ค่ายมือถือ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 May 2019 04:01:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยื่นครบแล้ว!! 3 ค่ายมือถือแจ้งใช้สิทธิยืดหนี้จ่ายคลื่น 900 MHz https://positioningmag.com/1229171 Fri, 10 May 2019 04:21:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1229171 คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ขยายเวลาจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ออกไปเป็น 10 ปี โดยให้ทั้ง 3 ค่ายมือ TRUE DTAC AIS ที่ต้องการใช้สิทธิ จะต้องแจ้ง กสทช. ในวันที่ 10 .. 2562

TRUE บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น โดยบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่น 900 MHz ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงาน กสทช. ขอใช้สิทธิขยายเวลาจ่ายเงิน 10 ปี เมื่อวันที่ 9 .. 2562

แต่ในส่วนของการจะขอรับจัดสรรคลื่น 700 MHz TUC จะพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและดำเนินการอย่างเหมาะสมหลังมีความชัดเจน

วันนี้ (10 ..) DTAC ได้ยื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอรับสิทธิขยายระยะเวลาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ตามมาตรา 44 แล้ว

ส่วนการเข้ารับการจัดสรรคลื่น 700 MHz นั้น ดีแทคมีความเห็นว่าควรจะเลื่อนการจัดสรรออกไปจนกว่า กสทช.จะจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) ที่ชัดเจน ทั้งนี้ ดีแทคจะทำการศึกษาเงื่อนไขประกาศเชิญชวนและเผยแพร่เอกสารชี้ชวนการลงทุน (IM) ที่จะออกมาในช่วงเดือน .อีกครั้ง

AIS โดย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้ยื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอรับสิทธิขยายจ่ายค่าประมูลคลื่น 900 MHz แล้วเช่นกันวันนี้ แต่ขอพิจารณาหลักเกณฑ์รับจัดสรรคลื่น 700 MHz ซึ่ง กสทช. กำลังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดอีกครั้ง.

]]>
1229171
เปิด “10 ประเด็น” คำสั่ง คสช. มาตรา 44 “มือถือ-ทีวีดิจิทัล” ได้สิทธิอะไร https://positioningmag.com/1225286 Wed, 17 Apr 2019 11:48:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1225286 ประกาศคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยค่ายมือถือ “ทรู เอไอเอส และดีแทค” ขอผ่อนผันการชำระเงินค่าประมูลคลื่นจากเดิมกำหนดให้จ่าย 4 งวด 5 ปี ขณะที่ทีวีดิจิทัลขอให้นำคลื่น 700 MHz ที่กันไว้สำหรับทีวีดิจิทัลมาจัดสรรใหม่ และนำเงินมาเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น

วันนี้ (17 เม.ย.) ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เชิญผู้ประกอบการโทรคมนาคม ทีวีดิจิทัล และผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิทัล (MUX) มาชี้แจงรายละเอียดคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิต่างๆ

1.มือถือยื่นใช้สิทธิภายใน 10 พ.ค.นี้

มาตรา 44 แก้ปัญหากิจการโทรคมนาคม คือ การขยายเวลาจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz จากเดิม 5 ปี 4 งวด เป็น 10 ปี โดยต้องยื่นรับจัดสรรคลื่น 700 MHz

การใช้สิทธิตามคำสั่ง คสช. ค่ายมือมือจะต้องยื่นขอใช้สิทธิภายใน 30 วัน คือ ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 โดย กสทช.จะกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่น 700 MHz ทั้งจำนวนใบอนุญาตและราคา ออกมาในปลายเดือนพฤษภาคม 2562 หากค่ายมือถือที่ยื่นใช้สิทธิมาแล้วแต่ไม่พอใจกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว และไม่ขอรับการจัดสรรคลื่น 700 MHz สามารถทำได้ โดยให้กลับไปจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz ตามเงื่อนไขเดิม

2.เงื่อนไขนับเวลาจ่ายค่าประมูล 900 MHz  10 ปี

คำสั่ง คสช. กำหนดขยายเวลาจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz ให้ผู้ประกอบการมือถือ “ทรู เอไอเอส และดีแทค” จากเดิม 5 ปี จ่าย 4 งวด ขยายเวลาเป็น 10 ปีนั้น ใช้วิธีคำนวณจำนวนเงินประมูลของผู้ประกอบการแต่ละรายมาหาร 10 เพื่อกำหนดเป็นค่าเฉลี่ยการจ่ายเงินรายปีตลอดระยะเวลา 10 ปีของการขยายเวลา

โดยระหว่างปี 2559-2562 ที่ได้จ่ายเงินค่าประมูลไปแล้ว ค่ายมือถือที่จ่ายเงินไม่ครบตามค่าเฉลี่ยรวม 4 ปี จะต้องจ่ายให้ครบตามจำนวนในปี 2563 จากนั้นจ่ายตามค่าเฉลี่ยรายปีจนครบ 10 ปี

การนับเวลา 10 ปี สำนักงาน กสทช.ชี้แจงว่าเป็นการนับย้อนหลังตั้งแต่เริ่มจ่ายเงินปีแรก โดยทรูและเอเอไอส  ตั้งแต่ปี  2559-2568 ส่วนดีแทค ปี 2561-2570

3.จัดสรรคลื่น 700 MHz 7.5 หมื่นล้าน

สำหรับคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นการใช้งานในในฝั่งกิจการโทรทัศน์และจะนำมาจัดสรรใหม่ในกิจการโทรคมนาคม ตามมาตรา 44 ครั้งนี้ กำหนดให้เป็นการ “จัดสรรคลื่น” ให้ผู้ประกอบการมือถือ 3 ค่าย คือ ทรู เอไอเอส และดีแทค ที่ต้องการได้รับสิทธิขยายเวลาจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz

เบื้องต้น กสทช.กำหนดการจัดสรรคลื่น 700 MHz จำนวน 45 MHz ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคา 25,000 ล้านบาท จำนวน 3 ใบอนุญาต รวมมูลค่า 75,000 ล้านบาท เงื่อนไขจ่ายค่าใบอนุญาต 10 ปี

หลังหลักเกณฑ์การจัดสรรใบอนุญาต 700 MHz ออกมาในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ หากผู้ประกอบการโทรคมนาคมรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว กสทช.กำหนดให้ใบอนุญาต 700 MHz ในเดือนมิถุนายน 2562 โดยค่ายมือถือจะเริ่มจ่ายเงินค่าใบอนุญาต 700 MHz ในวันที่ 1 ตุลาคม 2563

กรณีค่ายมือถือ “ไม่ขอรับ” การจัดสรรคลื่น 700 MHz กสทช.จะนำคลื่นดังกล่าวไปประมูลใหม่ ให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่สนใจ

4.ได้เงินโทรคมฯ 2.78 แสนล้าน

จากคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่ออกมานี้ กสทช.สรุปการจ่ายเงินจากการประมูลคลื่น 900 MHz ของ 3 ค่ายมือถือ “ทรู เอไอเอส และดีแทค” 10 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2572 รวมมูลค่า 203,317 ล้านบาท และเงินที่ได้จากการจัดสรรคลื่น 700 MHz จำนวน 45 MHz อีก 75,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 278,317 ล้านบาท รวมแล้วรัฐได้เงินมากกว่าเดิม 40%

5. “ทีวีดิจิทัล” แจ้งคืนช่อง 10 พ.ค. ขอยกเลิกได้

ในฝั่งทีวีดิจิทัล คำสั่งมาตรา 44 กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถ “คืนช่อง” ได้โดยให้แจ้ง กสทช.ภายใน 30 วัน หรือภายในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ โดยคณะกรรมการฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยอีกครั้งในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากเปิดเผยหลักเกณฑ์แล้ว ทีวีดิจิทัลที่ไม่พอใจกับมูลค่าการชดเชย สามารถแจ้ง “ยกเลิก” คืนช่องได้

6.เปิดสูตรชดเชยทีวีดิจิทัล

สำหรับสูตรคำนวณเงินค่าชดเชยการ “คืนช่อง” ฐากรให้ตัวอย่างว่า ช่องทีวีดิจิทัล ที่ประมูลมาด้วยราคา 600 ล้านบาท ปัจจุบันจ่ายเงินค่าใบอนุญาตมาแล้ว 4 งวด รวม 400 ล้านบาท และใช้ใบอนุญาตไปแล้ว 5 ปี จากทั้งหมด 15 ปี

การคำนวณ คือ 400 (เงินที่จ่ายมาแล้ว) คูณ 5 (จำนวนปีที่ใช้ใบอนุญาต) หาร 15 (ระยะเวลาใบอนุญาตทั้งหมด) ได้เท่ากับ 133  ล้านบาท คือ มูลค่าใบอนุญาตแต่ละปี จากนั้นให้นำ 400 ลบ 133 เท่ากับ 267 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวเลขคร่าวๆ สำหรับทีวีดิจิทัลที่ต้องการ “คืนช่อง” จะได้รับชดเชย “หลักการชดเชย ทีวีดิจิทัลคืนช่อง คือ จะได้คืนไม่มากกว่าที่จ่ายมาแล้ว”

7.เรียกเก็บเงินงวด 4 จ่ายคืนงวด 5

ปัจจุบันมีทีวีดิจิทัลค้างจ่ายเงินค่าประมูลงวดที่ 4 จำนวน 17 ช่องป็นมูลค่า 3,215 ล้านบาท กลุ่มนี้จะต้องมาจ่ายเงินภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 หรือหากไม่มีเงินจ่ายสามารถจ่ายดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

โดยเงินประมูลงวดที่ 4 ที่ได้จาก 17 ช่อง จะนำไปจ่ายคืนให้กับทีวีดิจิทัล 3 ช่องที่ได้จ่ายเงินงวดที่ 5 มาแล้ว จำนวน 986 ล้านบาท คือ ช่อง 7 จำนวน 372 ล้านบาท, เวิร์คพอยท์ 395 ล้านบาท และสปริงนิวส์ 219 ล้านบาท

กรณีทีวีดิจิทัล 17 ช่อง มาจ่ายเงินไม่ครบตามจำนวนเงินที่ต้องคืน 3 ช่อง ที่ต้องจ่ายคืนงวดที่ 5 หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน กสทช.จะพิจารณาให้ช่องที่มีผลประกอบการต่ำสุดใน 3 ช่อง ได้เงินคืนเป็นลำดับแรก ส่วนเงินที่เหลือจากการคืนจะส่งคืนรัฐ 2,228 ล้านบาท 

