ธนาคารไทยพาณิชย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Sep 2024 13:39:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SCB ปักหมุด Net Zero 2050 ยุทธศาสตร์เปลี่ยนพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด สู่ “สินเชื่อสีเขียว”  https://positioningmag.com/1489292 Mon, 09 Sep 2024 13:08:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489292 ธุรกิจในปัจจุบัน กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ทำให้การดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้คนจำต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำหรือการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น

หลายภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีการปรับเปลี่ยนนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนขึ้น อาทิ ประเทศอิตาลี องค์กร SACE ซึ่งเป็น Italian Export Credit Agency ให้การสนับสนุนธุรกิจ SME ในการเข้าถึงเงินทุน โดยการให้ Green Guarantee ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็ประกาศจุดยืนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 โดยจะลดการพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานจากถ่านหินลง พร้อมทั้งหันมาสนับ  สนุนการใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น รวมถึง ประเทศจีน มีการออกนโยบาย Dual Credit Policy ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ผลิตรถที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการผลิตและใช้งานรถยนต์น้ำมัน โดยมีเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2603 

Net Zero ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ ทางรอด

ส่วนประเทศไทย มีนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายธุรกิจประกาศนโยบาย Net Zero กันถ้วนหน้า เพราะแรงจูงใจในเรื่อง “ภาษี” หรือ “ดอกเบี้ย” ที่ลดลง ทำให้หลายองค์กรต้องลุกขึ้นมาจริงจังด้านสิ่งแวดล้อม 

ในวงการธนาคาร ที่เผชิญกับความท้าทายจากการถูกดิสรัปต์โดยเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปิดสาขา ปรับตัวสู่การทำธุรกรรมต่างๆ บนมือถือ เมื่อผู้คนหันมาทำธุรกิจกรรมออนไลน์กันมากข้ึน ค่าธรรมเนียม ที่เป็นหนึ่งในรายได้ของธนาคารเองก็หายไป ทำให้ทางรอดของธนาคารต่างๆ จึงอยู่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์สินเชื่อและการลงทุน 

ก่อนหน้านี SCB ได้ประกาศนโยบาย Digital Bank with Human Touch ที่มีการใช้ AI เข้ามาช่วยในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย 100% หรือ AI Advisory Chatbot แชตบอตให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ซึ่งเป็นการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ความท้าทายในเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธนาคารจึงมากกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะต้องมีทั้งในด้านของ “องค์กร” และ “ลูกค้า” เพราะการปล่อยสินเชื่อก็ถือเป็นการสนับสนุนธุรกิจแล้ว

ล่าสุด SCB ตั้งเป้าสู่ Net Zero ด้วยแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ถือเป็นธนาคารรายแรกๆ ที่ปักเป้า Net Zero อย่างจริงจัง เพราะธนาคารต้องเจอหลายปัจจัย โดยเป้าหมายนี้มี 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่ 

1) Net Zero 2025 : ปล่อยสินเชื่อสีเขียววงเงิน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท (นับตั้งแต่ปี 2023) 

2) Net Zero 2030 : ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 

3) Net Zero 2050 : เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อธุรกิจ ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาท สู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียวทั้งหมด

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ความยั่งยืน คือ โอกาสบนความท้าทาย ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด เพราะการที่ธนาคารต้องประกาศเรื่องความยั่งยืนนั้นมีทั้งโอกาส และความท้าทาย โดยโอกาสจากเม็ดเงินลงทุน และการจ้างงาน ซึ่งบทบาทของธนาคารในเรื่องความยั่งยืน จึงเป็นเรื่องของการสนับสนุนเงินทุน ซึ่งเม็ดเงินที่โลกจะลงทุนสู่ Net Zero หรือการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นั้นมีจำนวนกว่า 39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,323 ล้านล้านบาท ทำให้ธุรกิจธนาคาร สามารถสนับสนุนและจัดสรรเงินทุน เพื่อรองรับการดำเนินการด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อ  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีธรรมาภิบาล”

‘S-C-B’ 3 แกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

แนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สำหรับการส่งต่อความยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้อง ด้วยกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคาร โดยแบ่งเป็น 3 แกนหลัก คือ S-C-B 

1) S หรือ Sustainable Banking การสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน เช่น สินเชื่อสีเขียว หรือ Green Loan ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจหันมาปรับตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความยั่งยืน ซึ่งหากทำได้ตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด ธุรกิจนั้นก็จะได้ผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เป็นต้น

2) C หรือ Corporate Practice Excellence คือการสร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน มุ่งเน้นการนำธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นองค์กร Net Zero หรือ องค์กรแห่งความยั่งยืนครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ภายในปี 2030 จากการดำเนินงานภายในองค์กร อาทิ การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในสำนักงานไว้ที่ 25 องศา โดยตั้งค่าเปิด-ปิดก่อนเวลาทำการ 1 ชม. หรือ การเปลี่ยนมาใช้น้ำยาล้างแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตั้ง Solar Looftop ที่สำนักงานใหญ่และศูนย์ฝึกอบรม รวมถึงการเปลี่ยนขวดน้ำดื่ม เพื่อใช้ในกิจกรรมองค์กรเป็นพลาสติกรีไซเคิล 100% หรือ ขวด rPET ปีละ 1.3 ล้านขวด ที่สามารถลดคาร์บอนได้กว่า 60%

3) B หรือ Better Society เป็นการพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ อาทิ การพัฒนาเยาวชนผ่านการสนับสนุนทางการศึกษาและการให้ความรู้ทางการเงิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนและการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึง การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการแล้วกว่า 400,000 ราย 

ปี 2050 ทุกธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 100%

ทางด้าน ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า 

“ธนาคารได้วางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 คือ ลดความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอธนาคารจากปัญหาภาวะโลกร้อน หนุนการเปลี่ยนแปลงผ่านการทำงานร่วมกับลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจภายใต้การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และยังช่วยลดโลกร้อน”

ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับข้อตกลง Paris Agreement ที่ทุกประเทศจะช่วยกันควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสต่อปี ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากกรอบการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ที่กว่า 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกได้ให้คำมั่นตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ไว้

ตรงกับวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของธนาคารที่เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและสร้างความพร้อมให้กับเศรษฐกิจไทยต่อความท้าทายและโอกาสของสังคมคาร์บอนต่ำ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ผ่านผลิตภัณฑ์ (Sustainable Finance) ที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรม โดยดำเนินการผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ

1) บริหารพอร์ตสินเชื่อสีเขียว

ธนาคารได้เน้นการสนับสนุนพอร์ตสีเขียวในธุรกิจไฟฟ้า และลดการปล่อยกู้ในธุรกิจถ่านหิน โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.98 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน สามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดธุรกิจโรงไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ในการลดการปล่อยก๊าซ GHG เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ด้วยยอดสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนคงค้างปี 2023 กว่า 79,000 ล้านบาท ครองสัดส่วนกว่า 61% ของสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนที่สูงกว่าธนาคารชั้นนำของโลก ที่รวมกันอยู่ที่ 53% 

โดยจะเน้นการตั้งเป้าหมาย Net Zero ตามกลุ่มลูกค้าอย่าง กลุ่มธุรกิจพลังงานต่างๆ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมองค์กรเคมีเวชภัณฑ์ ซึ่งธนาคารได้พิจารณาสินเชื่อโครงการของธนาคาร (Project Finance) ที่ได้เตรียมเงินทุนสนับสนุนการเงินยั่งยืนระหว่างปี 2023-2025 รวมกว่า 150,000 ล้านบาท และปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท

2) สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน 

ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาทิ ลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารมุ่งเน้นการสนับสนุนโซลูชันเพื่อธุรกิจรักษ์โลกเพื่อผู้ประกอบการ SMEs (SCB SME Green Finance) รวมทั้งกิจกรรม Business Matching ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น สร้าง Ecosystem สำหรับเอสเอ็มอี ด้วยการความร่วมมือส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ผู้ประกอบการทั้งหน่วยงานราชการ สมาคม สมาพันธ์ และ พันธมิตรทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารนำเสนอสินเชื่อที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาช่องทางดิจิทัลของธนาคาร ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนผ่าน SCB EASY เป็นต้น 

3) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

โดยผลักดันการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบสู่ การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ และเพื่อผลักดันการสนับสนุนแก่ลูกค้าและสังคมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำ Equator Principles (EP) ซึ่งเป็นกรอบการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงิน ที่นำมาตรฐานสากล Best Practices มาใช้เป็น กรอบแนวทางในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่กับการให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการประเมินโครงการตามหลักการ EP ไปแล้วทั้งสิ้น 53 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 75,500 ล้านบาท 

