ร้านสเต็ก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 06 Dec 2022 13:42:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Sizzler แก้โจทย์ “สลัดบาร์” เพิ่มของตามเสียงเรียกร้อง กลยุทธ์ปีหน้าเน้นสเต๊ก “พรีเมียม” มากขึ้น https://positioningmag.com/1411288 Tue, 06 Dec 2022 11:53:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411288
  • หลังผ่านโควิด-19 มาได้ “Sizzler” ยังต้องเผชิญอีกหนึ่งปัญหาคือ เสียงตำหนิ’ จากลูกค้ากับความหลากหลายบน “สลัดบาร์” ที่ลดลง แต่บริษัทไม่นิ่งนอนใจ นำ feedback มาปรับแก้ไขสลัดบาร์ให้หลากหลายขึ้นแล้ว
  • ขณะที่กลยุทธ์ปีหน้าจะได้เห็นเมนูสเต๊ก “พรีเมียม” มากขึ้น จากเทรนด์ผู้บริโภคนิยมอาหารชั้นเลิศ สอดคล้องกับทิศทางบริษัทต้องการดึงลูกค้ากลุ่มทานเพื่อการเฉลิมฉลองเข้ามาให้บ่อยขึ้น
  • “กรีฑากร ศิริอัฐ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการเงิน บมจ.ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป และ “อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด ร่วมกันแถลงผลการดำเนินงาน Sizzler ในช่วงที่ผ่านมาและแผนปีหน้า

    กรีฑากรสรุปภาพรวมก่อนว่า ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัวหลังผ่านพ้นโควิด-19 จากไตรมาส 1 สถานการณ์ยังไม่ดีนักเพราะมีการระบาดต่อเนื่อง แต่เข้าไตรมาส 2 เริ่มกลับมาทรงตัว และไตรมาส 3 ดีขึ้นอย่างชัดเจน เชื่อว่าไตรมาส 4 จะยิ่งเติบโตขึ้นอีกเพราะเป็นหน้าเทศกาลเฉลิมฉลอง

    จนถึงสิ้นปีนี้ Sizzler จะมีสาขาครบ 61 สาขา ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปคือสาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ขณะที่ปี 2566 จะเปิดสาขาใหม่เพิ่ม 4-5 สาขา ที่คาดว่าจะเปิดแน่นอนแล้วคือ สาขาเซ็นทรัล รามอินทรา (หลังรีโนเวต) และจังซีลอน ภูเก็ต

    “กรีฑากร ศิริอัฐ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการเงิน บมจ.ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป และ “อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด

    ด้านการเปิดสมัครสมาชิก e-Member ผ่านทาง LINE ซึ่งเพิ่งเริ่มปีนี้ ปัจจุบันมีสมาชิกแล้ว 200,000 ราย และตั้งเป้าปีหน้าจะเติบโตเป็นเท่าตัว

    โดยสรุปแล้วกรีฑากรคาดว่า รายได้ของ Sizzler ปี 2566 น่าจะโตได้แบบ ‘ดับเบิลดิจิต’ จากไตรมาส 1-2 ที่จะกลับมาทำยอดขายได้เต็มที่ ต่างจากปีนี้ที่ยังมีผลกระทบของโควิด-19 อยู่

     

    แก้ดราม่า “สลัดบาร์” ลงของแบบจัดเต็ม!

    ก่อนหน้านี้ Sizzler เคยเผชิญกับเสียงวิจารณ์จากลูกค้าว่า “สลัดบาร์” มีชนิดอาหาร/วัตถุดิบให้เลือกน้อยลง จนทำให้แฟนคลับร้านผิดหวัง เพราะสลัดบาร์ถือเป็นจุดขายสำคัญของร้าน ซึ่งอนิรุทร์กล่าวว่า ร้านไม่ได้นิ่งนอนใจและมีการแก้ไขแล้ว

    Sizzler สลัดบาร์
    สลัดแบบมิกซ์สำเร็จของ Sizzler

    เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ร้านมีการปรับแก้สลัดบาร์ให้กลับมามีอาหารหลากหลายคุ้มค่ามากกว่าเดิม โดยมีการเพิ่มตัวเลือกบาร์ซุปจาก 5 อย่างเป็น 6 อย่าง เพื่อให้ร้านสามารถลงเมนูซุปใหม่หมุนเวียนทุก 2 เดือนได้ รวมถึงเพิ่มสลัดมิกซ์สำเร็จจาก 3 อย่างเป็น 7 อย่าง จากคำติชมของลูกค้าที่ชอบสลัดสำเร็จของร้านมากกว่าตักผสมเอง

