มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 25 Apr 2020 00:33:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นันยางผุดไอเดียช้างดาว “เหลืองแดง-ไวท์พิ้งค์” รุ่น COVID Edition แก่ชาว “จุฬา-ธรรมศาสตร์” https://positioningmag.com/1275207 Fri, 24 Apr 2020 15:05:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275207 เป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่สร้างสีสันการตลาดในช่วง COVID-19 ได้ดีไม่น้อย นันยางผุดไอเดียใหม่ช่วงวิกฤตนี้ โดยการดีไซน์รองเท้าแตะช้างดาวรุ่น COVID Edition เหลืองแดง และไวท์พิ้งค์ สำหรับชาวจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ภายในกลุ่มตลาดนัดของทั้ง 2 สถาบัน

ช้างดาวรุ่นฝ่าโควิด!

หลงัจากที่ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บนโลกโซเชียลร้อนแรงไปด้วยตลาดนัดของชาวมหาวิทยาลัย ที่ต่างสร้างกลุ่มในเฟซบุ๊ก เพื่อเป็นพื้นที่ให้กับศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันได้ฝากร้าน ฝากธุรกิจของตัวเอง กลายเป็นการ Reunion พบปะรุ่นพี่รุ่นน้องแบบย่อยๆ ได้อัพเดตชีวิตว่าใครทำธุรกิจอะไรอยู่บ้าง

2 กลุ่มที่เป็นกระแสมากทุ่สดคงหนีไม่พ้นกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” และ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธรรมศาสตร์ ที่รวบรวมศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันที่มีชื่อเสียง รวมถึงเจ้าของ หรือทายาทแบรนด์ดังๆ มากมาย

หนึ่งในนั้นได้มีผู้บริหารของ “นันยาง” ที่ไม่ใช่แค่ฝากร้าน ฝากแบรนด์นันยางแค่อย่างเดียว แต่ยังผุดโปรเจกต์ใหม่สำหรับชาวมหาลัยทั้ง 2 ด้วย เป็นรองเท้าแตะช้างดาวรุ่น COVID Edition ช้างดาวเหลืองแดงสำหรับชาวธรรมศาสตร์ และชางดาวไวท์พิ้งค์สำหรับชาวจุฬาฯ

โดยที่ “จั๊ก-จักรพล จันทวิมล” ทายาทรุ่นที่ 3 ของนันยาง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กลุ่ม ง.งู รหัส 46 ม.ธรรมศาสตร์ และกำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยี และการจัดการนวัตกรรม หรือ CUTIP รุ่น 12 จึงได้ออกแบบช้างดาว 2 สถาบัน

เปิดพรีออเดอร์ ใช้เวลาทำ 90 วัน

รายละเอียดของช้างดาวทั้ง 2 รุ่นนี้ ได้แก่

– จะผลิตตามจำนวนที่สั่งซื้อเท่านั้น (Made to order)
– สามารถสั่งซื้อได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 เม.ย. 63 (Lazada และ Shopee)
– กำหนดส่งสินค้า ประมาณเดือน สิงหาคม 63 ใช้เวลาทำ 90 วัน
– ราคาคู่ละ 199 บาท (ส่งฟรี)
– มีไซส์พิเศษ 8.5 (22cm) และ 11.5 (29cm)

จักรพลได้เปิดเผยในส่วนหนึ่งของโพสต์ในกลุ่มจุฬาว่า “เมื่อสัปดาห์ก่อนผมจึงได้ขออนุญาตฝากร้านรองเท้านันยางบ้าง ได้รับ feedback อย่างเหลือเชื่อ จนทำให้นอนไม่หลับ หารือกับทีมงาน ปรึกษาเพื่อนๆ CUTIP จนมาถึงโพสต์นี้ กราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าพูล คณะนิเทศศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม และขอบคุณเพื่อนๆ CUTIP และชาวจุฬาฯ ทุกคนที่แอบช่วยกันออกแบบ และให้ความเห็นก่อนเปิดตัววันนี้”

ได้ทิ้งท้ายว่า กำไรจากการจำหน่ายรองเท้าช้างดาวรุ่นนี้จะขอมอบให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในนามของพวกเราทุกคน

ทำหรับรองเท้าทั้ง 2 รุ่นนี้ ใช้เวลาในการทำ 90 วัน เนื่องจากเป็นสินค้า Made to order จึงต้องแทรกการผลิตสินค้าปกติ โดยมีกำหนดการดังนี้

  • 30 เม.ย. ปิดรับออเดอร์
  • 1 – 10 พ.ค. รวบรวมสรุปและสั่งผลิตสินค้า
  • 11 พ.ค. (วันแรกพบ) เริ่มกระบวนการผลิตสินค้า
  • 20 มิ.ย. (น่าจะ) ผลิตรองเท้าเสร็จ
  • 20 มิ.ย. – 20 ก.ค. ทิ้งระยะเวลาหดตัวของยางพารา 30 วัน (เป็นกระบวนการสำคัญของรองเท้าช้างดาว)
  • 25 ก.ค. สินค้าพร้อมจัดส่ง

กรณีศึกษา แบรนด์ไม่หยุดพัฒนา

สำหรับนันยางเป็นแบรนด์เก่าแก่ ที่มีตำนานสำหรับรองเท้านักเรียนมายาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ได้มีการปรับตัว และพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง

ในแต่ละครั้งสามารถเรียกเสียงฮือฮาได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าผ้าใบผู้หญิง, รองเท้า NanyangRED สำหรับแฟนลิเวอร์พูล, รองเท้า KYHA จากขยะทางทะเล สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

เพราะด้วยตัวสินค้ารองเท้านักเรียนมีช่วงเวลาการขายที่จำกัด อีกทั้งเมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ปกครองต่างไม่มีรายได้ในการซื้อรองเท้า รวมถึงอัตราการเกิดของเด็กไทยน้อยลง ทำให้จำนวนนักรเียนก็น้อยลงด้วย

