ซูเปอร์แอป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Oct 2022 04:09:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จะทำได้ไหม? ‘มัสก์’ ต้องการจะเปลี่ยน ‘Twitter’ ให้เป็น ‘ซูเปอร์แอป’ https://positioningmag.com/1404376 Mon, 17 Oct 2022 03:31:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404376 หลังจากที่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้กลับลำยอมซื้อกิจการ ทวิตเตอร์ (Twitter) อีกครั้งเมื่อวันที่ 4 ต.ค.65 ในมูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้น เท่ากับที่เคยเสนอไป พร้อมทั้งเรียกร้องให้ Twitter หยุดดำเนินคดีฐานพยายามถอนตัวออกจากข้อตกลง แนวโน้มดังกล่าวแทไปทางที่มัสก์จะได้เป็นเจ้าของ Twitter แน่ ๆ และเขาก็มีแผนจะเปลี่ยนจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเป็น ซูเปอร์แอป

เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่ อีลอน มัสก์ ซีอีโอ Tesla และ SpaceX ได้แสดงความสนใจในการสร้าง WeChat ในเวอร์ชั่นของตนเองที่จะสามารถใช้ทั้ง วิดีโอแชท ส่งข้อความ สตรีมมิ่ง และชำระเงิน ซึ่งเขาตั้งใจที่จะเปลี่ยน Twitter เป็น ซูเปอร์แอป ที่เขาเรียกว่า X

มัสก์ เคยทวีตเมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมาว่า เขาต้องการซื้อ Twitter เพื่แเป็นการเร่งสร้าง X ซึ่งเป็นซูเปอร์แอป และเคยให้รายละเอียดเพิ่มเติมในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของเทสลาในเดือนสิงหาคม และได้บอกใบ้เกี่ยวกับแนวคิดของฟีเจอร์การชำระเงิน และบริการจะเป็นส่วนสำคัญของแอป พร้อมชี้ว่าในที่สุดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของ PayPal ได้

แน่นอนว่าแค่คิดนั้นง่าย เพราะใคร ๆ ต่างก็อยากเป็นซูเปอร์แอปทั้งนั้น ดังนั้น เขาอาจจะต้องเจอกับการแข่งขันที่หนักหน่วง อย่าง Facebook เองก็พยายามเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์การชำระเงิน เกม ช้อปปิ้ง และแม้แต่ฟีเจอร์การออกเดทบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก จนถึงตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย รายได้เกือบทั้งหมดมาจากการโฆษณา

Google, Snap, TikTok, Uber และบริษัทอื่น ๆ ต่างก็พยายามที่จะก้าวเข้าสู่ซูเปอร์แอป โดยพยายามจะเป็น สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ใช้ ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน แต่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ายังไม่มีใครไปถึงจุดนั้นได้ นั่นเพราะผู้บริโภคมีแอปเฉพาะสำหรับจัดการช้อปปิ้ง การสื่อสาร และการชำระเงิน

อีกจุดที่น่าสนใจคือ ฐานผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ Twitter นั้นมีจำนวนน้อยกว่าคู่แข่งบนแพลตฟอร์มโซเชียล อย่าง Facebook, Instagram และ TikTok มีผู้ใช้เกิน 1 พันล้านไปนานมาแล้ว แต่ Twitter มีผู้ใช้ประมาณ 240 ล้านคนต่อวัน

“นิสัยแบบเก่านั้นยากที่จะเปลี่ยน และคนในสหรัฐฯ ก็เคยชินกับการใช้แอปต่าง ๆ สำหรับกิจกรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ซูเปอร์แอปมักจะดูดข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นในแต่ละครั้ง ส่งผลให้ความไว้วางใจในแพลตฟอร์มโซเชียลเสื่อมลงอย่างมาก” จัสมิน เอนเบิร์ก นักวิเคราะห์หลักของ Insider Intelligence กล่าว

ยังไม่มีอะไรยืนยันว่าความสำเร็จของ WeChat ในประเทศจีน จะประสบความสำเร็จเหมือนกันกับตลาดสหรัฐอเมริกาหรือตลาดโลก แม้การใช้งาน WeChat เกือบจะเป็นเรื่องพื้นฐานในจีน แต่นั่นเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยมีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและข้ามไปที่การออนไลน์ด้วยโทรศัพท์มือถือโดยตรง

โดยประเทศจีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 พันล้านคน และเกือบทั้งหมดออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของจีน (China Internet Network Information Center) ที่รัฐบาลจีนอนุมัติ มีเพียง 33% เท่านั้นที่ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเลย

ปัจจุบัน WeChat ได้เพิ่มแฮงเอาท์วิดีโอและฟีเจอร์เกี่ยวกับการส่งข้อความอื่น ๆ รวมถึงการช้อปปิ้ง ความบันเทิง และฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ลิงก์กับหน่วยงานของรัฐ เช่น ด้านสาธรณสุข การจราจร และประกาศอื่น ๆ ส่วนฟังก์ชันการชำระเงินของ WeChat ถูกใช้อย่างแพร่หลายจนจีนกลายเป็นสังคมไร้เงินสด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีแอปไหนในสหรัฐอเมริกาเทียบได้

Source

]]>
1404376
“Robinhood” วางโมเดลธุรกิจ 3 ปีข้างหน้าไว้อย่างไรเพื่อจะเริ่ม “ทำกำไร” ได้จริง!? https://positioningmag.com/1401942 Wed, 28 Sep 2022 05:58:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401942 Robinhood เริ่มต้นจากการเป็นโครงการ ‘CSR’ ของธนาคารไทยพาณิชย์ จึงเป็นแอปฯ ที่ “ไม่เก็บค่า GP” จากร้านอาหารและโรงแรมบนแพลตฟอร์ม เป้าหมายเพื่อ “ช่วยคนตัวเล็ก” ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เมื่อแอปฯ ได้รับผลตอบรับดีกว่าที่คิด ทำให้ไอเดียการ ‘monetize’ หากำไรเริ่มเข้ามา และคาดว่าจะทำได้เร็วที่สุดในปี 2568

ในงานแถลงข่าวแกรนด์โอเพนนิ่งบริการ ‘Robinhood Mart’ สองผู้บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ประธานกรรมการ และ “สีหนาท ล่ำซำ” ซีอีโอบริษัท บอกกับสื่อมวลชนว่า Mart จะเป็นบริการรอยต่อเข้าสู่เฟส 2 ของ Robinhood เพราะจะเป็นบริการแรกที่ “ทำกำไร” จากเดิมเป็นโครงการ CSR ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ยินดี ‘เผาเงิน’ เพื่อช่วยสังคม

ย้อนทบทวนประวัติและแผนของ Robinhood กันอีกครั้งหนึ่ง

2564 – เปิดตัวระบบ Food เดลิเวอรีจัดส่งอาหาร
พ.ค. 2565 – เปิดระบบ Travel จองโรงแรม บริการการท่องเที่ยว
ก.ค. 2565 – เปิดระบบ Mart ซื้อและจัดส่งของจากร้านค้า (soft launch)
ธ.ค. 2565 – เปิดระบบ Express จัดส่งเอกสารและพัสดุ
ภายในไตรมาส 4/2565 – เปิดระบบ Ride-hailing บริการเรียกรถรับส่งทั้งแท็กซี่และรถยนต์นั่งทะเบียนขาว