    “เรารับฟังลูกค้าว่าต้องการอะไร และเรามีการปรับตัวเร็วตาม feedback” กรีฑากรกล่าวเสริม “ตัวอย่างเช่น ลูกค้าตำหนิเราเยอะมากเรื่องซุปต้มยำหายไป ลูกค้าไม่พอใจมากเพราะทานเมนูนี้มานาน ปัจจุบันเรานำซุปต้มยำกลับมาให้เหมือนเดิม”

    อีกส่วนที่ Sizzler ขอชี้แจงคือเรื่อง “ราคา” สลัดบาร์ (กรณีไม่สั่งสเต๊กจานหลัก) ปัจจุบันยืนราคา 199 บาททุกวัน เป็นการ ‘ยกเลิกโปรโมชัน’ ที่เคยมีมานานนั่นคือโปรฯ สลัดบาร์ 139 บาทวันจันทร์-ศุกร์ แต่ร้านได้นำระบบ e-Member เข้ามาช่วยในส่วนนี้ หากลูกค้าสมัครสมาชิกระดับ Green Member (สมัครฟรี) จะได้สิทธิซื้อสลัดบาร์ในราคาลดเหลือ 159 บาท จนถึง 31 มีนาคม 2566

    “จากการเพิ่มชนิดอาหารในสลัดบาร์และการมี e-Member ช่วยลดราคา ล่าสุดทำให้ลูกค้าสมัคร e-Member มากกว่า 50,000 รายภายในเดือนเดียว และ feedback บนโลกออนไลน์ปรับดีขึ้น มีการบอกต่อว่าซุปและสลัดที่ลูกค้าชื่นชอบกลับมาแล้ว” อนิรุทร์กล่าว “รวมถึงลูกค้ามองว่ารับได้ที่ราคาสลัดบาร์จะเพิ่มขึ้นบ้างจากช่วงที่เคยจัดโปรฯ ถ้าอาหารจะมีหลากหลาย สดใหม่ และคุณภาพดี”

     

    เน้นเมนูสเต๊ก “พรีเมียม” ตามเทรนด์ผู้บริโภค

    อนิรุทร์กล่าวต่อถึงทิศทางปี 2566 ว่า จากการศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคช่วงนี้พบว่า ผู้บริโภคทั่วโลกนิยมอาหารที่มีความ “พรีเมียม” หรือ “สเปเชียลตี้” มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิกมีเทรนด์นี้สูงยิ่งกว่าภูมิภาคอื่นๆ จะเห็นได้ว่ายุคนี้เนื้อระดับพรีเมียมอย่าง “เนื้อวากิว” ทำยอดขายได้ดี

    ทำให้ Sizzler จะมีการผลักดันเมนูสเต๊กระดับ “พรีเมียม” ให้มากขึ้น โดยจะเป็นเมนูระดับราคาประมาณ 800 บาทต่อจานขึ้นไป

    “สเต็กเนื้อไพร์มริบ” (Grilled Sous Vide Beef Prime Ribs) ในราคา 2,899 บาท สำหรับ 2 ท่าน เป็นเนื้อนำเข้าจากออสเตรเลียขนาด 800 กรัมต่อจาน

    กลยุทธ์นี้จริงๆ แล้วเริ่มชิมลางตั้งแต่ปีนี้ เพราะช่วงเทศกาลปลายปีร้านได้ออกเมนูสุดพิเศษ ตัวอย่างเช่น “สเต๊กเนื้อไพร์มริบ” (Grilled Sous Vide Beef Prime Ribs) ในราคา 2,899 บาท สำหรับ 2 ท่าน เป็นเนื้อนำเข้าจากออสเตรเลียขนาด 800 กรัมต่อจาน ที่ลูกค้าจะต้องสั่งจองล่วงหน้าเท่านั้น

    การผลักดันเมนูพิเศษแบบนี้ยังตรงกับทิศทางปีหน้าของ Sizzler ที่จะเน้นเจาะลูกค้ากลุ่มทานเพื่อสังสรรค์เฉลิมฉลองให้มากขึ้นด้วย

    อนิรุทร์กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้า Sizzler จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ลูกค้าทานตามวาระเฉลิมฉลอง (Occasions) ซึ่งมักจะมาทานไม่บ่อย แต่ใช้จ่ายสูง และ 2.ลูกค้าทานประจำ (Regular) มักจะเป็นพนักงานออฟฟิศซึ่งแวะมาทานเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เลือกทานมื้อกลางวัน และจะใช้จ่ายไม่สูงมาก ซึ่งร้านดึงลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยเมนู Value Meal ราคาประหยัด

