ค้าปลีกปั๊มน้ำมัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 May 2021 13:56:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 OR ไฟเขียวต่อสัญญาร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ในปั๊มน้ำมัน PTT Station อีก 10 ปี https://positioningmag.com/1333898 Wed, 26 May 2021 12:22:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333898 เป็นไปตามคาด บอร์ด OR ต่อสัญญาร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น’ (7-Eleven) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station อีก 10 ปี

บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ได้ต่อสัญญาหลักความร่วมมือการดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันเครือข่ายของ OR กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เพื่อดำเนินการร้านค้า 7-Eleven (ในประเทศไทย)

โดยครั้งนี้เป็นการต่ออายุสัญญาจากสัญญาเดิม ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อให้การดำเนินงานในส่วนของธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมันเครือข่ายของ OR มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจของ OR ทั้งนี้จะมีการเข้าทำสัญญาตามที่ได้ตกลงกับคู่สัญญาต่อไป

เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา OR เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ของปี 2564 ระบุว่า มีกำไรสุทธิ 4,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,079 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.9% จากไตรมาสก่อน คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.38 บาท สูงกว่าไตรมาสก่อน 0.06 บาท หรือเพิ่มขึ้น 18.8%

สำหรับผลการดำเนินงานของ OR ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีรายได้ขายและบริการ 118,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,964 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.2% จากไตรมาสก่อน

โดยรายได้หลักมาจากกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์น้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก สอดคล้องกับรายได้กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น

ส่วนรายได้กลุ่มธุรกิจ Non-Oil นั้นในไตรมาสที่ผ่านมา มีรายได้รวม 4,086 ล้านบาท ลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง

ทั้งนี้ OR มีร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven และภายใต้แบรนด์ Jiffy รวม 1,995 สาขา ทั้งในประเทศไทยและสปป.ลาว

ด้านผลประกอบการของ CPALL ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น เเม้ไม่ได้หยุดให้บริการร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่นเเต่ก็มีรายได้และกำไรลดลง

โดยมีรายได้รวม 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,599 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น ลดลง 53.95% จากไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีกำไร 5,645 ล้านบาท หรือ 0.60 บาทต่อหุ้น

เมื่อเจาะลงไปใน ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ในไตรมาส 1/64 มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ รวม 70,450 ล้านบาท ลดลง 15% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 947 ล้านบาท ลดลงถึง 75.4%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

จำนวนลูกค้าลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 845 คนต่อวัน และมียอดใช้จ่ายต่อบิลประมาณ 77 บาท ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อร้านต่อวันอยู่ที่ 65,024 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมลดลง 17.1%

 

 

]]>
1333898
“ปั๊ม PT” ส่งโมเดลไซส์ SS ดักลูกค้าในซอย เดินเกมขยายสาขาในกรุง https://positioningmag.com/1299041 Mon, 28 Sep 2020 11:22:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299041 “ปั๊ม PT” กำลังไล่ตามเบอร์ 1 ของตลาดอย่างไม่ลดละ ใช้กลยุทธ์บุกเข้าซอกซอยเปิดโมเดลไซส์ SS ดักลูกค้าเติมน้ำมันก่อนถึงบ้าน ด้านธุรกิจนอนออยล์และงานบริการลูกค้า ปีนี้เตรียมจับมือ “ฟู้ดแพชชั่น” เพิ่มร้านอาหารเข้าปั๊ม บริการ Max Service เติมน้ำมันฉุกเฉิน ช่วยวางภาพลักษณ์ใส่ใจผู้บริโภค ภาพรวมฐานลูกค้าวางเป้าปั้นสมาชิก Max Card เพิ่มเป็น 20 ล้านรายภายในปี 2565

ปั๊มน้ำมัน “PT” วิ่งไล่ตามเบอร์ 1 อย่าง ปตท. มาหลายปีจนกระทั่งแซงหน้าในแง่จำนวนสาขาได้สำเร็จ โดย ณ สิ้นปี 2562 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 2,064 สาขา แต่ในแง่ยอดขายยังต้องใช้เวลาปั้นเพราะ ปตท. ยังมีส่วนแบ่งตลาดขายปลีกน้ำมันอยู่ราว 40% แต่ PT มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ 18% เท่านั้น โดยเป็นเบอร์ 2 ในตลาด ส่วนเบอร์ 3 ที่ตามมาคือบางจาก และเบอร์ 4 เป็นเอสโซ่

อย่างไรก็ตาม PT ก็วางเป้าใหญ่ ไม่ใช่แค่บีบส่วนแบ่งให้ห่างน้อยลง แต่จะแซง ปตท. ให้ได้ภายในปี 2565!

“พร้อมศักดิ์ จรัญญากรณ์” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2563 บริษัทมีเป้าเปิดสาขาเพิ่มอีกถึง 300 สาขา โดยกำลังโหมเปิดเพิ่มในช่วงนี้ หลังจากช่วงที่เกิดสถานการณ์ COVID-19 ต้องผ่อนคันเร่งลงทุนไป เพราะการก่อสร้างค่อนข้างลำบาก

“พร้อมศักดิ์ จรัญญากรณ์” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

ใน 300 สาขาดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นการตีขนาบพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล เนื่องจากในต่างจังหวัดถือว่าปั๊ม PT เข้าไปขึงตาข่ายจน “เต็มหมดแล้ว”

แต่เมื่อจะเข้ากรุงก็ต้องเจอคู่แข่งที่อยู่มาก่อนและยึดถนนสายหลักไปแล้ว และถ้าหากจะไปลงทุนบนถนนสายหลักแข่งกับเจ้าใหญ่ก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก เพราะบริษัทมีโมเดลทำธุรกิจแบบลงทุนซื้อหรือเช่าที่ดินเองเป็นหลัก ไม่เน้นขายแฟรนไชส์มากนัก (ปัจจุบัน ปั๊ม PT มีสัดส่วนสาขาที่เป็นเจ้าของเอง 87% และแฟรนไชส์ 13%)

ดังนั้น ที่ผ่านมา PT จึงเน้นเปิดเป็นปั๊มน้ำมันขนาดเล็กตามชุมชน ในซอยย่อยต่างๆ และเน้นพื้นที่ชานเมืองก่อน จะมีปั๊มบนถนนใหญ่น้อยมาก เช่น ถนนวิภาวดี ถนนรัชดาภิเษก และจะยังใช้กลยุทธ์นี้ต่อไปในการจัดปฏิบัติการ “ป่าล้อมเมือง” เพื่อล้มแชมป์ในอีก 2 ปี

 

เปิดปั๊มไซส์ SS แปลงร้านกาแฟพันธุ์ไทยเป็น “ฟู้ดทรัก”

ถึงแม้ว่าปั๊มปัจจุบันจะเล็กแล้ว แต่ก็เล็กลงไปอีกได้ โดยพร้อมศักดิ์กล่าวว่า บริษัทกำลังศึกษาการพัฒนาสถานีบริการน้ำมันที่ “กะทัดรัด” ยิ่งกว่าเดิม เพื่อส่งเข้าไปอยู่ตามซอกซอยต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นเหมือนร้านสะดวกซื้อที่ปรากฏตัวอยู่ทุกหัวมุม

โมเดลไซส์ SS แบบนี้จะเน้นที่การขายน้ำมันเป็นหลัก จะมีอย่างน้อย 4 หัวจ่าย ส่วนสิ่งอำนวยความสะดวกเสริมอย่าง “ร้านกาแฟพันธุ์ไทย” จะแปลงร่างจากร้านถาวรมีที่นั่งเป็น “ฟู้ดทรัก” ที่เหมาะกับขนาดพื้นที่มากกว่า ขณะนี้ทำเลที่จะลงทุนโมเดลนี้กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา

ปั๊มน้ำมัน PT ที่เน้นไซส์เล็กเจาะชุมชน ต่อไปจะได้เห็นไซส์ที่เล็กลงไปอีก

ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคต่อปั๊มน้ำมันขนาดเล็กในชุมชนอย่าง PT พร้อมศักดิ์มองว่าได้รับผลตอบรับที่ดี เพราะ PT วางตัวเป็นสถานที่ที่คนมาใช้บริการมีเป้าหมายชัดเจน มาเพื่อเติมน้ำมัน มาซื้อกาแฟ หรือมาซื้อของอะไรในร้าน Max Mart มากกว่าที่จะเป็นคอมมูนิตี้หรือจุดแวะพักของคนเดินทาง

โลเคชั่นการเปิดปั๊มน้ำมันใกล้บ้านลูกค้า จึงสะดวกกับลูกค้าที่ใช้ชีวิตประจำวัน เติมน้ำมันที่ปั๊มสุดท้ายก่อนถึงบ้าน หรือเติมน้ำมันที่ปั๊มแรกตอนเพิ่งออกจากบ้าน พร้อมแวะซื้อกาแฟทุกเช้า

ความสะดวกของโลเคชั่นสำคัญกับลูกค้ามากขนาดไหนนั้น พร้อมศักดิ์ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า บริษัทมีการเปิดปั๊ม PT สองสาขาบนถนนสามัคคี จ.นนทบุรี สองสาขานี้หันหน้าเข้าหากันบนถนนเล็กๆ ที่ไม่มีเกาะกลาง แต่ได้ลูกค้าที่แทบไม่ทับซ้อนกัน เพราะพฤติกรรมลูกค้าที่เข้าปั๊มฝั่งซ้ายก็จะเข้าเฉพาะฝั่งซ้าย และฝั่งขวาก็เข้าเฉพาะฝั่งขวา เพราะแม้จะไม่มีเกาะกลางลูกค้าก็ไม่อยากเลี้ยวรถข้ามเลนไปอีกฝั่งหนึ่ง

