สงครามการค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 20 Apr 2024 11:56:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สงครามการค้ารอบใหม่กำลังปะทุ จีนขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเคมีจากสหรัฐอเมริกา ตอบโต้กรณีมีแผนขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม https://positioningmag.com/1470446 Fri, 19 Apr 2024 11:59:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470446 จีนได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเคมีภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา โดยเน้นไปยังกรดโพรพิโอนิก เพื่อตอบโต้สหรัฐอเมริกาที่มีแผนจะขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวนี้กำลังอาจกลายเป็นชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ก็เป็นได้

จีนพิจารณาที่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริก ซึ่งภาษีที่จะปรับเพิ่มขึ้นคือเคมีภัณฑ์นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในอาหาร หรือแม้แต่ผลิตสินค้าประเภทยา โดยสินค้าสำคัญที่จะขึ้นภาษีคือกรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) ทำให้เกิดความกังวลว่าสงครามการค้าระลอกใหม่ระหว่าง 2 มหาอำนาจกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง

ภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาที่จีนจะขึ้นก็คือสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ โดยอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งผู้ที่นำเข้าสินค้าดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนเป็นต้นไปจะต้องมีการวางเงินมัดจำไว้ด้วย

ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้มีการสอบสวนเรื่องดังกล่าว โดยชี้ว่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์ โดยเฉพาะกรดโพรพิโอนิกจากสหรัฐอเมริกานั้นส่งผลทำลายอุตสาหกรรมที่ผลิตเคมีภัณฑ์ภายในประเทศ ซึ่งจีนเคยนำเข้าสินค้าดังกล่าวมากถึง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาหลังจากที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เตรียมที่จะขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กรวมถึงอะลูมิเนียมจากจีนเพิ่มเติมโดยให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะปกป้องผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกา และชี้ว่าจีนได้ใช้วิธีผลิตสินค้าดังกล่าวจำนวนมากจนล้นตลาด

นอกจากนี้ยังรวมถึงสหรัฐอเมริกากำลังเตรียมที่จะสอบสวนว่าอุตสาหกรรมการเดินเรือ การขนส่งสินค้า หรือแม้แต่อุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศจีน นั้นใช้ความได้เปรียบด้านอุตสาหกรรม เพื่อที่จะครอบครองตลาดแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือไม่

ทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาเคยมีกรณีสงครามการค้ากันมาแล้วในปี 2018 ซึ่งมี โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำสหรัฐฯ ซึ่งมองว่าจีนเอาเปรียบสหรัฐฯ ในหลายเรื่อง และมีการปรับอัตราภาษีเพิ่มซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะมีการเจรจาซึ่งกันและกัน โดยจีนจะเป็นฝ่ายซื้อสินค้าจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มเติม

ต่อมาความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ลงยังส่งผลมายังปริมาณการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปี 2023 ที่ผ่านมาปริมาณการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจนั้นลดลงเหลือแค่ 17% เท่านั้น และบริษัทในสหรัฐฯ เองก็มีแผนที่จะย้ายกำลังการผลิตออกนอกจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชี้ว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่อง Supply Chain

อย่างไรก็ดีการเปิดสงครามด้านการค้าระหว่างกันอีกรอบได้สร้างความกังวลให้กับองค์กรต่างประเทศอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศแสดงความกังวลในช่วงเวลาหลายปีว่าความขัดแย้งของ 2 มหาอำนาจนี้จะสร้างผลกระทบมหาศาลต่อการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ที่มา – South China Morning Post

]]>
1470446
ปริมาณการค้าสหรัฐฯ กับจีนลดลง 17% ในปี 2023 ที่ผ่านมา ผู้แทนการค้าของแดนมะกันมองว่าถือเป็นเรื่องที่ดี https://positioningmag.com/1464837 Mon, 04 Mar 2024 03:18:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464837 ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงปริมาณการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจ สหรัฐฯ กับจีน ลดลงถึง 17% ในปี 2023 ที่ผ่านมานั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศได้มีการกระจายความเสี่ยง อย่างไรก็ดีหลายฝ่ายมีความกังวลถึงสงครามการค้าอาจกลับมาอีกครั้ง

Katherine Tai ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์กับ BBC ซึ่งเธอกล่าวว่า ปริมาณการค้ากับจีนในปี 2023 ลดลงถือเป็นเรื่องที่ดี แม้ว่าหลายฝ่ายจะกังวลถึงความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจโลกจะกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งกำแพงภาษีด้านการค้า

ในปี 2023 ที่ผ่านมาปริมาณการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนลดลงถึง 17% ซึ่งปริมาณการนำเข้าสินค้าจีนโดยสหรัฐฯ เหลือแค่ 427,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จีนได้นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ แค่ 148,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่านั้น

ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า แม้ปริมาณการค้ากับจีนจะลดลง แต่ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกว่าทั้ง 2 ประเทศมีการกระจายความเสี่ยง ขณะเดียวกันเธอก็มองว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนกำลังได้สร้างแรงกดดันด้านการแข่งขันมากมายทั่วโลก

ก่อนหน้านี้การค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ทำสถิติสูงสุดในปี 2022 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีปริมาณการค้ากลับลดลงเนื่องจากบริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ จำนวนมากย้ายกำลังการผลิตออกนอกประเทศจีน ซึ่งประเทศที่ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว ได้แก่ อินเดีย เม็กซิโก หรือแม้แต่อาเซียน ในหลายประเทศ

ไม่เพียงเท่านี้รวมถึงผลกระทบจากภาษีทางการค้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายเคยเปิดศึกในสมัย โดนัลด์ ทรัมป์ ยังเป็นประประธา นาธิบดีด้วย และยังมีความเสี่ยงว่าถ้าหากเขาได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง อาจมีมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น

ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างทั้ง 2 ย่ำแย่ลงหนักกว่าเดิมเมื่อ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน ได้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกชิป ขณะที่จีนเองก็ได้ออกมาตรการตอบโต้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการงดการส่งออกแร่หายาก หรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิป

นอกจากนี้ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา ยังมองว่า องค์การการค้าโลกเองนั้นจะต้องมีการปฏิรูปยกเครื่องครั้งใหญ่ และเธอชี้ว่าองค์การการค้าโลกนั้นต้องตอบสนองต่อประเทศที่เป็นสมาชิกไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีตั้งแต่เรื่องของการประมงไปจนถึงการการห้ามเก็บภาษี E-commerce ฯลฯ

