รีไซเคิลขยะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 04 Jan 2022 11:06:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บริษัท Rens รีไซเคิล “กากกาแฟ” เป็น “รองเท้ากีฬา” ฝีมือคนรุ่นใหม่ชาวเวียดนาม https://positioningmag.com/1369310 Tue, 04 Jan 2022 07:19:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369310 Rens แบรนด์รองเท้าสนีกเกอร์จากผู้ก่อตั้งชาวเวียดนามในฟินแลนด์ ไม่ได้ใช้วัสดุธรรมดา แต่ใช้วัสดุรีไซเคิลจาก “กากกาแฟ” และพลาสติก ช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการฝังกลบ ระดมทุนได้แล้ว 9 แสนเหรียญสหรัฐ เปิดแหล่งผลิตในเวียดนาม ประเทศผู้ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลก

“กากกาแฟ” อาจจะถูกจัดประเภทเป็นขยะไบโอก็จริง แต่กากกาแฟเมื่อถูกฝังกลบแล้วจะปล่อย “ก๊าซมีเทน” ออกมาปริมาณมาก เป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 32 เท่า

อย่างไรก็ตาม Jesse Tran ซีอีโอชาวเวียดนามของ Rens พบในช่วงแรกของการก่อตั้งบริษัทว่า มีกากกาแฟเพียง 5% ที่เข้าสู่ระบบรีไซเคิล ทำให้กากกาแฟกว่า 6 ล้านตันถูกส่งไปบ่อฝังกลบขยะทุกปี

การพัฒนาเส้นใยและผลิตรองเท้ากีฬารีไซเคิล Rens จึงสามารถเข้ามาช่วยให้เกิดการหมุนเวียนวัสดุส่วนนี้ได้ โดยรองเท้า Rens หนึ่งคู่ จะใช้กากกาแฟปริมาณ 300 กรัม หรือเทียบเท่ากับกาแฟ 21 แก้ว เป็นส่วนผสม

รองเท้าที่ใช้เส้นใยจากกากกาแฟ Rens

วัสดุผลิตรองเท้า Rens เป็นการผสมกากกาแฟกับขวดพลาสติกรีไซเคิล ผลิตออกมาเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์กาแฟสำหรับทอรองเท้า ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ของรองเท้าจะผลิตจากยางพาราธรรมชาติ

ทำให้แหล่งผลิตของ Rens ไปตั้งอยู่ในเวียดนาม แหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก และรับกากกาแฟจากเชนร้านกาแฟขนาดใหญ่หลายเจ้ามาใช้งาน แต่ตัวสำนักงานใหญ่นั้นตั้งอยู่ที่ฟินแลนด์

 

เปิด Kickstarter ระดมทุนได้ 9 แสนเหรียญ

บริษัทนี้เพิ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017 และเริ่มระดมทุนเพื่อผลิตสินค้าผ่าน Kickstarter เมื่อเดือนมิถุนายน 2019 แคมเปญแรกที่ระดมทุน บริษัทได้รับเงินถึง 5.5 แสนเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 18.3 ล้านบาท) จากผู้สนับสนุนมากกว่า 5,000 คนภายใน 24 ชม. เท่านั้น

ส่วนแคมเปญล่าสุด บริษัทเพิ่งเปิดไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2021 เพื่อผลิตรองเท้ารุ่นที่สองชื่อ ‘Nomad’ ซึ่งเป็นรุ่นที่มีเชือกผูกรองเท้าผลิตจากกากกาแฟผสมพลาสติกรีไซเคิลเช่นกัน งานนี้ได้รับเงินลงทุนอีก 3.5 แสนเหรียญ (ประมาณ 11.66 ล้านบาท)

Rens สร้างแบรนด์ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่

รวมแล้วทำให้ Rens ระดมทุนได้สะสม 9 แสนเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 30 ล้านบาท! สะท้อนให้เห็นว่ามีคนที่เชื่อมั่นในสินค้าของพวกเขาจำนวนมาก และเป็นบริษัทที่น่าจับตา

 

สินค้ารีไซเคิลที่ต้องดู “เท่” สำหรับคนใส่

เหตุที่ Rens ประสบความสำเร็จในการทำการตลาด ดึงเงินลงทุนเข้ามาได้ Son Chu ซีทีโอและผู้ร่วมก่อตั้งของ Rens มองว่าเป็นเพราะการทำให้ตัวสินค้า “เจ๋งกว่า” เพียงแค่ใช้วัสดุรีไซเคิล

“ในตลาดขณะนี้ สินค้าเพื่อความยั่งยืนเป็นที่นิยมมากก็จริง แต่เราเห็นปัญหาคือสินค้าเหล่านั้นมักไม่ได้ผลิตมาเพื่อคนรุ่นใหม่” Chu กล่าว “วิธีทำตลาดของพวกเขาเหมือนกับว่า ‘เฮ้! มาใช้ของเราสิ ไม่อย่างนั้นโลกเราจะแตกนะ’ เราไม่ชอบวิธีการเข้าหาลูกค้าแบบนี้เลย”