 

จับมือ “ฟู้ดแพชชั่น” เติมร้านอาหารในสถานี

แม้ไม่ได้วางตัวเป็นสถานที่แวะพัก แต่ PT ก็มีแผนจะเติม “ร้านอาหาร” เข้าไปในบางสาขา โดยครั้งนี้ไม่ได้ลงทุนเองแต่เลือกจับมือกับพันธมิตร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของเชนร้านอาหารดังอย่าง บาร์บีคิวพลาซ่า จุ่มแซ่บฮัท ฌานา ฯลฯ เตรียมเปิดตัวช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ โดยมีพันธมิตรอื่นมาร่วมมือในโครงการเดียวกันด้วยคือ เทสโก้ โลตัส, ธนาคารกสิกรไทย, บัครเครดิตกรุงศรีอยุธยา, บัตรเคทีซี และเอเจนซี่ชูใจ กะ กัลยาณมิตร

ทั้งนี้ พร้อมศักดิ์ขอปิดรายละเอียดไว้ก่อนว่าเป็นร้านรูปแบบใด แต่ที่แน่ชัดคือจะเป็นการค่อยๆ ขยายสาขาในจุดที่เหมาะสม ไม่ได้เซ็นสัญญาปูพรมทั่วประเทศ

ร้านกาแฟพันธุ์ไทย แบรนด์ของพีทีจี

ปัจจุบันบริษัทพีทีจีมีร้านค้านอนออยล์ที่เป็นแบรนด์ของตนเองคือ ร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ร้านสะดวกซื้อ Max Mart และร้านกาแฟ Coffee World เห็นได้ว่ายังไม่มีร้านอาหารในมือ (ร้านกาแฟพันธุ์ไทยที่มีเสิร์ฟอาหารด้วยมีอยู่ 3 สาขาเท่านั้น)

สำหรับการเติบโตของกลุ่มนอนออยล์ ร้านพันธุ์ไทยกับ Max Mart จะวางตัวอยู่กับปั๊มน้ำมันเป็นหลัก โดยเกือบทุกสาขาที่เปิดในกทม.และปริมณฑลจะมีร้านสองแบรนด์นี้เข้าไปเปิดด้วย ส่วนต่างจังหวัดจะมีเฉพาะปั๊มบนถนนเส้นหลัก ขณะที่ Coffee World จะอยู่เฉพาะในศูนย์การค้า ไม่มีแผนนำมาเปิดในปั๊ม

Max Mart ร้านสะดวกซื้อของพีทีจี

อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังศึกษาลู่ทางนำร้านพันธุ์ไทยกับ Max Mart ออกไปขยายนอกปั๊มด้วย แต่ในกรณีพันธุ์ไทยคาดว่าจะไม่ขยายสาขาในศูนย์การค้าเพราะต้องการแยกตลาดกับ Coffee World ให้ชัดเจน ขณะนี้ร้านกาแฟพันธุ์ไทยมีการทดลองตลาดนอกปั๊มแล้วที่ตึกไซเบอร์เวิลด์ และบนถนนหลานหลวง

 

เติมน้ำมันฉุกเฉินมัดใจสมาชิก

นอกจากกลยุทธ์ข้างต้น ปีนี้ PT ยังออกหมัดเด็ดอีกอย่างหนึ่งมาในตลาดคือบริการ Max Service เติมน้ำมันฉุกเฉินแบบเดลิเวอรี่ แก้ปัญหาให้ลูกค้าที่น้ำมันหมดกะทันหันบนท้องถนน เพียงโทรฯ มาที่เบอร์ 1614 จะมีพนักงานขับมอเตอร์ไซค์นำน้ำมันไปเติมให้ถึงที่ คิดค่าบริการเติมน้ำมันเพียง 100 บาท (ไม่รวมค่าน้ำมัน) ให้บริการในรัศมี 10 กิโลเมตรจาก ปั๊ม PT

หลังเริ่มบริการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 63 พร้อมศักดิ์กล่าวว่ามีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเดือนสิงหาคมมีผู้ใช้เฉลี่ย 400 ครั้งต่อเดือน 80% ของจำนวนนี้เป็นผู้ใช้ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

บริการ Max Service เดลิเวอรี่เติมน้ำมันให้ถึงที่ แก้ปัญหาลูกค้าน้ำมันหมดกลางทาง

บริการดังกล่าวนั้นเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิก Max Card บัตรสะสมแต้มของ PT เท่านั้น และดังที่เห็นว่าค่าบริการไม่สูงมาก เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับจ่ายพิเศษให้พนักงานปั๊มน้ำมันเมื่อมีการเรียกใช้ เพราะฉะนั้นบริการ Max Service จึงเป็นเหมือนหมัดเด็ดมัดใจให้ลูกค้าต้องการเป็นสมาชิก Max Card เพิ่มขึ้น และได้สร้างความประทับใจเมื่อลูกค้าประสบปัญหา

 

CRM เบอร์ 2 ของประเทศที่เน้นคืนกำไรผู้บริโภค

ด้านฐานสมาชิก Max Card ปัจจุบันมีอยู่ 14 ล้านราย ตั้งเป้าถึงสิ้นปีจะมีทั้งสิ้น 15 ล้านราย และวางเป้าปี 2565 จะไปแตะ 20 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.5 ล้านราย ส่วนจำนวนพาร์ตเนอร์จะมีหมุนเวียนทุกไตรมาส เฉลี่ยไตรมาสละ 400-600 ราย

ด้วยจำนวนสมาชิกมากขนาดนี้ ถ้าเทียบกับระบบ CRM ทั้งหมดที่มีในไทย ทำให้ปัจจุบัน Max Card เป็นรองเพียงแค่ The 1 ของเซ็นทรัลซึ่งมีฐานสมาชิก 17 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม พร้อมศักดิ์กล่าวว่า CRM ของ PT ไม่ได้มองว่าจะแข่งขันกับ The 1 และไม่ได้เป็นโมเดลหารายได้เข้าบริษัท แต่เน้นการตอบแทนคืนกำไรให้ผู้บริโภคมากกว่า

ดังนั้น จุดแข็งของ Max Card คือไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือขอส่วนแบ่งรายได้จากพาร์ตเนอร์ที่มาสร้างสิทธิประโยชน์ร่วมกัน ขอเพียงพาร์ตเนอร์มีศักยภาพและพร้อมจัดโปรโมชันดีๆ ให้ลูกค้า PT ก็พอ เพราะมองเป็นโมเดลแบบ “วิน-วิน” พาร์ตเนอร์ได้ขายสินค้าเพิ่มจากฐานสมาชิก Max Card และ PT ได้ดูแลลูกค้าด้วยการมอบส่วนลดจากร้านค้าพันธมิตร สร้างลอยัลตี้ในระยะยาวนั่นเอง

จากกลยุทธ์การบุกหนัก ทั้งโลเคชั่นดักลูกค้าในซอย จนถึงการเอาใจลูกค้าผ่านสิทธิประโยชน์ของ Max Card น่าติดตามว่า “ปั๊ม PT” ที่โตจากภูธร จะล้มแชมป์ยักษ์ใหญ่ภายใน 2 ปีได้จริงหรือไม่!

]]>
1299041
“เชลล์” เปิดปั๊มใหม่ 57 สาขาตามแผน ลดราคาเครื่องดื่ม-คูปองเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องดึงลูกค้า https://positioningmag.com/1283922 Wed, 17 Jun 2020 09:16:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283922 เชลล์ฟื้นตัวหลังช่วงล็อกดาวน์จาก COVID-19 ทำยอดขายลดลง 10% เร่งเปิดสถานีน้ำมันเพิ่ม 57 สาขาตามแผนเดิม พ่วงโปรโมชันดึงลูกค้า ลดราคาเครื่องดื่มร้านเดลี่ คาเฟ่เหลือ 40 บาท เติมน้ำมันแถมคูปองลดราคาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หวังครึ่งปีหลังคนไทยใช้รถบ้านเดินทางท่องเที่ยว เป็นประโยชน์กับธุรกิจปั๊มน้ำมัน

แม้สถานีบริการน้ำมันจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าธุรกิจอื่นในช่วง COVID-19 แต่ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบเลย “อรอุทัย ณ เชียงใหม่” กรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า การล็อกดาวน์เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาในช่วงที่ผ่านมา มีผลให้ยอดขายธุรกิจค้าปลีกสถานีน้ำมันลดลง 10% โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซิน เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มรถบ้านคือกลุ่มที่ลดการเดินทางมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติแล้ว และบริษัทจะเดินหน้าตามแผนการลงทุนและการตลาดต่อไป โดยแผนการเปิดสถานีบริการน้ำมันปี 2563 ตั้งเป้าเปิดเพิ่ม 57 สาขา รวมแล้วสิ้นปีนี้จะมีปั๊มน้ำมันเชลล์เพิ่มจาก 630 สาขา เป็น 687 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเปิดไปแล้ว 18 สาขา ยังเหลืออีก 39 สาขาที่จะเปิดต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งพื้นที่ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน

“อรอุทัย ณ เชียงใหม่” กรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด

ทุกสาขาใหม่จะมีร้านสะดวกซื้อ เชลล์ ซีเล็ค และร้านกาแฟ เดลี่ คาเฟ่ ตามแผนบุกธุรกิจนอน-ออล์ยเต็มกำลังดังที่บริษัทประกาศไว้เมื่อปี 2561 โดยปัจจุบันร้านเชลล์ ซีเล็คเปิดบริการแล้ว 124 สาขา และร้านเดลี่ คาเฟ่เปิดแล้ว 147 สาขา