ที่ผ่านมาแอปฯ Robinhood ขาดทุนมาตลอดเพราะไม่มีการเก็บค่า GP ทำให้มีช่องทางเพียง 2 ช่องทางที่ทำเงินได้ ได้แก่ “การเก็บค่าโฆษณา” สำหรับร้านอาหารหรือโรงแรมที่ต้องการทำแบนเนอร์ให้เห็นเด่นชัดบนแอปฯ ส่วนนี้คาดว่าปี 2565 น่าจะสร้างรายได้ได้ 50 ล้านบาท กับอีกช่องทางคือ “ปล่อยกู้สินเชื่อ” ให้กับคนในระบบนิเวศ ซึ่งเพิ่งจะเริ่มได้ 1 เดือน ทำให้ยังประเมินผลตอบรับได้ยาก

แล้ว Robinhood จะทำกำไรได้อย่างไรถ้าไม่แตะ GP ในธุรกิจเดิม? คำตอบคือการเก็บ GP ใน “ธุรกิจใหม่” ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ Mart, Express และ Ride-hailing รวมถึงการแตกไลน์ “ให้เช่า/ลีสซิ่ง” มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้า

เมื่อคิดถึงฐานลูกค้า Robinhood ที่วันนี้มีกว่า 3.2 ล้านราย ไรเดอร์อีกกว่า 35,000 ราย ยังไม่รวมร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรม และพาร์ทเนอร์ขับรถยนต์โดยสารที่จะเข้ามาในระบบ ทำให้ไม่ยากที่แพลตฟอร์มจะแนะนำบริการใหม่ๆ ให้ทุกคนในระบบนิเวศ และเห็นหนทางทำกำไรข้างหน้า

 

ประเดิมการทำกำไรจาก Mart และ Express

Robinhood Mart
บริการใหม่ Robinhood Mart

Robinhood Mart เป็นรอยต่อเข้าสู่เฟสการสร้างกำไร บริการซื้อ-ส่งของเดลิเวอรีนี้มีการเก็บค่า GP ไม่เกิน 15% (รายเล็กจะไม่เก็บค่า GP หรือเก็บน้อยกว่ารายใหญ่) ทำให้คาดว่าปี 2566 บริการนี้จะทำกำไร 50 ล้านบาท ถือเป็นบริการแรกของแพลตฟอร์มที่จะทำกำไรได้จริง (อ่านรายละเอียดไฮไลต์ธุรกิจ ‘Mart’ ได้ที่)

ต่อด้วย Robinhood Express ที่จะมาช่วงปลายปี บริการนี้เน้นส่งเอกสาร-พัสดุให้บริษัทต่างๆ ทำให้สีหนาทมองว่าแพลตฟอร์มจะสามารถคิดค่าใช้จ่ายที่ทำกำไรได้เช่นกัน เพราะปกติบริษัทเหล่านี้จะมีค่าใช้จ่ายจ้างเมสเซนเจอร์อยู่แล้ว แค่เปลี่ยนมาใช้บริการจาก Robinhood แทน

 

Ride-hailing ตัวจริงในการ “ทำกำไร”

แม้ Mart กับ Express จะเริ่มทำกำไรให้ก่อน แต่ธนามองว่า บริการที่อนาคตจะสร้างกำไรอันดับหนึ่งให้แพลตฟอร์มจะเป็นการ “เรียกรถ” เพราะเห็นบทพิสูจน์จากแพลตฟอร์มอื่นมาแล้วว่าบริการนี้สามารถเลี้ยงระบบได้จริง

ปัจจุบัน Robinhood กับ Grab เป็นเพียงสองแพลตฟอร์มที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้เป็น “บริการรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์” ที่ถูกกฎหมาย ลูกค้าจะสามารถเรียกได้ทั้งแท็กซี่โดยสารและรถยนต์ป้ายทะเบียนขาวที่ไปจดทะเบียนเป็นรถรับจ้างสาธารณะแล้ว

Robinhood Ride

แผนของ ‘Robinhood Ride’ กำลังรับสมัครรถยนต์และแท็กซี่ขึ้นระบบ คาดว่าในช่วงเปิดตัวไตรมาส 4 นี้จะมีรถให้เรียก 10,000+ คัน

การปลดล็อกกฎหมายรถยนต์รับจ้างครั้งนี้ยังจะทำให้การแข่งขันถูก ‘รีเซ็ต’ ในแง่ราคาโดยสารด้วย เพราะกฎหมายจะบังคับเพดานราคา ทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ หากเจอระบบโก่งราคาสูงมากในช่วงพีคก็จะสามารถร้องเรียนได้

ธนาแย้มว่า Robinhood Ride จะหาทางเข้ามา ‘แก้ pain’ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการเรียกรถ โดยมี 2 ประเด็นที่พบว่าลูกค้าต้องการ คือ 1)Availability ลูกค้าเรียกแล้วต้องมีรถทั่วถึง และเรียกแล้วมีรถตกลงไปยังจุดหมาย และ 2)Safety ความปลอดภัยต้องสูงขึ้น

 

ฉีกไปสู่ธุรกิจ “ให้เช่า/ลีสซิ่ง” EV

อีกหนึ่งธุรกิจที่วางเป้าไว้คือ “ให้เช่า/ลีสซิ่ง” มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้า

Robinhood พิจารณาธุรกิจนี้เพราะไรเดอร์ที่มีในระบบ และอนาคตจะมีพาร์ทเนอร์แท็กซี่-รถยนต์รับจ้างเพิ่มอีก ซึ่งกลุ่มนี้อาจจะต้องการเช่าหรือผ่อนยานพาหนะ EV ซึ่งประหยัดค่าพลังงานกว่าและดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้เช่าสำหรับไรเดอร์ Robinhood จากสองแบรนด์คือ H SEM และ ETRAN

จริงๆ บริษัทมีการชิมลางไปแล้วผ่านความร่วมมือกับ ETRAN และ H SEM สองแบรนด์มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยทั้งสองแบรนด์ทำตลาดให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ากับไรเดอร์ Robinhood ปัจจุบันมีผู้เช่าอยู่ประมาณ 400-500 คัน

เมื่อเห็นดีมานด์ บริษัทจึงมองว่าอาจจะลงทุนฟลีทรถ EV ให้เช่าด้วยตนเองทั้งแบบมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ โดยขณะนี้กำลังร่างแผนเสนอบอร์ดบริหารอนุมัติ เพราะจะต้องใช้เงินลงทุนราว 4,000-5,000 ล้านบาท ในการจัดซื้อยานพาหนะ EV รวม 30,000 คันภายในปี 2568

Robinhood ยังจะเริ่มจัดซื้อก็ต่อเมื่อราคา EV ลงมาในจุดที่เหมาะสม กล่าวคือรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 900,000 บาทต่อคัน และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 50,000 บาทต่อคัน

