สื่อนอกบ้าน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 18 Oct 2024 17:54:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ขึ้นป้ายบิลบอร์ดฉ่ำ ๆ แบบ ‘ดิ ไอคอน’ ต้องใช้เงินเท่าไหร่ พร้อมประเมินอุตสาหกรรมโฆษณา กระทบไหมเมื่อไม่มีดิ ไอคอน https://positioningmag.com/1494984 Fri, 18 Oct 2024 12:39:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1494984 นาทีนี้ไม่มีประเด็นอะไรร้อนแรงเกิน ดิ ไอคอน กรุ๊ป (The iCon Group) จากธุรกิจขายตรงที่หมิ่นเหม่จะเข้าข่ายการเป็นแชร์ลูกโซ่ โดยอาศัยการสร้างภาพลักษณ์ให้น่าเชื่อถือผ่านเหล่า บอส และหนึ่งในสื่อที่เห็นกันมากที่สุดก็คือ ป้ายบิลบอร์ด ในกรุงเทพฯ ที่ล้มตัวไปไหนก็เจอ ว่าแต่อยากปูพรมสื่อนอกบ้านขนาดนี้ ต้องใช้เงินขนาดไหน ไปหาคำตอบกัน

ใช้เงินอย่างน้อย 30-50 ล้าน/แคมเปญ

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP) เปิดเผยว่า หากดูจากการใช้สื่อของ ดิ ไอคอน กรุ๊ป จะเห็นว่ามีการใช้สื่อหลัก ๆ คือ โซเชียลมีเดีย และ  สื่อนอกบ้าน (Out of home) อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโซเชียลฯ อาจประเมินได้ยากว่าใช้เม็ดเงินมากน้อยแค่ไหน เพราะอาจไม่ได้มีการจ้างอินฟลูเอนเซอร์จริง ๆ แต่เป็นการโปรโมตผ่าน บอส หรือ แม่ข่าย 

ดังนั้น เม็ดเงินที่จับต้องได้ในการใช้สื่อก็คือ สื่อนอกบ้าน ซึ่งปัจจุบันผู้เล่นหลัก ๆ ในตลาดมีไม่กี่ราย อาทิ VGI, Plan B และ Bangkok Metro Networks (BMN) และการซื้อจะเป็น แพ็กเกจเหมา โดยจะอยู่ที่ 30-50 ล้านบาทต่อแคมเปญ ซึ่งกินเวลาประมาณ 3-6 เดือน และโดยปกติจะซื้อประมาณปีละ 2 ครั้ง นอกจากการซื้อกับบริษัทที่จัดการป้ายโฆษณาแล้ว อาจมีการซื้อแยก เช่น ตึกบางตึกที่ไม่ได้อยู่ในมือบริษัท

“ตลาด Out of home คาดว่าปีนี้จะเติบโต 10% คิดเป็นมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาทเท่าเดิม เพราะยังเป็นสื่อที่หลายแบรนด์ยังต้องสร้างอแวร์เนส ต้องสร้างอิมเมจ และการขายขึ้นป้ายบิลบอร์ดมันอิมแพ็กมากกว่าใช้ออนไลน์อย่างเดียว”

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP)

กรณีดิ ไอคอน ไม่กระทบเม็ดเงินโฆษณา

ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมขายตรง ใช้เงินในงบโฆษณาไม่รวมออนไลน์คิดเป็นมูลค่า 5,595 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 6% ซึ่งถือว่าไม่ใหญ่มากไม่ติด Top 10 ของอุตสาหกรรมโฆษณาที่ใช้งบมากที่สุด

ดังนั้น ด้วยสัดส่วนดังกล่าวจึงมองว่า กรณีของ ดิ ไอคอน กรุ๊ป จะ ไม่กระทบเม็ดเงินโฆษณา เพราะการใช้สื่อหลักก็คือ Out of home ดังนั้น อาจจะกระทบในเชิงผลประกอบการของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งเทียบไม่ได้กับเม็ดเงินในตลาดโฆษณา รวมถึงไม่กระทบต่อเม็ดเงินในอุตสาหกรรมขายตรง แต่อาจ เป็นบวก ด้วย แต่บริษัทขายตรงต้องออกมาอธิบายว่าตัวเองเป็นบริษัทขายตรงที่ถูกกฎหมายอย่างไร

