ขายหุ้น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 21 Sep 2023 07:19:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดีลประวัติศาสตร์ “บางจากฯ” เข้าซื้อ “เอสโซ่” ผนวกปั๊มน้ำมัน 2,200 แห่งจำหน่าย “น้ำมัน” สูตรคุณภาพ https://positioningmag.com/1444038 Thu, 21 Sep 2023 10:00:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444038

ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญในธุรกิจพลังงาน เมื่อบริษัทน้ำมันสัญชาติไทย “บางจาก” เข้าซื้อกิจการ “เอสโซ่” สำเร็จ เตรียมผนวกเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันของเอสโซ่มาอยู่ภายใต้แบรนด์บางจาก ซึ่งจะทำให้บางจากมีปั๊มน้ำมันกว่า 2,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมเปลี่ยนมาจำหน่าย “น้ำมัน” สูตรคุณภาพที่ผลิตจากโรงกลั่นระดับโลกทั้งสองแห่ง

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินการชำระราคาซื้อขายหุ้นสามัญของ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,283,750,000 หุ้น หรือคิดเป็น 65.99% ของจำนวนหุ้นสามัญของเอสโซ่สำเร็จ ในราคาหุ้นละประมาณ 9.8986 บาท และบางจากฯ จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ส่วนที่เหลืออีก 34.01% ของเอสโซ่ต่อไปในช่วงวันที่ 8 กันยายน – 12 ตุลาคมนี้

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทบางจาก และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น

เหตุการณ์นี้ถือเป็นดีลครั้งใหญ่ในวงการพลังงาน เนื่องจากเป็นการเข้าซื้อกิจการที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับบางจากฯ มากยิ่งขึ้น  ที่เห็นได้ชัดคือ สถานีบริการน้ำมันบางจากที่มีอยู่เดิม 1,360 แห่ง เมื่อรวมกับสถานีบริการน้ำมันของเอสโซ่ที่มี 830 แห่ง จะทำให้บางจากฯ มีเครือข่ายปั๊มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นกว่า 2,200 แห่งทั่วประเทศ

รวมถึงบางจากฯ ยังได้รับสินทรัพย์ที่เป็นประโยชน์จากเอสโซ่อีกหลายรายการ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน จ.ชลบุรี กำลังการกลั่น 174,000 บาร์เรลต่อวัน, คลังน้ำมัน 2 แห่งใน อ.ศรีราชา และ จ.ลำปาง สต๊อกน้ำมัน และโรงงานอะโรเมติกส์มีกำลังการผลิตพาราไซลีน ขนาด 500,000 ตัน เป็นต้น

แน่นอนว่าการผสานศักยภาพของสองบริษัทใหญ่ในครั้งนี้ ย่อมสร้างความความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจพลังงานไทย โดยบางจากฯ มีความเชื่อมั่นว่าการรวมพลังกันของสองบริษัทจะช่วยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดียิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภคตามคอนเซ็ปต์ ‘Together to Greater’ จับมือกันเพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผู้บริโภคจะได้เห็นการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ดังนี้


เปลี่ยน “ปั๊มเสือ” เป็น “ปั๊มใบไม้” ขายเครือข่ายเป็น 2,200 แห่ง

หลังเข้าซื้อกิจการแล้ว บางจากฯ จะผนวกสถานีบริการน้ำมันของเอสโซ่เข้ามาในเครือข่ายอีกประมาณ 830 แห่ง โดยปั๊มเอสโซ่จะทยอย “รีแบรนด์” เป็นปั๊มบางจาก ทำให้เครือข่ายปั๊มบางจากขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2,200 แห่ง

โดยเริ่มต้นจากปั๊มเอสโซ่ที่บริษัทดำเนินกิจการเอง 280 แห่ง สามารถเปลี่ยนแบรนด์ได้ทันทีภายในสิ้นปี 2566

ส่วนสาขาที่เหลือซึ่งมีดีลเลอร์เป็นเจ้าของ จะทยอยเจรจาสัญญาเพื่อเปลี่ยนมาใช้แบรนด์บางจากทดแทน ในส่วนนี้บางจากฯ คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปีในการรีแบรนด์