]]>
1464837
จีนอาจ “แบน” ส่งออกเทคโนโลยี “แผงโซลาร์” ให้ตะวันตก ชะลอการเติบโตอุตฯ พลังงานสะอาด https://positioningmag.com/1417903 Sat, 04 Feb 2023 09:58:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417903 สงครามการค้าเกิดจุดพลิกผันที่คาดไม่ถึง เมื่อรัฐบาลจีนอาจสั่ง “แบน” การส่งออกเทคโนโลยีผลิต “แผงโซลาร์” ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จีนเป็นผู้นำตลาด โดยมีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 75% ของซัพพลายเชนทั่วโลก หากเกิดการแบนขึ้นจริง จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของฝั่งตะวันตกต้องสะดุดและชะลอตัวลง

การแบนส่งออกเทคโนโลยี “แผงโซลาร์” ของจีนเป็นกลยุทธ์ที่เสมือนเป็นการเอาคืนสงคราม “ชิป” ของฝั่งตะวันตก ก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกาพยายามจะทำให้การพัฒนาชิปของประเทศจีนชะลอตัวลง ด้วยการสั่งห้ามส่งออกเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาชิปเซ็ตขั้นสูง

ขณะที่แนวทางของรัฐบาลจีนนั้นยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน แต่สื่อต่างๆ ในจีนรายงานการคาดการณ์ว่า จะมีการห้ามส่งออกเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตองค์ประกอบของแผงโซลาร์ เช่น เวเฟอร์ขนาดใหญ่ แบล็กซิลิคอน แท่งซิลิคอนอินก็อตประสิทธิภาพสูง

ข้อมูลของสำนักงานพลังงานนานาชาติจะระบุว่า จีนเป็นผู้นำในซัพพลายเชนทุกๆ ด้าน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 79% ในภาคการผลิตแผงโซลาร์โพลีซิลิคอน 97% ในการผลิตเวเฟอร์สำหรับผลิตโซลาร์ และ 85% ในการผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิก

ด้านความเคลื่อนไหวของฝั่งตะวันตกนั้น ก่อนหน้านี้มีการผลักดันการผลิตแผงโซลาร์ในบ้านตัวเองให้ได้มากขึ้น รัฐบาลสหรัฐฯ อัดฉีดสิทธิพิเศษทางภาษีให้กับบริษัทที่ต้องการลงฐานผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิกภายในสหรัฐฯ รวมถึงมีโครงการเงินกู้และเงินให้เปล่าจากรัฐในการผลิตโซลาร์ด้วย ส่วนสหภาพยุโรปก็กำลังพิจารณาที่จะทำแบบเดียวกัน

ดังนั้น เมื่อจีนจะตอบโต้ด้วยการสั่งแบนการส่งออกเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต จึงเป็นปัญหาของฝั่งตะวันตก แต่สำนักข่าว Reuters วิเคราะห์ว่า ปัญหานี้ไม่ได้ยากลำบากเสียจนก้าวข้ามผ่านไปไม่ได้ เพียงแต่จะชะลอการพัฒนาของทางตะวันตกให้ช้าลง และใช้ต้นทุนที่แพงขึ้นเท่านั้น เนื่องจากฝั่งตะวันตกเองก็มีหลายบริษัทที่มีสิทธิบัตรด้านเซลล์โฟโตโวลตาอิกและมีความเชี่ยวชาญด้านโซลาร์ เช่น Applied Materials, Enel, NorSun

ต้นทุนการลงทุนผลิตโซลาร์เองนั้นค่อนข้างสูงทีเดียว เพราะจะต้องใช้เงินทุนถึง 1,000 ล้านยูโรสำหรับการเพิ่มกำลังผลิตแผงโซลาร์ทุกๆ 1 กิกะวัตต์ และขณะนี้ยุโรปมีกำลังผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิกแค่ 10 กิกะวัตต์เท่านั้น เทียบกับประเทศจีนที่ผลิตได้ถึง 300 กิกะวัตต์!

เมื่อจีนสกัดกั้นแบบนี้ ต้นทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น และต้องใช้เวลานานขึ้นในการตั้งฐาน จากปกติการเริ่มผลิตโพลีซิลิคอนก็ต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ปีอยู่แล้ว และจะสร้างซัพพลายเชนโซลาร์ให้ได้ครบสมบูรณ์ก็อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น 4 เท่าตัว

Reuters สรุปว่า การสั่งแบนส่งออกเทคโนโลยีโซลาร์ของจีนนั้น จะไม่ทำให้โครงการไปสู่โลกแห่งพลังงานสะอาดของตะวันตกต้องหยุดชะงักงัน แต่จะทำให้เคลื่อนไปได้ช้าลงแน่นอน

Source

]]>
1417903
ไม่ง้อ! ‘ออสเตรเลีย’ ได้ ‘อินเดีย’ ตลาดส่งออกใหม่หลังถูก ‘จีน’ กีดกัน https://positioningmag.com/1335514 Sun, 06 Jun 2021 04:49:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335514 ความตึงเครียดระหว่าง ‘ออสเตรเลีย’ และ ‘จีน’ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากออสเตรเลียสนับสนุนการเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการจัดการกับ COVID-19 ของจีน ส่งผลให้จีนได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย ซึ่งออสเตรเลียก็ไม่ง้อ พร้อมกับมองหาตลาดใหม่เพื่อบรรเทาความเสียหาย

หลังจากที่ออสเตรเลียสนับสนุนการเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ที่มาจากจีนนั้น ทำให้รัฐบาลจีนได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อจำกัดการนำเข้าของออสเตรเลีย ตั้งแต่การเก็บภาษีไปจนถึงการกำหนดข้อห้ามและข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าของออสเตรเลีย เช่น ข้าวบาร์เลย์ ไวน์ เนื้อวัว ฝ้าย และถ่านหิน

โดยรวมแล้ว เป้าหมายในการส่งออกของออสเตรเลียมีมูลค่าประมาณ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 1.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของออสเตรเลีย ตามข้อมูลของสถาบันโลวีในออสเตรเลีย ขณะที่ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่กี่แห่งในโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับจีน เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย

จากปัญหาดังกล่าวนักวิเคราะห์คาดว่า ออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดนี้อย่างเลวร้าย แต่ดูเหมือนว่ามาตรการของจีนอาจไม่ส่งผลเสียต่อออสเตรเลียได้มากอย่างที่คิดซะแล้ว เพราะออสเตรเลียกำลังหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าของประเทศ

“การส่งออกไปยังจีนได้ทรุดตัวลง แต่การค้าที่สูญเสียไปนี้ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะพบตลาดอื่นแล้ว” โรแลนด์ ราจาห์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันโลวีกล่าว

A haul truck is being loaded with dirt and ore at a mine site while another haul truck waits in the foreground.