“ธนา” สรุปว่า ปี 2566 อย่างไรทั้งแอปฯ Robinhood ก็ยังขาดทุนแน่นอน แต่ในปี 2568 นั้น ‘ไม่แน่’ ถ้าทุกอย่างเป็นใจ คือบริการต่างๆ ที่วางแผนเดินได้ตามเป้า มีผู้ใช้บริการมาก และบริษัทบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปีนั้นก็อาจจะเป็นครั้งแรกที่ ‘ซูเปอร์แอปฯ’ รายนี้มีกำไรก็ได้

]]>
1401942
ถอดรหัสความสำเร็จ ‘Robinhood’ พร้อมกางโรดแมป ‘4 บริการใหม่’ มุ่งสู่ ‘Alternative Super App’ https://positioningmag.com/1384690 Tue, 10 May 2022 11:56:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384690 จากแพลตฟอร์มที่ใคร ๆ ก็มองว่า เจ๊งแน่ เพราะคู่แข่งในตลาดมีแต่ต่างชาติเงินถุง แต่กลับกลายเป็นขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ของตลาดได้ในระยะเวลาเพียง 20 เดือน และจากแค่โครงการ CSR ทำไปโดยไม่ได้หวังถึง กำไร แต่กลายเป็นตอนนี้กล้าที่จะเริ่มมองถึงโอกาสการเป็น ยูนิคอร์น! ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ได้มาเผยถึงแนวคิดที่ทำให้ Robinhood เป็นได้มากกว่าโครงการ CSR และพร้อมเป็น Alternative Super App ที่อยู่รอด

Robinhood ที่ก้าวข้าม CSR

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ซูเปอร์แอป เพราะแทบทุกแพลตฟอร์มปักหมุดที่จะไป และที่ผู้เล่นทุกคนต้องการจะเป็นซูเปอร์แอปก็เพื่อเป็นตัวกลาง ยึดบริการทุกอย่าง โดยในตอนแรกนั้น แพลตฟอร์มเหล่านี้จะยอม ขาดทุน เพื่อจะดึงคนให้มาใช้งาน ยิ่งดึงคนได้เยอะ ก่อนจะ ระดมทุน จากนั้นก็ต่อยอดสู่บริการอื่น ๆ ที่สามารถทำ กำไร

เช่นเดียวกับโรบินฮู้ดที่เริ่มเดินในทางนั้น แม้ตอนแรกจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มโรบินฮู้ด เริ่มมาจากที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้งบส่วนของ CSR มาพัฒนาแพลตฟอร์ม ฟู้ด เดลิเวอรี่ เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารและผู้บริโภคในช่วง COVID-19 โดยแพลตฟอร์มจะ ไม่เก็บค่า GP จากร้านอาหาร รวมถึงค่าธรรมเนียมจากไรเดอร์

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

แน่นอนว่าการที่โรบินฮู้ดจะไม่มีรายได้เลย แถมยังขาดทุนด้วยซ้ำ แต่นั่นก็มาจากงบ CSR อยู่ดี แต่กลายเป็นว่าในช่วง 20 เดือนที่ให้บริการผลตอบรับที่ได้กลับดีเกินคาด ซึ่ง ธนายอมรับว่า มันคงจะดีกว่าถ้า สามารถหารายได้จากแพลตฟอร์มได้ แทนที่จะเผาเงินทิ้งอย่างเดียว ก่อนจะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นซูเปอร์แอป

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้โรบินฮู้ดสามารถเดินเกมการเป็นซูเปอร์แอปได้ มาจากการเติบโตที่รวดเร็ว ยิ่งในช่วงกลางปีที่มีการล็อกดาวน์รอบสอง ทำให้โรบินฮู้ดได้ออกมาตรการพิเศษ ส่งฟรีทุกออเดอร์ช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งแคมเปญนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้เเพลตฟอร์มเติบโตได้แบบก้าวกระโดดจนเป็นเบอร์ 2 ในตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล ครองส่วนแบ่งตลาด 21%

  • มีลูกค้าลงทะเบียนใช้งานกว่า 8 ล้านคน
  • ร้านค้าบนแพลตฟอร์ม 225,000 ร้าน
  • ไรเดอร์ ให้บริการส่งอาหารกว่า 30,000 คน
  • ยอดสั่งอาหารเฉลี่ย 180,000 ออเดอร์ต่อวัน

มวยรองต้องเน้นฉีก

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้เล่นทุกรายที่สาดเงินแล้วจะสร้างฐานลูกค้าได้ แต่เพราะความเป็น มวยรอง แถมยัง มาทีหลัง ดังนั้น โรบินฮู้ดเลยต้องเน้นฉีก เริ่มจากแก้ปัญหาให้กับร้านอาหารและไรเดอร์ ซึ่งมีเพนพอยต์จากค่า GP ซึ่งพอไม่เก็บค่า GP ร้านค้าและไรเดอร์ก็อยากจะอยู่บนแพลตฟอร์ม โดยการแย่งชิงร้านค้าและไรเดอร์ถือเป็นส่วนที่มีการแข่งขันสูง เพียงแต่คนนอกมักมองไม่เห็น

นอกจากนี้ โรบินฮู้ดยังวางสังเวียนที่ตัวเองจะแข่งขันชัดเจน คือ ไม่ไป 77 จังหวัด เนื่องจาก ไม่คุ้มเงิน ดังนั้น จะเน้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองท่องเที่ยว รวมถึงโฟกัสที่ร้านอาหารรายย่อย ขณะที่รายใหญ่จะเน้นดีลกับร้านอาหารเชนใหญ่ ที่สามารถดึงผู้ใช้งานได้มากกว่า

สุดท้าย แพลตฟอร์มที่สร้างต้อง พร้อมใช้งาน ไม่มีเวลามาทดลอง แต่ถ้ามีปัญหาตรงไหนต้อง รีบแก้ไข และต้องอยู่ใกล้ชิดลูกค้าที่สุดเพื่อปรับแพลตฟอร์มให้ตรงใจ

Travel ก้าวที่สองสู่ Super Apps

หลังจากสร้างฐานลูกค้าได้ใหญ่จนเป็นที่พอใจแล้ว โรบินฮู้ดก็ปล่อยบริการต่อมาก็คือ Travel ที่ธนาระบุว่าจะเป็นบริการ เท่าทุน แม้ว่าจะไม่มีการเก็บค่า GP กับโรงแรมก็ตาม ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในตลาดที่เก็บ GP ประมาณ 30% ซึ่งที่บริการ Travel จะไม่เน้นเผาเงินก็เพราะรายได้จากบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น บริการจองทัวร์, จองกิจกรรมต่าง ๆ, จองรถเช่า ที่จะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน และ บริการจองตั๋วเครื่องบิน ที่จะเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคมปีนี้