บางจากฯ ประเมินว่า การรวมเครือข่ายปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่นั้นทำเลที่ตั้งจะไม่ทับซ้อนกัน จึงทำให้โอกาสเข้าถึงผู้บริโภคของบางจากฯ จะครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และในบางพื้นที่นั้นบางจากฯ จะมีโอกาสได้ขยายสาขาไปสู่ผู้บริโภคได้รวดเร็วหลังการควบรวมกิจการกับเอสโซ่ ได้แก่ ภาคเหนือซึ่งมีปั๊มเอสโซ่อยู่ 160 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปั๊มเอสโซ่อยู่ 130 แห่ง พื้นที่เหล่านี้เมื่อสถานีน้ำมันเปลี่ยนเป็นบางจาก ผู้บริโภคจะได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ โปรโมชัน สิทธิประโยชน์ต่างๆ จากบางจากฯ ได้สะดวกมากขึ้น ด้วยทำเลที่ตั้งเป็นปั๊มน้ำมันใกล้บ้านหรืออยู่ระหว่างทางสัญจรประจำของผู้บริโภค


“น้ำมัน” สูตรบางจาก จากโรงกลั่นระดับโลกทั้งสองแห่ง

สำหรับสูตรน้ำมันที่จะเข้าสู่หัวจ่ายของปั๊มบางจากและปั๊มเอสโซ่ที่อยู่ระหว่างรอการรีแบรนด์ จะมีการปรับเปลี่ยนเป็นน้ำมันสูตรบางจากฯ ทันที

ในแง่ของคุณภาพน้ำมัน บางจากฯ มีน้ำมันเกรดพรีเมียมทั้งแก๊สโซฮอล์และดีเซลที่ได้มาตรฐาน EURO5 มีคุณภาพสูง โดยน้ำมัน Bangchak Hi Premium 97 ได้รับเลือกจาก “บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด” ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ “ปอร์เช่” (Porsche) ให้เป็นน้ำมันถังแรก (First Fuel) ที่เติมให้กับรถยนต์ปอร์เช่ที่ออกจากศูนย์บริการในเมืองไทย

อีกทั้งโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ยังเป็นโรงกลั่นมาตรฐานระดับโลกซึ่งเป็นรายเดียวในไทยที่ได้รับรางวัล TQA เมื่อปี 2565 และเป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่ได้รับรางวัล Global Performance Excellence Award (GPEA) ระดับ World Class ในปี 2566 โดยน้ำมันที่กลั่นออกมา ทุกชนิดเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานของกรมธุรกิจพลังงาน


ผนวกฐานลูกค้า “เอสโซ่ สไมล์ส” เข้าสู่ระบบ “บางจากกรีนไมลส์”

อีกส่วนที่บางจากฯ ให้ความสำคัญ คือการเข้าดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกค้าสมาชิก  “เอสโซ่ สไมล์ส” ซึ่งมีฐานสมาชิกอยู่ราว 3.5 ล้านราย

โดยลูกค้าเอสโซ่ สไมล์สจะสามารถโอนย้ายคะแนนทั้งหมดมายังบัตรบางจากกรีนไมลส์ได้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2566 จนถึง 31 สิงหาคม 2567 และหากมีการโอนคะแนนมาเป็นคะแนนบางจากกรีนไมลส์ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 จะได้รับคะแนนโบนัสพิเศษเพิ่มอีก 100 คะแนนด้วย ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าเอสโซ่ สไมล์สที่ยังไม่โอนคะแนน จะใช้บัตรเดิมสะสมคะแนนและแลกรับส่วนลดในการเติมน้ำมันได้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567

สมาชิกเอสโซ่ สไมล์สโอนย้ายคะแนนไปเป็นคะแนนบางจากกรีนไมลส์ ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

  • เครื่องรูดบัตร EDC ที่สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่
  • เว็บไซต์ bcpspointconversion.com
  • ไลน์ Bangchak
  • ไลน์ Esso Smiles (ให้บริการระหว่างวันที่ 16 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2566)
  • Call center เอสโซ่สไมล์ส
  • เครื่องรูดบัตร EDC ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก (จะเปิดให้บริการระหว่างเดือนธันวาคม 2566 – เดือนสิงหาคม 2567)

สำหรับโปรโมชันร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่ปั๊มบางจากและเอสโซ่จะยังคงรับสิทธิ์ตามเงื่อนไขเดิมของแต่ละธนาคารจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละธนาคารและ www.bcpgreenmile.com


สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้คนไทย

ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า กว่า 90% ของรถยนต์ในประเทศไทยปัจจุบันยังเป็นรถใช้น้ำมัน และการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานสะอาดน่าจะยังใช้เวลาอีกมาก โดยพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลน่าจะยังมีความต้องการไปอีก 35-40 ปี