8.สนับสนุนทีวีดิจิทัล 3.2 หมื่นล้าน

ตามคำสั่ง มาตรา 44 ได้กำหนดให้ “ยกเว้น” การเก็บเงินค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัล งวดที่ 5 และ 6 รวมมูลค่า 13,622 ล้านบาท

พร้อมทั้งกำหนดให้จ่ายเงินค่าโครงข่าย MUX ตลอดใบอนุญาตที่เหลืออยู่ โดย กสทช.จะเริ่มจ่ายค่าเช่า MUX ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ตลอดอายุใบอนุญาตทีวีดิจิทัล รวม 9 ปี 6 เดือน เป็นเงิน 18,775 ล้านบาท รวมเป็นที่ต้องจ่ายสนับสนุนทีวีดิจิทัล 32,397 ล้านบาท

ทั้งนี้ กรณีที่โครงข่าย MUX มีลูกค้าทีวีดิจิทัลใช้บริการลดลงจากการคืนช่อง หากโครงข่าย MUX หากมีการคืนใบอนุญาต MUX จะพิจารณาเงินชดเชยการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ MUX ด้วยเช่นกัน เพราะมีการคืนคลื่น 700 MHz เพื่อนำไปประมูลเช่นเดียวกับทีวีดิจิทัล

9.จ่ายเงินประเดิมทำเรตติ้ง

นอกจากนี้ กสทช.จะจ่ายเงินสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งให้กับทีวีดิจิทัลทุกราย ซึ่งมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคมองค์กรกลางเพื่อจัดทำเรตติ้ง ซึ่งจะจ่ายเงินประเดิมก้อนแรก 431 ล้านบาท  

10.สัดส่วนเหมาะสมคืน 7-8 ช่อง

หากประเมินทีวีดิจิทัล “คืนช่อง” ฐากรมองว่าจะอยู่ในระดับ 4-5 ช่อง ซึ่งค่าใบอนุญาตและค่าโครงข่าย ไม่ใช่ต้นทุนหลัก แต่มาจากต้นทุน “คอนเทนต์” หากทีวีดิจิทัลเห็นว่าไม่สามารถแข่งขันสร้างคอนเทนต์เพื่อหารายได้จากโฆษณาได้ ก็อาจตัดสินใจคืน โดยเฉพาะ “ช่องเด็ก” และ “ช่องข่าว”

“ทีวีดิจิทัลที่ต้องการคืนช่อง หลังมาแจ้งภายในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้แล้ว กระบวนการปิดช่องยุติออกอากาศคือวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เมื่อค่ายมือถือที่ได้รับจัดสรรคลื่น 700 MHz จ่ายค่าใบอนุญาตและเริ่มใช้งาน” 

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มองว่า การคืนช่องที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมน่าจะอยู่ที่ 7-8 ช่อง ซึ่งเอเยนซีโฆษณาจะจัดสรรงบโฆษณาอยู่ใน 10 ช่องแรกที่มีเรตติ้งสูงสุดเป็นหลัก ปัจจุบันช่องวาไรตี้ มีต้นทุนการผลิตคอนเทนต์เฉลี่ยช่องละ 1,000-2,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นการพิจารณาคืนช่องของทีวีดิจิทัล จึงดูที่ต้นทุนคอนเทนต์และโอกาสการหารายได้ในอนาคต

สำหรับ อสมท จะมีการประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาเรื่องการคืนช่องหรือไม่ในวันที่ 23 เมษายนนี้ และประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 25 เมษายนนี้

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1225286
กสทช. เคาะราคา ใบอนุญาตคลื่น 700 MHz 2.5 หมื่นล้าน ให้ 3 ค่ายมือถือขยาย 5G ดีเดย์ ทีวีดิจิทัลขอคืนคลื่น 10 พ.ค. https://positioningmag.com/1225265 Wed, 17 Apr 2019 09:59:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1225265 ส่วนผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่ต้องการขอคืนใบอนุญาตนั้น กสทช. แจ้งความต้องการขอคืนมาที่ กสทช.ภายใน 10 พฤษภาคมนี้ และจะมีการทำหลักเกณฑ์การชดเชยให้ด้วย

กสทช.เตรียมเปิดประมูลคลื่น 700 MHz ที่จะเรียกคืนมาจากกิจการทีวีดิจิทัล จำนวน 45 x 2 MHz ที่จะแบ่งเป็น 3 ใบอนุญาต ใบละ 15×2 MHz ภายในเดือนมิ.ย. 2562 นี้

จากการชี้แจงของ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ในการชี้แจงกับบรรดาผู้ประกอบการโทรคมนาคม และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิทัล ตามประกาศ คสช. 4/2562 ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคมและทีวีดิจิทัลนั้น

ในส่วนของกิจการโทรคมนาคมนั้น ฐากรกล่าวว่า ที่มาของคำสั่ง คสช.ฉบับนี้ มาจากการทำหนังสือร้องเรียนของทั้งผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้ง 3 ราย เอไอเอส ทรู และดีแทค และกลุ่มทีวีดิจิทัล ที่ทำไปยัง คสช.

โดย เอไอเอสและทรู ได้ทำหนังสือถึง คสช.เมื่อ 21 กันยายน 2560 ขอให้ยืดชำระการประมูลคลื่น 900 MHz ในงวดที่ 4 ที่เป็นงวดใหญ่วงเงินของเอไอเอส 63,774 ล้านบาท และทรู 64,433 ล้านบาท ในปี 2563 ออกไปอีก 7 งวด (ราคารวม VAT)

ในขณะที่ดีแทคส่งหนังสือถึง คสช.วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 ขอให้ยืดการจ่ายเงินค่าคลื่น 900 MHz เช่นกัน โดยวงเงินงวดที่ 4 ที่ต้องชำระในปี 2565 อยู่ที่ 32,126 ล้านบาท ให้แบ่งออกเป็นงวดๆ ออกเป็น 15 งวด

ส่วนผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลได้ส่งหนังสือ คสช. วันที่ 17 ตุลาคม 2560 เพื่อขอให้นำคลื่น 700 MHz ที่ทีวีดิจิทัลใช้งานอยู่ออกมาประมูลด้านโทรคมนาคม เพื่อนำเงินมาเยียวยาให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่ต้องย้ายย่านคลื่นออกไป

ตามคำสั่ง คสช. ได้ให้ผู้ประกอบการ 3 ราย เอไอเอส ทรู และดีแทค ที่จะให้มีการยืดการจ่ายเงินการประมูลคลื่น 900 MHz ทั้งหมด จากเดิม 4 งวด ออกเป็น 10 งวด โดยนำวงเงินที่แต่ละรายชนะการประมูลทั้งหมด มาแบ่งชำระเป็น 10 ปี ปีละเท่ากัน

ทำให้ ปี 2563 เอไอเอส จากเดิมที่ต้องจ่าย 63,744 ล้านบาท มาเป็นการจ่ายเงินทั้งหมด 22,269 ล้านบาท และอีก 5 ปีถัดไป จ่ายปีละ 8,095 ล้านบาท จนถึงปี 2568 (ราคารวม VAT)

ทรู จะลดการจ่ายจาก 64,433 ล้านบาท ในปี 2563 มาจ่ายรวม 23,614 ล้านบาท แทน และอีก 5 ปีที่เหลือถัดไป จะจ่ายปีละ 8,164 ล้านบาท จนถึงปี 2568

ส่วนดีแทค จะแตกต่างจาก 2 รายที่ประมูลคลื่นไปก่อน 2 ปี ดังนั้นตามคำสั่งนี้ ในปี 2563 และ 2564 ที่ดีแทคจะต้องจ่ายปีละ 2,151 ล้านบาท และปี 2565 ที่จะต้องจ่าย 32,126 ล้านบาท จะเปลี่ยนมาเป็น ปี 2563 จ่าย 7,917 ล้านบาท และอีก 7 ปีที่เหลือ จนถึงปี 2570 จะจ่ายปีละ 4,073 ล้านบาท

ทั้งนี้ ทั้ง 3 ค่าย จะต้องแจ้งหนังสืออย่างเป็นทางการเพื่อขอใช้สิทธิดังกล่าวภายในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องเข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz ที่จะมีการเรียกคืนจากธุรกิจทีวีดิจิทัล เพื่อนำมาประมูล 5G ด้วย

คลื่น 700 MHz จัดสรร 3 ค่ายมือถือ มิ.ย.นี้ ราคาคลื่นลดลงฮวบ 

ในส่วนของคลื่น 700 MHz ที่จะเรียกคืนจากทีวีดิจิทัลมาประมูล 5G นั้น กำหนดให้ใช้คลื่นในการประมูลทั้งหมด 45 เมก ซึ่งสามารถจัดสรรได้ 3 ใบอนุญาตๆ ละ 15 เมก

ฐากรกล่าวว่า ได้มีการประเมินคร่าวๆ ราคาคลื่น 700 MHz คือ จำนวน 5 เมก 6 พันล้านบาท 1 ใบอนุญาตมี 15 เมก คิดเป็นเงิน 25,000 ล้านบาท โดย 3 ผู้ประกอบการ จะได้ค่าคลื่นประมาณ 75,000 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าว มาจากราคาประเมินคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.เคยตั้งต้นไว้เมื่อปี 2558

จากข้อมูลราคาคลื่นที่ กสทช.เคยทำไว้เมื่อคราวเปิดประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งแรกในปี 2559 นั้น มีการระบุราคาตั้งต้นของราคาคลื่น 900 MHz จำนวน 10 เมก ไว้ที่ 12,864 ล้านบาท หรือราวเมกละ 1,286 ล้านบาท (ราคาไม่รวม VAT)

แต่ผลการประมูลครั้งนั้น มีการแข่งขันกันสูงมาก และจบลงด้วยราคา 76,298 ล้านบาท ของค่ายทรู และ 75,654 ล้านบาท ของค่าย แจส โมบาย ที่ภายหลังทิ้งการประมูล จน กสทช.ต้องไปขอให้เอไอเอสมาประมูลไปอีกครั้งเพียงรายเดียว ในราคาเดิม 75,654 ล้านบาท และมีการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz อีกครั้งในปี 2561 โดยที่ดีแทคได้คลื่นไป 5 เมก ในวงเงิน 38,064 ล้านบาท (ราคาไม่รวม VAT)