นอกจากนี้ แผนการเปิดร้านอาหารตำนาน เชลล์ชวนชิม ในปั๊มน้ำมันเชลล์ ปีนี้จะมีเพิ่มในปั๊มเชลล์ สาขาท่าพระ และ สาขา ถ.ชัยพฤกษ์ โดยยังไม่เปิดเผยรายละเอียดว่าเป็นร้านอาหารใด

ร้านกาแฟเดลี่ คาเฟ่

สำหรับการกระตุ้นลูกค้าในช่วงหลัง COVID-19 เริ่มคลี่คลาย จะมีแคมเปญ “เริ่มต้นใหม่ ไปกับเชลล์” จัดโปรโมชัน ณ สถานีบริการน้ำมัน และการบุกตลาดออนไลน์ต่อเนื่อง ได้แก่

  • เมนูเครื่องดื่มใหม่เริ่มต้น 40 บาท ในร้านกาแฟเดลี่ คาเฟ่ (ปกติเมนูเครื่องดื่มเย็นของร้านเริ่มต้น 55 บาท)
  • สำหรับลูกค้าที่ขับรถยนต์ เมื่อเติมน้ำมันเชลล์ วี-เพาเวอร์ ครบ 800 บาทต่อใบเสร็จ รับส่วนลดในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสูงสุด 800 บาท และ สำหรับลูกค้ามอเตอร์ไซค์ เพียงเติมน้ำมันเชลล์ วี-เพาเวอร์ ครบ 30 บาท รับส่วนลดในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสูงสุด 30 บาท และนำใบเสร็จใช้อัพไซส์เครื่องดื่มในร้านเดลี่ คาเฟ่
  • บริการออนไลน์ ร้านสะดวกซื้อเชลล์ ซีเล็ค เปิดบริการ Home Delivery, ร้านกาแฟเดลี่ คาเฟ่เปิดให้สั่งได้ผ่าน Grab และสถานีเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสามารถสั่งซื้อแพ็กเกจได้ผ่าน Shopee

อรอุทัยกล่าวว่า ครึ่งปีหลังปีนี้แม้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะยังเข้ามาไม่ได้มากนัก แต่หวังว่านักท่องเที่ยวไทยจะเดินทางมากขึ้นและเลือกใช้รถบ้านเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยบวก มีคนเข้าสู่สถานีบริการน้ำมันมากกว่าเดิม และเชลล์จะใช้บรรยากาศของเดลี่ คาเฟ่ รวมถึงเรื่องร้านอาหารเชลล์ชวนชิมและร้านอาหารอร่อยของท้องถิ่นที่เข้ามาตั้งในปั๊ม เป็นจุดขายเพื่อดึงคนเดินทางให้มาใช้บริการ

]]>
1283922
ESSO ทุ่ม 2 พันล้าน ขยายสาขา-ปรับโฉม 600 แห่ง ดึง 50 แบรนด์ร้านค้าสู้ศึกค้าปลีกในปั๊ม https://positioningmag.com/1226276 Tue, 23 Apr 2019 23:05:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1226276 เมื่อสถานีบริการน้ำมันยุคนี้ ต้องไม่มีแค่บริการเติมน้ำมัน แต่ได้กลายเป็นอีกหนึ่งใน “ธุรกิจค้าปลีก” ที่มองข้ามไม่ได้ เพราะมีทั้ง ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารจานด่วนแบรนด์ดังเข้ามาเปิดสาขา เพื่อเป็น “แม่เหล็ก” ในการดึงดูดลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ

ทำให้ เอสโซ่ สถานีบริการน้ำมันของสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาเปิดธุรกิจในไทยมาตั้งแต่ปี 2547 จึงต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดยปีนี้เอสโซ่ตั้งงบลงทุน 2 พันล้านบาท เพื่อใช้ขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 60 แห่ง จากปีก่อนที่มีสถานีบริการน้ำมันรวม 608 แห่ง โดยเป็นสถานีบริการต้นแบบ (Flagship Station) 10 แห่ง ทำให้มี Flagship เพิ่มเป็น 35 แห่งในปีนี้

พร้อมกับปรับปรุงสถานีบริการให้มีรูปโฉมใหม่ภายใต้รูปแบบ Synergy ให้ครบทั้งหมดจากล่าสุดปรับปรุงไปแล้ว 300แห่ง โดยมีเพิ่มร้านค้าพันธมิตรอีก 50 ร้าน เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรมากที่สุดให้เอสโซ่ ต่อเนื่อง

มาโนช มั่นจิตจันทรา ผู้จัดการตลาดขายปลีก บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO เปิดเผยว่า กลยุทธ์ของเอสโซ่นั้น จะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (นอนออยล์) เอง แต่จะดึงพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญกว่ามาลงทุน อาทิ ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ ร้าน Grand COFFEE BOY, ร้าน RABIKA COFFEE ร้านครัวพี่เสือ ร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท, ร้านไก่ทอดเคเอฟซี เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ในปี 2561 เอสโซ่มีการขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึง 73แห่ง แต่ได้มีการปิดสถานีบริการที่มีให้ผลตอบแทนไม่คุ้ม และมีการปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันให้มีรูปโฉมใหม่ภายใต้รูปแบบ Synergy จำนวน 213 แห่ง

เอสโซ่ มองว่า ธุรกิจค้าน้ำมันยังไปได้ดี แม้ว่ากระแสการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคพลังงาน แต่ก็ยังเชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันในอีก 10 ปีข้างหน้าจะยังคงมีความต้องการอยู่มาก โดยเฉพาะในการขนส่งของรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือน้ำมันอากาศยานที่ EV ยังเข้ามาทดแทนไม่ได้.

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9620000039417

]]>
1226276
เจาะสงคราม “ร้านกาแฟ” ในปั๊มน้ำมัน สู่เชนกาแฟนอกปั๊ม https://positioningmag.com/1180713 Sun, 29 Jul 2018 04:00:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1180713 ปั๊มน้ำมันเวลานี้ ไม่ได้ทำรายได้จากการขายน้ำมันเท่านั้น แต่ยังแปลงสภาพกลายเป็นศูนย์การค้า” ขนาดย่อม ทำเงินจากธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

เป็นการกระจายความเสี่ยง ไม่ต้องพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว

กว่า 10 ปีที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน จึงเลือกวางแพลตฟอร์มการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจผ่านโครงสร้างธุรกิจนอนออยล์ เป็นยุทธศาสตร์หลัก แล้วขับเคลื่อนอย่างหนัก จนสามารถเปลี่ยนจากรายได้เสริมมาถึงจุดที่เป็นรายได้หลักได้สบาย ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจที่มีอยู่เกือบทุกแบรนด์ในตอนนี้ ล้วนเลือกวางเป้าหมายที่จะผลักดันสัดส่วนรายได้ระหว่างออยล์และนอนออยล์ให้ถึงระดับ 50:50 เหมือนๆ กัน

รายได้กว่า 10,000 ล้านของคาเฟ่ อเมซอน ตัวจุดพลุศึกกาแฟปั๊ม

ร้านกาแฟในสถานีบริการน้ำมันหรือปั๊มน้ำมันเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างรายได้และทำกำไรสูงสุด สะท้อนจากคาเฟ่ อเมซอน ร้านกาแฟของ ปตท.ที่สามารถสร้างรายได้พุ่งขึ้นแตะระดับ 10,000 ล้านบาท ในปี 2560 พร้อมกับการขึ้นเป็นผู้นำในตลาดร้านกาแฟ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 40% และจากนี้ คาเฟ่ อเมซอนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ร้านกาแฟในสถานีบริการน้ำมันกลายเป็นแนวรบที่ร้อนแรงขึ้นอย่างแน่นอน

คาเฟ่ อเมซอนทำธุรกิจเข้าสู่ปีที่16 สร้างวัฒนธรรมการดื่มกาแฟในปั๊มน้ำมันให้กับคนไทยเป็นที่สำเร็จ ด้วยราคากลางๆ เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย และมีจำนวนสาขากว่า 2,000 แห่ง ตามจำนวนปั๊ม ปตท.ที่มีอยู่เกือบครบทุกปั๊ม

แต่ละสาขาออกแบบตกแต่งไปในทิศทาเดียวกัน เมื่อบวกกับจุดได้เปรียบในเรื่องทำเลที่อยู่ติดถนนใหญ่ การเข้าถึงทำได้โดยง่าย จากกลุ่มนักเดินทางขยายไปยังกลุ่มคนทั่วไป

ยิ่งจำนวนสถานีบริการของ ปตท.จากปี 2560 มีอยู่ประมาณ 1,640 แห่ง จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 2,560 แห่งภายในปี 2565 ซึ่งย่อมหมายถึงจำนวน คาเฟ่ อเมซอนที่จะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน

องค์ประกอบเหล่านี้เองที่ส่งให้คาเฟ่ อเมซอนได้เปรียบในแง่การเข้าถึงผู้บริโภค และสร้างให้แบรนด์เป็นที่จดจำและความคุ้นเคยในการใช้บริการ

กระทั่งเวลานี้คาเฟ่ อเมซอนสามารถต่อยอดจากร้านกาแฟในปั๊มไปสู่การสาขานอกปั๊ม ขยายสาขาในศูนย์การค้าไฮเปอร์มาร์เก็ตตลอดจนย่านชุมชน ด้วยไซส์ขนาดเล็กห้องแถวเดียว ทำให้การขยายได้ง่ายขึ้นก้าวไปสู่การเป็นผู้เล่นในตลาดกาแฟนอกบ้านรวมทั้งกาแฟเทกโฮมซึ่งมีมูลค่าถึง 26,700 ล้านบาท เฉพาะตลาดร้านกาแฟ มีมูลค่า 17,000 ล้านบาท ซึ่งคาเฟ่ อเมซอนได้กลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ทางเลือกของผู้บริโภคที่ชื่นชอบกาแฟสดในราคาไม่สูงมาก