]]>
1489292
SCB ประกาศนำเทคโนโลยี AI มาขับเคลื่อนธุรกิจธนาคาร มองธุรกิจ Wealth สำคัญและต้องการถึงเส้นชัยก่อนคนอื่น https://positioningmag.com/1474212 Sat, 18 May 2024 09:21:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474212 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศกลยุทธ์สำคัญคือเรื่องการนำเทคโนโลยีปัญญหาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ โดยธนาคารได้ยกกรณีศึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย ขณะเดียวกันก็มองธุรกิจ Wealth นั้นเป็นส่วนสำคัญของธนาคารและต้องการถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถทำผลงานได้ดี เช่น มีกำไรสุทธิจำนวน 13,200 ล้านบาท เติบโต 13.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ 37.7% มีผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้น (ROE) ในระดับ 12.7% มีรายได้จากช่องทางดิจิทัลคิดเป็นสัดส่วน 9.9 % เมื่อเทียบกับรายได้โดยรวม

ปัจจุบัน SCB มีลูกค้า 17.8 ล้านราย มีผู้ใช้งานผ่านช่องทางดิจิทัลมากถึง 84% ผ่าน SCB Easy ในปีที่ผ่านมาธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 23% และมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น การซื้อกองทุนรวม เติบโตมากถึง 7 เท่า หรือการซื้อประกันในช่องทางนี้เพิ่มขึ้น 5 เท่า

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวถึงการเร่งพัฒนาในด้านดิจิทัล และวางเป้าเพิ่มรายได้จากช่องทางดิจิทัล 13% ภายในปีนี้ และ 25% ภายในปี 2025 เขายังชี้ถึงข้อดีของเนื่องจากรายได้ช่องทางดังกล่าวนั้นต้นทุนในการดำเนินการถือว่าต่ำ และจะส่งผลกำไรต่อธนาคารเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ กฤษณ์ ยังกล่าวถึง เป้าหมายการลดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลงมาให้เหลือ 35% ให้ได้ จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามา ซึ่งเขามองว่าหลายเป้าหมายที่เคยวางไว้น่าจะถึงเป้า

นำ AI เข้ามาจัดการในด้านต่างๆ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learnin เข้ามาช่วย โดยวางการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ภายใต้โมเดล Better Brain ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การสร้างบริการที่รู้จักรู้ใจลูกค้าเป็นรายบุคคล เช่น การแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าใช้อยู่
  • การเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร กฤษณ์ ได้เล่าถึงเรื่องปัญหาระบบไอทีหลักที่ทำงานพื้นฐานของธนาคารทั้งหมดซึ่งยังเป็นระบบเก่า แต่ตอนนี้ทางธนาคารกำลังติดตั้งระบบใหม่ คาดว่าจะใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งเขาหวังว่าจะทำให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลนั้นดีมากขึ้น
  • มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า โดย ธนาคารได้เพิ่มบริการแชตบอทเข้ามาผ่าน SCB Connect ผ่านแอปพลิเคชัน LINE ที่สามารถตอบคำถามลูกค้า เช่น ถ้าหากลูกค้าสนใจซื้อกองทุนประเภทต่างๆ แชตบอทสามารถตอบคำถามได้ เป็นต้น และแชตบอทดังกล่าวนั้นมีการพัฒนาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ

กรณีศึกษาที่สำคัญคือ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย 100% ทำให้ลดภาระของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันจากเดิมที่ต้องใช้เวลาอนุมัติสินเชื่อใช้เวลาหลายวันนั้นปัจจุบันใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้น ขณะที่ความเสี่ยงของลูกค้าที่ไม่เท่ากันก็ทำให้ธนาคารสามารถควบคุมความเสี่ยงได้มากขึ้น

นอกจากนี้การนำเทคโนโลยี AI เข้ามายังทำให้ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงลูกค้าแต่ละราย ลดความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และยังสามารถที่จะรองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่น อาชีพอิสระ หรือแม่ค้า ซึ่งลูกค้ากลุ่มดังกล่าวในอดีตธนาคารแทบจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยซ้ำ

เรื่องของธุรกิจธนาคาร มองธุรกิจกลุ่ม Wealth ที่ต้องการถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงการปรับตัวของธนาคารภายใต้ความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลทำให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบไปแล้ว

ขณะเดียวกันเขาก็มองว่าลูกค้าเริ่มมีความเสี่ยงมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน หรือแม้แต่ลูกค้าที่มีรายได้มากกว่า 60,000 บาทต่อเดือนก็มีความเสี่ยงจากผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ต้องผ่อนทั้งรถยนต์และบ้าน

ในส่วนธุรกิจของธนาคารเอง เขากล่าวว่า ธนาคารไม่ได้ปักหมุดไปแข่งกับธนาคารอื่น ธนาคารแข่งกับตัวเอง เพื่อเข้าถึงใจของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าบอกปากต่อปากว่า SCB เป็น Digital Bank With Human Touch ขณะเดียวกันเขาก็ยังมองว่าการเติบโตของธนาคารในอนาคตแม้จะรายได้จะไม่ได้เติบโตมากเหมือนกับในอดีต แต่ประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนและประสิทธิผลของธนาคารจะดีขึ้น

นอกจากนี้เขาต้องการให้ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของ SCB ถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน แม้จะมีผู้เล่นในตลาดนี้เป็นจำนวนมาก

สอดคล้องกับในเดือนพฤศจิกายนปี 2023 เขาเคยกล่าวว่า ธุรกิจ Wealth นั้นถือเป็นดาวเหนือของ SCB มาแล้ว และมองว่าธุรกิจดังกล่าวเป็นหัวเรือสำคัญของธนาคาร เนื่องจากเมื่อมองสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากในอดีตที่ 7% เพิ่มมาเป็น 20% ในปีที่ผ่านมา

ไม่ยืนยันว่าจะปรับลดคนหรือไม่ แต่มองว่าให้โอกาสพัฒนาคนจาก AI มากกว่า

เขายังกล่าวถึงการนำเทคโนโลยี AI เข้ามานั้นยังได้ช่วยทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าการนำเทคโนโลยี Copilot มาช่วยในงานไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของ EIC ที่ช่วยรวบรวมข่าวที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทย การช่วยสรุปข้อความด้านกฎหมายให้กับพนักงานฝ่ายอื่นของฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในงาน Automation ลดภาระบางอย่างของพนักงาน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามานั้นไม่ได้เอามาแทนคนแต่อย่างใด แต่เอามาปรับโจทย์ให้พนักงานเก่งมากขึ้น

อย่างไรก็ดีเขาชี้ว่าไม่ยืนยันว่าจะมีการปรับลดคนหรือไม่ แต่มองว่าให้โอกาสพนักงานมากกว่า เขาเองยังวางเป้าว่า SCB จะให้พนักงานเข้าใจเรื่องดิจิทัล ปรับให้พนักงานเก่งขึ้น ภายในปี 2026 พนักงานจะต้องนำ AI ไปสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ออกมา

ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าลูกค้าระดับกลางค่อนบนยังต้องการคนอยู่ ซึ่งในอดีตมนุษย์นั้นไม่ให้มูลค่าการปฎิสัมพันธ์มากนัก แต่ในอนาคตทุกอย่างกลับเปลี่ยนไป เขามองว่าการปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องของความพรีเมียม และเป็นเรื่องของเอกสิทธิ์

เขายังกล่าวทิ้งท้ายว่าสิ่งที่ SCB แตกต่างคือมองว่าคนสำคัญ สำคัญถึงขั้นอยู่ในกลยุทธ์ และตราบใดที่ยังมี SCB ก็ยังต้องมีมนุษย์

]]>
1474212
“SCB” เร่งยกเครื่อง “Core Banking” ของธนาคาร หลังพบระบบดิจิทัลบางอย่างใช้มานาน 20 ปีไม่เคยอัปเดต https://positioningmag.com/1452373 Sat, 18 Nov 2023 07:34:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452373 หลังธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศก้าวสู่การเป็น “Digital Bank with Human Touch” สิ่งที่ต้องทำคือการรื้อ “หลังบ้าน” ของตนเองให้สอดคล้องกับนโยบายใหม่ ตั้งแต่ปีนี้ธนาคารจึงเริ่ม “ยกเครื่อง” เตรียมเปลี่ยน “Core Banking” ให้ทันสมัย ลดจำนวนระบบเกี่ยวเนื่องให้ไม่ซ้ำซ้อน และอัปเดตให้ทันโลกหลังบางระบบใช้มานาน 20 ปี จัดบ้านให้พร้อมรับเทคโนโลยี AI ที่จะมาช่วยให้ธนาคารบริการลูกค้าได้แม่นยำ เรียลไทม์ และทำงานเชิงรุกได้ดีขึ้น

