ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Aug 2021 12:23:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศบุกตลาด ‘เดลิเวอรี่’ ส่งเร็วถึงบ้านให้ได้ 20,000 สาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1348295 Tue, 24 Aug 2021 09:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348295 เมื่อยอดขายโดยรวมของตลาดร้านสะดวกซื้อ โตไม่เร็วเท่าอีคอมเมิร์ซ ต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ รับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ล่าสุด 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศจับทางเดลิเวอรี่ ตั้งเป้าส่งเร็วใน 30 นาที กระจาย 20,000 สาขาทั่วประเทศ สู้ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon

กลยุทธ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตกต่ำของตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น จากการสำรวจของ Nikkei Asia พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด ยอดขายของทั้งอุตสาหกรรมลดลงราว 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 11.8 ล้านล้านเยน ในปี 2020 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981

สวนทางกับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ’ ในญี่ปุ่น ที่เติบโตขึ้นถึง 22% มาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘stay-at-home consumption’ การบริโภคที่อยู่บ้านที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายโดยรวมของฝั่งอีคอมเมิร์ซ ให้แซงหน้าร้านสะดวกซื้อได้เป็นครั้งแรก ในช่วงปีที่ผ่านมา

Seven & i บริษัทเเม่ของ 7-Eleven ในญี่ปุ่น คาดว่า บริการเดลิเวอรี่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทได้ โดยปัจจุบันได้เริ่มเปิดให้บริการจัดส่งจากร้านค้าไปเเล้ว ประมาณ 550 แห่งในพื้นที่เมืองโตเกียว ฮอกไกโด และฮิโรชิมะ ก่อนที่จะขยายไปสู่ 20,000 สาขาทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ 2026

ร้านค้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วย” Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i กล่าวกับ Nikkei Asia 

พร้อมระบุข้อได้เปรียบอีกว่า “บริการ (เดลิเวอรี่) นี้ สามารถขยายได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก”

ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ 7-Eleven ญี่ปุ่น ที่มีอาหารและสินค้าประจำวันต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งการซื้อทุกครั้งเเนะนำว่าควรมีมูลค่ามากกว่า 1,000 เยน (ราว 300บาท) โดยมีค่าธรรมเนียมจัดส่งเพิ่มเติม 330 เยน (ราว 99 บาท) ซึ่งบริการนี้จะเปิดทำการจนถึงเวลา 23.00 . ในทุกวัน

คาดว่าแต่ละร้านจะมีรัศมีการจัดส่งประมาณ 500 เมตร แต่อาจขยายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเเต่ละพื้นที่

สำหรับการจัดส่งนั้น Seven & i ได้ร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในท้องถิ่นประมาณ 10 แห่ง พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเส้นทางและการประสานงานระหว่างคนขับ

ปัจจุบัน เเม้บริการนี้ยังไม่ฮอตฮิตมากนัก แต่ละสาขามีการจัดส่งไม่กี่ครั้งต่อวัน เเต่ทางบริษัทหวังว่า จะเพิ่มการใช้งานเป็น 15 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้น ผ่านการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และใช้กลยุทธ์ตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น

ด้านคู่เเข่งธุรกิจร้านสะดวกซื้ออีกเจ้าอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มให้บริการผ่านเดลิเวอรี่เช่นกัน เเละขยายได้เร็วกว่า 7-Eleven โดยขณะนี้ มีร้านที่พร้อมส่งเดลิเวอรี่กว่า 2,000 แห่ง ใน 32 จังหวัด ผ่านการจับมือกับ ‘Uber Eats’ โดย Lawson วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้าเป็น 3,000 แห่งภายในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ยอดการใช้จ่ายเเบบเดลิเวอรี่ของลูกค้า 7-Eleven ในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.50 ดอลลาร์ (ราว 478 บาท) ต่อบิล เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า จากของยอดขายหน้าร้าน เนื่องจากคนอยู่บ้านกันมากขึ้นในช่วงโรคระบาด

 

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1348295
J&T Express บิ๊กขนส่งอินโด เตรียมขาย IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุน 1 พันล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1326898 Wed, 07 Apr 2021 10:53:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326898 ‘J&T Express’ บริษัทโลจิสติกส์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย เร่งการเติบโตไปอีกขั้น เตรียมเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดเกิดขึ้นช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ประเมินระดมทุนได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า J&T Express กำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อยื่นเสนอขายหุ้น IPO ในตลาดสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 4 ของปีนี้

เบื้องต้นมีการประเมินว่า การขาย IPO ครั้งนี้ จะระดมทุนได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งจะทำให้มูลค่าบริษัทของ J&T Express เพิ่มขึ้นไปเเตะ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.56 เเสนล้านบาท)

แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า J&T Express กำลังจะมีการระดมทุนรอบใหม่หลังเพิ่งระดมทุนได้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 พันล้านบาท) ไปเมื่อไม่นานมานี้

โดยการเสนอขายหุ้น IPO ของ J&T Express ในตลาดนิวยอร์กครั้งนี้ ถือเป็นการท้าชิงตำแหน่งเเชมป์ของบริษัทอินโดนีเซียที่สามารถระดุมทุนได้มากที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับ ‘PT Indosat’ โทรคมนาคมรายใหญ่ ที่เคยขาย IPO ได้ราว 1.05 พันล้านดอลลาร์ มาตั้งเเต่ปี 1994

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดและไทม์ไลน์ของการเสนอขายหุ้น IPO ของ J&T Express อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งทางบริษัทยังปฎิเสธที่จะให้ความคิดเห็นต่อข่าวนี้

สำหรับ J&T Express ก่อตั้งในปี 2015 โดยสองผู้บริหารอย่าง Jet Lee เเละ Tony Chen ให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ในอินโดนีเซีย ต่อมาขยายไปในประเทศเเถบอาเซียนอย่าง มาเลเซีย เวียดนาม ไทย สิงคโปร์ กัมพูชา และจีน มีพนักงานมากกว่า 350,000 คน เเละมีผู้ใช้บริการมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก

ที่ผ่านมา บริษัทมีการถึงร่วมมือเป็นพันธมิตรกับอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ๆ ของอินโดนีเซียอย่าง PT Tokopedia และ Bukalapak.com รวมถึง Shopee ของสิงคโปร์

ดีมานด์ของธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้า เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้บริการขนส่งเติบโตตามไปด้วย

สำหรับในประเทศไทยนั้น J&T Express เข้ามาเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2019 โปรโมตด้วย ‘Entertainment Marketing’ โดยเลือกนักเเสดงชื่อดังอย่างมาริโอ้ เมาเร่อเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรกพร้อมกลยุทธ์การขึ้นป้ายหน้าร้านสาขา

โดยบริษัทได้ลงทุนในไทยไปแล้วราว 6,000 ล้านบาท เเละในปี 2564 มีเเผนจะลงทุนเพิ่มอีกราว 3,000 ล้านบาท ในด้านเทคโนโลยีการคัดแยก ยานพาหนะ และพนักงาน

 

ที่มา : Bloomberg

 

 

]]>
1326898
Alibaba รุกหนัก “ค้าปลีกออฟไลน์” ทุ่มเเสนล้าน ถือหุ้นใหญ่ Sun Art เบอร์หนึ่งไฮเปอร์มาร์เก็ตจีน https://positioningmag.com/1302406 Tue, 20 Oct 2020 09:35:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302406 Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ รุกคืบค้าปลีกออฟไลน์ทุ่มเงินกว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.12 แสนล้านบาท) ผงาดขึ้นถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art เจ้าของไฮเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดในจีน

ตลาดค้าปลีกเเดนมังกรกำลังเฟื่องฟูในปัจจุบัน เเม้จะเจอวิกฤต COVID-19 เเต่ก็กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดย IMF คาดว่าจีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ 

ก่อนหน้านี้ Alibaba ถือหุ้นใน Sun Art อยู่ราว 36% เเต่ตอนนี้ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดที่ 72% ตามกลยุทธ์ผสมออนไลน์ออฟไลน์เพื่อรับกระเเสผู้บริโภคเปลี่ยนไป

Daniel Zhang ประธานและซีอีโอของ Alibaba ระบุในเเถลงการณ์ว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เเละการดำเนินธุรกิจก็ต้องปรับตัวด้วย โดยมองว่าการร่วมมือกันของฝ่ายออนไลน์อย่าง Alibaba เเละไฮเปอร์มาร์เก็ตออฟไลน์อย่าง Sun Art จะตอบโจทย์ค้าปลีกในยุค New Normal ของลูกค้าได้อย่างดี

