สตาร์ทอัพไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Jul 2023 03:25:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “กสิกรไทย” จัดหลักสูตรติวเข้มสตาร์ทอัพไทย ผ่านโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 อัดแน่นด้วยองค์ความรู้จาก Silicon Valley พร้อมเครื่องมือต่อยอดธุรกิจ https://positioningmag.com/1437143 Tue, 11 Jul 2023 10:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437143

ในประเทศไทยเราได้เห็นเทรนด์ของ “สตาร์ทอัพ” มาหลายปีแล้ว ซึ่งวงการสตาร์ทอัพในไทยก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มี Ecosystem ที่แข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการ ศูนย์บ่มเพาะ และนักลงทุน แต่การที่เหล่าบรรดาสตาร์ทอัพจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องมีผู้สนับสนุนที่คอยชี้แนะแนวทาง เราจึงได้เห็นองค์กรใหญ่ๆ มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับวงการสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง

“ธนาคารกสิกรไทย” เป็นอีกหนึ่งองค์กรใหญ่ที่ส่งเสริมและผลักดันวงการสตาร์ทอัพไทยต่อเนื่องอย่างครบวงจร ทั้งด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญ เครือข่ายธุรกิจ พันธมิตร รวมทั้งการให้องค์ความรู้ผ่านโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 หลักสูตรพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจเพื่อสตาร์ทอัพที่ธนาคารกสิกรไทยร่วมพัฒนาขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา


เดินหน้า 4 ปีต่อเนื่อง ปั้นตัวตึงวงการสตาร์ทอัพ

สำหรับโครงการในปีนี้ ซึ่งทีจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จะเป็นหลักสูตรเข้มข้น ภายใต้แนวคิด “Unleash Your Entrepreneurial Spirit for Sustainable Success” ระยะเวลา 9 สัปดาห์ที่จะทำให้สตาร์ทอัพพัฒนาธุรกิจและเติบโตอย่างยั่งยืน อัดแน่นด้วยองค์ความรู้การทำสตาร์ทอัพ ในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่เรื่องทีมงาน การวางรากฐาน ไปจนถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต ทั้งเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) รวมทั้งแนวคิดการจัดการธุรกิจที่คำนึงถึง ESG สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง พร้อมคว้าโอกาสใหม่ในเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคต

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่เข้ารับการอบรมยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงโอกาสนำเสนอโครงการเพื่อชิงเงินรางวัลพร้อมรับการสนับสนุนเครื่องมือในการทำธุรกิจ รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทอีกด้วย เรียกว่าได้ทั้งองค์ความรู้ และเครื่องมือในการติดปีกธุรกิจไปพร้อมๆ กัน

โดยใน 3 ปีที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพไทยเรียนจบหลักสูตรทั้งสิ้นกว่า 100 ทีม และมีหลายทีมที่นำองค์ความรู้ที่ได้ในโครงการไปต่อยอดกับธุรกิจจนประสบความสำเร็จ สำหรับปีนี้ ธนาคารจะมุ่งเน้นส่งเสริมเทคสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบ (Prototype) ที่พร้อมแล้ว ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน (FinTech) สิ่งแวดล้อม (ESG และ Green Technology) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligenceและ Machine Learning) เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และโซลูชั่นสำหรับองค์กร (Enterprise Solution) ตอกย้ำเจตนารมณ์ของธนาคารในการพัฒนาสตาร์ทอัพไทยให้แข็งแกร่งเพื่อร่วมเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างความยั่งยืน

ทั้งนี้มี 2 บริษัทได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยเข้าร่วมโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 ได้แก่ โปรเจค อีวี (Project EV) และ PetPaw


ทำ Customer Validation หาลูกค้าตัวจริง ปรับแผนธุรกิจให้เป็นไปได้สูง

โปรเจค อีวี (Project EV) เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรเพื่อดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ รวมทั้งมีบริการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ศูนย์กระจายสินค้า หรือใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของพันธมิตรทั่วประเทศ พร้อมทั้งมีศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตลอดระยะเวลาการใช้งานการใช้รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงสามารถช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงและลดภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ให้กับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างมาก

ปัจจุบัน โปรเจค อีวี ให้บริการดัดแปลงรถกระบะไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าระยะการขนส่งไม่เกิน 250 กิโลเมตรต่อวัน สามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 30.8 ตันต่อคันต่อปี ในรถกระบะที่วิ่งประมาณ 90,000 กิโลเมตรต่อปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถนะการใช้งานจริงร่วมกับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์

ปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้ก่อตั้ง โปรเจค อีวี ได้เล่าว่า “รู้จักโครงการ KATALYST จากการประชาสัมพันธ์ของทีมงาน Beacon VC และจากคำแนะนำของสตาร์ทอัพ ที่เข้าร่วมโครงการปีก่อน จึงสนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจุดเด่นและประโยชน์สำคัญที่ได้รับจากโครงการนี้ คือเนื้อหาหลักสูตรที่มีความกระชับ แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งมีการบ้านให้ลงมือทำ Customer Validation หาลูกค้าตัวจริง ทำให้การปรับปรุงแผนธุรกิจมีความเป็นไปได้สูงขึ้น และที่สำคัญคือ คำแนะนำจาก Mentorทำให้เข้าใจและมีมุมมองทางธุรกิจกว้างขึ้น ตลอดจนการวางแผนการตลาด และการเงินซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการ Scale Business และระดมทุน”

