ยื่นล้มละลาย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Dec 2024 11:13:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “บริษัทซอมบี้ญี่ปุ่น” กว่า 1 หมื่นแห่ง จ่อยื่นล้มละลาย สูงสุดรอบ 11 ปี https://positioningmag.com/1502468 Mon, 09 Dec 2024 09:46:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502468 รอยเตอร์ส รายงานอ้างอิงข้อมูลจาก Tokyo Shoko Research (TSR) พบว่า ปี 2567 บริษัทในญี่ปุ่นมีกำหนดยื่นฟ้องล้มละลายมากกว่า 10,000 แห่ง สูงสุดในรอบ 11 ปี

ตัวเลขเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีบริษัทในญี่ปุ่นยื่นล้มละลาย 841 แห่ง ส่งผลให้ช่วง 11 เดือนแรกปี 2567 (ม.ค. – พ.ย.) มียอดยื่นล้มละลายสะสม 9,164 แห่ง ซึ่งสูงแซงยอดในปี 2566 ไปแล้ว

ทั้งนี้ หน่วยงานวิจัยสินเชื่อ ประมาณการว่า ตัวเลขการล้มละลายมีแนวโน้มมากกว่า 10,000 แห่ง ในปี 2567 หลังเคยนิวไฮยื่นล้มละลายสูงสุดในปี 2556 ประมาณ 10,855 แห่ง

อย่างไรก็ตาม การยื่นล้มละลายของบริษัทฯ ในญี่ปุ่น ตามการรายงานของ TSR ก่อนหน้านี้ ในปลายเดือนตุลาคม 2567 สาเหตุหลักมาจากการที่ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0-0.1% (ตั้งแต่เดือน มี.ค. 67) หลังคงนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษร่วม 30 ปี

กระตุ้นการขยายตัวของ “บริษัทซอมบี้ญี่ปุ่น” มากขึ้น ซึ่งหมายถึงบริษัทที่มีหนี้สินจำนวนมากและไม่มีความสามารถในการสร้างกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้ได้นั่นเอง

ทั้งนี้ บริษัทซอมบี้มีสัดส่วนประมาณ 14% ของบริษัทจดทะเบียนในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคการบริการที่ขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก อาทิ ร้านอาหาร โรงแรม การขนส่ง และการท่องเที่ยว

]]>
1502468
ลือ ‘WeWork’ เตรียมยื่น ‘ล้มละลาย’ ในสัปดาห์หน้า https://positioningmag.com/1450163 Wed, 01 Nov 2023 02:49:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450163 จากสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่กำลังมาแรงและมีมูลค่าสูงกว่า 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากปัญหาด้านโมเดลธุรกิจและการบริหารงานภายใน ก็ทำให้ WeWork ต้องเจอกับวิกฤต และที่ผ่านมาก็พยายามจะกู้ธุรกิจกลับมาให้ได้ แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่ไหว และมีข่าวว่ากำลังจะยื่นล้มละลาย

แววไม่ดีของ WeWork สตาร์ทอัพผู้ให้บริการ Co-Working Space เริ่มเห็นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 โดยมีข้อกังวลว่าบริษัทจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แม้ว่าบริษัทจะมีรายได้ 844 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4% ก็ตาม แต่ก็ยัง ขาดทุนถึง 397 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ บริษัทมีสภาพคล่องเหลือแค่ 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น 

เนื่องจากบริษัทต้องต่อสู้กับกอง หนี้จํานวนมาก รวมถึงมูลค่าของ หุ้น ปีนี้ ดิ่งลง 96% ก่อนหน้านี้ WeWork แจ้งขอเลื่อนจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ทำให้เข้าสู่ขั้นตอนกำหนดชำระล่าช้าภายใน 30 วัน ซึ่งบริษัทได้เจรจาขอมติผู้ถือหุ้นกู้ให้เลื่อนนัดชำระออกไปอีก 7 วัน มิฉะนั้นจะเข้าสู่สถานะผิดนัดชำระ