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba

โดยในช่วงที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มหันมาซื้อกลุ่มอาหารสด ของใช้ในซูเปอร์มาร์เก็ต และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผ่านทางช่องทางอีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเดินทางไปช้อปปิ้งตามร้านค้าปลีก จึงเป็นโอกาสของ Alibaba ที่จะดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ

บริษัทวางเเผนจะพัฒนา SunArt จากไฮเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิม สู่ร้านค้าปลีกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พร้อมขายหมวดสินค้าอีคอมเมิร์ซให้กว้างขึ้น จะเริ่มจากการเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ของชำภายใน 30-60 นาทีหลังจากได้รับคำสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์ม Tmall ของ Alibaba 

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg มองว่า การเข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art ของ Alibaba ครั้งนี้เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับคู่เเข่งในวงการอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังฟาดฟันกันอย่างดุเดือด ทั้ง JD.com หรือ Meituan ที่มีจุดเด่นด้านการจัดส่งเดลิเวอรี่ รวมไปถึงคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Tencent ที่หันมาลงศึกจัดส่งสินค้าสดเช่นกัน

 

ที่มา : AFP , Bloomberg

]]>
1302406
ล้มเเล้วลุก! “ธุรกิจเครื่องสำอาง” ในจีนเริ่มฟื้นตัว หลังเจอ COVID-19 เเบรนด์บุกขายออนไลน์ https://positioningmag.com/1273014 Mon, 13 Apr 2020 12:09:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273014 ธุรกิจเครื่องสำอางในจีนกำลัง “ฟื้นตัว” อย่างรวดเร็ว เมื่อผู้คนเริ่มกลับมาทำงานเเละผู้ค้าปลีกเริ่มกลยุทธ์บุกตลาดออนไลน์เต็มที่ หลังรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

Anne Ling นักวิเคราะห์ของธนาคารเพื่อการลงทุน Jefferies เปิดเผยว่ายอดขายเครื่องสำอางในจีน “ปรับตัวดีขึ้น” เเม้จะยังลดลงประมาณ 20% เมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกอื่นๆ เเต่ถือว่าดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. ที่ยอดขายลดลงถึง 60-80% เนื่องจากผู้คนต้องอาศัยอยู่เเต่ในบ้าน ไม่มีกิจกรรมสังสรรค์ ทำให้ความต้องการใช้เครื่องสำอางก็ลดลงตามไปด้วย

ยกตัวอย่างบริษัทเครื่องสำอางที่เกือบจะต้องปิดกิจการ เเต่ก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้คือเเบรนด์ Lin Qingxuan ที่ตอนนี้มียอดขายพุ่งขึ้นถึง 120% หลังจากติดลบกว่า 90% ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ซึ่งเคยเป็นช่วงที่ทำยอดขายได้สูงสุดในทุกปี

Sun Laichun ผู้ก่อตั้ง Lin Qingxuan แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอางที่มีสาขากว่า 300 แห่งทั่วประเทศจีน ให้สัมภาษณ์กับ scmp ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้เขากำลังจะ “ล้มละลาย” จากยอดขายหน้าร้านในเดือน ม.ค.ที่ลดลงกว่า 90% จึงต้องปรับกลยุทธ์ไปขายสินค้าออนไลน์เเละทุ่มการโปรโมทบนแพลตฟอร์มสตรีมมื่งและโซเชียลมีเดีย

ผลออกมาดีเกินคาด บริษัทของเขาสามารถขายน้ำมันดอกคามิเลีย ซึ่งเป็นสินค้าหลักของแบรนด์ได้ถึง 400,000 ขวด ภายในเวลา 2 ชั่วโมงในวันวาเลนไทน์ และในวันที่ 1-8 มี.ค. ซึ่งเป็นวันสตรีสากล ยอดขายในออนไลน์
ยังเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า

ขณะที่ยอดขายของ “มาสก์หน้า” และ “คลีนซิ่งล้างเครื่องสำอาง” บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังของจีนอย่าง Pinduoduo ก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

“ยอดขายลิปสติก อายแชโดว์ เเละดินสอเขียนคิ้ว ก็มีอัตราการเติบโตที่ดีเช่นกัน แต่จำนวนการสั่งซื้อยังไม่มากนัก ส่วนสินค้าในกลุ่มราคาระดับกลางมียอดขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว” Pinduoduo ระบุ

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2020 ยอดขายเครื่องสำอางในจีนลดลง 14.1% อยู่ที่ 3.87 หมื่นล้านหยวน ( ราว 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมือเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมที่ลดลง

ด้านข้อมูลของ ECdataway ผู้ให้บริการข้อมูลอีคอมเมิร์ซในเซี่ยงไฮ้ พบว่ายอดขายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบนแพลตฟอร์ม T-mall เพิ่มขึ้น 89.5% ในเดือน มี.ค. ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 56%
ส่วนอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพิ่มขึ้น 46%

Chen Ke นักวิเคราะห์ของ Roland Berger ให้ความเห็นว่า ผลกระทบของ Covid-19 ที่มีต่อยอดขายเครื่องสำอาง “น่าจะเป็นระยะสั้น”

สำหรับตลาดความงามและการดูแลตัวเองของจีน มีมูลค่าสูงถึง 4.7 เเสนล้านหยวนในปี 2019 เพิ่มขึ้น 9% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อ “เครื่องสำอาง” ของชาวจีน เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 30 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 น้อยกว่าชาวญี่ปุ่นที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 202 ดอลลาร์ต่อคน เเละชาวอเมริกันที่มีการใช้จ่ายอยู่ที่120 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน

ที่มา : China cosmetics sales rebound in March as coronavirus outbreak proves to be a temporary setback

]]>
1273014
ศึกเดือดอีคอมเมิร์ซ “อินเดีย” เศรษฐีผู้รวยที่สุดในเอเชีย เปิดตัว JioMart ท้าชิง Amazon https://positioningmag.com/1259447 Mon, 06 Jan 2020 06:10:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259447 ตลาดอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตทั่วโลก ผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีเเละทุกวันนี้การซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นเรื่องสะดวกสบาย บริษัทใหญ่ต่างทุ่มลงทุนในธุรกิจนี้ด้วยโอกาสทางธุรกิจมหาศาล โดยเฉพาะในประเทศที่มีประชากรจำนวนมากอย่าง “อินเดีย”

ล่าสุดมหาเศรษฐี Mukesh Ambani ผู้ร่ำรวยที่สุดในอินเดียเเละรวยที่สุดในเอเชีย วัย 62 ปี ด้วยทรัพย์สินกว่า 51.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (จากการจัดอันดับของ Forbes 2019) เขาเป็นเจ้าพ่อพลังงานน้ำมันและก๊าซ ที่ครอบครองกิจการทั้งค้าปลีกรายใหญ่เเละโทรคมนาคม ตัดสินใจลงสนามอีคอมเมิร์ซในอินเดีย เปิดตัว “JioMart” เเพลตฟอร์มดิจิทัลท้องถิ่น เพื่อมาท้ารบกับ “Amazon” อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากอเมริกาที่ครองเจ้าตลาดในอินเดียมาก่อน

Mukesh Ambani

อินเดียถือเป็นตลาดใหญ่หนึ่งที่ Amazon และ Flipkart (บริษัทเเม่คือ Walmart) แข่งขันกันอยู่ในปัจจุบัน เเละเเน่นอนว่ากำลังถูกท้าทายด้วยคู่เเข่งรายใหม่อย่าง JioMart

โดย JioMart เปิดตัวโดยใช้แคมเปญการตลาดปลุกชาตินิยมว่า “The Nation’s New Store” (ร้านค้าแห่งใหม่ของประเทศ) เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการแพลตฟอร์มท้องถิ่น

ในช่วงแรกจะมีสินค้าได้ราว 50,000 รายการให้เลือกซื้อ และบริการจัดส่งฟรีเเละข้อเสนอ “รับคืนสินค้าแบบไร้เงื่อนไข” โดยจะให้บริการใน 3 เมืองแรกคือ นาวีมุมไบ คาลยัน และฐาเณของรัฐมหาราษฏระ ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเร็วๆ นี้