Son Chu และ Jesse Tran สองผู้ร่วมก่อตั้งชาวเวียดนามของ Rens เริ่มตั้งบริษัทนี้ขึ้นในวัยไม่ถึง 30 ปี

“เราต้องการเป็นแบรนด์ที่ผลิตสินค้าเพื่อความยั่งยืน แต่ทำให้เจ๋งกว่านั้น ให้มีฟังก์ชันที่ใส่แล้วเท่จริงๆ ที่คนสามารถใช้ได้”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ราคาสินค้าเพื่อความยั่งยืนยังถือว่าเป็นสินค้าราคาสูง โดยรองเท้าของ Rens ตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่ 199 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,600 บาท) ส่วนราคาพรีออเดอร์จะอยู่ที่ 109 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,600 บาท)

บริษัท Rens มองการพัฒนาต่อจากนี้ จะใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อผลิตสินค้าอื่นต่อไปในกลุ่มเครื่องแต่งกาย โดยวัสดุที่จะใช้อาจเป็นได้ทั้งกากกาแฟ หรืออาจจะเป็นวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจได้เห็นเสื้อผ้าจากกากกาแฟวางขายแพร่หลายมากกว่านี้ก็ได้

Source

]]>
1369310
นักศึกษาเกาหลีใต้ ปิ๊งไอเดียลดขยะ สร้าง “เก้าอี้รีไซเคิล” จากหน้ากากอนามัยใช้เเล้ว https://positioningmag.com/1310053 Fri, 11 Dec 2020 11:48:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310053 การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้คนทั่วโลกต้องสวมใส่ เหล่านี้ทำให้เกิดขยะขึ้นมหาศาลเช่นกัน

นักศึกษาชาวเกาหลีใต้นามว่าคิม ฮานึลปิ๊งไอเดีย แก้ปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว ด้วยการนำมารีไซเคิลทำเป็นเก้าอี้

เขาเริ่มตั้งกล่องรับบริจาคหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกเเบบในเมืองอึยวัง ทางตอนใต้ของกรุงโซล เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสามารถรวบรวมหน้ากากใช้แล้วได้ถึง 10,000 ชิ้น และยังได้รับบริจาคหน้ากากใหม่เเต่ไม่ได้มาตรฐานกว่า 1 ตันจากโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย 

เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา คิมได้นำหน้ากากที่ใช้แล้วไปเก็บไว้ในห้องอย่างน้อย 4 วัน หลังจากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนตัดสายรัดและเส้นลวดบนหน้ากาก ใช้ปืนเป่าลมร้อนใส่หน้ากากที่อยู่ในแท่นพิมพ์ แล้วหลอมละลายหน้ากากด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 300 องศาเซลเซียส

จนในที่สุดก็ได้เก้าอี้สตูลเเบบ 3 ขาที่มีความสูง 45 เซนติเมตร ซึ่งทำมาจากหน้ากากอนามัยหลากหลายสีสัน เพื่อนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการจบการศึกษาของเขา

โดยการทำเก้าอี้รีไซเคิลขึ้นมา 1 ตัว นั้นจะต้องใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง ราวๆ 1,500 ชิ้น

ต่อไป เขาตั้งใจว่าจะทำเฟอร์นิเจอร์ประเภทอื่นๆ อีก เช่น เก้าอี้ โต๊ะหรือหลอดไฟจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเเละบริษัทเอกชนต่างๆ ตระหนักถึงการนำหน้ากากอนามัยมารีไซเคิลเพื่อสิ่งเเวดล้อม โดยเเนะว่าควรจะตั้งจุดรับบริจาคต่างๆ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ในเดือนกันยายนเเค่เดือนเดียวเกาหลีใต้ผลิตหน้ากากอนามัย สำหรับใช้ในประเทศขึ้นมามากกว่าพันล้านชิ้น

อ่านบทสัมภาษณ์เเละดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ : The face-mask seat: a South Korean student’s attempt to recycle in COVID times 

]]>
1310053
ล้ำไปอีก! Unicharm ประเทศญี่ปุ่นเตรียมรีไซเคิล “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” กลับมาใช้ใหม่ https://positioningmag.com/1303038 Mon, 26 Oct 2020 10:03:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303038 Unicharm บริษัทผู้ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภครายใหญ่ของญี่ปุ่น เปิดเผยเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2020 ว่า บริษัทเตรียมตั้งฐานการรีไซเคิลทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการเก็บและรีไซเคิล “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” แบบใช้แล้ว ตั้งเป้าใช้งานได้จริงอย่างน้อย 10 แห่งภายในปี 2030