การที่นันยางแตกไลน์ไปยังกลุ่มรองเท้าอื่นๆ สามารถสร้างสีสันให้ตลาด แต่ยังไม่ทิ้งจุดแข็งของแบรนด์คือรองเท้า ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น

]]>
1275207
“ธรรมศาสตร์” เปิดคอร์ส ป.โทออนไลน์ หลักสูตร Data Science ฟรี! 10,000 คนแรก https://positioningmag.com/1274538 Tue, 21 Apr 2020 06:23:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274538 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมือ SkillLane ผุดโครงการให้เรียนหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ฟรี 1 คอร์ส สำหรับผู้ที่สนใจ 10,000 คนแรกที่ลงทะเบียนภายใน 30 เมษายน นี้เท่านั้น  

หลักสูตรที่เปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์นั้นเป็นหลักสูตร Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation) โดยวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำข้อมูลมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และเข้าใจถึงวิธีการในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และคาดการณ์ความเป็นไปได้ เพื่อสร้างแต้มต่อและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทั้งในพนักงานทั่วไป เจ้าของธุรกิจ และองค์กรเองมากขึ้น โดยรายชื่อคอร์สที่ร่วมโครงการมีดังนี้

  1. คอร์ส Python for Data Science ไพธอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมู
  2. คอร์ส Advanced Python for Data Science ไพธอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลขั้นสูง
  3. คอร์ส Business Intelligence ธุรกิจอัจฉริยะ
  4. คอร์ส Data Mining Algorithms ขั้นตอนวิธีสำหรับเหมืองข้อมูล
  5. คอร์ส Fundamental of Digital Transformation พื้นฐานของการแปรรูปแบบทางดิจิทัล
  6. คอร์ส Business Case for Data Science กรณีทางธุรกิจสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  7. คอร์ส Digital Leadership ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล
  8. คอร์ส Digital Organization Behavior พฤติกรรมองค์กรยุคดิจิทัล

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงโครงการดังกล่าวว่า

“ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ติดตามสถานการณ์ของไวรัส COVID-19 ที่กำลังระบาดอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากจัดตั้งคณะทำงานสู้ภัย COVID-19 เพื่อดูแลคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษากว่า 40,000 คนในทุกระดับแล้ว  จึงร่วมดำเนินการตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติควบคู่ไปกับพันธกิจสำคัญที่เรายึดตลอดมาคือการให้โอกาสทางการศึกษาคุณภาพ เป็นตลาดวิชาของคนในสังคมทุกระดับอย่างเต็มที่ จึงมีนโยบายเปิดให้เรียนคอร์สปริญญาโทออนไลน์ 1 คอร์สแบบไม่เก็บหน่วยกิตแก่บุคคลทั่วไป เพื่อพัฒนาทักษะอนาคตสู้ Disruption”

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 21-30 เมษายน 2563 หรือจนกว่าครบจำนวน 10,000 สิทธิ์ ที่ https://skl.website/2W8uIeZ (ผู้ลงทะเบียนสามารถเข้าเรียนได้ภายใน 2 วันทำการนับจากวันที่ท่านลงทะเบียน)

]]>
1274538
กรณีศึกษา : เยียวยาทุกมิติ ฉบับ “ธรรมศาสตร์โมเดล” บริหารจัดการวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1273815 Sat, 18 Apr 2020 08:55:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273815 COVID-19 สะเทือนทุกหย่อมหญ้า ทั้งภาคธุรกิจ บริษัทเล็กบริษัทใหญ่ คนรายได้น้อยไปจนถึง “สถานศึกษา” ที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการเรียนการสอนใหม่ มีผู้ได้รับผลกระทบในหลายภาคส่วน

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” (มธ.) เป็นสถานศึกษาเเรกๆ ที่ออกมาตรการฝ่าวิกฤต COVID-19 เเละได้รับเสียงชื่นชมมากมาย ด้วยการช่วยเหลือที่รวดเร็ว ตรงจุด ครอบคลุมทั้งนักศึกษา ร้านค้าในโรงอาหาร แม่บ้าน วินมอเตอร์ไซค์ ช่วยทั้งด้าน “ออนไลน์” เเละ “ออฟไลน์” ตั้งเเต่ผ่อนผันค่าเทอม ลดค่าหอพักยันเเจกสิทธิ์ให้ดู Netflix

มาตรการต่างๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยออกมา “Take Action” ในช่วง COVID-19 เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่ง “ธรรมศาสตร์โมเดล” ถือเป็น “ผลงานชิ้นโบเเดง” ของทีมบริหารเพื่อรับมือกับโรคระบาดในตอนนี้

เปลี่ยนหอพักเป็น รพ.สนาม

ประเดิมด้วยการเปิด “โรงพยาบาลสนามชั่วคราว” เพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา จากสถานการณ์ที่ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเเละมีพื้นที่รองรับไม่เพียงพอ ธรรมศาสตร์จึงนำอาคาร Dluxx Thammasat ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังของมหาวิทยาลัย เป็นหอพัก 14 ชั้นมารองรับผู้ป่วย เพราะมีความเหมาะสมต่อการจัดพื้นที่ให้ได้มาตรฐาน มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดระบบการรับผู้ป่วย ยาเวชภัณฑ์เเละบุคลากรทางการแพทย์

โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์ที่ร่วมในโครงการ 5 แห่ง ได้เเก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่จะช่วยสนับสนุนบุคลากร

ลดค่าหอพัก – ให้ทุน นศ. 5,000 ทุน 

ในช่วงเวลาที่มีความลำบากทั้งในการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน และด้านเศรษฐกิจของทุกๆ คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกมาตรการบรรเทาเยียวยาค่าใช้จ่ายด้าน “หอพักนักศึกษา” ดังนี้

