ควบรวมกิจการ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Feb 2024 12:39:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Warner Bros. Discovery” กับ “Paramount” ระงับดีลควบรวมกิจการ คุยกันมา 2 เดือนยังไม่ลงตัว https://positioningmag.com/1464565 Thu, 29 Feb 2024 12:39:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464565 ดีลควบรวมกิจการของ “Warner Bros. Discovery” กับ “Paramount Global” ไปไม่ถึงฝั่ง มีรายงานว่าทั้งสองฝ่ายเลือกจะระงับการเจรจาไปก่อน ดับฝันการรวมแอป “Max” (HBO Max) เข้ากับแอป “Paramount+” อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้สนใจซื้อรายอื่นตกเป็นข่าวอีกเพียบ

CNBC รายงานจากแหล่งข่าววงในว่า “Warner Bros. Discovery” ขอระงับการเจรจาการควบรวมกิจการ “Paramount Global” ไปก่อน หลังจากคุยกันมานานไม่ต่ำกว่า 2 เดือน

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้สนใจซื้อรายอื่นที่ตกเป็นข่าวกับ Paramount Global เช่น “Skydance Media” บริษัทสตูดิโอผลิตรายการทีวีและภาพยนตร์ของ “เดวิด เอลลิสัน” ขณะนี้ยังคงเจรจาความเป็นไปได้ที่จะซื้อกิจการ

รวมถึง “ไบรอน อัลเลน” เจ้าของบริษัทสื่อ “Entertainment Studios” ก็มีข่าวยื่นข้อเสนอซื้อ Paramount Global ทั้งบริษัทไปเมื่อเดือนก่อนด้วยเม็ดเงิน 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่ CNBC รายงานด้วยว่าอัลเลนเป็นนักธุรกิจที่มีประวัติเรื่องยื่นข้อเสนอซื้อสินทรัพย์ในวงการสื่อแต่ไม่ซื้อจริงหลายครั้ง

ที่ผ่านมา Paramount Global มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา พร้อมแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินด้วย เพื่อเฟ้นหาและเจรจาการขายกิจการทั้งบริษัทหรือขายสินทรัพย์บางส่วนออกไป

รายชื่ออื่นที่เคยตกเป็นข่าวกับ Paramount Global เช่น “Comcast” บริษัทเจ้าของสื่อ CNBC ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่ได้สนใจซื้อสินทรัพย์ใดของบริษัท แต่สนใจที่จะเป็นพันธมิตรเชิงพาณิชย์ร่วมกันมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นการควบรวมหรือทำธุรกิจร่วมกันในกลุ่มบริการสตรีมมิ่งของสองบริษัท คือ Peacock กับ Paramount+ อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า Paramount Global จะสนใจการเป็นพันธมิตรกันหรือไม่ เพราะดูเหมือนบริษัทสนใจที่จะขายบริษัทเลยมากกว่า

“เดวิด ซาสลาฟ” ซีอีโอของ Warner Bros. Discovery และ “บ๊อบ บาคิช” ซีอีโอ Paramount Global ตกเป็นข่าวว่ากำลังเจรจาขั้นต้นในการควบรวมกิจการกันเมื่อเดือนธันวาคม 2023 จากนั้นบริษัทเข้าสู่การเจรจาอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2024 ก่อนที่จะมีข่าวระงับดีลกันเดือนนี้

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ราคาหุ้นของ Warner Bros. Discovery ตกลง 10% หลังผลประกอบการของบริษัทรอบล่าสุดไม่เป็นไปตามที่คาด เมื่อปี 2023 ราคาหุ้นบริษัทตกลง 47% และขณะนี้อยู่ในช่วงราคาตกต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์

ราคาหุ้นของ Paramount Global เองก็ตกต่ำมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสถิติต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์เช่นกัน

ข่าวนี้อาจจะถือเป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับสาวกสตรีมมิ่ง เพราะหากการควบรวมสำเร็จ เป็นไปได้ที่บริการสตรีมมิ่ง Max (ชื่อเดิม HBO Max) จะรวมคอนเทนต์เข้ากับ Paramount+ โดยฝั่ง Max นั้นมีรายงานว่าดึงยอดสมาชิกได้ถึง 98 ล้านคนแล้ว ส่วน Paramount+ ก็มีสมาชิกสตรีมมิ่งแตะ 67.5 ล้านคนในปีที่ผ่านมา

Source

]]>
1464565
สยบข่าวลือ! ‘GoTo’ ออกมาปฏิเสธว่ากำลังเจราจากับ ‘Grab’ เรื่องควบรวมกิจการ ย้ำ บริษัทมีสถานะการเงินที่แข็งแรง https://positioningmag.com/1462624 Wed, 14 Feb 2024 04:55:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462624 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีหลายสำนักข่าวรายงานว่า Grab แพลตฟอร์ม ride-hailing สัญชาติสิงคโปร์ได้กลับมาเจรจา ควบรวมกิจการ กับ GoTo อีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง แต่ล่าสุด GoTo ก็ออกมายืนยันเองว่าไม่ได้มีการเจรจาดังกล่าว

GoTo บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย ได้ออกมาปฏิเสธว่ากําลังหารือเรื่องการควบรวมกิจการกับคู่แข่งอย่าง Grab หลังจากมีข่าว Grab ได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ GoTo โดยมีแผนทั้งการจ่ายเงินสด, จ่ายเป็นหุ้น หรือรวมสองบริษัทเข้าด้วยกัน รวมถึงการทำข้อตกลงแยกแบรนด์ทำตลาดแต่ละแบรนด์เอง

“บริษัทยังต้องการเน้นย้ำว่าขณะนี้ บริษัทไม่มีการเจรจาในเรื่องดังกล่าว บริษัทขอเน้นย้ำว่า บริษัทมีพื้นฐานและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ GoTo กล่าว

โดยในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา GoTo สามารถบรรลุเป้าหมาย EBITDA ในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกําหนดจะเปิดเผยผลประกอบการปี 2023 ในเดือนมีนาคมนี้

สำหรับ GoTo Group ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2021 ซึ่งเป็นการควบรวมกิจการระหว่างสองบริษัทสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ได้แก่ Gojek และ Tokopedia และเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม GoTo และ TikTok ประกาศว่า Tokopedia และ TikTok Shop Indonesia จะควบรวมกิจการ ซึ่ง TikTok จะถือหุ้นควบคุม 75.01%

โดยข้อตกลงของ TikTok และ Tokopedia เกิดขึ้นหลังจากอินโดนีเซียสั่งห้ามธุรกรรมอีคอมเมิร์ซบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น TikTok Shop และ Facebook ซึ่งส่งผลกระทบต่อแผนการรุกตลาดอีคอมเมิร์ซของ TikTok ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

Source

]]>
1462624
Asiana Airlines เตรียมขายธุรกิจ Cargo ส่งสัญญาณอาจควบรวมกิจการกับ Korean Air ได้หลังจากนี้ https://positioningmag.com/1450707 Sun, 05 Nov 2023 12:38:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450707 Asiana Airlines เตรียมขายธุรกิจ Cargo โดยคาดว่ามูลค่าจะสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งสัญญาณอาจควบรวมกิจการกับ Korean Air ได้หลังจากนี้ หลังจากคณะกรรมาธิการของยุโรปยังไม่ไฟเขียวให้กับดีลดังกล่าว

สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของเกาหลีใต้อย่าง Asiana Airlines ได้เตรียมที่จะขายธุรกิจ Cargo ของสายการบิน หลังจากที่บอร์ดของสายการบินได้ไฟเขียวให้ขายธุรกิจดังกล่าว ซึ่งจะปูทางให้มีการควบรวมกิจการกับ Korean Air ได้ในหลังจากนี้

คาดว่ามูลค่ากิจการธุรกิจ Cargo ของ Asiana Airlines จะอยู่ที่ราวๆ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยธุรกิจดังกล่าวถือเป็นตัวสร้างกระแสเงินสดให้กับสายการบินใหญ่อันดับ 2 ของเกาหลีใต้

สาเหตุที่ 2 สายการบินต้องการที่จะควบรวมกิจการก็คือในช่วงปี 2020 สายการบินของทั้ง 2 ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการควบรวมกิจการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ซึ่งถ้าหากมีการควบรวมกิจการแล้วเสร็จจะทำให้สายการบินใหม่กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ของอุตสาหกรรมทันที

อย่างไรก็ดีการควบรวมกิจการดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับคณะกรรมาธิการของยุโรป เนื่องจากถ้า 2 สายการบินควบรวมกิจการกันแล้วก็อาจทำให้มีการผูกขาดเส้นทางการส่งสินค้าจากยุโรปไปเกาหลีใต้ ทำให้บอร์ดของ Asiana ได้ไฟเขียวให้มีการขายธุรกิจ Cargo ดังกล่าว

นอกจากการขายธุรกิจ Cargo ของ Asiana Airlines แล้ว สายการบินยังเตรียมยกเลิกเส้นทางบินบางเส้นทางไปยังทวีปยุโรป เพื่อที่คณะกรรมาธิการของยุโรปไฟเขียวให้ดีลดังกล่าวผ่านได้

อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์มองว่าการตั้งราคาของธุรกิจ Cargo อาจมีราคาแพงเกินไป และอาจทำให้ไม่มีผู้สนใจในการซื้อกิจการซึ่งอาจทำให้การควบรวมกิจการของทั้ง 2 สายการบินในเกาหลีใต้ใช้ระยะเวลานานออกไปอีก

ดีลการควบรวมกิจการดังกล่าวนั้นได้รับไฟเขียวจากหน่วยงานใน 11 ประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น อังกฤษ รวมถึงจีน

นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว ยังเหลือหน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่กำลังพิจารณาในเรื่องการควบรวมกิจการดังกล่าว เพราะถ้าหากหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศใดประเทศหนึ่งขวางไม่ให้ดีลนี้ผ่าน ก็อาจทำให้การควบรวมกิจการไม่สำเร็จได้

ในช่วงที่ผ่านมาสายการบินหลายแห่งได้มีการควบรวมกิจการกัน หรือแม้แต่ซื้อหุ้นของกิจการ โดยเฉพาะสายการบินบนภาคพื้นยุโรป ไม่ว่าจะเป็น Lufthansa ซื้อหุ้น 41% ใน ITA Airways ของอิตาลี หรือแม้แต่การซื้อหุ้นของ Air Europa โดย IAG เพื่อที่จะรวมสายการบินต่างๆ เข้ามาไว้ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในกลุ่ม

ที่มา – Reuters, Simply Flying, Korea JoongAng Daily

]]>
1450707
ชำแหละดีลควบรวม ‘ทรู’-‘ดีแทค’ ผูกขาดหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน และ ‘ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน https://positioningmag.com/1374729 Mon, 21 Feb 2022 12:15:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374729 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา บอร์ดทรู-ดีแทค ไฟเขียวควบรวมกิจการ เคาะตั้งบริษัทใหม่เข้าตลาดหุ้น พร้อมถอนหุ้น TRUE และ DTAC ออกจากตลาด โดยทาง สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดงานเสวนา เรื่อง ‘ดีล True – Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค’ เพื่อสะท้อนหากเกิดการควบรวมจริงถือเป็นการ ‘ผูกขาด’ หรือไม่ และ ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ผูกขาดชัดเจน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประโยชน์ของการควบรวมบริษัทมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีนวัตกรรมมากขึ้น ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ผู้บริโภคมีโอกาสได้ของดีราคาถูก อีกมุมคือ เพิ่มอำนาจการผูกขาด ทำให้ผู้บริโภคอาจเสียผลประโยชน์ ดังนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์ต้องชั่งน้ำหนักของ 2 ข้อนี้

“ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่กำกับดูแลจะพิจารณาจาก ผลกระทบต่อผู้บริโภคเท่านั้น ว่าการควบรวมก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียกับผู้บริโภคมากกว่ากัน ถ้าเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงก็จะ ห้ามการควบรวม แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นร้ายแรงก็จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม”

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

สำหรับการควบรวมของ ทรู-ดีแทค นั้นส่งผลดีหรือผลเสียให้ผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์นั้นพิจารณาจาก ผู้ประกอบการรายที่เหลือ (เอไอเอส) มีท่าทีอย่างไร ถ้ามีการ คัดค้าน หน่วยงานกำกับดูแลควรอนุญาตให้ควบรวม แต่ถ้า ไม่คัดค้านหรือสนับสนุน ควร ห้ามการควบรวม กรณีนี้ไม่มีใครคัดค้าน เพราะจะทำให้ตลาดกระจุกตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์

หลักฐานที่ชัดเจนคือ ราคาหุ้นของทั้ง 3 บริษัทเพิ่มขึ้น แม้ว่าเอไอเอสไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบรวมก็ตาม นอกจากนี้ การควบรวมทรู-ดีแทค ยังถือว่าเป็นการผูกขาดในระดับ อันตรายมาก ดังนั้น จึงไม่ควรอนุญาตให้ควบรวม

“ทุกอย่างชี้ว่าการควบรวมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่เป็นผลเสียกับผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องดีลกับผู้ประกอบการที่จะเหลืออยู่ 2 รายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ที่เหลือแค่ 2 ทางเลือก ผู้พัฒนานวัตกรรมหรือสตาร์ทอัพก็มีทางเลือกน้อยลง จะเห็นว่าทุกฝ่ายแย่ลงหมดยกเว้นผู้ประกอบการ ดังนั้น ควรระงับไม่ให้เกิดการควบรวม”

ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. กล่าวว่า การควบรวมกิจการ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะเมื่อทางเลือกลดลงย่อมส่งผลต่อราคา อีกทั้งยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล สิทธิในด้านกิจการโทรคมนาคมก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น หวังว่าบอร์ดใหม่กสทช. จะพิจารณาให้ถี่ถ้วน

“จากงานวิจัยในอังกฤษพบว่า เมื่อผู้เล่นลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นถึง 20% ดังนั้นจาก 3 เหลือ 2 ย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ.