สตาร์บัคส์หยั่งเชิงธุรกิจร้านกาแฟในปั๊มไทย

การเติบโตของธุรกิจร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันอย่างที่มีนัยสำคัญเป็นการสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟของคนไทยที่ขยายวงกว้างขึ้นอย่างชัดเจน ประกอบกับร้านกาแฟระดับพรีเมียมในปั๊มน้ำมันยังเป็นช่องว่างที่ไม่มีแบรนด์ใดครองตลาดได้เบ็ดเสร็จ

เหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้สตาร์บัคส์ตัดสินใจเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าในปั๊มน้ำมันโดยร่วมมือกับเอสโซ่ เปิด 3 สาขาแรกที่เอสโซ่ สาขาบางบัวทอง นนทบุรี, วังมะนาวเพชรบุรี และกาญจนบุรี

นับเป็นความลงตัวในฐานะพันธมิตรระหว่างเอสโซ่กับสตาร์บัคส์แบรนด์อเมริกันที่มีจุดขายความพรีเมียมเพื่อยกระดับธุรกิจให้อยู่เหนือการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งแผนการขยายปั๊มน้ำมันของเอสโซ่ปี 2561 จะเปิดเพิ่ม 80 แห่ง จากสิ้นปีที่ผ่านมามีจำนวน 553 แห่ง 50 แห่งเป็นการเปลี่ยนจากเพียวมาเป็นเอสโซ่ ผ่านการควบรวมธุรกิจ และอีก 30 แห่งสถานีบริการใหม่

ปัจจุบันสตาร์บัคส์มีจำนวนสาขาประมาณ 321 แห่งทั่วประเทศ ในรูปแบบสาขามาตรฐานในห้างสรรพสินค้า สาขาเดี่ยว (Stan alone) ตามพื้นที่ชุมชน ย่านธุรกิจ ย่านเมือง และสาขาเป็นโมเดลพิเศษลักษณะ Unique ในทำเลที่โดดเด่นและมีเรื่องราว

ล่าสุดสตาร์บัคส์วางแผนเข้าเจาะช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการคอนโดมิเนียม และรวมถึงในปั๊มเอสโซ่ โดยมีเป้าหมายเดินหน้าตามแผนเปิดร้านสาขาให้ครบ 400 สาขาภายในปี 2562 โดยในปี 2560 สตาร์บัคส์มีรายได้รวม 7,006 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.78% ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 20 ปี

สงคราม ร้านกาแฟ” ที่ปั๊มน้ำมัน

สำหรับธุรกิจร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันขณะนี้ต้องถือว่าดุเดือดจากบรรดาผู้ท้าชิงที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกขณะ แต่ละแบรนด์ต่างเร่งเติมแนวรุกกันอย่างไม่ลดละ โดยเฉพาะแผนการขยายสาขาซึ่งถือเป็นความได้เปรียบของร้านกาแฟระดับกลาง ที่สัดส่วนกำไรต่อหน่วยไม่สูงจึงต้องสร้างวอลุ่มในการขาย

เริ่มที่ บางจาก ที่ปักหมุดร้านกาแฟอินทนิลขึ้นมาถึง 457 สาขา และเข้าแทรกในตลาดร้านกาแฟระดับพรีเมียมด้วยแบรนด์ อินทนิล การ์เด้นได้อีกกว่า 40 สาขา ปัจจุบันอินทนิลสร้างรายได้ให้บางจากในกลุ่มนอนออยล์ถึง 70% และมีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนภายในสิ้นปี 2561 ประมาณ 600 สาขา

พีทีจี เป็นอีกค่ายที่วางโรดแมปของธุรกิจกาแฟผ่านการสร้างแบรนด์ พันธุ์ไทย มีจำนวนสาขาขณะนี้ 150 แห่ง และวางแผนจะเปิดสาขาใหม่ปีละ 200 สาขา โดยจะรุกทั้งสาขาในและนอกปั๊ม

นอกจากนี้พีทีจีได้ซื้อกิจการของ คอฟฟี่เวิลด์ (Coffee World) ในประเทศไทยที่มี 100 สาขาผ่านบริษัทลูกอย่าง บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด ปิดดีลที่ 205 ล้านบาท และตั้งเป้าจะขยายเป็น 140 สาขา ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นธุรกิจพรีเมียมเพื่อผลักดันรายได้ในส่วนของธุรกิจนอกปั๊มน้ำมัน

ส่วน เชลล์ พัฒนาร้านกาแฟ เดลี่ คาเฟ่ (delicafé) ซึ่งเชลล์ทั่วโลกจะมีร้านเดลี่ คาเฟ่ แต่ในไทยจะแตกต่างเพราะเป็นแห่งแรกของโลกที่ชูคอนเซ็ปต์ Breathing Space to Recharge ซึ่งลูกค้าสามารถพักผ่อน ดื่มกาแฟและขนมสูตรเฉพาะ โดยมีแผนจะเปิดร้านเดลี่ คาเฟ่ ปีละอย่างน้อย 30 สาขา จากตอนนี้มีอยู่ 55 สาขา

ในปีที่ผ่านมาเชลล์ลงทุนขยายร้านเดลี่ คาเฟ่ใหม่รวม 26 แห่ง จากที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นทำให้เชลล์จัดตั้งทีมเพื่อมาดูแลธุรกิจกาแฟโดยเฉพาะ และตั้งเป้าสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักให้มากขึ้น ล่าสุดเดลี่ คาเฟ่ได้เพิ่มรูปแบบไดรฟ์ทรู เพื่อความสะดวกพร้อมกับขยายผลิตภัณฑ์กาแฟแบบขวดพร้อมดื่ม หรือเดลี่ทูดริ้งก์ (Deli to Drink) ออกมาทำตลาด ราคาจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 45 บาท/ขวด โดยกาแฟเดลี่ทูดริ้งก์จะเน้นไปที่ความสดใหม่ ไม่ใส่สารกันบูดและได้รสชาติกาแฟที่แท้จริง

การวางเกมรุกเพื่อขยายฐานรายได้ของธุรกิจร้านกาแฟในปั๊มน้ำมันขณะนี้ ได้ก้าวข้ามจากยุคของธุรกิจรองสู่ธุรกิจหลักในฐานะแม็กเนตที่จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ เพราะทุกค่ายต่างพยายามเพิ่มจำนวนสาขา สร้างบรรยากาศให้สวยงามแตกต่าง พัฒนาเมนูหลักและรองให้มีความโดดเด่นไม่แพ้ร้านกาแฟแบรนด์ดัง

ปัจจัยเหล่านี้นอกจากจะสะท้อนถึงความดุเดือดทางธุรกิจแล้วยังบ่งชี้ถึงไลฟ์สไตล์และรสนิยมการดื่มกาแฟ รวมถึงการให้ความสำคัญกับแบรนด์ของคนไทยได้เป็นอย่างดี.

]]>
1180713
“Starbucks” ควงเอสโซ่ เปิดสาขาในปั๊ม ประเดิม 3 สาขา นอกกรุงเทพฯ https://positioningmag.com/1167878 Mon, 30 Apr 2018 09:40:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167878 นับเป็นการเปิดเกมรุกแบบวิน วิน ระหว่างเอสโซ่และสตาร์บัคส์ในการเปิดร้านกาแฟระดับพรีเมียม ในการเปิดสตาร์บัคส์ในปั๊มน้ำมัน

มาโนช มั่นจิตจันทรา กรรมการและผู้จัดการตลาดขายปลีก บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ESSO) บอกถึงที่มาของความร่วมมือ มาจากความต้องการในการรุกธุรกิจ Non-Oil ของเอสโซ่ ให้นำ้หนักกับธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน รวมทั้งธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-Oil) มากขึ้น ทั้งจากความร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้ารายเดิมอย่างต่อเนื่อง และสร้างพันธมิตรทางการค้ารายใหม่ 

โดยปีนี้ได้วางแผนเปิดร้านค้าในสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 50-60 ร้านค้า จากปัจจุบันที่มีอยู่ 307 ร้านค้า 

พันธมิตรทางการค้ารายใหม่ล่าสุด คือ ร้านกาแฟชื่อดัง Starbucks เปิดสาขาในปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ประเดิม 3 สาแรก ภายในไตรมาส 4 เช่น บางบัวทอง นนทบุรี, วังมะนาว เพชรบุรี และกาญจนบุรี 

จากเดิมก่อนหน้านี้สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่มีพันธมิตรทางการค้าที่เปิดร้านกาแฟหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นร้านคาเฟดิโอโร่ และร้านกาแฟราบิก้า เป็นต้น

นอกจากนี้ เอสโซ่ ยังเตรียมปรับรูปแบบร้านสะดวกซื้อไทเกอร์มาร์ทใหม่เพื่อรองรับความต้องการของบางสถานีบริการที่ต้องการมีร้านสะดวกซื้อที่ไม่ต้องมีขนาดใหญ่มาก แต่มีสินค้าที่คนในชุมชนต้องการ

ปัจจุบันเอสโซ่มีร้านไทเกอร์อยู่ 50 แห่ง จากเดิมที่เคยมีราว 100 แห่ง แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ทยอยปิดร้านไทเกอร์มาร์ทลง โดยให้พันธมิตรทางการค้าที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาเปิดแทน ไม่ว่าจะเป็นเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส, แฟมิลี่มาร์ท, มินิบิ๊กซี, เอส มินิมาร์ท 