“แม้ดิ ไอคอน ไม่ได้เกิดเหตุหรือมีการโฆษณาต่อเนื่อง ก็ไม่ใช่เป็นตัวกระตุ้นให้ตลาดเป็นบวกขึ้น ดังนั้น การที่มีเคสดังกล่าวจึงไม่ได้ส่งผลต่อภาพใหญ่อุตสาหกรรมเลย และเท่าที่ดูจากลูกค้าที่ทำธุรกิจขายตรงในมือ ก็ไม่ได้มีกระแสลบ เพราะเป็นธุรกิจขายตรงน้ำดี เน้นที่ตัวสินค้า”

เอเจนซี่ไม่กระทบ แต่อินฟลูฯ ต้องคิดเยอะ

โดยพื้นฐาน เอเจนซี่โฆษณาจะรับงานจากบริษัทที่ทำธุรกิจถูกต้อง และในกรณีของดิ ไอคอน กรุ๊ป น่าจะไม่ได้ทำงานกับเอเจนซี่ เพราะเน้นใช้สื่อเดียว ไม่ได้มีการวางแผนการตลาด ดังนั้น ส่วนที่กระทบจะเป็น ดาราและอินฟลูฯ ที่อาจไม่รู้เท่าทันในธุรกิจ ซึ่งจากนี้ก็จะมีความระมัดระวังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพรีเซ็นเตอร์หรือออกอีเวนต์ เพราะกรณีนี้มีดาราหลายคนแค่ออกอีเวนต์ก็มีความเสี่ยง เพราะโดยปกติการออกอีเวนต์จะมีสคริปเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้พูด ดังนั้น ต่อไปดาราก็จะมีความกังวลในการรับงานมากขึ้นว่าจะส่งผลกระทบไหม

“เคสนี้เป็นเคสเฉพาะตัวจริง ๆ เพราะบริษัทดูมีความน่าเชื่อถือ ได้รางวัลจากสถาบันต่าง ๆ มีดาราหลายคนเป็นพรีเซ็นเตอร์ มองว่าเป็นแค่หนึ่งในธุรกิจทั่วไป ถ้าเป็นในอดีต อาจมีเอเจนซี่หลงเชื่อได้”

ดาราเซเลปที่เข้ามาร่วมงานกับดิ ไอคอน กรุ๊ป ในระดับมีชื่อตำแหน่งให้

ยืนยันอุตสาหกรรมโฆษณาบวกแน่นอน

แม้ภาพรวมปีนี้จะมีปัจจัยลบเยอะ โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจที่ถือว่าแย่ แต่ถือว่าอุตสาหกรรมค่อย ๆ ฟื้นมาจากหลังโควิด ดังนั้น ประเมินว่าภาพรวมทั้งปีอาจเติบโตได้ +3.3% อย่างไรก็ตาม ช่วงโค้งสุดท้าย เริ่มเห็นความร้อนแรงของตลาด อีคอมเมิร์ซ ที่อาจจะดันให้เม็ดเงินสื่อดิจิทัลเติบโตขึ้นอีก +8% ซึ่งอาจดันให้ทั้งอุตสาหกรรมเติบโตเป็น +5% 

ส่วนสื่อทีวี โดยปกติช่วงปลายปีจะเป็นช่วงที่คึกคักอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าด้วยสถานการณ์ตอนนี้อาจจะกระเตื้องแค่เล็กน้อย อาจจะซบเซาน้อยลง เพราะคนหันมาเสพสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะ ข่าว ดังนั้น จะคล้ายกับช่วงเลือกตั้ง แต่ส่งผลไม่เยอะ และสุดท้ายมีแค่บางรายการที่เรียกกระแสได้ เช่น โหนกระแส

“ภาพรวมบวกแน่นอน แต่บวกน้อยกว่าที่คาดไว้ เพราะจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อ ภาวะเศรษฐกิจ เงินดิจิทัลก็ไม่ได้มาครบลูป หรือค่าครองชีพที่ยังแพง ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น น้ำท่วม แต่ก็ทำให้ตลาดบวกที่ 3-5% เพราะได้อีคอมเมิร์ซมาดัน”