หากคำนวณราคาค่าคลื่นต่อเมก ที่เปิดประมูลไปแล้วคิดเป็น 1 เมก ราคาประมาณ 7,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาคลื่นที่สูงมาก จนนำมาสู่การร้องขอ คสช.ให้ช่วยเหลือ เพราะผู้ประกอบการโทรคมนาคมระบุว่า เป็นภาระหนักที่ทำให้ประสบความยากลำบากในการประกอบกิจการ และการเข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz ที่กสทช.จะเปิดประมูลรอบต่อไป

หากราคาตั้งต้นอยู่ที่ 5 เมก ประมาณ 6 พันล้าน ดังนั้นคลื่น 1 เมก จะมีมูลค่าประมาณ 1,286 ล้านบาทเท่านั้น เป็นราคาที่แตกต่างจากผลการประมูลคลื่น 900 MHz ถึงเกือบ 6 เท่า

ฐากรระบุว่า ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะเรียก 3 ค่ายมือถือมาเจรจาเรื่องการจัดสรรคลื่น 700 โดยจะเป็นการจัดสรรคลื่นแบบล่วงหน้า เพราะกว่าจะได้ใช้คลื่นต้องรอถึง 1 ตุลาคม 2563 ที่จะเป็นการจ่ายเงินค่าคลื่นในปีแรกของทุกราย โดยมีการกำหนดงวดการจ่ายไว้ 10 งวด 10 ปี ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปี 2572

ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการจัดสรรคลื่น 700 ทั้งหมดนี้จะนำไปผูกกับเงินค่าเยียวยาให้กับธุรกิจทีวีดิจิทัลทั้งระบบ ที่จะต้องสละย่านคลื่นนี้ไป

ทีวีดิจิทัล ได้เงินสนับสนุนรวมกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท

ตามประกาศ ม. 44 ระบุว่า ทีวีดิจิทัลทุกช่อง จะได้รับการ ยกเว้น” ไม่ต้องจ่ายเงินค่าประมูลใบอนุญาตทีวี 2 งวดสุดท้าย คืองวดที่ 5-6 เป็นวงเงินรวม 13,622.4 ล้านบาท โดยใช้เงินจากการประมูลคลื่น 700 มาจ่ายให้แทน

อย่างไรก็ตาม สำหรับทีวีช่องที่เหลือ 17 ช่อง ยังต้องมีภาระการจ่ายเงินตามคำสั่งคสช.ในปี 2559 ที่เปิดทางให้มีการผ่อนชำระค่าประมูลได้ โดยมีกำหนดชำระในวันที่ 8 ส.ค. 2562 เป็นเงินรวม 3,215.2 ล้านบาท หากไม่สามารถชำระได้ จะต้องจ่ายดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ส่วน 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง 7 ช่องเวิร์คพอยท์ และสปริงนิวส์ ที่ได้มีการจ่ายเงินประมูลไปแล้ว ในงวดที่ 5 เป็นเงินรวม 986.6 ล้านบาท จะมีการจ่ายเงินคืนให้แต่ละช่อง โดยพิจารณาตามผลประกอบการ รายที่ผลประกอบการไม่ดีจะได้รับการพิจารณาจ่ายคืนให้ก่อน

โดยที่สปริงนิวส์ ได้ชำระเงินงวดนี้ให้ กสทช.ไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 219.6 ล้านบาท ตามด้วยเวิร์คพอยท์ 395 ล้านบาท และช่อง 7 372 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนในการจ่ายค่าเช่าโครงข่าย หรือ MUX รวมมูลค่า 18,775 ล้านบาท ในระยะเวลา 9 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 เป็นต้นไป เป็นการต่อเนื่องจากคำสั่ง คสช.เดิม ที่ให้ความช่วยเหลือจ่ายค่า MUX ให้ไปถึงสิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2563

รวมมูลค่าการให้ความช่วยเหลือจากการไม่ต้องจ่ายค่าประมูล 2 งวดสุดท้าย และค่าเช่าโครงข่าย MUX นี้อยู่ที่ประมาณ 32,437.4 ล้านบาท

ส่วนผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่ต้องการขอคืนใบอนุญาตนั้น กสทช. แจ้งความต้องการขอคืนมาที่ กสทช.ภายใน 10 พฤษภาคมนี้ และจะมีการทำหลักเกณฑ์การชดเชยให้ด้วย

พร้อมจ่าย 431 ลบ. ให้ทำทีวีเรตติ้ง 

นอกจากนี้ คำสั่ง คสช.ยังสนับสนุนในการจัดสรรเงินในการทำ “เรตติ้ง” ทีวี ตามทีกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเคยร้องขอเงินสนับสนุนมาก่อนหน้านี้ โดยงวดแรกอยู่ที่ 431 ล้านบาท กสทช.ก็พร้อมจัดสรรให้ แต่ต้องรอเงินจากการประมูลคลื่น 700 ก่อน และ กสทช.ได้ชี้แจงกับผู้ประกอบการไว้แล้วว่า จะให้การสนับสนุนเมื่อผู้รับใบอนุญาตทุกราย รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อทำเรตติ้ง

ทั้งนี้ กสทช.จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาทั้งหมด 8 ชุด เพื่อเตรียมงานเรื่องนี้ทั้งหมด และทำความเข้าใจกับสาธารณะ ตั้งแต่คณะทำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรคลื่น 700, การทำหลักประกันการจ่ายค่างวดประมูลใหม่, การชดเชยกลุ่มทีวีดิจิทัล และคณะทำงานเรื่องการจ่ายเงินสนับสนุนค่าทำเรตติ้ง และกองทุน กสทช.

]]>
1225265
ชำแหละ คสช. ผ่าทางตัน อุ้มค่ายมือถือ-ช่วยทีวีดิจิทัล รับเทศกาลสงกรานต์ https://positioningmag.com/1224738 Thu, 11 Apr 2019 11:38:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1224738 หลังจากมีข่าวลือมาเป็นเวลานาน ในที่สุด วันนี้ (11 เมษายน 2562) คสช. ก็ออกคำสั่ง 4/2562 ช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคม และทีวีดิจิทัลมาในฉบับเดียวกันเบ็ดเสร็จ โดยยืดการจ่ายเงินประมูลก้อนโตของค่ายมือถือ เอาไปผูกกับเงื่อนให้ประมูลคลื่น 700 MHz ของทีวีดิจิทัล เพื่อเอาไปทำ 5G พร้อมชดเชยค่าเสียคลื่นให้กับทีวีดิจิทัล

หัวใจสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ การรวมการแก้ปัญหาใหญ่ของวงการโทรคมนาคม และวงการทีวีดิจิทัลทั้งระบบแบบเบ็ดเสร็จ จึงทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าให้ความช่วยเหลือค่ายโทรคมนาคมมากเป็นพิเศษด้วย

ปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม คือ ภาระการจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz ที่มีกำหนดจ่ายในปี 2563 เป็นวงเงินรวมกัน 3 รายทั้งหมดประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นจากทรูและเอไอเอสรายละ 6 หมื่นล้านบาท และดีแทค 2 หมื่นล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการประมูลคลื่นราคาสูงมาก จนทำให้ผู้ประกอบการบางรายมีแนวโน้มว่า จะไม่สามารถจ่ายเงินประมูลในปีหน้าได้

ส่วนปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล คือ การมีช่องจำนวนมากไป มูลค่าตลาดโฆษณาลดลง และการที่หน่วยงานรัฐเอาช่วงเวลาของช่อง โดยเฉพาะช่วงไพรม์ไทม์ของคืนวันศุกร์ และตอนเย็น 6 โมงเย็นไปใช้ ตั้งแต่เกิด คสช. จนทำให้หลายช่องเริ่มไปไม่ไหว ร้องขอความช่วยเหลือจาก กสทช. ให้ยื่นมือเข้ามาช่วยลดการจ่ายเงินค่าประมูล และสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ

ทั้งสองปัญหาของโทรคมนาคมและทีวีดิจิทัล มาผูกโยงกันด้วย แนวความคิดการเรียกคืนคลื่น 700 MHz ที่เป็นคลื่นที่ทีวีดิจิทัลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็นคลื่นที่มีมูลค่าทางกิจการโทรคมนาคม ในการให้บริการ 5G ที่ กสทช.เริ่มไอเดียเรียกคืนคลื่นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนกลายเป็นที่มาของประกาศฉบับนี้

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้เรียกแถลงข่าวด่วน หลังจากมีประกาศ คสช.ออกมา โดยชี้แจงว่า ประกาศฉบับนี้ นับว่าเป็นการ Set Zero ของวงการโทรคมนาคม และหาทางออกให้กับกิจการทีวีดิจิทัล

“นี่เป็นการแก้ปัญหาราคาประมูลคลื่นสูงเกินไป เพราะคลื่น 700 ที่จะประมูลต่อไป เป็นคลื่นย่านต่ำเช่นเดียวกับคลื่น 900 หากใช้แนวทางราคาประมูลของคลื่น 900 มาประมูลต่อ ราคาก็จะสูงเกินไปอีก ซึ่งประกาศฉบับนี้ มาช่วยให้ กสทช.ได้ใช้วิธีการประมูลคลื่น โดยกำหนดราคา Resonable ตามราคาตลาดได้มากขึ้น” 

ประกาศระบุว่า มีการยืดอายุการจ่ายเงินงวดใหญ่ในปีหน้าของ 3 ค่ายมือถือ โดยมีเงื่อนไขว่า ทั้ง 3 ราย จะต้องเข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz ที่เรียกคืนมาจากทีวีดิจิทัล จำนวน 45 เมก โดย กสทช.จะนำเงินที่ได้จากการประมูลคลื่น 700 นี้มาจ่ายชดเชยให้กับธุรกิจทีวีดิจิทัล