ส่วนแผนการขยายสถานีบริการน้ำมันในปีนี้ จะเปิดเพิ่ม 80 แห่ง จากสิ้นปีที่แล้วมีอยู่ 553 แห่ง โดย 50 แห่งเป็นการเปลี่ยนจากสถานีบริการน้ำมันเพียวมาเป็นเอสโซ่แทน และที่เหลืออีก 30 แห่งเป็นการสร้างสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ใหม่

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนปรับโฉมปั๊มใหม่ให้เป็นตามมาตรฐานสถานีบริการน้ำมันเอ็กซอนทั่วโลก โดยช่วง มี..-เม..นี้จะเปิดสถานีบริการต้นแบบ 6 แห่ง บริเวณพระราม 4, รังสิต, วังน้อย, ลาดพร้าว, สมุทรสาคร และสมุทรปราการ โดยสิ้นปีนี้คาดว่าจะปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันเดิมได้ราว 200 แห่ง และปี 2563 จะปรับปรุงครบทุกแห่งทั่วประเทศ โดยปีนี้บริษัทวางงบลงทุนในการขยายและปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันประมาณ 2 พันล้านบาท

จากนโยบายการรุกตลาดค้าปลีกอย่างเต็มที่ในปีนี้ บริษัทฯ วางเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดน้ำมันไว้เพิ่มขึ้นจากเดิม 11% เป็นอันดับ 4 รองจาก ปตท. บางจาก และเชลล์ โดยคาดว่าปลายปี 2561 จะมีส่วนแบ่งการตลาดแซงหน้าเชลล์.

]]>
1167878
แม่มณีบุกปั๊มน้ำมัน! เมื่อเชลล์จูบปากเอสซีบี จ่ายค่าน้ำมันด้วยคิวอาร์โค้ด https://positioningmag.com/1153103 Wed, 10 Jan 2018 02:00:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153103 บทความโดย : อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์

เดินเกมรุกนำบริการชำระเงินผ่าน คิวอาร์ โค้ด ไปให้ร้านค้าต่างๆ ใช้งานอย่างคึกคักมาแล้ว คราวนี้ เอสซีบี ถึงคิวบุกสถานีบริการน้ำมันเชลล์ รับชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลงผ่านระบบดังกล่าวเป็นครั้งแรก

จากการผนึกกำลังระหว่างเชลล์และธนาคารไทยพาณิชย์ที่ใช้เวลาปลุกปั้นโปรเจกต์นี้เพียง 2 สัปดาห์เพื่อเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ปตท.จับมือกับธนาคารกสิกรไทยชำระสินค้าและบริการผ่านคิวอาร์ โค้ดในส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันมาแล้ว

เมื่อเป็นสถานีนำร่อง จึงไม่มีที่ไหนจะเหมาะเจาะกับการเปิดตัว Digital Cashless Station เท่ากับสถานีบริการน้ำมันเชลล์เลิศตระการ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน พอดี

โดย Dive-in pay Station ถูกกันให้เป็นพื้นที่สำหรับชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยคิวอาร์โค้ด สำหรับทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ต้องอยู่บนพื้นที่ปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือตามกฎกระทรวง ต้องไม่อยู่ใต้ชายคาที่ตั้งของหัวจ่าย

อรอุทัย ณ เชียงใหม่ กรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก ประจำประเทศไทย บอกว่านี่คือความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของเชลล์ในการตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ในเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความรวดเร็ว 

“ปัจจุบัน transaction ของปั๊มเชลล์ราว 70-80% เป็นเงินสด แต่หากภายในกลางปี 2561 นี้ จะเพิ่มการรับชำระค่าเชื้อเพลิงด้วยคิวอาร์โค้ดได้ครอบคลุมทั้ง 520 สาขา  4 ฟอร์แมต ที่ปัจจุบันกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งจะรวมถึงการขยายระบบชำระเงินคิวอาร์ โค้ด ในส่วนของกลุ่มธุกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ทั้งร้านสะดวกซื้อเชลล์ ซีเล็ค ร้านกาแฟเดลี่คาเฟ่ และศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเชลล์ เฮลิกส์ พลัส ไปพร้อมๆ กัน ก็คาดว่าสัดส่วนการใช้เงินสดจะลดลงเหลือประมาณ 60%”

อรอุทัยยังแจกแจงอีกว่า การชำระค่าเชื้อเพลิงด้วยคิวอาร์โค้ดนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการจี้ ปล้น ซึ่งจัดเป็นความเสี่ยงอันดับ 3 ของสถานีบริการน้ำมันลงไปได้ โดยความเสี่ยงอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ คือ ปริมาณทราฟฟิกของลูกค้าที่ไม่คงที่ และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการที่พนักงานเติมน้ำมันล้นถัง

แม้ในช่วงแรกของการให้บริการในสถานีบริการน้ำมันเชลล์แห่งนี้ อรอุทัยจะยอมรับว่ายังคงขลุกขลักอยู่บ้าง เพราะ Customer Journey ยังไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร เนื่องจากเมื่อเติมน้ำมันแล้ว ต้องขับรถไปชำระด้วยคิวอาร์โค้ดที่ Drive-in pay Station ที่ไม่มีทางออกโดยเฉพาะ ลูกค้าต้องถอยรถเพื่อกลับออกไปอีกทาง แต่สำหรับการให้บริการสาขาอื่นๆ ในอนาคตจะต้องราบรื่นมากกว่านี้ โดยจะพพัฒนาให้เป็นไปในรูปแบบของ Drive-through โดยสมบูรณ์ให้ได้

ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้ของเชลล์ในปี 2560 มาจากธุรกิจน้ำมัน 80% และธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน 20% ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยร้านสะดวกซื้อเชลล์ ซีเล็ค 74 สาขา (คิดเป็นสัดส่วน 14.23% ของสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้งหมด และปีที่ผ่านมาไม่มีการเปิดสาขาใหม่ เพราะต้องการปรับโอเปอเรชั่นสาขาที่มีอยู่แล้วทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น), ร้านกาแฟเดลี่คาเฟ่ 55 สาขา (คิดเป็นสัดส่วน 10.58% ของสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้งหมด) และศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเชลล์ เฮลิกส์ พลัส 350 สาขา (คิดเป็นสัดส่วน  67%  ของสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้งหมด)

ด้าน อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการ Retail Products และ Retail Payments ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เป้าหมายของธนาคารไทยพาณิชย์ คือ ต้องการบรรลุยอดให้บริการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดที่ 1,000,000 ราย ภายในสิ้นปี 2561 นี้

นับเป็นการออกโรงอย่างแข็งขันของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของไทย เพื่อต่อกรกับบรรดาผู้ให้บริการรับชำระเงินข้ามชาติที่กำลังบุกไทยในขณะนี้ ซึ่งการจะสู้ศึกได้อย่างไม่เพลี่ยงพล้ำนั้น จะต้องหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีวิสัยทัศน์ และมีสปีดที่ใกล้เคียงกันอย่างเชลล์

สำหรับพันธมิตรของธนาคารไทยพาณิชย์ที่นอกเหนือไปจากสถานบริการน้ำมันนั้น ธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ที่รับผิดชอบภาพรวมการตลาด ในฐานะรักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดได้รับการตอบรับที่ดีจากพันธมิตรธุรกิจหลายราย ทั้งในส่วนของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ โอสถสภา และยูนิลีเวอร์ (เน้นในส่วนของ B2B โดยเฉพาะ Cash Van), ธุรกิจขนส่ง รวมถึงเชนร้านอาหารต่างๆ และขณะนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่อง Payment Solution ทั้งหมดกับเดอะมอลล์กรุ๊ปด้วย

“ที่ผ่านมาเราทดลองเยอะว่าจะเอาร้านค้าก่อนหรือลูกค้าก่อนดี แต่หลังจากเราเปิดตัวแม่มณี พบว่าเรามาถูกทางแล้ว คือต้องมีที่ใช้ก่อน คนถึงจะใช้ เพราะต่อให้มีคนใช้จริงๆ แต่ไม่มีร้านไหนขึ้นป้ายชัดเจน หรือมีป้ายแต่คว่ำไว้ คิวอาร์ โค้ด เพย์เมนต์ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง”

สำหรับความเคลื่อนไหวธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันของเชลล์ จะแถลงข่าวในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งทาง POSITIONING จะเกาะติดความคืบหน้าและความเคลื่อนไหวที่คาดว่าจะเป็นก้าวสำคัญของเชลล์ในการลุยธุรกิจค้าปลีกมานำเสนอแบบเจาะลึกต่อไป โปรดติดตาม.