]]>
1494984
สายการบิน จับเทรนด์ ‘ป้าย HBD’ เเฟนด้อมเปลี่ยนเเนว ไม่ใช่เเค่ทุ่มซื้อเเอด เเต่ช่วยสังคมด้วย https://positioningmag.com/1351507 Fri, 17 Sep 2021 15:47:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351507 ธุรกิจสายการบินดิ้นสู้โควิดไม่หยุด เเม้รัฐผ่อนคลายมาตรการการเดินทางบ้างเเล้ว เเต่ก็คงไม่กลับมา 100% ในเร็ววัน ต้องเร่งอัดโปรฯ ลดราคาเพื่อดึงลูกค้า ล่าสุดกับขยายช่องทางทำรายได้จากฝั่งโฆษณา เพื่อจับตลาดกลุ่มเเฟนคลับกำลังซื้อสูง ที่ยังคงทุ่มโปรโมต ‘ป้าย HBD’ ศิลปินอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายโปรเจกต์ ‘ช่วยเหลือสังคม’ ในวิกฤตโรคระบาด 

จากการลงขันของกลุ่มเเฟนคลับสู่เทรนด์ป้าย HBD ตามสถานีรถไฟฟ้า ขยับมาซื้อสื่อโฆษณาใน “ขนส่งมวลชนท้องถิ่นอย่างตุ๊กตุ๊ก รถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนกันมากขึ้น เเละคราวนี้ก็จะขึ้นบินลัดฟ้าตามเที่ยวบินของสายการบินต่างๆ

สายการบินขยับหาลูกค้า Ads รายย่อย ผ่าน ‘ป้าย HBD’ 

เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เห็นป้าย HBD ศิลปิน ขึ้นไปอยู่ในเที่ยวบินไปกลับเชียงใหม่ดอนเมืองของไทยเเอร์เอเชียจากกลุ่มเเฟนคลับของสิงโต ปราชญา เรืองโรจน์โดยมีทั้งรูปแบบที่ติดบนที่นั่งเเละช่องเก็บสัมภาระ เป็นคำอวยพรวันเกิดให้ศิลปินที่ชื่นชอบ ซึ่งที่ผู้โดยสารภายในเที่ยวบินสามารถมองเห็นได้ทุกคน

นอกจากมีโปรเจกต์ HBD นี้เเล้ว ยังมีการเชิญชวนร่วมบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิ เพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการเเพทย์ในช่วงโควิด-19 อีกด้วย

ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : Happy Richy

ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด ไทยเเอร์เอเชีย มีนโยบายมุ่งขยายช่องทางการรับชมสื่อให้กลุ่มผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเมื่อปี 2557 ก็เคยจับมือกับ VGI เอเยนซี่โฆษณานอกบ้านในเครือบีทีเอสกรุ๊ป

อย่างไรก็ตาม ในอดีตผู้ที่เลือกโปรโมตโฆษณาบนเครื่องบิน มักจะเป็นเเบรนด์ใหญ่หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่มีงบประมาณการตลาดสูง เพราะเรตราคาก็ถือว่าเเพงเอาการ ผู้ประกอบรายย่อยนั้นเเทบจะเข้าไม่ถึง

เเต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่รายได้จากเที่ยวบินลดลง คนเดินทางน้อยลง สายการบินต่างๆ จึงต้องเพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลาย เเละปรับเพิ่มสัดส่วนรายได้ Non-Airline ให้มากขึ้น

การที่ได้เราเห็นกลุ่มเเฟนคลับโปรโมต HBD ศิลปินบนเครื่องบินในครั้งนี้ จึงชี้ให้เห็นว่า สายการบินมีการปรับกลยุทธ์การขายสื่อโฆษณาให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยทั่วไปมากขึ้น เเละคาดว่าคงจัดโปรลดราคาลงให้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : Happy Richy

เล่นใหญ่ #Wrapเครื่องบิน จับเเฟนคลับกระเป๋าหนัก 

ไทยเวียตเจ็ท’ ก็เป็นอีกหนึ่งสายการบินที่ลงสนามมาจับตลาดกลุ่มเเฟนคลับชาวไทยเช่นกัน ด้วยการประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าด้อมไหนสนใจ Wrap เครื่องบินในโอกาสพิเศษต่างๆ ของเมนตัวเอง ติดต่อไทยเวียตเจ็ทได้เลยนะคะ” เเละ อยากออกแบบไว้ก่อน เชิญเลยนะคะ ทำเสร็จแล้วอย่าลืมเอามาอวดกันด้วยน้า