โดยรวมแล้วการส่งออกของออสเตรเลียไปยังจีนมีหลายสินค้าที่ได้รับผลกระทบยกเว้น ถ่านหิน ที่ทรงตัวตลอดเกือบปี 2020 โดยมีมูลค่าที่ 9 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากหาตลาดส่งออกอื่นเข้ามาทดแทนจีนได้แล้ว ซึ่งสินค้าที่ยังสามารถไปได้ดี ได้แก่ ถ่านหิน, ไม้ซุง, อาหารทะเล และข้าวบาร์เลย์

ภายในเดือนมกราคม 2021 การส่งออกถ่านหินของออสเตรเลียไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลกเพิ่มขึ้น 9.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเมื่อเทียบกับก่อนการสั่งห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังประเทศอินเดีย ผลที่ได้คือ ความขัดแย้งกับจีนไม่ได้ทำลายเศรษฐกิจของออสเตรเลียอย่างที่หลายคนคิด

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังประสบปัญหาก็คือ เนื้อ และ ไวน์ โดยอุตสาหกรรมไวน์ของออสเตรเลียต้องดิ้นรนเพื่อชดเชยการสูญเสียตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดระดับพรีเมียม โดยเมื่อต้นปี จีนได้กำหนดหน้าที่ต่อต้านการทุ่มตลาดสำหรับไวน์ของออสเตรเลียบางประเภท โดยอ้างว่าออสเตรเลียได้ทุ่มตลาดและอุดหนุนการส่งออกไวน์ของตนแล้ว และส่งผลเสียต่อภาคการผลิตไวน์ในประเทศของจีนด้วย

‘จีน’ ยืดเวลาขึ้นภาษี ‘ไวน์’ จากออสเตรเลีย 218% ไปอีก 5 ปี

ส่วนการส่งออกเนื้อที่จีนระงับการนำเข้าจากซัพพลายเออร์เนื้อของออสเตรเลียบางรายนั้น ไม่ได้เกิดจากความตึงเครียดทางการค้ากับจีนเท่านั้น แต่ยังอาจมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาภัยแล้งครั้งล่าสุดด้วยเช่นกัน ขณะที่การส่งออกทองแดงไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก แม้ว่าราคาทองแดงจะสูงขึ้นถึงหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับระดับก่อนเกิดการระบาด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียมีปัญหาในการขนส่งทองแดงด้วย

แม้จะชะลอผลกระทบที่เกิดจากจีน แต่ออสเตรเลียไม่นิ่งนอนใจกำลังตามล่าหาตลาดใหม่ ๆ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับจีนไม่มีสัญญาณของการลดระดับลง โดย Michael McCormack รองนายกรัฐมนตรีกล่าวเมื่อพฤษภาคมว่าประเทศกำลังมองหาการกระจายตลาดของสินค้าในประเทศ

Source

]]>
1335514
‘จีน’ ยืดเวลาขึ้นภาษี ‘ไวน์’ จากออสเตรเลีย 218% ไปอีก 5 ปี https://positioningmag.com/1325405 Mon, 29 Mar 2021 07:22:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325405 ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ระบุว่า ‘ไวน์’ จาก ‘ออสเตรเลีย’ ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่าง 107.1% ถึง 212.1% เป็นการชั่วคราวเพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลแคนเบอร์ราใช้มาตรการทุ่มตลาดกับไวน์ที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอุตสาหกรรมไวน์ของจีน โดยล่าสุดจีนก็ประกาศว่าจะขึ้นอัตราภาษีเป็น 218% และจะใช้ไปอีก 5 ปี

อุตสาหกรรมไวน์ของออสเตรเลียกำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์จีนเรียกเก็บภาษีชั่วคราวในการนำเข้าไวน์ของออสเตรเลียสูงถึง 212% ในเดือนพฤศจิกายนหลังจากการสอบสวนการทุ่มตลาด ล่าสุด รัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศว่าจะขึ้นภาษีนำเข้าไวน์จากออสเตรเลียในอัตรา 116% ถึง 218% ไปอีก 5 ปี

Tony Battaglene ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์องุ่นและไวน์ของออสเตรเลีย กล่าวกับ Bloomberg ว่า จากมาตรการของจีนที่ออกมา ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อขอความช่วยเหลือจากมาตรการคว่ำบาตรทางการค้า ซึ่งจีนถือเป็นตลาดส่งออกไวน์ของออสเตรเลียที่ใหญ่ที่สุด โดยมูลค่าการส่งออกไวน์ไปยังประเทศจีนลดลงเกือบเป็น ‘ศูนย์’ ในเดือนธันวาคมตามสถิติของกลุ่มอุตสาหกรรมไวน์ออสเตรเลีย

(Photo by Xu Congjun/VCG via Getty Images)

ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีนเริ่มย่ำแย่ โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาหลังจากนายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสันเรียกร้องให้มีการสอบสวนระหว่างประเทศเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัส COVID-19 ทำให้สินค้าส่งออกหลายชนิดของออสเตรเลีย อาทิ ไม้, เนื้อวัว ข้าวบาร์เลย์, กุ้งก้ามกราม และถ่านหินบางประเภทเริ่มประสบปัญหาในการเข้าสู่ตลาดจีน

ไม่ใช่แค่การส่งออกที่ทำได้ยากขึ้น แต่ในปี 2020 การลงทุนของจีนในออสเตรเลียลดลงเหลือเพียง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) หรือลดลงถึง 62% เมื่อเทียบกับปี 2019

Source

]]>
1325405
เศรษฐกิจ “จีน” มีแนวโน้มแซงสหรัฐฯ ขึ้นเบอร์ 1 ของโลกในอีก 8 ปีข้างหน้า https://positioningmag.com/1312191 Sat, 26 Dec 2020 13:44:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312191 จีนมีแนวโน้มจะก้าวแซงสหรัฐฯ ขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2028 หรือเร็วกว่าที่ประเมินกันไว้ถึง 5 ปี เนื่องจากระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของสองมหาอำนาจในยุค COVID-19

ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research – CEBR) เผยรายงานประจำปี ระบุว่าการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและการใช้อำนาจละมุน (soft power) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน กลายเป็นธีมของเศรษฐกิจโลกมาสักพักใหญ่ ๆ แล้ว

โรคระบาด COVID-19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาทำให้จีนกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบมากขึ้นในการแข่งขันนี้

CEBR มองว่าทักษะด้านการจัดการโรคระบาดของจีนซึ่งตัดสินใจใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มข้นตั้งแต่แรก รวมถึงการที่ COVID-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวของโลกตะวันตก มีส่วนทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจจีนเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเฉลี่ย 5.7% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2021-2025 ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 4.5 ต่อปีในช่วงปี 2026-2030 ตามการประเมินของ CEBR