นับเป็นเป้าหมายต่อยอดธุรกิจของมหาเศรษฐี Ambani แห่ง Reliance Industries หลังเขาประสบความสำเร็จจากการดำเนินกิจการ “ค้าปลีก” ซึ่งมีบริษัทลูกอย่าง Reliance Retail ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 เเละกลายบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ให้บริการลูกค้ากว่า 3.5 ล้านคนทุกสัปดาห์ผ่านร้านค้ากว่า 1 หมื่นแห่งในเมืองในประเทศอินเดียกว่า 6,500 เมือง

เเละยิ่งพัฒนาให้เป็นอีคอมเมิร์ซได้ง่ายไปอีก เมื่อ Ambani กุมธุรกิจสื่อสารไว้ในมือ เพราะเขาเป็นเจ้าของ Reliance Jio Infocomm ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในของอินเดีย มีผู้ใช้บริการเครือข่ายราว 350 ล้านคนให้บริการเฉพาะ 4G เท่านั้น เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ครั้งแรกเมื่อปี 2016 ซึ่งบริษัทนี้กำลังมีผู้ใช้งานเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกที่ดึงดูดใจด้วยการโทรฟรีเเละการเก็บข้อมูลราคาถูก

โดย Ambani กล่าวเมื่อเดือน ส.ค. ปีที่เเล้วว่า ธุรกิจใหม่ซึ่งรวมทั้งโทรคมนาคมและค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะทำกำไรให้กับบริษัทจากเดิมราว 32% เเละจะเพิ่มเป็น 50% ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า

ตามรายงานของ Technopak Advisors ระบุว่า อีคอมเมิร์ซยังคิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของยอดค้าปลีกทั้งหมดในอินเดีย โดยคาดว่าตลาดค้าปลีกของอินเดียจะเติบโตเป็น 188,000 ล้านเหรียญสหรัฐในอีก 4 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากประมาณ 7.9 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว

ด้าน Amit Agarwal ผู้จัดการของ Amazon India เคยให้สัมภาษณ์ในช่วงต้นปี 2019 ว่า “อีคอมเมิร์ซมีสัดส่วนในธุรกิจค้าปลีกในอินเดียน้อยมาก ซึ่งอาจน้อยกว่า 3%”

เเสดงให้เห็นว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดียยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

JioMart จึงกลายเป็นคู่เเข่งสำคัญของทั้ง Amazon และ Flipkart เพราะอีคอมเมิร์ซข้ามชาติกำลังเผชิญผลกระทบจากกฎปกป้องค้าปลีกในประเทศของอินเดีย ที่บังคับใช้เมื่อเดือน ก.พ. ปี 2019 ซึ่งต้องหยุดการจำหน่ายสินค้าไปรวมกว่า 4 เเสนรายการ

การเปิดศึกอีคอมเมิร์ซอินเดียจึงน่าจับตามองยิ่งนัก เมื่อ JioMart มีทั้งฐานลูกค้าธุรกิจค้าปลีกเเละโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย เเถมชูเเคมเปญปลุกชาตินิยมอินเดียด้วย งานนี้…อีคอมเมิร์ซต่างชาติต้องเจองานหินเลยทีเดียว

ที่มา : bloomberg , techcrunch , Forbes 

]]>
1259447
ก้าวต่อไปของ LnwShop ปรับตัวครั้งใหญ่ ในยุคที่คนซื้อของผ่านเว็บไซต์น้อยลง https://positioningmag.com/1257766 Thu, 19 Dec 2019 11:32:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257766 ตลาดอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยเเละอาเซียนกำลังเฟื่องฟูสุด มูลค่าพุ่งถึง 3.2 ล้านล้านบาท ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็โตเกือบ 4 เท่าจาก 10 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดนักช้อปออนไลน์ทำให้อีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยในตลาดเเทบไม่เหลือ เเต่ “เทพช็อป LnwShop” ยังคงอยู่เเละกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 โดยให้บริการระบบบริหารร้านค้าออนไลน์เเบบครบวงจร

ปรับตัวอย่างไร เมื่อคนไม่นิยมซื้อของในเว็บไซต์เเล้ว…

ณัฐวิทย์ ผลวัฒนสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยูช็อป จำกัด ผู้ร่วมก่อตั้ง Lnw Shop (เทพช็อป) กล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจในปัจจุบันว่าผู้ประกอบการเริ่มหันไปเปิดร้านใน E-Market Place มากขึ้นเพราะขายง่าย
เเละมีโปรโมชั่นใหญ่ทุกเดือน เเต่ข้อจำกัดที่ยังเป็นจุดเเข็งของเว็บไซต์คือ “ความน่าเชื่อถือ” การมีเว็บไซต์ทำให้คนจดจำเเละเป็นลูกค้าประจำได้

ขณะเดียวกันเมื่อเทคโนโลยีโซเชียลพัฒนาขึ้นมาก คนก็หันไปเปิดร้านในสังคมออนไลน์ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าคนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะคนไทยชอบเเชทถามก่อนซื้อ เเละยังขึ้นเเท่นซื้อของผ่านเเชทออนไลน์มากที่สุดในโลกด้วย

“เราต้องก้าวออกมาจากการเป็นเเค่เว็บไซต์ที่คนอาจเข้าน้อยกว่า โดยปรับมุมมองจากเว็บไซต์สำเร็จรูปให้เป็นระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์มากขึ้น เชื่อมต่อแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่างกูเกิล เฟซบุ๊ก ลาซาด้า และช้อปปี้ ทำให้ร้านค้าสามารถขายทุกช่องทางเเละมีระบบเพย์เมนต์รองรับ”

ณัฐวิทย์ ผลวัฒนสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยูช็อป จำกัด ผู้ร่วมก่อตั้ง Lnw Shop

ข้อมูลล่าสุดมีจำนวนคนที่เข้ามาเปิดร้านกับ Lnwshop แล้วราว 740,000 ร้านเเละเเอคทีฟอยู่ประมาณ 5-6 หมื่นร้าน มียอดผู้ชมต่อวัน 2 ล้านคน โดยมี 3 กลุ่มสินค้าขายดี คือ กลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น กลุ่มแก็ดเจ็ตอุปกรณ์ไอที
ตามมาด้วยกลุ่มเครื่องสำอางเเละอาหารเสริม

“ยุคนี้ต้องทำควบคู่กันทั้งขายใน E-MarketPlace เเละต้องมีเว็บไซต์เป็นพื้นที่ของตนเอง ไม่ควรทำช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ร้านค้าต้องขายทุกช่องทาง อย่าผูกติดกับแพลตฟอร์มใดเพียงเเพลตฟอร์มเดียว”

บิ๊กโซเชียลชิงตลาดเเชท E-MarketPlace เเข่งส่งเร็ว

Lnwshop เปิดเผยสถิติที่น่าสนใจสำหรับผู้ขายของออนไลน์ว่า ตอนนี้ผู้ซื้อของออนไลน์ที่หน้าเว็บนั้นมาจาก Google 50% จากการโฆษณา 19% การเข้าชมโดยตรง 17% และจาก Facebook 12%

“ในปีหน้าเราจะได้เห็นผู้ให้บริการโซเซียลคอมเมิร์ซ ลงสนามเเข่งพัฒนาระบบเพื่อให้บริการกับลูกค้าของตัวเองกันดุเดือดมาก โดยเฉพาะการขายผ่านช่องทางการเเชท ขณะที่ผู้ให้บริการ E-MarketPlace รายใหญ่จะหันมาพัฒนาความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าให้ส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้ในวันเดียว หรือ “Same Day Delivery” ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล เพื่อรองรับพฤติกรรมลูกค้ายุคใหม่ที่ซื้อเเล้วต้องได้ทันที” ณัฐวิทย์กล่าว

สำหรับ Lnwshop ตอนนี้ได้พัฒนาระบบภายในให้ผู้ขายสามารถปรับข้อมูลสินค้าบริการต่างๆ ไปจนถึงระบบการสั่งซื้อ การชำระเงิน ให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลที่อัพเดตหน้าร้านออนไลน์ของตัวเองไปยังแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ได้พร้อมกันโดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ Lnw มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เเก่ LnwShop, LnwPay, LnwMall, LnwPickPack และ LnwDropShip

LnwX.com X Google เจาะร้านค้าหน้าใหม่

ช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กูเกิลได้ร่วมมือกับ Lnw เปิดตัวแพลตฟอร์มน้องใหม่ LnwX เครื่องมือโฆษณา Google Shopping Ads ให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ไม่ว่าจะขายผ่านช่องทางไหนจะ Facebook Line หรือ IG ก็สามารถลงโฆษณากับกูเกิลได้ผ่าน LnwX.com