]]>
1153103
ผ่าเกมเดือดธุรกิจค้าปลีก “ปั๊มน้ำมัน” จากร้านกาแฟถึงโรงแรม https://positioningmag.com/1096663 Wed, 06 Jul 2016 23:45:25 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096663 กางแผน 5 ค่ายสถานีบริการน้ำมัน ปตท.-บางจาก-เอสโซ่-เชลล์-พีที อัดฉีดงบ ปรับเกมกลยุทธ์จากปั๊มน้ำมันสู่ธุรกิจค้าปลีก นำโดย ปตท. เปิดแนวรบต่อยอดจากร้านกาแฟถึงโรงแรม บางจาก-เอสโซ่ ปรับแผนดึงเชนร้านสะดวกซื้อเปิดสาขาแทนแบรนด์ตัวเอง

ปตท. จากค้าปลีกสู่อสังหาฯ

เกมรุกสู่ธุรกิจค้าปลีกของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เริ่มขึ้นหลังจากซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” มาเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว คือในปี 2550 และก่อตั้ง ”บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก” หรือ PTTRM

นับจากนั้น ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก หรือ PTTRM ก็ใส่เกียร์ดินหน้าขยายสู่ธุรกิจ “ค้าปลีก” อย่างมีสีสัน เพราะสามารถสร้างกำไรได้ถึง 30-50% เพื่อทดแทนรายได้ธุรกิจน้ำมันที่มีการผันผวนไม่แน่นอน กำไรก็ไม่แน่นอน

คอนเซ็ปต์ “Life Station” ของ ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีกจึงเกิดขึ้น เพื่อมารองรับกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ให้มา “ชอป และชิม” ในร้านค้าต่างๆ ที่ ปตท.เปิดให้ร้านแบรนด์ต่างๆ เข้ามาเปิดบริการ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN จะขยายสาขาเพิ่มจากที่มีอยู่ 1,270 สาขา เพิ่มเป็น 1,400 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ ร้านเคเอฟซี, เอสแอนด์พี, ร้านแบล็คแคนยอน, ร้านขนมแม่บ้านอัยการ, ร้านเชสเตอร์กริลล์, ไอศกรีมฮาเก้นดาส, โดนัท แด๊ดดี้ โด

นอกจากนี้ ปตท.ยังมีแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นเอง เช่น ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน เริ่มมาตั้งแต่ปี 2545 ปัจจุบันมี 1,500 สาขาทั่วประเทศ เปิดเพิ่มเฉลี่ยปีละ 100 สาขา มียอดเฉลี่ย 200-300 แก้ว/วัน/สาขา จึงทำให้ ปตท.เข้ามาดูแลตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์เมล็ดกาแฟ การเพาะปลูกโดยร่วมกับโครงการหลวงและรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบ ไปจนการตั้งโรงคั่วเมล็ดกาแฟ ศูนย์อบรมพนักงานด้วย เรียกว่าทำตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

เมื่อคาเฟ่ อเมซอนได้รับความนิยม จึงได้ขยายออกนอกปั๊ม เปิดสาขาในสถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยตั้งเป้าเพิ่มสาขาจาก 1,500 สาขา เป็น 1,700 สาขา ภายในปี 2559

ตามมาด้วย ชานมไข่มุก Pearly Tea ไว้รองรับลูกค้าคนรุ่นใหม่ ซึ่งใช้งบลงทุนทั้งขยายสาขา และงบการตลาด 1,500 ล้านบาท เวลานี้มีประมาณ 180-200 สาขา โดยตั้งเป้าจะเพิ่มเป็น 500 สาขาใน 5ปี  

ปตท.ยังเดิมเกมขยายธุรกิจค้าปลีกในหลายมิติ ด้วยการซื้อสิทธิ์มาสเตอร์ แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดแบรนด์เท็กซัส ชิคเก้น จากสหรัฐฯ โดยวางเป้าหมายเปิดให้ครบ 70 สาขาใน 10 ปี โดยไม่จำกัดว่าต้องอยู่ปั๊ม ปตท. แต่ยังได้ขยายสาขาไปยังห้างสรรพสินค้าต่างๆ ด้วย ถือเป็นอีกก้าวรุกที่สำคัญ เนื่องจากธุรกิจร้านไก่ทอดนั้น ถือเป็นร้านอาหารจานด่วนที่มีขนาดตลาดใหญ่แล้ว และมีคู่แข่งเป็นจำนวนมาก

ในอีกด้านหนึ่ง ปตท.เปิดตัวแบรนด์ “ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือใจดี” 2 สาขา ด้วยงบลงทุน 1.5 ล้านบาทต่อสาขา โดยมีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม 10 สาขา ส่วนการขายแฟรนไชส์ยังติดขัดเรื่องสูตรที่ยังไม่ลงตัว จึงระงับไปก่อน

ล่าสุด ปตท.สร้างความฮือฮาด้วยการเตรียมเปิด “Budget Hotel” หรือ โรงแรมราคาประหยัด ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. โดยกำหนดราคาไว้ประมาณ 600-700 บาทต่อวัน เพื่อรองรับกับเทรนด์โรงแรมราคาประหยัดที่กำลังขยายตัว ซึ่งโรงแรมลักษณะนี้จะเปิดแบบ Stand Alone ในชุมชนเมืองที่เป็นเส้นทางผ่าน ด้วยราคาห้องพักที่ไม่แพง และสะอาด เป็นที่นิยมของนักเดินทาง

นอกจากนี้ลูกค้าสามารถซื้ออาหารจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือร้านจิฟฟี่ และร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน เป็นล็อบบี้ หรือพื้นที่นัดพบได้ เท่ากับเป็นการต่อยอดให้กับธุรกิจค้าปลีก

ปตท.คาดว่าจากสถานีบริการน้ำมัน 1,400 แห่งทั่วประเทศ จะมีสถานีบริการน้ำมันที่สามารถตั้งโรงแรมราคาประหยัดได้ 50 แห่ง เพราะต้องใช้พื้นที่พอสมควร ตัวโรงแรมจะมีขนาดห้องพักไม่เกิน 70 ห้อง ซึ่ง ปตท.จะทยอยลงทุนภายใน 5 ปี

เวลานี้ ปตท.ได้เจรจากับโรงแรมราคาประหยัดอยู่หลายแบรนด์ เช่น “HOP INN” ของบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด, D2 ในเครือบริษัท ดุสิตธานี จำกัด, “B2” ของกลุ่มทุนเชียงใหม่  และล่าสุดมีกระแสข่าวว่า กลุ่มซีพีแลนด์ ก็ต้องการขยายธุรกิจโรงแรมราคาประหยัด และสนใจจะเป็นพันธมิตรกับ ปตท.ในการทำโรงแรมราคาประหยัดในปั๊ม ปตท.ด้วยเช่นกัน

ส่วนเงื่อนไขในการทำโรงแรมราคาประหยัด ปตท.ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียด เนื่องจากปั๊ม ปตท.ส่วนใหญ่เป็นปั๊มที่ดีลเลอร์ที่เป็นเจ้าของและบริหาร ไม่ใช่ปั๊มที่ ปตท.เป็นเจ้าของ ดีลเลอร์ ปตท.และเชนโรงแรมต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยอาจจะให้ดีลเลอร์หรือ ปตท.ลงทุน แต่เชนโรงแรมเป็นผู้บริหาร

สำหรับดีลเลอร์ที่ลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ในต่างจังหวัดเวลานี้ ส่วนใหญ่จะใช้เนื้อที่ขนาดใหญ่ หลายไร่ ใช้เงินลงทุนนับ 10 ล้านบาท ซึ่งแรงดึงดูดของผู้ที่ต้องการลงทุนเป็นดีลเลอร์ของปั๊ม ปตท.ไม่ใช่กำไรจากส่วนต่างของน้ำมัน แต่เป็นธุรกิจค้าปลีกภายในปั๊มน้ำมัน เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ รวมทั้งเปิดพื้นที่เช่นในปั๊มน้ำมัน เปรียบแล้วไม่ต่างไปจากการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถเก็บรายได้จากค่าเช่าระยะยาว

แผน 5 ปี ปตท.ลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท

ปตท.ได้วางงบลงทุน 5 ปี (2559-2563) อยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท ใช้ในการขยายจำนวนสถานีบริการน้ำมัน โดยจะขยายเพิ่มเป็น 1,575 แห่งในสิ้นปีนี้ ทั้งที่เป็นปั๊มขนาดกะทัดรัด (Compact) ตามถนนสายรอง มีร้านค้าต่างในปั๊มไม่มาก แต่จะมีร้านสะดวกซื้อ 7-11 และคาเฟ่ อเมซอน ทุกแห่ง และงบลงทุนบางส่วนถูกนำมาใช้ในการลงทุนธุรกิจนอนออยล์ เพราะสร้างผลกำไรที่ดีให้กับกลุ่มธุรกิจน้ำมัน และยังเป็นตัวหนุนให้ ปตท.รักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ระดับ 40% ไว้ได้

สำหรับบริษัทน้ำมันค่ายอื่นๆ ก็ไม่น้อยหน้า ปตท. ต่างทุ่มงบลงทุนในธุรกิจนอนออยล์ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มมาร์จินในธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน เพราะต้องยอมรับว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทน้ำมันข้ามชาติชะลอการลงทุนขยายสถานีบริการน้ำมันในไทยลงไปพอสมควร เนื่องจากค่าการตลาดที่ต่ำมากทำให้บริษัทแม่ในต่างประเทศเมินการลงทุนในไทย มีเพียงช่วง 2-3 ปีนี้เองที่เริ่มปรับขบวนทัพใหม่ มีการรุกตลาด Non Oil เพิ่มมากขึ้น

1_retail_oil

บางจากทุ่ม 3 พันล้านขยาย 50 สาขาแตกไลน์ค้าปลีก

สถานีบริการน้ำมัน ”บางจาก” ก็พยายามใช้นโยบายเชิงรุกมาตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภายใต้นโยบายการเป็นผู้นำด้านพลังงานสีเขียวและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาใช้มัดใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ส่งผลให้บางจากมียอดขายน้ำมันที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันชิงส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แซงเอสโซ่และเชลล์ โดยมีปั๊มน้ำมันถึง 1,000 แห่งทั่วประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นปั๊มน้ำมันสหกรณ์การเกษตร ซึ่งบางจากมีนโยบายที่จะยกระดับปั๊มสหกรณ์ฯ ให้เป็นปั๊มน้ำมันมาตรฐาน