นั่นทำให้ความมั่นคงทางพลังงานของไทยยังเป็นสิ่งสำคัญ การที่บางจากซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้นหลังซื้อกิจการเอสโซ่ เพราะมีการรับมอบสินทรัพย์สำคัญอย่างโรงกลั่น คลังน้ำมันและสต๊อกน้ำมันอีก 7.8 ล้านบาร์เรล เข้ามาเป็นของบริษัทไทย ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้ความมั่นคงทางพลังงานของไทยเพิ่มขึ้น ด้วยศักยภาพของบริษัทไทยจะสามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ลดการพึ่งพิงพลังงานจากบริษัทต่างชาติ ซึ่งความมั่นคงทางพลังงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศต่อไปในอนาคต

]]>
1444038
Panasonic เทขายหุ้น Tesla เกลี้ยงพอร์ต ฟาดกำไร ‘เเสนล้าน’ ลดการพึ่งพา ได้เงินลงทุนธุรกิจใหม่ https://positioningmag.com/1338965 Fri, 25 Jun 2021 06:32:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338965 Panasonic อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เทขายหุ้น ‘Tesla’ ที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไป ฟันกำไรกว่า 1.2 แสนล้านบาท เพื่อลดการพึ่งพาเเละหาเงินลงทุนเพื่อการเติบโต เเต่ยืนยันว่ายังเป็นพันธมิตรกันอยู่

โดย Panasonic ได้ทำการขายหุ้นของ Tesla ทั้งหมดในงบการเงินปีล่าสุด (เดือนมี..) เเละได้ทำการบันทึกบัญชีรายการรายได้จากการขายและการไถ่ถอนเงินลงทุนเป็นมูลค่ากว่า 429,900 ล้านเยน (ราวประมาณ 1.23 เเสนล้านบาท)

ย้อนกลับไป เมื่อปี 2009 ทั้งสองจับมือกันเป็นพันธมิตรร่วมกัน เเละร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตเเบตเตอรี่ในสหรัฐฯ โดย Panasonic ถือเป็นผู้ผลิตเเบตเตอรี่รายใหญ่ให้รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla

หลัง Tesla เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น เมื่อปี 2010 ทาง Panasonic ได้เข้าซื้อหุ้นกว่า 1.4 ล้านหุ้น ในราคาเพียง 21.15 ดอลลาร์ต่อหุ้น จากการเติบโตเเบบพุ่งพรวดในตลาด ปัจจุบันราคาหุ้นของ Tesla มีมูลค่าสูงถึง 679.82 ดอลลาร์ต่อหุ้น

โดยในรายงานประจำปีที่สิ้นสุดในเดือนมี.. 2020 ระบุมูลค่าของหุ้นที่ Panasonic ถือหุ้นไว้ที่ 8.1 หมื่นล้านเยน (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท)

ฮิเดกิ ยาสุดะ นักวิเคราะห์จาก Ace Research Institute ให้ความเห็นว่าผลกระทบของสินทรัพย์ดิจิทัล อาจทำให้ราคาหุ้นของ Tesla อยู่เหนือมูลค่าที่แท้จริง ทำให้เป็นตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการขาย

อีลอน มัสก์ ประกาศในเดือนก..ที่ผ่านมาว่า บริษัทของเขาจะรับซื้อ ‘Bitcoin’ เเละรับการชำระเงินในการซื้อรถยนต์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล เเต่เปลี่ยนใจในภายหลังด้วยเหตุผลทางสิ่งเเวดล้อม โดยการเเสดงความคิดเห็นของเขาบน Twitter มักจะทำให้ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลผันผวนอยู่เสมอ

ด้านโฆษกของ Panasonic ระบุว่า การเทขายหุ้นครุ้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน โดยบริษัทจะยังเป็นซัพพลายเออร์ให้กับทาง Tesla อยู่

ความสัมพันธ์ของเรากับ Tesla ในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจจะไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคต

นับเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญของ Panasonic ที่กำลังพยายามลดการพึ่งพาจาก Tesla และหาเงินทุนไปใช้ในการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ อย่างการเข้าซื้อกิจการ Blue Yonder ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 7.1 พันล้านดอลลาร์ เเละลงทุนเพื่อเพิ่มการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ด้วย 

ขณะที่ Tesla ก็มีเริ่มขยายเครือข่ายเเบตเตอรี่ของตัวเอง โดยได้ทำข้อตกลงกับ LG Energy Solution ของเกาหลีใต้ และ CATL ของจีน ที่กำลังวางแผนสร้างโรงงานในเซี่ยงไฮ้ ใกล้กับฐานการผลิตของรถยนต์ของ Tesla

 