ในส่วนของสหรัฐฯ คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวชัดเจนในปี 2021 และมีการขยายตัวเฉลี่ย 1.9% ระหว่างปี 2022-2024 ก่อนจะลดเหลือ 1.6% ต่อปีหลังจากนั้น

ญี่ปุ่นจะยังเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกต่อไปจนถึงต้นทศวรรษ 2030 ก่อนจะถูกแซงหน้าโดยอินเดียซึ่งจะพลอยทำให้เยอรมนีหล่นจากอันดับ 4 ลงไปอยู่ที่ 5 ด้วย

สหราชอาณาจักรซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลกในปัจจุบัน จะร่วงลงไปอยู่อันดับที่ 6 หลังจากปี 2024 เป็นต้นไป

แม้จะได้รับผลกระทบจากการถอนตัวออกจากตลาดร่วมยุโรป แต่ CEBR คาดการณ์ว่าจีดีพีของอังกฤษจะสูงกว่าฝรั่งเศสถึง 23% ภายในปี 2035 โดยได้อานิสงส์จากความเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม CEBR เตือนว่าผลผลิตในเชิงเศรษฐกิจ (output) ของยุโรปซึ่งคิดเป็น 19% ของกลุ่ม 10 มหาอำนาจชั้นนำของโลกในปี 2020 จะร่วงเหลือเพียง 12% ในปี 2035 หรือต่ำกว่านั้น หากเกิดข้อขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอังกฤษกับสหภาพยุโรป

สถาบันแห่งนี้ยังคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากโควิด-19 น่าจะปรากฏในรูปของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นมากกว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

Source

]]>
1312191
Foxconn ย้ายสายผลิต iPad-MacBook จากจีนมาเวียดนาม ลดเสี่ยงสงครามการค้า https://positioningmag.com/1307902 Fri, 27 Nov 2020 06:50:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307902 ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) กำลังย้ายสายประกอบ iPad และ MacBook จากจีนไปยังเวียดนามตามคำร้องของ Apple Inc. หลังบริษัทของสหรัฐฯ พยายามกระจายการผลิตเพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

การพัฒนาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังคณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังจะพ้นวาระ สนับสนุนให้กิจการของสหรัฐฯ ย้ายการผลิตออกจากประเทศจีน และในระหว่างการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ สหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในจีนสูงขึ้น และจำกัดการจัดส่งส่วนประกอบที่ผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีสหรัฐฯ ให้แก่บริษัทจีน โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง

ผู้ผลิตไต้หวัน ที่ระมัดระวังไม่ให้ตกอยู่ในสงครามการค้าดังกล่าว ได้ย้ายหรือกำลังพิจารณาที่จะย้ายการผลิตบางส่วนจากจีนไปยังประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม เม็กซิโก และอินเดีย

ฟ็อกซ์คอนน์กำลังสร้างสายการประกอบสำหรับแท็บเล็ต ไอแพด และแล็ปท็อปแม็คบุ๊ก ที่โรงงานของบริษัทใน จ.บั๊กซยาง (Bac Giang) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม ที่จะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564

“ความเคลื่อนไหวนี้เป็นไปตามคำร้องของแอปเปิล”

ฟ็อกซ์คอนน์ระบุในคำแถลงว่า “ตามนโยบายของบริษัท และด้วยเหตุผลเรื่องความอ่อนไหวทางการค้า เราจะไม่แสดงความคิดเห็นในแง่มุมใดๆ เกี่ยวกับงานของเราสำหรับลูกค้าหรือผลิตภัณฑ์ของพวกเขา” ขณะเดียวกันบริษัทแอปเปิลก็ไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอความเห็นแต่อย่างใด

เมื่อวันอังคารที่ 24 พ.ย. ฟ็อกซ์คอนน์ได้ประกาศการลงทุนมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์ เพื่อตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ชื่อ FuKang Technology Co Ltd ความเคลื่อนไหวที่บุคคลนิรนามกล่าวว่ามีเป้าหมายที่จะสนัสนุนการขยายกิจการในเวียดนาม

ผู้ผลิตจากไต้หวันรายนี้ยังมีแผนที่จะผลิตโทรทัศน์ที่โรงงานเวียดนามสำหรับลูกค้ารายต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริษัทโซนี่ (Sony Corp) ของญี่ปุ่น ที่มีกำหนดเริ่มการผลิตในปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 แต่โซนี่ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

โรงงานในเวียดนามจะยังใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีก เช่น คีย์บอร์ด

การย้ายการผลิตไอแพดมาเวียดนามครั้งนี้จะทำให้ฟ็อกซ์คอนน์ประกอบอุปกรณ์ชิ้นนี้นอกประเทศจีนเป็นครั้งแรก

Source

]]>
1307902
คำสัญญาเเละนโยบายของ “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 ทิศทางใหม่อเมริกา https://positioningmag.com/1305031 Sun, 08 Nov 2020 05:28:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305031 โจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครต เตรียมขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 หลังเฉือนเอาชนะโดนัลด์ ทรัมป์ได้สำเร็จ สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เป็นประธานาธิบดีที่อายุมากที่สุดของสหรัฐฯ คือ 78 ปี

โดยชัยชนะของไบเดน ส่งผลให้คามาลา แฮร์ริส’ (Kamala Harris) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ วัย 56 ปีจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้เป็น Running Mate ของไบเดน จะได้เป็นผู้หญิงคนแรก คนผิวสีคนแรก และคนเชื้อสายเอเชียคนแรก (แม่ของเธอเป็นชาวอินเดีย พ่อเป็นคนจาเมกา) ที่ได้นั่งเก้าอี้ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ

หลังจากที่ทราบผลชนะการเลือกตั้งในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่เป็นรัฐสวิงเตทสำคัญ ทำให้เขามีคะเเนนคณะผู้เลือกตั้งเกินครึ่งที่ 270 ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 ทวิตข้อความว่า

งานต่างๆ ที่รอเราอยู่ข้างหน้า อาจเป็นงานที่ยาก แต่ผมให้คำมั่นกับคุณตรงนี้ว่าผมจะเป็นประธานาธิบดีของชาวอเมริกันทุกคน ไม่ว่าคุณจะโหวตให้ผมหรือไม่ก็ตาม…ผมจะเก็บรักษาศรัทธาที่คุณมีให้กับผม