WeWork ส่อแววไม่รอดสูง บริษัทกังวลความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลังขาดทุน สภาพคล่องแทบไม่มี

ล่าสุด มีแหล่งข่าววงในเปิดเผยว่า WeWork กําลังพิจารณายื่นคําร้อง ล้มละลาย ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยบริษัทได้ทําข้อตกลงกับเจ้าหนี้เพื่อเลื่อนการชําระเงินชั่วคราวสําหรับหนี้บางส่วน โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน บริษัทมีหนี้ระยะยาวสุทธิ 2.9 พันล้านดอลลาร์ และสัญญาเช่าระยะยาวมากกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ 

ที่ผ่านมา WeWork ทําให้เกิดข้อสงสัยอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถในการดําเนินการต่อไปในเดือนสิงหาคม เนื่องจากมีผู้บริหารระดับสูงจํานวนมาก รวมถึง Sandeep Mathrani CEO ที่ลาออกในปีนี้

Source

]]>
1450163
สำนักข่าว Vice ยื่นขอ “ล้มละลาย” รายได้ไม่โตติดต่อกันหลายปีจนขาดทุน https://positioningmag.com/1430563 Mon, 15 May 2023 09:43:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430563 จากบริษัทแสนล้าน เหลือเข้าซื้อได้ในราคาไม่ถึงหมื่นล้าน Vice Media Group บริษัทสื่อชื่อดังด้วยสไตล์คอนเทนต์วัยรุ่นนำสมัย ล่าสุดยื่นขอ “ล้มละลาย” ในสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว และพร้อมขายบริษัทให้กับผู้ให้กู้เงิน

บริษัท Vice Media Group เป็นบริษัทผลิตสื่อที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น นำเสนอคอนเทนต์ในสไตล์นำสมัย และทำสื่อหลากหลายทั้งสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ โทรทัศน์ อีเวนต์ งานดนตรี และภาพยนตร์สารคดี ครั้งหนึ่งบริษัทนี้เคยมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.92 แสนล้านบาท)

แต่ปัจจุบัน Vice Media Group ได้ยื่นขอ “ล้มละลาย” ในสหรัฐอเมริกาแล้ว และจะขายกิจการด้วยมูลค่าเพียงแค่ 225 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น (ประมาณ 7,600 ล้านบาท) โดยหวังว่าจะกลับมาเป็นบริษัทที่มั่นคงทางการเงินได้ภายในเวลา 2-3 เดือนข้างหน้า

Vice Media Group เริ่มต้นธุรกิจสื่อครั้งแรกเมื่อปี 1994 โดยเริ่มจากการทำนิตยสารชื่อ Voice of Montreal มีผู้ร่วมก่อตั้งคือ เชน สมิธ, เกวิน แมคอินเนส และ ซูรูช อัลวี ก่อนบริษัทจะขยายตัวไปอีกหลายแขนงสื่อ และเปิดทำการไปถึง 30 ประเทศ 25 ภาษา เช่น สหรัฐฯ เม็กซิโก อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส กรีซ อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฯลฯ

แบรนด์ในเครือ Vice Media Group

ผู้ลงทุนกับบริษัทมีหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Fortress Investment Group, Monroe Capital และ Soros Fund Management บริษัทที่ก่อตั้งโดยมหาเศรษฐี จอร์จ โซรอส

ในช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่มาร่วมลงทุนได้นั้น เป็นช่วงที่นักลงทุนหวังว่า Vice จะได้รายได้สูงจากการดึงดูดผู้อ่านวัยรุ่นจำนวนมากผ่านทางเครือข่ายโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Instagram

อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้วรายได้จากโฆษณาออนไลน์กลับแบ่งส่วนแบ่งใหญ่ไปให้กับยักษ์เทคโนโลยีอย่าง Google และ Meta เจ้าของ Facebook