“ตอนนี้ร้านค้าของเราเริ่มหันมาลงโฆษณากับกูเกิลเเล้วราว 1-2% เป็นร้านค้าเจ้าใหญ่ มีผลเพิ่มยอดขายได้สูงสุด 9 เท่า โดยที่ยังน้อยอยู่อาจเป็นเพราะว่าผู้ขายใน Lnwshop ยังชินกับการขายบนเเพลตฟอร์มของเราที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เเต่เชื่อว่าเมื่อผู้ขายเริ่มเห็นว่าการโฆษณามีผลช่วยเพิ่มยอดขายอย่างมาก ก็จะมีผู้ใช้งาน LnwX.com มากขึ้น โดยตั้งเป้าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 10% เเละต้องการตีตลาดผู้ขายออนไลน์ที่เป็น SMEs ในไทยราว 4 เเสนราย ”

พ่อค้าเเม่ค้าเตรียมปรับตัว EEC เร่งสินค้าจีนส่งถึงไทยไว

ปฐมพล แสงอุไรพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยูช็อป จำกัด ผู้ร่วมก่อตั้ง Lnw Shop กล่าวว่า ความท้าทายในปี 2020 และอาจส่งผลต่อผู้ประกอบการ SMEs ในไทย คือการเข้ามาของศูนย์กระจายสินค้าอัจฉริยะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของอาลีบาบา เพราะอนาคตสินค้าที่ส่งเข้ามาจากจีนจะถึงมือลูกค้าในเมืองไทยเร็วขึ้น จากการที่จุดพักสินค้ารองรับภายในประเทศแล้วและทำให้สินค้าไทยแข่งขันเรื่องราคายากขึ้น

“ผู้ขายที่เน้นรับพรีออเดอร์สินค้าจากจีนจะได้รับผลกระทบส่วนนี้เยอะมาก ดังนั้นควรวางเเผนรีบปรับตัว หรือเสนอขายสินค้าให้โดดเด่นมากขึ้น เจาะตลาด niche market มากขึ้น เเละใช้จุดเเข็งของ SMEs ไทยคือเเชทขายกับลูกค้าที่เเสดงถึงความเอาใจใส่ ความเข้าใจเเละใกล้ชิดลูกค้ามาสู้ รวมถึงเพิ่มบริการหลังการขาย เเละอาจมีการปรับราคาให้เหมาะสม”

ทั้งนี้ ในปี 2561 LnwShop มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีอัตราการเติบโตธุรกิจไม่ต่ำกว่า 10% ต่อเนื่องในรอบหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซ มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 20-30%

ณัฐวิทย์ ผลวัฒนสุข ณัฐวิทย์ ผลวัฒนสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยูช็อป จำกัด (ซ้าย) เเละ
ปฐมพล แสงอุไรพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยูช็อป จำกัด (ขวา) สองผู้ร่วมก่อตั้ง LnwShop

LnwShop กับ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา

“สิ่งที่ทำให้ Lnw Shop สามารถดำเนินกิจการจนถึงในปัจจุบันได้ ท่ามกลางการเเข่งขันของธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะการเข้ามาของแพลตฟอร์ม E-MarketPlace รายใหญ่ คือการปรับตัวเสมอ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปเร็วเเค่ไหน ผู้ประกอบการรายย่อยก็ต้องปรับตัวเช่นกัน”

ซีอีโอ Lnw ทิ้งท้ายไว้ว่า ท่ามกลางการเเข่งขันที่สูงมากเเละกำลังมีบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาทำธุรกิจเดียวกันกับเทพช็อป สิ่งที่เราจะทำต่อไปที่นอกเหนือจากการพัฒนาเเพลตฟอร์มเเละการเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซรายอื่นๆ เเล้วก็คือการชูการให้บริการความเอาใจใส่ ความไว้วางใจเเละการจับมือไปด้วยกันกับผู้ประกอบการรายย่อยของไทยให้มีการขยายธุรกิจต่อไปได้

 

]]>
1257766
ได้ผล! ท่าเต้นของ “คริสเตียโน่ โรนัลโด้” สร้างยอดขาย Shopee เติบโต 3 เท่า https://positioningmag.com/1253896 Fri, 15 Nov 2019 16:59:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253896 น่าจะเซอร์ไพรส์กันไม่น้อยเมื่อ Shopee คว้าตัว “คริสเตียโน่ โรนัลโด้” ยอดนักเตะชาวโปรตุเกสมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แถมยังจับให้เต้นท่าเบบี้ชาร์คในโฆษณาอีกด้วย แต่ปรากฏว่าคลิปโฆษณานี้กลายเป็นไวรัลทั่วอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และทำให้ไตรมาสที่ 3 ของ Shopee มียอดขายเติบโต 3 เท่าเทียบกับปีก่อน

“เราทำสถิติมียอดจำนวนสั่งซื้อเติบโตขึ้น 3 เท่าในแคมเปญ 9 เดือน 9 เมื่อเทียบกับแคมเปญเดียวกันในช่วงปีก่อนหน้า สถิตินี้เกิดขึ้นได้จากแคมเปญสร้างแบรนด์ของเราที่มียอดนักฟุตบอล คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มาร่วมด้วยและทำให้ประสบความสำเร็จ” ฟอร์เรสท์ ลี ซีอีโอ Sea Limited บริษัทแม่ของ Shopee กล่าวหลังประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ปีนี้

ไม่เพียงแต่แคมเปญ 9.9 เท่านั้น ตามรายงานผลประกอบการของ Shopee ปรากฏว่าไตรมาส 3 ปี 2019 แพลตฟอร์มนี้มียอดรวมจำนวนสั่งซื้อจากทุกประเทศที่ให้บริการ 321 ล้านครั้ง ซึ่งเติบโตเป็นเท่าตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน คิดเป็นมูลค่า GMV ของสินค้าที่สั่งซื้อ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 69.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ท่าเต้นเบบี้ชาร์คของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ในโฆษณาของ Shopee ช่วงแคมเปญ 9.9 (photo: Shopee / YouTube)

เมื่อคำนวณเป็นรายได้เข้าบริษัท Sea แพลตฟอร์ม Shopee ทำรายได้ไป 208.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตถึง 313.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าโรนัลโด้กับท่าเต้นสุดแปลกของเขาช่วยให้บริษัทพุ่งทะยานได้จริง

นอกจาก Shopee แล้ว อีกหนึ่งขาธุรกิจของ Sea คือกลุ่มธุรกิจบันเทิงดิจิทัล หรือก็คือบรรดาเกมดังอย่าง RoV, Free Fire, Call of Duty: Mobile ยังเติบโตดีเช่นกัน โดยไตรมาสล่าสุดทำรายได้ไป 451 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 2 เท่าจากช่วงเดียวกันปีก่อน

เมื่อรวมทั้งเครือแล้ว ไตรมาส 3 ปีนี้ Sea ทำรายได้ไป 610 ล้านเหรียญสหรัฐ และสามารถลดการขาดทุนได้ โดยรายงาน EBITDA ขาดทุนที่ 30.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนขาดทุนอยู่ 183.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

Source

]]>
1253896
ไม่แพ้ก็ชนะ! ผ่าสมรภูมิค้าปลีกกรุงเทพฯ ต้องเจอทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ https://positioningmag.com/1220487 Mon, 18 Mar 2019 23:07:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220487 ภาพ : Designed by Freepik

ซีบีอาร์อี กรุ๊ป ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้ระบุถึงการแข่งขันในตลาด “พื้นที่ค้าปลีก” ของกรุงเทพมหานคร กำลังรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์จากการที่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเติบโตขึ้น และระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านด้วยกันเอง เพราะยังมีผู้พัฒนาโครงการศูนย์การค้าใหม่ตลอดเวลา

ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซกำลังเป็นสิ่งที่ท้าทายร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมทั่วทุกมุมโลกรวมถึงประเทศไทย ในปัจจุบันอี-คอมเมิร์ซมีส่วนแบ่งในยอดค้าปลีกโดยรวมในประเทศไทยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ซีบีอาร์อีคาดว่าแนวโน้มนี้จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในสหราชอาณาจักร 18% ของยอดค้าปลีกในปัจจุบันมาจากออนไลน์มากกว่าการซื้อจากร้านค้าแบบดั้งเดิม