เบื้องต้น โรบินฮู้ดจะเน้นดึงที่พักระดับ 3-5 ดาวเข้าสู่ระบบ และเน้นลูกค้า Food ให้มาลองใช้บริการ Travel ก่อนที่จะหาลูกค้าใหม่ เนื่องจากมองว่าลูกค้าเดิมมีความ คุ้นเคย ทำให้ ง่าย ต่อการดึงลูกค้า กับแพลตฟอร์ม อีกทั้ง ลูกค้าส่วนใหญ่ค่อนข้าง มีเงิน เพราะกลุ่มลูกค้าโรบินฮู้ดนั้นมีรายได้เฉลี่ย 30,000 บาทขึ้นไป มีอัตราการสั่งอาหารเฉลี่ยครั้งละ 200 กว่าบาทต่อออเดอร์ ขณะที่คู่แข่งที่เฉลี่ยราว 100 กว่าบาท

“เราชัดเจนมากลูกค้าเราคือใคร ซึ่งเราเห็นว่าเขาสั่งอาหารอยู่บ้านจนเบื่อ เขาอยากเที่ยว แล้วคนที่เที่ยวตอนนี้คือคนที่มีเงินทั้งนั้น”

ภายในปีแรกที่เปิดให้บริการ โรบินฮู้ดตั้งเป้าดึงพาร์ตเนอร์โรงแรม 30,000 แห่ง มียอดจองมากถึง 300,000 ทริป มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการผ่านแอปฯ กว่า 200,000 คน และเป็น Top 3 แพลตฟอร์มออนไลน์ทราเวล นอกจากนี้ ตั้งเป้าให้มีเงินหมุนเวียนในภาคการท่องเที่ยว 1 พันล้านบาท และช่วยเซฟค่าคอมมิชชั่นโรงแรม 200 ล้านบาท

“เราคงไม่ชนะคู่แข่งรายใหญ่จากต่างชาติแน่ เพราะเราคงเผาเงินแข่งไม่ได้ แต่เราหวังให้เกิดบาลานซ์ระหว่างแพลตฟอร์มและผู้ประกอบการและลูกค้า ซึ่งเราเห็นตัวอย่างจากตอนทำ Food เมื่อเราไม่เก็บค่า GP ร้านค้าก็เห็นอกเห็นใจลูกค้า ของแพงก็ไม่ขึ้นราคา ไม่ลดปริมาณอาหาร ทำให้คุ้มกว่าที่อื่น ลูกค้าก็จะดูแลไรเดอร์ดี มันจะเกิดเป็นวงจร”

ในสิ้นปีเปิดอีก 3 บริการ มุ่งปั้นรายได้

สำหรับบริการ Food เป็นบริการที่โรบินฮู้ดยอม ขาดทุน เพื่อสร้างฐานลูกค้า ส่วน Travel เป็นบริการที่ เท่าทุน แต่เป็นการต่อยอดจากฐานที่มี และอาจจะช่วยเพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาในอนาคต แต่บริการที่จะทำเงินให้กับโรบินฮู้ดจริง ๆ รวมถึงพาโรบินฮู้ดก้าวเป็น ซูเปอร์แอป เต็มตัวก็คือ 3 บริการใหม่ที่จะเกิดจากนี้ ได้แก่

  • บริการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต (เดือนกรกฎาคม)
  • บริการรับส่งพัสดุ (ไตรมาส 3)
  • บริการไรด์ เฮลลิ่งหรือบริการส่งคน (ไตรมาส 4)

ไม่ใช่แค่สร้างรายได้จาก 3 บริการใหม่นี้ แต่โรบินฮู้ดยังวางบิสซิเนสโมเดลสร้างรายได้จากโฆษณา และบริการปล่อยเงินกู้อีกด้วย

“อีก 3 บริการนี้ ถือเป็นบริการที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุด แต่ถ้าเราจะทำโดยไม่มีฐานลูกค้าเลยเราต้องใช้งบเป็นพันล้าน แต่ถ้าเรามีฐานลูกค้า เราใช้งบแค่หลักสิบล้านในการเพิ่มฟีเจอร์เข้าไป นี่เลยเป็นเหตุผลที่เราเพิ่มบริการใหม่รัว ๆ ภายในปีเดียว” สีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าว

จากบริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น โรบินฮู้ดมั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มลูกค้า และความถี่ในการให้บริการมากขึ้น โดยภายในสิ้นปี โรบินฮู้ดตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าเป็น 4 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 2.8 ล้านราย และเพิ่มทราฟฟิกในการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ย 1.7-1.8 แสนรายต่อวัน

ขอเป็น Alternative Super App ผู้อยู่รอด

แน่นอนว่าการแข่งขันของ ซูเปอร์แอป นั้นสูงมาก และมีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ แต่ธนามองว่าสุดท้ายแล้วจะเหลือ ผู้เล่นรายหลักแค่ 2 ราย และผู้เล่น ทางเลือก (Alternative Super App) 1 ราย เท่านั้น ซึ่งโรบินฮู้ดของเป็น ซูเปอร์แอปทางเลือก เพราะไม่สามารถไปแข่งเผาเงินสู้ได้ เน้นโฟกัสที่ตลาดที่ถนัด

ทั้งนี้ ธนาเปิดเผยว่า มีธนาคารในอาเซียน สนใจที่จะ ลงทุน กับแพลตฟอร์ม คาดว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยปัจจุบัน โรบินฮู้ดมีมูลค่าราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม โรบินฮู้ดไม่ได้วางเป้าว่าจะต้องขึ้นเป็นยูนิคอร์น เพราะกลัวจะทำให้เสียตัวตน เนื่องจากต้องไปโฟกัสเพิ่มกำไร ต้องอัดแคมเปญเร่งการเติบโต

ต้องรอดูว่าหลังจากที่ต่อร่างบริการทุกอย่างครบแล้ว โรบินฮู้ด จะมีศักยภาพต่อสู้กับรายใหญ่จากต่างชาติมากน้อยแค่ไหน จะสามารถสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้เหมือนบริการ Food หรือไม่ หลังจากนี้มั่นใจได้เลยว่าตลาดแข่งเดือดกว่าเดิมแน่นอน!