ประโยชน์ที่ธุรกิจ 3 ค่ายมือถือได้รับเต็มๆ คือ ได้ผ่อนคลายเงื่อนไขการจ่ายเงินประมูลคลื่นจากเดิมผ่อนจ่าย 4 งวด ออกไปเป็น 10 งวด โดยจะแบ่งจ่ายปีละจำนวนเท่ากันจากราคาที่แต่ละรายประมูลมาได้ เช่นกรณีทรู ที่ประมูลคลื่น 900 มาในราคา 76,298 ล้านบาท จ่ายไปแล้ว 3 งวด งวดแรก 8,040 ล้านบาท และ งวดที่ 2 และ 3 งวดละ 4,020 ล้านบาท ก็จะได้เงื่อนไขในการจ่ายเป็นปีละ 7,629.8 ล้านบาทแทน เป็นเวลา 10 ปี

ดังนั้นเมื่อมาคำนวณจากเงินที่จ่ายไปแล้ว 3 งวด และเงินที่จะต้องจ่ายเพิ่มในบางปี ทำให้งวดที่ 4 ในปี 2563 เดิมที่จะต้องจ่าย 6 หมื่นล้านบาท มาจ่ายที่ 22,384 ล้านบาท และหลังจากนั้นอีก 6 งวดที่เหลือ จะจ่ายเพียงปีละ 7,629.8 ล้านบาทเท่านั้น

ราคาประมูลคลื่น 700 รีเซตใหม่ ไม่แพง คาดประมูล มิ.ย.นี้

ฐากร ยังบอกด้วยว่า กสทช.จะมีการเตรียมการประมูลคลื่น 700 ภายในเดือน มิ.ย.นี้ โดยจะเป็นการประมูลล่วงหน้า เพราะกว่าคลื่นจะพร้อมใช้งานได้ต้องรอประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปี 2563

ทั้งนี้ราคาตั้งต้นที่จะมาประมูลจะไม่แพงมากเหมือนกรณีคลื่น 900 อีกอย่างแน่นอน เพราะนี่คือการ Set Zero สร้างกติกาใหม่จาก คสช. ทำให้ราคาประมูลสมเหตุสมผลมากขึ้น และจากจำนวนคลื่นที่มีอยู่จำนวน 45 เมก กสทช.สามารถแบ่งรูปแบบการประมูลได้เป็นแบบใบละ 5, 10 หรือ 15 เมก ก็ได้ ซึ่งจะต้องรอคณะทำงานสรุปในเร็วๆ นี้

ประกาศระบุชัดว่า หากค่ายมือถือไม่ยอมเข้าประมูลคลื่น 700 ก็จะไม่ได้สิทธิในการยืดการชำระการจ่ายนี้ โดยที่เงินที่ได้จากการประมูลคลื่น 700 จะนำไปชดเชยให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล

ทีวีดิจิทัลเฮ ไม่ต้องจ่ายเงินค่าประมูล 2 งวดสุดท้าย 1.3 หมื่นล้านบาท 

สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ทั้งเจ้าของช่อง และเจ้าของเครือข่าย หรือ MUX จะเป็นสองกลุ่มหลักที่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการนี้

โดยกลุ่มทีวีดิจิทัล 22 ช่อง จะไม่ต้องจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิทัล ที่มีกำหนดจะต้องจ่ายในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นงวดที่ 5 และงวดที่ 6 ในปี 2563 ที่เป็นสองงวดสุดท้ายอีกต่อไป เป็นมูลค่ารวม 13,622 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม มี 3 ช่องที่มีการจ่ายเงินประมูลบางส่วนไปแล้ว ได้แก่ ช่อง 7 เวิร์คพอยท์ และสปริงนิวส์ กสทช.ก็จะมีคืนเงินดังกล่าวให้กับแต่ละช่อง

อีกกลุ่มคือผู้ประกอบการโครงข่าย หรือ MUX ซึ่งขณะนี้มี 4 ราย คือ ททบ.5, อสมท, ไทยพีบีเอส และกรมประชาสัมพันธ์ ที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เข้ากับย่านคลื่นใหม่ ก็จะได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช.เช่นกัน

ทั้งนี้เงินทั้งหมดนี้ จะได้รับเงินจากกองทุน กสทช. ในกรณีที่ยังไม่ได้เงินจากการประมูลคลื่น

เปิดทางให้คืนช่อง พร้อมจ่ายชดเชย 

ประกาศฉบับนี้ ยังเปิดทางให้เจ้าของช่องทีวีดิจิทัลบางราย ที่ไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้แล้ว ขอแจ้งความจำนงคืนช่องได้ โดยจะต้องแจ้งมาที่ กสทช.ภายใน 30 วัน นับจากประกาศฉบับนี้ และ กสทช.จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเงินค่าชดเชยให้ด้วย

ฐากรระบุว่า เงินชดเชยนั้น จะพิจารณาจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ได้เคยจ่ายมาแล้ว แต่จะไม่คืนเต็มจำนวน

คาดว่าจะมีผู้เสนอขอคืนช่องประมาณ 4-5 ราย การเปิดทางให้คืนช่อง เพื่อให้ตลาดนี้มีจำนวนช่องน้อยลง ให้เหมาะสมกับตลาดโฆษณา และทำให้ทุกรายที่ทำต่อ อยู่รอดได้ ฐากรกล่าว

ทั้งนี้แหล่งข่าวในวงการทีวี ระบุว่า มีช่องที่พร้อมจะคืนช่อง ได้แก่ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่องสปริงนิวส์ ที่เคยแจ้ง กสทช.มาแล้วก่อนหน้านี้

โดย กสทช.จะเรียกผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล 22 ช่องและผู้ประกอบการโทรคมนาคม คือ 3 ค่ายมือถือ เข้าพบในวันที่ 17 เมษายน เพื่อประสานงานรายละเอียด

หนุนทำเรตติ้งทีวีดิจิทัลรายใหม่ 

นอกจากนี้ประกาศ คสช.ฉบับนี้ ยังเปิดทางให้สำนักงาน กสทช.จัดสรรเงินสำหรับทำทีวีเรตติ้งจำนวนหนึ่ง ในกรณีที่มีการรวมตัวกันตั้งองค์กรกลางเพื่อทำทีวีเรตติ้งด้วย โดยที่ยังไม่ได้ระบุเป็นวงเงินเท่าไร

ก่อนหน้านี้กลุ่มช่องทีวีดิจิทัลได้พยามร้องของบประมาณจาก กสทช.ในการทำระบบการวัดเรตติ้งรายใหม่ เพื่อแข่งกับ “นีลเส็น” ที่เป็นรายเดียวของตลาดทีวีในไทย แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ.

]]>
1224738
3 ค่ายมือถือ เตรียมทุ่มลงทุนกว่า 8 หมื่นล้านบาท ขยายเครือข่ายบริการ ชิงลูกค้า หลังทรูโกยลูกค้าทำยอดมือถือโต 7.3% https://positioningmag.com/1217031 Thu, 28 Feb 2019 23:07:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1217031 จากผลประกอบการ 3 ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของไทย ทั้งเอไอเอส, ดีแทค และทรู ที่ทยอยแจ้งผลประกอบการปี 2561 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ค่ายทรูรายงานการเติบโตสูงสุดสวนทางตลาด โดยเฉพาะรายได้จากบริการมือถือโตถึง 7.3%  

สำหรับรายการได้เฉพาะบริการมือถือของทั้ง 3 ค่ายนั้น กลุ่มทรูระบุว่ามีรายได้ในส่วนนี้อยู่ที่ 72,829 ล้านบาท เติบโต 7.3% มียอดผู้ใช้บริการ 29.2 ล้านราย เพิ่มขึ้นทั้งปี 2 ล้านราย ซึ่งทรูได้ชี้แจงว่า เป็นการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมเป็นปีที่ติดต่อกัน เทียบกับการหดตัวรวม 0.1% ของผู้ให้บริการรายใหญ่รายอื่นรวมกัน สาเหตุของการเติบโตมาจากการเข้าไปเจาะตลาดขยายฐานลูกค้าในกลุ่มต่างๆ ได้มากขึ้น  

ในขณะที่เอไอเอส มียอดเติบโตเพียง 1.3% โดยมีรายได้รวม 124,601 ล้านบาท จากจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด 41.196 ล้านราย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดนี้ โดยมียอดผู้ใช้เพิ่ม 1.113 ล้านราย โดยที่ 72% ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาจากระบบรายเดือน ทั้งนี้เอไอเอสระบุว่าสาเหตุที่ยอดเติบโตไม่สูงมาก เพราะยังคงมีแรงกดดันจากการแข่งขันทางด้านราคา จากภาพรวมการแข่งขันของปี 2561 ที่ผู้ให้บริการทุกรายเน้นมาแข่งกันนำเสนอแพ็กเกจแบบใช้งานไม่จำกัดด้วยความเร็วคงที่ ที่ทำให้รายได้จากการให้บริการลดลงมาก แต่ก็ได้มีหยุดการให้บริการแพ็กเกจดังกล่าวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ไปแล้ว  

ส่วนดีแทคมีรายได้ส่วนนี้ลดลง จาก 64,821 ล้านบาท ลดลง 2.8% มาอยู่ที่ 63,014 ล้านบาท เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้บริการรวม 21.1 ล้านราย ลดลง 1.45 ล้านราย โดยที่ดีแทคให้เหตุผลว่า ปีที่ผ่านมานั้น รายได้จากการให้บริการของบริษัทยังคงได้รับผลกระทบจากการแข่งขันในตลาดที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความไม่แน่นอนในประเด็นเรื่องการหมดอายุสัญญาสัมปทานได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน 

เอไอเอส ทรู กำไร ดีแทคขาดทุน 

จากตัวเลขผลประกอบการโดยรวมแล้ว เอไอเอสมีรายได้รวมของทุกธุรกิจสูงสุด โดยมีรายได้รวมอยู่ที่ 169,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7% เทียบกับปีก่อน จากการเติบโตของรายได้การให้บริการ การรวมรายได้ของ CSL จากการควบรวมกิจการ และรายได้ค่าเช่าเครื่องและอุปกรณ์จากการเป็นพันธมิตรกับทีโอที  

ทำให้เอไอเอสมีกำไรทั้งปีอยู่ที่ 28,682 ล้านบาท ลดลงจากรายได้รวมทั้งปี 2560 ที่อยู่ที่ 30,077 หรือลดลง 1.3%  