1.นักศึกษาที่เช็กเอาต์ออกจากหอพักตั้งแต่ 21 มี.ค. 63 และต่อไปจากนี้ สำนักงานบริหารทรัพย์สินฯ จะคืนเงินค่าเช่าตามจำนวนเดือนที่ออกก่อนครบสัญญา 1 ปี พร้อมกับเงินประกัน

2.นักศึกษาที่ยังอยู่ในหอพัก และปีการศึกษาหน้า จะอยู่หอพักมหาวิทยาลัยต่อไป สำนักงานบริหารทรัพย์สินฯ จะลดค่าเช่าหอพักในปีหน้าให้ 2 เดือน

3.สำหรับนักศึกษาที่ยังอยู่ในหอพัก แต่ปีการศึกษาหน้าจะไม่ได้พักในหอพักของมหาวิทยาลัยแล้ว สำนักงานบริหารทรัพย์สินฯ จะลดค่าหอให้ 50% เป็นเวลา 3 เดือน โดยวิธีการคืนเงินและเวลาที่จะคืนเงินให้ สำนักงานบริหารทรัพย์สินจะได้แจ้งต่อไปอีกครั้งหลังจากนี้

สำหรับทุนการศึกษา จะมอบแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี โครงการปกติ ที่ได้รับผลกระทบในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5000 ทุน เเบ่งเป็นทุน 2 ประเภทคือ
-ทุนช่วยเหลือ 5,000 บาท จำนวน 1,000 ทุน
-ทุนช่วยเหลือ 2,500 บาท จำนวน 4,000 ทุน

โดยมหาวิทยาลัยจะจัดสรรทุนให้เเต่ละคณะไม่เกิน 15% ของจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี โครงการปกติในคณะ ซึ่งนักศึกษาที่คิดว่าตนเองเข้าเกณฑ์รับทุนผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 สามารถติดต่อเเละดูรายละเอียดได้ที่ sa.tu.ac.th

แจกอินเทอร์เน็ตฟรีให้ นักศึกษา “เรียนออนไลน์”

เพราะการเรียนออนไลน์อาจจะไม่ได้สะดวกสำหรับนักศึกษาทุกคน ก่อนหน้านี้ มธ.ได้มีมาตรการ “แจกซิมอินเทอร์เน็ตฟรี” สำหรับนักศึกษาที่มีปัญหาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเเล้ว

ล่าสุดได้จัดทำโครงการ Educational SIM สำหรับนักศึกษาทุกคนที่ ประสบปัญหาการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนแบบออนไลน์ โดยนักศึกษาที่มีความจำเป็นขอให้ลงทะเบียนได้ผ่านไลน์ @Thammasat Univeristy Official เพื่อลงทะเบียนขอรับ Internet Package ความเร็ว 4 Mbps (unlimited) เป็นเวลา 3 เดือน

สำหรับนักศึกษาที่มีระบบรายเดือน ที่อยากลงทะเบียนก็อาจจะเปลี่ยนเบอร์เดิมเป็นแบบเติมเงิน หรือซื้อซิมใหม่แบบเติมเงินมาลงทะเบียนได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โครงการ EDUCATIONAL SIM สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลน

ช่วยผู้มีรายได้น้อย-ลูกจ้างในมหา’ลัย เปลี่ยนวิน เป็น Food Delivery

นอกจากการช่วยเหลือนักศึกษาเเล้ว ผู้ได้ประกอบการในมหาวิทยาลัยก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ไม่แพ้กัน หลังได้เปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์มาตั้งเเต่ 16 มี.ค. เเละมีการสั่งปิดมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยในโรงอาหาร ร้านค้าต่างๆ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างภายในศูนย์รังสิต รวมถึงเเม่บ้านเเละลูกจ้างของบริษัทต่างๆ ด้วย เนื่องจากไม่มีคนมามหาวิทยาลัย และนักศึกษาที่อยู่หอพักก็กลับบ้านกันไปกว่าครึ่งหนึ่ง

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต เปิดเผยว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการและผู้มีรายได้น้อยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้

1. ลดราคาค่าเช่าเดือนมีนาคมเหลือ 50% ให้กับร้านอาหารในโรงอาหาร และผู้ประกอบการอื่นในมหาวิทยาลัย (เพราะได้ขายเป็นปกติถึงแค่วันที่ 15 มีนาคม) โดยในเดือนเมษายนอาจพิจารณาลดมากกว่า 50% เพราะแม้ว่าวันที่ 13 เมษายนจะเปิดมหาวิทยาลัยอีกครั้ง แต่จะสอนออนไลน์ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งกำลังหารือกับสำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬาที่เป็นผู้ดูแลโรงอาหาร และจะเสนอท่านอธิการบดีให้อนุมัติต่อไป

2. สำหรับโรงอาหารกรีนแคนทีนและโรงอาหารรอบดึก ซึ่งบริษัทซีพีเป็นผู้ดูแลนั้น ได้ทำหนังสือพร้อมกับโทรศัพท์ไปแจ้งผู้จัดการแล้วว่า ขอให้บริษัทซีพีฯ ลดราคาค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการในโรงอาหารกรีนแคนทีนเหมือนกับโรงอาหารของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยก็จะลดค่าสนับสนุนการศึกษาที่บริษัทต้องนำส่งมหาวิทยาลัยเป็นรายเดือนให้

3. แม่บ้านและพนักงานรักษาความปลอดภัย ที่เป็นลูกจ้างของบริษัทที่รับงานดูแลความสะอาดและความปลอดภัย ผมได้แจ้งบริษัทไปแล้วว่า แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะปิดในช่วงนี้ แต่ ห้ามเลิกจ้างแม่บ้าน และ รปภ. เพราะมหาวิทยาลัยจ้างเหมาเป็นรายปี บริษัทจึงมีรายได้แน่นอนอยู่แล้ว #จึงห้ามเลิกจ้างลูกจ้างเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นลูกจ้างรายวัน