กฎหมายใหม่กสทช. มีช่องว่าง

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ทั้งทรู-ดีแทคออกมาประกาศว่า “อยู่ระหว่างการหารือเรื่องควบรวม” แต่กลับมีการเรียนอัตราการแลกหุ้นอย่างชัดเจน แสดงว่าทั้ง 2 บริษัทได้คำนวณเรื่องการควบรวมไว้แล้วแสดงว่า มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการเจรจากัน ก่อนที่จะมีการประกาศการควบรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 บริษัทตั้งใจจะควบรวมกิจการ ลึกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่ว่าจะมีการควบรวมหรือไม่นั้น กสทช. เป็นองค์กรที่ต้องออกมากำกับดูแลหากเห็นพฤติกรรมที่ส่องเค้าที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ดังนั้น กสทช. ไม่ควรรีรอบอร์ดกสทช. ชุดใหม่ ควรจะวางกระบวนการตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศควบรวม ต้องเรียกขอดูข้อมูล และอีกปัญหาคือ ประกาศกสทช. ฉบับปี 2561 มีช่องว่างก่อให้เกิดความเสี่ยงในการควบรวมเมื่อเทียบกับประกาศของปี 2553 จากเดิมจะ ต้องมาขออนุญาตก่อน แต่ประกาศฉบับปี 61 แค่รายงานให้ทราบ

“เห็นชัดเจนว่าถ้าจาก 3 เหลือ 2 การแข่งขันน้อยลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทเดินหน้าควบรวมโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนเลยเข้ามากำกับก็จะนำไปสู่ภาวะการผูกขาดหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ก่อนที่การควบรวมจะสิ้นสุดด้วยซ้ำ เพราะแค่เจรจาก็สุ่มเสี่ยงแล้ว”

กสทช. รับต้องรอบอร์ดใหม่พิจารณา

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช ยอมรับว่า ตั้งแต่มีข่าวการควบรวม กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการมาชี้แจงบ้าง รวมถึงได้ประสานงานกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) แต่ช่วง 3 เดือนที่มีข่าว ทางกสทช. ไม่เคยนำเสนอเรื่องการควบรวมให้เป็นวาระการประชุมเลย เพิ่งมี 2 ครั้งหลังสุดที่มีการรายงานด้วยวาจา โดยไม่มีเอกสารวาระก่อนปิดประชุมทั้ง 2 ครั้ง

ดังนั้น กรรมการกสทช. จึงไม่มีเวลาถกแถลง หรือ หารือว่าจะทำอย่างไรต่อ และเป็นปัญหาที่ตัวข้อเท็จจริงยังอยู่ในชั้นสำนักงานทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่เกิดถือเป็น จุดอ่อนของการบริหารของสำนักงานกสทช. อีกปัญหาคือ ตัวกฎหมายผู้ร่างคือสำนักงานกสทช. ซึ่งประกาศฉบับแก้ไขการรวมกิจการปี 61 ก็ร่างโดยสำนักงานกสทช. ซึ่งส่วนตัวนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะกฎหมายปี 53 มีความเสี่ยงในการควบรวมได้ทันที

“หลายคนไม่เอะใจเลยว่า กฎหมายปี 61 เป็นแค่การรายงานให้ทราบ แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณา ถือเป็นประกาศที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบในการควบรวม ดังนั้น ตรงนี้ตรงไปตรงมามาก และผมไม่ได้เห็นด้วย”

อีกปัญหาสำคัญคือ การควบรวมมาในช่วงคาบเกี่ยวการแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งทางกรรมการชุดปัจจุบันไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติเรื่องการควบรวม ดังนั้น เมื่อมีการเสนอคำขอควบรวม จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อหากบอร์ดทั้ง 2 ชุดเห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ใน 1-2 สัปดาห์จากนี้ ขณะที่การควบรวมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 65

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากมาประกอบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ไม่เช่นนั้นจะเกิดการลำเอียงในการพิจารณาในภายหลัง ผู้ที่ขอยื่นอาจขอค้านทางปกครองในภายหลังว่าเราไม่มีความเป็นกลาง ดังนั้น โดยหลักแล้วทำให้กสทช. ต้องรอข้อมูลผลการศึกษาให้ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันข้อถกเถียงเรื่องผลดีผลเสียจากการควบรวมของทรู-ดีแทค ยังเป็นแค่การพยากรณ์ทั้งสิ้น เพราะยังไม่เกิด แต่ถ้าปล่อยให้ควบรวมก็จะสายเกิดไปในการรับมือ

และทางกสทช. ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยมีการประสานงานกับ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า โดยได้หารือว่าจะรับมืออย่างไร นอกจากนี้ คณะสภาผู้แทนราษฎรณ์ก็มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทางกสทช. ก็ได้หารือกันทุกสัปดาห์ มีการศึกษาผลระยะยาวสภาพตลาด ภายหลังจากการควบรวม เบื้องต้นพยายามรวมประเด็นเพื่อทำการวิเคราะห์ในทุกด้าน

“โดยสรุปแล้ว กสทช. ยังไม่ได้ฟันว่าจะไม่ให้ควบรวม หรือให้ควบรวม แต่ต้องปกป้องประโยชน์ต่อประชาชน และต้องคำนึงถึงมาตรการในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปได้คือ ถ้าจะพิจารณาเรื่องนี้ต้องวิเคราะห์โครงสร้างตลาดที่เหมาะสมในประเทศไทย มีมาตรการเชิงโครงสร้าง และสิ่งสำคัญต้องติดตามผลกระทบจากการควบรวมจริง ๆ”

แนะ 3 ข้อ ป้องกันผูกขาด

ดร. สมเกียรติ ได้เสนอ 3 แนวทาง สำหรับป้องกันการผูกขาดที่จะเกิดจากการควบรวมทรู-ดีแทค ดังนี้

  1. ไม่อนุญาตให้ควบรวม : โดยหากดีแทคต้องการจะเลิกกิจการในประเทศไทย ควรให้ขายกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอไอเอสและทรู
  2. ควบรวมได้ แต่ต้องคืนคลื่น : อนุญาตให้ควบรวมได้แต่ต้องคืนคลื่นมาบางส่วนแล้วนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อให้มีผู้ประกอบการ 3 ราย ในตลาดโทรศัพท์มือถือเหมือนเดิม
  3. ควบรวมได้แต่ต้องส่งเสริมให้เกิด MVNO หรือผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายฯ ของตัวเอง : ทางเลือกนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่มีความเหมาะสม เนื่องจาก MVNO ไม่ได้เกิดง่าย และการดูแลยากมาก ดังนั้น ควรป้องกันไม่ให้มีการผูกขาด เพราะหากปล่อยให้มีการผูกขาดแล้วไปแก้ไขในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากมาก

สุดท้าย ผศ.ดร. กมลวรรณ จิรวิศิษฏ์ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะยังไม่ควบรวมแต่การมีการ แบ่งปันข้อมูล อาจนำไปมาซึ่งการ ไม่แข่งขัน เพราะอาจมีการ ฮั้ว กันเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรื่องนี้หน่วยงานกำกับดูแลต้องนำมาพิจารณาด้วย

]]>
1374729
ย้อนชมดีลแห่งปี 2564 “ปลาใหญ่” ในไทยล่ากิจการ ขยายน่านน้ำทางธุรกิจ https://positioningmag.com/1369162 Wed, 29 Dec 2021 12:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369162 ปี 2564 เป็นปีที่น่าจับตามองของบริษัท/องค์กรขนาดใหญ่ในไทย ในแง่ของการเข้าซื้อกิจการหรือซื้อหุ้นลงทุนในบริษัทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบริษัทขนาดใหญ่/กลางที่อยู่ในตลาดมานานแบบ “ปลาใหญ่กินปลาใหญ่” ทำให้อาณาจักรองค์กรขยายใหญ่ทันที หรือการขยายไปลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพที่กำลังโตแรงหรือธุรกิจขนาดเล็กแต่มีศักยภาพ ช่วยเสริมพอร์ตให้ปลาใหญ่เกิดทางลัดทางธุรกิจ ปีที่ผ่านมามีดีลอะไรที่น่าสนใจบ้าง Positioning ขอรวบรวมมาไว้ที่นี่

