สินค้าจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 19 Sep 2024 12:01:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘KKP Reseach’ มอง 4 ปัจจัยที่ไทยดึงดูดให้ ‘สินค้าจีน’ ทะลัก จนเป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘ขาดดุล’ กับจีนเร็วที่สุด https://positioningmag.com/1490967 Thu, 19 Sep 2024 09:17:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490967 แนวโน้มการเข้ามาของสินค้าจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่หลังโควิด-19 ก็เริ่มเห็นสัญญาณการเร่งขึ้นของการขาดดุลการค้าระหว่างไทยกับจีนอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีน โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้จีนหันมาเร่งเติบโตด้วยการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก และระบายสินค้าคงคลังด้วยการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอาเซียน

โดย KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มองว่ามี 4 ปัจจัย ที่มีส่วนดึงดูดสินค้าจากจีนให้เร่งเข้ามาไทยมากกว่าในหลายประเทศ คือ

  • ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำเข้าสินค้าจากจีน ตัวอย่างเช่น การคิดอัตราภาษีจากสินค้าจีนในระดับต่ำ
  • การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จีนเป็นผู้นำ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า
  • การเกิดขึ้นของอีคอมเมิร์ซไทย โดยคนไทยมีความคุ้นเคยและนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพิจารณาจากราคา ไม่ยึดติดกับแบรนด์
  • การให้ Free visa กับนักท่องเที่ยวจากจีน ทำให้ไม่มีการตรวจสอบการเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด เปิดช่องทางให้คนจีนเข้ามาทำการค้าทำธุรกิจในไทยได้โดยง่าย

ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการส่งออกสินค้าจากจีน ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเร่งตัวของการขาดดุลการค้ากับจีนเร็วมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.5% ของ GDP ในปี 2012 เป็น 7.5% ของ GDP ในปี 2022 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 5 p.p. ซึ่งเกิดจากทั้งการนำเข้ามาเพื่อบริโภคในประเทศเอง และการนำเข้าเพื่อส่งออกสินค้าต่อไปยังต่างประเทศ

Photo : Shutterstock

ส่อง 5 กลุ่มสินค้าที่ทะลักเข้าไทยมากที่สุด

หากพิจารณาพัฒนาการของการค้าระหว่างไทยกับจีนในรายละเอียดอาจสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มสินค้าสำคัญที่น่าสนใจ คือ

  • กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นกลุ่มที่ส่งผลให้มีการขาดดุลมากที่สุด โดยสินค้าที่สำคัญที่ไทยนำเข้าจากจีนค่อนข้างมาก คือ สินค้าในกลุ่ม smartphone ซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้ผ่าน e-Commerce Platform ทำให้เห็นภาพว่าอีคอมเมิร์ซ มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการส่งผ่านสินค้าจากจีนมายังไทยมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  • สินค้าในกลุ่มเครื่องจักร เคยเป็นหนึ่งในประเภทสินค้าที่ไทยเกินดุลการค้ากับจีนจากสินค้าอย่าง Hard Disk Drive อย่างไรก็ดี ในภายหลังสินค้าเครื่องจักรจากจีนเริ่มเข้ามาในตลาดไทยมากขึ้น นำโดย Laptop และเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • สินค้าในกลุ่มยานยนต์ สินค้าที่ขาดดุลกับจีนเป็นอันดับต้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่สินค้าที่เกินดุลการค้ากับจีนเป็นสินค้ารถยนต์ที่ประกอบสำเร็จแล้ว โดยในปี 2022 เริ่มเห็นสัญญาณความเสี่ยงจากการที่ไทยเริ่มขาดดุลการค้ากับจีนในสินค้ารถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV โดยมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นแซงหน้าชิ้นส่วนยานยนต์ทุกประเภท
  • เหล็กกล้าและอะลูมิเนียม พบว่าเหล็กและอะลูมิเนียมขาดดุลการค้ามากขึ้นทุกปีกับจีน โดยมีสาเหตุจากกำลังการผลิตที่เกินอุปสงค์ภายในประเทศจีนที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ สุดท้ายจึงต้องส่งออกเหล็กสำเร็จรูปเหล่านั้นมาที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย
  • เคมีภัณฑ์และพลาสติก เปลี่ยนจากการเกินดุลการค้าเป็นขาดดุลการค้าในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าในปัจจุบันจีนมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม โดยมีกำลังผลิตรวมมากกว่ายุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้รวมกันเสียอีก จีนจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอีกต่อไป