]]>
1384690
เจาะลึก ‘ดีแทค ดีชัวรันส์’ ประกันออนไลน์จาก ‘ดีแทค’ อีกก้าวสู่บริการที่มากกว่า ‘โทรคมนาคม’ https://positioningmag.com/1363642 Wed, 24 Nov 2021 12:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363642

แม้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในไทยจะเริ่มดีขึ้นเนื่องจากการมาของวัคซีน แต่ในช่วงเกือบ 2 ปี COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่บ้าน (work from home) การรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) และนั่นก็ทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้ออนไลน์มาก ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวไปสู่ดิจิทัล

ธุรกิจประกันภัย ก็ถือเป็นอีกธุรกิจที่มีการปรับตัวมากขึ้น แน่นอนว่าการระบาดของ COVID-19 ทำให้คนสนใจที่จะทำประกันมากขึ้น ดังนั้น ประกันออนไลน์จึงนับเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทำประกัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทประกันภัยจะมุ่งสู่ออนไลน์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น แต่การเข้าถึงประกันของประเทศไทยนั้นคิดเป็นเพียง 5% ของอัตราส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก หากเทียบกับประเทศฮ่องกง ที่มีอัตราส่วนที่ 20% หรือ 12% สำหรับ อังกฤษ และอเมริกา

ไม่ใช่ว่าผู้บริโภคไม่สนใจเรื่องประกัน แต่อาจเป็นเพราะข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ที่คนไทยก็ยังเข้าถึงประกันได้น้อย และยังไม่คิดจะทำประกันภัย โดยเฉพาะในต่างจังหวัดเพราะรู้สึกว่า

• ทางเลือกมากเกินไป เข้าใจยาก ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย

• ไม่มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด

• มองว่าประกันมีราคาแพง ไม่มั่นใจว่าจะจ่ายเบี้ยประกันภัยได้ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลประโยชน์

• ขาดการเข้าถึงตัวเลือกการชำระเงินที่สะดวก เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรเครดิต

 

จาก Pain Point ของทั้งผู้บริโภค รวมถึงความต้องการของบริษัทประกันที่จะมุ่งออนไลน์มากขึ้น ดีแทคจึงคลอดบริการใหม่ ดีแทค ดีชัวรันส์ (dtac dSurance) ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกับ Bolttech หนึ่งในบริษัท InsurTech ระดับโลกที่เติบโตเร็วที่สุดในการพัฒนาแพลตฟอร์ม พร้อมกับจับมือกับพันธมิตรประกันอีก 10 ราย เพื่อเป็นศูนย์รวมประกันภัยออนไลน์ ช่วยลดช่องว่างของลูกค้าและคนไทยในการเข้าถึงประกันภัย ลดความซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องง่ายที่สุดผ่านดีแทคแอปหรือเว็บไซต์ของดีแทค

แพลตฟอร์มดังกล่าวจะรวบรวมประกันที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเปรียบเทียบความคุ้มครองกับเบี้ยประกันก่อนเพื่อหาประกันที่ตรงใจที่สุดได้อีกด้วย และเพื่อให้เข้าถึงง่ายที่สุด การชำระเงินจึงมีหลากหลายช่องทาง ทั้งชำระผ่านบัตรเครดิต, โอนเงินตรงให้ผู้รับประกันภัย หรือชำระค่าเบี้ยประกันรวมในบิลค่าใช้บริการมือถือ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้บัตรเครดิต และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อผ่านดีแทคได้โดยตรงที่เบอร์ 1678 ได้เลย

ทั้งนี้ แพลตฟอร์มจะมีประกันครอบคลุมหลากหลาย อาทิ ประกันสุขภาพ โดยเฉพาะประกันโควิด, ประกันรถยนต์, อุบัติเหตุส่วนบุคคล, ประกันภัยการเดินทาง รวมถึง พ.ร.บ และอื่น ๆ ดังนั้น ใครที่สนใจจะทำประกัน ดีแทค ดีชัวรันส์ มีครบจบในที่เดียว

ดีแทค ดีชัวรันส์ ไม่ใช่แค่อีกก้าวของกลยุทธ์ Fast forward digital ที่ดีแทคจะมุ่งสู่บริการที่ ‘มากกว่า’ โทรคมนาคม และดันให้ ดีแทคแอป ก้าวสู่การเป็น ‘ซูเปอร์แอป’ ในอนาคต แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มประกันที่ Win-Win ทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ประกันภัย เพราะดีแทคมีฐานลูกค้ากว่า 19.3 ล้านรายที่เข้าถึงได้ ดีแทคก็สามารถช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงประกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดีแทคแอป หรือ dsurance.dtac.co.th โดยตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม สามารถกรอกโค้ด dsurance รับส่วนลด 15%

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกรับสิทธิ์พิเศษจากดีแทค รีวอร์ดภายใน 14 วันหลังจากซื้อประกันภัย แลกรับได้ 1 ใน 3 สิทธิประโยชน์ดังนี้ คือ เฟรนช์ฟรายส์ ขนาดใหญ่จาก Potato Corner หรือซื้อตั๋วดูภาพยนต์ที่ เอสเอฟซีเนม่าซิตี้ มูลค่า 70 บาท หรือรับเครื่องดื่ม D’oro ฟรี

]]>
1363642
‘แอร์เอเชีย’ ปิดดีล ‘โกเจ็กไทย’ เดินหน้าปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ เต็มตัว https://positioningmag.com/1341096 Wed, 07 Jul 2021 07:56:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341096 ช่วงเดือนกันยายนปี 2020 มีข่าวว่าสายการบินราคาประหยัดอย่าง ‘แอร์เอเชีย’ (AirAsia) พยามยามที่จะสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ของตัวเองเพื่อจะแข่งขันกับ ‘โกเจ็ก’ (Gojek) และ ‘แกร็บ’ (Grab) โดยจะให้บริการทั้งส่งอาหาร, ของสด, บริการอีคอมเมิร์ซ และเพย์เมนต์ ล่าสุด แอร์เอเชียก็ปิดดีลกับ ‘โกเจ็กไทย’ เพื่อเดินหน้าปั้นซูเปอร์แอปตามที่ตั้งเป้าไว้

อ่าน >>> ‘AirAsia’ เบรกเรื่องบิน หันมาปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ ท้าชน ‘Grab’ ‘Gojek’ และ ‘Wechat’

มีรายงานจาก Nikkei Asia ระบุว่า สายการบินราคาประหยัด ‘แอร์เอเชีย’ กำลังพูดคุยในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อซื้อกิจการ ‘โกเจ็ก’ ในประเทศไทย โดยแหล่งข่าวในรัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า หน่วยงานที่กำกับของมาเลเซีย ได้อนุมัติให้แอร์เอเชียซื้อกิจการได้แล้ว โดยคาดว่าจะมีการประกาศการทำสัญญาระหว่างกันเร็ว ๆ นี้

ล่าสุด ‘แอร์เอเชีย ดิจิทัล’ หน่วยธุรกิจด้านดิจิทัลภายใต้กลุ่มแอร์เอเชียก็ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าการเข้าซื้อกิจการของโกเจ็กในประเทศไทยเสร็จสิ้นแล้ว โดยข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามแผนการเดินหน้าขยายการเติบโตของ airasia super app ให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน

ขณะเดียวกันก็ทำให้โกเจ็กสามารถเพิ่มการลงทุนในการดำเนินงานได้โดยเฉพาะในตลาด เวียดนาม และ สิงคโปร์ โดยโกเจ็กจะเข้าถือหุ้นบางส่วนในแพลตฟอร์ม airasia super app ซึ่งมีมูลค่าประเมินทางตลาดอยู่ที่ประมาณ 1พันล้านเหรียญสหรัฐ

โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดหลักของ airasia super app ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการเสริมศักยภาพและสร้างระบบนิเวศธุรกิจของโกเจ็กให้ดีขึ้น โดยเฉพาะสำหรับพนักงานรับส่งของ ร้านค้า และลูกค้าด้วยสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่มีมากขึ้น เช่น อาหาร ของชำ สินค้าเกี่ยวกับความงาม และการจัดส่งพัสดุด่วน ควบคู่ไปกับบริการเรียกรถรับ-ส่ง โดยตั้งเป้าขยายสู่ตลาดใหม่ในประเทศ อาทิ เชียงใหม่และภูเก็ตในอนาคตอันใกล้

“การประกาศในวันนี้คือ การเริ่มต้นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะยาวอย่างยิ่งใหญ่กับ Gojek ของกลุ่มแอร์เอเชีย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมสั่นสะเทือนอย่างแน่นอน ด้วยการผนึกกำลังและสานต่อธุรกิจที่มั่นคงของโกเจ็กในประเทศไทย เชื่อว่าเราจะสามารถขับเคลื่อนความมุ่งมั่นของเราในพื้นที่นี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ”

อ่าน >>> เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’

ปัจจุบัน กลุ่มดิจิทัลของแอร์เอเชียประกอบด้วยบริษัทดิจิทัลหลัก 3 ส่วน ได้แก่ airasia super app’ แพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์สำหรับการท่องเที่ยว อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงิน บริการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์พืชผลทางการเกษตรที่ขนส่งตรงจากฟาร์มผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพและการศึกษา

‘Teleport’ บริษัทร่วมทุนด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ พร้อมส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุม 77 เมืองใน 5 ประเทศ และธุรกิจฟินเทค BigPay’ ที่กำลังเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกรรมธนาคารแบบเสมือน (Virtual Bank) รายแรกในภูมิภาค มีผู้ใช้บริการ 1.3 ล้านราย

ทั้งนี้ แอป Gojek จะยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ สำหรับผู้ใช้เพื่อรับบริการในกรุงเทพฯ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 จนกระทั่งรวมกับ airasia super app ในขณะที่พนักงานรับส่งของทุกคน และร้านค้า จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานกับ airasia super app เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป

Source

]]>
1341096
เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’ https://positioningmag.com/1297514 Thu, 17 Sep 2020 08:59:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297514 เข้ามารุกตลาดไทยด้วยชื่อ ‘GET’ ไปเมื่อต้นปี 2019 ในที่สุดก็ถึงเวลากลับมาใช้ชื่อเดิม หรือ ‘Gojek’ ซึ่งหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของอินโดนีเซีย แต่ทำไมถึงไม่ใช่ชื่อ Gojek ตั้งแต่แรก และทำไมถึงมารีแบรนด์เอาตอนนี้ รวมถึงเป้าหมายต่อจากนี้ คุณภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย จะมาอธิบายให้ฟังกัน

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย

รู้จัก Gojek

อย่างที่รู้ว่า Gojek เป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย แต่จุดเริ่มนั้นไม่ได้เริ่มจากการเป็นแอปพลิเคชัน แต่เริ่มจากเป็น Call Center เรียกวินมอเตอร์ไซค์ในปี 2010 และเริ่มทำแอปฯ Gojek ในปี 2015 พร้อมกับขยายบริการไปสู่ บริการส่งอาหาร ส่งสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูหนังหรือใช้บริการทางการเงินได้อีกด้วย ซึ่งรวม ๆ แล้ว ปัจจุบัน Gojek มีบริการให้ใช้งานกว่า 20 บริการ จากเดิมที่ใช้แค่เรียกรถมอเตอร์ไซค์และรถแท็กซี่ พูดง่าย ๆ ว่าเป็น ‘ซูเปอร์แอปฯ’ แบบที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น

หลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจนมียอดการดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 190 ล้านครั้ง มีพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 2 ล้านคน และมีการใช้งานกว่า 100 ล้านครั้ง/เดือน แน่นอนว่าการเติบโตดังกล่าวสามารถดึงดูดเงินจากนักลงทุนได้มากมายไม่ว่าจะเป็น Google กับ Facebook จากฝั่งอเมริกา และ Tencent จากจีน และยังไม่รวมอื่น ๆ อีกเพียบ จนในที่สุดปี 2019 Gojek ก็ได้ขยับตัวออกจากแค่อินโดนีเซีย โดยขยายธุรกิจมายังเวียดนามในชื่อ ‘Go-Viet’ ส่วนไทยใช้ชื่อ ‘Get’ และสิงคโปร์ใช้ชื่อ Gojek เหมือนเดิม

ทำไมต้องเป็น ‘Get’ ก่อน

จะมีใครเข้าใจถึงปัญหาและรู้ถึงพฤติกรรมคนในประเทศได้ดีเท่าคนในประเทศเองจริงไหม? ดังนั้น หลักการบริหารของ Gojek คือ จะเลือกให้คนในประเทศนั้น ๆ บริหารเอง เพื่อทำให้บริการเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนในประเทศนั้น รวมถึงเป็นการ ‘ทดลอง’ ตลาดก่อนว่าสามารถไปได้ดีแค่ไหน ซึ่งไทยเองก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพ เพราะในช่วงเวลาปีครึ่ง Get ได้ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 5 หมื่นราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 3 หมื่นร้าน

และในที่สุดก็ถึงเวลาที่ Get จะรีแบรนด์กลับไปเป็น Gojek เหมือนเดิม และไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น Go-Viet ของเวียดนามก็รีแบรนด์กลับเป็น Gojek ด้วยเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า พร้อมแล้วที่ Gojek จะลุยตลาดโลกอย่างเต็มตัว พร้อมกับตั้งเป้าที่จะ บาลานซ์สัดส่วนรายได้ จากตลาดอินโดนีเซียและต่างประเทศให้ได้ 50-50 ซึ่งปัจจุบันตลาดไทยและเวียดนามถือเป็นตลาดนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุด

“ประโยชน์ของความเป็น Global คือ ทุกฟีเจอร์และเทคโนโลยีจะเป็นระดับโลก ดังนั้นในทุกประเทศจะได้ใช้งานแอปที่มีคุณภาพเหมือนกัน แต่การบริหารยังต้องเป็น Local เพื่อให้เข้าใจตลาดอยู่”

ย้ำเป็นแบรนด์ไทย เเม้ใช้ชื่อ Gojek ก็ตาม

แม้จะเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Gojek แต่บริษัทยังย้ำว่าเป็นของ ‘ไทย’ แน่นอน และการรีแบรนด์ในครั้งนี้ที่ต้องหันไปใช้ ‘สีเขียว’ ที่แทบจะเหมือนกับคู่เเข่งในตลาด จากที่เคยใช้ สีเขียวสะท้อนแสง ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่ทาง คุณภิญญา ก็มั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่สับสน เพราะเชื่อว่าชื่อ Gojek เป็นที่รู้จักอยู่เเล้ว และมั่นใจว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ในการที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง เพราะแค่ระยะเวลา 15 วัน ยอดดาวน์โหลดแอปฯ Gojek ก็ทะยานไปหลัก แสนครั้ง เรียบร้อย จากเดิมที่ Get มีผู้ดาวน์โหลด 3 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รีแบรนด์ไป ทาง Gojek เองก็ได้ทุ่มงบการตลาดมหาศาล แม้จะไม่สามารถเปิดเผยเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถรับรู้ได้ผ่านแคมเปญการตลาดใหม่ ๆ อาทิ มอบคูปองส่วนลดมูลค่าสูงสุดถึง 2,500 บาทให้กับผู้ใช้งานใหม่ พร้อมดีลส่วนลดค่าอาหารสุดคุ้ม ลดสูงสุดถึง 50%, คูปองส่วนลดมูลค่า 12 บาทในส่วนของบริการเรียกรถจักรยานยนต์จำนวน 5 ครั้ง และแจกฟรีโดนัท Krispy Kreme แก่ผู้ใช้บริการ 10,000 ราย วันที่ 17 กันยายน ตั้งแต่ช่วงเที่ยงวันไปจนถึง 6 โมงเย็น