ที่มา : Reuters , CNBC , Nikkei Asia

]]>
1338965
Jeff Bezos เจ้าพ่อ Amazon ขายหุ้น 1 ล้านหุ้น ท่ามกลางกระเเส “ผูกขาด” ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1291383 Thu, 06 Aug 2020 12:18:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291383 Jeff Bezos ซีอีโอของยักษ์ค้าปลีก Amazon มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก แจ้งต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) ว่าได้ขายหุ้นของบริษัท จำนวน 1 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 3.1 พันล้านเหรียญ (ราว 9.6 หมื่นล้านบาท) หลังถูกวิจารณ์ว่าผูกขาดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 

โดยการขายหุ้นครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนเทรดหุ้นที่กำหนดขึ้นโดย SEC ซึ่งอนุญาตให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถขายหุ้นล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดข่าวลือจากพวกวงใน

ก่อนหน้านี้ Bezos ได้ขายหุ้น Amazon ไปแล้วเป็นมูลค่า 4.1 พันล้านเหรียญ ทำให้ตั้งเเต่ต้นปีนี้ เขาขายหุ้นไปแล้วเป็นเงินสูงถึง 7.2 พันล้านเหรียญ

เเต่ก็ถือเป็นเเค่เสี้ยวหนึ่งของทั้งหมดเท่านั้น เพราะผู้ก่อตั้ง Amazon ยังคงถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอยู่กว่า 54 ล้านหุ้น มูลค่ารวมกว่า 1.7 แสนล้านเหรียญ ทำให้เขายังเป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลกต่อไป เเละยิ่งรวยขึ้นไปอีกจากอานิสงส์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่บูมขึ้นในช่วงวิกฤต COVID-19

โดย Amazon เผยประกอบการในไตรมาสที่ 2/2020 เมื่อช่วงเดือน ก..ที่ผ่านมาว่า บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 8.8 หมื่นล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1/2020 ซึ่งอยู่ที่ 7.5 หมื่นล้านเหรียญ เเละหุ้นของ Amazon มีราคาเพิ่มขึ้นมากถึง 73% ในปีนี้ ตามรายงานของ Bloomberg

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

มหาเศรษฐีรวยที่สุดในโลก เคยบอกว่า เขามีแผนจะขายหุ้นทุกปี เป็นมูลค่าปีละ 1 พันล้านเหรียญ เพื่อนำเงินไปลงทุนใน Blue Origin บริษัทด้านการพัฒนาจรวดและการขนส่งอวกาศที่เขาก่อตั้งขึ้น

สำหรับความเคลื่อนไหวในการเทขายหุ้นครั้งล่าสุดนี้ เกิดขึ้นหลัง Bezos ในฐานะผู้บริหาร Amazon พร้อมด้วยผู้บริหารของ 3 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง Facebook , Apple เเละ Alphabet ได้ขึ้นให้การกับคณะอนุกรรมาธิการด้านการต่อต้านการผูกขาดทางธุรกิจแห่งสภาคองเกรสสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย Bezos ถูกกล่าวหาว่า ผูกขาดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสหรัฐฯ ด้วยการครองสัดส่วนทางธุรกิจสูงถึง 75%

ในช่วงการะบาดใหญ่ มีมหาเศรษฐีระดับโลกหลายคนรวยขึ้นโดยทรัพย์สินของบรรดาอภิมหาเศรษฐีสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึง Jeff Bezos เเละ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook รวมกันพุ่งทะยานกว่า 19% นับตั้งแต่ COVID-19 เข้าโจมตีอเมริกา โดยมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นถึง 5.65 เเสนล้านเหรียญ สวนทางกับคนธรรมดาทั่วไปที่เคยมียอดยื่นขอรับสวัสดิการคนว่างงานสูงสุดกว่า 42.6 ล้านคน

 

ที่มา : bloomberg, Reuters

]]>
1291383
KBank ออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร ผ่าน “บล็อกเชน” ครั้งแรกในไทย คาดช่วยลดต้นทุนได้ 80-90% https://positioningmag.com/1284240 Fri, 19 Jun 2020 10:26:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284240 KBank ออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร อายุ 3 เดือน ดอกเบี้ย 0.52% ต่อปี ร่วมมือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เสนอขายบนบล็อกเชนสำเร็จเเบงก์เเรกในไทย คาดช่วยลดต้นทุนซื้อขายหุ้นกู้ลงได้ถึง 80-90% มองปีนี้เอกชนออกหุ้นกู้ลดลงเหลือ 8-9 แสนล้านบาท 

ขายหุ้นกู้บนบล็อกเชนครั้งแรกในไทย

จงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าวว่า ธนาคารได้ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ดำเนินการเสนอขายและออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศผ่านเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology (DLT) หรือที่เรียกว่าบล็อกเชน” (Blockchain) ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน โดย KBank เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศด้วยบล็อกเชน

