สิงคโปร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 14 Oct 2024 02:25:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 OpenAI ผู้ผลิต ChatGPT เตรียมเปิดสํานักงานในสิงคโปร์ ภายในสิ้นปี 2024 https://positioningmag.com/1494130 Fri, 11 Oct 2024 11:19:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1494130 OpenAI ผู้พัฒนาแชทบอทอัจฉริยะ (AI) อย่าง ChatGPT ประกาศจะจัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ภายในสิ้นปี 2024 ถือเป็นสํานักงานแห่งที่ 2 ใน APAC หลังจากเข้าไปเปิดสำนักงานในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยในการเปิดสำนักงานที่ญี่ปุ่น OpenAI ได้มอบสิทธิ์การเข้าถึงและใช้งานโมเดล GPT-4 ที่ปรับให้รองรับภาษาญี่ปุ่นและตอบสนองความต้องการสำหรับธุรกิจหรือบริการในญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งโมเดล GPT-4 ที่เปิดให้ใช้ในญี่ปุ่นมีจุดเด่นคือ การแปลภาษา และการสรุปเนื้อหาในภาษาญี่ปุ่น ที่เร็วกว่าเวอร์ชันก่อนหน้าถึง 3 เท่า  จากตัวอย่างการทดสอบ ระบุว่า เมืองโยโกซูกะ มีการนำ ChatGPT มาช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ พบว่า ได้ประสิทธิภาพงานเพิ่มขึ้น 80% ซึ่งเมืองโยโกซูกะจะร่วมมือกับอีก 21 เมือง รวมทั้งเมืองหลักอย่างโตเกียวและโกเบ เพื่อถ่ายทอดแนวทางการนำ ChatGPT มาใช้กับหน่วยงาน เป็นต้น ส่วนการเปิดสำนักงานที่สิงคโปร์นั้น Sam Altman ซีอีโอของ OpenAI ระบุว่า สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการเป็นผู้นำเรื่อง AI จึงมีการร่วมมือกับ AI Singapore สถาบันวิจัยที่เกิดจากการสนับสนุนของภาครัฐ ที่รวบรวมงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผลักดันความก้าวหน้าของ AI ให้คนเอเชียสามารถเข้าถึงในวงกว้างได้ยิ่งขึ้ง และจากข้อมูลที่บริษัทฯ รวบรวมไว้พบว่า ชาวสิงคโปร์เป็นหนึ่งประเทศที่มีผู้ใช้งาน ChatGPT ต่อหัวสูงสุดทั่วโลก โดยมีจํานวนผู้ใช้ที่ใช้งานรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ วางแผนที่จะทำการสํารวจพื้นที่สํานักงานและจ้างพนักงาน 5-10 คน ภายในสิ้นปีนี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การจ้างงานสําหรับตําแหน่งเฉพาะในสิงคโปร์ นอกจากนั้น OpenAI ยังเตรียมเงินลงทุนไว้ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับส่งเสริมการพัฒนาโมเดล AI ให้ตอบโจทย์ภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ทั้งนี้ มีผู้คนมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก มีอัตราการใช้ ChatGPT ในทุกสัปดาห์ อีกทั้ง OpenAI ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในปี 2022 เนื่องจากการเปิดตัวแชทบอท ซึ่งดึงดูดความสนใจของสาธารณชนและนักลงทุนในเทคโนโลยี AI ที่สร้างได้อย่างรวดเร็ว  ที่มา : The Business Times , OpenAI , CNA , Bloomberg

]]>
1494130
‘ฮ่องกง’ ปูพรมแดงรอรับ ‘เศรษฐีจีน’ กลับประเทศ หลัง ‘สิงคโปร์’ เริ่มตรวจสอบเงินชาวต่างชาติจากคดีการ ‘ฟอกเงิน’ https://positioningmag.com/1481939 Tue, 09 Jul 2024 05:51:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481939 จากที่รัฐบาลจีนกำลังเข้มงวดกับการปราบปรามการ หนีภาษี ของบรรดา เศรษฐี รวมถึงการป้องกันทรัพย์สินจากนโยบาย Common Prosperity เพื่อลดความไม่เท่าเทียม ทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีนจึงย่องออกนอกประเทศ โดย สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในปลายทางยอดนิยม

โดยจากรายงานของ Henley & Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการย้ายถิ่นฐาน เผยว่า ในปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีน ที่มีรายได้อย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36.7 ล้านบาท) อพยพออกนอกประเทศถึง 13,800 คน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนเศรษฐีไหลออกนอกประเทศมากสุดในโลก และในปี 2024 นี้ คาดว่าจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 15,200 คน

โดย สิงคโปร์ ถือเป็นปลายทาง Top 3 ที่เศรษฐีจีนย้ายไปอยู่มากที่สุด นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากรัฐออกมาตรการดึงดูดหลายประการ เช่น การลดหย่อนภาษีสำนักงานครอบครัว, โปรแกรมวีซ่าและจัดหาถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ยังเป็นคนเชื้อสายจีนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีฟอกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีความผิดฐานพัวพันกับการพนันออนไลน์ ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับสำนักงานธุรกิจครอบครัว (Family Office) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวที่สิงคโปร์ในอนาคต ทำให้มีมาตรการคุมเข้มเพื่อป้องกันการฟอกเงิน ส่งผลให้ลูกค้าบางส่วนไม่อยากมาใช้บริการสำนักงานธุรกิจครอบครัว เพราะหงุดหงิดกับกระบวนการและคำถามที่ถูกถาม

“สำหรับมหาเศรษฐีบนแผ่นดินใหญ่หลายคน เพราะพวกเขาไม่ชอบการแทรกแซงของรัฐบาลตามอำเภอใจ การตรวจสอบของรัฐบาล หรือการคุกคามต่อความมั่งคั่งส่วนบุคคลของพวกเขา นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาต้องการย้ายเงินออกจากจีน หากสิงคโปร์จะตรวจสอบและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นดินใหญ่ แล้วทำไมพวกเขาถึงอยากไปที่นั่น?” Zhiwu Chen ศาสตราจารย์ด้านการเงินของมหาวิทยาลัยของฮ่องกง กล่าว

ส่งผลให้คาดว่า ฮ่องกง จะได้อ้าแขนรับเศรษฐีจีนกลับมาประมาณ 200 คนในปีนี้ เนื่องจาก ธุรกิจในฮ่องกงกำลังฟื้นตัว โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของฮ่องกงเติบโต 2.1% เป็น 31 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง (5.4 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์)