รายได้ของบริษัท Vice จึงไม่เติบโตมาแล้วหลายปี และทำให้บริษัทยากที่จะทำกำไรได้ แม้ Vice พยายามจะดิ้นรนด้วยเข้าสู่ตลาดหุ้น แต่แผนนี้ก็ไม่สำเร็จ เมื่อเดือนก่อน บริษัทจึงจำเป็นต้องเลย์ออฟพนักงานหลังปิดแผนกผลิตรายการโทรทัศน์

เมื่อ Vice Media ยื่นขอล้มละลาย จะได้รับการคุ้มครองให้เลื่อนการชำระเงินกู้ต่างๆ ไปก่อน เพื่อให้มีเวลาปรับโครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างหนี้ ตัดขายบางส่วนของธุรกิจ

ขณะนี้ผู้ให้กู้ของ Vice อนุมัติเงินกู้ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 675 ล้านบาท) เพื่อเป็นทุนให้บริษัทยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้ในช่วงผ่านการยื่นล้มละลาย และในช่วงเวลานี้อาจมีบริษัทอื่นเข้ามายื่นข้อเสนอซื้อกิจการได้เช่นกัน แต่หากไม่มีข้อเสนอที่ดีกว่าหรือตกลงกันไม่ได้ ผู้ให้กู้เงินของ Vice Media จะสามารถเข้าซื้อบริษัทได้ในราคา 225 ล้านเหรียญดังกล่าวข้างต้น

ปัจจุบันไม่ได้มีแค่ Vice ที่เสี่ยงล้มละลาย บริษัทสื่อคนรุ่นใหม่อีกแห่งหนึ่งอย่าง BuzzFeed หนึ่งในผู้บุกเบิกการทำสื่อออนไลน์ ก็กำลังมีปัญหาการเงิน เมื่อเร็วๆ นี้ BuzzFeed เพิ่งจะปิดแผนกข่าวและเลย์ออฟพนักงานไป 15% ของบริษัท เนื่องจากรายได้โฆษณาตกต่ำอย่างมาก

Source

]]>
1430563
ธุรกิจ ‘โรงเเรม’ ในญี่ปุ่น ทรุดหนักจากพิษโรคระบาด ‘ล้มละลาย’ เพิ่มขึ้น 57% https://positioningmag.com/1314530 Fri, 15 Jan 2021 10:58:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314530 ธุรกิจโรงเเรมเผชิญวิกฤตขั้นสาหัสจากผลกระทบของ COVID-19 โดยอัตราการล้มละลายของโรงเเรมญี่ปุ่น ในปี 2020 มีมากถึง 118 แห่ง เพิ่มขึ้นกว่า 57.35% จากปีที่ก่อนหน้า เเละคาดว่าสถานการณ์จะเเย่ลงกว่าเดิม เมื่อต้องเจอการเเพร่ระบาดหลายระลอก

ศูนย์วิจัย Tokyo Shoko ระบุว่า ในปี 2020 ผู้ประกอบการธุรกิจโรงเเรมในญี่ปุ่นล้มละลายมากถึง 118 แห่ง เพิ่มขึ้น 57.35% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยเป็นครั้งเเรกที่โรงแรมในประเทศต้องยื่นล้มละลายเกิน 100 แห่ง นับตั้งแต่ปี 2013

ในจำนวนนี้ มีโรงแรม 12 แห่งที่ล้มละลายนั้นอยู่ที่เมืองนากาโนะ” (Nagano) แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเต็มไปด้วยสปาและสกีรีสอร์ท ส่วนในกรุงโตเกียวมีจำนวน 11 แห่ง และอีก 9 เเห่งที่เมืองชิซุโอกะ

ปัจจัยหลักๆ มาจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่สะเทือนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งญี่ปุ่นถือเป็นประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงนักท่องเที่ยวไทย

Tokyo Shoko ประเมินว่า หนี้สินของโรงแรมที่ล้มละลายจากวิกฤตครั้งนี้ รวมกันมีมากถึง 58,000 ล้านเยน