หุ้นกู้สกุลเงินยูโรที่ออกในครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 17 ล้านยูโร แบ่งเป็น 17,000 หน่วย อายุหุ้นกู้ประมาณ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0.52% ต่อปี และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อันดับความน่าเชื่อถือระดับสูงสุด “F1+(tha)”

สำหรับการออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรมูลค่า 17 ล้านยูโรนี้ อยู่ภายใต้โครงการหุ้นกู้ธนาคารกสิกรไทย วงเงินไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) อนุญาตให้ธนาคารสามารถเสนอขายหุ้นกู้ภายใต้โครงการ Medium Term Note ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี

การออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนของแบงก์เป็นกิจกรรมปกติ ไม่ได้อิงกับสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนจาก COVID-19 แต่ต้องการบริหารสภาพคล่องของธนาคารให้อิงกับปริมาณการปล่อยสินเชื่อ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารก็มีเงินฝากไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพราะความไม่เเน่นอนทำให้คนหันมาฝากเงินกับธนาคารมากขึ้น

ส่วนการระดมทุนในรูปแบบสกุลยูโรนั้น ก็เพื่อกระจายความเสี่ยง ไม่ให้กระจุกตัวอิงสกุลใดสกุลหนึ่ง ขณะที่เเนวโน้มการออกหุ้นเพิ่มเติมในปีนี้ ธนาคารต้องประเมินความต้องการสินเชื่อของลูกค้า สภาพคล่องของธนาคารและภาวะตลาดในขณะนั้นก่อน

การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าการเสนอขายแบบปกติ เพราะเป็นโครงการนำร่องที่ทาง KBank ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมในตลาดทุนไทยนำเทคโนโลยี บล็อกเชนมาใช้ในงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่อยกระดับการพัฒนาตลาดทุนไทย ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก สำนักงาน ก...ให้นำร่องโครงการ Registrar Service Platform Phase 1 (RSP1) และบรรจุอยู่ในโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนในระยะที่ 1

คาดปีนี้เอกชนออก “หุ้นกู้” ลดลงเหลือ 8-9 แสนล้าน 

ธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า โครงการ Registrar Service Platform Phase 1  เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบงานในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยประยุกต์ใช้บล็อกเชน มาช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลผู้ถือครองตราสารหนี้ ที่ผู้ร่วมตลาดทุกรายใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลชุดเดียวกัน

สำหรับเเผนการต่อไป จะมุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในตลาดแรกของตราสารหนี้ภาคเอกชนให้เป็น DLT Scripless Corporate Bond ซึ่งโครงการ RSP1 จะเป็นก้าวแรกของการกระโดดครั้งใหญ่ของตลาดตราสารหนี้ไทย และจากการจัดการออกและขายหุ้นกู้ของธนาคารกสิกรไทยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน จะเป็นต้นแบบและมาตรฐานในการพัฒนาเพื่อใช้สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยต่อไป

ปีนี้คาดเอกชนจะออกหุ้นกู้ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ออกหุ้นกู้ไป 1.08 ล้านล้านบาท โดยบริษัทเอกชนจะออกหุ้นกู้เรตติ้งที่ A- ขึ้นไปยังมีความต้องการจากนักลงทุนสูง และไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ” 

ด้านธิติ ตันติกุลานันทน์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ประเมินว่า ปีนี้จะมีเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 9 แสนล้านบาท เเละระดับเรตติ้งที่ต่ำกว่า A- ความต้องการในตลาดลดลง

แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่การเสนอขายหุ้นกู้ มูลค่า 17 ล้านยูโรครั้งนี้ ยังได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนในประเทศหลายแห่ง ทั้งจากกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ. และบรรดาบริษัทประกันภัย

เขามองว่า ในฐานะตัวกลางในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ จะทำให้ธนาคารมีประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ และเมื่อต้องรับหน้าที่เป็นตัวกลาง ธนาคารก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ออกตราสารหนี้รายอื่นๆ ในตลาดได้อย่างมั่นใจ ส่วนผู้ลงทุนในหุ้นกู้ จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 

หมดยุคส่งกระดาษ “บล็อกเชน” ช่วยลดต้นทุนออกหุ้นกู้ลงถึง 80-90% 

ศีลวัต สันติวิสัฏฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เล่าว่า หลังจากที่ KBank ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาบริการออกหนังสือค้ำประกัน (LG) บนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้สำเร็จเป็นธนาคารแรกของโลก นำมาสู่การต่อยอดบริการอื่น ๆ อย่างเช่น การออกหุ้นกู้บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