เมื่อพิจารณาสินค้าในกลุ่มที่มีแนวโน้ม ส่งออกผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มายังประเทศไทย กลุ่มสินค้าที่ไทยมีแนวโน้มขาดดุลกับจีนมากขึ้นแ ได้แก่

  • คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มมากถึง 8.8% ของภาคการผลิตไทย
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าเพิ่ม 3.5 %
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า มีมูลค่าประมาณ 3 %

โดยนับรวมเป็นมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตในกลุ่มที่มีความเสี่ยงนี้คิดเป็นประมาณ 18% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของประเทศ โดยเริ่มเห็นทิศทางการผลิตที่ชะลอลงแล้วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้การเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อภาคบริการแบบเก่า คือ กลุ่มค้าปลีกมีโอกาสได้รับผลกระทบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ถึงประมาณ 16% ของ GDP และอาจมีผลกระทบสำคัญตามมาอีกอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ

  • รายได้ของธุรกิจมีแนวโน้มถูกกระทบรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ปรับตัวได้ยากกว่า
  • หนี้เสียมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นกลุ่มสินค้าเดียวกันกับสินค้าที่ไทยขาดดุลกับจีนมากขึ้น เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า เหล็ก
  • ดุลการค้ามีแนวโน้มพลิกเป็นขาดดุลในระยะยาว และกดดันค่าเงินบาทจากการนำเข้าสินค้าจีนทดแทนการผลิต
  • เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากสินค้าราคาถูกจากจีน
  • รัฐบาลไทยสูญเสียรายได้ภาษี จากการที่การชำระเงินให้กับการซื้อสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มข้ามชาติเหล่านี้ ถูกจ่ายตรงไปยังธุรกิจในต่างประเทศ

ไทยควรรับมืออย่างไร ?

การเข้ามาบุกตลาดของสินค้าจีนอาจมีข้อดีทำให้ซื้อสินค้าในราคาถูกลง แต่ตามมาด้วยผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้การออกมาตรการสกัดกั้นหรือตอบโต้สินค้าจากจีนอาจเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ KKP Research ประเมินว่า ภาครัฐไม่จำเป็นต้องกีดกันสินค้าจากจีนในวงกว้าง หากแต่ควรพิจารณาออกแบบมาตรการรับมือ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และหลักการ ในมิติดังต่อไปนี้

  • Fair competition: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีการลักลอบ หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อหลบเลี่ยงภาษี หรือเป็นการทุ่มตลาด ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียผลประโยชน์จากการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม
  • Quality and standards: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดโดยมาตรฐานสินค้าและอาหารของหน่วยงานภาครัฐไทยหรือไม่?
  •  Strategic industry: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่มาแข่งขันกับการผลิตในประเทศในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์สำหรับเศรษฐกิจไทย และการจ้างงานในภาพรวมหรือไม่?

ในกรณีที่สินค้ามีลักษณะที่ตรงตามเกณฑ์ต่าง ๆ ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือธุรกิจไทยในกรณีที่มีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจมีเวลาปรับตัวมากเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรการใดที่จะใช้ในการตั้งรับกับการแข่งขันในสมรภูมิสินค้าที่ดุเดือดมากขึ้นนี้ก็อาจเป็นเพียงการซื้อเวลาให้ผู้ประกอบการได้พอมีเวลาปรับตัว แต่สุดท้ายแล้วผู้ชนะในตลาดนี้จำเป็นต้องแข่งกันด้วยคุณภาพของสินค้า ประสิทธิภาพในการผลิต ความคุ้มค่า รวมไปถึงการบริการที่ตอบโจทย์และได้ความพึงพอใจจากผู้บริโภค นับเป็นโอกาสที่ดีที่ภาคการผลิตไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สร้างนวัตกรรม สร้างแบรนด์ที่มีความแตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยภาครัฐอาจต้องช่วยส่งเสริมด้วยการสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาปรับปรุงการผลิต รวมถึงการบุกเบิกตลาดใหม่