“Core Banking เรายังใช้ภาษาโคบอลต์อยู่เลย วันนี้ภาษานี้ไม่มีเรียนในสถาบันการศึกษาแล้วด้วยซ้ำ แล้วยังระบบต่าง ๆ ที่แยกย่อยออกไปอีก มีทำงานอยู่ถึง 764 ระบบ ในจำนวนนี้มากกว่า 50 ระบบมีอายุมากกว่า 20 ปี ลองนึกดูว่าเทคโนโลยีเมื่อ 20 ปีที่แล้วคืออะไร หลายคนอาจจะไม่รู้จัก”

“อรพงศ์ เทียนเงิน” ผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Technology ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึง ‘งานช้าง’ ที่รออยู่ข้างหน้า เมื่อธนาคารตัดสินใจจะต้องเร่งเครื่องเรื่อง “ดิจิทัล”

หนึ่งในเป้าหมายของ SCB ในยุคซีอีโอ “กฤษณ์ จันทโนทก” คือ การเพิ่มรายได้จากดิจิทัล (Digital Revenue) ขึ้นเป็น 25% ของรายได้รวม ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายใหญ่มากเพราะปัจจุบันยังมีสัดส่วนเพียง 7% เท่านั้น ดังนั้น การจะไปให้ถึงฝันต้องกลับมาดูความพร้อมในบ้านก่อน

SCB Core Banking

เป็นที่มาของแผนการ “ยกเครื่อง” Core Banking ของธนาคารและระบบแวดล้อมทั้งหมด โดยอรพงศ์วางงบไว้ในกรอบ 4 ปี (2567-70) ปีละ 8,000 ล้านบาท หรือใช้งบรวมทั้งหมดเพื่อรื้อระบบราว 32,000 ล้านบาท

สิ่งที่ต้องการจะทำคือการเปลี่ยน Core Banking ซึ่งเปรียบเหมือน ‘หัวใจ’ ของธนาคารให้ทันสมัย และลดจำนวนระบบแยกย่อยที่มี 764 ระบบ ให้ระบบที่เหมือน ‘เส้นเลือด’ เหล่านี้เหลือตัวเลขที่ 100 ต้น ๆ ก็พอ

การรื้อบ้านครั้งใหญ่ครั้งนี้ อรพงศ์คาดจะใช้เวลา 4 ปีตามกรอบงบประมาณจึงจะเสร็จสมบูรณ์ แต่จะพยายามทำให้ระหว่างทางเกิดประโยชน์กับธนาคารได้ทันทีโดยไม่ต้องรอทุกระบบพร้อมหมด

AI ช่วยสร้าง “Customer Centric” ให้เกิดขึ้นจริง

โจทย์ของการยกเครื่องหลังบ้านครั้งนี้คือ การเตรียมฐานให้พร้อมเพื่อนำเทคโนโลยี AI มาใช้งาน ซึ่งจะทำให้การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง “Customer Centric” เกิดขึ้นได้จริง เพราะสามารถมองเห็นดาต้าของลูกค้าเป็นรายบุคคลและเป็นดาต้าเรียลไทม์

อรพงศ์อธิบายว่า ทุกวันนี้ธนาคารยังมีลักษณะเป็น “Product Centric” คือ มองลูกค้าแยกตามผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เช่น วันนี้ลูกค้าใช้สินเชื่อบ้านก็เป็นลูกค้ากู้บ้าน เมื่อไปใช้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ก็เป็นลูกค้าของกลุ่มสินเชื่อรถ

การมองเป็นรายผลิตภัณฑ์แบบนี้ทำให้ธนาคารต่อยอดยากเพราะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ รอให้ลูกค้ามีความต้องการและแวะเข้ามาหาธนาคารเอง

SCB Core Banking

แต่หาก AI สามารถวิเคราะห์ให้ได้ว่าลูกค้าคนนี้มีศักยภาพอย่างไร เช่น เป็นลูกค้าสินเชื่อบ้านราคา 5 ล้านบาท ผ่อนตรงเวลาทั้งหมด ด้วยโปรไฟล์ที่สามารถกู้บ้านในราคานี้ได้ มีความรับผิดชอบในการผ่อน และมีเงินในบัญชี ธนาคารอาจเชิญชวนให้เป็นลูกค้าบริการจัดการความมั่งคั่ง (Wealth Management)

ข้อมูลเหล่านี้ที่ AI วิเคราะห์ลูกค้าได้ สามารถส่งต่อให้ “มนุษย์” หรือพนักงานที่ดูแลลูกค้า เช่น Relation Manager (RM), Call Center ทราบ เพื่อดูแลลูกค้าต่อได้ตรงจุด ไม่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่น่าจะสนใจ ช่วยพนักงานให้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปได้มากกว่า ซึ่งฝั่งลูกค้าเองจะลดความรู้สึก ‘รำคาญใจ’ ที่ต้องรับฟังผลิตภัณฑ์ที่ ‘ไม่โดน’ ด้วยเหมือนกัน

สร้างผลิตภัณฑ์การเงินเฉพาะบุคคล

อีกส่วนหนึ่งที่ SCB จะต่อยอดได้จากความสามารถในการวิเคราะห์ลูกค้าเป็นรายบุคคล คือ “การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ดิจิทัล”

ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันการออกโปรโมชันสินเชื่อต่าง ๆ จะออกเป็นแคมเปญใหญ่ที่ทุกคนสามารถสมัครยื่นขอสินเชื่อได้ในอัตราดอกเบี้ยเดียวกันตามแคมเปญ ทั้งที่จริงแล้วลูกค้าแต่ละรายมีศักยภาพและความเสี่ยงที่ไม่เท่ากัน

ในอนาคตหาก AI สามารถวิเคราะห์ดาต้ารายคนได้ จะทำให้ธนาคารสามารถเสนอสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แยกย่อยได้ตามโปรไฟล์รายบุคคล ลูกค้าความเสี่ยงต่ำก็อาจจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ทำให้ธนาคารทราบว่าควรแข่งขันในลูกค้ารายใด และรายใดที่ไม่ควรแข่งขัน

พลิกกลับด้าน…ใช้คน SCB ดูแลไอทีเอง

จากการปรับใหญ่ในครั้งนี้ อรพงศ์กล่าวว่าที่ขาดไม่ได้คือ “การลงทุนบุคลากร” จะต้องปรับมาใช้บุคลากรภายในของธนาคารไทยพาณิชย์เองในการดูแลระบบดิจิทัล แทนที่การใช้ผู้ให้บริการจากภายนอก (vendor)

ทำให้ในปี 2567 ธนาคารไทยพาณิชย์จะรับสมัครพนักงานไอทีเพิ่ม 300 ตำแหน่ง โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มจำนวนพนักงาน (headcount) ขององค์กร เพราะจะเป็นการทดแทนพนักงานดั้งเดิมที่เกษียณอายุหรือลาออก

“ต้องสร้างคนมาคู่กับการสร้างเทคโนโลยี วันนี้เรายังพึ่งพิง vendor อยู่ 71% ต่อไปเราต้องพึ่ง vendor ให้น้อยลง ต้องสลับมาดูแลเองให้ได้ 80% เพราะเมื่ออนาคตมีปริมาณงานเพิ่มขึ้น เราต้องดูแลเองได้ คนของเราต้องเติบโตไปพร้อมกัน ต่อจากนี้เราไม่ได้เน้นความเร็วมาก ๆ แต่ต้องโตอย่างยั่งยืน” อรพงศ์กล่าวปิดท้าย

]]>
1452373
เดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ฉลอง 4 ปี “SCB M” อัดโปรสุดปังแทนคำขอบคุณ ตอกย้ำความเป็นผู้นำ “บัตรสำหรับนักช้อปฯ” https://positioningmag.com/1395868 Fri, 12 Aug 2022 04:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395868

เดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ฉลองความสำเร็จครบรอบ 4 ปี โครงการความร่วมมือ “SCB M” บัตรเดียวที่ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด 365 วัน จัดแคมเปญใหญ่ “SCB M 4th Anniversary” SHOPTAVERSE จักรวาลนักช้อป แจกโปรปังฉลอง 4 ปี มอบสิทธิประโยชน์ สุดพิเศษแทนคำขอบคุณตลอดเดือนสิงหาคม เมื่อใช้จ่ายทั้งนอกห้างฯ และในห้างฯ ช้อปในห้างฯ เคาน์เตอร์ปกติลดสูงสุด 50 % พิเศษทุกเสาร์-อาทิตย์ บัตรเครดิต SCB M ใช้คะแนนแลกรับส่วนลดเพิ่มรวมสูงสุด 44% ส่วนบัตรเดบิต และบัตรเติมเงิน SCB M ใช้คะแนนแลกรับส่วนลดเพิ่มรวมสูงสุด 40% ทุกวัน ระหว่างวันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2565 พร้อมลุ้นรางวัลรวมมูลค่าสูงสุด 4,000,000 M Point ถึง 31 ธันวาคม 2565 ที่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์, พารากอน ดีพาร์ทเม้นสโตร์ และศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ทุกสาขา, M Online APP, MONLINE.COM GOURMETMARKETTHAILAND.COM และเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯ นอกห้างฯ ณ ร้านที่ร่วมรายการรับส่วนลดสูงสุด 25%

วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด (Miss Voralak Tulaphorn ; Chief Marketing Officer, The Mall Group Co., Ltd.) กล่าวว่า

“ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ เดอะมอลล์ กรุ๊ป และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการให้บริการลูกค้า ภายใต้โครงการ SCB M เราได้เปิดโลกใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการพัฒนาระบบการชำระเงินสู่ Cashless Future Retail โดยลูกค้าผู้ถือบัตร SCB M ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และบัตรเติมเงินสามารถช้อปปิ้ง ได้ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ต้องพกบัตร ผ่าน E-Commerce Platform and Payment Gateway และ SMART EDC เครื่องรับบัตรอัจฉริยะที่ให้แคชเชียร์ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เรายังเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบครบวงจร สำหรับขาช้อป อาทิ บริการด้านประกัน, บริการบัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคล และ Bill Payment บริการรับชำระค่าบริการ อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการจ่ายบิลค่าสาธารณูปโภคได้ในครั้งเดียว ฯลฯ พร้อมมอบโปรโมชั่นพิเศษมากมายสำหรับผู้ถือบัตร อาทิ ผ่อนสินค้า 0% 10 เดือน, รับส่วนลดสูงสุด 10% รับคะแนนสะสมสูงสุด 4 เท่า ฯลฯ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าในทุกไลฟ์สไตล์ที่มาช้อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป

เพื่อฉลองความสำเร็จครบรอบ 4 ปี SCB M VISA เดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดแคมเปญ “SCB M 4th Anniversary” SHOPTAVERSE จักรวาลนักช้อป แจกโปรปังฉลอง 4 ปี SCB M เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้า มอบโปรโมชั่นสุดพิเศษสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตร SCB M VISA ทุกประเภท ให้ได้ช้อปสนุกทั้งในห้างสรรพสินค้า, ศูนย์การค้า ช้อปผ่านช่องทางออนไลน์ที่ M Online APP, MONLINE.COM GOURMETMARKETTHAILAND.COM แบบจัดหนักจัดเต็ม นอกจากนี้ SCB M ได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ฉลองครบรอบ 4 ปี ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่ และ บิวกิ้น – พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล เพื่อเป็นตัวแทนสื่อถึงประสบการณ์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งล้ำสมัยของคนรุ่นใหม่ รวมทั้งตอกย้ำ Brand Image และสร้างการรับรู้ได้ในวงกว้าง พร้อมตั้งเป้ายอดขาย จากแคมเปญ “SCB M 4th Anniversary กว่า 1,000 ล้านบาท”

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Unsecured ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารรู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการให้บริการลูกค้ารูปแบบใหม่ๆ โดยมีดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ภายใต้ความร่วมมือโครงการ “SCB M” โดยเราได้ใช้จุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญทางการเงิน ผสานกับเทคโนโลยีด้านฟินเทค เป็นหัวหอกสำคัญ พัฒนาประสบการณ์การให้บริการเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ และทุกรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้า พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญใน การสร้างดิจิทัล ช้อปปิ้ง แพลตฟอร์ม โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในทุกมิติ พร้อมสร้างประสบการณ์การที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า”

เพื่อฉลองครบรอบ 4 ปี SCB M มอบโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตร SCB M VISA ทุกประเภท เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรภายในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า เดอะมอลล์ ทุกสาขา, ดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์, พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์, M Online APP, MOnline.com และ GourmetMarketThailand.com ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 – 31 สิงหาคม 2565

โปรโมชั่นห้างสรรพสินค้า

  •  เคาน์เตอร์ปกติลดสูงสุด 50%
  • บัตรเครดิต SCB M แลกคะแนน M Point รับส่วนลดเพิ่มรวมสูงสุด 44% (เสาร์ – อาทิตย์)
  •  บัตรเดบิต หรือบัตรเติมเงิน SCB M แลกคะแนน M Point รับส่วนลดเพิ่มรวมสูงสุด 40% (ทุกวัน)
  •  รับคืนรวม 400 บาท เมื่อช้อปภายในห้างฯ ตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปต่อเซลล์สลิป (จันทร์ – ศุกร์)
  •  พิเศษรับทริปสุดหรู กรุงโซล เกาหลีใต้ รวมมูลค่ากว่า 4,000,000 บาท เมื่อสะสมยอดใช้จ่ายผ่านบัตร SCB M LEGEND และ SCB M LUXE ครบ 15,000,000 บาท ภายในห้างฯ และศูนย์ฯ โดยต้องมียอดใช้จ่ายสะสมภายในห้างฯตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไปและยอดใช้จ่ายสะสมภายในศูนย์ฯตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป(จำกัด 8 รางวัล)
  •  พิเศษ! เฉพาะ 4 ส.ค. 65 เวลา 4.44 PM ใช้คะแนนเพียง 44 M Point แลกรับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส 1 เที่ยว มูลค่า 1,100 บาท ผ่าน M Card Application

โปรโมชั่นศูนย์การค้าเดอะมอลล์ทุกสาขา

  •  รับบัตรกำนัลศูนย์ฯ มูลค่า 500 บาท เมื่อใช้จ่ายสะสมผ่านบัตรฯ ครบ 2,000 บาทขึ้นไป (ทุกวัน)
  •  รับเครื่องฟอกอากาศ Samsung BLUE SKY AX3300 เมื่อสะสมยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ตั้งแต่ 25,000 บาทขึ้นไป (เสาร์ – อาทิตย์)
  •  รับส่วนลดพิเศษจากร้านอาหารชั้นนำภายในศูนย์การค้า

โปรโมชั่น M Online APP/ MOnline.com

  •  แบรนด์ดังร่วมรายการทุกชิ้น ทั้งเว็บ ลดแรงสูงสุด 80%
  •  รับส่วนลดรวมสูงสุด 3,300 บาท (จันทร์ – ศุกร์)
  •  SCB M WOW WEEKEND ช้อปไม่หยุด สุดสัปดาห์ แลกคะแนน รับส่วนลดเพิ่ม 24% (เสาร์ – อาทิตย์)

โปรโมชั่น GourmetMarketThailand.com

  • ช้อปสะดวกทุกโอกาส ของสด ของใช้ อาหารพร้อมทาน ของขวัญวันแม่ ชุดไหว้มงคล รับเทศกาลสารทจีน ขนมไหว้พระจันทร์จากโรงแรมและภัตตาคารชั้นนำ กระเช้าเยี่ยมไข้ เซทกระเช้าป้องกันโควิด ลดราคาสูงสุด 50%
  •  SCB M VISA ทุกประเภท ลดทุกวัน ลดทันที รวมสูงสุด 300 บาท
  • พิเศษ! ช้อปสนุกกว่าเดิมทุกสุดสัปดาห์ (เสาร์ – อาทิตย์) แลกคะแนน รับส่วนลดเพิ่ม 15%

โปรโมชั่น Lucky draw รวมห้างฯ และศูนย์การค้าเดอะมอลล์ และช่องทางออนไลน์ทุกประเภท (ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565)

  •  ลุ้นของรางวัล Lucky draw รวม 4,000,000 M Point จำนวน 105 รางวัล มูลค่ารวม 500,000 บาท เมื่อสะสมยอดช้อปครบทุก 2,000 บาท ภายในห้างฯ เครือเดอะมอลล์, ศูนย์การค้าเดอะมอลล์, M Online APP, MOnline.com และ GourmetMarketThailand.com, Call To Order, M Chat & Shop,Facebook Monline Thailand และLive Personal Shopper ผ่านบัตร SCB M VISA ทุกประเภท รับสิทธิ์ลุ้น 1 สิทธิ์ พิเศษรับเพิ่ม 10 สิทธิ์ /ประเภทบัตร เฉพาะผู้สมัครบัตรใหม่และได้รับการอนุมัติ

โปรสมัครบัตรเครดิต สุดคุ้ม

  •  สมัครบัตรเครดิต SCB M VISA และบัตรกดเงินสด SCB M Speedy Cash ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 – 31 สิงหาคม 2565 รับเพิ่มฟรี Yunomori Onsen & Aromatherapy Massage (90 Mins) E-Voucher มูลค่า 1,900 บาท จากโปรโมชั่นสมัครบัตรปกติ