ผู้เช่าร้านค้าปลีกทั่วโลกต่างกำลังขยายช่องทางการขายให้มีความหลากหลายมากขึ้น (ออมนิ-แชนแนล) ทั้งแบบขายผ่านออนไลน์และขายออฟไลน์ในร้านค้าแบบปกติ ซึ่งในหลายแห่งได้นำไปสู่เหตุผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพอร์ตการค้าปลีกและการลดจำนวนหน้าร้านลง

ในกรุงเทพฯ สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของโครงการค้าปลีกมิได้มาจากการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากพื้นที่ค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

จากการสำรวจโดยแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ค้าปลีกมากกว่า 600,000 ตารางเมตรที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2566 โดยมาจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่เป็นหลัก เช่น เอ็มสเฟียร์ แบงค็อก มอลล์ และ วัน แบงค็อก นอกจากนี้ยังมีศูนย์การค้าใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการวางแผนและจะเริ่มการก่อสร้างในไม่ช้าเช่นการพัฒนาพื้นที่โรงแรมดุสิตธานีขึ้นใหม่

การแข่งขันจะเริ่มรุนแรงมากขึ้นและเจ้าของโครงการค้าปลีกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อความอยู่รอด แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี มองว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรูปแบบการดำเนินธุรกิจค้าปลีก

ในอดีตเจ้าของโครงการค้าปลีกปล่อยเช่าพื้นที่ด้วยสัญญาที่มีระยะเวลา 3 ปี และเก็บค่าเช่ารายเดือน เจ้าของโครงการกำหนดค่าเช่าตามความสามารถของผู้เช่าในการจ่ายค่าเช่าตามประเภทธุรกิจขนาดของร้านค้าชั้นในอาคารและทำเลที่ตั้งภายในชั้น โดยเจ้าของโครงการพยายามที่จะเก็บค่าเช่าให้ได้มากที่สุดเท่าที่ผู้เช่าจะสามารถจ่ายได้ และผู้เช่ามีภาระผูกพันด้วยค่าเช่าแบบคงที่และรับความเสี่ยงทางธุรกิจที่ค่อนข้างมาก

แต่ในปัจจุบันรูปแบบการดำเนินธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงไปผู้เช่าต้องการให้เจ้าของโครงการค้าปลีกร่วมรับความเสี่ยงด้วย โดยคำนวณค่าเช่าตามสัดส่วนรายได้ของผู้เช่า ซึ่งในประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะค่าเช่าจากกำไรขั้นต้น หรือ GP

เจ้าของโครงการและผู้เช่าจะได้รับประโยชน์หากธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี แต่จะได้รับผลกระทบหากธุรกิจประสบปัญหา โดยที่เจ้าของโครงการไม่เพียงต้องรับความเสี่ยงในด้านการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามายังศูนย์การค้า แต่ยังรวมถึงด้านความสำเร็จในการทำธุรกิจของผู้เช่า

ในปัจจุบันเป็นที่คาดหวังว่าเจ้าของโครงการไม่เพียงแต่ให้เช่าพื้นที่เท่านั้น แต่ต้องให้ข้อมูลและเป็นนักวิเคราะห์อีกด้วย ผู้เช่าต้องการให้เจ้าของโครงการเก็บรวบรวมวิเคราะห์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนคนและความถี่ที่เดินทางเข้าในศูนย์การค้า รวมถึงสิ่งที่ลูกค้าจับจ่ายใช้สอยและรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย

ผู้เช่าต่างมีความต้องการในเรื่องปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าของโครงการค้าปลีกมากขึ้น เพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับลูกค้าของศูนย์การค้ามากที่สุด โดยเจ้าของโครงการจะต้องดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาเดินในศูนย์การค้า ไม่ใช่แค่ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เท่านั้น

การเพิ่มจำนวนร้านอาหารที่สามารถ “สร้างประสบการณ์” ให้แก่ลูกค้านับเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ร้านอาหารนั้นก็ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าในระดับเดียวกันกับร้านค้าที่เป็นแบรนด์หรูได้

จริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย มองว่า การสร้างโอกาสด้วยการมีร้านค้าแบบชั่วคราว หรือ “ป๊อปอัป” เป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ใหม่ที่ทำให้ลูกค้ามีเหตุผลที่จะเดินทางไปศูนย์การค้าเพราะลูกค้าจะไม่สามารถหาสินค้าหรือได้รับประสบการณ์ได้จากที่อื่นหรือในเวลาอื่น”

“การปฏิวัติในวงการค้าปลีกด้วยอี-คอมเมิร์ซและการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นจากพื้นที่ค้าปลีกใหม่ๆ นั้นหมายความว่า เจ้าของโครงการจะต้องมีความรอบรู้มากขึ้นในสิ่งที่นำเสนอ ทั้งในแง่ของรูปแบบศูนย์การค้าและข้อมูล”

และนี่คือเหตุผลที่ทำให้การพัฒนาโครงการค้าปลีกเป็นหนึ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ทั้งยากกว่าและมีความต้องการมากกว่าตลาดพื้นที่สำนักงานอยู่มาก

ในตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ จะมีทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ จะมีศูนย์การค้าที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลว และมีไม่มากนักที่จะมีผลการดำเนินงานที่อยู่ระหว่างกลาง.

]]>
1220487
“อีคอมเมิร์ซ” ชู O2O สร้างประสบการณ์ออฟไลน์-ดึงช้อปออนไลน์ https://positioningmag.com/1219800 Thu, 14 Mar 2019 08:30:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219800 ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ออนไลน์” เป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงลูกค้าที่วันนี้ใช้ชีวิตอยู่กับดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น ธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” ไทยจึงเป็นเทรนด์ที่เติบโตสูง จากการเข้ามาแข่งขันของ “อีมาร์เก็ตเพลส” ต่างชาติ ผู้ประกอบการในทุกธุรกิจจึงต้องปรับตัวมุ่งสู่เส้นทางออนไลน์ และผู้บริโภคเองพร้อมเข้าสู่ “ช้อปปิ้ง ออนไลน์”

ธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโต 10-20% ต่อปี และเห็นแนวโน้มการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีสัดส่วนในตลาดค้าปลีกต่ำอยู่ที่ 2% เท่านั้น ขณะที่ สหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ สัดส่วนอยู่ที่ 10-15% นั่นเท่ากับว่าอีคอมเมิร์ซไทยยังมีโอกาสเติบโตอีกสูง

ธนิดา ซุยวัฒนา

ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมาจากพฤติกรรมคนไทย ที่พบว่าคนไทยใช้เวลากับมือถือ 5.30 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 3.30 ชั่วโมงต่อวัน วันนี้ประชากรไทย 70 ล้านคน สัดส่วน 81% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของคนไทยที่จะเข้าสู่ตลาดช้อปปิ้ง ออนไลน์ ขณะที่ Ecosystem อื่นๆ ก็มีความพร้อมเช่นกัน ทั้งระบบอีเพย์เมนต์ ที่ทุกธนาคารพัฒนาระบบขึ้นมารองรับและนโยบายรัฐก็สนับสนุน รวมทั้งการขยายตัวของโลจิสติกส์

ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย เรียกว่าเป็น Sunrise Market ที่มีโอกาสโตอีกมาก

“ดาต้า-AI” เสริมแกร่ง

ในยุคที่ทุกคนมุ่งสู่อีคอมเมิร์ซ ทำให้เกิดการแข่งขันสูง การทำธุรกิจจึงต้องมีความแม่นยำมากขึ้น ปีที่ผ่านมา ลาซาด้า ได้นำเทคโนโลยี Personalization เข้ามาใช้งาน โดยนำ “ดาต้า” ของผู้บริโภคมาวิเคราะห์ผ่าน AI ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าว่าสนใจสินค้าประเภทใด เพื่อนำเสนอสินค้าที่เหมาะกับแต่ละคน 

ดังนั้นการใช้งาน แอปพลิเคชั่น ลาซาด้า ของลูกค้าแต่ละคน จะเห็นสินค้าที่นำเสนอแตกต่างกัน พร้อมคาดเดาสินค้าที่น่าจะสนใจ ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปต์พฤติกรรมผู้บริโภค ที่อาจยังไม่รู้ตัวว่าต้องการสินค้าประเภทใด แต่เทคโนโลยีจะนำเสนอให้ล่วงหน้า