ปริวรรต ยังเสริมอีกว่า โครงการมีประโยชน์มากสำหรับ Early Stage Startup ที่มีไอเดียใหม่ๆ หรือสตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจมาบ้างแล้วและต้องการปรับหรือ Pivot Business ให้มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการประเมินมูลค่าธุรกิจ (Business Valuation) บนฐานของ Business Traction และรายได้อย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถเข้าสู่การระดมทุนได้ดีขึ้น


จุดประกายสร้าง Prototype Ecosystem ช่วยต่อยอดธุรกิจ

สำหรับ PetPaw เป็นบริษัท Startup ที่มีจุดมุ่งหมายในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้าง Eco-System ให้กับอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง และ ผู้ที่รักสัตว์ โดยปัจจุบันทาง PetPaw เองมี 3 ช่องทางหลักๆ ในการเชื่อมโยง Eco-System เข้าด้วยกัน

PetPaw Application – Application ที่รวบรวม Feature ต่างๆ ที่คนรักสัตว์สามารถเข้ามาใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยง / การหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแต่ละสายพันธุ์ / การพูดคุยปรึกษากับสัตว์แพทย์ผ่านช่องทาง Online รวมถึงการหาซื้อ ศึกษาเปรียบเทียบประกันสำหรับสัตว์เลี้ยง

PetPaw O2O Commerce – ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทาง Online และ Offline โดยปัจจุบันช่องทาง Online อยู่ระหว่างการเพิ่มรายการสินค้าให้มีมากกว่า 10,000 รายการ และในส่วนของช่องทาง Offline ทาง PetPaw ได้ทำการเปิดหน้าขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงเรียบร้อยแล้ว 2 สาขา คือที่ สาขา ปตท.พระราม4 กล้วยน้ำไท และ สาขาเทพารักษ์ และ ยังมีแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ ต่างจังหวัด เพิ่มอีก 10-15 สาขา ภายในปี 2566

PetPawVet Service – Software บริหารจัดการธุรกิจโรงพยาบาลสัตว์ครบวงจร ทั้งการทำนัดผ่านระบบ เชื่อมต่อไปยัง Application PetPaw / การสั่งจ่ายยาผ่านระบบ Online จัดส่งไปยังลูกค้า / ระบบจัดซื้อสินค้าเครื่องมือแพทย์ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสัตว์เข้าใช้งานมากกว่า 1,400 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

แรกเริ่ม PetPaw ได้เขียนแผนธุรกิจ และ เริ่มเข้าร่วมงานการแข่งขัน Pitching ตามงานต่างๆ รวมถึงได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพของหน่วยงานรัฐเช่น DEPA และได้รับคำแนะนำให้ลองเข้ามาสมัครในโครงการ KATALYST Startup Launchpad และได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการนี้

ณัฐวัฒน์ กลการวิทย์ Team Lead PetPaw ได้เล่าว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ที่มีไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจไปแล้วแต่ยังหาขั้นตอนวิธีการเข้าสู่ตลาดไม่ได้ เพราะทางโครงการจะช่วยให้คุณกลับมาทบทวนตั้งแต่การสร้างทีมผู้ก่อตั้ง การประเมินขนาดตลาด การเริ่มนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ไปจนถึงการนำเสนอธุรกิจเพื่อหานักลงทุน

เนื้อหาที่ได้จากการเรียนและทำ Workshop สามารถนำมาปรับใช้กับตัวธุรกิจของทาง PetPaw ได้โดยตรง จากที่ทางเราพยามที่จะสร้าง Eco-System ซึ่งจำเป็นจะต้องมี Service ที่หลากหลายครบถ้วนและตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้ Service ของเราเป็น Prototype ที่ไม่สมบูรณ์ แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการและทำ Workshop ทีมงานจึงได้ตัดสินใจ เลือกทำ Service ของเราให้แข็งแรงเติบโตขึ้นทีละส่วน จึงสามารถทำให้เราสามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่องทาง Offline


หลักสูตรส่งตรงจาก Silicon Valley

เนื้อหาของหลักสูตรภายใต้โครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 ได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นำโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley นอกจากนั้นธนาคารได้จับมือกับพันธมิตรในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับคำปรึกษา และคำแนะนำโดยเมนเทอร์ชั้นนำจากหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ ผู้บริหารจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผู้แทนจาก Amazon Web Services (AWS) รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจาก กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)  และบีคอน วีซี (Beacon VC) ที่จะมาให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อผลักดันให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ดึงศักยภาพของตัวเองและทีมออกมาได้อย่างเต็มที่