4.วินมอเตอร์ไซค์ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งสอบถามในเบื้องต้น ได้ข้อมูลว่าจากที่เคยวิ่งประมาณ 100 คัน ตอนนี้เหลือเพียง 40 คัน และมีรายได้ต่อคันเพียงวันละ 100 กว่าบาทเท่านั้น ผมจึงแจ้งบริษัทที่เป็นผู้ดูแลแล้วว่า ให้ลดค่าวินอย่างน้อย 50% และมหาวิทยาลัยจะลดราคาค่าสนับสนุนการศึกษาที่บริษัทจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัยเป็นรายเดือนให้เช่นกัน

5. สำหรับมาตรการเพิ่มเติมในการช่วยร้านอาหารในโรงอาหารและวินมอเตอร์ไซค์ คือ ให้ร้านปรับเป็นการขายเป็นแบบจัดส่งอาหาร โดย วินมอเตอร์ไซค์จะเป็นคนขับส่งอาหาร ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือวินมอเตอร์ไซค์ และสนับสนุนมาตรการอยู่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดด้วย

ในการดำเนินการนี้ ผศ.ดร.ปริญญาได้ขอให้สำนักงานบริหารทรัพย์สินฯ เป็นแม่งานในการสร้างระบบในการให้มีการสั่งอาหารออนไลน์ ให้เป็น Thammasat Food Delivery โดยจะต้องใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งโดยใส่ในถุงผ้าและเอาถุงผ้าคืน และถ้าเป็นปิ่นโต หรือทัปเปอร์แวร์ได้ก็จะดีที่สุดเลย ตอนนี้กำลังเตรียมการ เมื่อพร้อมแล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป

แจกประกันภัย COVID-19 ฟรีให้นักศึกษาทุกคน ทุกระดับ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำประกันภัย  COVID-19 ให้กับนักศึกษาทุกคน และทุกระดับชั้น ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกที่อยู่ในประเทศไทย โดยประกันภัยคุ้มครองดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 เป็นระยะเวลา 1 ปี

สำหร้บนักศึกษาที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ตามประกาศกรมควบคุมโรค ประกันจะเริ่มคุ้มครองหลังจากกลับมาประเทศไทยและผ่านการกักตัว 14 วัน ทั้งนี้เงื่อนไขประกันไม่คุ้มครองนักศึกษาที่อยู่ในต่างประเทศ และนักศึกษาที่ยืนยันติดเชื้อก่อนการทำประกัน โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถรับสิทธิ์ได้ ที่นี่

นอกจากนั้นยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่แสดงถึงความใส่ใจ อย่างการขยายเวลาผ่อนผันการชำระค่าเทอม การทำหนังสือไปยังทุกสายการบินเพื่อขอความร่วมมือให้งดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนไฟลต์ หรือคืนเงินเต็มจำนวนสำหรับนักศึกษาธรรมศาสตร์ ที่จองไว้สำหรับงานรับปริญญาเเต่ที่ต้องเลื่อนไป

ให้นักศึกษาและอาจารย์ดู Netflix ฟรี ในช่วง COVID-19

ห้องสมุด มธ. ให้นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดู Netflix สตรีมมิ่งออนไลน์ได้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ฟรี 1 วัน โดยผู้ใช้ต้องดาวน์โหลด TeamViewer เพื่อใช้ในสำหรับ Remote Desktop และสามารถใช้บริการผ่าน Web Browser เท่านั้น โดยมีขั้นตอนการใช้บริการดังนี้

  1.  ติดต่อขอใช้บริการผ่าน Inbox เพจ Thammasat University Library พร้อมแจ้งรหัสนักศึกษา ชื่อ-สกุล ภายในเวลา 09.00 – 21.00 น.
  2. แจ้งรหัส TeamViewer กับเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ ยังมีบริการที่ “ห้องสมุด มธ.” ได้รับเสียงชื่นชมมาก นั่นคืการ “ส่งหนังสือ” จากหอสมุดให้แก่นักศึกษาและบุคลากรที่ต้องการยืมหนังสือ เเต่ต้องอาศัยอยู่บ้าน เเม้อาจจะดูว่าเล็กน้อย แต่ก็เป็นการคำนึงถึงความสะดวกต่อการเรียนรู้มากเลยทีเดียว

เปิดศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ผู้รับผลกระทบ COVID-19

คณะนิติศาสตร์ ได้จัดตั้ง “ศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (TU Pandemic Legal Aid Centre)” เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ในประเด็นปัญหาทางกฎหมายต่างๆ ที่เกิดจากจากสถานการณ์โคโรนาไวรัส ผ่านระบบออนไลน์ โดยเปิดให้บริการแล้วตั้งเเต่ช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา

อ่านเงื่อนไขเเละขั้นตอนการให้บริการได้ ที่นี่ 

ผลิตหน้ากาก Thammask 

ในยุคที่หน้ากากหายากเเละราคาเเพง ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ยังได้ผลิตหน้ากากอนามัยที่มีคุณสมบัติกันน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น ที่มีชื่อว่า Thammask เพื่อแจกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งผลิตออกมาถึง 60,000 ชิ้น โดยใช้งบประมาณผ่านการระดมทุนจากทางโซเชียลมีเดีย

นอกจากนั้นยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่แสดงถึงความใส่ใจของมหาวิทยาลัยต่อบุคลากรและนักศึกษาในสถาบันอีกจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น การขยายเวลาผ่อนผันการชำระค่าเทอม การทำหนังสือไปยังทุกสายการบิน ขอความร่วมมือให้งดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนไฟลต์ หรือคืนเงินเต็มจำนวนสำหรับนักศึกษาธรรมศาสตร์ ที่จองไว้สำหรับงานรับปริญญาที่ต้องเลื่อนไป

