฐานลูกค้าหลักคือกลุ่ม ‘Family with Kids’ ซึ่งถึงแม้ตลาดจะยังไม่ได้อิ่มตัว แต่ณัฐธิดากล่าวว่า แบรนด์ก็ต้องหาทางขยายตลาดอื่นๆ เพิ่มอีก ทำให้มาลงตัวที่กลุ่ม Gen Z น้องๆ วัยมัธยมปลาย มหาวิทยาลัย จนถึงบางส่วนเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นเริ่มทำงานแล้วระยะหนึ่ง ที่เลือกกลุ่มนี้เพราะเป็นกลุ่มที่กำลังซื้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

OREO BLACKPINK

เมื่อจะเลือก Gen Z ปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลกับคนวัยนี้มากคือ K-Pop ข้อมูลจาก มูลนิธิเกาหลีใต้เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสากล เก็บสถิติทั่วโลกพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ 3 ที่ชมคอนเทนต์เกี่ยวกับ K-Pop มากที่สุด และเป็นอันดับ 5 ที่ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนไปกับ K-Pop มากที่สุดในโลก (หากวัดเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นอันดับ 1)

ทั้งสนใจและยังพร้อมจ่ายด้วย โอรีโอจึงเลือกที่จะใช้คอนเทนต์ K-Pop ในการเจาะตลาด และเลือกวง BLACKPINK ในฐานะเกิร์ลกรุ๊ประดับซูเปอร์สตาร์ รวมถึงมีคาแรกเตอร์ “สนุกสนาน” เหมือนกับแบรนด์โอรีโอ

OREO BLACKPINK
ตัวอย่างการ์ดสะสมในแคมเปญ

ณัฐธิดากล่าวว่า ตลอดปีนี้จะได้เห็นแคมเปญการตลาดของโอรีโอมีการสื่อสารที่ไปถึงกลุ่ม Gen Z มากขึ้น แต่จะไม่ทิ้งกลุ่มครอบครัวและเด็กอย่างแน่นอน โดยอนาคตจะแบ่งสัดส่วนการทำตลาดเป็นกลุ่มครอบครัวและเด็ก 60% ขณะที่กลุ่ม Gen Z จะคิดเป็น 40%

 

ตลาดบิสกิตฟื้นตัว “โอรีโอ” ลุยคอลแลปแบรนด์เพิ่ม

ด้านข้อมูลตลาดบิสกิต อ้างอิงจากนีลเส็น รอบเดือนพ.ย.64 – ต.ค. 65 ตลาดบิสกิตมีมูลค่า 14,182 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 6% ซึ่งณัฐธิดามองว่าเป็นการเติบโตที่ดีมาก เพราะปกติตลาดนี้มักจะโตไม่เกิน 3% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ตลาดบิสกิตโดยรวมยังมีมูลค่าต่ำกว่าช่วงปี 2562 (ก่อนโควิด-19) อยู่เล็กน้อย

ตลาดบิสกิตนั้นจะประกอบด้วยหมวดย่อยๆ 4 หมวด คือ คุกกี้ แครกเกอร์ เวเฟอร์ และไบต์ไซส์ ซึ่งโอรีโอเกือบทุก SKUs ถูกจัดอยู่ในกลุ่มคุกกี้

เฉพาะตลาดคุกกี้ในรอบปีที่ผ่านมานั้นติดลบเล็กน้อย -1% แต่โอรีโอยังสามารถโตสวนตลาดได้ โดยเติบโต 5% มาจากการโปรโมตการตลาดตลอดปี

เมนูคอลแลปของโอรีโอกับแบรนด์ขนม-เครื่องดื่ม ปี 2566 จะบุกตลาดนี้เพิ่มขึ้นอีก

นอกจากการขายผ่านรีเทลแล้ว ในระยะหลังโอรีโอยังหันมาเน้นการ “คอลแลป” กับแบรนด์ขนม/เครื่องดื่มเพิ่มขึ้น เราจะคุ้นเคยกันดีกับเมนูโอรีโอในร้านของหวานอย่าง “แดรี่ควีน” และ “สเวนเซ่นส์” ซึ่งโอรีโอเริ่มนำโมเดลนี้มาใช้มากขึ้นกับแบรนด์อื่นๆ