ในขณะที่ทรูมีรายได้รวมอยู่ที่ 162,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.2% จากปี 2560 ที่มีรายได้อยู่ที่ 141,290 ล้านบาท โดยที่ทรูระบุว่า ปี 2561 เป็นปีแรกที่มีรายได้เฉพาะจากค่าบริการทั้งหมดเกินแสนล้านบาทเป็นปีแรก โดยมีรายได้รวมส่วนนี้อยู่ที่ 101,788 ล้านบาท จากที่ปี 2560 มีรายได้รวมอยู่ที่ 97,025 ล้านบาท เป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจมือถือ และบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต  

ทั้งนี้สัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่ 68.6% มาจากธุรกิจมือถือ, 25% มาจากทรูออนไลน์ ที่รวมถึงบริการบรอดแบนด์ด้วย และ 6.4% มาจากทรูวิชั่นส์ ทำให้ทรูมีผลกำไรจากการดำเนินงานทั้งปี อยู่ที่ 7,035 ล้านบาท 

ส่วนดีแทคมีรายได้รวมทั้งปีอยู่ที่ 74,980 ล้านบาท ลดลง 4.2% จากปีก่อน โดยมีปัจจัยจากรายได้จากการให้บริการและรายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ที่ลดลง มีค่าใช้จ่ายในการโรมมิ่งบนคลื่น 2300 MHz กับทีโอที ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิ 4,369 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อการระงับข้อพิพาทกับ กสทซึ่งดีแทคได้สรุปกับ กสท.ไปเมื่อ 10 ..ที่ผ่านมา โดยที่ดีแทคจะต้องจ่ายเงินให้กับ กสท.เพื่อระงับข้อพิพาทในวงเงิน 9,510 ล้านบาท  

บรอดแบนด์เติบโตต่อเนื่อง  

ในส่วนของบริหารบรอดแบนด์จากเอไอเอสและทรู ต่างมียอดเติบโตสูงทั้งคู่ โดยที่ทรูมียอดสมาชิกเพิ่มขึ้น 332,000 ราย ทำให้มียอดรวมอยู่ที่ 3.5 ล้านราย ส่วนเอไอเอส มียอดลูกค้ารวมทั้งปีอยู่ที่ 7.3 แสนรายแล้ว โดยเพิ่มขึ้นกว่า 2 แสนราย

วางเป้าปี 2562 แข่งขยายเครือข่าย ชิงลูกค้าเดือด 

สำหรับแผนงานของแต่ละบริษัทในปี 2562 นี้ เอไอเอสระบุว่า มีแผนใช้งบลงทุนขยายเครือข่าย 4G อยู่ที่ 20,000-25,000 ล้านบาท และงบสำหรับขยายธุรกิจบรอดแบนด์อยู่ที่ 4,000- 5,000 ล้านบาท และคาดการณ์การเติบโตไม่มากนัก ในระดับเลขตัวเดียวเท่านั้น  

ในขณะที่ทรูนั้นระบุว่า แผนงานปี 2562 จะเน้นการขยายธุรกิจดิติทัลแพลตฟอร์ม และตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้จากการให้บริการโดยรวมในอัตราเลขหนึ่งหลักช่วงกลางถึงช่วงปลาย (mid to high single-digit growth) ซึ่งคาดว่าจะยังทำกำไรได้ในปี 2562 ทั้งนี้ กลุ่มทรูคาดว่าจะใช้งบลงทุน ไม่รวมการชำระค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ในช่วงระดับ 4 หมื่นล้านบาท 

ส่วนดีแทค ระบุว่า ปี 2562 คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในช่วง 13,000 ถึง 15,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้น.

]]>
1217031
5 ค่ายมือถือเซ็น MOU หนุนแอป SME D Bank อุ้มเอสเอ็มอีไทย https://positioningmag.com/1190238 Fri, 28 Sep 2018 11:05:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1190238 ดีแทค เอไอเอส ทรู กสท. และบีโอแอล ตอบรับเซ็นบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ ธพว. ร่วมโปรโมตแอปพลิเคชัน SME D Bank ที่มียอดดาวน์โหลดแล้ว 15,000 ครั้งในช่วงเริ่มเปิดให้บริการ 1 เดือน คาดปลายปีนี้ยอดดาวน์โหลดเพิ่มเป็น 1 แสนครั้ง บนจุดเด่นศูนย์กลางบริการครบวงจรเพื่อเอสเอ็มอีไทย จัดเต็ม 2,000 คลังข้อมูลความรู้พร้อมช่องทางสู่ 140 แอปพลิเคชันพันธมิตร ตั้งเป้าหนุนเอสเอ็มอีกู้ง่าย 2 หมื่นล้านบาทครึ่งหลังปีนี้

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.หรือ SME Development Bank) ประเมินว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายเล็กกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือในขณะนี้ ทำให้ ธพว.เกิดแนวคิดนำเทคโนโลยีมาเสริมเพื่อให้เอสเอ็มไทยสามารถเข้าถึงได้ด้วยปลายนิ้ว ทั้งหมดนี้ดำเนินการบนหลักการ “เติมทุนคู่ความรู้” พื่อให้เอสเอ็มอีสามารถอยู่รอด โดยจะเสริมด้วยบริการเคลื่อนที่ของ ธพว. คู่กันไป

แอปพลิเคชัน SME D Bank ทำให้เราทำงานได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา เรายินดีมากที่มีเอสเอ็มอีบางรายขอสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชันเราตอนตี 2 และตี 4″ มงคลกล่าว “ตั้งแต่แอปพลิเคชันพร้อมให้บริการบนระบบแอนดรอยด์และไอโอเอสเมื่อ 15 สิงหาคม ยอดการดาวน์โหลดล่าสุดเกิน 15,000 ครั้งแล้ว มีการยื่นคำขอสินเชื่อเกิน 1,200 ล้านบาทบนแพลตฟอร์มนี้อย่างเดียว”

การเซ็น MOU ครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการนี้ที่เริ่มจุดพลุไปแล้วเมื่อกลางปี 2561 เนื้อหา MOU ที่เกิดขึ้นคือการร่วมมือระหว่าง 5 ค่ายโอเปอเรเตอร์และผู้ให้บริการ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เอสเอ็มอีรู้จักแอปพลิเคชัน SME D Bank มากขึ้น คาดว่าความร่วมมือนี้จะได้ผลเป็นรูปธรรม เพราะเอสเอ็มอีทุกระดับที่คาดว่ามีจำนวนรวมเกิน 5 ล้านราย ล้วนเป็นลูกค้าของโอเปอเรเตอร์ทั้ง 5 รายนี้ซึ่งมีฐานลูกค้ารวมมากกว่า 90 ล้านเลขหมาย

นอกจาก 5 ค่ายใหญ่ ยังมีสตาร์ทอัปผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเพื่อเอสเอ็มอียุคใหม่อีกกว่า 140 รายที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้ ส่งให้ SME D Bank ถูกเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มเพราะเป็นประตูสู่ 140 บริการ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของบริการ “เครื่องมือเสริมแกร่งธุรกิจ” หรือ Tools Box ในแอปพลิเคชัน

แอปพลิเคชัน SME D Bank ยังอาสาเป็นศูนย์กลางรวมทุกข้อมูลที่เอสเอ็มอีไทยควรรู้ โดยเพิ่มส่วน “คลังข้อมูลความรู้” ไว้ภายในเพื่อรวมข่าวสาร ข้อมูลสถิติ บทความ วิดีโอ และอินโฟกราฟิกกว่า 2,000 องค์ความรู้ จุดนี้มงคลมั่นใจว่าจะสามารถสร้างสังคมผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นบนแอป SME D Bank ได้

ในอนาคต แพลตฟอร์ม SME D Bank จะเติมเต็ม 4 เรื่องใหญ่ 1 คือเราจะเพิ่มระบบจองสัมมนา งานสัมมนาอีกหลายร้อยงานในเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นแหล่งความรู้ให้เอสเอ็มอีไทยได้ดี 2 คือระบบที่ปรึกษา เราจะรวมผู้เชี่ยวชาญ 1,000 คนมาร่วมตอบคำถามเอสเอ็มอีให้แก้ปัญหาได้รวดเร็ว ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป 3 คือระบบเชิญเป็นกลุ่ม ผ่านสมาคมหรือสมาพันธ์อาชีพต่างๆ จุดนี้จะเป็นบันไดให้เราขยายฐานผู้ใช้แพลตฟอร์มเป็น 1 แสนรายได้ในปีนี้ 4 คือเราจะสร้างสังคมผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายระหว่างกัน ถือเป็นเป้าหมายที่จะต่อยอดเอสเอ็มอีไทยได้อย่างยั่งยืน” มงคลระบุว่าเฟส 2 ของโครงการจะเริ่มต้นในตุลาคมนี้

ความรู้ต้องคู่เงินทุน

ไม่เพียงความรู้ แอปพลิเคชัน SME D Bank ยังมีเป้าหมายให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำของ ธพว.ได้ โดยเอสเอ็มอีสามารถขอสินเชื่อผ่านแอป SME D Bank ให้หน่วยบริการเคลื่อนที่ของ ธพว. เข้าตรวจสอบพิจารณาสินเชื่อได้โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันและรู้ผลได้ใน 7 วัน

บริการเคลื่อนที่ของ ธพว. มีชื่อย่อว่า รถม้าเติมทุนฯจุดนี้ ธพว.ย้ำว่าเมื่อผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ ข้อมูลจะส่งมายังฐานข้อมูลทันที และภายใน 3 วัน เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายให้หน่วยรถม้าเติมทุนฯ เดินทางเข้าไปพบที่หน้าร้าน จุดนี้มงคลย้ำว่าขั้นตอนการขอสินเชื่อแบบไม่ต้องมีหลักประกันเช่นนี้ไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารได้พบผู้ประกอบการตัวจริง ทำให้ความเสี่ยงลดลง

มงคลย้ำอีกว่าหน่วยบริการเคลื่อนที่นี้เป็นผลจากการปรับรูปแบบการทำงานของธนาคารเป็นรหัส 887 คือตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่มตลอด 7 วัน ซึ่งเมื่อรวมกับแพลตฟอร์ม SME D Bank เชื่อว่าจะสามารถให้บริการสินเชื่อกับเอสเอ็มอีได้มากกว่า 20,000 ล้านบาทในช่วง 4 เดือนปลายปี 2561