Photo : twitter @JoeBiden

จากนั้นไบเดนเเละเเฮร์ริส ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแวร์ ระบุว่า นี่คือเวลาแห่งการสมานแผล การเลือกตั้งจบลงแล้ว งานของเราคือการเดินหน้าด้วยการทำดีต่อกัน ด้วยความยุติธรรม และยึดถือหลักวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยพลังแห่งความหวัง”

คามาลา แฮร์ริส ได้กล่าวยกย่องผู้หญิงหลากหลายเชื้อชาติและสีผิวในอเมริกา ที่ช่วยต่อสู้ให้ผู้หญิงผิวสีในอเมริกาได้มีวันนี้ ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ และสิทธิที่จะได้แสดงความคิดเห็นหรือร่วมลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยเธอบอกว่า เด็กผู้หญิงทุกคนที่กำลังดูอยู่ จะเห็นว่านี่คือประเทศแห่งความเป็นไปได้

แม้ว่าฉันจะเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ทำงานนี้ แต่ฉันจะต้องไม่ใช่คนสุดท้าย

โศกนาฏกรรมชีวิตของ “ไบเดน” ถูกนำมาใช้ในการหาเสียงครั้งนี้ด้วย โดยเขาสูญเสียภรรยาคนแรกและลูกสาวคนเล็กจากอุบัติเหตุรถชนเมื่อปี 1972 ส่วนลูกชาย 2 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส ระหว่างนั้นทำให้เขาต้องนั่งรถไฟหลายชั่วโมงต่อวัน จากโรงพยาบาลในรัฐเดลาแวร์ เพื่อเข้าไปที่ทำงานในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก่อนจะพบรักใหม่ในปี 1977 กับ “จิลล์ ไบเดน” ผู้ที่จะมาเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ คนต่อไป

ไบเดน เป็นผู้มีประสบการณ์ในเกมการเมืองมาหลายทศวรรษ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาถึง 7 ครั้ง และลงสมัครเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมาหลายครั้ง ได้ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดีครั้งเเรกในสมัยของ “บารัก โอบามา” ที่ดำรงตำเเหน่ง 2 สมัย

อย่างไรก็ตาม ไบเดน มีข้อครหาเรื่องชอบสัมผัสร่างกายเกินควร เเละถูกกล่าวหาว่าชอบ “ดมผมผู้หญิง” ซึ่งมีคลิปวิดีโอส่อไปในพฤติกรรมดังกล่าวทั้งกับผู้หญิงและเด็ก โดยมีผู้หญิงอย่างน้อย 8 คน ออกมากล่าวหาว่าถูกไบเดนลวนลาม

ตอนที่ไบเดน ประกาศลงสนามเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ เขายืนหยัดต่อสู้เพื่อสองสิ่ง คือผู้คนที่สร้างประเทศนี้ และค่านิยมที่จะประสานรอยร้าวจากการแบ่งแยกในสังคม

รัฐบาลชุดใหม่ ต้องเผชิญความท้าทายหลายอย่าง ทั้งวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ที่สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก ปัญหาความไม่ยุติธรรมทางเชื้อชาติ อัตราการว่างงานที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ การฟื้นฟูเเละปกป้องสิ่งแวดล้อม สิทธิการรักษาพยาบาล และความสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับจีน ที่หลายฝ่ายกำลังจับตา

มาดูนโยบายหลักๆ ของ “โจ ไบเดน” ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนเเละจะผลักดันได้จริงหรือไม่

เศรษฐกิจ

ไบเดนจะเน้นไปที่การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ “คนทำงาน” โดยสนับสนุนให้เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 465 บาท) ต่อชั่วโมง จากอัตราปัจจุบันที่ 7.25 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 225 บาท) ต่อชั่วโมง ซึ่งมาตรการนี้ ถือว่าทำให้เขาได้คะเเนนเสียงจากคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นอย่างมาก

พร้อมมุ่งเพิ่ม “เก็บภาษีผู้มีรายได้สูง” เพื่อนำมาสร้างงานให้กับชนชั้นกลางและล่าง ผ่านการลงทุนด้านบริการสาธารณะ ทั้งอุตสาหกรรม ไอที พลังงานสะอาด โดยการจะขึ้นภาษีจะกระทบกลุ่มประชากรที่มีรายได้เกิน 400,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

อีกทั้งจะคิดภาษีมรดกเเบบใหม่ ที่จะคิดภาษีจากมรดกทั้งก้อน ต่างจากปัจจุบันที่ผู้ได้รับมรดกจะไม่ต้องเสียภาษีในส่วนของกำไร (Capital Gains) เเละไบเดนยังเตรียมร่างกฎหมายขึ้นอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเเละภาษีนิติบุคคลด้วย

นอกจากนี้ เขายังเสนอให้ทุ่มงบอีก 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตในอเมริกา เเละประกาศใช้กฎหมายสนับสนุนซื้อสินค้าของชาวอเมริกันสำหรับโครงการขนส่งใหม่ ๆ

(Photo by Gary Hershorn/Corbis via Getty Images)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไบเดนยืนยันว่าทันทีที่เขาเข้ารับตำเเหน่ง สหรัฐฯ จะกลับเข้าร่วมข้อตกลงด้านสิ่งเเวดล้อมระดับโลกอีกครั้ง โดยจะผลักดันให้อเมริกาบรรลุเป้าหมายลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ “ให้เป็นศูนย์” ภายในปี 2050

พร้อมประกาศจะทุ่มงบลงทุน 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการ “พลังงานสีเขียว” มีแผนเศรษฐกิจที่ต้องการให้ผลิตพลังงานสะอาดมากขึ้น โดยมองว่าการส่งเสริมสายการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นการช่วยคนชนชั้นแรงงานไปในตัวด้วย

นอกจากนี้ เขายังมีเเผนจะเพิ่มกำลังการผลิตของพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์ 500 ล้านหน่วย และกังหันลมแบบ wind turbine อีก 6 หมื่นหน่วย รวมถึงมีการสร้างสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ 5 แสนแห่งทั่วสหรัฐฯ

COVID-19 

ไบเดนประกาศว่า รัฐบาลชุดใหม่จะจัดให้มีการ “ตรวจหาเชื้อฟรี” และจ้างคน 1 แสนอัตรา สำหรับดำเนินโครงการติดตามตัวผู้สัมผัสเชื้อทั่วประเทศ เเละจะจัดตั้งศูนย์ตรวจหาเชื้ออย่างน้อย 10 แห่งในแต่ละรัฐ โดยเขาเห็นว่าผู้ว่าการรัฐทุกรัฐ ควรออกข้อบังคับเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย เเละให้คำเเนะนำที่ถูกต้องกับประชาชน