]]>
1490967
เจาะลึกความน่ากลัว ‘Temu’ อีคอมเมิร์ซจากแดนมังกรที่กล้างัดกับ ‘Amazon’ และกำลังมาตีตลาดไทย https://positioningmag.com/1484419 Tue, 30 Jul 2024 10:23:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484419 แค่มี Shopee กับ Lazada และ TikTok ก็แทบจะมีแต่ผู้เล่น จีน ที่ครองตลาด อีคอมเมิร์ซไทย ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ล่าสุดยังมีผู้เล่นใหม่เพิ่มมาอีกรายคือ Temu ที่เพิ่งเข้าไทยมาแบบเงียบ ๆ โดย Positioning จะพาไปรู้จัก Temu ว่าทำไมถึงเป็นอีกผู้เล่นที่ น่ากลัว

ก่อนจะรู้จัก Temu รู้จัก Pinduoduo ก่อน

คนไทยมักจะชินกับชื่อ Alibaba, JD ว่าเป็นผู้เล่นตัวท็อปในตลาดอีคอมเมิร์ซจีน แต่จริง ๆ แล้วทั้ง 2 บริษัทถูก Pinduoduo (พินตัวตัว) อีกหนึ่งบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนแซงหน้าในแง่ของมูลค่าบริษัทไปเรียบร้อยแล้ว และ Pinduoduo ก็ถือเป็นบริษัทพี่บริษัทน้องกับ Temu (ทีมู) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหม่ที่ใช้บุกตลาดโลก

จุดเริ่มต้นของ Pinduoduo นั้นเริ่มจากชายที่ชื่อ Colin Huang ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ PDD Holdings ที่ก่อตั้ง Pinduoduo ในปี 2015 โดยเริ่มจากจากการเป็นแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร ก่อนจะขยายไปสู่ผู้ให้บริการโซเชียลคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้กว่า 900 ล้านคน โดยมีคอนเซ็ปต์คือ นำความสนุกสนานมาสู่การช้อปปิ้ง ด้วยการ ซื้อเป็นกลุ่ม เพื่อให้ได้ราคาถูก

โดยผู้ซื้อสามารถแชร์ข้อมูลสินค้าที่ต้องการ เพื่อรวมคำสั่งซื้อกับเพื่อนในช่องทางต่าง ๆ หรือจะรอรวมกับผู้ซื้อรายอื่นก็ได้เพื่อสั่งซื้อไปยังร้านค้า หรือผู้ผลิตโดยตรง เพื่อให้ได้ สินค้าราคาส่ง นั่นเอง เนื่องจาก Pinduoduo สามารถจัดการคำสั่งซื้อในแบบ C2M หรือจากผู้บริโภคถึงผู้ผลิตโดยไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งช่วยให้ผู้ขายสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้บริโภคและลดต้นทุนได้อีกด้วย

ใช้แบรนด์ Temu ลุยตลาดโลก

จนมาปี 2022 ในขณะที่ทั่วโลกเจอกับวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้ 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba และ JD. เลือกจะ ยุติการขยายตลาดต่างประเทศ เพื่อคุมค่าใช้จ่าย แต่ไม่ใช่กับ Pinduoduo ที่เลือกออกไปเติบโตนอกจีน โดยเปิดตัวแพลตฟอร์มที่ชื่อ Temu ในเดือนกันยายน 2022 และใช้โมเดลซื้อเป็นกลุ่มเหมือนกับ Pinduoduo

โดย Temu เลือกที่จะบุกไปยังตลาดสหรัฐฯ เป็นประเทศแรก ทั้งที่มีผู้เล่นหลักอย่าง Amazon โดยในเดือนธันวาคม 2022 Temu ขึ้นเป็นแอปฟรีที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดบน App Store และ Google Play ในสหรัฐอเมริกา และภายใน 1 ปี Temu สามารถโกยผู้ใช้ได้ถึง 100 ล้านคน จากนั้นก็ขยายไป 47 ประเทศทั่วโลก

แน่นอนว่าปัจจัยที่ทำให้ Temu เติบโตอย่างรวดเร็วก็คือ สินค้าที่หลากหลาย แถมยัง ราคาถูก มีโปรจุก ๆ อย่าง ลด 90% นอกจากนี้ยัง ไม่มีค่าส่ง ทำได้ให้ได้ใจลูกค้าที่ต้องการของถูกไปเต็ม ๆ แต่นอกจากจะเล่นเรื่องราคาแล้ว ฝั่งการตลาด Temu ก็ทุ่มไม่แพ้กัน เพราะถึงขั้นเคยซื้อโฆษณาในรายการ Superbowl ซึ่งถือเป็น การแข่งขันกีฬาที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ยังไม่รวมการจ้างเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมตแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าไปสุดทุกทางสำหรับ Temu