เนื่องจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั้งสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ในปัจจุบันนั้น หลังผ่านการใช้งานแล้วจะถูกกำจัดทิ้งด้วยการเผา ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่บรรยากาศ บริษัทจึงหวังว่าความพยายามรีไซเคิลนี้จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้

Unicharm นั้นมีการวิจัยเทคโนโลยีดังกล่าวมานาน โดยมีนวัตกรรมดึงเอาเส้นใยในผ้าอ้อมสำเร็จรูปกลับมาทำความสะอาดเพื่อใช้ใหม่ พร้อมรับรองความสะอาดถูกสุขอนามัย และบริษัทเริ่มมีการทดลองรีไซเคิลด้วยนวัตกรรมนี้ที่จังหวัดคาโกชิม่ามาตั้งแต่ปี 2016

สาเหตุที่ Unicharm สนใจรีไซเคิลผ้าอ้อมสำเร็จรูป เป็นเพราะสังคมผู้สูงอายุของญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนชราสูงขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้การเก็บและรีไซเคิลสินค้านี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง โดยบริษัทหวังว่าจะสามารถขยายเครือข่ายรีไซเคิลนี้ให้ได้เร็วที่สุด ผ่านความร่วมมือกับภาครัฐประจำท้องถิ่นต่างๆ

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปของ Unicharm แบรนด์ที่คนไทยรู้จักเนื่องจากมีจำหน่ายในประเทศ เช่น ผ้าอ้อมเด็กมามี่โพโค ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ไลฟ์รี่ เป็นต้น

ส่วนการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างไรนั้น บริษัทกล่าวว่า อยู่ระหว่างพัฒนาสินค้าใหม่ที่จะใช้เส้นใยหลังรีไซเคิลนี้ได้อยู่

Source

]]>
1303038
สวยด้วย ได้ช่วยโลกด้วย! Google ดีไซน์ “เคสมือถือ” จากขวดพลาสติกรีไซเคิล https://positioningmag.com/1291465 Thu, 06 Aug 2020 17:47:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291465 Google ออกผลิตภัณฑ์ล่าสุดในธีมการใช้พลาสติกรีไซเคิลในสินค้า เป็นผลิตภัณฑ์ “เคสมือถือ” สำหรับโทรศัพท์รุ่น Pixel โดยผลิตจากขวดพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยผ้า ช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่ (กำลังจะ) ล้นโลกในไม่ช้า

แม้ว่าเราจะพยายามใช้ซ้ำถุงพลาสติกเมื่อไปซูเปอร์มาร์เก็ต บางคนอาจจะพยายามรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์จากการทานอาหารแบบซื้อกลับบ้าน แต่พลาสติกก็ยังซ่อนตัวอย่างโจ่งแจ้งในสายตาเรา ตั้งแต่สายชาร์จคอมพิวเตอร์ไปจนถึงรีโมตของสารพัดอุปกรณ์ ทุกๆ ปี ขยะพลาสติกปริมาณ 10 ล้านตันจะเกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ และมีสัดส่วนน้อยมากที่ไปสู่วงจรการรีไซเคิล

เหตุผลนี้ทำให้ดีไซเนอร์ผลิตภัณฑ์ที่ Google พยายามจะสวนกระแสการใช้พลาสติกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการหลอมรวมพลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่ Nest ลำโพงขนาดเล็ก จนถึงตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ Pixel ขณะที่สัปดาห์นี้ Google เปิดตัว “เคสมือถือ” สำหรับใช้กับเครื่อง Pixel ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 70%

เคสมือถือผิวสัมผ้าทวีด แต่แท้จริงแล้วทำมาจากพลาสติกรีไซเคิล (Photo : Google)

มิเกล แฮร์รี่ หัวหน้าทีมดีไซเนอร์เคสมือถือชิ้นนี้กล่าวว่า ขวดพลาสติก 2 ขวดสามารถผลิตเป็นเคสพลาสติกรีไซเคิลได้ถึง 5 ชิ้น โดยทีมของเขาเลือกที่จะแปลงขวดพลาสติกออกมาเป็นเส้นใย ก่อนนำมาทำเป็นเคสผิวสัมผัสผ้าอย่างที่เห็น

ลักษณะของเคสแทบนึกไม่ถึงเลยว่าทำมาจากพลาสติก เพราะเหมือนกับได้จับผ้าทวีดหรือไหมพรมมากกว่า ภาพรวมดูสวยงามสบายตา ลบภาพจำเดิมๆ ว่าของรีไซเคิลจะดูไม่งาม ตัวเคสผลิตออกมา 3 สีคือ ดำ เทา และแดง โดยมีสีอื่นแทรกเล็กๆ น้อยๆ เหมือนกับผ้าทวีดนั่นเอง

“เราออกแบบให้เคสสร้างอารมณ์สบายๆ” แฮร์รี่กล่าว “เหมือนกับสินค้าทำมือที่จะมีจุดที่ไม่สมบูรณ์แบบ แม้ว่าจริงๆ แล้วมันจะผลิตด้วยเครื่องจักรอย่างเห็นได้ชัดก็ตาม”