หากวันนี้ ลูกค้าซื้อโทรศัพท์มือถือ AI จะคาดเดาได้ว่าน่าจะสนใจซื้อ เคสมือถือ หรืออีก 6 เดือนข้างหน้าอาจจะต้องซื้อที่ชาร์จไฟใหม่ หรืออีก 1 ปีอาจต้องเปลี่ยนมือถือใหม่ แอปพลิเคชั่นจะคาดเดาและเสนอสินค้าให้เห็นในแต่ละช่วงเวลา”

ในโลกออนไลน์ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ จะใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือการนำ “ดาต้า” มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องบอกว่า “ในยุคนี้ใครมีดาต้ามากที่สุด จะสามารถสร้างจุดแข็งให้ธุรกิจเหนือคู่แข่งขันได้” ที่ลาซาด้า เราดูดาต้าลูกค้าเป็นรายชั่วโมงว่ามีพฤติกรรมการซื้อเป็นอย่างไร เพศ อายุใด ซื้อสินค้าใด ลูกค้าในต่างจังหวัดซื้อสินค้าใด โดยจัดกลุ่มลูกค้าไว้ถึง 20 เซ็กเมนต์ เพื่อนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์ให้ได้มากที่สุด

มุ่ง O2O ดึงนักช้อปใหม่

ในยุคที่ออนไลน์เติบโตสูง ธนิดา บอกว่าคำถามที่เจอบ่อยมากคือ “ออฟไลน์” จะตายหรือไม่ แม้ลาซาด้าเป็นอีมาร์เก็ตเพลสอยู่ในฝั่งธุรกิจออนไลน์ แต่วันนี้ก็ต้องบอกว่าทั้ง “ออนไลน์และออฟไลน์” ต้องไปด้วยกัน เพราะโลกออฟไลน์และออนไลน์ในธุรกิจค้าปลีก ไม่ใช่โลกที่แตกต่างกันอีกต่อไป แต่เป็นโลกเดียวกัน

ปัจจุบันลาซาด้ามีทราฟฟิกผู้ใช้งานวันละ 5 ล้านคน มีการทำการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ปีนี้ ลาซาด้า จะมีกลยุทธ์ O2O (ออฟไลน์ ทู ออนไลน์) มากขึ้น เช่น กิจกรรม LOL Market ตลาดนัดสินค้าแฟชั่น ที่จัดทุกไตรมาส เป็นการจัดพื้นที่ให้ร้านค้าดังบนอินสตาแกรม หรือ “ไอจี” กว่า 200 ร้านค้ามาออกบูธในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักช้อปที่อาจยังไม่สบายใจกับการช้อปปิ้ง ออนไลน์ และยังต้องการจับต้องและสัมผัสสินค้า แต่เมื่อลูกค้าเห็นสินค้าและตัดสินใจซื้อ จะต้องซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ของ ลาซาด้า คือ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น ส่วนใหญ่ยอดขายมาจากแอป 90%

การทำกิจกรรมออฟไลน์ เป็นการสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้ง ที่ดึงลูกค้าใหม่เข้าไปสู่ช่องทางออนไลน์ และเกิดการซื้อซ้ำ

 “โซเชียล คอมเมิร์ซ” เทรนด์แรง  

ปัจจุบันต้องบอกว่าเทรนด์ “โซเชียล คอมเมิร์ซ” เติบโตสูง เพราะพฤติกรรมของคนไทย 81% เข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดย 50% ซื้อสินค้าออนไลน์ แต่ใน 50% ที่ซื้อของออนไลน์ ซื้อผ่านโซเชียล คอมเมิร์ซ ไมว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไอจี 

ทั้งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และลูกค้าอยู่บนโซเชียล คอมเมิร์ซจำนวนมาก เพราะมองว่า เฟซบุ๊ก และ ไอจี เป็นแพลตฟอร์มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เมื่อเห็นสินค้าก็สนใจซื้อ”

การทำตลาดอีคอมเมิร์ซปีนี้ ลาซาด้าจะใช้กลยุทธ์ โซเชียล คอมเมิร์ซ มากขึ้น โดยมีการทำ Live Streaming ผ่านแอปลาซาด้า ที่จะมีคอนเทนต์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าใช้เวลาอยู่กับแอปมากขึ้น ระหว่างที่ดูคอนเทนต์จะมีการนำเสนอสินค้าให้เลือกช้อปได้ ตัวอย่างที่ลาซาด้าร่วมมือกับแบรนด์ลอรีอัล นำเสนอการถ่ายทอดสด ปารีส แฟชั่น วีค เมื่อลูกค้าเห็นลิปสติกที่นางแบบทา และสนใจ สามารถกดซื้อได้ทันที

ปีนี้ ลาซาด้าจะร่วมมือกับแบรนด์ต่างๆ ทำ Live Streaming มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเลือกช้อปสินค้าที่แบรนด์นำมาเสนอผ่านคอนเทนต์เพิ่มขึ้น โดยถือเป็นอีกช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านโซเชียล คอมเมิร์ซ ที่เป็นเทรนด์ฮิตของผู้บริโภค และเป็นการขยายฐานลูกค้าอายุ 18-24 ปี  ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าช่องทางโซเชียล คอมเมิร์ซ

ผู้เล่นใหม่ดัน “ทีวีช้อปปิ้ง” โต

ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD ให้มุมมองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซ เป็นแนวโน้มที่เติบโตมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ 3G และมีการใช้งานเต็มที่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 

แต่ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เพราะนิยมซื้อสินค้าผ่าน “โซเชียล คอมเมิร์ซ” จากพ่อค้าแม่ค้าเฟซบุ๊ก ไอจี ที่แม้ไม่รู้จักกันมาก่อนแต่ก็พร้อมซื้อ ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆ ที่มีการขายสินค้าผ่านไอจี ทำให้ตลาด C2C เติบโตสูง

ในฝั่งของ ทีวี ช้อปปิ้ง และออนไลน์ ช้อปปิ้ง วันนี้ไม่ได้แย่งลูกค้ากันเอง แต่เข้าไปแข่งขันกับ “ค้าปลีก” ที่มีมูลค้า 3 ล้านล้านบาท ปีที่ผ่านมาธุรกิจทีวี ช้อปปิ้งไทยมีมูลค่า 15,000 ล้านบาท แต่ในเกาหลีใต้ มูลค่าอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท สหรัฐฯ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท ส่วนอีคอมเมิร์ซไทยมีเป็นสัดส่วน 2% ของตลาดค้าปลีก ทำให้ทั้งทีวี ช้อปปิ้ง และอีคอมเมิร์ซ ยังมีช่องว่างเติบโตได้อีกมาก

ปีนี้ภาพรวมทีวี ช้อปปิ้ง คาดว่ายังเติบโตได้ 25-35% จาก “ผู้เล่น” ที่เพิ่มขึ้นในฝั่งทีวีดิจิทัล โดยวันแรกที่ทีวี ไดเร็คทำธุรกิจเมื่อ 20 ปีก่อน มีผู้ประกอบการทีวี ช้อปปิ้ง ราว 10 ราย ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 หลายรายออกจากตลาด ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทีวี ช้อปปิ้ง 15 ราย โดยมี 4 รายที่เป็น “เจ้าของ” ช่องทีวีดิจิทัล

“ทีวี” ไม่ตาย “ออนไลน์” ยังโตไม่สุด

แม้ประชากรออนไลน์จะขยายตัวสูง แต่สำหรับผู้บริโภคไทยวันนี้ เป็นตลาดที่ยังมีความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย ที่แบ่งเป็น กลุ่มหลัก คือ กลุ่มออนไลน์กลุ่มออฟไลน์และออนไลน์ และกลุ่มแอนะล็อก ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องดูแลลูกค้าทั้ง 3 กลุ่มที่ยังเติบโตตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละกลุ่ม

วันนี้ทีวียังไม่ตาย และออนไลน์ยังไม่โตแบบสุดขีด การทำตลาดจึงต้องทำทั้ง 2 ช่องทาง แต่อีคอมเมิร์ซจะเป็นแพลตฟอร์มที่พลิกเกมการตลาดแน่นนอน”