SCB M มอบความสุข มอบโปรโมชั่นแทนคำขอบคุณลูกค้าคนสำคัญ ผ่านแคมเปญ “SCB M 4th Anniversary” SHOPTAVERSE จักรวาลนักช้อป แจกโปรปังฉลอง 4 ปี SCB M ระหว่างวันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2565 ที่ เดอะมอลล์ ทุกสาขา, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์, พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ หรือช้อปผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ MOnlineAPP, www.monline.com และ www.gourmetmarketthailand.com ดูรายละเอียดได้ที่ www.themall.co.th, www.mcardmall.com

#SCBM
#SCBM4th Anniversary #SHOPTAVERSE #themallgroup #themall
]]>
1395868
ธนาคารไทยพาณิชย์รวมใจฝ่าวิกฤติโควิด-19 ภูมิใจที่ได้ดูแลคนไทยกว่า 2 แสนคนให้เข้าถึงวัคซีน ปลอดภัยจากโควิด-19 https://positioningmag.com/1365792 Wed, 08 Dec 2021 01:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365792

ธนาคารไทยพาณิชย์ภูมิใจที่ทำให้คนไทยมีความสุข ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมใจฝ่าวิกฤติ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประเทศไทย ผ่านหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ภายใต้โครงการ “ไทย ร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย” ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกรุงเทพมหานครและหอการค้าไทยในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนกันเป็นจำนวนมาก โดยธนาคารฯ ได้ทีมงานบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้มแข็งจากโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ ทำให้สามารถดูแลผู้มารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้จำนวนมากถึง 201,300 คน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ภายใต้มาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด ตลอดระยะเวลากว่า 7 เดือน รวม 84 วัน ตั้งแต่วันที่เปิดจนถึงวันสุดท้ายที่ให้บริการที่หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจของบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการกว่า 240 คน และการรวมพลังครั้งประวัติศาสตร์ของพนักงานจิตอาสา “SCB ชวนกันทำดี” จำนวน 368 คน พนักงานรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านของธนาคารฯ กว่า 50 คน ที่สลับกันมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมผลักดันวาระแห่งชาติในครั้งนี้

นางอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชน การเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรค นับเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นวาระแห่งชาติที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย และโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ เป็น 1 ใน 25 องค์กรภาคเอกชนเข้าร่วมภารกิจในครั้งนี้ โดยทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการให้บริการอย่างดีที่สุดเพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุด ซึ่งธนาคารฯ มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่ที่กว้างขวาง บุคลากร และเป็นจุดที่ประชาชนสามารถเดินทางมาได้โดยง่าย แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีความกังวลเนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เราเปลี่ยนความกังวลเป็นแรงผลัก ยึดหลักว่า ทำแล้วต้องทำให้ดี เอาใจเขามาใส่ใจเรา บริหารจัดการหน่วยฉีดวัคซีนให้มีความรวดเร็ว ง่าย และสะดวกสบาย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดทั้งต่อผู้ให้บริการ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และจิตอาสาที่ปฏิบัติงานภายในหน่วยฯ รวมถึงผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนที่หน่วยฉีดวัคซีนทุกคน

นับเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราชาวไทยพาณิชย์ทุกคนที่ได้มีโอกาสดูแลคนไทยให้ได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน ห่างไกลความเสี่ยงจากโควิด -19 เพื่อผลักดันวาระแห่งชาติในครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยความทุ่มเทของแพทย์ พยาบาลโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการกว่า 240 คน พนักงานจิตอาสา “SCB ชวนกันทำดี” 368 คน ที่เรียกได้ว่าทำด้วยหัวใจของความเป็นจิตอาสาโดยแท้จริง ในการร่วมแรง ร่วมใจกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมจำนวนมากที่สุดครั้งหนึ่งของธนาคารฯ รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านของธนาคารฯ อีกกว่า 50 คน ที่สลับกันมาปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการจนถึงวันสุดท้ายของการให้บริการที่หน่วยความร่วมมือฯ นี้ รวมระยะเวลา 84 วัน ในช่วงกว่า 7 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนทั้งที่เป็นผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยติดเตียง และบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18-59 ปี รวมจำนวน 201,300 คน ด้วยมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยขั้นสูงสุดทั้งต่อผู้ที่มารับบริการและผู้ให้บริการ”

จิตอาสานับเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ประสบความสำเร็จและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มารับบริการ และถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ในการส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสาธารณะ เพื่อร่วมสร้างสังคมที่ดี ภายใต้ชื่อ “SCB ชวนกันทำดี” และนี่คือส่วนหนึ่งของพนักงานจิตอาสาที่ได้มีส่วนร่วมในการให้บริการแก่ผู้ที่มาฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ซึ่งทุกคนล้วนภูมิใจที่ได้ทำให้คนไทยมีความสุข ปลอดภัยจากโควิด-19

นางสาวปสุตา พิชยชานนท์ เจ้าหน้าที่กลยุทธ์การตลาดธุรกิจแลกเปลี่ยน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ในการเป็นจิตอาสาที่หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในครั้งนี้ ได้เห็นภาพความร่วมมือ ร่วมใจของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ภารกิจการระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่สำเร็จโดยเร็ว ในแต่ละวันมีผู้มารับบริการฉีดวัคซีนหลายพันคน แม้ว่าจะเหนื่อย แต่เมื่อได้เห็นรอยยิ้มและคำขอบคุณของผู้ที่มารับบริการ ทำให้มีความสุขในทุกวันที่ได้มาเป็นจิตอาสา รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ องค์กรที่มีวัฒนธรรมของการเป็นจิตอาสา ธนาคารฯ ตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งยังสร้างทัศนคติที่ดีแก่พนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป”

นายพิชิตพล ลีฬหารัตน์ เจ้าหน้าที่ Strategic Planning & Management Report ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“หลังจากที่ทราบว่าธนาคารฯ จะเปิดเป็นหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล สิ่งแรกที่คิด คือ อยากมาช่วย เลยลงสมัครเป็นจิตอาสา ช่วงแรก ๆ มีคำถามในใจทุกวัน ว่าเราต้องเจอคนจำนวนมาก จะปลอดภัยหรือไม่ เนื่องจากในช่วงนั้นมีการระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่นึกถึงคำสอนของคุณพ่อ ท่านเคยพูดไว้ว่า ถ้าคนอื่นทำได้ ตัวเราก็ต้องทำได้ ผลจะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ว่าเราได้ลองหรือพยายามทำหรือยัง ความกลัว ความวิตกกังวลเป็นเพียงอุปสรรค อยู่ที่ว่าเราจะจัดการได้อย่างไร นอกจากนี้ยังเชื่อมั่นในผู้บริหารระดับสูงของธนาคารฯ ซึ่งมีหลายท่านที่มาร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ด้วย รวมทั้งธนาคารฯ เองได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน และอุปกรณ์ทำความสะอาด มีการตรวจ ATK เป็นประจำ จิตอาสาทุกคนก็จะระมัดระวังและป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อส่งมอบความปลอดภัยให้กับผู้ที่มารับบริการ ให้ผู้ที่มารับบริการเดินออกจากหน่วยฉีดวัคซีนของธนาคารฯ ด้วยรอยยิ้มและความสุขใจ รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้”

นายดาวยศ บุตรศรี เลขานุการผู้บริหาร กลุ่มงานปฏิบัติการ กลุ่มงาน Information and Operations ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในยามวิกฤติทำให้เราเห็นถึงน้ำใจคนไทยที่ได้ร่วมแรง ร่วมใจกัน คนละไม้คนละมือ ครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งวิกฤติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด การได้รับวัคซีนโดยเร็วที่สุดจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี รู้สึกปลื้มใจและอิ่มเอมใจที่ได้มาเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ ช่วยดูแลพระภิกษุ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนที่ตั้งครรภ์ คนที่ใช้รถเข็น รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง ตลอดเวลาคิดเสมอว่าคนที่มารับบริการคือคนในครอบครัว มีการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการคลายความกังวลและได้รับความสะดวก เมื่อเห็นผู้ที่มารับบริการมีรอยยิ้มและความสุข เราก็มีความสุข หายเหนื่อย เป็นความสุขที่ได้ทำเพื่อคนอื่น อิ่มใจในทุก ๆ วันที่ได้มาเป็นจิตอาสา นอกจากนี้ยังได้มิตรภาพที่ดีจากเพื่อน ๆ จิตอาสาที่มาร่วมปฏิบัติงานในครั้งนี้”

ธนาคารไทยพาณิชย์ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการบรรเทาวิกฤติโควิด-19 เพื่อให้เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชนกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็ว ด้วยความห่วงใยจากธนาคารไทยพาณิชย์