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพอย่างครบวงจรตั้งแต่พื้นฐานเริ่มที่ไอเดียธุรกิจ การวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน การสร้างแบรนด์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการ การตลาด การบริหารเงิน การวางแผนธุรกิจ และทักษะการนำเสนอ รวมถึงโอกาสในการสร้างเครือข่ายและต่อยอดการทำธุรกิจกับผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นก่อนๆ และในสัปดาห์สุดท้ายของการอบรม ทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ โดยผู้ชนะ 3 อันดับแรกจะได้รับทั้งเงินรางวัล และสิทธิประโยชน์จากทางพาร์ทเนอร์ของ KATALYST by KBank เพื่อต่อยอดธุรกิจพร้อมโอกาสการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในด้านธุรกิจรวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตร คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ และสมัครได้ทางเว็บไซต์ของ KATALYST ที่  https://launchpad.klandingservice.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการทางเฟซบุ๊กที่ https://www.facebook.com/KATALYSTbyKBank โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2566 และเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2566

]]>
1437143
รู้จัก ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ 3 พันล้าน เปิดทางนักลงทุน ร่วมปั้นยูนิคอร์นไทย https://positioningmag.com/1348779 Fri, 27 Aug 2021 09:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348779 มาทำความรู้จักกับฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ มูลค่า 3 พันล้าน โปรเจกต์ใหม่จากกรุงศรี ฟินโนเวต‘ เตรียมเปิดรับนักลงทุนสถาบันนักลงทุน Ultra High Net Worth ร่วมปั้นทีมยูนิคอร์นไทยลุยฟินเทคอีคอมเมิร์ซออโตโมทีฟ

กรุงศรี ฟินโนเวตบริษัทร่วมลงทุนเเบบ Corporate venture Capital หรือ CVC ในเครือธนาคารกรุงศรีฯ ที่เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2558 ด้วยเป้าหมายเฟ้นหาสตาร์ทอัพใหม่ๆ บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยเเละอาเซียน

หลังคลุกคลีในวงการนี้หลายปี ทุ่มเงินลงทุนให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่หลายสิบเจ้า จนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ธุรกิจขนส่งดาวรุ่งอย่าง ‘Flash Express’ ขึ้นเเท่นยูนิคอร์นรายเเรกของไทยได้สำเร็จ

มาวันนี้ ถึงเวลาขยับไปอีกก้าว ด้วยการจัดตั้ง ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ ประเภท Private Equity Trust รายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่า 3,000 ล้านบาท

ความน่าสนใจคือ เป็นการเปิดให้นักลงทุนสถาบันเเละนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) มีช่องทางใหม่ในการลงทุนบริษัทสตาร์ทอัพที่พวกเขาสนใจได้โดยเฉพาะ

แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เล่าให้ฟังว่า ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย และองค์กรที่สนใจลงทุนในสตาร์ทอัพ แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพได้เข้าลงทุน ซึ่งกรุงศรีฟินโนเวตจะเข้ามาช่วยในจุดนี้

โดยจะเริ่มเดินสายนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) และเปิดขายให้กับนักลงทุนสถาบัน ตั้งแต่ปลายเดือนส.. จากนั้นจะเตรียมขายให้กับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผ่านกองทุนรวม บริหารจัดการโดย บลจ.กรุงศรีอยุธยา ในช่วงเดือน พ.. เปิดลงทุนขั้นต่ำที่รายละ 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) ตามนิยามของ ก... คือ บุคคลธรรมดาผู้มีรายได้ต่อปี 7 ล้านบาทขึ้นไป (ถ้ารวมคู่สมรสจะเป็น 10 ล้านบาทขึ้นไป) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ไม่รวมเงินฝาก 25 ล้านบาทขึ้นไป หรือรวมเงินฝากจะเป็น 50 ล้านบาทขึ้นไป

-แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด

ตามหาสตาร์ทอัพเเบบไหน ?

กองทุนขนาด 3,000 ล้านบาทนี้ จะมุ่งเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับซีรีส์ A ขึ้นไป

เเบ่งคร่าวๆ เป็นการลงทุนสตาร์ทอัพในประเทศไทย ราว 70% และในต่างประเทศ อีก 30% โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เเละความน่าสนใจ เบื้องต้น จะเน้นไปการลงทุนในสตาร์อัพกลุ่มธุรกิจ ได้เเก่

  • ฟินเทค 40%
  • อีคอมเมิร์ซ 30%
  • นวัตกรรมยานยนต์ อีก 30% 

นอกจากนี้ ยังมองหากลุ่มสตาร์ทอัพที่ฟื้นตัวเร็วหรือได้รับโอกาสทางธุรกิจจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Post-Pandemic Boom Startup

กองทุนนี้มีโมเดลธุรกิจมาจาการลงทุนสตาร์ทอัพในญี่ปุ่นเเละสหรัฐฯ เเละการที่กรุงศรี ฟินโนเวต มีบริษัทเเม่เป็น  MUFG ธนาคารใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่มีเครือข่ายทั่วโลก มีความเชี่ยวชาญการลงทุนสตาร์ทอัพ ก็เป็นการอุดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งเเละต่อยอดพัฒนาธุรกิจกับพันธมิตรได้ในอนาคต