โดยเพจ Aumjumma วาไรตี้..ชีวิตป้า บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยว ระบุว่า หลังจาที่ได้สอบถามไปยังไทยเวียตเจ็ทเเล้ว ได้เรตราคามาคร่าวๆ ว่า หากสนใจจะติดสติกเกอร์แบรนด์ข้างลำตัวเครื่องบิน ค่าผลิตสติกเกอร์ จะอยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท (รวมทั้ง 2 ด้านแล้วแต่ดีไซน์) เเละค่าโฆษณา จะอยู่ที่ปีละประมาณ 6-8 ล้านบาท

(ทั้งนี้ หากระยะเวลาไม่ถึงปี อยู่เเค่ระดับรายเดือน ราคาจริงอาจจะลดลงกว่านี้มาก ต้องติดต่อสอบถามทางไทยเวียตเจ็ทอีกครั้ง)

สำหรับเทรนด์การ #Wrapเครื่องบิน นั้นมีมาหลายปีเเล้ว เเต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเเฟนคลับชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูงมากเพราะต้องใช้เงินหลักล้าน

ซีอีโอของไทยเวียตเจ็ท เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning เมื่อเดือนเม..ที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ในกลุ่ม Non-Airline ให้ได้ 30% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ประมาณ 25% เพื่อเสริมรายได้หลักจากทางฝั่งการบิน โดยหนึ่งในนั้นคือกลยุทธ์การเพิ่มรายได้จากอีคอมเมิร์ซ หาสินค้าเเละบริการต่างๆ มาจำหน่ายเพิ่มขึ้น 

ตามรอย VietJet บริษัทเเม่ในเวียดนาม ที่มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการเสริม คิดเป็นกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด นับเป็นความพยายามของสายการบิน ที่จะหารายได้จากขายสินค้าและบริการเพื่อชดเชยรายได้จากตั๋วโดยสารที่ลดลง

เเฟนคลับ : ไม่ใช่เเค่ทุ่มซื้อโฆษณา เเต่ขยับไปช่วยเหลือสังคม

ด้านฝั่งเเฟนคลับเอง ก็มีทั้งคนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เเต่บางส่วนก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมีรายได้อยู่ในระดับดี

เห็นได้จากยอดขายซิงเกิลอัลบั้ม LALISA ของลิซ่า BLACKPINK’ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ภายในเวลาแค่ 4 วัน มียอดจองพรีออร์เดอร์กว่า 700,000 ก๊อบปี้ทั่วโลก (ราคาเซตละประมาณ 790 บาท ไม่รวมค่าจัดส่ง) ซึ่งถือว่าสูงสุดตลอดกาลสำหรับศิลปินหญิงเดี่ยวในวงการเคป๊อป สะท้อนให้เห็นว่าเเฟนคลับจำนวนมากยังมีเงินที่จะซื้อสินค้าของศิลปินในช่วงนี้

เเฟนคลับวงบอยเเบนด์เกาหลีรายหนึ่ง บอกกับ Positioning ว่า การระดมทุนภายในเเฟนด้อมในไทยยังมีอยู่ต่อเนื่อง เเต่ไม่ได้เน้นหนักไปที่การทำโปรเจกต์ในป้าย HBD เหมือนเเต่ก่อน เเต่กระจายไปที่การทำโปรเจกต์การกุศลช่วยเหลือผู้คนในช่วงวิกฤตโควิดด้วย

อย่างเช่น โครงการ #เลิฟชนะ เเฟนคลับของ วง NU’EST (นิวอีสต์) ที่มีชื่อแฟนด้อมคือ L.O.Λ.E (เลิฟ) ได้จัดซื้อชุดตรวจ Rapid Test จำนวน 300 ชุด เเจกให้คนในพื้นที่เสี่ยงในเขตกทม. เเละปริมณฑล รวมถึงบริจาคชุด PPE และถุงพลาสติกบรรจุศพให้เเก่วัดต่าง ๆ

ภาพจากทวิตเตอร์ @PRLOVE_ เลิฟชนะ

ขณะที่ แฟนคลับของหนุ่ม เป๊ก ผลิตโชค หรือ ด้อมนุช ก็มีหนึ่งในโปรเจกต์วันเกิด ที่ส่งมอบรถฉุกเฉินให้กับโรงพยาบาล บริจาคเครื่องผลิตออกซิเจน รวมถึงเปิดตลาดนัด ‘ฝากร้านของเหล่าชาวนุช นอกจากนี้ ยังมีเเฟนด้อม WIN:D PARK ของนักร้องหนุ่ม คิมเเจฮวาน ที่ได้จัดทำหน้าเว็บไซต์เพื่อ รวบรวมข้อมูลเตียงโควิด ในไทยด้วย