 

“บิ๊กดีล” ปลาใหญ่ฮุบปลาใหญ่

รวมดีลที่น่าสนใจ เมื่อองค์กรขนาดใหญ่ที่เข้าไปซื้อกิจการหรือซื้อหุ้นเป็นสัดส่วนสำคัญในธุรกิจขนาดใหญ่/กลางที่อยู่ในตลาดมานาน โดยทำให้เกิดการขยายน่านน้ำทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ หรือการขยายไปยังธุรกิจอื่น

“กัลฟ์” เข้าซื้อ “อินทัช”

แต่เดิมนั้น บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ถือหุ้นใน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH อยู่แล้ว 18.93% แต่ปีนี้ กัลฟ์ได้ทำการ Tender Offer ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. 64 – 4 ส.ค. 64 จนในที่สุดเมื่อปิดระยะเวลา กัลฟ์เพิ่มการถือหุ้นในอินทัชขึ้นเป็น 42.25% โดยใช้เงินลงทุนไปราว 48,600 ล้านบาท

ทั้งนี้ INTUCH เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ใน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เจ้าของเครือข่าย AIS โดยถือหุ้นสัดส่วน 40.44% น่าสนใจว่าการเพิ่มการลงทุนของธุรกิจสายพลังงานลงในธุรกิจโทรคมนาคม จะเกิดการ synergy ทางธุรกิจอย่างไรต่อไป

 

“เซ็นทรัลพัฒนา” เข้าซื้อ “สยามฟิวเจอร์”

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ประกาศเข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 30.36% ใน บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF โดยเป็นการซื้อหุ้นจาก บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป (MAJOR) ใช้เงินลงทุนไป 7,765.9 ล้านบาท รวมแล้วทำให้ CPN ถือครองหุ้นสัดส่วน 31.57% ใน SF ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1

การเข้าซื้อ SF ของ CPN จะทำให้พอร์ตธุรกิจยิ่งแข็งแกร่งขึ้น เพราะจะได้ครอบครองศูนย์การค้าเพิ่มอีก 18 แห่ง รวมพื้นที่เช่า 4.3 แสนตร.ม. และมีทำเลทองที่น่าสนใจคือ “เมกา บางนา” รวมอยู่ในนี้ ซึ่งจะส่งให้ CPN เป็นเจ้าของ Super Regional Mall เพิ่มเป็น 2 แห่ง คือทั้งเซ็นทรัล เวสต์เกต และ เมกา บางนา

 

กลุ่ม “BTS” ซื้อหุ้นใน “JMART-SINGER”

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กลุ่ม BTS ประกาศดีลเข้าลงทุนใน บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART และ บมจ.ซิงเกอร์ ประเทศไทย (SINGER) โดยทางใช้วิธีขายหุ้นเพิ่มทุนให้บริษัทในเครือของ BTS สองแห่ง ได้แก่

  • บมจ.วีจีไอ (VGI) ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 15% ใน JMART
  • บมจ.ยูซิตี้ (U) ใช้เงินลงทุนราว 4,500 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุนสัดส่วน 9.9% ใน SINGER และยูซิตี้ยังมีวงเงินอีก 7,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงใน SINGER สัดส่วน 24.9% ด้วย

ทำให้ดีลนี้รวมแล้วกลุ่ม BTS ใช้งบไปทั้งหมด 18,500 ล้านบาท

ดีลนี้ถือว่าวิน-วินกันทั้งสองฝ่าย เพราะฝั่ง JMART ก็ต้องการเงินลงทุนเพิ่มเพื่อนำไปใช้ชำระหนี้และต่อทุนกิจการ ส่วน BTS ก็ต้องการขยายการลงทุนในธุรกิจอื่น ในที่นี้คือการขายอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของ JMART และธุรกิจสินเชื่อของ SINGER

 

“ธนาคารกรุงศรีอยุธยา” เข้าซื้อ “พอร์ตธุรกิจรายย่อยของธนาคารซิตี้แบงก์”

แม้จะเป็นพอร์ตธุรกิจขาหนึ่งของธนาคารซิตี้แบงก์ในไทย แต่เป็นพอร์ตที่มีมูลค่าสูงถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่วนที่น่าสนใจคือธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งบัตรซิตี้แบงก์มีลูกค้าชั้นดีที่ถือครองบัตรของบริษัทจำนวนมาก หลังจากซิตี้กรุ๊ปประกาศจะถอนตัวออกจากธุรกิจรายย่อยในประเทศไทย ทำให้หลายฝ่ายจับตามองว่าใครจะเป็นผู้ชนะการประมูลซื้อพอร์ต

ตามการรายงานข่าวของ Bloomberg ระบุเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 64 ว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ชนะการประมูล โดยมีกระแสข่าวก่อนหน้านั้นว่านอกจากแบงก์กรุงศรีฯ แล้ว ยังมีธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยที่สนใจยื่นประมูลด้วยเช่นกัน

 

ปลาใหญ่ลงทุนใน “ปลาโตไว” ช่วยขยายน่านน้ำ

รวมดีลที่ “ปลาใหญ่” เข้าไปลงทุนกับสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตแรง หรือบริษัทขนาดเล็กแต่มีศักยภาพสูง ช่วยสร้างทางลัดในธุรกิจให้กับปลาใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

“SCBX” เข้าซื้อ “Bitkub”

ดีลที่เรียกเสียงฮือฮาแห่งปีเมื่อเดือนพฤศจิกายน กลุ่ม SCBX ประกาศใช้เงินลงทุนถึง 17,850 ล้านบาท เข้าถือหุ้นสัดส่วน 51% ใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub ส่งให้สตาร์ทอัพด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายนี้เป็น “ยูนิคอร์น” ตัวใหม่ของเมืองไทยทันที

สำหรับฝั่ง SCBX เห็นได้ชัดว่านี่คือการขยายน่านน้ำอย่างรวดเร็วเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่ง Bitkub กรุยทางธุรกิจหลักมาแล้วในฐานะศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่ในไทย

“OR” เข้าซื้อหุ้นใน โอ้กะจู๋, Kouen, Kamu Tea

ตลอดปีนี้ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR มีการซื้อหุ้นในบริษัทอาหารและเครื่องดื่มหลายแห่งเพื่อขยายพอร์ตของตนเองให้หลากหลายตามแนวทางธุรกิจ โดยใช้บริษัทในเครือคือ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) เข้าไปถือหุ้นบริษัทรายเล็กอื่นๆ ดังนี้

  • โอ้กะจู๋ – OR ใช้งบลงทุนไม่เกิน 500 ล้านบาท เข้าถือหุ้น 20% ใน บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด เจ้าของเชนร้านอาหารโอ้กะจู๋ 14 สาขา โดยโอ้กะจู๋มีจุดเด่นเป็นแบรนด์ร้านอาหารผักเกษตรอินทรีย์ที่อร่อย สดใหม่ ทำรายได้ปี 2562 ไป 643 ล้านบาท กำไรสุทธิ 79 ล้านบาท
  • Kouen – OR ใช้เงินลงทุนวงเงินไม่เกิน 192 ล้านบาท เข้าลงทุนซื้อหุ้นสัดส่วน 25% ในบริษัท อิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน จำกัด (ISGC) เจ้าของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Kouen จำนวน 19 สาขา
  • Kamu Tea – OR ใช้งบลงทุนไม่เกิน 480 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 25% ในบริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์ชานมไข่มุก Kamu Tea ร้านชานมไข่มุกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันขยายไปมากกว่า 100 สาขา เมื่อปี 2563 บริษัทรายงานรายได้ 362 ล้านบาท กำไรสุทธิ 97 ล้านบาท