33% ของผู้บริโภคไทยต้องการความหลากหลาย 27% ชอบโปรโมชัน 13% ต้องการความเร็วในการจัดส่ง และ 10% ต้องการความง่ายในการใช้งาน ดังนั้น เรายังคงลงทุนในไทยต่อเนื่อง ทั้งโปรโมชัน การเพิ่มพาร์ตเนอร์ร้านอาหารและพาร์ตเนอร์ผู้ขับ”

วางเป้าโต 10 เท่า พร้อมก้าวเป็น Super Apps

หลังจากรีแบรนด์เป็น Gojek ส่งผลให้ชื่อของบริการต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนตาม ได้แก่ ‘GoFood’ บริการส่งอาหาร ‘GoRide’ บริการเรียกรถจักรยานยนต์ ‘GoSend’ บริการรับส่งพัสดุ และ ‘GoPay’ บริการอีวอลเล็ต และได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีก 2 ฟีเจอร์ ได้แก่ GoFood Pickup บริการสั่งอาหารล่วงหน้า แล้วไปเองที่ร้าน โดยสาเหตุที่ออกฟีเจอร์นี้ก็เพราะพบว่าผู้ใช้งานในเมืองกว่า 55% เข้าถึงบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ในขณะที่กว่า 75% นิยมการไปซื้ออาหารที่ร้านค้า ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารกว่า 500 แห่งในกรุงเทพฯ เข้าร่วม

และอีกฟีเจอร์ที่เป็นเหมือน ‘ก้าวต่อไป’ ที่ทำให้ Gojek เข้าใกล้คำว่าซูเปอร์แอปก็คือฟีเจอร์ ‘แชท’ โดยผู้ใช้สามารถพูดคุยกับเพื่อนรวมถึงแชร์ข้อมูลร้านอาหารที่ชื่นชอบร่วมกันได้ หรือจะสร้าง Wishlist สำหรับบันทึกร้านอาหาร หรือเมนูที่ชื่นชอบเอาไว้สำหรับการสั่งอาหารในครั้งต่อไป โดยคุณภิญญาอธิบายว่า เมื่อมีแชทให้ใช้สื่อสาร ผู้บริโภคก็ไม่ต้องออกจากแอปไปคุยเรื่องอาหารกันอีกต่อไป แถมยังช่วยให้อยู่ในแอปฯ นานขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูว่าจะมีฟีเจอร์อะไรใหม่ ๆ เข้ามาอีก เพราะหากพิจารณาจากบริษัทเเม่ที่มีฟีเจอร์กว่า 20 รายการ Gojek ในไทยก็ถือว่ายังห่างไกล

ทั้งนี้ เป้าหมายหลังจากที่รีแบรนด์เป็น Gojek ก็คือ เติบโตให้ได้ 10 เท่า ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นรายได้, ผู้ใช้งาน, จำนวนผู้ขับ, จำนวนร้านอาหาร โดยใช้จุดแข็งก็คือ ‘เทคโนโลยี’ และ ‘Passion’ ที่กระหายความสำเร็จซึ่งเปรียบเหมือนวัฒนธรรมขององค์กร และเร็ว ๆ นี้ Gojek ได้เตรียมที่จะขยายตลาดสู่พื้นที่ต่างจังหวัด จากที่ให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเตรียมผุด ‘คลาวด์ คิทเช่น’ ไว้อัดกับคู่แข่งแน่นอน

]]>
1297514
‘Grab’ ปรับสู่บริการครบวงจร ดูข่าว รีวิวร้าน ดูหนังสั้น เล่นเกม ประเดิมส่งของสดจากซูเปอร์มาร์เก็ต https://positioningmag.com/1178193 Tue, 10 Jul 2018 10:21:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1178193 แกร็บ (Grab) ได้พลิกโฉมบริการให้เป็นมากกว่าแอปเรียกรถ ประกาศเปิดตัว “แกร็บแพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์โอเพ่นแพลตฟอร์ม เพื่อมุ่งสู่การเป็น “ซูเปอร์แอป” สำหรับทุกวัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยแอปพลิเคชั่นโฉมใหม่นี้ แกร็บจะเพิ่มบริการรองรับการใช้งานในทุกวัน ช้อปปิ้ง อ่านข่าว ดูรีวิวร้านอาหาร เพื่อนส่วนหนึ่งของการก้าวสู่การเป็นซูเปอร์แอปสำหรับทุกวัน ซึ่งแกร็บจะทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำซึ่งสามารถเชื่อมต่อบริการของพวกเขากับแกร็บแพลตฟอร์มได้

ขณะเดียวกัน พันธมิตร จะสามารถขยายบริการไปยังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยฐานข้อมูลผู้ใช้ของแกร็บและเครือข่ายช่องทางการขนส่งของ “แกร็บแพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในรูปแบบ APIs (Application Programming Interface) ที่ช่วยให้พันธมิตรสามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีของแกร็บ อาทิ จัดส่งสินค้า ชำระเงินออนไลน์ ระบุตัวตนผู้ใช้ และแผนที่ระบุพิกัด

แกร็บแพลตฟอร์มขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ใช้ทุกคนในระดับที่มากกว่าที่เราจะสามารถขยายได้ด้วยตัวเอง

แอนโทนี่ ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ กล่าว

นอกจากนี้ แกร็บ ยังเปิดตัวบริการสำหรับทุกวัน บริการล่าสุด แกร็บเฟรช ซึ่งเป็นบริการส่งสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตแบบออนดีมานด์บนแอปพลิเคชั่นแกร็บ โดยแกร็บแพลตฟอร์มได้ร่วมมือกับแฮปปี้เฟรช ผู้ให้บริการส่งสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป

ผลจากความร่วมมือในครั้งนี้ ทำให้แกร็บขยายบริการสู่ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของสินค้าที่มีการจับจ่ายมากที่สุดของครัวเรือน ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของแกร็บในการก้าวเป็นซูเปอร์แอปสำหรับทุกวันของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กิลเลม ซาการ์ร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แฮปปี้เฟรช กล่าวว่า “ธุรกิจส่งสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคภายในบ้านยังมีโอกาสเติบโตอีกมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากผลสำรวจของเราพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ซื้อสินค้าของใช้ในบ้านผ่านแอปพลิเคชั่นมักจะซื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและมักจะซื้อจากร้านที่มีความคุ้นเคย สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการคือสินค้าพร้อมส่งในเวลาที่ต้องการ แกร็บเฟรชนั้นมีสินค้าที่หลากหลายที่สุดหากเทียบกับผู้ให้บริการส่งสินค้ารายอื่น”