เป็นอีกหนึ่งพลังเเฟนด้อมที่ร่วมมือกันช่วยเหลือสังคม เเละได้โปรโมตศิลปินไปในตัว เพิ่มเติมเเละเปลี่ยนเเปลงจากการทุ่มเงินซื้อสื่อโฆษณาอย่างเดียวเเบบสมัยก่อน…

 

 

]]>
1351507
เศรษฐกิจฝืด เเต่เเฟนคลับยัง “จ่ายหนัก” ป้ายศิลปินใน MRT เติบโต ขยายเรทราคา-ปรับไซส์ตามงบ https://positioningmag.com/1301849 Sat, 17 Oct 2020 09:30:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301849 ใครที่เดินผ่านสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) อยู่เป็นประจำ คงคุ้นเคยกับป้าย HBD อวยพรวันเกิดให้เหล่าศิลปิน ที่มีสีสันเเละดีไซน์เเตกต่างกันมากมาย  

เเม้ในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเต่ทว่า โปรเจกต์ของบรรดาแฟนคลับที่รวมเงินลงขัน จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมตศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบนั้นไม่ได้ลดลงเลย

ย้อนกลับไปถึงกระเเสสื่อโฆษณาป้ายบิลบอร์ดในสถานีรถไฟฟ้าเริ่มคึกคักในไทยมาตั้งแต่ปี 2016 โดยเฉพาะป้ายศิลปินที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแฟนคลับจะเเสดงความยินดี ด้วยการอวยพรศิลปินผ่านป้ายโฆษณานอกบ้าน มีทั้งจอใหญ่เเละจอดิจิทัล ปัจจุบันได้ขยายการเข้าถึงคนหมู่มาก ด้วยฐานแฟนคลับในไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นกิจกรรมทางใจที่ได้ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มศิลปินที่ชื่นชอบ

ในมุมของเเฟนคลับนั้น ป้าย HBD เป็นการแสดงให้ศิลปินเห็นว่าพวกเขาอยู่เคียงข้างเเละพร้อมให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันก็เป็นการโปรโมตตัวศิลปินด้วย เพราะป้ายจะติดอยู่ในส่วนที่คนเดินผ่านจำนวนมาก เเละผลพลอยได้อีกอย่างคืออาจทำให้คนที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะได้รู้จัก และอาจกลายเป็นแฟนคลับคนใหม่ก็เป็นได้

ตลาดป้ายศิลปิน เติบโต-กำลังซื้อไม่ลด 

ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ถือว่าเทรนด์ป้ายโฆษณา MRT ของกลุ่มเเฟนคลับโตขี้นเรื่อยๆ มีดีมานด์สูงจริงๆ ทำให้เราต้องขยับทำอะไรเพิ่มเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า สมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นป้ายของศิลปินเกาหลี เเต่ตอนนี้ศิลปินไทยเยอะขึ้นมาก มีศิลปินจีน ญี่ปุ่น เเละอาเซียนเพิ่มขึ้นด้วย

ณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN ผู้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ MRT เล่าให้ Positioning ฟังว่า บริษัทมีการตั้งทีมงานเพื่อดูเเลลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพราะต้องการเข้าใจถึงสิ่งที่เเฟนคลับตั้งใจเเละอยากจะสื่อสารออกไป โดยความต้องการที่ลูกค้าขอมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่อยากให้เปิดพื้นที่จัด Meet and Greet เเละกิจกรรมเเบบเอ็กซ์คูลซีฟ เอาโปสเตอร์มาตกเเต่งได้ในช็อป ฯลฯ

เเม้ช่วง COVID-19 เศรษฐกิจจะค่อนข้างฝืดเคือง เเต่ป้าย MRT ของเเฟนคลับไม่ได้รับผลกระทบ เเละไม่ลดลงเลย