“ผมเริ่มเห็นมหาเศรษฐีที่เริ่มเข้าไปสร้างธุรกิจสำนักงานครอบครัวในฮ่องกงมากขึ้น หลังธุรกิจของธนาคารเอกชนในจีนฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเติบโตของกลุ่มเดียวกันในสิงคโปร์ชะลอตัวลง ซึ่งหมายความว่าเงินจะย้ายไปสิงคโปร์น้อยลง”

อีกจุดที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินของเศรษฐีจีนที่จะไปสิงคโปร์ตอนนี้มุ่งหน้าไปยังฮ่องกงก็คือ ยอดขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ยอดนิยมของชาวจีนผู้มั่งคั่งจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% เป็น 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023

ขณะที่ พอล ชาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในเดือนนี้ว่า ในปีที่ผ่านมา กระแสเงินไหลเข้าสุทธิของกองทุนพุ่งสูงขึ้น มากกว่าสามเท่า เป็นเกือบ 3.9 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากที่ในปี 2022 กระแสเงินไหลเข้าของกองทุนความมั่งคั่งและธนาคารส่วนตัวลดลงประมาณ 80%

 

Source

]]>
1481939
“สิงคโปร์” ยึดหัวหาดตัวเลือกเบอร์ 1 ที่ตั้ง “สำนักงานใหญ่ภูมิภาคเอเชีย” ของบรรษัทข้ามชาติ https://positioningmag.com/1463750 Fri, 23 Feb 2024 04:02:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463750 Bloomberg รายงาน “สิงคโปร์” ยังคงเป็นเบอร์ 1 เมืองที่บรรษัทข้ามชาติเลือกตั้ง “สำนักงานใหญ่ภูมิภาคเอเชีย” มากที่สุด แซงหน้าคู่แข่งอย่าง “ฮ่องกง” ไปแบบไม่เห็นฝุ่น แม้แต่บริษัทจีนเองยังพิจารณาเลือกสิงคโปร์มากกว่า

รายงานจาก Bloomberg Intelligence สำรวจการตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียของบริษัทข้ามชาติเมื่อปี 2023 พบว่า “สิงคโปร์” เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคถึง 4,200 บริษัท เป็นเบอร์ 1 ของภูมิภาคเอเชีย และแซงหน้าคู่แข่งสำคัญอย่าง “ฮ่องกง” แบบไม่เห็นฝุ่น เนื่องจากฮ่องกงมีสำนักงานใหญ่ภูมิภาคอยู่เพียง 1,336 บริษัท

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานเพื่อครองตำแหน่งจุดหมายปลายทางในการตั้งธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย แม้แต่บริษัทสัญชาติจีนหลายแห่งยังเลือกที่จะตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์มากกว่าฮ่องกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือกระจายความเสี่ยงด้าน ‘ภูมิรัฐศาสตร์’

“ฮ่องกงเริ่มเสียเปรียบในการแข่งขันเพื่อดึงดูดธุรกิจข้ามชาติให้เข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค หลังจากบริษัทสากลหรือแม้แต่บริษัทจีนเองต่างเลือกสิงคโปร์มากกว่า เพราะสิงคโปร์มีความสัมพันธ์กับตะวันตกที่ดีกว่า เป็นแหล่งรวมแรงงานที่มีทักษะสูง (talent pool) มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย และให้แรงจูงใจทางภาษี” ข้อมูลส่วนหนึ่งจากรายงานฉบับนี้ของ Bloomberg เผย

“บริษัทหลายแห่งมักจะให้คะแนนสิงคโปร์มากกว่าในแง่ของเสถียรภาพทางการเมือง และการให้เสรีภาพมากกว่าท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังไต่ระดับสูงขึ้นในภูมิภาคนี้”

ย่านเซ็นทรัล (Central) บนเกาะฮ่องกง ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจเเละเเหล่งช้อปปิ้ง Photo : Shutterstock

ในระยะหลัง “ฮ่องกง” มีภาพลักษณ์การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของ “จีน” เด่นชัดขึ้น จากการเข้าปราบปรามการประท้วงทางการเมือง และการทำตามนโยบาย ‘Zero-Covid’ ของจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงเกิดโรคระบาด เทียบกับ “สิงคโปร์” ยังขับเน้นภาพลักษณ์ความเป็นอิสระของตนเอง และกลายเป็นที่ต้องการตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติมากขึ้น

แม้ว่าฮ่องกงจะพยายามดึงดูดใจด้วยการลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 16.5% ซึ่งดูเหมือนจะแข่งขันได้กับสิงคโปร์ที่ตั้งภาษีนิติบุคคลโดยทั่วไปไว้ที่ 17.0% แต่ในสิงคโปร์ก็มีโปรแกรมจูงใจอื่นๆ ที่ทำให้บริษัทสามารถหาทางลดภาษีเหลือ 13.5% ได้ด้วย และสิงคโปร์ยังมีแรงจูงใจพิเศษทางภาษีสำหรับบริษัทต่างชาติที่ต้องการตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอีก

บริษัทชื่อดังส่วนใหญ่มีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์ เช่น FedEx, Microsoft, Google, Mead Johnson, Rolls-Royce, General Motors

แม้แต่บริษัทจีนเองก็เลือกขยายสำนักงานภูมิภาคมาที่นี่ โดยเฉพาะถ้าหากเป็นบริษัทที่ต้องเลี่ยงความอ่อนไหวด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok, บริษัทขายเสื้อผ้าออนไลน์ Shein, บริษัทรถยนต์อีวี Nio หรือ บิ๊กเทคคัมปะนีอย่าง Alibaba Group Holding และ Huawei Technologies ก็อยู่ที่นี่ด้วย

Bloomberg Intelligence รายงานว่า การมีเศรษฐกิจที่หลากหลายในสิงคโปร์จะยิ่งช่วยให้ประเทศนี้ยิ่งดึงดูดบริษัทสากลได้มากกว่าฮ่องกงไปอีก 5 ปีข้างหน้า

Source

]]>
1463750
“สิงคโปร์” ดีลสั่งซื้อ “ไฟฟ้า” คาร์บอนต่ำจาก เวียดนาม อินโดฯ กัมพูชา มุ่งเป้าลดโลกร้อน https://positioningmag.com/1449606 Fri, 27 Oct 2023 11:51:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449606 ตั้งแต่ปี 2033 เป็นต้นไป “สิงคโปร์” จะนำเข้า “ไฟฟ้า” คาร์บอนต่ำจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา เพื่อไปสู่เป้าการนำเข้าพลังงานหมุนเวียนให้ได้ครบ 4GW ภายในปี 2035