จากความไม่เเน่นอนของเศรษฐกิจเหล่านี้ ทำให้บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่มีเเนวโน้มจะล้มละลายเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรม ที่สถานการณ์ยิ่งย่ำเเย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งอัตราการล้มละลายของภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 26% เลยทีเดียว

ก่อนหน้านี้ โยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงโตเกียวในวันที่ 7 .. ที่ผ่านมา พร้อมยกระดับความเข้มงวดเพื่อรับมือการระบาดของ COVID-19 ที่กำลังพุ่งขึ้น โดยมีการช่วยเหลือกิจการที่เสียสละลดเวลาเปิดดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะชดเชยร้านอาหารและร้านกินดื่มแห่งละ 60,000 เยนต่อวัน (ประมาณ 17,400 บาท)

การระบาดระลอกสามทั่วประเทศทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องยอมระงับโครงการ Go To Travel โครงการให้เงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนให้คนไปเที่ยวในประเทศเป็นการชั่วคราว โดยยังระงับการเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิพำนักในญี่ปุ่น จากความกังวลต่อการระบาดของไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ซึ่งถูกค้นพบในอังกฤษและแอฟริกาใต้ เเละได้กระจายไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

Junichi Makino นักเศรษฐศาสตร์ของ SMBC Nikko Securities ประเมินว่า จีดีพีของญี่ปุ่นจะลดลงถึง 3.8 ล้านล้านเยน หากต้องประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลาหนึ่งเดือนพร้อมเเนะนำว่า รัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนการเงินให้กับผู้ประกอบการ ทั้งร้านอาหาร โรงเเรมเเละธุรกิจอื่นๆ เพื่อป้องกันการปิดกิจการที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเเละโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว

 

 

ที่มา : Japantimes (1) , (2)

]]>
1314530
สหรัฐฯ คาดเชนร้านอาหารกว่า 30% จะ ‘ล้มละลาย’ จากพิษ COVID-19 https://positioningmag.com/1288707 Mon, 20 Jul 2020 13:19:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288707 เป็นที่รู้กันว่าร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เสียหายหนักมากในช่วง Covid-19 นี้ โดยในไทยเองก็มีร้านอาหารหลายแบรนด์ที่ต้องปิดตัวลงไปจากวิกฤตินี้ ขณะที่สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีทีท่าที่จะเบาบางลง โดยเฉพาะหลังจากที่มีการคลายมาตรการในบางรัฐที่ส่งผลให้การระบาดหนักขึ้นกว่าเดิมจนต้องพิจารณาการล็อกดาวน์อีกรอบ ส่งผลให้ร้านอาหารต้องเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง

การระบาดของ Covid-19 ทำให้เชนร้านอาหารบางรายประสบปัญหาด้านการเงินต้องล้มละลาย โดยกลุ่มการค้าประมาณการว่าร้านอาหารมากถึง 30% อาจปิดอย่างถาวรเนื่องจากการระบาดใหญ่ ในขณะที่ร้านอาหารอิสระมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการที่ต้องปิดหน้าร้าน ขณะที่การจัดส่งแบบ Delivery ก็มีเครือข่ายที่จำกัด

โดยรายงานจาก S&P Global Ratings เมื่อวันศุกร์ระบุว่า กลุ่มร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่ยื่นล้มละลายแล้ว ได้แก่ CEC Entertainment บริษัท แม่ของ Chuck E. Cheese, Le Pan Quotidien, FoodFirst Global Restaurants, Vapiano และ Garden Fresh Restaurants

ส่วน 15 เครือข่ายร้านอาหารที่มีการซื้อขายสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระ อาทิ Kisses จากอิตาลีมีโอกาส 41.2% ที่จะผิดนัดในอีก 12 เดือนข้างหน้า Muscle Maker มีโอกาส 36.9% และ Giggles N’ Hugs มีโอกาส 34.3% ส่วน Starbucks, Denny’s และ Yum Brands มีโอกาสไม่ถึง 10%