ด้านมุมมองจากเเฟนคลับที่ให้สัมภาษณ์กับ Positioning บอกว่า เเม้ช่วงนี้จะต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ เเต่เมื่อโรคระบาดทำให้ไม่ได้ไปชมคอนเสิร์ต เเละยังไม่ได้ซื้ออัลบั้มใหม่ ก็สามารถจัดสรรเงินเหล่านั้นมาร่วมระดมทุนเเทน หรือเเฟนคลับบางคนก็ไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินเเละการงานมากนัก ก็ถือว่ายังมี “กำลัง” พอที่จะสนับสนุนศิลปินที่ชอบได้ 

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดกลาง (เเนวนอน)ใน MRT

เมื่อมองจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็กๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN คิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลกับลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว

ขยายเรทราคาให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

ในช่วงเเรกๆ การทำป้าย HBD ศิลปินต้องใช้เงินอย่างน้อยหลักหมื่นต้นๆ ถึงหลักเเสน เเต่ตอนนี้มีการขยายราคาลงมาให้อยู่หลักพันปลายๆ เพิ่มพื้นที่วางป้ายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างการมี ป้ายเล็ก สำหรับลูกค้าที่มีงบจำกัด

โดยส่วนใหญ่เเฟนคลับจะมีการจองป้าย ประมาณ 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิดหรือเเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษออกเพลงละครหรือออกอัลบั้มใหม่

สำหรับรูปแบบในการ ระดมทุน (​Donate) ทำป้ายของเหล่าเเฟนคลับ ส่วนใหญ่จะกระจายข่าวผ่านทางทวิตเตอร์ ที่มีฐานเเฟนคลับนิยมใช้กันเยอะมาก บางโปรเจกต์อาจมีการระดมทุนผ่านการขายของที่ระลึกต่างๆ ด้วย ซึ่งก็มีการระดมทุนกันได้อย่างรวดเร็ว เเละมีการโหวตเลือก รูปภาพ-โลเคชั่น ที่จะวางโปรเจกต์นั้นๆ ด้วย

บางกลุ่มเเฟนคลับก็ติดต่อโดยตรงกับทีมงาน BMN เอง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาดคือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็ก) เรทราคาตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอน) เรทราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรทราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น แสนบาท

ราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่นถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดเล็ก (เเนวตั้ง) ใน MRT

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการทำป้าย ส่วนใหญ่แฟนคลับสร้างโปรเจกต์ขึ้นแล้วทำการระดมทุน (​Donate) เพื่อนำเงินมาทำป้าย โดยใช้การกระจายข่าวผ่านทาง Twitter (แฟนคลับเกาหลีอยู่ใน Twitter จำนวนมาก) ซึ่งรูปแบบการระดมทุนจะมีของที่ระลึก เช่น โปสต์การ์ด, พวงกุญแจ ฯลฯ ให้กับแฟนคลับที่ร่วมระดมทุนด้วย

ขณะที่เรทป้ายโฆษณาสำหรับเเบรนด์สินค้านั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่หลักหมื่นหลักล้าน โดยทีม BMN บอกว่าสามารถปรับได้เสมอ เพราะเป็นเเคมเปญที่เป็นพาร์ตเนอร์กัน โดยในช่วงหลังๆ ก็มีเเบรนด์ใหญ่เข้ามาดีลเเบบระยะยาวเพิ่มขึ้น

ปีหน้าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ เเต่สิ่งที่เราห่วงอย่างเดียวคือการเมืองเพราะคาดเดายาก เรื่องเศรษฐกิจกับการเมืองกระทบในเเง่ของโฆษณาอยู่เเล้ว ก็หวังว่าเราจะปรับตัวได้ตามเเผนที่เราวางไว้”

อัดโปรโฆษณา ซื้อ 1 เเถม 1 ช่วงวิกฤตโควิด

วิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการของ BMN กล่าวว่า ตอนนี้ผู้โดยสารก็กลับมาประมาณ 80% เเล้ว ผู้โดยสารอยู่ที่ 3 – 4 เเสนคนต่อเที่ยวต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องนับถึงผู้ใช้บริการทางลอดเช่นในสถานีจตุจักร พระรามเก้า ที่เเม้ไม่ได้โดยสารรถไฟ เเต่ก็เข้ามาในพื้นที่ มาช้อปปิ้งที่ Metro Mall มารอเพื่อน ดังนั้น จำนวนผู้ใช้บริการก็จะมากกว่าตัวเลขที่รายงานไป