    หากจะดึงลูกค้ากลุ่ม Occasions เข้ามาให้มากขึ้นก็ต้องโปรโมตให้ลูกค้าเลือก Sizzler ได้หลากหลายวาระมากขึ้น และมีเมนูพิเศษเป็นจุดดึงดูดซึ่งร้านจะมีการนำเสนอทุกๆ 2 เดือน “เราต้องทำการตลาดให้ลูกค้ารู้มากขึ้นว่า Sizzler มีเมนูสเต๊กใหม่ๆ รอให้มาชิมอยู่” อนิรุทร์กล่าวปิดท้าย

    ]]>
    1411288
    “ซานตา เฟ่” รุกโมเดลใหม่ เปิด “ซานตาเฟ่ อีซี่” บริการด่วนทันใจ ปักหมุดนอกศูนย์การค้า https://positioningmag.com/1326275 Fri, 02 Apr 2021 11:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326275

    หลังจากที่ “ซานตา เฟ่” ร้านสเต๊กชื่อดังได้เข้ามาอยู่ภายใต้ชายคาของบริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ในเครือสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ดูเหมือนว่าจะมีการเคลื่อนไหว และนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ ล่าสุดได้เปิดตัวโมเดลใหม่ “ซานตา เฟ่ อีซี่” เน้นบริการด่วนทันใจ ปักหมุดโลเคชั่นนอกศูนย์การค้า

    ชูจุดเด่นด้วยบริการ Self Service ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมือง

    ต้องบอกว่าธุรกิจร้านอาหารในยุคนี้ มีเพียงแค่หน้าร้านอย่างเดียว โมเดลเดียวคงไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงผู้บริโภค จึงได้เห็นการพัฒนาสู่บริการเดลิเวอรี่ รวมถึงการแตกไลน์โมเดลใหม่ๆ ทำเลใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้นเช่นกัน เทรนด์ของร้านอาหารจึงมีขนาดเล็กลง แต่คล่องตัวขึ้นนั่นเอง

    หลายคนคงคุ้นเคยกับแบรนด์ “ซานตา เฟ่” ซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทสเต๊ก และอาหารสไตล์ตะวันตกสัญชาติไทย ซึ่งได้เข้ามาอยู่ในเครือของ บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ตั้งแต่ปี 2562 แล้ว แม้แบรนด์จะมีอายุ 17 ปีแล้ว แต่ยังมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เมนูใหม่ๆ อยู่เสมอ

    ล่าสุดได้เปิดตัวโมเดลร้านรูปแบบใหม่ “SANTA FE’ EASY” (ซานตาเฟ่ อีซี่) ยึดทำเลศูนย์การค้าขนาดเล็กอาคารสำนักงาน ปั๊มน้ำมัน เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็ว รองรับการเติบโตของร้านอาหารในเซ็กเมนต์ QSR (Quick Service Restaurant) หรือร้านอาหารบริการด่วน

    โมเดลนี้จะเน้นบริการแบบ Self Service นั่นคือเป็นการสั่งอาหาร พร้อมกับจ่ายเงินที่เคาท์เตอร์ มื่อถึงเวลารับอาหารก็มารับที่เคาท์เตอร์เอง เป็นรูปแบบเดียวกับร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดทั่วไป เป็นการพลิกการบริการจากเดิมที่เป็นแบบ Table Service หรือเป็นการที่พนักงานบริการที่โต๊ะนั่นเอง

    เป้าหมายของการสร้างแบรนด์ “ซานตาเฟ่ อีซี่” ขึ้นมาตอบสนองความต้องการในตลาด เพื่อให้ลูกค้าจับต้องได้จริงครบทั้งรสชาติความอร่อย การบริการสะดวกรวดเร็วทันใจ สามารถบริการตนเองได้ ที่สำคัญราคามีความคุ้มค่า

    ปิติ ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด (Food Factors) เปิดเผยว่า

    ในการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท เคที เรสทัวรองท์ฯ (KTR) ร้านซานตา เฟ่ สเต๊ก (Santa Fe’Steak) ซึ่งถือเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่  จากแนวโน้มธุรกิจอาหารในประเทศไทยยังคงมีการเติบโต และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ธุรกิจหมวดหมู่ร้านอาหารบริการด่วน(QSR), ส่งสินค้าถึงบ้าน(Delivery) และสั่งกลับบ้าน(Take Away)เติบโตขึ้นตามไปด้วยด้วยเหตุนี้ซานตา เฟ่มองเห็นโอกาส และช่องว่างทางการตลาด จึงปรับตัวและต่อยอดจากธุรกิจเดิม จนแตกไลน์โมเดลร้านรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อ “SANTA FE’ EASY” (ซานตาเฟ่ อีซี่) ที่เน้นความรวดเร็วในราคาคุ้มค่า”