เขาอธิบายว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ มีประโยชน์ทั้งในมุมของฐานข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของผู้ร่วมตลาด มีความสะดวกต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการออกหุ้นกู้ ทั้งผู้จองซื้อ ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ นายทะเบียน ผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้สามารถทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้ได้แบบเรียลไทม์ (Real Time) สามารถลดต้นทุนและลดขั้นตอนในการติดต่อสื่อสาร และทำให้การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่วันที่มีจองซื้อหุ้นกู้ จนถึงวันที่หุ้นกู้ครบกำหนดอายุ

ส่วนของนายทะเบียนหุ้นกู้ ก็สามารถจัดการข้อมูล ตรวจสอบ สอบทาน หรือติดตามผู้ถือหุ้นกู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนงานที่เคยใช้คนทำ (Manual) เนื่องจากลักษณะพื้นฐานของเทคโนโลยีของ Blockchain และ smart contract ซึ่งทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และมีความปลอดภัยสูง ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการอำนวยความสะดวกและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไปพร้อมๆ กันในยุคดิจิทัล

ด้านของผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) เทคโนโลยีนี้ถือเป็นประตูเชื่อมระหว่างโลกของธุรกิจการรับฝากทรัพย์สินทางการเงินในปัจจุบัน กับโลกของการรับฝากทรัพย์สินดิจิทัล ทำให้หุ้นกู้ที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงินในปัจจุบันสามารถเก็บในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วย และเปิดโอกาสให้มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ได้อีกมาก

“ระบบเดิมจะมีค่าดำเนินการ 1 รายการระหว่าง Business-to-Business (B2B) ในการซื้อขายตราสารกระดาษ ต้นทุนจะอยู่ตั้งแต่ 500-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับไซส์ของผู้เล่น โดยผู้เล่นรายใหญ่จะต้นทุนต่ำกว่า เเต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลบนบล็อกเชนทั้งหมดเเล้ว จะสามารถลดต้นทุนการออกหุ้นกู้ปกติสูงถึง 80-90% ไม่ต้องรอเงิน รอเช็กว่าโอนหรือยัง รวมถึงการส่งมอบหลักฐานต่างๆ ก็ไม่ต้องส่งผ่านกระดาษแล้ว เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดด้วย”

โดยในอนาคตมีเเผนจะขยายไปสู่รายย่อย ซึ่งปัจจุบันธนาคารสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้แล้ว 12 สกุล

 

 

 

]]>
1284240
SoftBank เตรียมเทขายหุ้น T-Mobile บางส่วน ตามเเผน “ลดหนี้-เพิ่มเงินสด” หลังขาดทุนหนัก https://positioningmag.com/1283935 Wed, 17 Jun 2020 09:58:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283935 SoftBank ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีของญี่ปุ่น เดินหน้าเเผนลดหนี้-เพิ่มเงินสดเตรียมขายหุ้นบางส่วนใน T-Mobile มูลค่ารวมกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หลังเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท

SoftBank Group เผยผลการดำเนินการของปี 2019/20 สิ้นสุดเมื่อเดือนมี..ที่ผ่านมา ว่าขาดทุนถึง 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.1 เเสนล้านบาท) สาเหตุหลักๆ มาจากการลงทุนอย่างหนักในธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเดือดร้อนจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หนึ่งในนั้นคือ WeWork อดีตสตาร์ทดาวรุ่งผู้ให้บริการ Co-Working Space

เมื่อประสบภาวะขาดทุนหนัก ทำให้บริษัทจำเป็นต้องหาหนทางเพิ่มทุนและลดหนี้ หนึ่งในนั้นคือเทการขายหุ้น T-Mobile ที่ปัจจุบัน SoftBank ถือหุ้นอยู่ราว 25% โดย CNBC รายงานว่า อาจจะมีการขายหุ้นออกมากว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด

ด้าน Bloomberg รายงานว่า แผนการขายหุ้น T-Mobile ดังกล่าว จะมีมูลค่ารวมราว 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งการขายแบบจัดสรรในวงจำกัด (Private Placement) เปิดขายให้สาธารณะหรืออาจจะขายคืนให้บริษัทแม่ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอย่าง Deutsch Telekom ที่ปัจจุบันถือหุ้น T-Mobile อยู่ราว 40%