เมื่อปี 2565 โอรีโอได้เซ็นสัญญาเมนูคอลแลประยะยาวเพิ่มได้อีก 2 ราย คือ “คาเฟ่ อเมซอน” และ “เต่าบิน” รวมถึงมีคอลแลปเมนูระยะสั้นขายตามเทศกาล 5 ราย คือ คริสปี้ ครีม, Captain Squid, O-li-no, Gram และ Beard Papa

สัดส่วนยอดขายโอรีโอมาจากการขายให้คอลแลปแบรนด์เหล่านี้ประมาณ 5-10% แม้จะยังน้อยอยู่แต่ปีที่ผ่านมาเติบโตเป็นเท่าตัว และทำให้แบรนด์เห็นโอกาสที่จะทำยอดในกลุ่ม B2B แบบนี้เพิ่มขึ้นอีกในปี 2566 โดยแย้มมาแล้วว่า จำนวนการคอลแลป ‘ต้องมากกว่า’ ปีที่แล้วแน่นอน!

]]>
1414743
“เจ้าสัว ข้าวตังมินิ” บุกตลาด “ขนมขบเคี้ยว” เครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนบริษัทอายุ 6 ทศวรรษ https://positioningmag.com/1379698 Wed, 30 Mar 2022 07:43:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379698 ยุคใหม่ของ “เตียหงี่เฮียง” ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ “เจ้าสัว” ปักหมุดปีแรกลุยตลาด “ขนมขบเคี้ยว” เต็มตัว ส่งผลิตภัณฑ์ “เจ้าสัว ข้าวตังมินิ” ขึ้นเชลฟ์ ชูจุดขายได้โปรตีน มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า ขยายฐานตลาดสู่กลุ่มเด็กมหา’ลัย – First Jobbers โดยขนมขบเคี้ยวจะเป็นเครื่องยนต์ใหม่ คาดว่าจะทำรายได้สัดส่วนถึง 60-70% ของบริษัทในระยะยาว

บริษัท เตียหงี่เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด ก้าวเข้าสู่ปีที่ 64 พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคใหม่ภายใต้การนำของทายาทรุ่น 3 “ณภัทร โมรินทร์” ซีอีโอคนปัจจุบัน

โดยตั้งแต่การเข้ามาร่วมงานในบริษัทครอบครัวของณภัทร เจ้าสัวมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการกระจายช็อปขายสินค้าไปตามสถานีน้ำมันเพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อง่ายขึ้น หรือการผลักดันสินค้าเข้าสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรดและร้านค้าดั้งเดิม ทำให้สินค้าของเจ้าสัวสลัดภาพ ‘ของฝาก’ จากโคราช มาเป็นอาหาร-ขนมที่ซื้อทานได้ทุกวัน

ล่าสุดเมื่อปี 2564 เจ้าสัวประกาศยกเครื่องเข้าสู่ยุคใหม่ของบริษัท โดยถือเป็นปีแรกที่บริษัทเข้าสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรดและร้านค้าดั้งเดิมแบบเต็มตัว เรียกได้ว่าไปร้านไหนหรือห้างไหนก็มีขาย รวมถึงบุกตลาดออนไลน์ส่งขายทุกช่องทาง มีการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์เป็นครั้งแรก โดยเลือกครอบครัว “แมทธิว ดีน และ ลิเดีย ศรัณย์รัชต์” มาเป็นหน้าตาของแบรนด์

จะเห็นได้ว่า เจ้าสัวมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าไปวางขายในโมเดิร์นเทรด และมีการโปรโมตด้วยอินฟลูเอนเซอร์ออนไลน์

มาถึงปี 2565 ณภัทรประกาศเป้าหมายการเดินเข้าสู่ตลาด “ขนมขบเคี้ยว” เต็มกำลัง เป็น Product Hero ตัวใหม่ในพอร์ตสินค้าของบริษัทที่แต่เดิมจะเป็นกลุ่มอาหารรองท้อง อาหารพร้อมทาน อาหารพร้อมปรุง เช่น ข้าวตัง หมูแท่ง หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง

โดยขนมขบเคี้ยวตัวแรกที่ออกในปีนี้ คือ “เจ้าสัว ข้าวตังมินิ” ซึ่งจะมาช่วยดันรายได้บริษัทปี 2565 ให้เติบโตมากกว่าปกติ 20%

 

เน้นจุดขาย “คุณค่าอาหาร” ที่มากกว่า

ในตลาดขนมขบเคี้ยวที่แข่งเดือดขณะนี้ “ศศิกานต์ มหาศิริ” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เตียหงี่เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด อธิบายถึงจุดแข็งของ เจ้าสัว ข้าวตังมินิ ไก่หยอง ว่า เป็นการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ข้าวตังที่บริษัทเป็นผู้นำตลาด ใช้สูตรน้ำปรุงรสลับเฉพาะของเจ้าสัวแบบเดียวกัน แต่นำมาย่อไซส์แต่ละชิ้นให้เป็นชิ้นพอดีคำ ทานง่าย หยิบด้วยมือเดียวได้

เจ้าสัว ข้าวตังมินิ
สินค้าบุกตลาดใหม่ เจ้าสัว ข้าวตังมินิ แพ็กเกจจิ้งและชิ้นขนาดทานเล่น

ผลิตเป็นไซส์ถุงขนาด 30 กรัม (20 บาท) และ 55 กรัม (30 บาท) มี 3 รสชาติให้เลือก คือ รสพริกปีศาจ รสชีสแอนด์ซาวครีม และ รสเบคอนรมควัน

เห็นได้ว่าสินค้าใหม่นี้จะเข้าสู่ตลาดขนมขบเคี้ยว (Snacks) ต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมของเจ้าสัวที่เมื่อขึ้นเชลฟ์ในโมเดิร์นเทรดจะถูกจัดอยู่ในหมวดขนมไทย (Local Snacks)

โดยจุดขายที่เจ้าสัวจะสื่อสารคือเป็นขนมที่ ‘Better for you’ ไม่ถึงกับเป็นขนมสุขภาพ แต่ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าขนมขบเคี้ยวอื่น เพราะมีโปรตีนจากไก่หยอง และคาร์โบไฮเดรตได้จากข้าวหอมมะลิแท้ รวมถึงใช้น้ำปรุงรสไม่ใช่ผงปรุง ซึ่งจะทำให้ได้ลูกค้าตลาดแมสแต่จับเทรนด์ผู้บริโภคที่อยากได้ตัวเลือกขนมที่มีคุณค่ากับร่างกายมากขึ้น

เจ้าสัว

ศศิกานต์กล่าวว่า เจ้าสัว ข้าวตังมินิยังทำให้ฐานตลาดของบริษัทขยายออกไป จากเดิมผู้ซื้อหลักจะเป็นวัยสร้างครอบครัว อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป แต่ข้าวตังมินิที่มีสถานะเป็นขนมจะทำให้ได้ลูกค้ากลุ่มเด็กลงเข้ามาเพิ่ม โดยคาดหวังในกลุ่มวัย 18 ปีขึ้นไป คือตั้งแต่กลุ่มนักศึกษาจนถึง First Jobbers

สินค้าใหม่นี้วางขายตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สามารถซื้อได้ทุกช่องทางร้านค้าดั้งเดิม โมเดิร์นเทรด และออนไลน์ โดยปีนี้บริษัทวางงบ 60 ล้านบาท ทุ่มโฆษณาทั้ง TVC, อินฟลูเอนเซอร์และรายการออนไลน์, สื่อ OOH, สื่อ ณ จุดขาย ฯลฯ

 

อีก 3-5 ปีขอมีมาร์เก็ตแชร์ 5% ในตลาด “ขนมขบเคี้ยว”

ณภัทรกล่าวต่อถึงเป้าระยะยาวของบริษัท มองว่าอีก 3-5 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีการออกสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาในตลาดขนมขบเคี้ยว และมีเป้าจะขอชิงส่วนแบ่ง 5% ในตลาดขนมขบเคี้ยวเมืองไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านบาท

“ตลาด Local Snacks มีมูลค่าประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเราบอกได้ว่าเราขึ้นไปจนสุด จนเป็นเบอร์ 1 แล้ว เราต้องการเข้าตลาดที่ใหญ่กว่าอย่าง Snacks เพื่อหาตลาดใหม่ให้บริษัท” ณภัทรกล่าว