(Photo : Google)

 

หลายแบรนด์เร่งนำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ผลิตสินค้า

ขยะที่ถูกทิ้งในบ่อขยะโดยไม่ได้นำไปรีไซเคิลนั้นเติบโตรวดเร็วเท่าๆ กับที่เราเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหม่ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ขยะทั้งหมดบนโลกจะไปแตะ 110 ล้านตัน และ 20% ของจำนวนนี้จะเป็นขยะพลาสติก

ปัจจุบันนี้มีโครงสร้างพื้นฐานในการรีไซเคิลพลาสติกน้อยมาก รวมถึงการผลิตสินค้าพลาสติกพร้อมนำไปรีไซเคิลก็น้อยเช่นกัน โดยมีแบรนด์บางส่วนเท่านั้นที่เพิ่งจะเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ เช่น Samsung, Whirlpool หรือ Philips สำหรับ Google นั้น แฮร์รี่กล่าวว่า ทีมนักออกแบบกำลังเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์รีไซเคิลได้อยู่เช่นกัน และหวังว่าจะได้ออกจำหน่ายจริงเร็วๆ นี้

กว่าที่ผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้จะเป็นมาตรฐานหลักของสังคม กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่นำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน

เมื่อปีที่แล้ว สหประชาชาติ (UN) และ คณะกรรมการยุโรป ได้ออกแคมเปญกระตุ้นความตระหนักรู้ของสังคมระยะ 2 ปี ชื่อว่าแคมเปญ PolyCE ย่อมาจาก Post-Consumer High-tech Recycled Polymers for Circular Economy = โพลีเมอร์รีไซเคิลระดับไฮเทคหลังผ่านการใช้งานของผู้บริโภคเพื่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้แบรนด์ต่างๆ ผลิตสินค้าจากพลาสติกรีไซเคิล และสร้างแรงบันดาลใจฝั่งผู้บริโภคให้อยากจะซื้อสินค้าเหล่านั้น

แฮร์รี่กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้บริโภคต้องตระหนักทราบว่า ผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนนั้นสามารถออกแบบให้ดู “สวยงาม” ได้ด้วย “เราอยากให้ทุกคนรู้ว่า คุณไม่ต้องยอมหยวนๆ ให้กับเรื่องงานดีไซน์เมื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล” แฮร์รี่กล่าว

Source

]]>
1291465
ส่อง 5 เมืองรอบโลก เปิดโครงการรับ “ขวดน้ำ” ใช้แล้ว แลกตั๋วโดยสารรถไฟฟ้า/รถเมล์ https://positioningmag.com/1262843 Sat, 01 Feb 2020 12:37:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262843 ปัญหาขยะล้นโลกโดยเฉพาะขยะพลาสติกนั้นต้องใช้วิธีแก้ปัญหาหลายแบบร่วมกัน ทั้งการลดปริมาณการใช้งาน และพลาสติกใช้แล้วก็ต้องเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลด้วย แต่จะทำอย่างไรเพื่อดึงคนให้เข้าร่วมกระบวนการรีไซเคิลขยะให้มากที่สุด คำตอบของ 5 เมืองเหล่านี้คือ “ให้ผลประโยชน์ตอบแทน” การแยกขยะ ด้วยโครงการ “ขวดแลกตั๋ว”

ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา มีหลายเมืองรอบโลกที่เริ่มโครงการ “ขวดแลกตั๋ว” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจูงใจประชาชนให้ช่วยกันแยกขยะสำหรับนำไปรีไซเคิล คอนเซ็ปต์ในแต่ละเมืองไม่ต่างกันนัก นั่นคือการติดตั้งจุดรับขวดน้ำใช้แล้วไว้ตามสถานีรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ เมื่อผู้โดยสารนำขวดพลาสติกมาเข้าระบบก็จะได้ค่าโดยสารคืนกลับไปใช้งาน

เท่าที่สืบค้นได้ เมืองแรกที่ปรากฏระบบขวดแลกตั๋วคือ “ปักกิ่ง” ประเทศจีน ตามมาด้วย “อิสตันบูล” ประเทศตุรกี “สุราบายา” ประเทศอินโดนีเซีย “โรม” ประเทศอิตาลี และ “กัวยาคิล” เมืองท่าทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอกวาดอร์

เครื่องแลกขวดเป็นตั๋วโดยสารที่อิสตันบูล (photo: Istanbul Metropolitan Municipality)

ประเด็นที่น่าสนใจของการใช้วิธีนี้แก้ปัญหาขยะพลาสติกคือ วิธีนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ประชาชนมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา

“ถ้าคุณใช้เงินจูงใจคนเข้าสู่ระบบรีไซเคิลขยะ แม้แต่ประชาชนที่ไม่มีจิตสำนึกเรื่องรีไซเคิลเลยก็จะเข้าร่วมด้วย” คลอดิโอ เพเรลลิ ชาวเมืองผู้อาศัยอยู่ในกรุงโรม ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Reuters

หรือกรณีเมืองกัวยาคิล ประเทศเอกวาดอร์ ราคาแลกเปลี่ยนขวดกับตั๋วโดยสารรถบัสนั้นได้ราคาดีกว่าการขายขวดให้ศูนย์รีไซเคิลขยะ ทำให้ประชาชนกระตือรือร้นกับวิธีการนี้ โดยสำนักข่าว The Straits Times รายงานว่ามีชาวเมืองวัยเกษียณรายหนึ่งหันมาเดินเก็บขวดที่เป็นขยะตามท้องถนนเพื่อนำไปใช้แลกตั๋ว

 

ต้องใช้กี่ขวดเพื่อแลกตั๋ว 1 ใบ?

เจาะลึกวิธีการใช้ขวดแลกตั๋วโดยสาร แต่ละเมืองมีเรทราคาที่ให้และวิธีการแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น

“ปักกิ่ง” – ใช้ 20 ขวดเพื่อแลกตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน 1 ใบ มูลค่า 2 หยวน (ประมาณ 9 บาท) สามารถแลกได้ที่เครื่องในสถานี

“อิสตันบูล” – 1 ขวดใหญ่ (1.5 ลิตร) แลกเป็นเงินเติมในบัตรโดยสารได้ 6 คูรุส และ 1 กระป๋องอะลูมิเนียมใหญ่ (0.5 ลิตร) แลกเป็นเงินได้ 9 คูรุส ดังนั้นจะต้องใช้ขวดน้ำใหญ่ประมาณ 28 ขวดเพื่อเติมเงินจนได้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 1 เที่ยว มูลค่า 2.6 ลีร่า (ประมาณ 13.6 บาท) สามารถแลกได้ที่เครื่องในสถานี (*บัตรดังกล่าวสามารถใช้ขึ้นรถเมล์ รถราง และเข้าห้องน้ำสาธารณะได้ด้วย)

“สุราบายา” – ใช้ขวดน้ำ 5 ขวด หรือแก้วพลาสติก 10 ใบ เพื่อแลกตั๋วโดยสารรถบัสระยะเวลา 2 ชั่วโมง สามารถแลกได้โดยตรงบนรถบัส

“โรม” – ใช้ขวดน้ำ 30 ขวดแลกเป็นตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน 1 ใบที่เดินทางได้ 100 นาที วิธีการใช้งานต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นสำหรับโครงการขวดแลกตั๋ว เมื่อแลกขวดที่เครื่องแล้วจะได้ตั๋วเข้ามาในแอปฯ สามารถใช้แอปฯ สแกนเข้าระบบรถไฟฟ้าได้เลย ไม่ต้องแลกตั๋วกระดาษอีก

“กัวยาคิล” – ขวดน้ำ 15 ขวดแลกเป็นเงิน 30 เซนต์ โดยผู้บริโภคจะได้รับเป็นเงินสด เงินจำนวนนี้เท่ากับตั๋วโดยสารรถบัส 1 ใบ โดยแลกได้ที่เครื่องในสถานีรถบัส

จะเห็นได้ว่าวิธีการแลกมีตั้งแต่ระบบสุดล้ำของโรม และระบบง่ายๆ ที่ไม่ต้องคิดอะไรซับซ้อนแบบสุราบายา ดังนั้นเรื่องเทคโนโลยีจึงไม่ได้สำคัญเท่ากับการลงมือทำ

 

ทุกบริษัท…เริ่มได้

โครงการขวดแลกตั๋วอาจจะดูเหมือนเป็นงานในอำนาจรัฐหรือบริษัทเดินรถแบบโมเดลในกัวยาคิลหรือโรม แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะอย่างโครงการในปักกิ่งนั้นเกิดขึ้นจากการเริ่มต้นของบริษัทรีไซเคิลขยะ Beijing Incom Resources Recovery ซึ่งติดตั้งเครื่องรับคืนขวดแบบนี้ไปทั่วเมืองปักกิ่ง นอกจากสถานีรถไฟใต้ดินแล้วยังมีในศูนย์การค้าและหน่วยงานราชการด้วย โดยมีเครื่องแบบนี้กระจายไปกว่า 2,200 เครื่องแล้ว

เครื่องแลกขวดเป็นสินค้าและบริการอย่างอื่นซึ่งติดตั้งโดย Incom บริษัทรีไซเคิลขยะของจีน

สำหรับคำถามในใจบางคนที่อาจมองว่า โครงการแบบนี้จะได้ผลแค่ไหน? ใครจะยอมแบกขวดหลายสิบขวดมาเพื่อแลกตั๋วโดยสารใบเดียว