 

นอกจาก “ดีล” เด่นๆ ข้างต้นแล้ว ยังมีบิ๊กดีลที่ทั้งสองบริษัทแจ้งว่าเป็นการ “ควบรวมกิจการ” นั่นคือ TRUE กับ DTAC เนื่องจากไม่ใช่การที่บริษัทหนึ่งเข้าซื้อกิจการในอีกบริษัท แต่ทั้งคู่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา โดยมีการจัดสรรหุ้นในบริษัทใหม่ให้กับแต่ละบริษัท ซึ่งผลสุดท้ายแล้วจากมูลค่าหุ้นน่าจะทำให้ TRUE ได้ถือหุ้นบริษัทใหม่ 58% และ DTAC จะได้ถือ 42%

อย่างไรก็ตาม ผลต่อผู้บริโภคนั้นก็จะทำให้ผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมลดจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย ทั้งนี้ ต้องติดตามรายละเอียดการควบรวมกิจการกันต่อไป เพราะข่าวที่ออกมาเบื้องต้นยังเป็นการเซ็น MOU กันเท่านั้น

ส่วนดีลอื่นๆ ที่เป็นการประสานความร่วมมือของสองบริษัทหรือมากกว่าผ่านการจัดตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันนั้น ปี 2564 ก็มีดีลลักษณะนี้ให้เห็นเพียบ เพราะธุรกิจยุคใหม่หากจะโตให้เร็วหรือโตกว้าง หลายบริษัทเล็งเห็นแล้วว่าจะทำได้ผ่านการจับมือกับบริษัทอื่นโดยนำเอาความเชี่ยวชาญหรือแหล่งเงินทุนมาประสานพลังกันนั่นเอง

]]>
1369162
เมื่อโครงสร้างตลาด “ค่ายมือถือ” เปลี่ยนไป ต้องใช้ปัจจัยอะไรบ้างที่วัดความเป็นผู้นำ https://positioningmag.com/1368471 Tue, 28 Dec 2021 10:00:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368471

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีข่าวเรื่องการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการระหว่าง True และ dtac เมื่อนำตัวเลขผู้ใช้ 2 รายมารวมกันจะอยู่ที่ 51.3 ล้านเลขหมาย หลายคนประเมินว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดทันทีแซงหน้า AIS ที่มีผู้ใช้งาน 43.7 ล้านเลขหมาย


แค่ยอดผู้ใช้ การันตีผู้นำไม่ได้

ต้องบอกว่าประเด็นนี้ได้สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภคพอสมควร ซึ่งถ้าดูในแง่ตัวเลขผู้ใช้อย่างเดียวก็คงใช่ สามารถบอกได้ว่าหลังทั้ง True รวมร่าง dtac แล้วจะกลายเป็นค่ายที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด แต่ก็ต้องบอกว่าการที่จะบอกว่าใครเป็นผู้นำในตลาดนี้จะดูแค่ยอดผู้ใช้งานอย่างเดียวไม่พอ เพราะมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่สินค้าอุปโภคบริโภค ก็ต่างวัดการเป็นเบอร์ 1 ในตลาดด้วยรายได้ ใครขายได้มากกว่าก็มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า เพราะฉะนั้นยังมีปัจจัยที่วัด Performance ของบริษัทอีกมากมาย เช่น Market Cap,รายได้, กำไร, เงินลงทุน รวมไปความแข็งแกร่งทางการเงินในเรื่องอื่นๆ

และที่สำคัญที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ “แบรนด์ดิ้ง” การที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาด ย่อมเป็น “แบรนด์เลิฟ” ที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่น และเทใจให้สมกับเป็นเบอร์ 1 นั่นเอง

เมื่อเทียบผลการดำเนินงานของทั้ง 3 ค่าย พบว่า AIS ยังครองความเหนือกว่าในทุกมิติ แม้ 2 ค่ายควบรวมกันแล้ว AIS ก็ยังมีมูลค่าบริษัทมากกว่าถึง 2.4 เท่า รวมไปถึงกำไรสุทธิก็ยังทิ้งห่าง ปริมาณคลื่นความถี่ก็มากกว่า โดยที่ AIS มีคลื่นความถี่รวม 1450 MHz ส่วนทั้ง 2 ค่ายจะมีคลื่นความถี่รวม 1350 MHz

เทียบฟอร์มผลดำเนินการของโอเปอเรเตอร์ 3 ค่าย

 

Performance AIS TRUE dtac T+D
Market Cap
(ณ วันที่17 ธ.ค. 2564)
621,536 ล้านบาท 154,161ล้านบาท 106,551 ล้านบาท 260,712 ล้านบาท
รายได้รวม9 เดือนของปี 2564 132,020 ล้านบาท 103,177 ล้านบาท 59,855 ล้านบาท 163,032 ล้านบาท
กำไรสุทธิ9 เดือนของปี 2564 20,059 ล้านบาท – 1,483 ล้านบาท 3,185 ล้านบาท 1,702 ล้านบาท
งบประมาณการลงทุนของปี 2564(ไม่รวมคลื่นความถี่) 25,000-30,000 ล้านบาท N/A 13,000-15,000 ล้านบาท N/A
จำนวนคลื่นความถี่รวม คลื่น 700 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 60 MHz
คลื่น 2600 MHz จำนวน 100 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 1200 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1450 MHz
คลื่น 700 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 850 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2600 MHz จำนวน 90 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 800 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1020 MHz
คลื่น 700 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 10 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 200 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 330 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1350 MHz
ค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ทั้งหมด กว่า 200,000 ล้านบาท 170,000 ล้านบาท 83,000 ล้านบาท กว่า 250,000 ล้านบาท

 

แสดงให้เห็นว่าถ้าเกิดกระบวนการควบรวมเสร็จสิ้นกันแล้วจริงๆ ทั้ง 2 ค่ายรวมร่างกันอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ใช้ที่ผนวกรวมกันเป็น 51.3 ล้านเลขหมาย ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 แซงหน้า AIS ในทันที ขนาดที่ “ซิคเว่ เบรคเก้”ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ ได้กล่าวในงานแถลงข่าวถึงการควบรวมว่า

“บริษัทใหม่นี้จะมีรายได้กว่า 2 แสนล้านบาทมีส่วนแบ่งตลาดในแง่รายได้ราว 40% โดย AIS จะยังเป็นพี่ใหญ่ให้ทั้ง 2 บริษัท และเราก็ยังต้องเรียนรู้จาก AIS”


เหนือกว่ามูลค่า คือวิสัยทัศน์

นอกจากเรื่องของตัวเลขมูลค่าบริษัทที่สามารถบ่งบอกความเป็นผู้นำได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนมากกว่าก็คือ “วิสัยทัศน์” ของผู้นำนั่นเอง แน่นอนว่าหลายปีที่ผ่านมาการแข่งขันในตลาดดุเดือดมากแค่ไหน ผู้เล่นในตลาดต่างอัดงบลงทุนทั้งในเรื่องบริการ และการประมูลคลื่นอย่างหนักหน่วง เพื่อนำมาพัฒนาเครือข่ายให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด

AIS เองได้มองเห็นเทรนด์ และทรานส์ฟอร์มตัวเองสู่ความเป็น Digital Service Provider มาหลายปีแล้ว ไม่หยุดแค่การเป็นโอเปอเรเตอร์เครือข่ายมือถือ ในแต่ละปีได้อัดงบลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เทคโนโลยีขับเคลื่อนทุกภาคส่วน ทุกอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนประเทศ เห็นได้จากการเปิดตัวพาร์ทเนอร์อย่างไม่หยุดยั้ง ในปีนี้ AIS ได้ใช้งบลงทุนถึง 30,000 ล้าน เพื่อพัฒนาเครือข่าย และบริการให้ดีที่สุด

ต้องบอกว่าในประเทศไทยโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีคือสิ่งที่จำเป็นต่อการเติบโตในอนาคต ยังสร้างมูลค่าได้อีกมหาศาล ยังมีโอกาสที่ช่วยเสริมศักยภาพของภาคส่วนต่างๆ หรือแม้แต่การยกระดับประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในอนาคต

เป็นมุมมองที่กลับด้านกับนายใหญ่ของค่าย True ศุภชัยเจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้บอกว่า

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสนามการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตอนนี้อยู่ในจุดที่เพิ่มมูลค่าได้น้อยมาก ทรู และดีแทคมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจเพราะเรายังคงเป็นผู้ประกอบการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมเป็นหลักเราไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้บริโภค และประเทศไทยได้ ดังนั้นบทบาทใหม่ของเราคือการเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ในการสร้างเทคโนโลยีให้กับไทย”


แบรนด์ดิ้งชัด สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

แต่เดิมตลาดโอเปอเรเตอร์มีการแข่งขันของ 3 ค่ายอย่างชัดเจน แต่ละค่ายมี Identity ที่แตกต่างกัน มีการอัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า มีโปรแกรม CRM เพื่อรักษาลูกค้าให้เหนียวแน่น รวมไปถึงในเรื่องของการสร้างแบรนด์ การมีพรีเซ็นเตอร์เบอร์ใหญ่ ก็ยิ่งช่วยทำให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น

การทำการตลาดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้น แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถการันตีความสำเร็จในเรื่องการดำเนินงานได้อย่างดีก็คือรางวัลต่างๆ ที่ผ่านมา AIS ได้กวาดรางวัลอย่างต่อเนื่อง เช่น รางวัล “เครือข่ายมือถือ AIS 5G ที่เร็วที่สุดในไทย” 6 ปีซ้อน จาก Ookla®


AIS ไม่อยู่เฉย อัดโปรดึงลูกค้า

แน่นอนว่าทันทีที่ข่าวการควบรวมเป็นที่แน่ชัดแล้ว ทาง AIS ได้เทคแอคชั่นอย่างทันท่วงที ไม่ยอมเสียฐานลูกค้า และรีบหาลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในครอบครัว เรียกว่าเป็นโอกาสในวิกฤตนี้ก็ว่าได้ เพราะหลังจากข่าวนี้เริ่มมีเสียงแตกที่ว่า ถ้ามีการควบรวมกันจริงๆ ลูกค้า dtac บางคนอาจจะ “ย้ายค่าย”ก็เป็นได้ สะท้อนให้เห็นถึงแบรนด์ดิ้งได้อย่างชัดเจน

AIS ไม่รอช้าที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคด้วยการใช้จุดแข็งของจำนวนคลื่นความถี่ที่มีมากที่สุดพร้อมทั้งขยี้ด้วยแคมเปญ “อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด”

โดย AIS ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่กวาดเอาศิลปิน ดาราตัวท็อปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้มากเบอร์ต้นๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็น แต้ว ณฐพร, เต้ย จรินทร์พร, เจมส์ จิรายุ, เป๊ก ผลิตโชค, เวียร์ ศุกลวัฒน์, เบลล่า ราณี, น้องเทนนิส, แบมแบม กันต์พิมุกต์, ลิซ่า ลลิษา และ BNK48 เรียกว่าใครที่มีกระแสในช่วงนั้น AIS ไม่รอช้าที่จะคว้าตัวมาอยู่ในครอบครัวเดียวกันในทันที AIS ได้ปล่อยภาพเหล่าพรีเซ็นเตอร์เพื่อสื่อสารถึงความเป็น เบอร์ 1 เผยแพร่ลงในโซเชียลทุกช่องทาง โดยในทวิตเตอร์ก็ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว

ในแคมเปญนี้ไม่ใช่แค่ย้ำว่า อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด แต่ถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกันมันก็จะดียิ่งกว่า AIS จึงอัดโปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50% แถมใช้ฟรี 1 เดือน ส่วนโปร 5G ลด 25%

การควบรวมกันของ True และ dtac เป็นเพียงแค่ทางลัดที่ช่วยให้ยอดรวมผู้ใช้งานไล่ตาม AIS ได้ทันจนขึ้นแซงหน้า แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน จะเห็นได้ว่า การเป็นผู้นำในตลาดยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่สั่งสมมา จึงตอบคำถามที่ว่า แม้ยอดผู้ใช้จะมากว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเบอร์ 1 เสมอไป

]]>
1368471
เผยโฉมโลโก้ธนาคารใหม่ ‘ttb’ ทหารไทยธนชาต เปลี่ยนคอลเซ็นเตอร์เป็น 1428 https://positioningmag.com/1330936 Fri, 07 May 2021 06:35:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330936
หลังธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ประกาศควบรวมกิจการ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘ทหารไทยธนชาต’ หรือ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ มาวันนี้ถึงเวลาเผยโฉมโลโก้ใหม่ เป็น ‘ttb’ ผ่านช่องทางทั้งโซเชียลมีเดีย สาขา ตู้เอทีเอ็ม แอปพลิเคชัน และสื่อการตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกค้า

 

สำหรับชื่อย่อคือ ‘ttb’ (ทีทีบี) นั้นสื่อความหมายถึงการรวมพลังของสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว โดยอักษร t สีน้ำเงินตัวแรกมาจาก TMB (ทหารไทย) และ t สีส้มตัวที่สองมาจาก Thanachart (ธนชาต) ส่วนอักษร b สีกรมท่ามาจากคำว่า Bank (ธนาคาร) โดยจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จดทะเบียนจาก TMB เป็น TTB ต่อไป

ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ttbbankofficial ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ส่วนไลน์จะใช้ TTB Bank และเว็บไซต์ทางการใช้ชื่อว่า ttbbank.com

นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนหมายเลขคอนแทกต์เซ็นเตอร์ (Contact Center) จากหมายเลข 1558 และ 1770 ให้เป็นหมายเลขเดียวคือ ‘1428’ ส่วนเลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน 0-2299-1111 และที่อยู่สำนักงานใหญ่นั้น ‘ไม่มีการเปลี่ยนแปลง’

โดยลูกค้า TMB เเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้เช่นเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยเลขที่บัญชีและรหัสสาขายังคงเดิม ส่วนลูกค้าของธนาคารธนชาต จะแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า รวมทั้งขั้นตอนที่แนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องในการใช้บริการของทีเอ็มบีธนชาตต่อไป