Energy Market Authority (EMA) เปิดเผยว่า “สิงคโปร์” ตกลงดีลสั่งซื้อ “ไฟฟ้า” คาร์บอนต่ำ นำเข้าจากเวียดนาม 1.2 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งจะส่งผ่านสายเคเบิลใต้ทะเลมาเป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร

พลังงานไฟฟ้าที่จะนำเข้าจากเวียดนามนี้คิดเป็นสัดส่วน 10% ของความต้องการไฟฟ้าในสิงคโปร์ในแต่ละปี

ก่อนหน้านี้สิงคโปร์ก็มีการเซ็นดีลในลักษณะเดียวกันกับ “อินโดนีเซีย” โดยจะนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจากอินโดฯ 2GW รวมถึงจะนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจาก “กัมพูชา” อีก 1GW

ไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเหล่านี้ผลิตขึ้นจากหลายรูปแบบผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม

เมื่อนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเหล่านี้ได้ครบถ้วน จะทำให้สิงคโปร์ใช้ไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเป็นสัดส่วน 30% ของความต้องการพลังงานภายในปี 2035

การนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสิงคโปร์นี้ เกิดขึ้นจากการทำการศึกษาโครงการร่วมกันระหว่างสิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ยังมีแผนที่จะนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจากแหล่งอื่นๆ ในภูมิภาคเพิ่มอีกในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 สิงคโปร์เริ่มศึกษาโครงการนำเข้าไฟฟ้าพลังงานน้ำจากลาวขนาดประมาณ 100 เมกะวัตต์ (MW) แล้ว โดยจะส่งผ่านมาทางประเทศไทยและมาเลเซีย

ส่วนการผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเองบนเกาะสิงคโปร์ เนื่องด้วยพื้นที่เกาะอันจำกัด ทำให้สิงคโปร์เลือกใช้พลังงานโซลาร์เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายจะผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ให้ได้ 2GW ในปี 2030 เพื่อสนองความต้องการใช้งานให้ได้ 350,000 ครัวเรือน

ปัจจุบันนี้สิงคโปร์สามารถผลิตไฟฟ้าโซลาร์ได้แล้ว 1GW หรือไปได้ครึ่งทางของเป้าหมายแล้ว และกำลังพยายามหาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้พื้นที่หนึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าโซลาร์ได้สูงยิ่งขึ้น หรือสามารถติดแผงโซลาร์บนผนังด้านนอกของตัวอาคารให้ได้ รวมถึงจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานด้วย เพราะพลังงานโซลาร์จะผลิตได้เฉพาะช่วงกลางวันเท่านั้น

source

]]>
1449606
เท่าไหร่ก็ไม่พอ! อัตราเกิดใน ‘สิงคโปร์’ ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้รัฐฯ อัดฉีดกว่า 3 แสนบาทเพื่อจูงใจ https://positioningmag.com/1444549 Mon, 18 Sep 2023 04:13:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444549 แม้ว่า สิงคโปร์ จะถือเป็นประเทศที่มีความสุขสูงสุดในเอเชียและตะวันออกกลาง ตามรายงาน World Happiness Report จากสหประชาชาติ (U.N.) ก็ตาม แต่อัตราการเกิดของสิงคโปร์กลับลดต่ำลงเรื่อย ๆ โดยสาเหตุหลัก ๆ เลยก็คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ภาครัฐจะออกนโยบายกระตุ้น พร้อมให้สิทธิพิเศษมากมายก็เหมือนจะยังไม่สามารถจูงใจได้

ปี 2022 อัตราการเกิดของสิงคโปร์แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.05 โดยลดลงถึง 7.9% หลังจากลดลงต่อเนื่องมาหลายปี ยกเว้นแค่ในปี 2021 ที่เกิดการระบาดของโควิดที่อัตราเกิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.1 เป็น 1.12 โดยสาเหตุที่ทำให้อัตราการเกิดลดลงนั้นหนีไม่พ้นเรื่อง ค่าครองชีพที่สูง ทำให้หลาย ๆ คนไม่อยากขยายครอบครัว

การมีลูกนั้นเชื่อมโยงกับหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น ความสามารถในการซื้อบ้าน คู่สมรส และความพร้อมของตลาดงาน ซึ่งถ้ารู้สึกพร้อมทั้งหมด คุณก็จะรู้สึกปลอดภัยพอที่จะมีลูก ซึ่งความน่าดึงดูดใจของการอยากมีลูกลดลงอย่างมากจริง ๆ” Jaya Dass กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Ranstad กล่าว

ปัจจุบัน สิงคโปร์กำลังเผชิญกับอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยข้อมูลจาก สถาบันการศึกษานโยบายในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 2024 ปี มีโอกาสคลอดบุตรน้อยกว่าผู้หญิงอายุระหว่าง 3539 ปี แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงเลือกที่จะมีบุตรในภายหลังหรือ ไม่มีเลย

ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลต้องทุ่มสิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีลูก โดยคู่รักที่มีบุตรตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ พ่อ-แม่จะได้รับเงินคนละ 11,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 290,000 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 8,000 สิงคโปร์ สำหรับลูกคนแรกและคนที่สอง และเพิ่มเป็น 13,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 3440,000 บาท) สำหรับลูกคนที่สามและต่อ ๆ ไป ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 30%-37% นอกจากนี้ คุณพ่อยังสามารถลางานเพิ่มได้จาก 2 สัปดาห์เป็น 4 สัปดาห์ สำหรับพ่อของเด็กที่เกิดในปี 2024

อย่างไรก็ตาม เวิน เหว่ย ตัน นักวิเคราะห์จาก Economist Intelligence Unit มองว่า ต่อให้ทุ่มเงินมหาศาลก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะการแก้ปัญหาอัตราการเจริญพันธุ์จะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับจุดอ่อนของระบบที่ซ่อนอยู่ ซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึงการจัดการกับความท้าทายด้านประชากรศาสตร์เท่านั้น

ทั้งนี้ ในปี 2022 EIU จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นเมืองที่ ค่าครองชีพแพงที่สุด โดยครองตำแหน่งสูงสุดร่วมกับนิวยอร์กซิตี้ ขณะที่ ราคาบ้านก็แพงสุดในเอเชียแปซิฟิก โดยเพิ่มขึ้น 7.5% ดังนั้น การเป็นเจ้าของบ้านก็ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคู่รักหนุ่มสาวเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูบุตรในสิงคโปร์ ส่งผลให้ชาวสิงคโปร์มีความรู้สึกว่า ไม่มั่นคงพอจะมีลูก แม้แต่กับกลุ่มคู่รักที่มีรายได้สองทาง แต่ก็เลือกจะไม่มีลูก