Photo : Shutterstock

ระบบสุขภาพ

ไบเดนตั้งธงไว้ว่าจะ “ขยายแผนโอบามาแคร์” หรือกฎหมายประกันสุขภาพ Affordable Care Act (ACA) สานต่อจากสมัยที่ทำงานเป็นรองประธานาธิบดี โดยเขาต้องการลดอายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิ์เข้ารับการรักษาตามนโยบาย Medicare จากผู้สูงอายุจากเดิมที่ 65 ปี เป็น 60 ปี เเละสัญญาว่าจะให้ชาวอเมริกันทุกคนมีทางเลือกขึ้นทะเบียนในประกันสาธารณสุขที่คล้ายกับ Medicare

เชื้อชาติ การอพยพ เเละการควบคุมปืน 

ไบเดน มุ่งจะลดปัญหาเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐฯ ด้วยแผนเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสนับสนุน “คนกลุ่มน้อย” เช่นจะ ทุ่มงบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างงานและธุรกิจให้คนกลุ่มน้อย เเละจะกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติในกระบวนการยุติธรรม เช่น การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจูงใจหลายรัฐให้ลดอัตราการจำคุก

อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธข้อเรียกร้องที่อยากให้ลดงบประมาณหน่วยงานตำรวจ เพราะมองว่าควรมีไว้เพื่อรักษามาตรฐานของหน่วยตำรวจ เเต่ก็เห็นด้วยว่า งบประมาณของตำรวจในบางอย่าง ก็ควรจะถูกนำไปดูเเลภาคสังคม เช่น เรื่องปัญหาสุขภาพจิต

ส่วนกฎหมาย “ควบคุมปืน” เป็นไปตามเเนวทางของพรรคเดโมเเครตที่เน้นให้มีการตรวจสอบประวัติผู้ซื้อปืนอย่างละเอียด จำกัดจำนวนอาวุธปืนที่ประชาชนซื้อได้เหลือไม่เกิน 1 กระบอกต่อ 1 เดือน เเละจะให้ทุนวิจัยเรื่องการป้องกันความรุนแรงจากอาวุธปืน

ส่วนนโยบายเรื่องผู้อพยพ ไบเดนสัญญาว่า ภายใน 100 วันแรก หลังได้ทำงานเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาจะเปลี่ยนนโยบายของทรัมป์ที่กีดกันครอบครัวผู้อพยพที่ชายแดนระหว่างสหรัฐฯ กับเม็กซิโก ยกเลิกข้อจำกัดเรื่องการสมัครขอรับสถานะผู้ลี้ภัย และยกเลิกข้อห้ามเดินทางเข้าประเทศจากประเทศมุสลิม

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

การศึกษา

ไบเดนจะสนับสนุนโครงการเพื่อเด็กวัยก่อนเข้าเรียน เเละขยายสิทธิ์ “เรียนฟรี” รวมถึงผ่อนผันหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษา เพิ่มวิทยาลัยที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน

นโยบายต่างประเทศ 

ไบเดน ประกาศว่าจะ กู้ชื่อเสียงของอเมริกา ผ่านการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ทำงานร่วมกับนานาชาติในเวทีโลก

เขาเห็นว่า จีนมีนโยบายการค้าและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นธรรม เเต่แทนที่จะมุ่งเป้าขึ้นกำแพงภาษีกับจีน สหรัฐฯ ควรจะจับมือกับพันธมิตรนานาชาติ กดดันเพื่อให้จีนไม่เพิกเฉย ซึ่งยังไม่เเน่ชัดว่าเขาจะมีทิศทางความสัมพันธืกับจีนต่อไปอย่างไร ท่ามกลางสงครามการค้าที่ยืดเยื้อมาหลายปี

 

]]>
1305031
KBank มองสงครามการค้า “ยืดเยื้อ” ผลกระทบ 2 ปี ทำ “สินค้าไทย” เสียประโยชน์ 1.1 พันล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1288478 Sun, 19 Jul 2020 08:08:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288478 KBank คาดสงครามการค้า “ยืดเยื้อ” ไม่น่าจะเกิดความตกลงเฟส 2 ได้ ประเมิน 2 ปีที่ผ่านมากระทบ “สินค้าไทย” เสียประโยชน์ไป 1.1 พันล้านดอลลาร์

หลังสหรัฐฯ ยุติสิทธิพิเศษกับฮ่องกง เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นอีกชนวนกระตุ้นสงครามการค้ากับจีนให้กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในปีนี้สหรัฐฯ ยังคงนำประเด็นอ่อนไหวของจีน มาใช้เป็นเครื่องมือกดดันจีนผ่านความตกลงทางการค้าเฟส 1 (Phase 1) ประกอบกับเงื่อนเวลาการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามายิ่งทำให้ทุกเรื่องผูกโยงกันอย่างซับซ้อน ทำให้สงครามการค้าครั้งนี้คงจะยืดเยื้อและไม่น่าจะเกิดความตกลงในเฟส 2 (Phase 2) ได้ ถึงแม้การเลือกตั้งสหรัฐฯ จะได้บทสรุปเป็นผู้นำคนใหม่ แต่การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในด้านภูมิรัฐศาสตร์จะคงมีอยู่ต่อไป และคงไม่ทำให้สงครามการค้าสงบได้อย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่สงครามการค้าของสหรัฐฯ และจีนปะทุขึ้น ในด้านหนึ่งก็ไม่ได้ทำให้สหรัฐฯ ลดการขาดดุลการค้ากับจีนได้ตามที่ต้องการ เมื่อมองย้อนมาที่ไทยทำให้การค้าของไทยในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องเสียประโยชน์สุทธิ 1.1 พันล้านดอลลาร์ฯ แม้ว่าสินค้าไทยส่วนหนึ่งจะได้อานิสงส์จากการส่งไปแทนที่สินค้าของคู่กรณีทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่ก็ไม่มากพอที่จะชดเชยผลกระทบหลักๆ ที่ทำให้การส่งออกสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่ของจีนปรับตัวลดลง รวมกับการที่ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านไปจากการเข้ามาของสินค้าจีน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2563 นี้ผลพวงที่มาจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มเบาบางลงนับตั้งแต่เกิดความตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเฟส 1 แต่หากสหรัฐฯ ยังคงใช้ฮ่องกงมาเป็นประเด็นใหม่เปิดเกมเดินหน้ากดดันทำสงครามการค้ากับจีนต่อไปคงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการส่งออกของไทยมากขึ้นอีก จากปัจจุบันที่การส่งออกของไทยก็ได้รับผลกระทบหลักๆ มาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีความเสี่ยงจะเกิดการแพร่ระบาดระลอก 2 ในช่วงฤดูหนาว ยิ่งกดดันการค้าโลกมากขึ้น