ขณะที่แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู๊ดขนาดใหญ่ก็กำลังดิ้นรนเช่นกัน อย่าง Pizza Hut ได้ออกมายื่นขอล้มละลายภายใต้บทที่ 11 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมหลังจากต่อสู้กับภาระหนี้สิน หรืออย่าง McDonald’s, Tendong Wendy และ Yum Brands’s Taco Bell ต่างก็เพิ่งได้รับเงินกู้ PPP หลายล้านรายการเพื่อพยุงตัวเอง

Source

]]>
1288707
‘วุฒิศักดิ์คลินิก’ ยื่น ‘ล้มละลาย’ หลังขาดทุนกว่า 1,000 ล้านบาท แถมโดน Covid-19 เล่นงาน https://positioningmag.com/1287386 Sun, 12 Jul 2020 03:14:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287386 คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อของ ‘วุฒิศักดิ์คลินิก’ เจ้าของสโลแกน “เพราะความสวย รอไม่ได้” แต่มาวันนี้ ความสวยอาจจะต้องรอก่อน เฟซบุ๊ก ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์สเตตัสระบุว่า วุฒิศักดิ์คลินิกได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลาง ขอฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นมูลค่าหนี้กับเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท แต่กิจการของลูกหนี้ยังมีเหตุอันสมควร และช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ จึงขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 และมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 9.00 น.

หลายคนคงมีคำถามในใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับวุฒิศักดิ์คลินิก จนต้องยื่นขอล้มละลาย

เริ่มต้นวุฒิศักดิ์คลินิกก่อตั้งโดย นายแพทย์วุฒิศักดิ์ ลิ่มพานิช, คุณพลภัทร จันทร์วิเมลือง และคุณณกรณ์ กรณ์หิรัญ แต่จุดเปลี่ยนสำคัญมาจากปี 2557 เมื่อวุฒิศักดิ์ขายกิจการให้กับบริษัท อีฟอร์แอลเอม จำกัด (มหาชน) หรือ EFORL ที่ทำธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ แต่หลังจากซื้อไปวุฒิศักดิ์กลับเงียบหายไปจากตลาด เนื่องจาก EFORL มีแผนดันวุฒิศักดิ์เข้าตลาดหุ้น เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ในการซื้อกิจการ แต่กลับไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 

ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา กำลังซื้อหดหาย และการแข่งขันในเรื่องราคา แต่วุฒิศักดิ์กลับมีต้นทุนที่เป็นสาขาจำนวนถึง 120 สาขา ด้วยต้นทุนขนาดนี้ แน่นอนว่าต้องทำให้ ขาดทุน แม้ว่าที่ผ่านมา ผู้บริหาร EFORL พยายามปรับโครงสร้างธุรกิจสารพัด ลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บจก.ดับบลิวซีไอโฮลดิ้ง (WCIH) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของวุฒิศักดิ์ และหาพันธมิตรใหม่ ๆ มาพยุงธุรกิจ หรือแม้แต่ขยายธุรกิจสินค้าความงามแบรนด์ ‘วุฒิศักดิ์ คอสเมติกส์’ แต่ก็ไม่เป็นผล

กวิน สัณฑกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดับบลิวซีไอ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารแบรนด์ วุฒิศักดิ์

โดยในปี 2559 วุฒิศักดิ์มีรายได้ 1,623 ล้านบาท แต่ขาดทุน 528 ล้านบาท จากนั้นก็ขาดทุนต่อเนื่อง โดยปี 2560 รายได้ 481 ล้านบาท ขาดทุน 664 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 364 ล้านบาท และปี 2562 มีรายได้ลดลงเหลือ 161 ล้านบาท ส่วนสาขาก็ปิดลงลงจนเหลือเพียง 49 สาขาเท่านั้น