ถูกตั้งคำถามเรื่องลิขสิทธ์และการใช้แรงงาน

แน่นอนว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แถมขายของถูกแสนถูก ทำให้ในเดือนเมษายน ปี 2023 คณะกรรมการทบทวนเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีน (USCC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสระของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้บันทึกสรุปเกี่ยวกับความท้าทายที่เกิดจากแบรนด์ Temu และ Shein เกี่ยวกับ ความกังวลของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และกล่าวหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์

นอกจากนี้ บริษัทแม่อย่าง PDD Holdings ก็ถูก China Labor Watch กล่าวหาว่า ใช้งานพนักงานเยี่ยงทาส โดยบังคับให้พนักงานทำงาน 380 ชั่วโมงต่อเดือน ทำให้บริษัทเผชิญการประท้วงทางออนไลน์ หลัง พนักงานเสียชีวิตหลายคน ในปี 2021

นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน 2023 สื่อ CNN รายงานว่า ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หลายทีมพบ มัลแวร์ในแอปมือถือของ Pinduoduo สำหรับอุปกรณ์ Google Android ซอฟต์แวร์นี้ทำให้แอป Pinduoduo เลี่ยงการอนุญาตด้านความปลอดภัยของผู้ใช้และเข้าถึงข้อความส่วนตัว หรือเปลี่ยนการตั้งค่าและป้องกันไม่ให้ถอนการติดตั้งแอป

ปัจจุบัน PDD Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Temu ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากเซี่ยงไฮ้ไปยัง ดับลิน เมืองหลวงของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับบริษัทเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Apple, Meta และ Google เนื่องจากมีโครงสร้างภาษีที่เป็นมิตรต่อธุรกิจ

SHANGHAI, CHINA – JULY 25 2018: FILEPHOTO – Headquarters of Pinduoduo, a rising B2C e-commerce platform, in Shanghai, China Wednesday, July 25, 2018.
PHOTOGRAPH BY Feature China / Barcroft Studios / Future Publishing (Photo credit should read Feature China/Barcroft Media via Getty Images)

เข้าไทยอย่างเงียบ ๆ

Temu เริ่มเข้ามาในตลาดอาเซียนในปี 2023 โดยเริ่มบุกที่ประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย มาปี 2024 นี้ ก็ถึงคิวของ ประเทศไทย แน่นอนว่านอกจากสินค้าราคาแสนถูก ยังมาพร้อมโปรโมชั่นจัดเต็มอย่าง ส่วนลดสูงสุด 90% และที่น่าแปลกใจ (มั้ง) คือ การจัดส่งสินค้า จากมณฑลกว่างโจว ประเทศจีน มายังกรุงเทพฯ ไม่เกิน 5 วัน!

เรียกได้ว่า สมรภูมิอีคอมเมิร์ซตอนนี้ดุเดือดกว่าเดิมแน่นอน แต่ที่แน่นอนไปกว่านั้น ผู้ประกอบการไทยอาจต้อง ปาดน้ำตาแทนเหงื่อ แล้วรอบนี้

]]>
1484419
Unicharm ชูจุดขาย Made in Japan เเข่งสินค้าจีน เพิ่มยอดส่งออกตลาดเอเชีย-ไทย เท่าตัว https://positioningmag.com/1353420 Sun, 26 Sep 2021 09:56:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353420 ‘Unicharm’ เดินเกมเเข่งสินค้าจีน ชูจุดขาย ‘Made in Japan’ ปรับยอดส่งออกหน้ากากอนามัย เพิ่มเป็นเท่าตัว ภายในปี 2023 รับความต้องการในเอเชียพุ่ง จับกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง โดยเฉพาะในไทย อินโดฯ เเละเวียดนาม

Nikkei Asia รายงานว่า Unicharm (ยูนิชาร์ม) เเบรนด์ผู้ผลิตของใช้ส่วนบุคคลจากญี่ปุ่น ที่มีสินค้าติดตลาดอย่างหน้ากากอนามัย ผ้าอนามัย เเละผ้าอ้อม ฯลฯ มีเเผนจะเพิ่มการส่งออกเป็นเท่าตัว ไปยังตลาดเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม พร้อมจะขยายตลาดในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