ด้วยสาเหตุเหล่านี้ คาดว่าการส่งออกของไทยปี 2563 ไปตลาดสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ (-) 2.7 มีมูลค่าการส่งออกราว 30,500 ล้านดอลลาร์ฯ (กรอบประมาณการที่หดตัวร้อยละ (-) 4.9 ถึงขยายตัวร้อยละ 1.0 ที่มูลค่าการส่งออก 29,800-31,600 ล้านดอลลาร์ฯ) และการส่งออกไปจีนน่าจะฟื้นตัวได้ก่อนตลาดอื่นๆ แต่กำลังการผลิตยังไม่กลับมาเต็มที่จึงขยายตัวอย่างจำกัดที่ร้อยละ 3.2 มีมูลค่าการส่งออก 30,100 ล้านดอลลาร์ฯ (กรอบประมาณการที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ถึงขยายตัวร้อยละ 4.2 มีมูลค่าการส่งออก 29,700-30,400 ล้านดอลลาร์ฯ)

โดยสรุป ในระยะปานกลางคงต้องจับตาความเสี่ยงของสงครามการค้าที่พร้อมจะเปลี่ยนภาพได้ตลอดเวลา เพราะสหรัฐฯ ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อกรเศรษฐกิจกับจีน เพื่อช่วงชิงการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี หรือแม้แต่การช่วงชิงความโดดเด่นในด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็กลายเป็นเรื่องที่ถูกสหรัฐฯ หยิบมาใช้เป็นโจมตีจีนอยู่บ่อยครั้ง อย่างกรณีฮ่องกงก็เป็นประจักษ์พยานที่สหรัฐฯ พยายามจะนำเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวกับสงครามการค้ามาผูกโยงให้การแก้ปมสงครามการค้ายุ่งยากเข้าไปอีก ยิ่งทำให้ความตกลงทางการค้าเฟส 1 (Phase 1) ที่แทบจะไม่คืบหน้าจากผลพวงของเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนไหวในขณะนี้ ดังนั้นการเดินหน้าไปสู่ความตกลงในเฟส 2 (Phase 2) คงไม่เกิดขึ้น และสงครามการค้าครั้งนี้คงจะยืดเยื้อต่อไป

ในระยะต่อไป คงต้องติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ แม้ว่าผลที่ออกมาจะทำให้ผู้นำสหรัฐฯ เปลี่ยน แต่คงไม่เปลี่ยนท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะต้องยอมรับว่าในเวลานี้จีนคือคู่แข่งที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่พร้อมจะก้าวแซงสหรัฐฯ ได้ตลอดเวลา อีกทั้งปมความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์มีความเสี่ยงทำให้เกิดการแตกแยกทางเศรษฐกิจของสองขั้วอำนาจ ขณะที่ไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจและการลงทุนของทั้งสหรัฐฯ และจีน ทั้งยังเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตของภูมิภาคก็คงต้องเตีรยมรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงด้านการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น แต่อาจส่งผลให้เกิดการปรับฐานการผลิตและการลงทุนครั้งสำคัญของภูมิภาคที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

 

 

ที่มา : kasikornresearch

]]>
1288478
ไทยเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ “ถดถอย” เพิ่มขึ้น ส่องวิเคราะห์ Kbank เเนะชะลอลงทุนหุ้น 5 กลุ่ม https://positioningmag.com/1261672 Thu, 23 Jan 2020 09:50:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261672 กสิกรไทย ห่วงภัยแล้งเเละปัญหาฝุ่น PM 2.5 ฉุดเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนพุ่งที่ระดับ 79% ต่อจีดีพี ลุ้นงบประมาณปี 2563 ดันลงทุนรัฐโต มองสงครามการค้าเฟส 2 เจราจรยาก ด้านตลาดหุ้นไทยยังไม่เเน่นอน เเนะชะลอลงทุนหุ้น 5 กลุ่มใหญ่ในไตรมาสเเรก 

Positioning สรุปประเด็นสำคัญจากสัมมนา “จับตาเศรษฐกิจเเละหุ้นปังปีชวด” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย กับมุมมองสภาพเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าของสงครามการค้าเเละความท้าทายของเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

ปัญหาฝุ่น-ภัยเเล้ง ฉุดจีดีพี

กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) มองว่าหากการเจรจาของสหรัฐเเละจีน บรรเทาความตึงเครียดของสงครามการค้าได้มาก เศรษฐกิจไทยปีนี้ก็จะขยายตัวที่ 2.7% พร้อมด้วยปัจจัยสำคัญจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ภายในไตรมาส 2/2563

“ภัยแล้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบต่อเศรษฐกิจปีนี้ คิดเป็นเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท เเละหากภัยแล้งเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้ ก็คงมีผลต่อการปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ใหม่อีกครั้ง”

ขณะเดียวกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่าเรื่องฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยสูงถึง 6 พันล้านบาท

ห่วงหนี้ครัวเรือนระดับ 79% ความเสี่ยงภาวะ “ถดถอย” เพิ่มขึ้น

ด้านการปรับเกณฑ์มาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะเพิ่มความยืนหยุ่นให้กับการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น

สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย ที่มีอยู่ถึง 79% ต่อจีดีพี และหนี้ครัวเรือนต่อรายได้สูงถึง 220% สะท้อนว่าไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคได้อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการบริโภคของครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการดูดซับอุปทานอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอุปทานในคอนโดมิเนียม

“ดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้คาดว่ายังเกินดุลอยู่ที่ 33,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงปีก่อน สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่สมดุล เนื่องจากภาครัฐเก็บภาษีในระดับสูงมีการหาช่องทางการเก็บภาษีเพื่อสร้างรายได้ ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง จึงอยากให้ภาครัฐปรับภาษีใหม่ทั้งหมด เพื่อกระตุ้นการนำเข้าสินค้า” กอบสิทธิ์ระบุ

“ไทยมีโอกาสเสี่ยงจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 23% “

ด้านค่าเงินบาทคาดจะยังแข็งค่าจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดลง 2 ครั้ง และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดอยู่ที่ 31,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ ช่วงครึ่งปีแรกค่าเงินบาทจะแข็งค่าที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และสิ้นปีอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

อ่านเพิ่มเติม : สรุปวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจ 2020 ส่งออก-ค่าเงิน-ตลาดหุ้นไทย