ครึ่งปีแรกที่ผ่านมามียอดสินเชื่อ 17,000 ล้านบาท เป็นการยื่นคำขอที่สาขา อีก 4 เดือนคาดว่าจะมี 20,000 ล้านบาทที่เป็นการขอสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์ม SME D Bank ทั้งหมด รวมทั้งปีสินเชื่อเอสเอ็มอีปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 37,000 ล้านบาท”

อีกจุดที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์ม SME D Bank จะกลายเป็นระบบหลักสำหรับการขอสินเชื่อของ ธพว. เนื่องจากกระบวนการขอสินเชื่อของธนาคารตั้งแต่ ก.ค. 61 ที่ผ่านมาล้วนย้ายไปดำเนินบนแพลตฟอร์ม SME D Bank ทั้งหมด ซึ่งหากมีเอสเอ็มอีเดินทางมาที่สาขาของธนาคาร เจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการผ่านแพลตฟอร์ม ดังนั้นสัดส่วนการขอสินเชื่อของ ธพว.ผ่านแอปพลิเคชันจะขยับเป็น 100% ทันทีในปลายปีนี้

เบื้องต้น มงคลย้ำว่าการปรับรูปแบบดำเนินงานมาเป็นแพลตฟอร์ม SME D Bank จะไม่มีผลกับการพิจารณาปิดสาขา โดยระบุว่าจำนวนสาขาในปัจจุบันคือ 95 สาขานั้นเหมาะสมต่อการทำงานแล้ว

สำหรับแพลตฟอร์ม SME D Bank มงคลให้ข้อมูลว่างบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของระบบคิดเป็นเงินราว 200 ล้านบาท ขณะที่หน่วยบริการเคลื่อนที่ใช้งบลงทุนราว 1,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนใหญ่เป็นค่าเช่ารถที่ให้บริการขณะนี้กว่า 600 คัน ซึ่งจะเพิ่มเป็น 1,000 คันในอนาคต

ความท้าทายของโครงการคือทำอย่างไรให้คนตัวเล็ก (เอสเอ็มอีรายเล็ก) เข้าสู่ระบบและได้ประโยชน์ เราอยากจะก้าวข้ามให้เอสเอ็มอีได้รับความสะดวกและประหยัดต้นทุน เราจะเน้นสอนใช้แอป และร่วมมือผ่านสมาคมหรือชุมชนให้มากขึ้น”

ชื่อแพลตฟอร์ม SME D Bank ถูกระบุว่าซ่อนความหมายสำคัญ 3 ความหมาย ได้แก่ Development ที่เน้นการพัฒนาธุรกิจ Delivery ที่เด่นเรื่องบริการถึงถิ่นอย่างรวดเร็ว และ Digital ซึ่งหมายถึงบริการผ่านเทคโนโลยีทันสมัย.

]]>
1190238
ใครจะเป็นคนต่อไป ! เมื่อค่ายมือถือต้องแห่ใช้พรีเซ็นเตอร์ สูตรการตลาดดั้งเดิม แต่ต้องเร็วและแรง https://positioningmag.com/1163029 Fri, 23 Mar 2018 13:48:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163029 ต้องสวยหล่อแบบไหน ถึงจะขึ้นกล้องเป็นพรีเซ็นเตอร์มือถือ แต่เท่าที่ส่องดูพรีเซ็นเตอร์มือถือแต่ละรายที่มีในตลาดตอนนี้ เห็นทีต้องบอกว่า แค่สวยอย่างเดียวไม่พอ แต่พรีเซ็นเตอร์นั้นต้องมีตัวตนเฉพาะ มีบุคลิกภาพที่แตกต่าง และผสมบุคลิกภาพอันโดดเด่นและความสวยที่มีให้กลมกลืนกับแบรนด์อย่างลงตัวที่สุด ฉะนั้น ถ้าได้ระดับตัวแม่จะยิ่งดี เพราะจัดเป็นระดับที่มีแฟนคลับมหาศาล และได้รับการยอมรับว่าดังจริง เด่นจริง มีคาแรกเตอร์และพฤติกรรมที่สังคมตอนคอยเฝ้าติดตามดูความเคลื่อนไหวอยู่ไม่ให้คลาดสายตา

อย่างล่าสุด ที่สร้างกระแสฮือฮาไป ก็ต้องยกให้ค่ายโอปะเรเตอร์มือถือ เอไอเอส ที่เป็นเสือปืนไว ปิดดีลกับ บริษัท บรอดคาส ไทยเทเลวิชั่น  และช่อง 3 ดึง “เบลล่า ราณี” แคมเปน ออเจ้าการะเกด แห่งบุพเพสันนิวาส ละครพีเรียด สุดปังของช่อง 3 มาอยู่ในสังกัด

รายงานข่าว ระบุว่า ดีลเอไอเอส บุพเพสันนิวาส นี้ เป็นดีลพิเศษที่เอไอเอสเจรจาโดยตรงกับบรอดคาซท์ ไทยเทเลวิชั่น มีมูลค่าประมาณ 20 ล้านบาท ในระยะเวลา 1 ปี เพื่อจะทำโฆษณาที่ต่อยอดจากละครลงช่องทางออนไลน์  โดยใช้ทีมงานของบอรดคาซท์ทั้งหมด รวมถึงผู้กำกับละคร “ใหม่ ภวัต พนังคศิริ, รอมแพงเจ้าของนิยายคนเขียนบท และทีมนักแสดงที่ประกอบด้วย “เบลล่า ราณี” ในบทการะเกด, หยา จรรยา, นุ่น รมิดา ในบทบ่าว ผิน และแย้ม และ โมสต์ วิศรุต ในบทจ้อย คิวท์บอยแห่งอโยธยา พร้อม “ไก่” ของจ้อย

โดยโฆษณาชุดแรกที่เปิดมาหลังจบตอนที่ 9 คือ ฉากกินหมูกระทะ ที่ทุกคนถามหาจากละคร ในชื่อตอน “ฟินเฟร่อ” และชุดที่ 2 หลังตอนที่ 10 คือ “จ้อยจะมีเมียแล้ว” โดยเรียกนักแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาถ่ายทำกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ

นอกจากนี้ก็จะมีการซื้อโฆษณาลงในช่องทางออนไลน์ของช่อง 3 ทั้งทางเมลโล และเวปช่อง 3  ด้วย

ว่ากันว่าดีลที่ทำในครั้งนี้ เอไอเอสควักงบไปไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทให้กับบรอดคาสฯ เป็นทั้งค่าตัวพรีเซ็นเตอร์ ค่าผลิตหนังโฆษณา ที่ออนแอร์บนออนไลน์เท่านั้น รวมถึงโฆษณาที่ลงในเว็บและแอปฯ mello ของช่อง 3

เอไอเอส เองก็ทุ่มคว้าดาราชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์ในสังกัดไว้มากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข, แต้ว-ณัฐพร เตมีรักษ์, มิว –นิษฐา จิรยั่งยืน. เต้ย-จรินทร์พร จุนเกียรติ, เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร, ทอม room39 , ก้อง ห้วยไร่ ล่าสุด เบลล่า ราณี ออเจ้าการะเกด จากละครบุพเพสันนิวาสมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ในสังกัด

ยิ่งเอไอเอสมีฐานลูกค้าถึง 40 ล้านราย ก็ยิ่งต้องใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นตัวแทนในการเข้าถึงลูกค้า ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าทั่วไป บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บอกว่าการใช้ Presenter ในฐานะตัวแทน Brand เป็นกลยุทธ์ที่เอไอเอสใช้มาอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่า การสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลายและเข้าถึงได้นั้น จำเป็นต้องมีตัวแทนที่สามารถ Connect กับ Emotional ของผู้บริโภคได้อย่างตรงใจ

ข้อดีของการมีพรีเซนเตอร์ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบพรีเซ็นเตอร์ ได้รู้สึกดีกับแบรนด์ และช่วยดึงความสนใจให้มาดูโฆษณาด้วย

ส่วนจะได้ “พี่หมื่นโป๊ป ธนวรรธน์ มาร่วมสังกัดเป็นพรีเซ็นเตอร์คนต่อไปด้วยมั้ย ยังต้องรอลุ้นกันต่อไป

ฟากทรูมูฟเอช ล่าสุดเพิ่งคว้าเอา วง BNK48 เข้ามาเป็นพรีเซนเตอร์  นอกเหนือจากดาราคู่ขวัญ “ณเดชน์-ญาญ่า” , บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์,ติ๊ก เจษฎาพร ผลดี และแพนเค้ก เขมนิจ มาอยู่ในสังกัด รวมถึงดาราวันทีน อย่าง ออกแบบ ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง และ เจเจกฤษณภูมิ พิบูลสงคราม

ค่ายดีแทคเอง ที่ครั้งหนึ่งเคยยืนยันไม่ใช้พรีเซ็นเตอร์ แต่ในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนนโยบาย หันมาดึงดาราดังตัวแม่ “อั้ม พัชราภา” มาสู้ศึกมือถือในช่วงสงคราม 4 จี เริ่มขึ้นใหม่ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น  จากนั้น ก็ดึง นาย ณภัทร และคนล่าสุด “ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ “มาเข้าสังกัด

ส่วนค่ายผู้ผลิตมือถือเอง เริ่มต้นแนะนำตัวก่อน มือถือแบรนด์และรุ่นไหน ใช้ใครเป็นพรีเซ็นเตอร์กันบ้าง

  • OPPO F5 ญาญ่า ณเดชณ์
  • Vivo อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ
  • Huawei มิว นิษฐา
  • Samsung Galaxy A7 นาย ณภัทร เสียงสมบุญ
  • iMI เชียร์ ทิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์
  • Gionee แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์