“ความไม่มั่นคงกำลังดึงผู้คนให้ห่างไกลจากการมีลูก” Mu Zheng ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว

นอกจากเรื่องค่าครองชีพแล้ว เรื่อง หน้าที่การงาน ก็เป็นอีกส่วน เนื่องจากกรอบความคิดคนเปลี่ยนแปลงไป โดยคู่รักจำนวนมากขึ้นเต็มใจที่จะ ให้ความสำคัญกับอาชีพการงานมากกว่าการแต่งงานและการมีลูก นอกจากนี้ การชะลอการแต่งงานหมายความว่าผู้คนอาจได้รับโอกาสมากขึ้นในการ ศึกษาต่อในระดับสูง ส่งผลให้บางคน เลือกมากขึ้น และ คาดหวังกับคู่ครองในอนาคตมากขึ้น

เมื่อผู้หญิงมีลูก พวกเธอจะเห็นการชะลอตัวในความก้าวหน้าในอาชีพการงาน หลายคนตัดสินใจที่จะรอจนกว่าพวกเขาจะรู้สึกมั่นคงและมั่นคงในงานของตน เพื่อไม่ให้ครอบครัวลำบากหากพวกเขาลาออกจากงาน” ตัน โปห์ ลิน นักวิจัยอาวุโสของ Lee Kuan Yew School of Public กล่าว

แน่นอนว่า สาเหตุที่รัฐบาลต้องกระตุ้นให้การเกิดเพิ่มมากขึ้นเป็นเพราะ จำนวนประชากรสูงวัย เพิ่มมากขึ้น แต่การเกิดลดลงจะมีผลกระทบต่อกำลัง แรงงานของสิงคโปร์ และจำนวนพนักงานที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ ภาษีของรัฐบาล

คุณกำลังรวบรวมเงินน้อยลงจากพนักงานที่มีขนาดเล็กลง ดังนั้น รัฐบาลจึงมีทรัพยากรทางการคลังน้อยลงเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศอาจต้องการ ต่อไป คนงานต้องจ่ายภาษีมากขึ้น และมีภาระทางการเงินในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น และหากใครแต่งงานและมีลูก ก็มีข้อพิจารณาทางการเงินมากขึ้น”

]]>
1444549
ล้ำกว่าใคร! ‘สิงคโปร์’ ขี้นอันดับ 1 ประเทศที่พนักงานนำ ‘เอไอ’ มาปรับใช้เร็วที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1441914 Tue, 22 Aug 2023 07:39:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441914 การมาของ ChatGPT ได้ทำให้ทั่วโลกหันมาตื่นตัวในเทคโนโลยี เอไอ (AI) โดยเฉพาะ Generative AI (GAI) และจากรายงาน Future of Work ล่าสุดของ LinkedIn ที่ทำการสำรวจข้อมูลใน 25 ประเทศทั่วโลกเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เอไอของพนักงานในประเทศนั้น ๆ โดยพบว่า สิงคโปร์ขึ้นแท่นเป็นประเทศนำเอไอมาใช้เร็วที่สุด

โดยเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศทั่วโลกแล้ว LinkedIn พบว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศที่พนักงานนำเอไอมาปรับใช้เร็วที่สุด เมื่อวัดจากจำนวนการอัพเดททักษะด้านเอไอลงในโปรไฟล์ส่วนตัว ซึ่งเพิ่มขึ้น 20 เท่า จากเดือนมกราคม 2016 ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 8 เท่า

โดย 5 ประเทศ ที่มีการปรับใช้เอไอมากที่สุด ได้แก่

  • สิงคโปร์: 20 เท่า
  • ฟินแลนด์: 16 เท่า
  • ไอร์แลนด์: 15 เท่า
  • อินเดีย: 14 เท่า
  • แคนาดา: 13 เท่า

Pooja Chhabria ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพและหัวหน้าฝ่ายบรรณาธิการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ LinkedIn กล่าวว่า ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงของสิงคโปร์ กรอบกฎหมายที่แข็งแกร่งสำหรับปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และระบบนิเวศที่เฟื่องฟูของบริษัทร่วมทุน และนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากที่ร่วมลงทุน ทำให้สิงคโปร์เป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเติบโตของเอไอมานานแล้ว

“เราได้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วในการพัฒนาเอไอ และการนำเอไอ มาใช้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยสตาร์ทอัพและธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะเข้าถึงตลาดเฉพาะกลุ่มใหม่ ๆ และเพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น”

ภาพจาก Unsplash

ต้องยอมรับว่าการมาของเทคโนโลยี Generative AI โดยเฉพาะการกำเนิดของ ChatGPT ในปีที่ผ่านมา ได้ทำให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่สนใจที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ โดยเฉพาะในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Google หรืออย่าง Microsoft ก็มีการเปิดฟีเจอร์ให้ผู้ใช้ LinkedIn ซึ่งเป็นบริษัทลูก สามารถสร้างข้อความจ้างงาน คำอธิบายงาน และโปรไฟล์ผู้ใช้ที่สร้างโดยเอไอ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถของ generative AI ในการสร้างข้อความ รูปภาพ และเนื้อหาอื่น ๆ ตามที่มนุษย์ป้อนคำสั่งไปนั้น ได้ทำให้เกิดความกังวลว่าจะ ตกงาน เพราะถูกเทคโนโลยีเทนที่ อย่างรายงานของ Goldman Sachs พบว่า งานกว่า 300 ล้านตำแหน่งทั่วโลกอาจได้รับผลกระทบจากเอไอและระบบอัตโนมัติ เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ

ถึงจะมีความกังวลดังกล่าว แต่หลายคนก็ยังเชื่อว่าเอไอจะเข้ามาเป็นผู้ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น อย่างเช่นอาชีพ ครู โดย LinkedIn พบว่า 45% ของทักษะของครู สามารถใช้ generative AI เสริมศักยภาพได้ เช่น การวางแผนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร แต่ส่วนที่เอไอมาแทนที่ไม่ได้ อาทิ การสอนในชั้นเรียน

ทั้งนี้ LinkedIn ประเมินว่า 6 อาชีพที่เทคโนโลยี Generative AI จะเข้าไปช่วยเสริมศักยภาพได้ สูงสุด ได้แก่

  • วิศวกรซอฟต์แวร์: 96%
  • ตัวแทนฝ่ายบริการลูกค้า: 76%
  • แคชเชียร์: 59%
  • พนักงานขาย: 59%
  • ครู: 45%
  • ผู้จัดการกิจกรรม: 39%