ธุรกิจนอนออยล์ เป็นแรงส่งที่ทำให้บางจากเติบโตขึ้น โดยได้ปรับนโยบาย ดึงร้านสะดวกซื้อ ”มินิ บิ๊กซี” เข้ามาเปิดในปั๊ม ตั้งเป้าขยาย 160 แห่งในปีนี้ ทดแทนร้านสะดวกซื้อที่บางจากตั้งขึ้นภายใต้แบรนด์ใบจาก รวมทั้งยังได้สร้างแบรนด์ร้านกาแฟ ”อินทนิล” เปิดสาขาทั้งในปั๊มและนอกปั๊ม ตามห้างสรรพสินค้า จึงทำให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเปิดถึง 400 สาขาในปีนี้

รวมทั้งเปิดร้านเลมอน คิทเช่น (Lemon Kitchen) ภายใต้คอนเซ็ปต์การปรุงอาหารสดจานต่อจาน และมีมุม Grab&Go เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อกลับไปทานด้วย

หมากต่อไปของบางจาก จะใช้งบลงทุน 3 พันล้านบาท เพื่อขยายสถานีบริการเพิ่มขึ้นอีก 50 แห่งในปีนี้ รวมทั้งพัฒนาแตกไลน์ธุรกิจ Non Oil เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป้าหมายเป็นแบรนด์ที่ได้รับความการชื่นชมจากผู้บริโภคมากที่สุดในปี 2563

เอสโซ่ ขอทวงที่ 2

เอสโซ่ ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทยที่มีอายุเกิน 100ปี ที่ในช่วงหลังถูก ปตท. บางจาก และพีทีจี นำหน้าไปก่อน จนฉุดส่วนแบ่งการตลาดร่วงเป็นอันดับ 3 รองจาก ปตท. และบางจาก หันมาเริ่มกิจกรรมตลาดในช่วงนี้ ออกบัตรสะสมแต้ม ”เอสโซ่ สไมล์ส” ด้วยการจับมือกับเทสโก้ โลตัสและแอร์เอเชีย โดยนำคะแนนมาแลกสินค้าหรือตั๋วเครื่องบิน

งานนี้ เอสโซ่ ต้องการชิงมาร์เก็ตแชร์คืนจากบางจากภายใน 5 ปี โดยได้รับไฟเขียวจากบริษัทแม่ ทุ่มเงินลงทุนพันล้านบาทในการปรับโฉมปั๊มน้ำมันให้ทันสมัย มีรูปลักษณ์เหมือนปั๊มเอสโซ่ในต่างประเทศ รวมทั้งกับขยายปั๊มเพิ่มปีละ 30 แห่ง เน้นภาคกลางและใต้

ขณะเดียวกันก็ลงทุนเปิดสถานีบริการครบวงจรขนาดใหญ่มีร้านค้าต่างๆ และมินิมาร์ท บนพื้นที่ 4-5 ไร่ที่วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เงินลงทุน 70ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) หวังเป็นปั๊มต้นแบบหวังดึงดีลเลอร์ที่สนใจทำธุรกิจนี้หันมาลงทุนด้วย โดยตั้งเป้าหมายทำปั๊มขนาดใหญ่ครบวงจรปีละ 5แห่ง ตามถนนไฮเวย์

ปิดไทเกอร์มาร์ท เปิดทางเชนสะดวกซื้อ

ขณะเดียวกันได้ปรับกลยุทธ์ค้าปลีกใหม่ ด้วยการปิดร้านสะดวกซื้อ ”ไทเกอร์มาร์ท” จนปัจจุบันมีเหลือเพียง  60 แห่งที่เป็นของดีลเลอร์ คาดว่าจะปิดทั้งหมดในเร็วๆ นี้ เพื่อเปิดทางให้เชนร้านสะดวกซื้อ “เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส, S Mart ของกลุ่มทีโอเอ และแฟมิลี่มาร์ท เข้ามาลงทุนแทน เช่นเดียวกับร้านกาแฟก็มีเชนกาแฟหลายร้านอาทิ ดิโอโร่, อาราบิก้า รวมทั้งร้านฟาสต์ฟูด อย่าง แมคโดนัลด์ และเบอร์เกอร์คิง เป็นต้น เข้ามาเช่าพื้นที่ขาย

เชลล์ ปรับสู่ตลาดพรีเมียม

สำหรับค่าย ”เชลล์” นั้น เมื่อสู้ในตลาดแมสไม่ได้ เดินเกมรุกด้วยการจับตลาดนิชมาร์เก็ต ด้วยการโฉมสถานีบริการน้ำมันเชลล์ วี เพาเวอร์ที่ชูจุดขายบริการระดับพรีเมียมแห่งแรกของโลกในไทย เพื่อฉีกคู่แข่ง เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ

นอกจากน้ำมันจะมีราคาแพงกว่าน้ำมันปกติลิตรละ 3 บาท มีพนักงานให้บริการ 2คนต่อรถ 1 คัน และพนักงานสามารถรับคำสั่งเติมน้ำมัน ซื้อสินค้า เครื่องดื่มจากร้าน Deli Cafe รวมทั้งชำระเงินผ่านเครื่อง Portable Digital Device โดยลูกค้าไม่ต้องออกจากรถ

อย่างไรก็ตาม การเปิดปั๊มระดับพรีเมียมของเชลล์เป็นเพียงโครงการนำร่อง ต้องรอผลการตอบรับจากผู้บริโภคก่อนตัดสินใจขยายสาขาเพิ่มเติมหรือไม่จากปัจจุบันมีอยู่ 2 สาขา

ส่วนการรุกธุรกิจค้าปลีกของเชลล์ ในสาขาเดิมที่มีอยู่กว่า 500 แห่ง จะมุ่งเน้นไปที่การเปิดร้าน เดลี่ คาเฟ่ (Deli Cafe) เป็นทั้งร้านกาแฟและร้านสะดวกซื้อ โดยมีเป้าหมายขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้ครบ 50แห่งในปีนี้ นับเป็นแบรนด์นอนออยล์ของเชลล์ที่พัฒนาขึ้นหลังจากร้านสะดวกซื้ออย่าง ”ซีเล็ค” มีการขยายตัวได้ช้าเมื่อเทียบร้านสะดวกซื้อค่ายน้ำมันอื่นๆ

จับตาพีทีจีกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองจับเอสเอ็มอี

ส่วนอีกค่ายที่ต้องจับตา บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี (มหาชน) เจ้าของปั๊มน้ำมันพีที ที่มีการเดินเกมรุกขยายสาขาอย่างรวดเร็ว โดยใช้กลยุทธ์การ “สวมแบรนด์” แทนปั๊มน้ำมันค่ายอื่นที่หมดสัญญาเช่าลง ตั้งเป้ามีปั๊มน้ำมันครบ 1,500 แห่งในสิ้นปีนี้ โดยทุกปีจะเปิดปั๊มเพิ่ม 350แห่ง

ขณะเดียวกันใช้กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ขยับจากสาขาต่างจังหวัดเข้ามาเปิดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการ ”รีแบรนด์” พลิกจากการถูกมองว่าเป็นปั๊มสำหรับรถบรรทุก เพิ่มความทันสมัยเพื่อรองรับกับแผนการขยายจากป่าสู่เมือง

ด้วยความที่สาขาส่วนใหญ่จะอยู่ถนนสายรอง ธุรกิจค้าปลีกในปั๊มพีทีนั้นมุ่งไปที่เอสเอ็มอีเป็นหลัก นอกจากร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ตัวเองอย่าง Max Mart และร้านกาแฟพันธุ์ไทยที่มีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นจาก 46 สาขา และ 30 ตามลำดับ และเพิ่มเป็น 1,000 สาขาภายใน 5ปีข้างหน้า และมีการดึงร้านค้าอย่าง KFC เข้ามาเช่าพื้นที่ขาย

พีทีจียังเปิดช่องให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) สามารถเข้ามาเปิดร้านขายให้ปั๊มพีทีโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าในช่วงแรก เวลานี้ได้ ”หมูทอดเจ๊จง” ชื่อดัง เข้ามาเปิดร้านจำหน่ายในปั๊มพีทีแล้ว ส่งผลให้ปั๊มพีทีมีร้านค้ารายย่อยที่แตกต่างกันไปจากปั๊มน้ำมันอื่นๆ

นอกจากนี้ พีทีจีเองเคยได้รับการติดต่อเพื่อเปิดโรงแรมราคาประหยัดในปั๊มพีที แต่สุดท้ายต้องยุติแผนนี้ไป เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญและขนาดปั๊มส่วนใหญ่ก็เล็กเกินกว่าที่จะมีโรงแรมได้

คาลเท็กซ์วิ่งไล่ตามคู่แข่ง

ที่ผ่านมาค่าย “คาลเท็กซ์” ของบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด แม้จะมีการขยับขยายน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยมีธุรกิจค้าปลีกในปั๊ม ร้านสะดวกซื้อ ”สตาร์มาร์ท” และแฟมิลี่มาร์ท, ร้านกาแฟ คาเฟ่ ดิ โอโร่, แบล็คแคนยอน ฯลฯ

แต่มา 1-2 ปีนี้ คาลเท็กซ์เริ่มให้ความสำคัญในการทำตลาดค้าปลีกน้ำมันเพิ่มมากขึ้น มีการวางเป้าหมายขยายสถานีบริการน้ำมันจากปัจจุบันมีปั๊มเกือบ 400 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งมองหาพันธมิตรคู่ค้าใหม่เข้าเสริมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่โหมทำการตลาดในช่วงนี้