    ปักหมุดโลเคชั่นปั๊มน้ำมัน คอมมูนิตี้มอลล์

    นบเกล้า ตระกูลปาน กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด (Food Factors)  กล่าวเสริมว่า

    สำหรับกลยุทธ์การตลาดที่จะมาช่วยสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ซานตา เฟ่ ในปีนี้มี 2 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ ขยายฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ด้วยการกระจายการเปิดสาขาไปตามโลเคชั่นใหม่ๆ อีกทั้งยังพัฒนานวัตกรรมและเมนูอาหารเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และ Diversify ธุรกิจหาช่องทางใหม่ คือ การแตกไลน์ธุรกิจ การออกแบรนด์ซานตา เฟ่ อีซี่ จึงถือเป็นการ Diversify แบรนด์ครั้งใหญ่ที่ช่วยในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่และทำให้แบรนด์มีความสนุกเป็นกันเองมากขึ้น

    ทางด้าน คุณสุรชัย ชาญอนุเดช CEO บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด กล่าวว่า

    จากนโยบายและแนวทางจาก บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ นั้น “SANTA FE’ EASY”  (ซานตาเฟ่ อีซี่)  ให้เป็นร้านขนาดเล็ก เน้นเปิดให้บริการผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายภายในศูนย์การค้าขนาดเล็ก หรือคอมมูนิตี้มอลล์, สถานีบริการปั๊มน้ำมัน และอาคารสำนักงาน(ออฟฟิศ) รวมถึงทำเลที่มีผู้บริโภคชื่นชอบ และต้องการร้านอาหารบริการด่วน

    เมื่อเทียบกับร้านซานตา เฟ่ ซึ่งเน้นเปิดให้บริการภายในศูนย์การค้าขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และตั้งอยู่ในบริเวณกลุ่มเป้าหมายที่ชอบการบริการ แบบสั่งอาหารที่โต๊ะแล้วจ่ายเงินภายหลังที่แคชเชียร์

    “ซานตาเฟ่ อีซี่” สาขาแรกตั้งอยู่ที่ไลฟ์เซ็นเตอร์ อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ชั้น G เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมปีที่แล้ว หลังจากเปิดได้ไม่นานก็โดน COVID-19 เล่นงาน และล่าสุดได้ขยายสาขาไปในสถานีบริการน้ำมัน เดอะเรส แอเรียท์ ปตท.ประชาชื่น ตั้งเป้าขยาย 200 สาขาทั่วประเทศภายใน 10 ปีให้ได้

    เปิดตัว “นายสถานี” BRAND PRESENTER เชื่อมโยงความสุขทุกสถานี

    นอกจากนี้ ซานตาเฟ่ ยังได้เปิดตัว Mascot นายสถานี ตัวแทนแบรนด์ ซานตาเฟ่ เพื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพอันดีระหว่างซานตาเฟ่ และลูกค้า ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น พร้อมเสิร์ฟความสุข และต่อยอดการรับรู้ด้วยกิจกรรมสื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าเตรียมพบกับ Mascot นายสถานี ที่ร้านซานตา เฟ่ ทั่วประเทศ เร็ว ๆ นี้ หรือติดตามข่าวสารได้ที่เพจ Facebook Santa Fe’ Steak 

    ปูพรมสู่ขยายแฟรนไชส์

    นอกจากการขยายสู่โมเดลใหม่ๆ ตอบรับกับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ แล้ว ซานตาเฟ่ อีซี่ยังถือว่าเป็นการปูพรมสู่การขยายแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว เนื่องจากรูปแบบร้านที่มีขนาดเล็ก เงินลงทุนต่ำ บริหารจัดการง่าย ทำให้เพิ่มโอกาสในการเปิดร้าน เสิร์ฟความอร่อยของสเต๊กสไตล์เฉพาะตัวของซานตาเฟ่ อีซี่ ให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