ส่วนงานที่เอไอเข้าไปช่วยเสริมศักยภาพได้ น้อยที่สุด ได้แก่

  • ผู้ปฏิบัติงานในแหล่งน้ำมัน: 1%
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม: 3%
  • พยาบาล: 6%
  • แพทย์: 7%

Source

]]>
1441914
“สิงคโปร์” อัปเดตระบบ “วีซ่า” ดึงทาเลนต์เข้าประเทศ เปิด 27 อาชีพคะแนนสูง-พร้อมอ้าแขนรับ https://positioningmag.com/1427050 Mon, 10 Apr 2023 11:44:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427050 รัฐบาล “สิงคโปร์” เปิดรายละเอียดอัปเดตระบบ “วีซ่า” ทำงานของชาวต่างชาติที่จะเริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2023 โดยจะเปลี่ยนมาเป็นการ “ให้คะแนน” รวมจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการประกอบ 27 อาชีพที่สิงคโปร์ต้องการ

ตั้งแต่วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์​ (AI) จนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ หรือสายงานนักวิทยาศาสตร์ด้านโปรตีนทางเลือก เหล่านี้คือส่วนหนึ่งในรายการอาชีพ 27 รายการที่รัฐบาลสิงคโปร์ปล่อยออกมาว่าจะเป็นอาชีพที่ได้คะแนนสูงในระบบให้วีซ่าแบบใหม่ และเป็นเครื่องสะท้อนว่าสิงคโปร์กำลังต้องการผลักดันให้เหล่าบริษัทต่างๆ เดินไปในทิศทางไหนหลังโรคระบาดคลี่คลาย

นักวิเคราะห์มองว่า ระบบวีซ่าใหม่ของสิงคโปร์มุ่งเน้นให้นายจ้างมีส่วนร่วมในการผลักดันเศรษฐกิจท้องถิ่นให้มากขึ้น กรุยทางให้ธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนกลยุทธ์การจ้างงานเพื่อให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสิงคโปร์เป็นอันดับแรก

ปัจจุบันสิงคโปร์มีแรงงานต่างชาติคิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งเกาะซึ่งมีอยู่ 5.64 ล้านคน ในจำนวนนี้มีกลุ่มที่ได้วีซ่าประเภท Employment Pass (EP) ซึ่งเป็นวีซ่าของชาวต่างชาติที่ทำงานในระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือทำงานอาชีพพิเศษต่างๆ ประมาณ 187,300 คน หรือ 13% ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2022)

ระบบใหม่ที่จะเริ่มใช้เดือนกันยายน 2023 นั้นจะเรียกว่า COMPASS ซึ่งเน้นการประเมินกลุ่มแรงงาน EP เป็นหลัก ผู้สมัครวีซ่าประเภท EP ทั้งหมดจะต้องผ่านการประเมิน 4 หัวข้อ ได้แก่ เงินเดือน, คุณสมบัติ, ความหลากหลายภายในบริษัทผู้ว่าจ้าง และอัตราส่วนของคนสิงคโปร์ที่อยู่ในบริษัทนั้นๆ

ทั้งนี้ การประเมินแต่ละหัวข้อจะให้คะแนนเป็น 3 ระดับ คือ 0 คะแนน, 10 คะแนน และ 20 คะแนน เพื่อที่จะได้ EP ในระบบใหม่ ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนครบ 40 คะแนน

ในหัวข้อคุณสมบัตินั้นจะถูกประเมินเรื่องอาชีพที่ทำ ซึ่งสิงคโปร์มีการออก “ลิสต์อาชีพที่ขาดแคลน” (SOL) เมื่อเดือนมีนาคม ปรากฏว่า มีทั้งหมด 27 สายอาชีพใน 6 อุตสาหกรรม ที่ถือว่าขาดแคลน และจะได้คะแนนเต็ม 20 คะแนนไปในหัวข้อนี้

อาชีพเหล่านี้รัฐบาลสิงคโปร์มองว่าเป็นอาชีพที่มีแรงงานไม่เพียงพอ จำเป็นต้องดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาเสริมชาวสิงคโปร์ โดย Nikkei Asia มีการรวบรวมตัวอย่างจาก 27 อาชีพไว้ ดังนี้

อุตสาหกรรมเกษตร: นักวิทยาศาสตร์ด้านโปรตีนทางเลือก

อุตสาหกรรมการเงิน: ที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้กับผู้มีความมั่งคั่งสูง, ที่ปรึกษา Family Office (สำนักงานครอบครัวเพื่อดูแลทรัพย์สินตระกูล), ที่ปรึกษาด้านการกุศล

อุตสาหกรรมสีเขียว: ผู้จัดการโครงการคาร์บอนเครดิต, เทรดเดอร์คาร์บอนเครดิต

อุตสาหกรรมสุขภาพ: นักจิตวิทยาคลินิก, นักรังสีการแพทย์, นักกายภาพบำบัด, พยาบาลอาชีพ

อุตสาหกรรมไอซีที: วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์​ (AI), ผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์, ผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงทางไซเบอร์, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, นักพัฒนาซอฟต์แวร์

อุตสาหกรรมเดินเรือ: ผู้กำกับการเดินเรือ

System Security Specialist Working at System Control Center. Room is Full of Screens Displaying Various Information.

ไฮไลต์ในลิสต์ SOL จะเห็นว่าอย่างไรคนทำงานสายเทคก็ยังเป็นที่ต้องการตัว ขณะเดียวกันคนทำงานสายการเงินที่สิงคโปร์พุ่งเป้าจะเป็นกลุ่มที่จัดการเกี่ยวกับความมั่งคั่ง เพราะสิงคโปร์เห็นโอกาสที่จะเป็นฮับสำหรับบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียมากยิ่งขึ้น

รวมถึงการมุ่งหาทาเลนต์ด้านการพัฒนาโปรตีนทางเลือก ก็เพราะสิงคโปร์วางเป้าไว้แล้วว่าจะเป็นฮับด้านนวัตกรรมอาหารแห่งเอเชีย

รัฐบาลสิงคโปร์ยังระบุด้วยว่า SOL จะถูกอัปเดตทุกๆ 3 ปี แต่ถ้าหากจำเป็น บางอาชีพอาจจะรีวิวใหม่ทุกปีก็ได้