ผู้บริหาร กรุงศรี ฟินโนเวต ย้ำว่า ผลตอบแทนกองทุนนี้ไม่สามารถการันตีได้เเต่มั่นใจว่าจะสร้างผลตอบเเทนได้มากกว่าที่บริษัทเคยทำได้ เฉลี่ยที่ 20.8% มากกว่าผลตอบแทนของกองทุนเวนเจอร์ต่างๆ ในตลาดที่เฉลี่ยราว 18%

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าลงทุนใน 15 สตาร์ทอัพ มูลค่าลงทุนมากกว่า 1,500 ล้านบาทส่วน ธนาคารกรุงศรีฯ เป็นสถาบันการเงินที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 63 บริษัท กว่า 106 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือ 37 หน่วยธุรกิจ 

-สตาร์ทอัพชื่อดังที่กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าไปลงทุนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

หลายคนอาจจะสงสัยว่าประเทศไทยเเละอาเซียน มีศักยภาพเเละฐานผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน เเต่ทำไมบริษัทลงทุนต่างชาติ ยังไม่เข้ามาลงทุนมากนัก เมื่อเทียบกับโซนตะวันตก

หลักๆ มาจากปัจจัยวัฒนธรรมที่เเตกต่างกัน ปัญหาเรื่องภาษา เเละกฎระเบียบต่างๆ โดยกรุงศรี ฟินโนเวต จะพยายามเข้ามาเป็นตัวกลางประสานเเละเเก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สตาร์ทอัพคนไทยเเละอาเซียน

เราต้องการสร้างร่วมผลักดันให้สตาร์ทอัพในไทยและอาเซียน เติบโตเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกลายยูนิคอร์นตัวที่ 2 3 4 5 ต่อไปเรื่อยๆ

โอกาสตลาด ‘สตาร์ทอัพ’ โตในอาเซียน 

ด้านความพร้อมของกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ คาดว่าจะสามารถเริ่มลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพรายแรกได้ในเดือนธ..นี้ (หลังเปิดระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน/นักลงทุน Ultra High Net Worth)

ขณะนี้ มีสตาร์ทอัพที่น่าสนใจวางไว้ใน Pipeline ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัท และน่าจะสามารถเข้าไปลงทุนได้แน่นอน ราวบริษัท

ส่วนตลาดสตาร์ทอัพในอาเซียนที่น่าจับตามองหลักๆ จะอยู่ที่สิงคโปร์เเละอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มียูนิคอร์นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีฟิลิปปินส์และเวียดนาม ที่มีเทคสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้นมาต่อเนื่อง และเป็นประเทศที่เเละเป็นประเทศที่ธนาคารกรุงศรีเข้าไปขยายธุรกิจด้วย

สำหรับเเนวโน้มการเติบโตของสตาร์ทอัพในไทยเเซมมองว่า ในระยะ 3-5 ปี จากนี้ไปจะเป็นช่วงเวลาเเห่งการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ เเละน่าจะมีการเติบโตมากขึ้น

โดยนับจาก ปี 2558 พบว่ามีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโตขึ้น 3 เท่า เเละกำลังมีบริษัทที่รอจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกกว่า 10 เเห่ง ซึ่งหากมีโอกาสที่ดี มีเงินลงทุนช่วยเสริมศักยภาพที่มีอยู่ให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทยก็มีความหวังที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

 

]]>
1348779
เส้นทางฝันใหญ่ของ “สรณัญช์ ชูฉัตร” ผู้ก่อตั้ง ETRAN มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพันธุ์ไทย https://positioningmag.com/1344792 Mon, 02 Aug 2021 09:12:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344792 ประเทศไทยมีการผลิต “มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า” แบรนด์ของตัวเองแล้ว โดยผู้ผลิตไม่ใช่บรรษัทขนาดยักษ์แต่เป็น “สตาร์ทอัพ” ที่มีความฝันยิ่งใหญ่อย่าง “ETRAN” ภายใต้การนำของ “สรณัญช์ ชูฉัตร” เด็กลาดกระบังที่กล้าทุ่มพัฒนาสิ่งที่ทุกคนมองว่า “ยาก” มานาน 6 ปี กว่าจะมาถึงวันนี้

มอเตอร์ไซค์รุ่นล่าสุดของ ETRAN (อีทราน) คือรุ่น MYRA (ไมร่า) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม. อัตราเร่ง 0-100 กม. ภายใน 7 วินาที พูดง่ายๆ คือขับขี่ได้เหมือนกับมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำมัน ลบภาพมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสำหรับแม่บ้านจ่ายตลาดที่คนไทยคุ้นเคย

ที่สำคัญ รุ่น MYRA ไม่ได้เป็นเพียงโปรโตไทป์แล้ว แต่มีการผลิตจริงด้วยกำลังผลิต 500 คันต่อเดือน ทุกชิ้นส่วนยกเว้นแบตเตอรีผลิตในประเทศไทย และออกแบบด้วยทีมงานคนไทย ปัจจุบันมียอดจองครบ 1,000 คันแล้ว ทำให้บริษัทเพิ่มเป้าหมายยอดขายเป็น 2,000 คันภายในปีนี้