ที่ผ่านมา บริษัทจัดจำหน่ายหน้ากากอนามัยรุ่น Cho-Kaiteki และ Cho-Rittai 3D Mask ได้ถึง 1.3 พันล้านชิ้นในปีที่แล้ว เเละมีการวางขายในต่างประเทศประมาณ 10% โดยส่วนใหญ่ผลิตในญี่ปุ่น

สำหรับกลยุทธ์เพื่อชิงตลาดครั้งนี้ Unicharm จะมีการปรับแพ็กเกจใหม่ ขยายโลโก้ Made in Japan ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อชูจุดเเข็งจากชื่อเสียงคุณภาพสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น ดีไซน์ให้สวมใส่สบาย เน้นการป้องกันมลพิษเเละโควิด-19 ไปพร้อมๆ กัน

หน้ากากอนามัยของ Unicharm เเพงกว่าราคาเฉลี่ยในตลาดเอเชียอื่นๆ ถึง 5 เท่า โดยบริษัทมุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางสูง ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในเขตเมือง

ความต้องการสวมใส่หน้ากากที่มีคุณภาพสูงยังมีอยู่มาก แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าก็ตามตัวแทนของบริษัทระบุ

ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด บริษัทพยายามจะทำตลาดหน้ากากอนามัยในต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ เเละตอนนี้ได้ผู้บริโภคก็หันมาสวมหน้ากากอนามัย ด้วยความจำเป็นที่ต้องป้องกันไวรัส

โดยในปีที่แล้ว Unicharm เปิดให้โรงงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นเเละเริ่มติดตั้งเครื่องจักรเเละอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับส่งออกไปต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในตลาดอินโดนีเซียและไทย Unicharm ครองส่วนแบ่งสูงสุดในกลุ่มผ้าอ้อมเด็กเเละผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยของผู้หญิง

ล่าสุด Unicharm ได้ตั้งเป้าเพิ่มยอดขาย เป็น 1.4 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มอีกกว่า อีก 90% ภายในปี 2030 ซึ่งรายได้จากการส่งออกจะมีสัดส่วนมากถึง 70% ทำให้ต้องเร่งพัฒนาเพื่อเเข่งขันในตลาดนี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการชิงตลาดกับสินค้าที่ราคาถูกกว่ากับจีน

โดยแม้ดีมานด์ของหน้ากากอนามัยในทั่วโลกในช่วงโรคระบาดจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เเต่ส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ยังตกอยู่เป็นของสินค้าจากจีน

ข้อมูลของบริษัทวิจัย Euromonitor และหน่วยงานส่งออกของญี่ปุ่น ระบุว่า ปี 2020 ตลาดหน้ากากอนามัยทั่วโลกเติบโต 3 เท่า ส่วนในอาเซียนโตขึ้นถึง 5 เท่า โดยสินค้าจากจีนครองส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็น 74% จากเดิม 39%

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1353420
ชาวจีนเเห่ซื้อ ‘เเบรนด์จีน’ หลังกระเเสเเบนสินค้าต่างชาติ กำลังเป็น ‘โอกาสทอง’ ของนักลงทุน https://positioningmag.com/1339941 Wed, 30 Jun 2021 12:16:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339941 เเบรนด์จีนกำลังได้รับความนิยมจากเหล่านักช้อปในประเทศ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนหมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อผู้บริโภคหันมาอุดหนุนสินค้าท้องถิ่น หลังกระแสต่อต้านแบรนด์ต่างชาติ 

อานิสงส์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้น หลังผู้คนต้องถูกจำกัดการเดินทางในช่วงโรคระบาด อีคอมเมิร์ซที่สะดวกสบายเเละการขนส่งที่รวดเร็ว มีส่วนกระตุ้นความต้องการของแบรนด์ท้องถิ่นด้วย

นักศึกษาชาวจีนวัย 19 ปี ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า “เมื่อคุณลองใช้ จะพบว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นนั้น ดีพอๆ กับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ” โดยเธอเลือกใช้อายแชโดว์ของ Carslan และรองเท้าผ้าใบของ Feiyue ทานขนม Bestore Co และมีเครื่องใช้ในบ้านที่ซื้อจาก Miniso

Maia Active เป็นแบรนด์เสื้อผ้าสปอร์ตเเวร์ของจีน ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทลงทุนใหญ่อย่าง Sequoia Capital ระบุว่า สินค้าของแบรนด์ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงเอเชียโดยเฉพาะ ทำให้เหมาะสมกับผู้บริโภคในพื้นที่มากกว่าแบรนด์จากตะวันตก