สำหรับหัวข้ออื่นๆ ที่นำมาคิดคะแนนด้วย เช่น อัตราส่วนของพนักงานชาวสิงคโปร์ในบริษัท สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้สนใจเฉพาะตัวบุคคลที่ขอเข้ามาทำงานในประเทศเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว แต่ต่อไปนี้บริษัทที่มาตั้งในสิงคโปร์จะต้องช่วยรัฐบาลพัฒนาคนสิงคโปร์ด้วย เป็นการผลักดันให้บริษัทต้องรับคนสิงคโปร์และช่วยฝึกฝนให้พนักงานสิงคโปร์มีทักษะสูงขึ้น ลดการพึ่งพิงแต่ชาวต่างชาติ

ที่ผ่านมาสถาบันการเงินจากต่างประเทศมากมาย เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป ที่เข้ามาปักหลักสำนักงานในสิงคโปร์ มักจะใช้ระดับผู้บริหารเป็นคนจากประเทศต้นกำเนิดของตนเอง ซึ่งระบบ COMPASS ก็จะกดดันให้บริษัทลักษณะนี้หันมาจ้างคนสิงคโปร์ให้มากขึ้น

Source

]]>
1427050
“ฟินแลนด์” แชมป์ประเทศที่ “มีความสุขที่สุดในโลก” แห่งปี 2023 “สิงคโปร์” สุขที่สุดในเอเชีย https://positioningmag.com/1424446 Wed, 22 Mar 2023 10:31:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1424446 รายงาน World Happiness Report จากสหประชาชาติ (U.N.) ปี 2023 พบว่า ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกปีนี้ยังคงเป็น “ฟินแลนด์” แชมป์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ส่วนประเทศที่สุขที่สุดในเอเชียได้แก่ “สิงคโปร์” ขณะที่ “ไทย” อยู่ในอันดับ 60 จาก 137 ประเทศที่ทำการศึกษา

World Happiness Report ที่จัดทำโดยสหประชาชาติ (U.N.) ประจำปี 2023 รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจประชากรใน 137 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก เพื่อวัดผล “ความสุข” ของประชากรในชีวิตประจำวันในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

ในครั้งนี้มีการวัดผลระหว่างปี 2020-2022 คาบเกี่ยวในช่วงที่เกิดโรคระบาดขึ้น โดยใช้ปัจจัย 7 ประการในการวัดความสุขในชีวิต ได้แก่ ค่าเฉลี่ยจีดีพีต่อประชากร, การสนับสนุนทางสังคม (คุณมีใครให้พึ่งพิงในยามลำบากหรือไม่?), คาดการณ์ช่วงอายุของประชากรโดยที่ยังมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ, อิสระในการเลือกทางเดินชีวิต, ความเอื้ออาทรในสังคม, มุมมองที่มีต่อการคอร์รัปชัน (คุณเชื่อใจรัฐบาลและคนอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่?) และ แนวคิดถึงโลกที่ไม่พึงปรารถนา (dystopia)

10 อันดับแรก ประเทศ/เขตการปกครองที่ “มีความสุขที่สุดในโลก” ปี 2023 ได้แก่

อันดับ 1 ฟินแลนด์
อันดับ 2 เดนมาร์ก
อันดับ 3 ไอซ์แลนด์
อันดับ 4 อิสราเอล
อันดับ 5 เนเธอร์แลนด์
อันดับ 6 สวีเดน
อันดับ 7 นอร์เวย์
อันดับ 8 สวิตเซอร์แลนด์
อันดับ 9 ลักเซมเบิร์ก
อันดับ 10 นิวซีแลนด์

ส่วนประเทศ/เขตการปกครองที่มีความสุขน้อยที่สุดในโลก 10 อันดับท้ายตาราง ได้แก่ แซมเบีย แทนซาเนีย คอโมรอส มาลาวี บอตสวานา คองโก ซิมบับเว เซียร์ราลีโอน เลบานอน และอัฟกานิสถาน

ฟินแลนด์นั้นครองตำแหน่งประเทศที่สุขที่สุดในโลกเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน ส่วนอัฟกานิสถานซึ่งประสบภัยสงครามมาตลอดก็เป็นประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุด 3 ปีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2020

ส่วนประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในกลุ่ม Top 10 เช่น อันดับ 12 ออสเตรเลีย, อันดับ 13 แคนาดา, อันดับ 15 สหรัฐอเมริกา, อันดับ 16 เยอรมนี, อันดับ 19 สหราชอาณาจักร, อันดับ 21 ฝรั่งเศส

 

“สิงคโปร์” สุขที่สุดในเอเชีย “ไทย” ครองอันดับ 60

เฉพาะในทวีปเอเชียและตะวันออกกลาง มีประเทศที่น่าสนใจในแง่อันดับความสุขในโลก ดังนี้

อันดับ 25 สิงคโปร์
อันดับ 26 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
อันดับ 27 ไต้หวัน
อันดับ 47 ญี่ปุ่น
อันดับ 55 มาเลเซีย
อันดับ 57 เกาหลีใต้
อันดับ 60 ไทย
อันดับ 64 จีน
อันดับ 65 เวียดนาม
อันดับ 76 ฟิลิปปินส์
อันดับ 82 ฮ่องกง
อันดับ 83 อินโดนีเซีย
อันดับ 89 ลาว
อันดับ 115 กัมพูชา
อันดับ 117 เมียนมา
อันดับ 126 อินเดีย

(Photo by Maverick Asio/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)
ไฮไลต์อื่นๆ ที่น่าสนใจจาก World Happiness Report 2023
  • ประเทศชายฝั่งทะเลบอลติกในเขตยุโรปตะวันออกไต่อันดับความสุขกันอย่างรวดเร็ว เช่น ลิทัวเนีย ขึ้นมาอยู่อันดับ 20, เอสโตเนีย ขึ้นมาที่อันดับ 31, ลัตเวีย อยู่ในอันดับ 41 ซึ่งเกิดจากประเทศเหล่านี้หลังแตกตัวจากสหภาพโซเวียตนานกว่า 2 ทศวรรษ ปัจจุบันสามารถสร้างชาติของตัวเองได้แข็งแรงขึ้นแล้ว
  • สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ทั้งสองประเทศมีทัศนคติที่ดีขึ้นมากต่อรัฐบาลของตนเอง (ความสุขของคนยูเครนอยู่ในอันดับ 92 และรัสเซียอยู่ในอันดับ 70)
  • โควิด-19 มีผลกระทบต่อการคิดคำนึงถึงความหมายของชีวิตมากขึ้น หลายคนกลับมาทบทวนว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร
  • คนในโลกนี้รู้สึกว่าสังคมมี “ความเอื้ออาทร” ต่อกันมากขึ้นถึง 25% ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งของความสุขในชีวิต เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนระหว่างเกิดโรคระบาดโควิด-19