“สรณัญช์ ชูฉัตร” ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท อีทราน (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ก่อตั้งมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบรนด์นี้คือ “สรณัญช์ ชูฉัตร” ซีอีโอวัย 33 ปีของ บริษัท อีทราน (ประเทศไทย) จำกัด เขาก่อตั้งบริษัทขึ้นในรูปแบบสตาร์ทอัพเมื่อปี 2558 และอดทนฝ่าฟันมานาน 6 ปีจนในที่สุดบริษัทได้รับเงินลงทุนรอบ Series A มูลค่ารวม 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนให้บริษัทได้ขยายการผลิต

เหตุใดสรณัญช์จึง ‘กล้า’ พอที่จะเริ่มก่อตั้งแบรนด์มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าซึ่งเห็นหนทางที่ ‘ยาก’ มาตั้งแต่ต้น แถมยังเริ่มตั้งแต่ช่วงที่สาธารณชนไทยยังไม่สนใจยานยนต์ไฟฟ้า Positioning ขอชวนไปเจาะเส้นทางของ ETRAN ก่อนจะมาถึงจุดนี้กัน

 

ความเป็น ‘ผู้ประกอบการ’ ที่คิดเร็ว ทำเลย

“เรามีความเป็นผู้ประกอบการอยู่แล้ว อยากจะลองทำนั่นทำนี่หลายอย่าง เคยทำธุรกิจไป 11 อย่าง ตอนนี้เหลืออยู่ 6 อย่าง” สรณัญช์เริ่มเล่าถึงความเป็นตัวตนของเขาที่ทำให้เกิดแบรนด์ ETRAN ขึ้น

โดยสรณัญช์เรียนจบสาขาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเชี่ยวชาญด้านการออกแบบยานยนต์

“ตอนเรียนอยู่ อาจารย์มักจะบอกเราว่า ‘ในไทยไม่มีงานรองรับหรอกนะ เพราะเราไม่มีแบรนด์รถยนต์ของตัวเอง’” สรณัญช์กล่าว

จนมีวันหนึ่ง คนขับรถเราไม่มา เราก็เลยต้องนั่งวินมอ’ไซค์ ปรากฏว่ามันเป็นสภาพที่แย่มาก รถแบบนี้ไม่เหมาะกับการขนส่งคน มลภาวะที่พี่วินต้องเจอก็เยอะมาก

เมื่อจบมาเขาจึงมาตั้งบริษัทรับออกแบบของตัวเอง โดยรับจ้างออกแบบทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการ บริษัทหลักของเขาประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง พร้อมๆ กับการร่วมเป็นหุ้นส่วนลองทำธุรกิจอื่นๆ ตามแต่โอกาสที่เข้ามา

“จนมีวันหนึ่ง คนขับรถเราไม่มา เราก็เลยต้องนั่งวินมอ’ไซค์ ปรากฏว่ามันเป็นสภาพที่แย่มาก รถแบบนี้ไม่เหมาะกับการขนส่งคน มลภาวะที่พี่วินต้องเจอก็เยอะมาก พอลงจากมอเตอร์ไซค์ได้เราก็คิดขึ้นมาว่า ‘เออ เราเคยออกแบบรถนี่หว่า’ ก็เลยโทรฯ หาเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกันที่ลาดกระบังว่าให้มาคอนโดฯ เราเลยคืนนี้”

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่น PROM ออกจำหน่ายจริงในปี 2560 สองปีหลังเริ่มก่อตั้งบริษัท

กลุ่มเพื่อนลาดกระบัง 5 คนจึงมารวมตัวกันในคอนโดฯ ของสรณัญช์เพื่อระดมไอเดีย “แก้ไข” ข้อบกพร่องของรถมอเตอร์ไซค์ของพี่วิน โดยที่ประชุมเห็นโจทย์ตรงกัน 2 ข้อคือ ทำอย่างไรให้รถเหมาะกับการส่งคน และทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตคนบนถนนดีขึ้น ลดมลภาวะ

3 เดือนหลังจากนั้น ภาพร่างของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่น PROM (พร้อม) ก็ออกมา เป็นดีไซน์ให้ระหว่างที่นั่งของคนขับกับคนซ้อนมีช่องตรงกลางไว้วางขาได้สบายๆ

 

ออกสตาร์ทการเดินทาง

หลังจากนั้นสรณัญช์และทีมได้เข้าร่วม Digital Ventures Accelerator ของธนาคารไทยพาณิชย์ และได้รางวัล Popular Vote มาครอง โดยทีมเขาเป็นรายเดียวที่ทำธุรกิจที่เป็นฮาร์ดแวร์ ท่ามกลางเพื่อนๆ ที่เป็นเทคสตาร์ทอัพพัฒนาซอฟต์แวร์

“เราเห็นตั้งแต่วันแรกว่าการทำสิ่งนี้มันยาก เพราะมันต้องมีปั๊มเป็นระบบนิเวศ” สรณัญช์กล่าวถึงความท้าทายที่ทุกคนเห็นตรงกัน