จากความต้องการที่มากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ปีนี้นักลงทุนเลือกทุ่มเงินให้กับแบรนด์ที่เจาะผู้บริโภคในท้องถิ่น

ตามรายงานของ Cygnus Equity ชี้ให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคในจีน สามารถระดมทุนได้มากถึง 6.97 หมื่นล้านหยวน (ราว 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากนักลงทุนในตลาดแรก (Primary Market) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้า

โดยแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม อาหาร และเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมมากที่สุด ขณะที่แบรนด์ Hot Pot (หม้อไฟ) และราเมน ก็กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

ปัจจุบันมีแบรนด์จีนมากถึง 200 แบรนด์ กำลังมองหาเงินทุนใหม่จากนักลงทุน Ming Jin หุ้นส่วนผู้จัดการของ Cygnus กล่าว

Genki Forest แบรนด์น้ำอัดลมที่ได้รับการสนับสนุนจาก Sequoia กล่าวว่าบริษัทมีมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ หลังการระดมทุนในเดือนเม.. ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่า 18 เดือนก่อนหน้านี้ถึงสิบเท่า

การระดมทุนในจีน ดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ของโลกอย่าง LVMH เจ้าของเเบรนด์ Louis Vuitton และ Temasek จากสิงคโปร์

จีนเป็นตลาดที่ง่ายที่สุดในการสร้างยอดขายจากศูนย์ให้ไปเป้าหมาย 100 ล้านหยวนนักลงทุนคนหนึ่งบอกกับ Reuters

ช่วงเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน ‘JD.Com’ ในเดือนนี้ พบว่า ยอดขายของแบรนด์จีนเติบโตขึ้นถึง 4% เมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างประเทศ เเละการเติบโตของจำนวนลูกค้าก็สูงกว่าแบรนด์ต่างประเทศถึง 16%

Chris Mulliken จากบริษัทที่ปรึกษา EY ให้ความเห็นว่า ความชาตินิยมเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เเบรนด์ท้องถิ่นในจีนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมถึงความภูมิใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากโควิด-19 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศยังต้องต่อสู้กับอัตราการติดเชื้อที่สูง

บวกกับกระแสการต่อต้านฝ้ายซินเจียงจากแบรนด์ใหญ่ฝั่งตะวันตก อย่าง H&M , Nike และ Adidas ที่มีความกังวลเรื่องสิทธิมนุษยชนของเเรงงานก็ทำให้ลูกค้าชาวจีนไม่พอใจกับคำกล่าวหา ก็มีส่วนทำให้ชาวจีนบางส่วนตอบโต้ด้วยการหันไปซื้อของจากเเบรนด์ในประเทศมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1339941
เปิด 10 กลยุทธ์ “หัวเว่ย” ดันแบรนด์จีนชิงตลาดนอกเแดนมังกร https://positioningmag.com/1150768 Mon, 18 Dec 2017 09:28:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1150768 ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายปีที่ผ่านมา “สินค้าจีน” ตีตลาดไปแล้วทั่วโลก และมีหลายแบรนด์ที่ “ผงาด” อยู่ “แนวหน้า” หนึ่งในนั้นคือสินค้าเทคโนโลยี “สมาร์ทโฟน” มียี่ห้อ “HUAWEI” หรือ หัวเว่ย ที่ก้าวเป็นเบอร์ 2 ของโลก ไล่หลังเบอร์ 1 อย่างซัมซุง และแซง iPhone ได้ช่วงกลางปี 2560 ที่ผ่านมา มือถือมีส่วนแบ่งทางการตลาดในโลก 11.3% ขึ้นจาก 9.9% มีรายได้ทั่วโลก 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนในประเทศไทยครึ่งปีแรก มีรายได้เชิงมูลค่าเติบโต 400% ยอดขายเชิงปริมาณของมือถือโต 720% หรือราว 7 เท่าตัว มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 10.7% จาก 1.2% ภายในปี 2563 HUAWEI ตั้งเป้าเป็นเบอร์ ให้ได้ การจะไปถึงตรงนั้น Positioning พาไปดูโรงงานผลิตสมาร์ทโฟนหัวเว่ย (HUAWEI Manufacturing Center) ที่เมืองตงก่วน (Dongguan) ตลอดจนสำนักงานใหญ่หัวเว่ย (HUAWEI HQ) ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