ขอยกตัวอย่างกรณีใน กรุงโรม ซึ่งเริ่มติดตั้งเครื่องแลกขวดในเดือนกรกฎาคม 2019 ผ่านไป 3 เดือน เครื่องเหล่านี้ได้รีไซเคิลขวดไปแล้ว 350,000 ขวด เฉลี่ยมีการนำขวดมาแลกวันละ 20,000 ขวด โดยผู้โดยสารส่วนใหญ่จะนำขวดมาครั้งละ 15-20 ขวด มีผู้โดยสารทำยอดสูงสุดคือแลกไป 3,500 ขวดภายในเวลา 20 วันเท่านั้น! เท่ากับคนๆ นั้นจะได้ตั๋วรถไฟฟ้าไปใช้ฟรีๆ 175 ใบ

ส่วนประเทศไทยนั้น มีบริษัทที่เริ่มดำเนินการเครื่องแลกขวดแบบเดียวกันแล้วบ้างคือ บริษัท รีฟัน จำกัด เป็นเครื่องแลกขวดเป็นแต้ม จากนั้นนำแต้มไปใช้แลกผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ โดยติดตั้งตามคอนโดมิเนียมในเครือแสนสิริ ศูนย์การค้า มหาวิทยาลัย สำนักงาน ส่วนแต้มสะสมนำไปใช้แลกอะไรได้บ้าง ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งเครื่อง

คงจะดีไม่น้อยถ้าเมืองไทยเรามีโครงการ “ขวดแลกตั๋ว” กับเขาบ้าง เพราะการเดินทางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน และจะช่วยดึงคนเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลพลาสติกได้อีกมาก

 

Source:

]]>
1262843
หนุนสังคมรีไซเคิล! “วงษ์พาณิชย์” รับซื้อขวดพลาสติก PET เครือซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ให้ราคาแพงกว่าตลาด https://positioningmag.com/1248083 Mon, 30 Sep 2019 10:55:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248083 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก เป็นสิ่งที่สังคมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องร่วมกันแก้ไข ตั้งแต่กระบวนการผลิตโดยเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลฝั่งผู้บริโภคเองก็ต้องร่วมมือคัดแยกขยะ เพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้ 100%

ปัจจุบัน “คนไทย” สร้าง “ขยะ” ทุกประเภทมีปริมาณถึง 400 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในจำนวนนี้ขยะขวดพลาสติกนำกลับมารีไซเคิลได้ 80% นั่นหมายถึงปริมาณขยะอีก 20% ยังสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม!    

จรณชัย ศัลยพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ SPBT กล่าวว่า การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ขวด PET ตั้งแต่ปี 2012 ของเป๊ปซี่ มาจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกในการบริโภคในสถานที่ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถ “รีไซเคิล” ได้ไม่รู้จบ

นโยบายของเป๊ปซี่โค ทั่วโลกวางเป้าหมาย ปี 2025 ทุกบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มต้องรีไซเคิลได้ 100% เช่นเดียวกับ ซันโทรี่ ที่กำหนดไว้ในปี 2030

จรณชัย ศัลยพงษ์ และ ดร. สมไทย วงษ์เจริญ

หนุนสังคมไทย “รีไซเคิล” ขยะ

สำหรับประเทศไทย SPBT ส่งเสริม “สังคมรีไซเคิล” โดยร่วมมือกับ บริษัท คัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ จำกัด ที่จะรับซื้อขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วของผลิตภัณฑ์ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค” ในราคาสูงกว่าราคาขวด PET ทั่วไป กิโลกรัมละ 1 บาท โดยขวด PET ใส ทั่วไป กิโลกรัมละ 9.40 บาท ส่วนขวด PET ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค กิโลกรัมละ 10.40 บาท

โดย SPBT จะรณรงค์ให้ร้านค้า ร้านอาหาร ที่เป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขวดพลาสติกใช้แล้วของซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เพื่อนำมาขายให้กับ วงษ์พาณิชย์ ซึ่งมีจุดรับซื้อทั่วประเทศ 1,700 จุด เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและนำกลับมารีไซเคิลได้มากขึ้น

“หากคนไทยใส่ใจคัดแยกขวดพลาสติก มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปรีไซเคิล ขวดพลาสติกก็จะไม่กลายเป็นปัญหาที่เรียกว่าขยะอีกต่อไป”

ดร. สมไทย วงษ์เจริญ ผู้ก่อตั้ง บริษัท คัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีขยะ 27.93 ล้านตัน แบ่งเป็นขยะพลาสติกอยู่ราว 2 ล้านตัน เป็นขวดพลาสติก PET จำนวน 330,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น ขวดพลาสติกชนิดขาวใส 280,500 ตันต่อปี ขวดพลาสติกชนิดขาวออกฟ้า 222,500 ตันต่อปี เป็นแผ่นฟิลม์สำหรับทำบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ 45,900 ตันต่อปี