รุ่น KRAF เปิดตัวปี 2562

การร่วม Digital Ventures Accelerator ทำให้ทีม ETRAN ไปสะดุดตา ปตท. พวกเขาได้เซ็น MOU เพื่อวิจัยพัฒนาร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า โดยแบรนด์ ETRAN มีการนำเทคโนโลยีวัสดุคอมโพสิทจากมันสำปะหลังของ ปตท. มาใช้จริงในเวลาต่อมา เพื่อตอบโจทย์จุดประสงค์ของบริษัทที่ต้องการลดมลภาวะในทุกขั้นตอนการผลิต

การจับมือกับ ปตท. ยังทำให้ ETRAN ได้ร่วมออกบูธมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ากับ ปตท. หลายครั้ง ในช่วงนั้นพวกเขามีโปรโตไทป์รุ่น KRAF (คราฟ) ออกมาโชว์ตัวแล้ว โดยวางตำแหน่งการตลาดให้เป็นมอเตอร์ไซค์พรีเมียมสำหรับคนรักรถ (ปัจจุบันมีการผลิตจำหน่ายไปแล้ว 50 คัน) ซึ่งทำให้มีคนรู้จักแบรนด์มากขึ้นและเป็นช่องทางพูดคุยรับ feedback กับกลุ่มที่นับว่าเป็น ‘Early Adopter’ ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

 

เกือบล้มเลิก แต่ลุกขึ้นใหม่เพราะ ‘ไรเดอร์’

สตาร์ทอัพอย่างอีทรานจะไปต่อได้ต้องมีเงินทุน นอกจากเงินส่วนตัวแล้วสรณัญช์มีการระดมทุนจากลูกค้าของบริษัทตัวเองที่สนิทสนมกัน ร่วมลงขันแบบ Angel Investor และจากการผลิตรถโปรโตไทป์จำหน่ายก็ทำให้บริษัทพอมีรายได้บ้าง แต่ยังไม่ถึงจุดที่นับว่า ‘จุดติด’ จริงๆ เสียที

“ระหว่างนั้นทุกคนที่ร่วมก่อตั้งต้องมาพยายามกับเราถึงตี 1 ตี 2 เงินเดือนก็ไม่ได้ เราเกรงใจจนเคยคิดว่าจะล้มเลิก บริษัทมีพัฒนาการ มีรายได้บ้างนะ แต่เส้นชัยมันยังอยู่อีกไกลมาก” สรณัญช์กล่าว  “แต่คนในทีมทุกคนไม่ยอมเลิก ทุกคนบอกว่าเราทุ่มมา 4 ปีแล้ว เรามาไกลมากแล้ว”

เมื่อทุกคนยังฮึดสู้ สรณัญช์จึงวิ่งหานักลงทุนอีกครั้ง โดยมีนักลงทุนพร้อมจะลงใน Series A แล้ว แต่เกิดโรคระบาด COVID-19 เสียก่อน ทำให้นักลงทุนทั้งหมดส่งสัญญาณ ‘ถอย’

รุ่น MYRA เรือธงที่ทำให้จุดติดในตลาด ราคาขายเริ่มต้น 69,550 บาท (ไม่รวมแบตเตอรี่)

เงินทุนที่ไม่เข้ามาตามนัดทำให้อีทรานจำเป็นต้องปลดพนักงานออกมากกว่าครึ่ง ในห้วงเวลาวิกฤตนั้น สรณัญช์ต้องย้อนกลับไปคิดใหม่ทำใหม่ และกลายเป็นว่า COVID-19 ที่ทำลายโอกาส Series A กลับกลายเป็นการสร้างโอกาสแบบใหม่ขึ้นมาแทน นั่นคือการมาถึงของยุคทอง “ฟู้ดเดลิเวอรี” และ “อี-คอมเมิร์ซ”

“ไรเดอร์” ทั้งขนส่งอาหารและส่งพัสดุที่วิ่งอยู่ทั่วเมืองทำให้อีทรานได้ไอเดียโจทย์ใหม่ ระดมกำลังออกแบบรถให้เหมาะกับการขนส่ง รูปร่างเพรียวบาง เปลี่ยนที่นั่งซ้อนเป็นที่วางกล่องอาหาร โปรโตไทป์นี้คือมอเตอร์ไซค์ MYRA ที่จะกลายเป็นเรือธงสู่เส้นชัยแรกของบริษัท

จับมือกับ Robinhood ให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแก่ไรเดอร์

สรณัญช์นำ MYRA ไปติดต่อแอปพลิเคชัน Robinhood เพื่อขอให้ไรเดอร์ของแอปฯ ทดลองใช้ ปรากฏว่า Robinhood มีความสนใจ เนื่องจากมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตรงกับแนวทางของบริษัท สุดท้ายแล้วอีทรานจึงคว้า TOR มาได้ และสัญญาที่การันตีดีมานด์นี้เองที่ทำให้บริษัทระดมทุนรอบ Series A สำเร็จ

อ่านเพิ่มเติม

 

ไปต่อ ไม่รอให้ใครสร้าง

เงินทุนที่ได้จาก Series A ช่วยปลดล็อกการขยายตัวได้ทันที โดยบริษัทจะนำเงินไปเพิ่มกำลังผลิตรถ จากปัจจุบัน 500 คันต่อเดือน ปี 2565 ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 1,000 คันต่อเดือน โดยมีดีมานด์จาก Robinhood และการทำตลาดของบริษัทเองที่มีทั้งรูปแบบให้เช่าทั้ง B2B B2C รวมถึงเปิดจำหน่ายด้วย