สงครามการค้า เฟส 2 ไม่ง่าย

ด้าน ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในสมัยโดนัลด์ ทรัมป์มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ซึ่งตอบโจทย์ชนชั้นกลางชาวอเมริกันที่ชื่นชอบลงทุนในหุ้น ทรัมป์จึงจะพยายามไม่ให้ตกลงไปจากนี้ เพราะต้องการฐานเสียงเลือกตั้ง

โดยมองการเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ว่า เเม้ว่าจะผ่านไปได้ในเฟสเเรกเเต่เฟสสองจะไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะจะเเยกย่อยเป็น 2-3 ยกต่อเฟส เพื่อกระตุ้นให้เกิด “ข่าวดี” ที่ส่งผลต่อหุ้น ซึ่งคาดว่าหากมีข้อตกลงเฟส 2 อีก ก็น่าจะเป็นช่วง “เดือนมิถุนายน”

“ความขัดเเย้งที่น่าจับตามองในปีนี้ จะไม่ใช่ความขัดเเย้งด้านเศรษฐกิจอีกต่อไปเเต่จะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของจีนเเละสหรัฐฯ เช่นในกรณีประท้วงฮ่องกงเเละเลือกตั้งไต้หวัน อีกทั้งการโจมตีจีน ยังเป็นการหาเสียงของ
ทั้งพรรคเดโมเเครตเเละรีพับลีกัน ซึ่งจะเป็นการขัดขาการเจราจาสงครามการค้าในช่วงต่อไป”

กอบสิทธิ์ เสริมว่า สหรัฐฯ ยังตั้งเงื่อนไขกับจีน โดยให้จีนซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 2 ปีข้างหน้า และยังไม่ปลดล็อกภาษีที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ประมาณ 370,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลกระทบการค้า ส่งอกของประเทศคู่ค้า เช่น ไทยที่คาดว่าการส่งออกปีนี้จะติดลบ 1% นอกจากนี้ปัญหาความขัดเเย้งในทะเลจีนใต้ก็ต้องเผ้าระวังที่จะกระทบไทย

ทั้งนี้ มองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในช่วงกลางปีนี้ เเละเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง

หุ้นไทย Q1/63 ยังเผชิญความไม่แน่นอน

ด้าน สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทยที่ต้องให้ความสำคัญคือ 1) ปัญหาฝุ่น PM 2.5 2) ภัยเเล้งที่คาดว่าจะอยู่ในระดับวิกฤต เเละ 3 ) โรคระบาด

“ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากที่สุด”

สรพล ประเมินว่า มุมมองการเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ในไตรมาส 1/63จะอยู่ในกรอบ 1,555-1,630 จุด เเละคาดว่า SET Index สิ้นปีจะอยู่ที่ 1,725 จุด

สำหรับตลาดหุ้นไทย ยังมีผลกระทบจากความไม่แน่นอน เเละ ควรชะลอการลงทุนหุ้นไปก่อนในไตรมาส 1/63 โดยเฉพาะใน 5 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มไอซีที จากปัจจัยความไม่ชัดเจนในการประมูล 5G ว่า CAT และ TOT จะเข้าร่วมหรือไม่ เเละหากเข้าร่วมก็จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น

2.กลุ่มค้าปลีก มีความไม่เเน่นอนจากประเด็นการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทย ซึ่งตอนนี้มีคู่เเข่ง 3 รายใหญ่อย่าง กลุ่มเซ็นทรัล , กลุ่มซีพีเเละกลุ่มบีซีเจ ที่ไม่ว่าเจ้าไหนจะชนะการประมูลก็ต้องพิจารณาถึงแผนการระดมเงินทุนในการซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ว่าจะใช้แหล่งเงินทุนจากช่องมางใดบ้าง และจำเป็นต้องเพิ่มทุนหรือไม่

3.กลุ่มปิโตรเคมี ที่เกี่ยวข้องการผลิตพลาสติก เพราะต้องคิดในระยะยาวว่าการรณรงค์ลดใช้พลาสติกจะมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร

4.กลุ่มท่องเที่ยว มีปัจจัยความไม่เเน่นอนจากโรคระบาดที่สร้างความกังวลให้ผู้คน เช่นไวรัสจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้การท่องเที่ยวเกิดการชะลอตัว

5. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากปริมาณสต็อกที่อยู่อาศัยในตลาดยังเหลืออยู่มาก และกำลังซื้อที่ชะลอตัว คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

ส่วนกลุ่มหุ้นที่มีความโดดเด่นในไตรมาส 1/63 ได้แก่

1. กลุ่ม Non-Bank ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหนี้เสีย ที่จะได้ประโยชน์ไนภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี เช่น JMT

2. กลุ่มพลังงานต้นน้ำ เช่น PTTEP

3. กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยได้รับเเรงหนุนจากภาครัฐที่จะทยอยเบิกจ่ายใช้งบประมาณในการลงทุนโครงการต่างๆ หุ้นแนะนำ คือ STEC

4. กลุ่มโรงไฟฟ้า

ส้วนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มองว่าในปีนี้ยังมีแรงกดดันจากนโยบายการควบคุมจากภาครัฐและธปท. และปัญหาหนี้เสียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่มองว่าในระยะยาวกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะกลับมาฟื้นตัวได้

สรุปทิศทางเศรษฐกิจ ปี 2020 

• เศรษฐกิจโลก

มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากการลงจามข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ระหว่างสหรัฐฯ-จีน โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งนาโดยการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การผลิตและลงทุนยังอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานในระยะข้างหน้า ทาให้ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในช่วงกลางปี 2020 ด้านเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น

• เศรษฐกิจไทย

มีแนวโน้มขยายตัวตามแนวโน้มการลงทุนจากแรงสนับสนุนของการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การส่งออกไทยยังมีแนวโน้มหดตัวจากผลของมาตรการภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีนเดิมที่ยังคงอยู่ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของจีนทาให้การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมอ่อนแอลง ส่งผลถึงการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงและการบริโภคในประเทศชะลอตัว

• เงินบาท

มีแนวโน้มอ่อนค่าลงบ้างในช่วงเดือนนี้ หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคในปี 2019
ประเมินว่าแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินในเอเชีย คาดว่าค่าเงินบาทจะเป็นที่น่าสนใจน้อยกว่าค่าเงินในเอเชียสกุลอื่นๆ นอกจากนี้ ธปท. จะมีการออกมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายเพิ่มเติมเพื่อลดแรงกดดันบาทแข็ง ทาให้คาดว่าเงินบาทจะมีช่องให้อ่อนค่าลงบ้างในระยะสั้น

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไทย และข้อจากัดจาก Policy space ของ ธปท. ที่น้อยจะกดดันให้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะยาว

 

]]>
1261672