]]>
1365792
การมาของยานเเม่ SCBX ปลดล็อกธนาคารร้อยปี Re-imagine เป็น ‘บริษัทเทค’ ยุคใหม่ https://positioningmag.com/1353082 Thu, 23 Sep 2021 13:17:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353082 ยานเเม่ SCBX สร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธุรกิจไทยไม่น้อย เมื่อธนาคารเก่าเเก่นับร้อยปีอย่างไทยพาณิชย์กำลังจะปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ พลิกภาพจำเก่าๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีกเป็นคำประกาศที่ทำให้หลายคนตื่นเต้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เเม้ว่าการเเปลงสภาพมุ่งสู่การเป็นบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่าย เเต่ถ้าไม่ทำตอนนี้ ก็อาจจะสายเกินไป

ขั้นเเรกต้องไม่จำกัดตัวเอง

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจ (business model) ในแบบ intermediaries หรือการเป็นตัวกลางเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารแบบดั้งเดิมจะลดบทบาทลง

เนื่องจากจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังใหม่ของผู้บริโภคได้ ความสำคัญของธนาคารต่อผู้บริโภคจะลดลงตามไปด้วยส่งผลลบต่อการให้มูลค่าอนาคตของนักลงทุนต่อธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น SCB จะต้องไม่จำกัดตัวเอง อยู่ที่การเป็นธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องใช้ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารในปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เติบโตเเละอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ เป็นการ Re-imagine จินตนาการใหม่ว่า 

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีก แต่จะแปลงสภาพกลายเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ที่มีธุรกิจธนาคารที่แข็งแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และจะขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคล ที่มีการเติบโตสูงที่ธนาคารไม่สามารถตอบสนองได้” 

นี่เป็นจุดสำคัญของการจัดตั้งบริษัทเเม่ขึ้นมาใหม่ในชื่อว่า SCBX (เอสซีบี เอกซ์) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวเเละขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ สร้างเเพลตฟอร์มเทคโลยีขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก

โดยวางเป้าหมายในอีก 5 ปีว่า SCBX จะมีฐานลูกค้ารวมกัน 200 ล้านคน ในระดับภูมิภาค เป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตเเคปเเตะ 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 3.7 เเสนล้านบาท)

การเเตกย่อยบริษัทไปยังธุรกิจต่างๆ ทั้งฟินเทค สตาร์ทอัพเเละสินทรัพย์ดิจิทัลของ SCB ครั้งนี้ ถือเป็นการปลดล็อก’ ข้อจำกัดและดำเนินกิจการภายใต้โครงสร้างของแบงก์ที่เเต่เดิมจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

ทำความรู้จักยานเเม่’ SCBX

การที่ทีมงานได้เรียกว่ายานเเม่นั้น ทำให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น สื่อให้เห็นถึงการโอนย้ายธุรกิจต่างๆ ในเครือเข้ามาอยู่ภายใต้ SCBX 

ส่วนที่มาที่ชื่อ SCBX นั้น ซีอีโอของไทยพาณิชย์ บอกว่ามาจากเครื่องหมายยกกำลัง (x) ที่สื่อถึงการเติบโตเเบบยกกำลังเเละขยาย (expansion) ออกไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีแค่ธนาคารเหมือนเเต่ก่อน

โดยโครงสร้างใหม่ที่จะขยายจากธุรกิจเเบงก์ เพิ่มขาธุรกิจเทคโนโลยี และการลงทุน เพื่อหารายได้อื่นนั้น แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  • ธุรกิจ Cash Cow กลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงเเต่อัตราการเติบโตต่ำอย่างธนาคารธุรกิจประกัน ฯลฯ
  • ธุรกิจ New Growth จับตลาด Blue ocean ของใหม่ที่มีโอกาสเติบโตได้สูงอย่างสินเชื่อดิจิทัลดาต้าสินค้าเเละบริการด้านเทคโนโลยีต่างๆ

สิ่งที่น่าจับตา คือการพัฒนากลุ่ม New Growth ที่ทาง SCB ได้เเตกไลน์เป็นบริษัทย่อยที่มีทีมบริหารเเยกออกจากกัน เเต่ยังประสานงานกันได้ดี เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกหม้อที่ทำงานกับอยู่เเบงก์มานานหลายปี 

อย่าง ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ มือเก๋าของไทยพาณิชย์ ที่ตอนนี้ดูแล SCB 10X ก็จะเข้าไปดูเเล SCB-CP Group JV เเละสารัชต์ รัตนาภรณ์ ที่ทำงานกับ SCB มานานกว่า 20 ปี ก็จะมาดูแลบริษัทที่ตั้งใหม่อย่าง Card X ด้วย 

SCBX จะยังอยู่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (แต่ในส่วนของใบอนุญาตต่างๆ บริษัทในเครือจะเป็นผู้ขอใบอนุญาตในการดำเนินกิจการ) ซึ่งจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งตอนนี้มีอยู่ถึง 15 บริษัท เเละยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังจะเปิดตัว ยกตัวอย่างเช่น

Robinhood – เเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีที่จะขยายไปเป็นซูเปอร์เเอปฯ

Alpha X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อสำหรับรถหรู ที่ร่วมมือกับ Millennium Group

Auto X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อลีซซิ่ง จับกลุ่มคนรายได้น้อยปานกลาง

Card X – ธุรกิจบัตรเครดิตที่จะโอนออกจากแบงก์

Data X – ธุรกิจข้อมูลดิจิทัล

Tech X – ธุรกิจเทคโนโลยี หาพันธมิตรเป็นบริษัทเทคระดับโลก

TokenX – ธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร

AISCB – ธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล ร่วมมือกับโทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง AIS

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น SCB จะขยายเข้าสู่ digital asset business ผ่าน SCB 10X และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS โดยการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกองทุนระดับโลก และการพัฒนาธุรกิจ digital asset ด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มในระยะยาว

โดยกลุ่มไทยพาณิชย์ เพิ่งจับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ร่วมกันก่อตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ (18,000-24,000 ล้านบาท) มุ่งเน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีด้านการเงินและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก ซึ่ง SCB 10X ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวนี้

เหล่านี้ ถือเป็นบ่อทองเเห่งใหม่ที่ SCB จะต้องขุดขึ้นมา เเละปลุกปั้นให้สำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าบริษัทย่อยต่างๆ จะต้องสามารถเติบโตได้ตามตลาดยุคใหม่ และเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้ในที่สุด

ถอนหุ้น SCB ออกจากตลาดฯ เเทนด้วย SCBX

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ตลท.) เตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 .. 2564 เพื่ออนุมัติขอ ‘Share Swap’ โอนย้ายผู้ถือหุ้น SCB ไปบริษัทเเม่อย่าง SCBX เเละนำ SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ

ในกรณีผ่านการอนุมัติเเล้ว SCBX จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์จากผู้ถือหุ้น โดยการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นของ SCB ในอัตรา 1:1 ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2565

โดยกระบวนการนี้ จะมีการโอนหุ้นที่ SCB ถือในบริษัทย่อยทั้งหลาย รวมทั้งธุรกิจบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลไปให้ยานเเม่อย่าง SCBX

พร้อมได้เสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เป็นกรณีพิเศษ มูลค่า 70,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้กว่า 70% จะถูกนำไปใช้ในเพื่อการถ่ายโอนธุรกิจ ตั้งบริษัทใหม่ และลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีก 30% จะเป็นเงินทุนหมุนเวียนเเละเก็บไว้จ่ายปันผลรอบปี 2565

ทั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินการแต่งตั้ง บล.เกียรตินาคินภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยได้พิจารณากำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 6 ..64

ด้านกระเเสตอบรับในตลาดฯ วันเเรกหลังการเเถลงข่าว พบว่า (23 ..64) ราคาหุ้น SCB ปิดที่ 130.00 บาท เพิ่มขึ้น 20.50 บาท หรือ 18.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 20,295.52 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งระหว่างวันราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 137.00 บาท และต่ำสุดที่ 124.50 บาท

“แบงก์ SCB ยังไม่หายไปไหน ยังคงเป็นธนาคารที่ให้บริการลูกค้าเหมือนเดิม โลโก้เดิม บริการต่างๆ ลูกค้าทำก็ยังคงใช้บริการได้ปกติ”

-ไทม์ไลน์การเพิกถอนหุ้น SCB เเละนำ SCBX เข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯแทน

ลูกค้า 200 ล้านคน ไม่ไกลเกินเอื้อม 

สรุปเป้าหมายสำคัญของไทยพาณิชย์ในปี 2568 ก็คือ การสร้างมูลค่าของบริษัทจากธุรกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากผลกำไรพื้นฐานและความมั่นคงของธุรกิจธนาคารหลัก 