สปิริตผู้นำ : อธิการไม่รับเงินเดือนตามตำแหน่ง

สิ่งสำคัญนอกเหนือจากวิสัยทัศน์ การบริหารจัดการที่ดี ลงมือทำจริงเเล้ว ก็คือสปิริตของผู้นำ โดยรศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลือกที่จะไม่รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ซึ่งเธอไม่รับเงินเดือนมาก่อนแล้ว ตั้งแต่แรกเข้ารับตำแหน่งในปี 2560 โดยนำใส่บัญชีเป็นกองกลางไว้ใช้จ่ายภายในมหาวิทยาลัย

สำหรับการบริหารมหาวิทยาลัยในช่วงวิกฤต COVID-19 นี้ ผู้บริหารทุกคน ทั้งรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ตลอดจนคณบดีเเละผู้เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ในรูปแบบของ “วอร์รูม” เพื่อช่วยกันคิดและเสนอมาตรการต่าง ๆ เเละจัดตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นมา ซึ่งจนถึงตอนนี้ ทีมงานในห้องวอร์รูมก็ยังคงติดตามและดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาและลดผลกระทบให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษา และประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนออนไลน์ไปด้วย

นับเป็น “ตัวอย่างที่ดี” ของการบริหารงานในภาวะวิกฤติ ที่ได้ผลตรงจุดเเละมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจ การดูเเลองค์กร ไปจนถึงระดับประเทศ

 

 

 

]]>
1273815
ชุมชนมหา’ลัยเปิดกลุ่ม “ฝากร้าน” พลังสถาบันช่วยเหลือกันในยุค COVID-19 ขายตั้งแต่ของกิน ยันจระเข้! https://positioningmag.com/1273245 Tue, 14 Apr 2020 08:16:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273245 เมื่อมีการเริ่มต้นตั้งกลุ่มบน Facebook ในชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” จุดประสงค์ให้บัณฑิตและนิสิตมา “ฝากร้าน” ได้ทุกอย่าง ตั้งแต่สารพัดร้านขายอาหารไปจนถึงบริการดูดวงออนไลน์!? จุดกระแสฮิตให้ชุมชนมหาวิทยาลัยหลายแห่งตั้งกลุ่มลักษณะเดียวกันมาช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า-บริการ บอกเลยว่าของที่ลงขายมีหลากหลายเกินคาดพร้อมกับกระแสฮือฮาเมื่อเหล่าเซเลบคนดังยังมาลงขายกับเขาด้วย

แอดมินกลุ่ม 6 คนได้ตั้งกลุ่มบน Facebook ชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 63 เพื่อให้พี่น้องม.ธรรมศาสตร์ ช่วยกันซื้อช่วยกันขายในยุคเศรษฐกิจฝืดจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ปรากฏว่ากลุ่มนี้ฮิตระเบิดจนปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 68,000 คนเข้าไปแล้ว

ด้วยจำนวนสมาชิกขนาดนี้ และจากพลังสายสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้องร่วมสถาบันที่ต้องการช่วยเหลือกันก่อน ทำให้ของที่ลงขายนั้นขายได้จริงและขายดีเกินคาดด้วย ล่าสุดแอดมินกลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้านเล่าเรื่องราวเพื่อขอบคุณสมาชิกทุกคนที่เข้ามาช่วยซื้อขายว่า สมาชิกในกลุ่มบางรายมีคิวดูดวงออนไลน์แน่นทั้งวันจนมีเงินพอจ่ายค่าเช่าตึกแล้ว หรือสมาชิกที่มีสวนทุเรียนสามารถขายทุเรียนได้หมดทั้งสวนจากพลังของสมาชิกกลุ่ม

สีสันภาพปกของกลุ่มขายของสถาบันต่างๆ

กระแสการเปิดช่องทางขายใหม่เช่นนี้กระจายไปสู่ชุมชนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เริ่มตั้งกลุ่ม Facebook เฉพาะกิจขึ้นมาเหมือนกันเช่น กลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” จำนวนสมาชิกวิ่งไปถึงเกือบ 86,000 คน! “ตลาดนัด มศว” สมาชิกกว่า 3,300 คน “ม.เกษตร มาร์เก็ต และการฝากร้าน” สมาชิกกว่า 1,100 คน “Silpakorn Online Market : ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาวๆ” สมาชิกกว่า 3,700 คน

 

ขายทุกอย่างที่คุณจะนึกออกและนึกไม่ออก

ถ้าการไถหน้าจอดูของใน Lazada หรือ Shopee ว่ามีของมากมายแล้ว กลุ่ม Facebook ขายของจากชาวสถาบันเหล่านี้มีสินค้าและบริการแบบครอบจักรวาลยิ่งกว่า ทั้งในแง่มูลค่า และในแง่ความแปลกแตกต่าง เหมือนได้เดินตลาดทุกแห่งทั่วประเทศพร้อมกันในรอบเดียว รู้ตัวอีกทีน่าจะสั่งไปแล้วหลายอย่าง พร้อมลิสต์ร้านน่าสนใจอีกยาวเป็นหางว่าว

สินค้าที่ทุกคนคงไม่แปลกใจที่มีขายคือ “หมวดอาหาร” สารพัดอาหารทั้งของแปรรูปและยังไม่แปรรูปมารวมกันในกลุ่มสถาบัน เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน โรตี สะตอ ก๋วยเตี๋ยวญวณ ผัดไท ครัวซองต์ คึ่นช่าย

ฝากร้านหมวดอาหาร

“หมวดของใช้” อย่างต่างหู เครื่องกีฬา กระถางต้นไม้ ลำโพง “หมวดบริการ” รับงานล่าม แปล ทนายความ
ดูแลรถยนต์ ฯลฯ

ฝากร้านหมวดของใช้

ไปจนถึงสินค้าที่คุณนึกไม่ถึง อย่างการขายหมูป่า และจระเข้เป็นๆ จากฟาร์ม กำไลหินโหราศาสตร์ ดูดวงออนไลน์ พระเครื่อง ไปจนถึง…ขายง้าวโบราณ