Source: Yahoo, CNN

]]>
1424446
Alibaba ร่วมทุนสร้างตึกที่สูงที่สุดในสิงคโปร์ คาดแล้วเสร็จในปี 2028 https://positioningmag.com/1395386 Sun, 07 Aug 2022 09:13:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395386 ยักษ์ใหญ่ E-commerce จากประเทศจีนอย่าง Alibaba ร่วมทุนสร้างตึกที่สูงที่สุดในสิงคโปร์ โดยมีความสูงมากถึง 305 เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2028

Channel News Asia และ Forbes รายงานข่าวว่า Alibaba ได้ร่วมทุนกับ PerennialHoldings บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์รวมถึงผู้ลงทุนรายอื่นๆ เพื่อที่จะก่อสร้างตึกที่สูงที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีความสูงมากถึง 305 เมตร และมีทั้งหมด 63 ชั้นด้วยกัน

ตึกดังกล่าวนี้ได้ไฟเขียวจากหน่วยงานด้านการพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ (URA) ให้อนุญาตก่อสร้างตึกดังกล่าวนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตึกดังกล่าวที่ Alibaba ได้ร่วมทุนนั้นหากแล้วเสร็จจะมีความสูงกว่า Guoco Tower ซึ่งปัจจุบันครองแชมป์ตึกสูงที่สุดในสิงคโปร์

ที่ตั้งของตึกดังกล่าวจะอยู่ที่ Shenton Way ซึ่งในอดีตนั้นเป็นที่ตั้งของ AXA Tower ซึ่งมีความสูงทั้งสิ้น 234 เมตร ซึ่งยักษ์ใหญ่ E-commerce จากจีนรายนี้ถือเป็นผู้เช่าหลักของตึกนี้ด้วย ต่อมาในปี 2020 ทาง Alibaba เองก็ได้ประกาศลงทุนในโครงการตึกใหม่ในสัดส่วนมากถึง 50% ด้วย

พื้นที่ของตึกใหม่นั้นจะมีพื้นที่สำนักงาน โรงแรม พื้นที่ค้าปลีกและร้านอาหาร รวมถึงมีทางเดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินของสิงคโปร์ด้วย โดยเว็บไซต์ของ Forbes คาดว่าตึกนี้จะแล้วเสร็จในปี 2028

ที่มา – Channel News Asia, Forbes

]]>
1395386
“สิงคโปร์” โชว์โรดแมปเปลี่ยนประเทศเป็นเมืองแห่งสุขภาพ และความยั่งยืน https://positioningmag.com/1388672 Tue, 14 Jun 2022 06:22:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388672 เมื่อเร็วๆ นี้ สิงคโปร์ได้เปิดตัวแคมเปญโปรโมตการท่องเที่ยว “SingapoReimagine” แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศที่จะชูจุดเด่นในการเป็นเมืองแห่งสุขภาพ และหมุดหมายการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนสำหรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในด้านขนาดพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศสิงคโปร์ได้พิสูจน์ตัวเองให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ทุกสิ่งสามารถเป็นไปได้ ถ้าหากได้ลงมือทำภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง วันนี้สิงคโปร์ได้วางจุดยืนของตนเองให้เป็นหนึ่งในประเทศที่เขียวขจีที่สุดในโลก และภาคการท่องเที่ยวก็ได้เร่งพัฒนาและเปิดตัวสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพมากมายให้กับผู้มาเยือน

โดยเริ่มต้นจากเทศกาลส่งเสริมสุขภาพสิงคโปร์ 2565 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งถือว่าสิงคโปร์กำลังมาถูกทางแล้วในการเป็นเมืองแห่งสุขภาพและความยั่งยืนแห่งแรกในทวีปเอเชีย โดยการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board) ขอไปเจาะลึกถึงแผนพัฒนาประเทศ 3 แผนที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศสิงคโปร์

การเป็น “เมืองสีเขียว”

ในปี 2559 สิงคโปร์ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองที่เขียวขจีที่สุดในเอเชีย โดย Arcadis Sustainable Cities Index ซึ่งวัดจากความยั่งยืนของเมืองในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ นี่คือข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จด้านวิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์ ที่เรียกว่า “Garden City” ซึ่งเสนอโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ในปี 2510 เพื่อเปลี่ยนเมืองสิงคโปร์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว และยกระดับภาพชีวิตของประชาชนชาวสิงคโปร์ อีกทั้งยังช่วยให้สิงคโปร์เป็นจุดหมายที่ดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวอีกด้วย

เป็นเวลากว่า 50 ปี สิงคโปร์ไม่เพียงปลูกต้นไม้มากขึ้น แต่ยังผุดโครงการมากมาย เช่น การออกมาตรการในปี 2551 สำหรับอาคารก่อสร้างใหม่ จะต้องมีความเป็นอาคารสีเขียว โดยมีข้อกำหนดให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ต้องมีการออกแบบหลังคาหรือผนังสีเขียว ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิงคโปร์ให้เป็นเมืองสีเขียวมากขึ้น

นอกเหนือจากอาคารพาณิชย์และอาคารที่พักอาศัยแล้ว สิงคโปร์ยังสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวทั่วทั้งประเทศอีกด้วย หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พาร์คคอนเน็คเตอร์ (ParkConnector) หรือทางเดินยาว 300 กิโลเมตรที่เชื่อมสวนสาธารณะ และพื้นที่ทางธรรมชาติทั่วทั้งเกาะสิงคโปร์

ทางเชื่อมนี้ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ค้นหาและสนุกสนานไปกับกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ในธรรมชาติ ตั้งแต่การปั่นจักรยาน การวิ่งจ็อกกิ้ง หรือการเดินเพื่อการผ่อนคลาย เป็นต้น อีกหนึ่งตัวอย่างคือสวนริมทะเลสาบขนาดใหญ่การ์เด้น บาย เดอะ เบย์ (Gardens By The Bay) ที่รวมเอาสวนสไตล์ต่างๆ พื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็ก ทางเดินธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มารวมกันอยู่บนพื้นที่ 101 เฮกตาร์ (มากกว่า 630 ไร่)

นักท่องเที่ยวอาจจะคุ้นเคยกับฟลาวเวอร์ โดม (Flower Dome) และ คลาวด์ฟอร์เรสโดม (Cloud Forest Dome) แล้ว แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวสองแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์เมืองสีเขียว คือนอกจากจะเป็นโรงเรือนปลูกต้นไม้แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นโรงแสดงดนตรีอีกด้วย

การสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวยังไม่หมดเพียงแค่นี้ ในช่วงวิกฤติโรคโควิด-19 ประเทศสิงคโปร์ได้ประกาศว่าจะมีการพัฒนาใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามันได (Mandai Wildlife Reserve) เปิดแผนปรับปรุง โดยจะรวมสวนสัตว์สิงคโปร์, สวนนก, ไนท์ซาฟารีเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ โดยเพิ่มความใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เช่น ห้องพักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ถนนออร์ชาร์ด แหล่งช็อปปิ้งระดับโลกก็มีการปรับปรุงขนานใหญ่เช่นกัน โดยการย้อนอดีตกลับไปเป็นสวนสมุนไพรและสวนผลไม้ โดยจะปลูกต้นไม้ตลอดแนวถนน เพื่อสร้างทางเดินสีเขียวที่จะเชื่อมถนนออร์ชาร์ดกับแม่น้ำสิงคโปร์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในหลายๆ จุด เช่น ทางเดินในร่ม สวนและสนามเด็กเล่นตลอดเส้นทาง โดยแนวคิด “Garden City” นี้ได้ดำเนินมาอย่างยาวนานตั้งแต่มีการริเริ่มในปี 2510 จนถึงวันนี้ สิงคโปร์ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดใหม่ “City in Nature” โดยยังรักษามรดกความเป็นเมืองสีเขียวอยู่พร้อมๆ ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อความยั่งยืนทางธรรมชาติในอนาคต

พลิกโฉมการสร้างพลังงานและแหล่งอาหาร

การสร้างอนาคตที่ยั่งยืน นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ประเทศสิงคโปร์ยังทุ่มเทความพยายามในการหาทางเลือกใหม่ๆ เพื่อผลิตพลังงานและการบริโภคอาหาร ในปี 2546 สิงคโปร์เปิดตัวโครงการ “NEWater” ได้สำเร็จ

NEWater คือน้ำที่ผ่านการรีไซเคิลที่มีคุณภาพสูง เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรม และการระบายความร้อนเป็นหลัก บางครั้งก็สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้ด้วย น้ำนี้ผลิตจากโรงบำบัดรีไซเคิล 5 แห่งซึ่งเป็นผลจากแนวคิดริเริ่มในยุคปี 70 ที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง

นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังได้เปิดตัวฟาร์มโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2564 ด้วยขนาดเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 45 สนาม โดยพลังงานที่ผลิตได้จากฟาร์มจะถูกใช้ในการบำบัดน้ำเสียของสิงคโปร์ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ด้วย เนื่องจากการใช้พลังงานจากฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์นี้ เทียบเท่ากับการเอารถยนต์ 7,000 คันออกจากถนนของสิงคโปร์นั่นเอง

ในด้านของการบริโภคทรัพยากรและการค้นหาวิธีการผลิตพลังงานให้มีประสิทธิภาพ สิงคโปร์เริ่มใช้ต้นไม้เทียม ที่เรียกว่า “ซูเปอร์ทรี (Supertrees)” ซึ่งหากดูด้านนอก ก็เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีเฟิร์น เถาวัลย์และกล้วยไม้มาอาศัยล้อมรอบ แต่มันยังมีอะไรมากกว่านั้น นวัตกรรมชิ้นนี้ เป็นการลอกเลียนแบบต้นไม้จริง โดยสามารถดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ช่วยให้ต้นไม้ส่องสว่างได้เองเมื่อถึงเวลาของการแสดงโชว์กลางคืน Gardens Rhapsody

นอกเหนือจากการใช้พลังงานทางเลือกแล้ว อนาคตที่ยั่งยืนของสิงคโปร์ยังรวมถึงการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนด้วย ร้านอาหารแนวใหม่มากมาย เช่น “โอเพน ฟาร์ม คอมมูนิตี้ (Open Farm Community)” นำเสนอประสบการณ์การทานอาหารจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านอาหาร โดยแต่ละเมนูได้ผ่านการคัดสรรด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ และใช้วัตถุดิบที่ปลูกเองในสวนบริเวณร้าน เพื่อแสดงถึงความงามของอาหารที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบที่ได้รับการดูแลอย่างดียิ่ง ร้านอาหารแห่งนี้ได้พิสูจน์ความสำเร็จด้วยการคว้ารางวัล 2021’s MICHELIN Plate distinction ที่การันตีถึงรสชาติอาหารชั้นเยี่ยม สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า ประเทศสิงคโปร์ยังคงก้าวต่อไปเพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ในการผลิตพลังงานและอาหารเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

เสริมสร้างสุขภาพที่ดีอย่างมีเอกลักษณ์

สิงคโปร์ได้ประกาศแผนการเป็นหมุดหมายด้านสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติ ด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยคลายความเครียดจากสังคมเมืองกลายเป็นจุดขายที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นของเมืองสิงคโปร์ที่พร้อมให้บริการด้านสุขภาพในใจกลางเมืองนั้นเอง เริ่มต้นด้วยเทศกาลส่งเสริมสุขภาพสิงคโปร์ 2565 (Wellness Festival Singapore 2022) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 3-12 มิถุนายน 2565 ที่มีทั้งกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และประสบการณ์ด้านสุขภาพมากมายทั่วทั้งเกาะ

เทศกาลนี้รวบรวมทั้งกิจกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่ม การบริการโรงแรม ศิลปะและงานประดิษฐ์ และธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและค้นหาสมดุลของชีวิต อีกตัวอย่างหนึ่งของการให้บริการด้านสุขภาพในเมืองคือแพ็คเกจที่พัก 2 วัน1 คืนของโรงแรมราฟเฟิลส์ (Raffles Hotel) ที่เรียกว่า “Journey to Wholeness”

โดยเหนือกว่าการพักผ่อนแบบธรรมดาที่โรงแรม ด้วยการให้บริการฟื้นฟูสุขภาพของแขกที่เข้าพักด้วยประสบการณ์ของการผ่อนคลายอย่างล้ำลึก เปิดการสัมผัส สร้างการตระหนักรู้ และการรักษาด้วยอาหาร การทำสมาธิ โยคะยามเช้า การเคลื่อนไหวและการบำบัดด้วยเสียง ซึ่งภาคธุรกิจในสิงคโปร์เห็นถึงโอกาสและเริ่มหันมาเสนอบริการด้านสุขภาพมากขึ้น ทำให้สิงคโปร์เป็นหมุดหมายปลายทางด้านสุขภาพของนักเที่ยวอย่างแท้จริง

]]>
1388672