เชื่อว่าเจ้าของสินค้าและแบรนด์ในยุคนี้ ต้องทำการตลาดมากกว่า 1 ช่องทาง สินค้าที่ทำตลาดทีวี ช้อปปิ้ง คือการได้นำเสนอคอนเทนต์แนะนำสินค้าผ่านช่องทางทีวี พร้อมสปอตโฆษณา เป็นสื่อที่เข้าถึงคนจำนวนมาก สามารถการสร้างการรับรู้ จากนั้นเมื่อนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้บริโภคที่รู้จักแบรนด์มาแล้วจากสื่อทีวี มีโอกาสตัดสินใจซื้อทางออนไลน์ ในธุรกิจทีวี ช้อปปิ้ง ผู้ประกอบการทุกราย ทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในรูปแบบ ออมนิ แชนแนล เพื่อเข้าถึงลูกค้าทุกช่องทาง

“ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น ธุรกิจต้องปรับตัวเร็ว ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการจำหน่ายหรือสินค้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคและคู่แข่งเพิ่มขึ้นได้ทุกเวลา” 

โอกาสแบรนด์โกยลูกค้าใหม่

จุรีรัตน์ ก้องเกียรติวงศ์

ทางด้านมุมมองของฝั่งแบรนด์จากการขยายตัวในยุคอีคอมเมิร์ซ จุรีรัตน์ ก้องเกียรติวงศ์ หัวหน้าสายงานดิจิทัล แผนกเครื่องสำอางชั้นสูง บริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซในประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้บริโภคจะนึกถึง Amazon เป็นแพลตฟอร์มหลักในการซื้อสินค้าออนไลน์ สำหรับตลาดอาเซียนและไทยตลาดอีคอมเมิร์ซมีการแข่งขันดุเดือดจากการเข้ามารุกตลาดของ “ผู้เล่น” รายใหญ่

นอกจาก ลาซาด้า ที่เข้าตลาดไทยมาก่อน ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศ เข้ามาขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ช้อปปี้เจดี เซ็นทรัล โดยมีเป้าหมายต้องการเป็นผู้ Dominate ตลาดไทยให้ได้มากที่สุด ด้วยหวังว่าในอนาคตจะเป็นเหมือน Amazon ที่ครองตลาดสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศ

ด้านพฤติกรรมช้อปปิ้ง ออนไลน์ ของผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเน้น “ความสะดวก” ในการซื้อสินค้า ขณะที่ประเทศไทยจะมองหา “ดีล” และโปรโมชั่นราคาถูกในออนไลน์

วันนี้สิ่งสำคัญที่สุดของการทำอีคอมเมิร์ซ คือ ผู้บริโภค โดยต้องบาลานซ์ความเข้าใจผู้บริโภครุ่นเก่า ที่ยังอยู่บนช่องทางเดิม และต้องสร้างสรรค์การตลาดใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภครุ่นใหม่ ถือเป็นความท้าทายของแบรนด์ที่ต้องปรับตัว” 

ในยุคดิจิทัลแม้แบรนด์จะมีช่องทางออนไลน์ขององค์กรเป็นตัวเลือกให้ลูกค้าจับจ่าย แต่ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องขยายช่องทางออนไลน์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพราะแบรนด์ไม่สามารถควบคุมลูกค้าได้ว่าจะต้องมาซื้อที่ช่องทางออนไลน์ของบริษัทเท่านั้น สินค้าจึงต้องไปอยู่ในดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เข้าถึงลูกค้าและเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ 

การเติบโตของดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ ถือเป็นโอกาสของแบรนด์ ที่มีโอกาสพบกับลูกค้ารายใหม่มากขึ้น

ส่องสินค้าฮอต-โปรฯ ฮิต “อีคอมเมิร์ซ”

สำหรับสินค้าที่ได้รับความสนใจในช่องทางอีคอมเมิร์ซและทีวี ช้อปปิ้ง รวมทั้งโปรโมชั่น เรียกได้ว่ามีความแตกต่างกันตามโปรไฟล์ลูกค้า

บนแพลตฟอร์ม ลาซาด้า ได้เปิดตัวบริการ Personalization ตอบโจทย์การนำเสนอสินค้าตามความชอบและสนใจ จากการใช้ AI วิเคราะห์ดาต้าผู้บริโภครายบุคคล ทำให้เห็นการเติบโตในทุกกลุ่มใกล้เคียงกัน แต่อันดับแรกๆ คือ แฟชั่น บิวตี้ มือถือ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปโภคบริโภค

สำหรับทีวี ไดเร็ค ที่อยู่ในช่องทางทีวี เป็นสื่อที่มีผู้ชมหลักอายุ 40 ปีขึ้นไป สินค้าที่ขายดี คือ เครื่องครัว ที่เรียกว่าเป็นกลุ่มที่ทำยอดขายที่ดีตลอดกาล รองลงมาคือ ชุดชั้นในชายและสตรี และเครื่องออกกำลังกาย เกาะเทรนด์ดูแลสุขภาพ  

รูปแบบโปรโมชั่นในธุรกิจทีวี ช้อปปิ้ง ที่โดนใจกลุ่มผู้หญิง คือ “ลดราคา” ตัวอย่าง ซื้อ 1 แถม 1 กับลดราคา 50% ซึ่งมูลค่าที่ได้รับเท่ากัน แต่ผู้หญิงจะถูกใจกับโปรโมชั่นลดราคามากกว่า ส่วนลูกค้าผู้ชายชอบ “ของแถม” รูปแบบ ซื้อ 1 แถม 1 มากกว่า

ในมุมของ ลาซาด้า ที่มีการจัดแคมเปญลดราคาบ่อยครั้งอยู่แล้ว เช่น แคมเปญ 11.11 หรือ 12.12 ทำให้นักช้อปออนไลน์ส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับการจัดโปรโมชั่นราคา จึงไม่ใช่ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อ แต่สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือสินค้าที่มาจากแบรนด์ที่เชื่อถือ เป็นเทรนด์ที่เห็นมากขึ้นในอีมาร์เก็ตเพลส 

ลาซาด้า จึงเปิดตัวบริการ LazMall ที่พูดได้ว่าเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมี 350 แบรนด์ที่อยู่บน LazMall และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นสินค้าที่มาจากแบรนด์โดยตรง ทั้งขายและส่งสินค้าเอง และคืนสินค้าได้ภายใน15 วัน ถือเป็นบริการที่ช่วยผลักดันการเติบโตในปีนี้. 

]]>
1219800
ห้ามเหนื่อยห้ามพัก ศึกชอปออนไลน์เดิมพันสูง Shopee ดึง BLACKPINK บูมตลาดไทย อัดโปรโมชันถี่ยิบ https://positioningmag.com/1209896 Thu, 24 Jan 2019 00:57:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209896 เชื่อว่าถ้ามีการจัดอันดับธุรกิจที่เหนื่อยกว่าอาชีพฟรีแลนซ์แล้วล่ะก็ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็น่าจะติดอยู่ในนั้นแน่ๆ เพราะเป็นอีกธุรกิจที่ห้ามเหนื่อย ห้ามพัก และต้องขยันจัดโปรโมชัน สร้างความสดใหม่เสมอ งัดทุกกลยุทธ์มาใช้เพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้และรายได้ แม้กระทั่งแบรนด์แอมบาสเดอร์ก็ต้องคนดังนักร้องเบอร์ต้นๆ ซึ่งความดังแค่ระดับประเทศก็อาจจะไม่พอ ต้องว่ากันถึงระดับภูมิภาค แถมยังต้องมีการรีเฟรชกันอยู่บ่อยๆ ยิ่งย้ำให้เห็นเลยว่า ธุรกิจอะไรในยุคนี้ก็ไม่มีคำว่าง่าย

หลังจากแบล็กพิ้งค์ (BLACKPINK) ถูกแบนในอินโดนีเซียเหตุเพราะนุ่งกระโปรงสั้น แต่เกิร์ลกรุ๊ปวงดังขนาดนี้ แถมมีสมาชิกเชื้อสายไทย ก็ไม่พลาดถูก ช้อปปี้ (Shopee) ดึงมาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในไทย รวมทั้งอีกหลายประเทศในอาเซียน

โดยช้อปปี้เริ่มจัดกิจกรรมแรกกับแบล็กพิ้งค์จากการจัดโปรโมชัน 12.12 ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันที่ 12 ธันวาคม 2018 ต่อจากมหกรรมชอปปิ้งออนไลน์โลก 11.11 ที่ช้อปปี้ดึงแบมแบม GOT7 นักร้องเกาหลีเชื้อสายไทยอีกคนมาจัดกิจกรรมแฟนมีตพร้อมโปรโมต JYP Official Store ต้นสังกัดของ GOT7 บนแพลตฟอร์มของช้อปปี้