อีกส่วนหนึ่งคือนำมาสร้าง “ปั๊ม” ที่เป็นความท้าทายตั้งแต่วันแรก

คำถามสำคัญที่มีมาตลอดสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าคือ “ชาร์จไฟเร็วแค่ไหน” แต่เมื่อการชาร์จปัจจุบันยังทำได้ไม่เร็วเท่ากับการเติมน้ำมัน วิธีแก้ปัญหาของ ETRAN จึงเป็นการสร้าง “สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี” แทนที่จะรอชาร์จแบต ก็ยกเปลี่ยนแบตลูกใหม่ที่ชาร์จเต็มอยู่แล้วเข้าไปแทนได้เลย (โมเดลเดียวกับที่เกิดขึ้นแล้วในไต้หวัน)

ภาพต้นแบบ “สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี” ของ ETRAN

เมื่อไม่มีใครสร้างสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี ETRAN จึงลงทุนสร้างเอง โดยตั้งเป้าที่ 100 จุดทั่วกรุงเทพฯ ปัจจุบันเริ่มต้นแล้ว 8 จุด มีโมเดลสถานีหลายขนาด รองรับได้ตั้งแต่ 30-160 คันต่อวัน

การมีโครงข่ายสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรีของตัวเองก่อนจะทำให้ ETRAN ได้เปรียบในสนามธุรกิจ เพราะดีไซน์แบตเตอรีในรถแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน ทำให้ในอนาคตถ้าลูกค้าจะลงทุนซื้อมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ต้องคำนึงถึงในตลาดก่อนว่ามีสถานีเปลี่ยนแบตเตอรีที่ตรงรุ่นกับของตนเองเพียงพอหรือไม่

คู่แข่งระดับโลกของเราไม่ใช่บริษัทยานยนต์ แต่เรามองธุรกิจที่มีระบบนิเวศพร้อมแล้วมากกว่า อย่างกลุ่มพลังงานที่มีสถานีของตัวเอง เช่น ปตท. บางจาก เชลล์ ทุกคนลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าหมดแล้ว

“ดังนั้น คู่แข่งระดับโลกของเราไม่ใช่บริษัทยานยนต์ แต่เรามองธุรกิจที่มีระบบนิเวศพร้อมแล้วมากกว่า อย่างกลุ่มพลังงานที่มีสถานีของตัวเอง เช่น ปตท. บางจาก เชลล์ ทุกคนลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าหมดแล้ว หรือแม้แต่บริษัทขนส่ง เช่น Grab หากวันหนึ่งจะทำมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของตัวเองขายก็ทำได้ เพราะมีดีมานด์จากไรเดอร์ตัวเอง” สรณัญช์กล่าว

 

อีก 4 ปีขอส่วนแบ่ง 1 แสนคัน

พลังฮึดของ ETRAN รุกคืบเข้าตลาดไรเดอร์ได้ ประจวบเหมาะเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศไทยที่เป็นไปในทางเดียวกันคือ ต้องการใช้พลังงานสะอาด ลดมลพิษ รัฐบาลไทยจึงมีแนวทางสนับสนุนให้ไทยเป็น ‘EV Hub’ ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทอีทรานได้เข้าไปร่วมในคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด EV

การสนับสนุนมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรีอยู่ในแผนเร่งด่วนของบอร์ด EV แล้ว สรณัญช์ยังให้ข้อมูลด้วยว่า บอร์ด EV มีเป้าส่งเสริมให้มีการใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 360,000 คันภายในปี 2568 จากปัจจุบันมีการใช้งานเพียง 4,000 คัน (ในไทยมีรถมอเตอร์ไซค์ใช้งานอยู่ 20-22 ล้านคัน)

จากเป้าหมายของประเทศ ETRAN ตั้งเป้าชิงส่วนแบ่ง 100,000 คันในปี 2568 และหวังว่าจะเป็นเจ้าตลาดในไทย

นอกจากนี้ ยังต้องการจะดึงให้การผลิตเกิดขึ้นที่ไทย 100% ดังนั้นต้องลงทุนไลน์ผลิตแบตเตอรี โดยหวังว่ารัฐจะให้การสนับสนุน BOI หากมีดีมานด์สูงคุ้มค่าและได้รับการสนับสนุนจากรัฐ สรณัญช์คาดว่าอาจเริ่มลงทุนได้ภายในปี 2565

แม้ว่าการตั้งเป้าตัวเลขและการตะลุยสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะสำคัญ แต่สิ่งที่สรณัญช์ไม่เคยทิ้งไปคือโจทย์หลักตั้งแต่วันแรกในการประชุมที่คอนโดฯ ของเขานั่นคือ “คุณภาพชีวิต” ของผู้ขับขี่ เขาต้องการให้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของเขา ‘ช่วยโลก’ ได้จริงๆ ลดการปล่อยมลภาวะทุกขั้นตอน และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ใช้รักษ์โลกของเรามากขึ้น โดยอนาคตจะเห็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจกว่าแค่การผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