2_retail_oil

3_retail_oilnew

]]>
1096663
เอาละสิ ! ปตท. เตรียมเปิด “โรงแรมราคาประหยัด” ในปั๊ม ตั้งเป้า 5 ปี มี 50 แห่ง https://positioningmag.com/1095301 Wed, 22 Jun 2016 10:55:39 +0000 http://positioningmag.com/?p=1095301 ปตท. เปิดเกมรุกบุกตะลุยธุรกิจค้าปลีกไม่ยั้ง ไม่เพียงแค่ ธุรกิจร้านกาแฟ ขายไก่ทอด ไปจนถึงร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเท่านั้น ล่าสุด ปตท. ยังเตรียมผุดโรงแรมราคาประหยัด(Budget Hotel)ในปั๊ม ตั้งเป้า 5 ปี มี 50 แห่ง

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปตท.กำลังเจรจาหาพันธมิตรเจ้าของเชนโรงแรม 3-4 รายเพื่อพัฒนาธุรกิจโรงแรมราคาประหยัด (Budget Hotel )ในสถานีบริการน้ำมันปตท. คาดว่าจะสามารถคัดเลือกเหลือเพียงรายเดียวในปีนี้

การเปิดโรงแรมราคาประหยัด เพื่อต้องการต่อยอดธุรกิจค้าปลีกของปตท. เนื่องจากสถานีบริการน้ำมันปตท. หลายแห่งมีพื้นที่มากพอจะก่อสร้างโรงแรมฯ โดยวางเป้าหมายจะมีโรงแรมราคาประหยัดในสถานีบริการน้ำมันราว 50 แห่งภายใน

นอกจากนี้ ธุรกิจโรงแรมในสถานีบริการน้ำมันถือเป็น Business Model ช่วยตอบโจทย์ลูกค้าผู้เดินทางบ่อยๆ ซึ่งที่ผ่านมา โรงแรมราคาประหยัดจะตั้งแบบลำพัง(Stand alone) จะไม่มีล็อบบี้และร้านอาหาร แต่ถ้าทำโรงแรมฯในปั๊มจะช่วยตอบโจทย์ด้านนี้ได้ เพราะในปั๊มน้ำมันจะมีร้านสะดวกซื้อ 7-11 ให้บริการ 24 ชั่วโมง และมีร้านคาเฟ่อเมซอนที่สามารถใช้เป็นที่นั่งรอหรือประชุมได้ อีกทั้งยังสามารถขายแพคเกจทัวร์ให้นักท่องเที่ยวได้หลายจังหวัดในครั้งเดียว เพราะการเดินทางครั้งหนึ่งอาจใช้เวลาหลายวันและต้องพักหลายจังหวัด

ปัจจุบันปตท.มีสถานีบริการน้ำมันประมาณ 1,400 แห่งทั่วประเทศ โดยจะทยอยลงทุน 5 ปีนี้คาดว่าจะมีสถานีบริการน้ำมันที่มีศักยภาพที่จะตั้งโรงแรมราคาประหยัดได้ประมาณ 50 แห่ง เบื้องต้นคาดว่าขนาดโรงแรมจะอยู่ที่กว่า 70 ห้อง/แห่ง ส่วนการลงทุนนั้นอาจจะเป็นการลงทุนของปตท.โดยเช่าที่ดินจากดีลเลอร์ระยะยาว 20-30 ปี หรือดีลเลอร์เป็นผู้ลงทุนเองก็ได้

ทั้งนี้ในไทยมีโรงแรมราคาประหยัดอยู่หลายแบรนด์ เช่น ของบมจ.ดิเอราวัณ กรุ๊ป (ERW) , ของเครือบมจ.ดุสิตธานี (DTC) ,  ของกลุ่มทุนของเชียงใหม่ สำหรับราคาห้องพักคืนละ 600-700 บาท ซึ่งที่ผ่านมาทางซัสโก้ได้ลงนามสัญญากับกลุ่มเอราวัณ เพื่อให้เช่าพื้นที่ของสถานีบริการน้ำมันซัสโก้พัฒนาธุรกิจโรงแรมภายใต้ชื่อ HOP INN ในจ.ระยอง เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า

]]>
1095301
“เอสโซ่” ลุย Non-oil เน้นจับพันธมิตรปั๊มรายได้จากค้าปลีก https://positioningmag.com/1090489 Thu, 28 Apr 2016 03:11:08 +0000 http://positioningmag.com/?p=1090489 ถึงแม้ว่าเอสโซ่จะทำตลาดในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 123 ปีมาแล้ว แต่ด้วยการขยับตัวที่ค่อนข้างช้า ทำให้เอสโซ่เองไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวอะไรมากมายนัก แต่ในช่วง5 ปีที่ผ่านมาเอสโซ่เองต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อการแข่งขันในตลาด จึงเสริมทัพด้วยธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจ Non-oil มากขึ้นโดยมีการจัดตั้งทีมที่ดูแลด้านนี้อย่างจริงจัง

ก่อนหน้านี้เอสโซ่มีร้านสะดวกซื้อที่เป็นแบรนด์ของตนเองในชื่อไทเกอร์มาร์ท แต่ด้วยความที่ไม่ถนัดในด้านค้าปลีก ทำให้เอสโซ่ต้องถอนไทเกอร์มาร์ทออกไป ในปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 70 สาขาเท่านั้น และแทนที่ด้วยร้านสะดวกซื้อแบรนด์อื่นแฟมิลี่มาร์ท และเทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพรส ทำให้เอสโซ่ได้โฟกัสเรื่องน้ำมันอย่างเดียว

สาเหตุหลักที่เอสโซ่ได้ลงมาลุยเรื่องนอนออยมากขึ้นเพราะว่าพฤติกรรมของคนไทยใช้เวลาอยู่ในปั๊มน้ำมันมากกว่าประเทศอื่นๆมองว่าเป็นเหมือนจุดพักรถพักผ่อนที่แวะเข้าห้องน้ำและหาอะไรทานด้วยการที่มีธุรกิจค้าปลีกเข้ามาจะเป็นตัวดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้าปั๊มได้เป็นอย่างดีและสร้างโอกาสในเรื่องรายได้ด้วย

แต่การลุยค้าปลีกของเอสโซ่ยังคงวางจุดยืนไว้ชัดเจนว่า ธุรกิจที่ไม่มีความชำนาญ จะไม่ลงมือทำเอง โดยจะใช้โมเดลในการหาพันธมิตร ในส่วนของร้านสะดวกซื้อได้พาร์ทเนอร์กับทางแฟมิลี่มาร์ท และเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ส่วนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดได้เป็นพันธมิตรกับแมคโนนัลด์ เคเอฟซี และเบอร์เกอร์คิง รวมไปถึงร้านกาแฟ และบริการอื่นๆ

ซึ่งปั๊มที่มีร้านค้าของพันธมิตรเข้ามาเสริมนั้น จำมีพื้นที่ใหญ่กว่าปกติค่อนข้างมาก จะมีตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไป และต้องใช้งบลงทุนสูง แต่ผลตอบแทนที่ได้มาก็คุ้มค่าอยุ่เหมือนกัน เพราะทำให้รายได้สูงกว่าปั๊มน้ำมันโมเดลธรรมดา และมีสัดส่วนของรายได้จากนอนออย 30% จากปกติที่มี 10-15% ปัจจุบันเอสโซ่มีปั๊มน้ำมันที่เป็นแฟล็กชิพอยู่ราว 10% ของจำนวนทั้งหมด

ยอดพงศ์ สุตธรรม กรรมการ และผู้จัดการฝ่ายการตลาดขายปลีก น้ำมันเชื้อเพลิง กล่าวว่าเรายังคงเน้นเรื่องพลังงาน เรื่องคุณภาพน้ำมันเป็นหลักอยู่ เพียงแต่เอาธุรกิจนอนออยเข้ามาเสริมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้น เพราะพฤติกรรมคนไทยเข้าปั๊มน้ำมันแล้วทำอะไรมากกว่าเติมน้ำมัน ใช้เวลาอยู่ในปั๊มมากกว่าประเทศอื่น แต่ธุรกิจนอนออยของเรา จะไม่ทำเอง เพราไม่มีความชำนาญจะหาพันธมิตรเป็นคนทำทั้งหมด

พันธมิตรที่เอสโซ่มองเพื่อเข้ามาเติมเต็มในปั๊มเพิ่มเติมจะเป็นในส่วนของร้านอาหารที่ไม่ใช่ฟาสต์ฟู้ด ได้เลือกร้านอาหารแดงดำทดลองเปิดได้ 2-3 สาขา ก่อนที่จะขยายเพิ่มเติม รวมไปถึงมองหาร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ที่จะไปกับโมเดลปั๊มขนาดเล็กด้วย

ปัจจุบันเอสโซ่มีสัดส่วนรายได้แบ่งเป็นน้ำมัน 85% และธุรกิจค้าปลีก 15% โดยที่ตั้งเป้าจะมีสัดส่วน 15-20% ให้ได้ภายใน 3 ปี

ส่วนในปีนี้มีการขยายสาขาเพิ่มอีก 30 สถานี เน้นภาคกลาง และภาคใต้ ในปี 2558 ที่ผ่านมาได้เปิดไป 23 สถานี เป็นการลงทุนโดยดีลเลอร์ทั้งหมด เป็นกลยุทธ์ที่เอสโซ่ใช้มานานแล้ว เพราะสามารถขยายสาขาได้รวดเร็วกว่า และมีความคล่องตัวกว่า ปัจจุบันมีปั๊มน้ำมันรวม 541 สถานี

 1_essonew1

]]>
1090489