รวมไปถึงการสร้างฐานลูกค้าในระบบให้ได้ถึง 200 ล้านคน (ปัจจุบันอยู่ที่ 16 ล้านคน) และการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

เเน่ชัดว่าถ้าอยากได้ลูกค้าหลายร้อยล้านคน เเค่ในตลาดไทยคงไม่เพียงพอ จะต้องมีการขยายธุรกิจใหม่ออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งช่วง 2-3 ปีนี้ ก็จะมีการขยับรุกไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียน ที่มีเเนวโน้มการเติบโตสูง อย่างอินโดนีเซียเวียดนามเเละฟิลิปปินส์

เราจะไม่เน้นขยาย Commercial Bank ในต่างประเทศเเล้ว เเต่จะเน้นไปที่ธุรกิจการเงินดิจิทัล การลงทุนเเละเทคโนโลยีอื่นๆ มองการเติบโตทั้งเเบบกว้างเเละลึก

เป็นอีกภารกิจเชื่อมต่อ ecosystem ทั้งในและต่างประเทศที่ต้องรอดูว่าจะมีอะไรออกมาเซอร์ไพร์สกันอีกบ้าง

ความเคลื่อนไหวใหญ่ที่สร้างปรากฏการณ์ของธนาคารเก่าเเก่อายุ 116 ปีครั้งนี้ จึงไม่ใช่เเค่เป็นการขยายธุรกิจธรรมดาๆ เเต่เป็นการ Re-imagine สถาบันการเงิน พร้อมขึ้นยานรุ่นใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม

งานนี้ ฟากเเบงก์คู่เเข่งเจ้าอื่น คงไม่ยอมกันง่ายๆ ต้องเตรียมงัดสารพัดของเด็ด ออกมาสู้กันในสมรภูมิการเงินยุคใหม่เเบบดุเดือดยิ่งกว่าเดิมเเน่ๆ

 

]]>
1353082
Robinhood ออกค่าส่งให้ฟรีช่วงล็อกดาวน์ CEO เผย SCB อัดฉีดงบเต็มที่ ช่วยคนอย่าเขียม https://positioningmag.com/1341709 Sun, 11 Jul 2021 04:28:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341709 เป็นอีกหนึ่งข่าวดีในช่วงที่กำลังเข้าสู่การล็อกดาวน์อีกครั้งในวันที่ 12 .. ที่จะถึงนี้ เมื่อ Robinhood แอปพลิเคชันฟู้ด เดลิเวอรี่สัญชาติไทยในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประกาศว่าออกค่าส่งอาหารให้ฟรีตั้งแต่วันที่ 11-25 .. ซึ่งต้องบอกว่าค่าส่งถือเป็น Pain Point สำคัญของธุรกิจนี้ในการตัดสินใจสั่งของผู้บริโภค

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการโ Robinhood ได้เปิดถึงเบื้องหลังของการตัดสินใจนี้ โดยไอเดียนี้มาจากอาทิตย์ นันทวิทยา CEO ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ต้องการช่วยเหลืออะไรบ้างช่วงล็อกดาวน์  

ธนาโพสต์ลงเฟซบุ๊ก มีใจความว่า 

แผนที่ใช่ ใจต้องสั่น

บ่ายสามเมื่อวาน ซีอีโอโทรหา บอกว่าอยากให้โรบินฮู้ดทำอะไรช่วงล็อกดาวน์

เดี๋ยว SCB จะสนับสนุนเต็มที่ ไอเดีย CEO คือให้โรบินฮู้ดส่งอาหารให้ฟรี! แล้วให้เริ่มพรุ่งนี้เลย

ด้วยความกังวลถึงผลกระทบ ผมพยายามจะบอก CEO ว่าเริ่มมะรืนมั้ย ตรงกับ ศบค. ประกาศพอดี  แล้วส่งฟรีซักสามโลแรกมั้ย เพราะเดี๋ยวคนใช้เยอะ ต้องใช้เงินเป็นร้อยล้านเลยนะ แถมไรเดอร์อาจจะขาด โดนด่าได้ 

ระบบก็ไม่รู้จะพร้อมรึเปล่า มีเวลาคืนเดียว

ซีอีโอหายไปสักครู่ กลับมาบอกว่าคุยกับบอร์ดแล้ว ช่วยคนอย่าเขียม ไม่เอามะรืน ให้เริ่มเลยพรุ่งนี้

เรียกประชุมทีมงานแจกงานกันบ่ายสามโมงครึ่ง มีความกังวลเรื่องงบประมาณ เรื่องระบบ เรื่องอาจโดนด่ากัน เรื่อง fraud ร้านค้า แต่ต้องลุยละ แยกย้ายกันทำงาน ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายกระตุ้นไรเดอร์ ฝ่ายร้านค้า  Call center 

จุดประสงค์ของ SCB คือต้องการช่วยผู้ที่เดือดร้อนทั้งเรื่องทำมาหากินแล้วต้องอยู่บ้าน แล้วอยากให้ช่วยร้านค้าเล็กๆที่กำลังลำบากด้วย เลยเป็นที่มาของแนวคิด pay it forward  เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน

เอาจริงๆ SCB ก็กำไรเยอะอยู่ งบนี้ก็อยู่ในวิสัย บอร์ดน่าจะมองเห็นแบบนั้น เลยบอกว่าอย่าเขียม

อีกอย่างที่ทีมงานเองก็อยากให้เกิดแรงกระเพื่อมก็คือความคิดที่คนตัวใหญ่ต้องช่วยคนตัวเล็ก ในสภาวะแบบนี้ ถ้าคนตัวใหญ่ลงมาช่วยกัน ผลหนักๆ จากมหาวิกฤตนี้อาจจะพอบรรเทาได้บ้าง

แน่นอนว่าถ้าเรารอให้เตรียมไรเดอร์ เตรียมระบบให้สมบูรณ์ ก็อาจจะเลยล็อกดาวน์ไปเลยก็ได้ ความเดือดร้อนไม่รอให้เรามีเวลา ลุยไปก่อนแล้วแก้ปัญหาเอา ก็ต้องขออภัยทุกท่านถ้าเรียกไรเดอร์แล้วไม่มี ระบบอาจจะหน่วงบ้าง หรือถ้าเรียกถี่ๆ แล้วปล่อยให้คนอื่นเรียกบ้างก็น่าจะช่วยกันได้ในวงกว้างนะครับ และอยากจะขอร้องร้านค้าบางร้านว่าฉวยโอกาสเอาเปรียบ สร้าง transaction ปลอมบนสถานการณ์แบบนี้ เราคงจับได้ยาก ก็ได้แต่ขอร้องเพื่อส่วนรวมกันนะครับ

มีเวลาทำงานกันคืนเดียว ต้องขอบคุณทีมงาน robinhood มา ณ ที่นี้ เลยครับ

]]>
1341709
SCB บุกเพื่อนบ้าน! เปิด “ไทยพาณิชย์ เมียนมา” เจาะตลาดการเงินอาเซียน https://positioningmag.com/1314428 Fri, 15 Jan 2021 05:35:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314428 ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดบริการ “ธนาคารไทยพาณิชย์ เมียนมา” เจาะตลาดการเงินเมียนมาเต็มรูปแบบ เป็นธนาคารไทยที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งธุรกิจธนาคารลูก (Subsidiary License) ในเมียนมา โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น 100%

สะพานเชื่อมกลุ่มอาเซียน

ธนาคารไทยพาณิชย์ เมียนมา ตั้งอยู่ที่ Sule Square Office Tower ซึ่งเป็นเขตธุรกิจสำคัญย่านใจกลางกรุงย่างกุ้ง โดยมี Mr. Rajesh Ahuja ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ (General Manager) ทั้งนี้ ธนาคารเริ่มเข้ามาให้บริการในเมียนมาตั้งแต่ปี 2555 ในรูปแบบสำนักงานตัวแทน (Representative Office) จึงมีความเข้าใจตลาด วัฒนธรรม ตลอดจนกฎระเบียบในเมียนมาเป็นอย่างดี พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้กับทุกธุรกิจที่ต้องการเข้าไปขยายกิจการในเมียนมา และพร้อมเป็นสะพานเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างภูมิภาคให้กับนักลงทุนจากทุกชาติที่ต้องการขยายการค้าการลงทุนมายังประเทศในกลุ่ม CLMV+2 ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม จีน และสิงคโปร์

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รับใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ เมียนมา จากธนาคารกลางเมียนมา และพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มกราคม 2564 ถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ประกอบให้ยุทธศาสตร์การขยายเครือข่ายต่างประเทศในกลุ่มประเทศ CLMV+2 ที่ธนาคารมุ่งมั่นมาตลอดหลายปีประสบความสำเร็จ”