“วันแรกเราเหมือนเริ่มจากติดลบ เราทำแบบไม่รู้อะไรเลย แต่วันนี้เหมือนเราจบปริญญาตรีแล้ว กำลังจะต่อปริญญาโท เพราะเราเริ่มมี core technology ของตัวเองแล้ว” สรณัญช์กล่าวทิ้งท้าย

]]>
1344792
LINE เตรียมเงิน 630 ล้าน เทใส่ “สตาร์ทอัพไทย” ผ่าน “LINE ScaleUp” https://positioningmag.com/1219722 Thu, 14 Mar 2019 06:57:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219722 แม้ปีที่ผ่านมาวงการสตาร์ทอัพไทยจะยังคงคึกคัก มีน้องใหม่เกิดขึ้นมากหน้าหลายตา และไม่น้อยก็ได้เงินสนับสนุนจาก VC หรือ Venture Capital ไปเรียบร้อย

แต่เจเดน คังผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร LINE ScaleUp แห่ง LINE ประเทศไทย กลับมองว่า ไทยยังอยู่ในระดับเริ่มต้นของธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจราว 61 ล้านเหรียญ (ราว 1,800 ล้านบาท) เท่านั้น

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งวงการสตาร์ทอัพในอินโดนีเซีย ที่ได้รับเงินลงทุนรวมกันกว่า 3 พันล้านเหรียญ หรือกระทั่งสิงคโปร์ยังอยู่ที่ 890 ล้านเหรียญ ส่วนมาเลเซียก็ไม่น้อยหน้า 148 ล้านเหรียญ ถือว่าเมืองไทยไม่ได้รับการสนับสนุน หรือพัฒนาเท่าที่ควร 

โดยในระหว่างปี 2011 – 2018 สตาร์ทอัพไทยมูลค่าทางธุรกิจราว 337.4 ล้านเหรียญเท่านั้น โดยสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับเริ่มต้น (Pre Seed) กว่า 87 ราย ถัดมาในระดับ Seed อยู่ที่ 49 รายได้รับเงินลงทุนในระดับซีรีส์ A อยู่ที่ 21 ราย และอยู่ในซีรีส์ B และ C 10 รายเท่านั้น

สิ่งที่ LINE ค้นพบคือ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นใน PlayStore กว่า 2.6 ล้านแอป และบน App Store อีกกว่า 2 ล้านแอป ในขณะที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นมาติดตั้งบนเครื่องราว 30 แอป และเปิดใช้งานเป็นประจำเพียง 6-7 แอปเท่านั้น

ขณะเดียวกันยังพบว่า กว่า 90% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในประเทศไทย ใช้งาน LINE เป็นประจำทุกวัน และส่วนใหญ่ใช้เวลา 1 ใน 3 อยู่กับ LINE แสดงให้เห็นถึงโอกาสของสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมกับ LINE ว่าจะสามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้

จึงเป็นมาของการทำโครงการ “LINE ScaleUp” ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพไทย ได้ขยายโปรดักต์ตนเองสู่แพลตฟอร์ม LINE รวมถึงร่วมงานกับ LINE โดยเริ่มต้นปีที่แล้วมีผู้สมัครเกิน 50 ราย ซึ่ง LINE ได้เข้าไปลงทุนและการซื้อกิจการสตาร์ทอัพอย่าง DGM59, Sellsuki และ Fastwork

ปี 2019 ถือเป็นปีที่ 2 ที่ทำต่อเนื่อง โดย LINE ได้ร่วมมือกับ LINE Ventures หน่วยงานที่เน้นด้านการลงทุนภายใต้บริษัท LINE Corporation ซึ่งประกอบด้วย 3 กองทุนและ 43 พอร์ตการลงทุนทั่วโลก ได้เตรียบงบลงทุนในสตาร์ทอัพที่ผ่านเข้าสู่โครงการกว่า 20 ล้านเหรียญ (ราว 630 ล้านบาทงบนี้เป็นส่วนหนึ่งของบลงทุนที่ตั้งไว้ 1 แสนล้านเหรียญทั่วโลก

คุณสมบัติของสตาร์ทอัพที่สามารถเข้าร่วมโครงการ คือ จะต้องเป็นสตาร์ทอัพที่มีการเปิดให้บริการโปรดักต์ หรือเซอร์วิสตนเองสู่ตลาดเรียบร้อยแล้ว และมีความต้องการที่จะขยายบริการ (Scale) รวมถึงมีความตั้งใจที่พัฒนาธุรกิจบนแพลตฟอร์มของ LINE อย่างจริงจัง

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ LINE ScaleUp ผ่าน https://scaleup.line.me ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม พร้อมกับเสนอผลงานในวันที่ 5 มิถุนายน และจะมีการคัดเลือก 5 ทีมเพื่อเข้าสู่ ScaleUp Camp ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม จากนั้นทำการคัดเลือกอีกครั้งเพื่อหาทีมที่ดีที่สุดในเดือนพฤศจิกายนต่อไป

]]>
1219722