คาดว่าทั้งสองธนาคารจะควบรวมกิจการ ‘เสร็จสมบูรณ์’ ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เตรียมเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละดำเนินงานร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL”

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563 ทีเอ็มบีธนชาต มีสินทรัพย์รวมกันราว 1.8 ล้านล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 1.39 ล้านล้านบาท เงินฝาก 1.37 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ารวมกันประมาณ 10 ล้านราย

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไป ttb นั้น ได้มีการทยอยโอนย้ายมาต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเมื่อพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงานของ TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน

อ่านเพิ่มเติม :  ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

]]>
1330936
SCGP คาดเป้าทะลุ 1 แสนล้าน ได้ปัจจัยหนุน “ฟู้ดเดลิเวอรี่-อีคอมเมิร์ซ” ช่วงไวรัสระบาด https://positioningmag.com/1329614 Wed, 28 Apr 2021 07:35:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329614
  • เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/64 รายได้โต 12% กำไรสุทธิโต 23%
  • ยังวางเป้ารายได้ 1 แสนล้านบาทในปีนี้ แม้เผชิญ COVID-19 ระลอกสาม เหตุเพราะฐานรายได้กระจายเสี่ยงในหลายประเทศ มีกลยุทธ์ M&P ควบรวมกิจการเสริมแกร่ง
  • “วิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 1/64 ของบริษัท ดังนี้

    – รายได้จากการขาย 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% YoY
    – EBITDA อยู่ที่ 5,267 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% YoY
    – กำไรสำหรับงวด 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% YoY

    โดยการเติบโตของรายได้และกำไรมาจากเศรษฐกิจอาเซียนบางประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน และกลยุทธ์การควบรวมกิจการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ บริษัท Go-Pak UK Limited ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารในสหราชอาณาจักร และบริษัท Bien Hoa Packaging Joint Stock Company หรือ SOVI ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษในประเทศเวียดนาม

    ผลประกอบการไตรมาสแรกของเอสซีจี แพคเกจจิ้ง มีส่วนที่น่าสนใจคือ “สัดส่วนแหล่งรายได้แยกตามประเทศ” เพราะรายได้จากประเทศไทยอยู่ที่ 49% เป็นครั้งแรกที่ลดต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือแบ่งเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ฯลฯ) สัดส่วน 40% ตามด้วยประเทศอื่นๆ อีก 11%

    วิชาญกล่าวว่า สัดส่วนรายได้ที่ลดลงของไทยและมีรายได้จากประเทศกลุ่มอาเซียนมาแทนที่ เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการจะบุกตลาดอาเซียนให้มากขึ้น

     

    ยังมองเป้า 1 แสนล้าน จากการ M&P และไลน์ผลิตใหม่

    ก่อนหน้านี้ SCGP เคยวางเป้าจะทำรายได้แตะ 1 แสนล้านบาทในปี 2564 ต่อประเด็นนี้ประกอบกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดระลอกสามในไทย “กุลเชษฏฐ์ ธาราจันทร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน SCGP ตอบประเด็นนี้ว่า เป้ารายได้ของปีนี้บริษัทน่าจะยังควบคุมได้เพราะมีปัจจัยภายในที่เอื้อต่อการทำรายได้

    ปัจจัยภายในดังกล่าวได้แก่ กลยุทธ์การควบรวมกิจการและเป็นพันธมิตร (Merger & Partnership) โดยปีนี้มีข้อตกลงการการเข้าถือหุ้น 70% ในบริษัท Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในประเทศเวียดนาม ซึ่งคิดว่าน่าจะเสร็จสิ้นช่วงกลางปีนี้ และจะเป็นแหล่งรายได้เพิ่มเติม รวมถึงยังมีดีลอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างเจรจาต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ ยังมีสายการผลิตใหม่ที่เพิ่มเข้ามา 4 ไลน์ ทั้งที่เริ่มเดินเครื่องแล้ว และที่จะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ เข้ามาเสริมรายได้ของบริษัท ได้แก่

    1) ไลน์ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูป วิซี่ แพคเกจิ้ง ประเทศไทย กำลังผลิต 347 ล้านชิ้นต่อปี เริ่มเดินเครื่องแล้ว มีนาคม 2564
    2) ไลน์ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ บริษัท Fajar อินโดนีเซีย กำลังผลิต 4 แสนตันต่อปี เริ่มเดินเครื่องแล้ว เมษายน 2564
    3) ไลน์ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ บริษัท UPPC-Paper ฟิลิปปินส์ กำลังผลิต 2.2 แสนตันต่อปี จะเริ่มเดินเครื่องไตรมาส 4/2564
    4) ไลน์ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบอ่อน พรีแพ็ค ประเทศไทย กำลังผลิต 53 ล้านตร.ม.ต่อปี จะเริ่มเดินเครื่องไตรมาส 4/2564

     

    บริษัทกระจายเสี่ยงหลายประเทศ

    อย่างไรก็ตาม SCGP มีปัจจัยภายนอกที่ต้องระวัง เช่น การระบาดซ้ำทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่บริษัทมีการกระจายความเสี่ยงด้านแหล่งรายได้ไปหลายประเทศอยู่แล้ว ทำให้ลดผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดได้

    “วิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP

    วิชาญกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ประเทศไทยอาจกำลังเผชิญการระบาดระลอกสาม แต่ในเวียดนาม (สัดส่วน 13% ในรายได้รวม) ยังไม่มีการระบาดซ้ำ ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์แม้มีการระบาดอย่างต่อเนื่องแต่รัฐยังควบคุมได้ ขณะที่ยุโรปปัจจุบันสถานการณ์เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ

    ขณะเดียวกัน บริษัทมองว่าเศรษฐกิจปี 2564 ยังเป็นไปในทิศทางบวกมากกว่าปี 2563 จะมีผลดีต่อกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม/สินค้าคงทน เช่น รถยนต์ ซึ่งบริษัทมีสัดส่วนรายได้แพ็กเกจจิ้งจากสินค้าเหล่านี้อยู่ 30% ส่วน 70% หลักเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่ม FMCG อาหาร เครื่องดื่ม

    เมื่อปี 2563 บริษัท SCGP ทำรายได้ไป 9.33 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 6,457 ล้านบาท ยังเติบโตได้ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 เกือบเต็มปี เพราะปีก่อนมีอานิสงส์จากการสั่งเดลิเวอรี่ อีคอมเมิร์ซ และการกักตุนสินค้าของผู้บริโภค

    ]]>
    1329614
    อัปเดตภารกิจ “ทีเอ็มบี – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง https://positioningmag.com/1291881 Mon, 10 Aug 2020 09:31:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291881 ภารกิจใหญ่ของทีเอ็มบีธนชาตที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ในไทย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา เเละเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” มาเป็นเวลา 6 เดือนวันนี้เราจะมาอัปเดตความคืบหน้าของดีลนี้กัน

    หลังผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 ที่กระทบธุรกิจทุกภาคส่วน ล่าสุดธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ยืนยันว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามเเผนเดิม ตามเป้าหมายที่จะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 

    สำหรับการดำเนินงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าล่าสุดของ ทีเอ็มบีธนชาต ในด้านการให้บริการลูกค้าได้เน้นไปที่การเชื่อมโยงการให้บริการในช่องทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น