“แกร็บคือพันธมิตรที่ดีที่สุดสำหรับเรา ด้วยจำนวนผู้ขับขี่และส่งสินค้าจำนวนมากทำให้เราจัดตารางส่งสินค้าได้มากขึ้น และปรับปรุงเวลาการส่งสินค้าของเราได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถขยายขอบเขตการให้บริการในประเทศและต่างประเทศได้ดีขึ้น”

แกร็บเฟรช จะทดลองให้บริการในรูปแบบเบต้าในเมืองจาการ์ตาในเดือนนี้ จากนั้นจะเปิดตัวในประเทศไทยและมาเลเซียภายในสิ้นปีนี้ สำหรับประเทศอื่นๆ จะเปิดให้บริการในอนาคต

รวมถึงการมีฟีเจอร์การให้ข่าวสาร (News Feed) เมื่อลูกค้าเดินทาง จะได้รับข้อมูลข่าว รีวิวร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าก่อนเดินทางไปถึง ดูหนังสั้นจากโปรดิวเซอร์ท้องถิ่นและเล่นเกม ทั้งนี้เนื้อหาจะปรับให้เหมาะกับช่วงเวลา ในแต่ละท้องถิ่น เช่น มัสยิดที่ใกล้ที่สุดระหว่างช่วงรอมฎอน หรือผลคะแนนล่าสุดของการแข่งขันฟุตบอลโลก เป็นต้น รวมถึงเข้าถึงการจ่ายเงินในหน้าหลักของแอปพลิเคชั่นแกร็บ

นอกจากนี้ แกร็บยังจับมือเป็นพันธมิตรด้านเนื้อหากับ Yahoo เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้ ลูกค้าแกร็บในสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะได้รับข่าวสารและข้อมูลล่าสุด ในขณะที่พันธมิตรด้านข่าวในประเทศอื่นๆ จะได้รับการประกาศในอนาคต

  • แกร็บ ให้บริการครบ 2 พันล้านเที่ยวในวันที่ 7 กรกฎาคม 2561 จากเดิมแกร็บเคยใช้เวลาถึง 5 ปี 4 เดือนในการให้บริการครบ 1 พันล้านแรก แต่หลังจากนั้นใช้เวลาน้อยกว่า 9 เดือนในการให้บริการครบรอบอีกพันล้านถัดมา
  • ปี 2561 แกร็บรายได้รวมสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2561
  • บริการการเดินทางยังมีการเติบโต มียอยอดการใช้บริการรวม (GMV – Gross merchandise volume) สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
  • แกร็บฟู้ดได้ขยายการให้บริการจาก 2 ประเทศ ไปยัง 6 ประเทศ และยอดขายรวมโตถึง 9 เท่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
  • ยอดการใช้จ่ายแกร็บไฟแนนเชียลระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2561 เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ปัจจุบัน แกร็บไฟแนนเชียลเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แอนโทนี่ ระบุว่า ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ได้ปรับปรุงเทคโนโลยีและขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ให้เติบโตจากแพลตฟอร์มการจองรถแท็กซี่ มาสู่ผู้ให้บริการขนส่งสำหรับบริษัทในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อนำไปสู่การเป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบัน แอปพลิชั่นถูกติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ 100 ล้านเครื่อง ครอบคลุมเครือข่ายผู้ขับขี่ พันธมิตรขนส่ง ผู้ค้าและตัวแทนรวมกว่า 7.1 ล้านคน รวมถึงระบบการจ่ายเงินทำให้แกร็บสามารถให้การสนับสนุนการสร้างการเติบโตทางธุรกิจของสตาร์ทอัพอื่น ๆ

แกร็บเฟรช ส่งสินค้าภายใน 1 ชั่วโมง

นอกจากบริการเรียกรถ รับประทานอาหารกลางวัน ส่งพัสดุ รวมถึงช้อปปิ้งอยู่แล้ว เวลานี้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าต่างๆ จากซูเปอร์มาร์เก็ตโดยไม่ต้องเสียเวลารอคิวด้วยแกร็บเฟรช

การร่วมมือกับแฮปปี้เฟรช จะทำให้ลูกค้า Grab ได้รับความสะดวกจากการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตได้จากบ้าน ซึ่งผู้บริโภคมักต้องการซื้อสินค้าสดและสินค้าแช่งแข็งอยู่เป็นประจำ โดยแกร็บเอ็กซ์เพรสสามารถส่งสินค้าเหล่านั้นถึงประตูบ้านได้ภายใน 1 ชั่วโมง หรือตามเวลาที่นัดไว้

บริการนี้ของ Grab ครอบคลุมมผลิตภัณฑ์กว่า 100,000 ชนิด จากเครือซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายสินค้าเฉพาะทางกว่า 50 แห่ง

โดยมีผู้ช่วยซื้อสินค้าส่วนตัวที่ได้รับการอบรมและมีความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าทั่วไปและสินค้าเฉพาะ ซึ่งสามารถให้บริการตามความต้องการพิเศษด้วย ลูกค้าสามารถปฏิเสธการรับสินค้าในกรณีไม่พอใจได้

แกร็บจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในธุรกิจ เพื่อนำไปสู่บริการให้ลูกค้าทุกวัน รวมถึงยังสร้างการเข้าถึงแหล่งรายได้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก

แกร็บแพลตฟอร์มคือเทคโนโลยีอันหลากหลายในรูปแบบ APIs (Application Programming Interface) ที่ช่วยให้พันธมิตรสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับเทคโนโลยีของแกร็บได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การจัดส่งสินค้า การชำระเงิน การระบุตัวตนผู้ใช้ การส่งข้อความ การให้ข้อมูลข่าวสาร และแผนที่ระบุพิกัด

“เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีขนาดทางธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ภายในปี พ.ศ. 2593 ประชากรจำนวนมากจะมีฐานะดีขึ้นในสังคมระดับกลาง บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับโอกาสทางธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลง ผ่านการร่วมมือกับแกร็บ” แอนโทนี่ ตัน กล่าวเพิ่มเติม

แกร็บ จะให้บริการแอปโฉมใหม่บนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียในวันนี้ ส่วนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Andriod) จะเริ่มให้บริการในวันที่ 18 กรกฎาคม สำหรับประเทศอื่นๆ คือ ไทย จะเริ่มภายในไตรมาส 3ของปีนี้

ปัจจุบัน แกร็บมีเครือข่ายผู้ขับขี่ พาร์ตเนอร์ผู้ขนส่ง ตัวแทนและผู้ค้ารวมกว่า 7.1 ล้านคน ใน 225 เมือง ใน 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

]]>
1178193