เห็นรายชื่อแล้ว แต่ละคนถือเป็นตัวท็อป และมีความโดดเด่นในงานที่ทำทั้งสิ้น

อย่างเคสอั้มนี่ ร่ำลือกันเลยว่า ลีลาเซลฟี่ในการเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับดีแทค คือความเป็นตัวอั้มที่ใคร ๆ ก็อยากเห็นจนทำให้ยอดคลิกเข้าชมโฆษณาพุ่งไปสูงกว่า 50 ล้านวิว และดู ๆ แล้ว บุคลิกในโฆษณาก็คือตัวตนของอั้ม มีความสวย ขี้เล่น มีเสน่ห์ เป็นธรรมชาติ ไม่ต่างจากโฆษณเน็ตลื่น ๆ ให้กับดีแทคมาก่อนหน้านั้น

การใช้พรีเซ็นเตอร์ดีอย่างไร

ตามตำราการตลาดทั่วไป การใช้พรีเซ็นเตอร์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ และเซเลบริตี้เอ็นดรอสเมนท์ จะส่งผลต่อแบรนด์ในหลายด้าน ตั้งแต่

  • สร้างความน่าเชื่อถือ
  • ดึงดูดความสนใจ
  • สร้างประโยชน์ร่วม
  • ใช้เป็นจิตวิทยาในการเชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย
  • ใช้เชื่อมโยงกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่มีเพศ หรือวัยเดียวกันได้ดี
  • สร้างปรากฏการณ์ในวงกว้าง

ฉะนั้นถ้าแบรนด์ โดยเฉพาะแบรนด์ใหม่ ๆ ไม่อยากเสียงบประมาณทำเรื่องเหล่านี้ทีละเรื่อง การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ดี ๆ สักคน ก็เหมือนได้ยาพาราเซตตามอลที่แก้ได้ทุกอาการปวดพร้อมกันเลยทีเดียว

ประเด็นที่น่าสนใจคือ เฉพาะขายสินค้าไทยหรือเปล่า ที่ต้องมีดารา มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

คนไทยก็เหมือนผู้บริโภคทั่วโลก มีพฤติกรรม ความชอบ ความสนใจไม่ต่างกันเท่าไรนักหรอก จะต่างกันก็แค่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย แล้วกลยุทธ์การใช้พรีเซ็นเตอร์ก็ให้ผลเหมือน ๆ กันทั่วโลก เพียงแต่ดีกรีความเข้มข้นของผลลัพธ์อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะใช้พรีเซ็นเตอร์ให้ได้ประสิทธิภาพสูง ต้องมีกลยุทธ์การตลาดที่พร้อมจะเดินไปในทางเดียวกันได้อย่างลงตัวด้วย

พรีเซ็นเตอร์ไม่ใช่องค์ประกอบแรกของการตัดสินใจซื้อ แต่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่อาจจะทำให้ผู้ซื้อหันมาสนใจ หรือเปลี่ยนใจมาซื้อแบรนด์นั้น ๆ ได้ จากผู้ชื่นชอบพรีเซ็นเตอร์ที่ถูกดึงดูดความสนใจเข้ามาหาแบรนด์

เพราะสิ่งที่พรีเซ็นเตอร์ให้ประโยชน์ต่อแบรนด์เหมือน ๆ กันในเบื้องต้น ก็คือ ดึงดูดผู้บริโภคจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ เพิ่มการรับรู้ สร้างความรู้ด้านบวกให้กับแบรนด์ และเชื่อมโยงผู้บริโภคเข้ามาหาแบรนด์

โดยพรีเซ็นเตอร์หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์ จะมีบทบาทต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในช่วงก่อนการตัดสินใจซื้อ คือ ช่วงที่ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์  และจุดประกายให้แบรนด์เป็นตัวเลือกหนึ่ง จนพัฒนาไปเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ

แต่ทั้งนี้ จะให้ผลแบบนี้ได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับความลงตัวระหว่างแบรนด์กับพรีเซ็นเตอร์ที่เลือกใช้ด้วย

โดยพรีเซ็นเตอร์ที่ดี จะไม่ใช่แค่นำเสนอบุคลิกภาพที่เข้ากับแบรนด์เท่านั้น แต่ต้องทำให้ลูกค้าของแบรนด์รู้สึกถึงว่า สินค้านั้นมีโซลูชั่นที่เหมาะกับความต้องการและเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอย่างมือถือ

พรีเซ็นเตอร์บางคนอาจจะเหมาะแค่กับคนบางวัย ขายได้แค่สินค้าบางอย่าง น้อยรายนักที่จะมีคุณสมบัติครอบจักรวาล เช่น ขายได้ตั้งแต่สินค้าสำหรับเด็กไปจนถึงวัยชรา เป็น

ดังนั้น จุดเด่นที่สุดของการใช้พรีเซ็นเตอร์คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้พรีเซ็นเตอร์เป็นคนนำเสนอและจัดลำดับเบเนฟิตและการใช้สินค้านั้นได้อย่างดีที่สุด ที่จะผู้บริโภคเป้าหมายรู้สึกได้

เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของพรีเซ็นเตอร์ คือการสร้างความแตกต่างอย่างยั่งยืน เพราะสินค้าอาจจะก็อปปี้และมีฟังก์ชั่นและให้เบเนฟิตเหมือน ๆ กัน แต่อย่างไรก็จะไม่สามารถก็อปปี้บุคลิกภาพที่ส่งผ่านคาแรคเตอร์ของพรีเซ็นเตอร์หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่เลือกมานั้น

ดังเช่นที่ อั้มก็คืออั้ม ญาญ่าก็คือญาญ่า

ยิ่งในวงการบันเทิง ถ้าดาราคนไหนคิดจะก็อปปี้ดาราดังสักคน รับรองได้ว่า ดับก่อนได้เกิด ใครที่โฆษณาได้ติดตราตรึงใจ สำหรับผู้บริโภคไทยก็จะเปลี่ยนการจดจำแบรนด์และรุ่นของมือถือ มาเป็นเรียกชื่อรุ่นด้วยชื่อพรีเซ็นเตอร์แทน ซึ่งไม่เสียเวลาทั้งคนซื้อคนขาย เพราะดูเหมือนจะสื่อสารเข้าใจกันได้ไวกว่าไล่บอกชื่อแบรนด์กับรุ่น ที่อาจจะต่างกันแค่เล็กน้อยอีกด้วย

แน่นอนว่า ถ้าอยากสร้างยอดขายแบบแมสทั้งประเทศ ก็ต้องเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ระดับตัวแม่เท่านั้น ถึงจะไปได้ไกลกว่า ครอบคลุมตลาดได้มากกว่า

ตัวอย่างเช่น อั้ม-พัชราภา ซึ่งถูกเลือกใช้จากหลายแบรนด์เมื่อต้องการผลลัพธ์ระดับแมสสำหรับตลาดแบบทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นลื่นแบบดีแทค สเนลไวท์ ที่ใช้ร่วมกับดาราระดับหน้าเอกอีกหลายคน ซึ่งจากตัวนี้จะเห็นว่าถ้าจะลงเฉพาะระดับบน แบบสเนลไวท์โกลด์ ก็เลี่ยงไปใช้เซเลบริตี้นักธุรกิจไฮไซอย่าง มาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ แทน

แล้วที่เห็นผลชัดเจนมากก็คือ มือถือ Vivo V5s ที่เลือกอั้มเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งอีกกลยุทธ์สำคัญต้องยอมรับด้วยว่า ตัวแบรนด์เองก็วางแผนโฆษณาได้ดี เพราะหลังจากโฆษณามีคนเข้าไปดูหลายสิบล้านอย่างรวดเร็วด้วยคาแรคเตอร์แบบอั้ม แบรนด์ก็ทำหน้าที่ปูพรมกระจายสินค้าออกไปทุกร้านค้าทุกช้อปไว้ล่วงหน้าแล้ว พร้อมทั้งเลือกวางสินค้าในตำแหน่งเด่นที่คนให้ได้ชัด เหมือนหน้านางเอกหัวแถวที่เด่นขึ้นมาก่อน เมื่อเดินเข้าร้านขายมือถือ

ด้วยเหตุผลที่เมื่อแบรนด์หนึ่งเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ระดับตัวแม่ แบรนด์อื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งระดับเดียวกันในตลาด ถ้าคิดจะช่วงชิงส่วนแบ่ง ศักดิ์ศรีของพรีเซ็นเตอร์ที่เลือกใช้ จะให้น้อยหน้าหรือเป็นคนละระดับกันมากเกินไป ก็จะทำให้ถูกตัดสินใจตั้งแต่ผู้บริโภคยังไม่มีประสบการณ์ได้สัมผัสสินค้าก็เป็นได้

พรีเซ็นเตอร์มือถือ ไม่ว่าจะในประเทศ หรือที่ไหน ๆ ในโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่กว่าไทยหลายเท่า ถึงต้องแข่งกันเลือกคัดและดึงดาราแถวหน้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์เหมือน ๆ กันทั้งนั้น

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการแข่งขันหาพรีเซ็นเตอร์ของแบรนด์มือถือ และส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการนำเสนอฟังก์ชั่นกล้องถ่ายรูปสุดละเอียด สุดล้ำ ถ่ายแล้วสวยสุด ๆ ประหนึ่งถ่ายนางก้นครัวออกมาเป็นนางเอกได้หมด แต่มือถือตัวเป้งอย่างไอโฟน กลับเลือกเดินไปคนละทางด้วยการนำเสนอภาพถ่ายที่สมจริง และเน้นถ่ายทอดเรื่องราวผ่านวิถีชีวิตแบบคนธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไปมาเป็นเรื่องเล่าหลักในโฆษณามากกว่า

เอาเป็นว่า ลางเนื้อชอบลางยา เป็นแฟนคลับใคร เชียร์ใคร แบรนด์เขาก็หวังแค่ช่วยปันงบไปใช้สินค้าเขาบางก็เท่านั้นเอง.