ตามปกติเเล้ว ผู้คนจะใช้รถไฟฟ้าน้อยที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์เเละวันหยุดยาว เเต่สถานีจตุจักร จะยังเท่ากันทุกวัน เพราะคนยังมาเดินตลาดนัด มาวิ่งออกกำลังกายที่สวน

โดยสถานีที่มีคนใช้เยอะสุดคือสุขุมวิทที่มีผู้โดยสารที่เเตะตั๋วราว 1 เเสนคนต่อวัน ผู้ใช้บริการผ่านพื้นที่ราว 2 เเสนคนต่อวัน รองลงมาคือ เพชรบุรี พระรามเก้า เเละจตุจักร บริษัทคาดว่าปีหน้า จะมีผู้มาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นเเตะหลักล้านคน ใน 38 สถานี เพราะสถานการณ์คงดีขึ้นกว่านี้

สถานการณ์หลังจากช่วง COVID-19 ที่หลายเเบรนด์ต้องชะลองบประมาณในการทำการตลาดไปนั้น การซื้อโฆษณาใน MRT ลดลงไปหรือไม่

ผมว่าในภาพรวมของการซื้อโฆษณาใน MRT ไม่ลดในเเง่พื้นที่ เราก็พยายามเติมให้เต็มทุกที่ เเต่อาจจะไม่ได้ทำกำไรจากโฆษณามากนักในสถานการณ์เเบบนี้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนออย่างการซื้อ 1 เเถม 1 ที่ได้ช่วยทั้งลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าเเละพื้นที่ของเราเต็มด้วย

จากนั้นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น BMN ก็มีการดูเเลเฉพาะร้าน เฉพาะสถานี ส่วนใหญ่จะเน้นมาดูเรื่องสื่อโฆษณา ส่วนร้านค้าจะดูเเลทั้งภาพรวมอยู่เเล้ว เเต่ก็ยังไม่ได้กลับมาเก็บค่าเช่า 100% โดยยังมีโปรโมชันเเละส่วนลดอยู่ กระตุ้นให้ร้านต่างๆ ขายของได้ ส่งเสริมให้คนมาซื้อของให้ Metro Mall มากขึ้น

“MRT ปรับตัวรับผลกระทบนี้ โดยมองถึงความอยู่รอดของลูกค้าเป็นหลัก มีการออกมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ ทั้งให้ส่วนลดเเละให้พื้นที่ฟรีในการขายของ อย่างช่วงเดือนเม.. – .. ลูกค้าอยากไปจัดโรดโชว์ที่สถานีไหน ก็เเจ้งเรามาเเละไปขายของฟรีได้เลย ไม่ต้องเสียค่าเช่า เพื่อให้ลูกค้ายังอยู่กับเราได้นานๆ”

ขณะเดียวกัน การที่ MRT สายสีน้ำเงินมีส่วนต่อขยายครบทั้ง 38 สถานี ก็ทำให้มีพื้นที่ในการบริหารสื่อโฆษณาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ต่อไปมีการเพิ่มพื้นที่สื่อโฆษณา on ground เช่น บริเวณทางเข้าสถานี และปล่องระบายอากาศ ฯลฯ

โดยบริษัทได้มุ่งเน้นการให้บริการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาต่างๆ ตามความต้องการเฉพาะ (Tailor Made) ร่วมกับ
เเบรนด์ชั้นนำเพิ่มมากขึ้น ด้วยนำเสนอที่แปลกใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เเละเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน OMO (Online Merges with Offline) ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน

บุกค้าปลีก ไซส์เล็ก รับเทรนด์ Grab & Go

อีกหนึ่งกลยุทธ์ของ BMN คือการปรับปรุงและสร้างสรรค์พื้นที่ค้าปลีก Metro Mall ทุกสถานีไปสู่ The Happy Hub of MRT

โดยการปรับรูปแบบการขายของร้านค้า ให้เป็นรูปเเบบไซส์เล็กมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากหลายเเบรนด์ ที่ได้ปรับเปลี่ยนร้านอย่างเช่น Fuji To Go, Bon To Go ของโอ ปอง แปง, CoCo Express เเละอีกหลายๆ ร้านที่ปรับร้านเเละขายสินค้าขนาดเล็ก เพื่อคนเดินทางมากขึ้น