HyperFocal: 0

โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในฐานะประเทศกลยุทธ์ (Strategic Country) ด้วยเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งเมียนมายังมีภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงระหว่าง 2 ภูมิภาคยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ในขณะที่รัฐบาลเมียนมามีนโยบายสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

และถึงแม้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลก ตลอดจนเมียนมา รวมถึงประเทศไทยเองต่างกำลังเผชิญและต่อสู้กับมหาวิกฤตการแพร่ระบาดโรค COVID-19 แต่ธนาคารยังเชื่อมั่นว่าทิศทางการลงทุนในเมียนมาจะไม่เปลี่ยนภาพไปจากเดิม เศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง จึงเดินหน้าตามแผนเปิดสำนักงาน ธนาคารไทยพาณิชย์ เมียนมา เพื่อเป็นฟันเฟืองด้านการเงินร่วมสนับสนุนการฟื้นฟูของการค้า-การลงทุนให้กับภาคธุรกิจ ตลอดจนการเงินภาคประชาชนในเมียนมา และเป็นสะพานเชื่อมโยงการลงทุนในระดับภูมิภาคต่อไป

ให้คนเมียนมาเข้าถึงการเงินมากขึ้น

โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาจะกลับมาขยายตัวที่ 6% ในปี 2564 เติบโตจากที่คาดว่าจะขยายตัว 1.5% ในปี 2563 เพราะผลกระทบจาก COVID-19

ธนาคารไทยพาณิชย์ เมียนมา เป็นธนาคารไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบธนาคารลูก (Subsidiary License) โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น 100% สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบเสมือนธนาคารท้องถิ่นในเมียนมา

ซึ่งในขณะนี้อัตราประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินมีถึง 74% รวมทั้งสินเชื่อในภาคธุรกิจที่มีเพียง 20% ของ GDP (Domestic credit to private as % of GDP) ดังนั้นธนาคารจึงมุ่งเน้นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาผ่านการนำเสนอบริการ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับกลุ่มเป้าหมายของธนาคารให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ ลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีเป้าหมายจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน และระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถตอบโจทย์โลกธุรกิจและการเงินดิจิทัลให้กับเมียนมา สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบดิจิทัลในเมียนมาที่เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการศึกษา เพื่อพัฒนาบริการให้สามารถสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ดีให้กับชาวเมียนมา โดยจะเริ่มต้นพัฒนาด้านระบบการชําระเงินดิจิทัล ทั้ง Corporate portal สำหรับลูกค้าธุรกิจ และ Mobile Banking สำหรับลูกค้ารายย่อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ภายในปี 2565 เพื่อตอบโจทย์การชำระสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการใช้และบริหารเงินสดในประเทศ

สารัชต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมียนมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตค่อนข้างสูง ถึงแม้ปัจจุบันสินเชื่อลูกค้าธุรกิจจะเทียบเท่า 87% ของสินเชื่อทั้งหมดที่มีมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านเหรียญ ในส่วนลูกค้ารายย่อยจะมีเพียงประมาณ 10% ซึ่งธนาคารกลางเมียนมาคาดว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อลูกค้ารายย่อยจะเติบโตแบบก้าวกระโดด นอกจากนี้ นวัตกรรมในรูปแบบสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ จากอัตราเพิ่มการใช้งานของ smartphone จาก 80% เป็น 90% ของประชากร ในปี 2561 ถึง 2562 นอกจากนั้น ยังมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นกว่า 1 ล้าน ผู้ใช้งาน ระหว่างปี 2562 ถึง 2563 จึงเป็นกลุ่มศักยภาพสำคัญต่อการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล

]]>
1314428
“ธนา เธียรอัจฉริยะ” ประกาศลาออก CMO ไทยพาณิชย์ ไปนั่งกรรมการ TQM โบรกเกอร์ประกันภัย https://positioningmag.com/1305662 Thu, 12 Nov 2020 05:45:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305662 ธนา เธียรอัจฉริยะผู้บริหารเเบงก์ไทยพาณิชย์ ประกาศลาออกจากตำเเหน่ง “CMO” มีผลอย่างเป็นทางการเเล้ว กระโดดนั่งกรรมการฯ TQM โบรกเกอร์ประกันภัยรายใหญ่

ธนา เธียรอัจฉริยะ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เเล้ว โดยมีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อ 1 .. ที่ผ่านมา หลังหารือก่อนตัดสินใจมานานนับปี

อย่างไรก็ตาม เขาจะยังทำหน้าเป็นที่ปรึกษาให้กับ SCB ทั้งในส่วนงานมาร์เก็ตติ้งเเละประชาสัมพันธ์ต่อไป

นอกจากนี้ ธนายังคงทำหน้าที่ประธานกรรมการบริหาร ของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SCB 10X เหมือนเดิม โดยตอนนี้กำลังปลุกปั้นเเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ของคนไทยอย่างRobinhood” รวมถึงโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตด้วย

ทีมงาน SCB มีความสามารถอยู่แล้ว ส่วนตัวจึงเป็นที่ปรึกษาช่วยทำงานเหมือนเดิม ช่วยดูแล Robinhood เหมือนเดิม”

ธนาบอกว่า เป็นโอกาสที่จะหาความรู้ใหม่ ใช้ประสบการณ์ในการช่วยเหลือธุรกิจอื่นๆ โดยการเป็นเข้าไปเป็นบอร์ด เเละที่ปรึกษา ซึ่งหากยังติดตำเเหน่งผู้บริหารประจำอยู่ก็อาจจะไม่สามารถทำได้

เขาเป็นผู้บริหารในหลากหลายวงการทั้ง แม็คยีนส์, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เเละดีเเทคก่อนจะข้ามมาสายธนาคาร ปั้นเทคโนโลยีฟินเทคของ SCB

ล่าสุดบริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ถึงกรณีคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการแต่งตั้งธนา เธียรอัจฉริยะเป็นกรรมการใหม่ของบริษัท ส่งผลให้กรรมการของบริษัท เพิ่มขึ้นจาก ณ ปัจจุบัน จำนวน 9 ท่าน เป็น 10 ท่าน

โดยคาดว่าธนา จะเข้าดูแล TQM ในส่วนงานด้านดิจิทัลเเละเทคโนโลยีขององค์กร ซึ่งอาจจะเข้ามาบริหารในช่วงปีหน้านี้

 

 

]]>
1305662
SCB เปิดงบไตรมาส 3/63 กำไร 4,641 ล้านบาท ลดลง 69% ส่วน 9 เดือนแรก ลดลง 36% https://positioningmag.com/1302472 Tue, 20 Oct 2020 15:55:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302472 ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2563 จำนวน 4,641 ล้านบาท ลดลง 69% และกำไรสุทธิเก้าเดือนแรกของปี 2563 จำนวน 22,252 ล้านบาท ลดลง 36%

ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ (งบการเงินรวมก่อนสอบทาน) ในไตรมาส 3 ของปี 2563 จำนวน 4,641 ล้านบาท ลดลง 69% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการตั้งเงินสำรองปกติที่สูงขึ้นในไตรมาสนี้  และการเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีรายการกำไรพิเศษครั้งเดียวจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว กำไรสุทธิลดลง 56% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2563 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 22,252 ล้านบาท ลดลง 36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในไตรมาส 3 ของปี 2563 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 23,724 ล้านบาท ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยหลังจากที่ธนาคารได้ขายหุ้นของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา และการหดตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ ซึ่งเป็นผลส่วนใหญ่จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 3% จากสิ้นปี 2562

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 10,761 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หากไม่รวมกำไรพิเศษครั้งเดียวจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีก่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายหลังการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง ทำให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยประเภทเกิดประจำ (recurring) ในไตรมาส 3 ของปี 2563  เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นโดยเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 15,747 ล้านบาท ลดลง 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการที่ธนาคารสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่ยากลำบาก อย่างไรก็ตามรายได้รวมของธนาคารยังคงได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารในไตรมาส 3 ของปี 2563 ปรับสูงขึ้นเป็น 46%

นอกจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพตามปกติ ธนาคารได้ทำการประเมินคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดอย่างรอบคอบ เพื่อทำการจัดชั้นลูกหนี้เชิงคุณภาพในกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง และมีแนวโน้มสูงที่จะฟื้นตัวไม่ได้ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 อยู่ที่ 3.32% เพิ่มขึ้นจาก 3.05% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563

เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาส 3 ของปี 2563 ธนาคารได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 12,955 ล้านบาท โดยอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารยังอยู่ในระดับสูงที่ 146% ในขณะที่เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.7%

]]>
1302472