    คาดการณ์ว่าจะมีการเปิดแผนแฟรนไชส์ในช่วงปลายปี 2564 และเริ่มขายแฟรนไชส์ในปีหน้า

    ปัจจุบันซานตา เฟ่ ดำเนินธุรกิจอาหารมานานกว่า 17 ปี มีสาขาให้บริการกว่า 114 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งแบรนด์ซานตา เฟ่ถือว่าเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของฟู้ด แฟคเตอร์ ที่จะช่วยสร้างการเติบโตได้อีกมหาศาล

     

    ]]>
    1326275
    มิติใหม่ของ Sizzler แบบ New Normal สลัดบาร์ที่ต้องสั่งจากพนักงานแทนการตักเอง https://positioningmag.com/1280652 Tue, 26 May 2020 15:53:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280652 Sizzler เปิดมาตรการความปลอดภัยเมื่อรับประทานอาหารภายในร้าน โดยมีการเปลี่ยนการให้บริการสลัดบาร์จากที่ลูกค้าต้องบริการตัวเอง เป็นการสั่งกับพนักงาน เพื่อลดการสัมผัส พร้อมกับการปรับเมนูให้เข้ากับสถานการณ์ด้วย

    ลดการสัมผัส ต้องสั่งจากพนักงาน

    หลังจากมีมาตรการคลายล็อกเฟสที่ 2 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา ให้ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้าเปิดให้บริการได้ รวมถึงร้านอาหารภายในศูนย์ด้วย แต่ต้องเป็นไปตามมาตรการความปลอดภัย ซึ่งทำให้แต่ละร้านต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อรับกับการทำ Social Distancing

    ร้าน Sizzler เป็นอีกหนึ่งร้านที่มี “สลัดบาร์” เป็นไลน์อาหารแบบบุฟเฟต์ ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์ เพราะยังไม่สามารถเปิดไลน์บุฟเฟต์ได้ เนื่องจากมีการสัมผัสภาชนะต่อๆ กัน จึงต้องใช้วิธีการสั่งกับพนักงาน

    กลายเป็นมิติใหม่ของการทานอาหาร ที่ทางร้านเองก็ต้องปรับลดจำนวนโต๊ะ และที่นั่งลง เพราะสามารถรองรับที่นั่งได้สูงสุดแค่ 70 ที่นั่ง จากปกติ 251 ที่นั่ง ให้มีความห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และอาหารทุกอย่างต้องให้พนักงานเสิร์ฟเท่านั้น

    นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด

    “ในช่วงที่มีการปิดร้านต้องมีการปรับตัวเยอะมาก เพราะรายได้ส่วนใหญ่ 90% มาจากการทานในร้าน แม้เดลิเวอรี่จะเปติบโตแต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้เท่าเดิม พอตอนนี้กลับมาเปิดได้อีกครั้ง ก็ต้องมีการปรับทุกขั้นตอนใหม่หมด ต้องทำตั้งแต่ในครัว เปลี่ยนถุงมือ การทำความสะอาด มีบิ๊กคลีนนิ่งทุกวัน ทำความสะอาดโต๊ะ และเมนูอยู่ตลอด”

    การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ สลัดบาร์ที่ต้องให้พนักงานเป็นคนตักให้ โดยทางร้านจะวางกระดาษเมนูไว้บนโต๊ะ ให้ลูกค้าเลือกสิ่งที่ต้องการ แล้วพนักงานจะตัมาเสิร์ฟให้ที่โต๊ะ แน่นอนว่าลูกค้าบางคนอาจจะรู้สึกแปลกๆ ไปบ้าง เพราะเวลาตักเองจะสามารถกะปริมาณ และเลือกสิ่งที่ชอบได้ตามใจ

    “สลัดบาร์เป็นความท้าทายที่สุดของช่วงนี้ จะมีการปรับปรุงเรื่อยๆ ในตอนแรกจะตั้งไลน์สลัดในครัว แล้วตักมาให้ลูกค้า แต่วันต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนมาวางที่บาร์ ช่วงแรกมีปัญหาเรื่องการเสิร์ฟช้าบ้าง แต่ 80 90% ของลูกค้าก็พอใจ ยังมีประมาณ 5% ที่รู้สึกไม่อิสระ อยากได้อย่างอื่นเพิ่ม หรืออยากทานตามสูตรตัวเอง มีการเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ”

    เมนูสลัดบาร์จะมีการปรับลดลงไปบ้าง เพราะต้องมีการจัดการสต๊อก จากปกติมี 50 รายการ แต่ตอนนี้มี 30 รายการ แต่เป็นการเลือกจากเมนูที่ลูกค้าชอบมากที่สุด นงชนกได้บอกว่า อาจจะมีการเพิ่มเรื่อยๆ ได้จากการรีเควสของลูกค้าที่อยากได้อันนี้บ้าง อยากเพิ่มอันนี้บ้าง