เจ้าสัว
(จากซ้าย) “ณภัทร โมรินทร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “ศศิกานต์ มหาศิริ” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เตียหงี่เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด

“แบรนด์เราเองมีตำนานที่อยู่มานาน 64 ปี คนรู้จักว่าเราทำสินค้าอะไร เชี่ยวชาญด้านไหน เราไม่ใช่แบรนด์สินค้าท้องถิ่นอีกแล้ว เมื่อมีการทำให้ทันสมัย (modernized) ผู้บริโภคไทยจะพร้อมยอมรับ อย่างที่เห็นในตลาดมีหลายแบรนด์เก่าแก่ของไทยที่ทำสำเร็จ”

“แบรนด์เราเองมีตำนานที่อยู่มานาน 64 ปี คนรู้จักว่าเราทำสินค้าอะไร เชี่ยวชาญด้านไหน เราไม่ใช่แบรนด์สินค้าท้องถิ่นอีกแล้ว เมื่อมีการทำให้ทันสมัย (modernized) ผู้บริโภคไทยจะพร้อมยอมรับ อย่างที่เห็นในตลาดมีหลายแบรนด์เก่าแก่ของไทยที่ทำสำเร็จ”

นับได้ว่าขนมขบเคี้ยวได้กลายเป็นเครื่องยนต์ใหม่ให้เตียหงี่เฮียงทันที เพราะปีนี้กลุ่มขนมขบเคี้ยวจะมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของรายได้บริษัท จากทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้

  • ขนมขบเคี้ยวทานเพลินๆ เช่น ข้าวตังมินิ หมูแท่ง
  • อาหารรองท้อง เช่น ข้าวตังออริจินอล (แผ่นใหญ่)
  • อาหารพร้อมปรุง เช่น กุนเชียง
  • อาหารพร้อมทาน เช่น หมูหยอง หมูแผ่น
  • ของฝาก เช่น กิฟท์เซ็ต

นอกจากนี้ ณภัทรคาดว่าในระยะยาว กลุ่มขนมขบเคี้ยวจะขึ้นมามีสัดส่วน 60-70% ของบริษัท จากการเพิ่ม SKUs อย่างต่อเนื่อง และจะไม่ได้จำหน่ายเฉพาะในไทย แต่เตรียมส่งเข้าตลาดที่เตียหงี่เฮียงมีการส่งออกอยู่แล้วด้วย ได้แก่ กลุ่ม CLMV, จีน, ฮ่องกง, ยุโรป, ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ

“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เรามองว่าเราประสบความสำเร็จแล้วในการเปลี่ยนทัศนคติคนว่าเราไม่ใช่แค่ของฝาก แต่เป็นอาหารที่ทานได้ทุกวัน ต่อจากนี้เราจะเพิ่มสินค้าที่ทำให้เห็นว่าเราเป็นแบรนด์ขนมขบเคี้ยวอีกด้วย” ณภัทรกล่าวปิดท้าย

]]>
1379698
สายหวานเตรียมตัว! ช็อกโกแลตเครือ Hershey กำลังจะขึ้นราคายกแผง https://positioningmag.com/1372897 Fri, 04 Feb 2022 11:33:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372897 ปีนี้ขนมและช็อกโกแลตในเครือ Hershey ทั้งหมดจะปรับขึ้นราคา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงที่สูงขึ้น รวมถึงแผนการเติบโตเชิงรายได้ของบริษัทด้วย

“การปรับราคาจะเป็นประโยชน์สำคัญกับเรามากในปีนี้ และคาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตของเรา” มิเชล บั๊ก ซีอีโอ Hershey กล่าวในงานแถลงผลประกอบการบริษัท เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2022

จากการคาดการณ์รายได้ปี 2022 ของบริษัท Hershey จะมีการปรับราคาขนมขึ้นในทุกๆ เซ็กเมนต์ เพื่อดันการเติบโตของตัวเลขยอดขาย