1. โรงงานที่เมืองตงก่วน มีกำลังการผลิตสมาร์ทโฟนระดับ Hi-end จำนวน 1.3 ล้านเครื่องต่อเดือน

2. ใน ไลน์การผลิตสมาร์ทโฟน จะใช้คน 26 คน ผลิตสินค้าได้ 2,600 เครื่องต่อวัน

3. กระบวนการผลิตสมาร์ทโฟนในส่วนที่ประกอบตัวเครื่อง ยังใช้แรงงานคนแทนเครื่องจักร เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนบางอย่าง คนมีประสิทธิภาพกว่าเครื่องจักร เช่นเดียวกับการทดสอบคุณภาพเครื่องครั้งสุดท้าย (Final Test) ทั้งระบบเสียง หน้าจอ จะใช้คนดำเนินการ

4. การทดสอบสมาร์ทโฟน จะเกิดขึ้น ส่วน ได้แก่

  • 4.1 ส่วนที่เป็น Testing Lab เมื่อดีไซน์ผลิตภัณฑ์แล้วจะต้องทดสอบคุณภาพ ความคงของเครื่องรอบด้าน เช่น การตกกระแทก (Drop Test) ทุกมุมความสูง เมตร เฉลี่ย 1,000 ครั้ง และสูงสุดจนกว่าเครื่องจะมีปัญหา, การทดสอบ Adapter เฉลี่ย 10,000 ครั้ง และขั้นสูงเพื่อเก็บสถิติระยะเวลานานแค่ไหนจนกว่ามือถือจะพัง 
  • 4.2 การทดสอบในกระบวนการผลิตสินค้าจริง
Testing lab หัวเว่ยที่สำนักงานใหญ่ เมืองเซินเจิ้น

วิดีโอการตกกระแทกสมาร์ทโฟนความสูง เมตร จำนวน 1,000 ครั้ง

5. เทรนด์ของสมาร์ทโฟนในอนาคต หัวเว่ย มองเป็นยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สำหรับผู้บริโภคทุกคน 

6. เทคโนโลยี AI จะกลายเป็นเสมือนผู้ช่วยของผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น และนำไปสู่การ “ลดช่องว่าง” ระหว่างความเป็นมืออาชีพในหลายด้าน เช่น ผู้ที่เล่นกีฬาเก่ง แต่ถ่ายรูปไม่สวย AI จะทำหน้าที่คำนวณ โฟกัสการถ่ายรูป การกำหนดชัตเตอร์สปีด รูรับแสง (F) และอีกหลายอย่างแทนคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. ด้านการทำตลาดสมาร์ทโฟน บริษัทจะเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม Why หรือทำไม มากขึ้น เพื่อให้แบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด จากที่ผ่านมาแบรนด์จะเริ่มจากการขายอะไร What และสินค้ามีดียังไง How นับเป็นการมองจากมุมผู้บริโภคกลับเข้ามายังแบรนด์ หรือ Outside in มากกว่า Inside out

8. ความเชื่อเรื่องสินค้าแบรนด์จากจีน ไม่พรีเมี่ยม นวัตกรรมยังไม่เทียบเท่าฝั่งตะวันตก หน้าที่ของหัวเว่ยคือการส่งมอบสินค้าและบริการ ตลอดจนประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น สุดท้ายให้ “สินค้าป็นตัวตัดสินใจเอง” และปัจจุบันแบรนด์จีนจำนวนมากพิสูจน์ว่ามียอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในระดับโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนการยอมรับจากตลาดและผู้บริโภคดีขึ้น

Huawei Industry Solutions Exhibition Briefing Center ณ สำนักงานใหญ่

9. บริษัทมีการจดสิทธิบัตรแผนการพัฒนาสินค้าและบริการไว้ 62,000 แบบทั่วโลก เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต

Enterprise ICT Solutions Exhibition Hall ณ สำนักงานใหญ่หัวเว่ย

10. หัวเว่ย เน้นกลยุทธ์ผนึกพันธมิตรเพื่อชนะในการเสริมแกร่งให้ธุรกิจ เช่น PORSCHE DESIGN กล้อง Leica ผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการผู้บริโภคและทำให้เหนือคู่แข่ง หวัง Win-Win-Win 3 ฝ่ายร่วมกัน ได้แก่ บริษัท, พันธมิตร คู่ค้า และสุดท้ายผู้บริโภค

]]> 1150768