    ปรับเมนูให้เหมาะกับสถานการณ์

    ในช่วงปีที่ผ่านมา Sizzler ได้พยายามปรับตัวหลายๆ อย่าง ทั้งเมนูที่ต้องทันกับความต้องการชองผู้บริโภคในยุคนี้ มีทั้งเมนู Plant-based Food ที่ทำจากพืช และมีการออกเมนูเพื่อสุขภาพ เพื่อสร้างจุดยืนให้เป็นแบรนด์เฮลท์ตี้มากขึ้น

    แต่ในช่วงที่มีการปิดร้านเนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ ทางร้านก็ได้หันไปโฟกัสที่ตลาดเดลิเวอรี่มากขึ้น และจัดเมนูเพื่อสร้างความคุ้มค่ามากขึ้น และเมื่อเปิดร้านใหม่ก็ได้จัดโปรโมชั่นราคาพิเศษ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่ามากขึ้น

    “ช่วงที่ปิดร้านเราไม่ได้อัดโปรโมชั่นมากมาย แต่โฟกัสที่เดลิเวอรี่ ต้องการให้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพราะบางคนรายได้ลดลง ได้ลดราคาสลัดบาร์เหลือ 139 บาททุกวัน เอาเมนูโปรโมชั่นถูกมาลดอีก และแถมโค้กอีก เราไม่เคยเอาปลากะพงทำเมนูโปรโมชั่น แต่ครั้งนี้เราทำ แถมโค้กรีฟิวอีก ทำให้มื้อนึงคุ้มมาก อยากให้ลูกค้ารู้สึกว่ามาทานแล้วคุ้มค่า”

    ทาง Sizzler ก็ได้ดีไซน์เซ็ตเมนูสำหรับเดลิเวอรี่ ที่ทานได้ 1-2 คน มีทั้งสลัด เซตข้าว และซุป กลายเป็นเซ็ตขายดีสำหรับเดลิเวอรี่ พร้อมกับย้ำว่าไม่มีการขึ้นราคาสินค้าอย่างแน่นอน บางเมนูมีการปรับราคาลงด้วย

    แบรนด์จะอยู่ได้ ต้องมีจุดยืนที่แข็งแรง

    หลังจากที่ศูนย์การค้า และร้านอาหารกลับมาเปิดอีกครั้ง ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ต้องมีวิถีชีวิตใหม่จนกว่าจะมีวัคซีนในการรักษา COVID-19 อย่างจริงจัง ทำให้ร้านอาหารต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น

    นงชนกบอกว่า ความท้าทายต่อจากนี้คือ เรื่องจุดยืนของแบรนด์ ที่ Sizzler ได้ชูความเป็นเฮล์ทตี้แบรนด์ ต้องทานแล้วสุขภาพดี ราคาคุ้ม และต้องอร่อย เป็นโจทย์ที่สำคัญ

    “ตอนนี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง แบรนด์ที่จะอยู่ได้ต้องมีจุดยืนที่แข็งแรง คนจะกังวลเรื่องสุขภาพมากขึ้น เริ่มมองหาอะไรที่ดีต่อสุขภาพ หรืออะไรที่ทำให้แข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน เขาจะเลือกทานสิ่งนั้น เรามีอาหารประเภทนั้นอยู่แล้ว ก็ต้องทำให้มีมูลค่า ทำให้แบรนด์ยังอยู่กับลูกค้า อยากให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี บรรยากาศที่ดี ในราคาที่จ่ายได้” 

    แม้ศูนย์การค้าจะเปิดตามปกติแล้ว แต่รายได้ยังคงไม่เท่าเดิม เพราะคนเดินห้างยังน้อย และจำนวนโต๊ะก็น้อยลง ทำให้ Sizzler ก็ยังคงต้องผลักดันตลาดเดลิเวอรี่ต่อ จากปัจจับันมีสัดส่วนรายได้ 10% ต้องการมีสัดส่วน 30%

    ในส่วนของการลงทุน Sizzler ยังมีแผนขยายสาขาในโมเดล Sizzler to go เป็นโมเดลขนาดเล็ก ในเดือนมิถุนายนจะขยายเพิ่มอีก 4 สาขา เน้นทำเลบนสถานีรถไฟฟ้า อาคารสำนักงาน เพราะมองโอกาสของตลาด Grab & Go ที่จะเติบโตสูงมากขึ้น