การขึ้นราคายังจะช่วยให้เกิดสมดุลกับต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรง โดยวัตถุดิบที่ขึ้นราคาแล้วมีทั้งน้ำตาล ผลิตภัณฑ์นม วัสดุแพ็กเกจ และวัตถุดิบพิเศษที่บริษัทใช้

ทั้งนี้ Hershey เป็นเจ้าของแบรนด์หลากหลาย เช่น Reese’s, Hershey’s, Kisses, Kit Kat (*), Cadbury (*) เป็นต้น

(*Hershey ผลิต Kit Kat เฉพาะที่จำหน่ายในสหรัฐฯ สำหรับประเทศอื่นทั่วโลก Nestle เป็นผู้ผลิต เช่นเดียวกับ Cadbury ที่ Hershey เป็นผู้ผลิตในสหรัฐฯ ส่วนประเทศอื่นๆ Cadbury ยังเป็นผู้ผลิตอยู่)

แบรนด์ในเครือ Hershey

แม้ว่าจะเตรียมปรับขึ้นราคา แต่ที่จริงแล้วในช่วงโรคระบาด 2 ปีที่ผ่านมา Hershey ได้รับอานิสงส์เชิงบวก เพราะดีมานด์ขนมและของหวานพุ่งสูงขึ้น จากการที่ผู้บริโภคต้องการ “ทานของหวานแก้เครียด” เมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน ตัวอย่างเช่น ขนมแบรนด์ Reese’s ทำยอดขายสูงขึ้น 25% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ยอดขายของแบรนด์กลุ่มนำของบริษัทเติบโตเฉลี่ย 12% เมื่อปี 2021 และยอดขายทั้งบริษัทโต 10.1% เมื่อปีก่อน

บั๊กมองว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อขนมติดบ้านมากขึ้นน่าจะเป็นพฤติกรรมถาวร เพราะที่ทำงานหลายแห่งเริ่มอนุญาตให้ทำงานระยะไกลได้แล้ว เท่ากับคนจะอยู่บ้านมากขึ้นไปอีกยาวนาน

ส่วนการขึ้นราคาขนมนั้น ที่จริงมีการปรับขึ้นไปบ้างแล้วเมื่อไตรมาส 4 ปีก่อน โดยบั๊กกล่าวว่า ตลอดประวัติศาสตร์บริษัทมีการปรับขึ้นราคาต่อเนื่อง และผู้บริโภคยอมรับได้เพราะมีลอยัลตี้ต่อแบรนด์ “พวกเขาไม่ต้องการเปลี่ยนไปทานยี่ห้ออื่น” บั๊กกล่าว “แต่เราก็จะระมัดระวังในการขึ้นราคา เพราะอาจจะมีผลกระทบร่วมจากปัญหาเงินเฟ้อในภาพรวมที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค”

เฉพาะในสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อขึ้นมาแล้ว 7% เมื่อปีก่อน และทำให้สารพัดแบรนด์กำลังขึ้นราคาสินค้า เช่น Starbucks ที่เพิ่งประกาศว่าจะมีการขึ้นราคาอีกปีนี้ ขณะที่ McDonald’s ปรับราคาขึ้นไปแล้ว 6% เมื่อปีก่อน เพราะต้นทุนวัตถุดิบ แพ็กเกจ และค่าแรงขึ้น

Source

]]>
1372897
“เถ้าแก่น้อย” เปิดงบไตรมาส 1/63 รายได้ลดลง 13.3% แต่กำไรเพิ่มขึ้น หลังออเดอร์จากจีนดีขึ้น https://positioningmag.com/1278151 Tue, 12 May 2020 11:04:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278151 เถ้าแก่น้อยเปิดผลประกอบการไตรมาส 1/2563 มีรายได้ 1,110 ล้านบาท ลดลง 13.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลกระทบการแพร่ระบาด COVID-19 แต่มีกำไรสุทธิ 85.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หลังควบคุมต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่างๆ

ขณะที่ไตรมาส 2/2563 แนวโน้มยอดสั่งซื้อจีนเริ่มดีขึ้น พร้อมปรับแผนการตลาด ลุยขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภค

อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN กล่าวว่า 

“ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 มีรายได้รวม 1,110 ล้านบาท ลดลง 13.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งกระทบกับยอดขายในกลุ่มประเทศต่างๆ โดยเฉพาะการขายผ่านผู้แทนจำหน่ายในประเทศจีน และตลาดนักท่องเที่ยว”

ขณะเดียวกันมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 85.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการควบคุมต้นทุนทั้งด้านการผลิต และการจัดจำหน่าย รวมถึงยอดขายของบริษัทในเครือที่สหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโต และลดผลขาดทุนลงอย่างชัดเจน

ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยอดคำสั่งซื้อจากประเทศจีนเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 เริ่มคลี่คลาย การกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายในมณฑลต่างๆ ของจีนทำได้ดีขึ้น และคาดการณ์ว่าส่งผลดีต่อเนื่องกับการดำเนินงานไตรมาส 2/2563

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนการจัดประเภทสินค้า เพื่อให้มีทิศทางและการเติบโตที่ชัดเจน โดยจัดประเภทกลุ่มขนมขบเคี้ยวเป็น กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากพืชเป็นหลัก (Plant based snack)

2. กลุ่มขนมขบเคี้ยวมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้า (Premium Snack) อาทิสาหร่ายทอดเทมปุระไข่เค็ม 

3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวประเภทโปรตีนสูง (Protein Snack) รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริม (Supplement)

]]>
1278151
“มาชิตะ FUN” การแก้เกมของ “สิงห์” ในวันที่สาหร่ายไม่โต ขอบุกตลาดขนมหมื่นล้าน https://positioningmag.com/1257443 Tue, 17 Dec 2019 17:18:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257443 เมื่อตลาดสาหร่ายมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ไม่เติบโต ในปีนี้ “มาชิตะ” จึงขอขยับไปบุกตลาดอื่นบ้างเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นขนมที่หลากหลาย ปั้น “มาชิตะ FUN” ขนมข้าวโพดอบกรอบ หวังชิงแชร์ตลาดหมื่นล้าน

ถึงเวลาขยายมาชิตะให้เป็นมากกว่าสาหร่าย

ตลาดสาหร่ายขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในตลาดขนมที่เป็นเทรนด์ฮิตอยู่พักใหญ่ เพราะด้วยกระแสดูแลสุขภาพด้วย รวมถึงเทรนด์สาหร่ายเกาหลีด้วย ทำให้สาหร่ายเป็นตลาดที่เติบโตมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างน้อยๆ ก็เฉลี่ยปีละ 3-5%

แต่ในปีที่ผ่านมาตลาดสาหร่ายไม่ค่อยสู้ดีนัก มีหลายปัจจัยที่ทำให้ตลาดไม่เติบโต แถมยังติดลบราวๆ 0.9% การแก้เกมของ “สิงห์ คอร์เปอเรชั่น” ในฐานะเป็นบริษัทแม่ของ “มาชิตะ” จึงต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ในการกระจายความเสี่ยงให้มาชิตะเป็นมากกว่าสาหร่าย

ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการตลาด ธุรกิจนอนแอลกอฮอล์ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เล่าถึงการปั้นแบรนด์น้องในครั้งนี้ว่า

“มาชิตะอยู่ในตลาดมาทั้งหมด 8 ปีแล้ว ครองส่วนแบ่งตลาดเบอร์ 2 รองจากเถ้าแก่น้อย การรับรู้ของแบรนด์ในตลาดถือว่าระดับหนึ่ง อยากทำให้แบรนด์ที่มีแต่สาหร่ายกลายเป็นแบรนด์ที่มีขนมหลากหลาย จึงปั้นแบรนด์น้องออกมาเพิ่มภายใตชื่อ “มาชิตะ FUN” ถ้าถามว่าทำไมไม่สร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมา เพราะต้องใช้งบลงทุนอีกมหาศาล”

มาชิตะ FUN วางจุดยืนเป็นขนมข้าวโพดอบกรอบ ซึ่งโจทย์ใหญ่ของการปั้นแบรนด์นี้มี 3 อย่างด้วยกัน