]]>
1163029
สื่อสารไม่พอ! เอไอเอส อัพบทบาท สร้าง IoT Ecosystem ดันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ขายคอนเทนต์ศิลปินไทย https://positioningmag.com/1158063 Wed, 21 Feb 2018 14:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158063 ใช้แพลตฟอร์มต่างชาติกันมานาน ได้เวลาที่ไทยจะต้องมี “ดิจิทัล แพลตฟอร์ม” เป็นของตัวเอง เป็นเป้าหมายใหญ่ของค่ายมือถือเอไอเอส ที่สะท้อนงานสัมมนา “Digital Intelligent Nation 2018” 

สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าว ว่าจากความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันพัฒนาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปีนี้คือช่วงเวลาสำคัญที่ต้องผนึกกำลังสร้างสรรค์ Digital Platform เพื่อประเทศไทย

ปี 2560 ที่ผ่านมาภาพรวมอุตสาหกรรมติบโตถึง 4% (สูงกว่า GDP) อัตราการเติบโตของการใช้งานเฉลี่ย Mobile Internet ต่อบุคคล เพิ่มขึ้นถึง 80% เมื่อเทียบกับปี 2559

พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียปี 2560

  • คนไทยใช้งานดาต้ามากถึง 7.3 GB ต่อคนต่อเดือน
  • ใช้เวลาอยู่บน Social Network เพิ่มขึ้นมากกว่า 60% คือวันละประมาณ 4.8 ชั่วโมง
  • มากกว่า 41 ล้านคน ชม VDO Streaming บนมือถือ โดย 80% ส่วนใหญ่เป็น Local Content

ส่วนองค์ค์กรเริ่มหันมาใช้ Cloud เป็นมาตรฐานใหม่ในการยกระดับการบริหารจัดการ

ทางฟากเอไอเอส ได้เตรียมงบลงทุนด้านเครือข่ายกว่า 35,000-38,000 ล้านบาท เพื่อขยายเครือข่ายมือถือสู่ Next Generation ที่รองรับความเร็วถึง 1 GB

การขยายเครือข่าย NB-IoT (Narrow Band IoT) และ eMTC-Enhance Machine Type Communication เริ่มต้นทั่วกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ 9 จังหวัด

รวมถึงการนำ VDO Content ใหม่ๆ ทั้งจากระดับโลก อย่างซีเอ็นเอ็น และการ์ตูนเน็ตเวิร์ค รวมไปถึงผู้ผลิต Content ของไทย ตลอดจนการเข้าไปซื้อหุ้นซีเอสล็อกซ์อินโฟ เพื่อให้บริการกลุ่มลูกค้าองค์กรให้มากยิ่งขึ้น

สมชัย มองว่า การเติบโตเพียงอุตสาหกรรมสื่อสารไม่อาจช่วยยกระดับประเทศให้แข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นภาคเอกชนจึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่จะขยายบทบาทสู่การเป็น Digital Platform เพื่อประเทศไทย

ในฐานะของแกนกลางสนับสนุน เชื่อมต่อทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำงานร่วมกันในลักษณะของ Ecosystem เพื่อขยายขีดความสามารถเหล่านั้นผ่านดิจิทัลสร้างการเติบโตสู่ทุกภาคส่วนของประเทศ

โดย 3 แพลตฟอร์มในช่วงเริ่มต้นเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว

1. AIS IoT Alliance Program – AIAP

เป็นความร่วมมือของสมาชิก 70 ราย ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตเทคโนโลยี นักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ ทั้งในและต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ, Product, Service หรือ Solution เพื่อให้เกิดการพัฒนา IoT Solution/Business Model ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ขยายประโยชน์สู่ภาคประชาชน เสริมการบริหารจัดการในทุกภาคส่วน

2. The Play 365 : Local VDO Platform 

เป็นแพลตฟอร์มให้ศิลปิน สื่อมวลชน นักสร้างสรรค์ Content ทุกวงการ นำเสนอผลงาน สร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคคนไทย พร้อมโครงสร้างรายได้และโมเดลที่เหมาะสม สอดคล้องกับตัวเลขผู้ชมที่แท้จริง

3. AIS IMAX VR  : VR Content Platform

ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนา VR Content สามารถเรียนรู้จากผู้ผลิต VR อันดับหนึ่งของโลกอย่าง IMAX พร้อมโครงการ VR Content Creator Program ที่เอไอเอสได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเวทีของการสร้าง Content VR ให้กับอุตสาหกรรม 

เอไอเอสเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า นี่คือหนทางจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของภาครัฐในการนำพาประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ

]]>
1158063
ลื่นปรื๊ด 4จี – เน็ตบ้าน ดันรายได้ เอไอเอส ทรู พุ่ง ดีแทค รายได้/เลขหมายเพิ่ม https://positioningmag.com/1146817 Wed, 15 Nov 2017 10:21:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1146817 ผลประกอบการสามค่ายโทรคมนาคม ไตรมาส ปีนี้ สะท้อนรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องของผู้ให้บริการที่ให้บริการทั้งมือถือ เอไอเอส และทรู ที่มีรายได้และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

ทรู ใช้กลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ นำโพรดักส์ทั้งหมดในเครือมาทำตลาดด้วยกัน จึงเป็นเจ้าเดียวที่มีรายงานลูกค้ามือถือแบรนด์ ทรูมูฟ เอช สูงขึ้นประมาณ 5 แสนราย จากไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ มียอดลูกค้ารวมเป็น 26.7 ล้านราย

รายได้จากการให้บริการมือถือ 736 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า โดยรายได้หลักมาจาก บริการนอนวอยซ์” เติบโต 22.2% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้านี้ โดยมีรายได้อยู่ที่ 10,754 ล้านบาท เป็นผลจากความต้องการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ต และบริการ 4G ที่เติบโตมาก

รายได้จากบริการ นอนวอยซ์ กินสัดส่วนไปถึง 63% ของรายได้จากการให้บริการมือถือทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 59% ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า

ส่วนรายได้จากบริการบรอดแบนด์ หรือเน็ตบ้าน หลังจากเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี  FTTH  มีรายได้ 5,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.8% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ทำให้ทรูออนไลน์มีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ รายใหม่รวม 78,100 ราย ในไตรมาส 3 ปี 2560 ซึ่งผลักดันให้ฐานลูกค้าบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของทรูเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านราย

รายได้รวม 3 เดือนของไตรมาส 3 อยู่ที่ 24,533 ล้านบาท ดีขึ้น 8.7% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ที่อยู่ที่ 22,566 ล้านบาท ยังคงขาดทุน 691 ล้านบาท แต่ดีขึ้น 72.9% จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ที่ขาดทุน 2,540 ล้านบาท

แต่รวม 9 เดือน ยอดขาดทุนสะสมอยู่ยังคงสูงขึ้นอยู่ที่ 3,088 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 569.41% จากยอดขาดทุนของปีที่แล้ว ที่ขาดทุน 461.37 ล้านบาท ซึ่งทรูชี้แจงว่า เป็นผลจากการรับรู้มูลค่าเงินลงทุนในกองทุน DIF จำนวน 2,900 ล้านบาทในปี 2560 ทำให้ยอดขาดทุน 9 เดือนสูงขึ้น

เอไอเอสรายได้นอนวอยซ์ พุ่ง  21%

ในขณะที่เอไอเอส มีจำนวนลูกค้ารวมอยู่ที่ 40.186 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่อยู่ที่ 39.9 ล้านราย แต่หากเทียบกับไตรมาสสองของปีนี้ จำนวนลูกค้าลดลงจาก 40.5 ล้านราย

แต่ก็ยังมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากยอดใช้บริการ 4 จี โดยรายได้นอนวอยซ์อยู่ที่ 19,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อน โดยจำนวนผู้ใช้ 4G ที่เพิ่มขึ้นเป็น 42% ของฐานลูกค้า ส่งผลให้รายได้จากการให้บริการข้อมูลเติบโตเป็น 60% ของรายได้จากการให้บริการเทียบกับ 53% ในปีก่อน

บรอดแบนด์ มีรายได้ 886 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 282% จากปีก่อน เนื่องจากฐานลูกค้าที่เพิ่มเป็น 481,500 ราย โดยมียอดเฉลี่ยรายได้ลูกค้าต่อเดือน (ARPU) อยู่ที่ 637 บาท เติบโต 28% จากปีก่อน  อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ มีลูกค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 35,600 ราย ลดลง 72,000 รายในไตรมาสก่อน

รายได้จากนอนวอยซ์และ บรอดแบนด์ส่งผลให้เอไอเอสมีกำไรเติบโตเทียบปีต่อปีสูงขึ้นเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558

โดยมีรายได้รวมของไตรมาส 3 อยู่ที่ 38,580 ล้านบาท สูงขึ้น 4% จากปีที่แล้ว กำไร 7,469 ล้านบาท สูงขึ้น 14% ส่วนรายได้รวม 9 เดือนอยู่ที่ 116,516 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.1% ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม รายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งก็มาจากการตัดค่าใช้จ่ายค่าการตลาด การ subsidy เครื่องลง 38% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน

ดีแทคเตรียมเงินประมูลชิงคลื่นรอบใหม่

ดีแทคเพียงรายเดียวที่มีแต่บริการมือถือ ไม่มีบริการบรอดแบนด์ และนโยบายสำคัญของดีแทคจะให้ความสำคัญในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เพื่อรักษาสถานะทางการเงินให้มีความคล่องตัวเพื่อให้มีความพร้อมรองรับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และการประมูลคลื่นความถี่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2561 ซึ่งสัญญาสัมปทานดีแทคกับ กสท. โทรคมนาคมหมดอายุลง

ดีแทคมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA 0.8 เท่า ในขณะที่หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ ลดลงมาเหลือ 23,989 ล้านบาท เนื่องจากมีเงินสดเพิ่มขึ้น

ในไตรมาส 3/2560 ดีแทคมีรายได้รวม18,809 ล้าบาท ลดลง 3.7% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิในไตรมาส 3 อยู่ที่ 601 ล้านบาท ลดลง 9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน (คำนวณจาก EBITDA หักด้วยเงินลงทุน) อยู่ที่ 4,200 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 125% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ ดีแทคสามารถสร้างกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน 10,477 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 54% จากปีก่อน

อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 3 นี้ ยอดลูกค้าโดยรวมลดลงถึง 509,000 ราย ลดลง -283.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าแบบรายเดือนเพิ่มขึ้นได้ จาก 4.8 ล้านรายในไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว มาเป็น 5.5 ล้านรายในไตรมาสนี้ ทำให้รักษายอด ARPU  เพิ่มขึ้นจาก 217 บาทในไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว มาอยู่ที่  228 บาทต่อเดือน มีผู้ใช้บริการรวมอยู่ที่ 23.1 ล้านราย ลดลงจาก  24.8 ล้านราย หรือ – 6.9% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน.

]]>
1146817