สิ่งที่นึกไม่ถึงอย่างฟาร์มปศุสัตว์เฉพาะทางก็มาขายกันในนี้ (ภาพจากกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน)

ในแง่มูลค่าก็เช่นกัน สินค้ายอดฮิตที่ลงขายกันมากคือ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่ดินเปล่า บ้าน คอนโดฯ มูลค่าขายตั้งแต่หลักล้านต้นจนถึงพันล้านก็มีคนลงขายมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีการโพสต์ธุรกิจ B2B ต่างๆ อีกมาก เช่น รับเหมาก่อสร้าง โรงงานผลิตเสื้อผ้ากีฬา แพ็กเกจจิ้ง โรงพิมพ์ อุปกรณ์โรงงาน ฯลฯ

กระทั่งที่ดิน-คอนโดฯ ราคาหลักล้านถึงพันล้านก็มีขาย

 

ดารา-คนดัง-ทายาทธุรกิจ ก็ฝากร้านกับเขาด้วย

ไม่ใช่แค่คนทั่วไปที่เข้าไปฝากร้าน แม้แต่ดารา คนดัง หรือทายาทธุรกิจก็ขออาศัยช่องทางนี้ฝากร้านกับเขาด้วย!

ที่ฮือฮากันช่วงนี้คือ “เชฟป้อม-ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล” บัณฑิตจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 22 ยังเข้าไปฝากร้านข้าวแช่ของตนเองในกลุ่ม “รวิศ หาญอุตสาหะ” บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 39 ขอเข้ามาฝากเครื่องสำอางศรีจันทร์ กระทั่ง “เบียร์-ปิยะเลิศ ใบหยก” บัณฑิตครุศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 42 ก็เข้าไปขายชุดข้าวแช่จากโรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจของครอบครัว

คนดังชาวจุฬาฯ ฝากร้านในจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส
คนดัง ม.ธรรมศาสตร์ ก็มาฝากร้านด้วย

ฟาก ม.ธรรมศาสตร์ก็ไม่น้อยหน้า “วู้ดดี้ มิลินทจินดา” บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ (BE) มธ. รหัส 37 เข้ามาฝากรายการ Woody From Home Live หรือ “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ มธ. ที่เข้ามาฝากรายการเถื่อนทราเวล

กลุ่ม Facebook มหา’ลัยเหล่านี้อาจจะเริ่มจากการซื้อขายของเฉพาะหน้าเพื่อช่วยกันรอดพ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 แต่เมื่อของขายหลากหลายขึ้น คนมากขึ้น จะพบว่ากลุ่มนี้ทำให้ “คอนเน็กชัน” ในฐานะรุ่นพี่รุ่นน้องสถาบันเกิดขึ้นชัดเจนและเป็นวงกว้างมากกว่าเดิม เพราะทำให้คนขายของต้นน้ำได้มาเจอกับคนขายกลางน้ำและปลายน้ำในกลุ่มเดียวกัน กลายเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจที่ทรงพลัง

]]>
1273245
“ธรรมศาสตร์” หนี “ดิสรัปต์” จับมือ “SkillLane” เปิดตัว TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เริ่มสิงหาคมนี้ https://positioningmag.com/1231833 Tue, 28 May 2019 12:55:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231833 การพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้แม้แต่การเรียนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเรียนที่ห้องเรียนเสมอไป เหมือนอย่างที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จับมือกับ “SkillLane” (สกิลเลน) เปิดตัว TUXSA (ทักษะ) หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตออนไลน์

เริ่มนำร่องด้วย 2 หลักสูตรในเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ได้แก่

1. หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation) 

ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างผู้บริหารในยุคดิจิทัล เนื้อหามีการปรับปรุงและสร้างขึ้นใหม่บนแนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม โดยครอบคลุมทั้งการวางกลยุทธ์ การบริหารจัดการ ทักษะเฉพาะทางในการดำเนินการทางธุรกิจ และการสร้างภาวะผู้นำ

2. หลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation) 

ออกแบบและพัฒนาตามความต้องการของงานในยุคปัจจุบัน ที่ปริมาณข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน

ขณะเดียวกันในปี 2020 ได้เตรียมเปิดอีก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท Applied AI มุ่งเน้นการสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีและการพัฒนาอัลกอริทึมในด้านปัญญาประดิษฐ์ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การสร้างและการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ธรรมศาสตร์ระบุว่า จุดเด่นของหลักสูตร TUXSA คือ การเปิดโอกาสแห่งการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่สนใจเพื่อเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาทักษะ หรือต้องการเรียนเพื่อให้ได้วุฒิปริญญาโทที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับปริญญาโทที่ได้จากการเรียนในมหาวิทยาลัย

เนื้อหาของหลักสูตรถูกพัฒนาตามความต้องการของผู้เรียน โดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญพิเศษซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในสาขาอาชีพนั้น

และด้วยการเป็นหลักสูตรออนไลน์ จึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกผลสำเร็จทางการเรียนรู้ที่เหมาะกับตัวเองได้ถึง 4 รูปแบบคือ การเรียนเพื่อความรู้แต่ไม่เก็บหน่วยกิตการเรียนและสอบรายวิชาทางออนไลน์เพื่อเก็บหน่วยกิตและรับประกาศนียบัตรรายวิชา, การเรียนและสอบรายวิชาให้ครบ 18 หน่วยกิตเพื่อรับประกาศนียบัตรชุดวิชา

และสุดท้ายคือการเรียนปริญญาโทที่ต้องเรียน 30 หน่วยกิตพร้อมกับทำตามข้อกำหนดที่มหาวิทยาลัยและข้อกำหนดหลักสูตร ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้กำลังอยู่ในกระบวนการอนุมัติของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสภามหาวิทยาลัย.

]]>
1231833
SCB แจงไม่เกี่ยว รื้อ “ตึกตู้ปลา” มธ. ขอชะลอโครงการร่วมมือไปก่อน https://positioningmag.com/1214020 Thu, 14 Feb 2019 04:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1214020 ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่องการปรับปรุงการใช้พื้นที่ “ตึกตู้ปลา” คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ผลักดันให้ดำเนินการรื้อตึกดังกล่าวนั้น

ธนาคารไทยพาณิชย์ขอเรียนชี้แจงว่า ธนาคารและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำความตกลงร่วมกันทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีส่วนหนึ่งของโครงการเป็นการเปิดศูนย์ Business Center เพื่อให้ความรู้แก่ SME ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ร่วมกับทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เพื่อพัฒนาศักยภาพของ SME ไทยร่วมกัน และเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม โดยมิได้มุ่งค้ากำไร โดยทางธนาคารไทยพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรื้ออาคารดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากได้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นตามที่ปรากฏเป็นข่าว และทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจเจตนารมณ์ของธนาคารคลาดเคลื่อนไป ธนาคารจึงได้ยื่นจดหมายขอชะลอโครงการนี้ไปก่อน จนกว่าทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ข้อยุติในเรื่องการปรับปรุงพื้นที่ และจะขอพิจารณาในเรื่องความร่วมมือดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีข้อสรุปจากทางมหาวิทยาลัยแล้ว

ที่มาของเรื่องนี้ เกิดขึ้นมาจากได้เกิดข้อร้องเรียน กรณีที่ คณะพาณิชย์ฯ ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับปรุงใช้พื้นที่ชั้น 1 ของตึกตู้ปลา เพื่อตั้ง เอสซีบี บิสิเนส เซ็นเตอร์ และมี ร้านทู ฟาสต์ ทู สลีป ตั้งอยู่ด้วย โดยผู้แทนอาจารย์ คณะพาณิชย์ฯ ได้ร้องขอให้มีการชี้แจงรายละเอียดที่มาของสัญญาการใช้พื้นที่ เพราะเป็นที่ดินของราชพัสดุ และให้ชี้แจงถึงประโยชน์ที่จะได้รับของนักศึกษา.

]]>
1214020
เปิดรับสมัครแล้ว! หลักสูตร Retail Management: The Best Practices Series หลักสูตรเรียนลัดเอาใจเถ้าแก่รุ่นใหม่ ต่อยอดธุรกิจได้ใน 3 เดือน https://positioningmag.com/59837 Mon, 23 Mar 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=59837

ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CONC Thammasat) และศูนย์การเรียนรู้ เอ็ม อะคาเดมี่ ( M Academy ) เปิดหลักสูตร “Retail Management: The Best Practices Series” ที่พัฒนาหลักสูตรเพื่อผู้ที่ต้องการขยายธุรกิจ หรือเถ้าแก่ใหม่ เน้นการเรียนจากผู้รู้ ดูจากงานจริงทีไม่มีอยู่ในตำรา และถ่ายทอดความรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากวิทยากรผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจค้าปลีก โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย (ที่ 2 จากซ้าย) คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์วิทยา จารุพงศ์โสภณ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ที่ 1 จากซ้าย) แถลงความพร้อมร่วมกับ คุณจิระวัฒน์ แต่งเจนกิจ (ที่ 3 จากซ้าย)  ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ เอ็ม อะคาเดมี่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท แมคไทย จำกัด ณ ศูนย์การเรียนรู้ เอ็ม อะคาเดมี่ บิ๊กซี ราชดำริห์ ชั้น 6

หลักสูตร “Retail Management: The Best Practices Series” เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 เมษายน 2558 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CONC Thammasat) โทร. 02-226-4507-8,02-613-2247 หรือ www.conc.tbs.tu.ac.th E-mail : conc@tbs.tu.ac.th

]]>
59837
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผนึกความร่วมมือ กลุ่มทรู เปิดตัว ศูนย์วิจัย True Lab @ Thammasat แหล่งเรียนรู้ค้นคว้าวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้อย่างมีพลวัต https://positioningmag.com/58514 Wed, 01 Oct 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=58514

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น นำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร ร่วมเปิด “ศูนย์วิจัย True Lab @ Thammasat” โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักศึกษาและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ใช้เป็นพื้นที่ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลงานนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ

พร้อมเปิด แอพพลิเคชั่น myCampus TU เพื่อเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อดิจิตอลที่ไร้ขีดจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ ตามแนวคิด Thammasat Everywhere, Thammasat Every time ตอบสนองนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้แบบ “แอ็คทิฟ เลิร์นนิ่ง” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

]]>
58514
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก้าวสู่ ‘e-Campus’ รุกรูปแบบการเรียนการสอนแบบ BYOD https://positioningmag.com/57133 Mon, 02 Sep 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57133

มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับที่สองของประเทศไทย ติดตั้งเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายครอบคลุมทั้งศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาด้วยโซลูชั่น Cisco Unified Access ภายใต้สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบเอ็นเตอร์ไพรซ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแพลตฟอร์มเครือข่ายอัจฉริยะที่รองรับการเชื่อมต่อที่ราบรื่นและการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายอัจฉริยะที่ปลอดภัยทั้งท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตช่วยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรลุเป้าหมายในการเป็น ‘e-Campus’ และเป็นรากฐานสำคัญในการรองรับการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในมหาวิทยาลัย หรือ Bring-Your-Own-Device (BYOD) รวมถึงสนองความต้องการในการเชื่อมต่อแบบไร้สายของเจ้าหน้าที่ คณาจารย์ และนักศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพื่อรองรับการติดตั้งโครงข่ายอีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิต ด้วยโซลูชั่น Cisco Unified Access™ ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สามารถเพิ่มแบนด์วิธในการรองรับแอพพลิเคชั่นการเรียนการสอน จัดการเวิร์กโหลดที่เพิ่มขึ้น และรองรับการใช้งาน IPv6 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกๆในประเทศไทยที่นำ IPv6 มาใช้