  1. ต้องการออกสินค้าใหม่ที่ไม่ใช้สาหร่าย แต่ยังอยู่ในตลาดขนม และต้องเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งตลาดขนมขบเคี้ยวมีมูลค่ามูลค่า 37,236 ล้านบาท เติบโต 5.8% แบ่งสัดส่วนเป็น
  • มันฝรั่งทอด 32.2% มูลค่า 12,006 ล้านบาท เติบโต 13%
  • ขนมขึ้นรูป 27.4% มูลค่า 10,193 ล้านบาท ติดลบ 0.5%
  • สาหร่าย 8.1% มูลค่า 3,032 ล้านบาท เติบโต 5.2%
  • ถั่ว 12.2% มูลค่า 4,500 ล้านบาท เติบโต 2.1%
  • ปลาเส้น 7.7% มูลค่า 2,800 ล้านบาท เติบโต 14%
  1. ตลาดต้องใหญ่ และไม่มีแบรนด์ครองตลาดชัดเจน มาชิตะ FUN อยู่ในเซ็กเมนต์ขนมขึ้นรูป ซึ่งมีมูลค่าอยู่หมื่นล้าน แมไม่มีการเติบโตแต่ก็มีโอกาสในการตลาดสูง เพราะไม่มีแบรนด์ที่ครองอย่างจริงจัง แบรนด์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ คอนเน่มีส่วนแบ่งตลาด 10% แบรนด์อื่นๆ ก็มีส่วนแบ่งตลาดพอๆ กัน ต่างจากสาหร่ายที่เถ้าแก่น้อยครองส่วนแบ่งตลาดไปมากกว่าครึ่งแล้ว
  2. กลุ่มเป้าหมายต้องใกล้เคียงกับมาชิตะ กลุ่มขนมขึ้นรูปมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่น เด็กนักเรียน นักศึกษาอยู่แล้ว สามารถทำการตลาดใกล้เคียงกันได้

การตลาดของมาชิตะในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมา ได้เทงบไปทางออนไลน์เสียส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำโฆษณาทางโทรทัศน์แล้ว เพราะต้องการจับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในโลกดิจิทัล เพราะฉะนั้นเส้นทางของมาชิตะ FUN ก็มีการใช้งบออนไลน์ทั้งหมดรวม 10 ล้านบาท มีภาพยนตร์ออนไลน์ที่ทำร่วมกับ YouTuber เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้มากขึ้น

สาหร่ายหืดจับ ตลาดไม่โต ต้นทุนสูง

ในส่วนของตลาดสาหร่ายที่ในปีที่ผ่านมานี้ไม่มีการเติบโต เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งคู่แข่งรายใหญ่อย่างเถ้าแก่น้อยมีการลดการใช้โปรโมชั่นในการกระตุ้นการขาย ตลาดนักท่องเที่ยวลดลง อีกทั้งเรื่องราคาก็มีส่วน เพราะสาหร่ายถือว่าเป็นขนมที่มีราคาสูงกว่ากลุ่มอื่น

เมื่อดูตัวเลขตลาดสาหร่าย ปี 2019 (ตั้งแต่ พ.ย. 61- ต.ค. 62 ) มีมูลค่า 2,978 ล้านบาท เติบโต -0.9% เมื่อเทียบกับปี 2018 มีมูลค่า 3,032 ล้านบาท เติบโต 5.2% มีส่วนแบ่งตลาด

  • เถ้าแก่น้อย 66.5% (เติบโต -2.3%)
  • มาชิตะ 16.6% (เติบโต 1.2%)
  • ซีลิโกะ 2.7% (เติบโต -23.6%)

ประเภทของสาหร่าย แบ่งเป็น สาหร่ายทอด 63.3% สาหร่ายอบ 20.2% สาหร่ายย่าง 15.1% สาหร่ายเทมปุระ 1.4%

ทิศทางของมาชิตะได้เน้นไปทางกลุ่มสาหร่ายอบมากขึ้น เพราะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพได้ดีกว่าแบบทอด ซึ่งตลาดสาหร่ายอบมีสัดส่วน 20% มีการเติบโตถึง 6.3%

มีการประเมินว่าปีหน้าตลาดสาหร่ายก็ยังคงไม่มีการเติบโตมากนัก มาชิตะจึงต้องขยายไปตลาดอื่นเพื่อสร้างการเติบโตให้มากขึ้น ซึ่งตลาดขนมขึ้นรูปนอกจากจะมีมูลค่าใหญ่กว่าสาหร่ายแล้ว กำไรยังสูกว่าอีกด้วย เพราะสาหร่ายถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์พืชผลทางการเกษตร ย่อมมีราคาขึ้นลง