พอมาถึงคิวสาวๆ แบล็กพิ้งค์ ช้อปปี้ก็ยังคงเดินเกมตลาดเดิม แต่เพิ่มเติมคือเซ็นสัญญาให้พวกเธอเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของช้อปปี้ด้วยเลยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยแบล็กพิ้งค์มีสถานะเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ระดับภูมิภาครายแรกของช้อปปี้

งานแรกของพวกเธอในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ คือ การโปรโมตงานช้อปปี้ 12.12 เบิร์ธเดย์เซล ที่มีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการจัดโปรโมชันที่ให้ส่วนลดกับผู้ซื้อสูงถึง 80% ในวันที่ 12.12 สำหรับสินค้าโปรโมชัน

จากนั้นพวกเธอยังมีการโปรโมตสินค้าและร้านของ YG Official Store ซึ่งเป็นต้นสังกัดของพวกเธอ สินค้าห้ามพลาดที่แฟนคลับทุกคนต้องมีอย่าง อากาบง (แท่งไฟ) เป็นสินค้าตัวแรกๆ ที่ถูกนำมาจัดโปรโมชัน เพราะตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด และทำให้แฟนคลับซื้ออุปกรณ์ดูคอนเสิร์ตได้ง่ายขึ้นในราคาโปรโมชันในช่วงเวลาจำกัด โดยไม่ต้องพรีออเดอร์ ฝากซื้อ ฝากหิ้วจากเกาหลีให้เสียเวลา และเสี่ยงกับแม่ค้าหน้าใหม่อีกด้วย

การโปรโมตร้านต้นสังกัดครั้งนี้ ไม่ใช่แค่เฉพาะในเมืองไทย แต่ในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ระดับภูมิภาคทั้งทีจึงมีโฆษณาโปรโมตใน 5 ประเทศ ทั้ง ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย รวมทั้งในสิงคโปร์ พร้อมๆ กัน

ล่าสุดพวกเธออยู่ระหว่างโปรโมตแคมเปญโปรโมชันในช่วงวันที่ 21 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์นี้ที่ช้อปปี้จัดขึ้นภายใต้แคมเปญ Shopee 2.2 Double Double Sale” ลด 2 เท่า สุขคูณ 2 แคมเปญแจก Coin ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนลดในการซื้อสินค้าในแพลตฟอร์มนั่นเอง

โฆษณาของพวกเธอสำหรับเทศกาลนี้ เห็นได้ทั้งบนชานชาลารถไฟฟ้าหลายสถานี และหลายจุด รวมทั้งผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ และยูทูบ ซึ่งกลยุทธ์หนึ่งที่ช้อปปี้ออกแรงร่วมกับการใช้แบรนด์แอมบาสเดอร์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้ผลดีก็คือ การใช้กระแสความดัง และกิจกรรมที่เกิดขึ้นของพวกเธอเป็นตัวต่อยอด ด้วยการสร้างบทสนทนาระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคผ่านการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ประหนึ่งเป็น BLINK (ชื่อเรียกแฟนคลับของแบล็กพิ้งค์) คนหนึ่ง ที่คุยเรื่องเดียวกันกับชาว BLINK ได้ทุกเรื่อง

เหมือนๆ กับตอนที่ใช้แบมแบม GOT7 และพูดคุยเรื่องเดียวกับที่อากาเซ่ (ชื่อเรียกแฟนคลับของ GOT7) สนใจ จนสามารถสร้างบทสนทนาที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความชื่นชอบในแบรนด์ และแชร์ต่อๆ กันไปในโซเชียล เป็นการโฆษณาทางอ้อมให้ขยายกว้างออกไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเพิ่ม เพียงแค่เข้าใจและรู้ให้ทันว่าผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายอยากคุยเรื่องอะไร แล้วทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในบทสนทนาในได้อย่างเนียนๆ

งานนี้น่าจะเรียกว่า มีแบรนด์แอมบาสเดอร์ทั้งที ต้องจัดให้คุ้ม และใช้ให้เป็น

รู้จักแบล็กพิ้งค์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ล่าสุดของช้อปปี้

แบล็กพิ้งค์ เป็นเกิร์ลกรุ๊ปของเคป็อปที่ก่อตั้งเมื่อปี 2016 แต่ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 2 ปี ก็สามารถสร้างฐานแฟนคลับที่แข็งแกร่ง ซึ่งได้มาจากการชื่นชอบในเสียงร้องและบุคลิกภาพของสมาชิกแต่ละคนในวง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักร้องเชื้อสายไทยอย่าง ลิซ่า ลลิษา มโนบาล ที่เพิ่งมีข่าวดรามาเรื่องโดนเหยียดเชื้อชาติ กับเจนนี่ ที่เพิ่งมีข่าวคบหาดูใจกับ ไค สมาชิกวง EXO

โดยเฉพาะตลาดไทยนั้น ลิซ่า ถือเป็นกลุ่มดารานักร้องหญิงที่มียอดผู้ติดตามในอินสตาแกรมสูงที่สุดอีกด้วย เพราะฉะนั้นการันตีได้ว่า ความเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอยู่จะมากขนาดไหน

ผลงานที่น่าประทับใจของพวกเธอคือ การเป็นวงนักร้องหญิงที่ทำผลงานติดชาร์ตเพลงที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงเกาหลี มีเพลงติดหูที่มียูทูบเบอร์คนไทยรวมทั้งอีกหลายประเทศ เอาไปคัฟเวอร์กันอย่างสนุกสนานมากมาย อย่าง Ddu-Du Ddu-Du ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ออกมาก่อนจะตามด้วยอัลบั้ม Square One, Square Two และมินิอัลบั้มล่าสุด Square Up.

ศึก 3 ค่ายอีคอมเมิร์ซ

มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยนั้นไม่ธรรมดา ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปี 2561 ตลาด B2C-Online-Shopping (เฉพาะสินค้า) มีมูลค่าตลาดประมาณ 256,000 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 470,000 ล้านบาทในปี 2565 เฉลี่ยเติบโต 16.2% ต่อปี และจะทำให้ช่องทางออนไลน์มีส่วนแบ่งตลาดเทียบกับมูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้าทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 5.5% ในปี 2561 เป็น 8.2% ในปี 2565 (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)

โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด อย่าง ลาซาด้า ในเครืออาลีบาบา ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน ช้อปปี้ เป็นบริษัทย่อยของ Garena เจ้าของเกม RoV สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์ และล่าสุดยังมี เจดี เซ็นทรัล เป็นการร่วมทุนระหว่าง เซ็นทรัล กรุ๊ป ค่ายค้าปลีกรายใหญ่ของไทยที่ไม่อยากตกขบวนอีคอมเมิร์ซ และเจดี ดอทคอม ยักษ์อีคอมเมิร์ซจากจีน ควงแขนกันเข้ามาลุยตลาดชอปปิ้งออนไลน์

ทั้ง 3 ราย ต่างก็จัดหนักโปรโมตแบรนด์ เปิดศึกแบบไม่มีใครยอมใคร เมื่อลาซาด้ามีเทศกาล 11.11 มหกรรมชอปปิ้งที่สร้างยอดขายกันถล่มทลาย ส่วนช้อปปี้ส่งแคมเปญ 11.11 ออกมา ด้วยการลดราคาสินค้าสูงสุด 90% ราคาต่ำสุด 11 บาท และแจก coins ไว้ลดราคาสินค้า ส่วนเจดี เซ็นทรัล ออกโปรโมชันลดราคา 90% และร่วมมือกับพันธมิตร อย่าง LINE GRAB Family Mart และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์

ถัดมาได้เดือนเดียว ช้อปปี้ ส่งแคมเปญเทศกาลช้อป 12.12 เบิร์ธเดย์เซลออกมารับกับเทศกาลเฉลิมฉลองท้ายปี แน่นอนว่าคู่แข่งอย่าง ลาซาด้า ไม่ยอมน้อยหน้าส่งแคมเปญ 12.12 ออกมาสู้ หยุดพักแค่เดือนเดียว ช้อปปี้ส่งแคมเปญใหม่ Shopee 2.2 Double Double Sale” ลด 2 เท่า สุขคูณ 2 โดยได้ “BLACKPINK” มาสร้างความร้อนแรง เชื่อได้ว่า ลาซาด้า และเจดี เซ็นทรัลคงไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดไปง่ายๆ เพราะเดิมพันธุรกิจนี้สูงยิ่งนัก

]]>
1209896