การอัพเกรดเทคโนโลยีครั้งนี้ช่วยให้นักศึกษากว่า 36,000 คน และบุคลากรราว 6,700 คนใน 26 คณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายไร้สายที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ผ่านแอ็คเซสพอยต์ประมาณ 300 จุดที่ศูนย์ท่าพระจันทร์ และอีกประมาณ 800 จุดที่ศูนย์รังสิต ทั้งนี้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นจาก 54 Mbps เป็นความเร็วสูงสุด 1.3 Gbps

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีวิสัยทัศน์ในการสร้าง ‘e-Campus’ โดยแบ่งการดำเนินการเป็นสองช่วง คือ ระยะที่หนึ่ง เป็นการติดตั้งเครือข่ายไร้สายที่ศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตในปี 2556 และระยะที่สอง ดำเนินการติดตั้งเครือข่ายไร้สายที่ศูนย์ลำปางและศูนย์พัทยาภายในปี 2557

Cisco Unified Access รองรับ ‘Internet of Everything’

Cisco Unified Access เป็นรากฐานทางธุรกิจในการรองรับ “Internet of Everything” ซึ่งหมายถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูล กระบวนการ และสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความสะดวกง่ายดาย ความชาญฉลาด ความยืดหยุ่นในการปรับขนาด ประสิทธิภาพ

อินเทอร์เฟซที่เปิดกว้าง และความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น โซลูชั่น Unified Access ของซิสโก้ช่วยให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนไปสู่ Internet of Everything ได้อย่างราบรื่น และนำเสนอบริการที่แปลกใหม่สำหรับผู้ใช้บนเครือข่ายอัจฉริยะที่เรียบง่าย ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม พร้อมระบบวิเคราะห์ข้อมูล บริการที่รวดเร็วกว่า และการจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างเหนือชั้น

Cisco Unified Access ช่วยให้ฝ่ายไอทีมีแพลตฟอร์มที่จำเป็นในการปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจ เทคโนโลยี และความคาดหวังของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยแพลตฟอร์มเครือข่ายที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวที่มีนโยบายและการจัดการร่วมกันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สาย, เครือข่ายไร้สาย และเครือข่าย VPN สามเรื่องหลักสำคัญ (Three pillars) ของ Cisco Unified Access ได้แก่:

• หนึ่งนโยบาย (One Policy): แพลตฟอร์มแบบครบวงจรระดับเวิลด์คลาส และ distributed enforcement

• หนึ่งการจัดการ (One Management): โซลูชั่นเดียวสำหรับการจัดการวงจรการใช้งาน (comprehensive lifecycle management) และการตรวจสอบอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

• หนึ่งเครือข่าย (One Network): เครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายที่ผสานรวมเข้าด้วยกันบนโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจร

คำกล่าวสนับสนุน :

• รศ. เกศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการคลัง และผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เชื่อว่าโซลูชั่น Cisco Unified Access ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถโดยรวมของเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับแนวโน้ม BYOD – Bring Your Own Device และประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ หลังจากการใช้งานจริง เราพบว่านักศึกษาและบุคลากรพอใจมากกับการเชื่อมต่อไร้สายทั้งที่ศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต ในแง่ของเสถียรภาพ ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน พื้นที่การใช้งานที่กว้างขวางขึ้น และความเร็วที่สูงกว่า ภายในปี 2559 เราคาดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 50 แห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

“เรารู้สึกพอใจมากกับความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพของซิสโก้ รวมถึงการบริการที่ฉับไวและการฝึกอบรมด้านไอทีที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพให้กับบุคลากรของเรา โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีประสิทธิภาพและเครือข่ายไร้สายสมรรถนะสูง จะช่วยให้เราสามารถดำเนินงานโครงการด้านไอทีเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โครงการ e-Admin, e-Education & Research, e-Society, และ e-Culture เพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายในการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับสากลของเอเชีย”

• คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้

“โลกของเราในส่วนของการทำงาน การเล่น และแม้กระทั่งการศึกษา กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์บนเครือข่าย ด้วยความสามารถในการรองรับการนำเอาอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร หรือ BYOD มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเป็นผู้นำในการเป็นสถาบันการศึกษาแบบ Next-Generation สำหรับนักศึกษาทุกระดับชั้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ”

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีของซิสโก้ในการผสานรวมเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายได้ที่ : Cisco Unified Access, Cisco Prime, Borderless Networks และ Cisco Wireless

เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า “ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” หรือ มธก. โดยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ประศาสน์การ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ศูนย์ ได้แก่ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ปัจจุบันเปิดสอนรวมทั้งสิ้น 24 คณะวิชา ครอบคลุมทั้งสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีวิสัยทัศน์ที่เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาของประเทศ โดยยึดมั่นคุณธรรมและประโยชน์ของประชาชน”

]]>
57133
ม.ธรรมศาสตร์ ขยายเวลาส่งผลงาน ประกวดแผนธุรกิจด้านอสังหาฯ ถึง 10 ก.ย. นี้ https://positioningmag.com/55691 Wed, 05 Sep 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55691

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศขยายเวลาการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดแผนธุรกิจโครงการอสังหาริมทรัพย์ “KK Biz RE Innovation Awards 2012” จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2555 นี้ เนื่องจากผลการตอบรับจากที่ไปโรดโชว์เพื่อแนะนำโครงการ พบว่ามีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะเตรียมผลงานไม่ทัน จึงขยายเวลาการปิดรับออกไป ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวความคิด Living Innovation เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นแผนธุรกิจโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถทำได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ชิงเงินรางวัลกว่า 7 แสนบาท และมีโอกาสที่จะได้เห็นโครงการอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 500 ล้าน เกิดขึ้นจริง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 2680 3333

]]>
55691