ในปีที่ผ่านมามาชิตะมีรายได้ 500 ล้านบาท สำหรับมาชิตะ FUN มีการตั้งเป้าว่ามีรายได้ 100 บ้านบาทในปีแรก พร้อมกับตั้งเป้าภาพรวมของมาชิตะจะต้องมีรายได้ 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี ทำให้ไม่สามารถอยู่แค่กลุ่มสาหร่ายเพียงอย่างเดียว ต้องขยายไปยังขนมอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างการเติบโตได้

]]>
1257443
ไข่เค็มฟีเวอร์! เลย์รสไข่เค็มขาดตลาด หลังส่งชิงตลาดขนม 1 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1216952 Thu, 28 Feb 2019 11:27:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216952 เป็นปกติ “เลย์” มันฝรั่งทอดกรอบต้องออกรสชาติใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกเบื่อ แต่รอบนี้ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและทำตลาด “เลย์” เลือกออกรสชาติใหม่ “เลย์ รสไข่เค็ม” ที่กำลังอินเทรนด์ กับกระแส “ไข่เค็มฟีเวอร์” โดยวางขายในไทย หลังเปิดตัวในจีนและอินโดนีเซีย

ขนิษฐา ทวีผล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์เลย์ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า “ในปี 2561 ที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคโดยรวมจะยังคงทรงตัว แต่ตลาดขนมขบเคี้ยว (Salty Snack) ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 37,000 ล้านบาท(ข้อมูลจากนีลเส็น) และเติบโตสูงขึ้นกว่าปีก่อน 5.8%2 โดยตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมูลค่า 11,000 ล้านบาท3 (ข้อมูลจากนีลเส็น) มีอัตราการเติบโตสูงกว่าทั้งอุตสาหกรรม โดยมีอัตราสูงถึง 13%4

เลย์เองก็มีส่วนร่วมผลักดันให้ตลาดโต ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมสินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ และกิจกรรมการตลาดเพื่อสร้างสีสันและตอบโจทย์ความต้องการให้กับผู้บริโภคตลอดทั้งปี

ในปีนี้ เลย์ ประเดิมต้นปีด้วยแคมเปญ 2 รสชาติใหม่ ‘เลย์ SHOCK’ 2 รสชาติใหม่ คือ เลย์ SHOCK รสโนริสาหร่ายที่ซ่อนชิ้นเผ็ดซี๊ด และเลย์ SHOCK รสหมึกย่างฮอตชิลลี่  พร้อมจัดเต็มกิจกรรมการตลาดที่นำความช็อกโดยพรีเซ็นเตอร์สุดเฟียร์สอย่างคิทตี้ ชิชา

ล่าสุด เลย์ ได้เปิดตัวรสชาติความอร่อยที่ทุกคนรอคอยกับ เลย์ รสไข่เค็ม’ เพื่อตอบรับกระแสไข่เค็มฟีเวอร์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ซึ่งเลย์คิดค้นและพัฒนามาเพื่อให้ถูกปากคนไทย เน้นเข้มข้นหอมมัน มีรสเผ็ดนิดๆ เพื่อช่วยให้ตัดเลี่ยนด้วย มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 46 กรัม ราคา 20 บาท และขนาด 70 กรัม (หรือซอง BIG GRAB) ราคา 30 บาท วางขายร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven เป็นที่แรก ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สามารถสร้างปรากฏการณ์สินค้าขาดตลาด ทั้งนี้ จึงได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังร้านค้าปลีก-ส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศในเร็วๆ นี้.


1–2 ตลาดขนมขบเคี้ยว (Salty Snack)ประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2561มีมูลค่า 37,235 ล้านบาท เติบโต 5.8% อ้างอิงข้อมูล บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด

3-4 ตลาดมันฝรั่งทอดกรอบประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2561มีมูลค่า11,992 ล้านบาท เติบโต 13% อ้างอิงข้อมูล บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด

]]>
1216952