ปัจจุบันการรีไซเคิลพลาสติก PET ในประเทศไทยสามารถจัดการได้ประมาณ 80% ของ PET ทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 20% ต้องถูกนำไปฝังกลบ และบางส่วนก็เล็ดลอดออกสู่สภาวะแวดล้อม จนทำให้ปัญหาขยะพลาสติกเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมลำดับต้นๆ ของโลก

ดังนั้นหากผู้ประกอบการและผู้บริโภคร่วมมือกันคัดแยกขยะอย่างจริงจัง เพื่อนำอีก 20% กลับเข้าสู่วงจรรีไซเคิลได้อย่างเป็นระบบ จะสามารถลดปริมาณขยะที่ได้นำไปฝังกลบ และเล็ดลอดออกสู่สภาวะแวดล้อมไปได้มาก และเป็นการสร้างสังคมรีไซเคิลให้กับประเทศไทย โดยวงจรชีวิตของขวด PET สามารถนำมารีไซเคิลได้อย่างไม่รู้จบ.

]]>
1248083
เลิกใช้โฟมทุกสาขา 2,000 แห่ง “เทสโก้ โลตัส” ขอลดขยะเป็นศูนย์ เป้าหมายต่อไป “หลอด-ถุง” https://positioningmag.com/1232256 Thu, 30 May 2019 07:55:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232256 ปัญหาขยะล้นทะเลที่ประเทศไทยครองอันดับ 6 ของโลกอยู่ในขณะนี้ ทำให้สัตว์ทะเลล้มตายจำนวนมาก เป็นภาพที่สะเทือนใจ สร้างแรงกระเพื่อมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน “ลดขยะ” โดยกำหนดเป็นวาระชาติ เพื่อ “สละตำแหน่ง” ประเทศที่มีขยะในทะเลเยอะติดอันดับโลก

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม วันนี้ปัญหา “ขยะ” อยู่ในขั้นวิกฤติของสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยสร้างขยะ 27.82 ล้านตันต่อปี หรือ 76,219 ตันต่อวัน เฉลี่ยประชากรไทยสร้างขยะวันละ 1.15 กิโลกรัมต่อคน

ขยะโฟมและพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยใช้ถุงพลาสติกหิ้ว 45,000 ล้านใบต่อปี บรรจุภัณฑ์โฟม 6,700 ล้านชิ้นต่อปี แก้วและขวดพลาสติก 9,570 ล้านใบต่อปี ขยะทั้งหมดต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายนาน ขยะโฟมต้องใช้เวลาถึง 450 ปี

และปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกธุรกิจมีส่วนร่วมกันสร้างขยะ รวมทั้ง “ค้าปลีก” แหล่งจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในปัจจุบัน

สลิลลา สีหพันธุ์

เทสโก้โลตัส “เลิก” ใช้โฟม

สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า เทสโก้ โลตัส เป็นค้าปลีกรายแรกที่เริ่มรณรงค์ให้ลูกค้าลดการใช้ถุงพลาสติกหิ้วใส่ของครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อน ด้วยการให้รางวัลเป็นแต้มคลับการ์ด เพื่อนำมาใช้ลดราคาสินค้า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลดขยะถุงได้ 180 ล้านใบ แจกแต้มไปแล้ว 5,690 ล้านแต้ม

แต่ต้องยอมรับว่ากระแสการลดขยะพลาสติก เริ่มกระจายตัวเป็นวงกว้างในปีที่ผ่านมา จากปัญหาสัตว์ทะเลล้มตาย จากการกินขยะเข้าไป จึงเกิดความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคที่ร่วมมือกันลดขยะ ด้วยการไม่รับถุงพลาสติกจากการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกมากขึ้น ในปี 2561 ลูกค้าเทสโก้ โลตัสช่วยกันลดถุงพลาสติกได้จำนวน 32 ล้านใบ และช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ลดถุง 10 ล้านใบ

มาตรการ “ลดขยะ” ปีนี้มุ่งไปที่ “แพ็กเกจจิ้ง” ของเทสโก้ โลตัส ภายใต้ “กลยุทธ์ 3R” คือ Redesign Reduce Recycle   

กลยุทธ์ Redesign ที่สำคัญปีนี้ คือ ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดใช้ทรัพยากร เริ่มจากการ “ยกเลิก” ใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ทำจาก “โฟม” ทุกชนิดในทุกสาขา จำนวน 2,000 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป จะทำให้ลดการใช้โฟมลงได้  51 ตันต่อปี หรือ 11.24 ล้านชิ้นต่อปี

“นโยบายเลิกใช้โฟม เพื่อทำให้ขยะโฟมเป็นศูนย์ จากเดิมใช้บรรจุภัณฑ์โฟมกว่า 11 ล้านชิ้นต่อปี ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดขยะและทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ลดใช้พลาสติก

หลังจากเลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟมในกลุ่มเนื้อสัตว์ตัดแต่งและผลไม้พร้อมทานแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ ถาดเธอร์โมฟอร์ม (Thermoform) ขึ้นรูปจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งถูกนำมาใช้แทนถาดโฟม ถาดพลาสติก และฟิล์มแบบเก่า

การใช้ถาดเธอร์โมฟอร์มช่วยลดใช้พลาสติกปีละกว่า 400 ตัน หรือเทียบเท่าขวดน้ำพลาสติกขนาด 600 มิลลิลิตรจำนวน 26.6 ล้านขวด เมื่อเทียบกับถาดพลาสติกแบบเก่าที่เคยใช้ เป็นการช่วยลดขยะจากอาหารอีกทางหนึ่ง การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ มีต้นทุนเพิ่มประมาณ 10% แต่ยังยืนยันสินค้าราคาเดิม ไม่มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด

นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับ SCG จัดมุมสินค้า Green Corner จำหน่ายบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบรนด์เฟสท์ (Fest) เพื่อให้ลูกค้าทั้งผู้บริโภคทั่วไป รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้า มีทางเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แจกแต้มเพิ่มจูงใจลดใช้ถุง

กลยุทธ์ Reduce มุ่งเป้าลดการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยทยอยเปลี่ยนสาขาให้เป็นร้านค้าปลอดถุงพลาสติก เริ่มจากร้านค้าเอ็กซ์เพรส ที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย 5 สาขา คือ นวมินทร์, แอมพาร์ค, ซอยมัณฑนา, สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น และจามจุรีสแควร์ ในเดือน ก.ค.นี้จะมีร้านค้าปลอดถุงพลาสติกเพิ่มอีก 3 สาขาบนเกาะช้าง

ทุกวันที่ 4 ของเดือน เทสโก้ โลตัสทั้ง 2,000 สาขาทั่วประเทศงดให้ถุงพลาสติก โดยใช้ถุงกระดาษใส่ของให้แทน ซึ่งมาจากการนำกล่องกระดาษสินค้าไปใช้แปรรูปเป็นถุงกระดาษ รวมทั้งจำหน่ายกระเป๋าผ้าและถุงแบบใช้ซ้ำ มาเป็นอีกตัวเลือกใส่สินค้า จำหน่ายราคาเริ่มต้น 39 บาท โดยลูกค้าที่ไม่รับถุง จะได้แต้มคลับการ์ด 50 แต้มทุกวันที่ไม่รับถุง ซึ่งเป็นการแจกแต้มเพิ่มขึ้นจาก 25 แต้มในปีที่ผ่านมา

นโยบาย Bring Your Own Containers ให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารแทนการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว ในแผนกสลัดบาร์และเบเกอรี่ทุกสาขา ในสาขาเอ็กซ์เพรสและศูนย์อาหาร ลูกค้าที่นำแก้วน้ำส่วนตัวมาใส่น้ำอัดลม ชา กาแฟ และน้ำสมุนไพรได้เช่นกัน ซึ่งจะได้รับแต้มคลับการ์ด 50 แต้ม

“หลังจากนโยบายเลิกใช้โฟม เป้าหมายต่อไปจะสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคเพื่อร่วมกันลดขยะหลอดและถุงพลาสติกให้เป็นศูนย์ในอนาคต”

ในต่างประเทศ เช่น กลุ่มยุโรป มีกฎหมายห้ามร้านค้าปลีกใช้ถุงพลาสติกใส่สินค้า และมีบทลงโทษการใช้พลาสติก ในประเทศไทยเป็นลักษณะการขอความร่วมมือ และค้าปลีกกระตุ้นด้วยการให้รางวัลแทน เพื่อสร้างการรับรู้และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตั้งตู้ Recycle ขวดพลาสติก-กระป๋อง

ส่วนกลยุทธ์ Recycle เป็นการการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับเข้าระบบปิดเพื่อนำไปรีไซเคิล โดยเทสโก้ โลตัสได้ติดตั้งตู้เครื่องรีไซเคิลขวดพลาสติกและกระป๋อง เริ่มที่ 10 สาขา ให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วมาคืนเพื่อนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลต่อไป โดย SCG จะนำขวดพลาสติกไปรีไซเคิลเป็นถุงผ้า เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

กลยุทธ์ 3R ที่เทสโก้ โลตัสนำมาใช้เป็นนโยบายที่มุ่งสู่การสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed loop packaging system) ทั้งการเลิกใช้โฟม นำขยะมารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเทสโก้ อังกฤษ มีเป้าหมายให้ เทสโก้ ทั่วโลกต้องลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ให้ได้ 50% ในปี 2025

ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการลดขยะและนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริโภคในการลดใช้และนำขยะมารีไซเคิล เพื่อช่วยกันทำให้ประเทศไทยปลอดขยะและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม.

]]>
1232256