    ]]>
    1280652
    เดลิเวอรี่โตแรง! “ซิซซ์เล่อร์” ไทย ปั้นบริการที่แรกในโลก หวังปั๊มยอดขายส่งถึงบ้านโต 3 เท่า https://positioningmag.com/1214207 Thu, 14 Feb 2019 14:24:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1214207 มองดูธุรกิจเดลิเวอรีโตเอาๆ อยู่พักใหญ่ ในที่สุดเชนร้านอาหาร “ซิซซ์เล่อร์” ไทยร้านสเต๊กที่มีสลัดบาร์ในร้านเป็นจุดขาย ของค่ายไมเนอร์ ฟู้ด ยังต้องตัดสินใจลุยให้บริการ “เดลิเวอรี่” ด้วยตัวเอง

    ทั้งนี้ตลาดธุรกิจอาหารทุกประเภทในปี 2561 ประเมินมูลค่าอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท เติบโต 4-5% ขณะที่ตลาดบริการสั่งอาหารออนไลน์ (Food Delivery) ทั้งเชนร้านอาหารและร้านอาหารทั่วไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานปี 2560 มีมูลค่า 2.6-2.7 หมื่นล้านบาท ปี 2561 เติบโตกว่า 12-15%

    โดยการขยายตัวของ “ฟู้ด เดลิเวอรี่” มาจากเทรนด์การใช้บริการของผู้บริโภครุ่นใหม่ และการขยายตัวของผู้ให้บริการขนส่งที่เป็น Third Party ไม่ว่าจะเป็น Grab Food, Line Man, Food Panda, Lalamove ซึ่งทุกรายต่างบอกว่ายังมีทิศทางเติบโต

    บัญญัติ อธิยุตกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป กล่าวว่า ซิซซ์เล่อร์ มองเห็นโอกาสการเติบโตจากธุรกิจเดลิเวอรี่ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ ซิซซ์เล่อร์ ไม่มีบริการเดลิเวอรี่ แต่พบว่ามีลูกค้าโทรมาสั่งซื้อและมารับอาหารเอง รวมทั้งสั่งซื้อจากผู้ให้บริการฟู้ด เดลิเวอรี่รายอื่นๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเดิม 2 ปีก่อนสัดส่วนอยู่ที่ 1-2% ของยอดขาย ปีที่ผ่านมาสัดส่วนเพิ่มเป็น 5%

    ตลอดปีที่ผ่านมา จึงลงมือศึกษาและพัฒนาระบบเดลิเวอรี่ ทั้งแพ็กเกจจิ้ง กระเป๋าเก็บความร้อน เพื่อจัดส่งอาหารประเภทสเต๊ก ที่ยังคงรสชาติเหมือนรับประทานในร้าน พร้อมเสนอไปยังเจ้าของแฟรนไชส์ ซิซซ์เล่อร์ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้บริการเดลิเวอรี่ในประเทศไทย และถือเป็นครั้งแรกในโลกของแบรนด์ซิซซ์เล่อร์ที่ให้บริการเดลิเวอรี่ แม้แต่ร้านต้นกำเนิดซิซซ์เล่อร์ ในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และสาขาอื่นๆ ทั่วโลก ก็ยังไม่มีบริการเดลิเวอรี่

    ดันยอดโต 3 เท่า   

    บริการเดลิเวอรี่ของ ซิซซ์เล่อร์ ใช้เซอร์วิสส่งอาหารของเครือไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป คือ โทร 1112, แอปพลิเคชั่น 1112 Delivery และเว็บไซต์ 1112  ซึ่งเป็นบริการเดลิเวอรี่ร่วมกับธุรกิจอาหารอีก 7 แบรนด์ ในเครือ เช่น เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, สเวนเซ่นส์, แดรี่ ควีน, เบอร์เกอร์ คิง

    ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เป็นโอกาสที่ดี จะเห็นได้ว่าทุกแบรนด์เติบโตหมด เพราะตอบไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคดิจิทัล

    โดยเริ่มให้บริการจัดส่งเดลิเวอรี่ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 25 สาขา ระหว่างเวลา 10.00-21.00 น. การสั่งไม่มีราคาขั้นต่ำ และคิดค่าจัดส่งครั้งละ 50 บาท ลูกค้าสามารถสั่งซื้อจาก 1112 Delivery ทั้ง 3 ช่องทาง ซึ่งมีมอเตอร์ไซค์จัดส่งกว่า 1,000 คัน และสามารถสั่งซื้อจากผู้ให้บริการขนส่งฟู้ด เดลิเวอรี่ รายอื่นๆ ได้เช่นกัน