    • ลูกค้าชำระบิลสินเชื่อรถยนต์ ประกันรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ของธนาคารธนชาต สามารถทำรายการดังกล่าวได้ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน TOUCH และตู้ ATM ของทีเอ็มบี (ยกเว้นสินเชื่อบ้าน และประกันรถยนต์) ได้เรียบร้อยแล้ว และในส่วนของลูกค้าทีเอ็มบี สามารถใช้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่าน TOUCH เพื่อรับเงินสดจากเครื่อง ATM ของธนชาตได้เช่นกัน

    • ลูกค้าทั้งสองธนาคารสามารถทำรายการ ฝาก ถอน และโอน ได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่าน ATM/ADM ทั้งของทีเอ็มบีและธนชาต กว่า 4,900 เครื่องทั่วประเทศ  เหมือนตู้ของธนาคารเดียวกัน
    • บริการสาขา ธนาคารได้เปิดตัว สาขาที่ให้บริการร่วม (Co-Location) ระหว่างทีเอ็มบี และธนชาต ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เเละสิ้นปี 2563 ตั้งเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 100 สาขา แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ ราว 60 สาขา และต่างจังหวัดอีก 30 สาขา โดยพนักงานทีเอ็มบีสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทั้งสินเชื่อรถยนต์ใหม่รถใช้แล้วและรถแลกเงินของธนชาตให้กับลูกค้าได้

    ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า การรวมกิจการของธนาคารทีเอ็มบีและธนาคารธนชาต ภายใต้ One Dream, One Team, One Goal เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่ากระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคาร จะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 

    เมื่อภารกิจการรวมธนาคารของเราสำเร็จเรียบร้อยทุกด้าน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่น ทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียนให้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการด้านการเงินใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” 

    สำหรับการ โอนย้ายพนักงาน กว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงาน มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ ตามเป้าหมายที่วางไว้ เเม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ หากมาพนักงานจากธนชาตมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบี ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้เช่นกัน

    อ่านต่อ : เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวมทีเอ็มบีธนชาต

    โดยผู้บริหารของธนาคารใหม่ได้ย้ายมาทำงานร่วมกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา มีการโอนย้ายพนักงานบางส่วนแล้ว เช่น กลุ่มผู้บริหารระดับสูง พนักงานระดับหัวหน้างาน และพนักงานส่วนปฏิบัติการ  

    สำหรับทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด โดยเมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น คาดว่าธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ 2 ล้านล้านบาท 

    ล่าสุด (25 ก.พ.2564) TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคารโดยธนาคารมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

     

    ]]>
    1291881
    อีสท์สปริงควบรวม บลจ.ธนชาต ขึ้นเป็น บลจ.ใหญ่อันดับ 4 ในตลาด ครองส่วนแบ่ง 12% https://positioningmag.com/1264273 Thu, 13 Feb 2020 09:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264273 อีสท์สปริงควบรวม บลจ.ธนชาต ผ่านการเข้าถือหุ้น 50.1% เปลี่ยนชื่อเป็น “Thanachart Fund Eastspring” ทำให้อีสท์สปริงขึ้นเป็น บลจ.ขนาดใหญ่อันดับ 4 ของไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 12% ระยะถัดไปเตรียมควบรวมบริษัทนี้เข้ากับ TMBAM Eastspring ด้าน “พรูเด็นเชียล” บริษัทแม่ ยืนยันให้ความสำคัญตลาดไทย ต้องการปักหลักระยะยาว

    อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ บริษัทจัดการการลงทุนภายใต้ กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล แถลงความคืบหน้าการเข้าซื้อหุ้นในกิจการ บลจ.ธนชาต ตามแผนงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยบริษัทเข้าซื้อหุ้นรวม 50.1% มูลค่ารวมประมาณ 4,208 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจากธนาคารธนชาตจำกัด (มหาชน) 25.1% และจากธนาคารออมสิน 25.0% และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Thanachart Fund Eastspring

    โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายนปี 2561 อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ ได้เข้าซื้อหุ้น 65% ใน บลจ.ทหารไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น TMBAM Eastspring ทำให้เมื่อควบรวม บลจ.ธนชาตเข้ามาในครั้งนี้ จะทำให้อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการสุทธิ (AUM) 6.68 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 12% หรือใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาด

    “นิค นิแคนดรู” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย กล่าวถึงการควบรวมเหล่านี้ว่า เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการรวมความเข้มแข็งของ บลจ.ทั้ง 2 ฝั่งมาสร้างการเติบโตและการบริการใหม่ๆ ช่วยให้บริษัทขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียได้ดีขึ้น

    โดยปัจจุบันอีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์มีการลงทุนในทวีปเอเชียทั้งหมด 11 ประเทศ บริษัทยังกล่าวด้วยว่า ใน 7 ประเทศของเอเชียที่ลงทุนอยู่ ตนเป็นผู้นำในธุรกิจจัดการการลงทุนอยู่ขณะนี้

    ด้าน “ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า เป้าประสงค์ของธนาคารคือต้องการให้การจัดการลงทุนเป็นสิ่งที่คนไทยชนชั้นกลางเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายขึ้น นั่นทำให้ธนาคารมีการเปิด open architecture และใช้เทคโนโลยี Smart Port ช่วยจัดพอร์ตลงทุน ส่วนการร่วมทุนกับอีสท์สปริงจะทำให้ธนาคารมีตัวเลือกการลงทุนทั่วโลกเพื่อนำมาใช้จัดพอร์ตกองทุน

    “ธุรกิจนี้ ความสำคัญคือขนาด เพราะต้นทุนต่อหน่วยจะถูกลง และเราต้องการให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและหลากหลาย” ปิติกล่าว ถึงเหตุผลของการควบรวมกับอีสท์สปริง “ปกติกฎหมายไทยเปิดกว้างให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ แต่คนไทยทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินล้านจะนำเงินออกไปลงทุนได้อย่างไร? เราจึงมองว่าความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์ให้คนไทยที่มีเงินหลักแสนหรือหลักหมื่นได้โอกาสลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำเช่นนี้”

    “ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี

    สำหรับการควบรวม Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring เป็นบริษัทเดียวนั้น จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปตามแผนที่วางไว้แล้ว แต่ขณะนี้ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันในรูปแบบพันธมิตร

    โดยบริษัทมีการเตรียมการแล้วผ่านการจัดตั้งทีมงานดูแลการควบรวมกิจการ 10 คน ตั้งกลุ่มผู้บริหารอาวุโสร่วมทั้งสองบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของสองบริษัทเป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้การควบรวมทุน คน สำนักงาน เป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่กระทบต่อลูกค้า

    ด้านความกังวลถึงสถานการณ์ตลาดที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียระยะนี้ ทั้งประเด็นอัตราดอกเบี้ยต่ำและไวรัสโคโรนามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะทำให้พรูเด็นเชียลชะลอการลงทุนออกไปหรือไม่ พรูเด็นเชียลยืนยันว่า แผนการลงทุนใน Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring ถือเป็นการลงทุน “ขนาดใหญ่” ของบริษัทแม่ และบริษัทมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการทำงานและต้องการปักหลักระยะยาว

    “พรูเด็นเชียลเราเริ่มการทำงานจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การอุบัติของไวรัส COVID-19 ยิ่งทำให้คนตระหนักถึงชีวิตและสุขภาพ การปกป้องตนเอง และการลงทุนมากขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้นเราไม่คิดจะชะลอการลงทุนในภูมิภาค แต่จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้นด้วย” นิคกล่าวย้ำ

    ]]>
    1264273