มาในปี 2563 แน่นอนว่าสิ่งที่หลายธุรกิจต้องเผชิญก็คือ การระบาดของโรค Covid-19 ที่ทำให้วุฒิศักดิ์ไม่สามารถเปิดบริการได้เป็นเวลานานกว่า 2 เดือน ในที่สุดก็ทนพิษบาดแผลไม่ไหว ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลาง ขอฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย

]]>
1287386
ทอยส์ “อาร์” อัส อเมริกา เตรียมยื่นล้มละลาย https://positioningmag.com/1140103 Mon, 18 Sep 2017 07:28:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1140103 วอลล์ สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า บริษัทค้าปลีกของเล่นเด็กรายใหญ่ของสหรัฐฯ ทอยส์อาร์อัส เตรียมยื่นล้มละลาย เพื่อขอสิทธิการคุ้มครองในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ในช่วงเวลาที่บรรดาบริษัทผู้ผลิตของเล่นเด็กในสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเงื่อนไขการทำธุรกิจกับร้านค้าปลีกต่างๆ ก่อนหน้าเทศกาลจับจ่ายซื้อของขวัญในอเมริกาจะมาถึง

สาเหตุที่เมืองของเล่นยักษ์ใหญ่ของโลก ตัดสินใจยุติบทบาทของตัวเอง เพราะประสบปัญหาเช่นเดียวกับห้างค้าปลีกรายใหญ่อื่นๆ คือผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าออนไลน์ถูกกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่วางขายตามร้านค้าต่างๆ ปัจจุบัน ทอยส์อาร์อัส ต้องแบกรับภาระหนี้ที่มีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทอยส์อาร์อัส เป็นเครือร้านขายของเล่นในสหรัฐอเมริกา มีสาขาตั้งอยู่ในยุโรป เอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และแคนาดา ปัจจุบันบริษัทดำเนินงานร้านค้า 860 ร้านในสหรัฐอเมริกา และ 716 ร้านในอีก 34 ประเทศ ทั้งในแบบแฟรนไชส์และไลเซนส์ โดยร้านสาขาใหญ่ในนครนิวยอร์กที่ตั้งอยู่บริเวณไทม์สแควร์ เป็นร้านขายของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ขณะที่ธุรกิจของทอยส์อาร์อัส ในประเทศไทยยังมีแนวโน้มไปได้ดี โดยผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์เมื่อต้นปี 2560 นี้ว่า หลังจากเปิดให้บริการมาครบ 10 ปี บริษัทได้ขยายสาขาลำดับที่ 12 ที่ชั้น 3 ศูนย์การค้า โชว์ ดี ซี ขนาดพื้นที่ 850 ตารางเมตร แบ่งเป็น 7 โซน ได้แก่ เมืองซูเปอร์ฮีโร่ เมืองเครื่องยนต์ มหาสนุก เมืองเจ้าหญิง เมืองเกมหรรษา เมืองของเล่นสนุกคิด เมืองกีฬาสุดมันส์ และเบบี้อาร์อัส

ร้านค้าปลีกของเล่นอันดับหนึ่งของโลกจากสหรัฐอเมริกา ทอยส์อาร์อัส จับตลาดลูกค้าตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงมัธยมศึกษา เน้นจำหน่ายสินค้าที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการทางด้านทักษะและการเรียนรู้ รวมถึงของเล่นที่เน้นความสนุกสนาน แต่การเติบโตทางด้านเทคโนโลยีทำให้ของเล่นหลายอย่างถูกแปลงโฉมไปเป็นเกมบนมือถือ และมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นเพื่อนกับลูก แทนของเล่นสุดฮิตในอดีต            

บริษัทมีสาขาให้บริการทั่วโลกกว่า 1,000 สาขา ในกว่า 40 ประเทศ สำหรับประเทศไทยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีสาขาเปิดให้บริการรวม 12 แห่ง และยังมีร้านค้าในลักษณะ Pop up อีก 8 แห่ง และมีแผนจะขยายสาขาต่อไปอีก.

]]>
1140103