สำหรับการเตรียมขายหุ้น T-Mobile ครั้งนี้ เป็นไปตามแนวทางการปรับองค์กรครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการขายสินทรัพย์กว่า 4.1 หมื่นล้านเหรียญของ SoftBank เพื่อลดหนี้และเพิ่มเงินทุนสำรอง นอกจากนี้ ยังมีแผนซื้อหุ้นคืนอีก 5 แสนล้านเยน (4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในเดือนมี..ปีหน้าด้วย

 

ที่มา : Bloomberg  , CNBC , techcrunch

]]>
1283935
TQM เเจงขายบิ๊กล็อต 5.7 ล้านหุ้น ให้สถาบันต่างชาติ หวังเพิ่มสภาพคล่อง https://positioningmag.com/1257620 Wed, 18 Dec 2019 07:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257620 TQM โบรคเกอร์ประกันภัย ขายบิ๊กล็อต 5.7 ล้านหุ้นให้สถาบันต่างชาติ หลังเข้า MSCI และเดินสายโรดโชว์ต่างประเทศ

บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น (TQM) ชี้แจงรายการซื้อขายหุ้น TQM ผ่านระบบการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ บนกระดานราย ใหญ่ (Big Lot Board) จำนวน 5,717,900 หุ้น คิดเป็น 1.91% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทว่า ที่ผ่านมามีนักลงทุนจากสถาบันต่างชาติให้ความสนใจและมีความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของธุรกิจส่งผลหุ้น TQM ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากนักลงทุนสถาบันต่างประเทศที่มีความต้องการขอซื้อหุ้นจำนวนมาก ภายหลังถูกนำไปคำนวณในดัชนี MSCI และล่าสุดจากการเดินสายโรดโชว์ที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

เนื่องจาก ทางบริษัทไม่สามารถจัดสรรหุ้นตามความต้องการทั้งหมดได้ จึงนำหุ้นในส่วนของ นางสาวรัตนา พรรณนิภา ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวน 5,717,900 หุ้น ในราคา 55 บาท ออกจำหน่าย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของจำนวนหุ้นที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หุ้นของนางสาวรัตนาจะคงเหลืออยู่ที่จำนวน 282,000 หุ้น

โดยทางบริษัทยืนยันการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการบริหารจัดการ และนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด

 

  • MSCI Index เป็นดัชนีอ้างอิงของบริษัท Morgan Stanley Capital International (MSCI) ซึ่งเป็นบริษัททำดัชนีราคาหุ้นชั้นนำ มีขึ้นมาเพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ในการคัดเลือกหุ้นและผลตอบแทน
]]>
1257620
Uber เตรียมออกจากตลาดเอเชีย ! หลังปิดดีลซบอก SoftBank https://positioningmag.com/1154029 Sat, 20 Jan 2018 06:15:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154029 แฟ้มภาพสำนักงาน Uber ในแอฟริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดนอกจากเอเชีย ที่มีการวิเคราะห์ว่า Uber อาจให้ความสำคัญน้อยลง 

รวมประเด็นร้อนหลังจากอูเบอร์ (Uber) ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันรถร่วมเดินทางรายใหญ่ระดับโลกที่สามารถปิดดีลขายหุ้นมูลค่า 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำเร็จโดยมีซอฟต์แบงก์ (SoftBank) เป็นผู้ถือหุ้นหลัก ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่า SoftBank มีแผนให้ Uber เน้นทำตลาดในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นหลัก เท่ากับตลาดแอฟริกาและเอเชียอาจจะถูกลดความสำคัญลงในระยะยาว

นอกจากนี้ สาระสำคัญของดีลยังมีการกำหนดถึงการเปลี่ยนแปลงการกำกับดูแลรวมถึงการขยายตัวของบอร์ดบริหารด้วย โดย SoftBank มีแผนดึงผู้บริหารบริษัทในเครืออย่างสปรินท์ (Sprint) มานั่งเก้าอี้บอร์ด ซึ่งจะผลักดันนโยบายของ SoftBank ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมใน Uber มากขึ้น

ที่สำคัญ มีการประเมินว่าดีลนี้ทำให้ผู้ร่วมก่อตั้ง Uber อย่างทราวิส คาลานิก (Travis Kalanick) รับทรัพย์มูลค่ากว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐไปสบายกระเป๋า ทำให้เขามีทรัพย์สินในมือมากกว่า 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะนี้

Uber อาจออกจากบางตลาด

ไม่เพียง SoftBank มีแผนจะดึงผู้บริหารมือดีอย่างราจีฟ มิสรา (Rajeev Misra) ของ Sprint มาเป็นกรรมการ Uber แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ Uber ส่งสัญญาณต้องการให้ Uber เน้นความสำคัญไปที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีสื่อบางรายวิเคราะห์ว่า Uber อาจออกจากตลาดแอฟริกาและเอเชีย ที่มีการแข่งขันสูงมาก

ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่า SoftBank ต้องการให้ Uber เน้นทำตลาดในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นหลัก

สำนักข่าว Quarts รายงานว่า Uber อาจจะถูกดึงออกจากตลาด 15 เมืองในแอฟริกา และอีกหลายเมืองใหญ่ในเอเชีย

แม้ Uber จะระบุว่าเงินทุนจาก SoftBank จะช่วยให้ บริษัทสามารถเททรัพยากรในการให้บริการ “แก่ผู้คนในสถานที่ต่างๆทั่วโลก” ได้ดีกว่าเดิม แต่ในคำให้สัมภาษณ์ต่อสื่อใหญ่อย่างไฟแนนเชียลไทม์ส (Financial Times) พบว่า SoftBank มีวิสัยทัศน์ที่ต่างไป โดย Rajeev Misra ผู้อำนวยการบอร์ด SoftBank ยอมรับว่า Uber มีโอกาสประสบความสำเร็จและผลกำไรที่ดีกว่าหากมุ่งเน้นเฉพาะตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ละตินอเมริกา และออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม Softbank นั้นมีหุ้นอยู่ในบริการคู่แข่งของ Uber เช่น Ola ของประเทศอินเดีย และ Didi ของประเทศจีนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงอาจไม่น่าแปลกใจที่อาจต้องการให้ Uber มุ่งเน้นไปที่ตลาดหลัก ซึ่งจะไม่แข่งขันกับการลงทุนในประเทศอื่น

นอกจากนี้ การดึง Uber ออกจากตลาดรองอาจจะช่วยให้บริษัทลดข้อขัดแย้งลงด้วย โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎระเบียบเช่น มาตรการการจัดเก็บภาษี รวมถึงแรงกดดันให้ต้องมีความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมหลายประเทศเพื่อพัฒนากรอบการกำกับดูแลสำหรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันร่วมเดินทาง เช่นเดียวกับการต่อต้านโดยสหภาพรถแท็กซี่ในหลายประเทศ 

ผู้ก่อตั้ง Uber รวยเละ

สำหรับผู้ก่อตั้งอย่าง Travis Kalanick การเทเงินของ SoftBank เพื่อเข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Uber ทำให้ Kalanick และผู้สนับสนุนในช่วงต้นได้รับเงินเข้ากระเป๋าสบายอุรา โดยรายงานชี้ว่าเฉพาะ Kalanick ซึ่งถูกตัดขาดจากตำแหน่ง CEO เมื่อปีที่แล้วหลังมีปัญหาคารังคาซัง จะได้รับเงิน 1.4 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 44,580 ล้านบาท ทำให้ทรัยพ์สินรวมทะลุหลัก 4.74 พันล้านเหรียญ (ราว 1.5 แสนล้านบาท)

ผู้ร่วมก่อตั้ง Uber อย่างทราวิส คาลานิก (Travis Kalanick) รับทรัพย์มูลค่ากว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐไปสบายกระเป๋า

ในขณะที่ยังไม่มีความเห็นจาก Kalanick โฆษกของ Uber กล่าวในแถลงการณ์ว่าบริษัทภูมิใจที่มี SoftBank, Dragoneer และกลุ่มพันธมิตรทั้งหมดเข้ามาเป็นครอบครัว Uber เชื่อว่าการขายหุ้นครั้งนี้จะเป็นผลดีสำหรับผู้ถือหุ้นทุกคน พนักงาน และลูกค้า

การลงทุนครั้งนี้ยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องของพนักงาน ในช่วงที่ Uber ต้องเผชิญความตึงเครียด ก่อนที่ Uber มีเป้าหมายเพื่อเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนในปี 2019 ขณะเดียวกัน SoftBank ถูกมองเป็นนักลงทุนที่บุกหนักหน่วงใน Silicon Valley และกำลังเดินเข้ากองไฟ เพราะ Uber กำลังได้รับผลกระทบจากคดีความเรื่องการละเมิดข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงตกเป็นเป้าถูกตรวจสอบเรื่อง “วัฒนธรรมที่เป็นอันตราย” ในที่ทำงานด้วย

การเปลี่ยนแปลงใน Uber นี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับซีอีโอ Dara Khosrowshahi ผู้ซึ่งถูกวางความหวังว่าจะเข้ามาสางปมทั้งหมดให้คลี่คลายได้ในเร็ววัน

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000006286

]]>
1154029