    หลังให้บริการเดลิเวอรี่ ซิซซ์เล่อร์ วางเป้าหมายยอดขายจากเซอร์วิสดังกล่าวเพิ่มขึ้น 3 เท่าในปีนี้ หรือราว 15%

    หั่นราคาเมนูเดลิเวอรี่

    นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด กล่าวว่าบริการเดลิเวอรี่ของซิซซ์เล่อร์ ช่วงแรกมี 10 เมนู ประเภท หมู ไก่ และปลา โดยไม่มีเมนูเนื้อ เนื่องจากเป็นอาหารที่ต้องควบคุมระดับความสุกของเนื้อแตกต่างกัน

    เมนูจานหลักทั้ง 10 เมนู ราคาจะถูกกว่าการรับประทานที่ร้าน 100-130 บาท เช่น  พอร์คลอยน์ ราคา 199 บาท, ไกย่างสไปซี่ 169 บาท, ปลาบารามันดีย่าง 399 บาท  ส่วนเมนูสลัด สำหรับ 1 คน ราคา 109 บาท และ 2 คน ราคา 159 บาท หากรับประทานที่ร้านราคาอยู่ที่ 149 บาทต่อคน

     

    ราคาเดลิเวอรี่จานหลักที่ลดลง 100-130 บาท เพราะลูกค้าไม่ได้รับประทานสลัด เราจึงตัดราคาส่วนนี้ออกไป เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

    กลุ่มลูกค้าของซิซซ์เล่อร์ ส่วนใหญ่เป็นครอบครัว บริการเดลิเวอรี่จึงมุ่งตอบสนองลูกค้ากลุ่มเดิมเป็นหลัก พร้อมเพิ่มโอกาสฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ต้องการความสะดวก โดยเฉลี่ยยอดซื้อต่อบิลของบริการส่งจะอยู่ที่ 500 บาท ส่วนการรับประทานในร้านจะอยู่ที่ 300 บาทต่อคน ส่วนใหญ่มาเป็นกลุ่มๆ 3-4 คน

    หลังจากปีก่อนใช้กลยุทธ์ลดราคาเมนูจานหลักลง 20-30 บาท เพื่อให้ซิซซ์เล่อร์ เป็นตัวเลือกในการรับประทานอาหารได้ง่ายขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันจากร้านอาหารทุกประเภทไม่เฉพาะร้านอาหารสเต๊กเท่านั้น จึงมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการถี่ขึ้น ปีก่อนจึงเติบโตได้ 15% ปีนี้วางเป้าหมายขยายตัวต่อในอัตราไม่ต่ำกว่า 10%

    ปีนี้ลงทุนเพิ่ม 200 ล้าน

    ถึงแม้จะเพิ่มบริการ “เดลิเวอรี่” ส่งถึงบ้าน แต่บริการที่ “ร้าน” ยังต้องลงทุนต่อเนื่อง จากปัจจุบันซิซซ์เล่อร์มีทั้งหมด 56 สาขา ในกรุงเทพฯ 30 สาขา บัญญัติ บอกว่าปีนี้วางแผนลงทุนเพิ่ม 200 ล้านบาท แบ่งเป็นการขยายสาขาใหม่ 10 สาขา รวม 150 ล้านบาท  แต่ละสาขาใช้พื้นที่ 300 ตารางเมตร ลงทุน 15 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งเป็นขนาดที่ปรับลดลงจากเดิมพื้นที่ 380-400 ตารางเมตร ลงทุน 20 ล้านบาทต่อสาขา โดยเป็นการปรับลดขนาดครัว ปรับฟังก์ชันการใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ปีนี้ยังคงมีการรีโนเวตสาขาเก่าอย่างต่อเนื่องราว 10 สาขา ใช้เงินลงทุนรวม 50 ล้านบาท เพื่อทำให้ร้านเป็นเดสทิเนชั่นของการรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็นร้านที่ตกแต่งสวยงาม มีบรรยากาศที่ลูกค้าชื่นชอบ สำหรับการถ่ายรูปเพื่อโพสต์โซเชียลมีเดีย

    ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการเดลิเวอรี่ การขยายสาขาและการรีโนเวตสาขาเดิม มาจากโจทย์ที่ต้องการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคนี้ เพื่อให้ซิซเล่อร์ที่เปิดให้บริการในไทยมากว่า 30 ปียังคงเป็น “ตัวเลือก” ของลูกค้าต่อไป และสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ ในตลาดเดลิเวอรี่.

    ]]>
    1214207