ผู้บริหาร BMN บอกว่า ด้วยความที่ MRT เป็นพื้นที่ใหญ่ มีดีมานด์ตลาดสูง บริษัทจึงมีเเผนขยายพื้นที่โฆษณาไปเรื่อยๆ ตามมุมต่างๆ ของสถานีที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยการจัดสรรพื้นที่นั้น หลักๆ จะดูจากอินไซต์ที่เรามี ทั้งเรื่องโลเคชั่นเเละขนาด ให้ตอบโจทย์เเต่ละสินค้าที่ไม่เหมือนกันได้ ช่วยให้ร้านค้าขายของดีขึ้น เพราะอยู่ในสถานที่ที่ใช่

ทั้งนี้ พื้นที่การค้าใน MRT มีอยู่ 2 โซน ได้เเก่ Metro Mall ซึ่งเป็นร้านช็อปใหญ่ เเละโซน Event Area ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ร้านไซส์เล็กเข้ามาขาย Grab & Go เเบบ 100% เน้นให้ผู้โดยสารเเวะซื้อสินค้าระหว่างเดินทางได้สะดวก

พื้นที่เราอยู่ยาว เเต่ร้านค้าในโซน Event Area จะอยู่สั้น ประมาณ 10 – 14 วัน สร้างความหลากหลายให้ MRT ลูกค้าจะได้ไม่จำเจ เพราะผู้โดยสารเราขี้เบื่อ ชอบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ถ้าร้านมีสินค้าหลากหลายให้เลือก มี Seasonal Menu ก็จะมัดใจลูกค้าผู้เดินทางได้ดีกว่า

]]>
1301849
คุยกัน 15 นาที! เจาะดีล RS ผนึก BTS มีต่อ “ภาคสอง” ถือหุ้นเพิ่มอีก ปั้น S-Curve ใหม่ สานวิชั่นรายได้ “หมื่นล้าน” https://positioningmag.com/1244722 Sun, 01 Sep 2019 23:07:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244722 เปิดเบื้องหลังดีลพันธมิตรล่าสุดของ RS ดึงกลุ่ม BTS เข้ามาถือหุ้น 7% มูลค่า 1,000 ล้านบาท นับเป็นจุดเริ่มต้นการ Synergy ของ 2 องค์กร สร้างธุรกิจใหม่แบบไร้กรอบด้วยอาวุธครบมือให้ RS เจาะตลาดกว้างและลึก จากดาต้า เบส ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีฐานลูกค้ารออยู่กว่า 35 ล้านคน หลังจากนี้ยังมีภาคสองตามมา

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เล่าที่มาการจับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม BTS ให้ Positioning ฟังว่า พันธมิตรรายล่าสุดที่ RS เลือก จะมาต่อ “จิ๊กซอว์” การขยายธุรกิจแนวราบ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ และนำไปสู่การขยายฐานรายได้ตามเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท ในปี 2565

จากปีนี้อาร์เอสวางเป้าหมายรายได้ไว้ 5,000 ล้านบาท การจะนำองค์กรไปสู่ 10,000 ล้านบาท หรืออีก “เท่าตัว” มีทางเดียวต้องโตแบบก้าวกระโดด และบีทีเอส เป็นสปริงบอร์ดสำคัญในภารกิจนี้

ในธุรกิจทีวีดิจิทัลที่เข้าสู่ปีที่ 6 ส่วนธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง Multi-platform Commerce (MPC) เข้าสู่ปีที่ 5 การเติบโตบนฐานธุรกิจเดิมโตได้เฉลี่ยปีละ 10 – 15% แต่หากต้องการมากกว่านั้น อาร์เอสต้องหา S-Curve ใหม่ให้ธุรกิจ คือการหาพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจเดิมเติบโตได้มากขึ้น พร้อมเปิดโอกาสสร้าง “ธุรกิจใหม่” และกลุ่ม BTS คือ “คำตอบ” ที่จะมา plug in กับวิชั่นของอาร์เอสให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ – กวิน กาญจนพาสน์

เจาะเบื้องหลังที่มากลุ่ม BTS

ดีลพันธมิตรที่มา “ลงตัว” กับกลุ่ม BTS เฮียฮ้อ เล่าว่าเป็นคนเดินเข้าไปคุยกับ กวิน กาญจนพาสน์” กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ด้วยตัวเอง เพราะรู้จักกันในแวดวงธุรกิจอยู่แล้ว สิ่งที่อาร์เอสต้องการคือฐานลูกค้าที่อยู่ในมือบีทีเอส

เฮียฮ้อ บอกว่าเข้าไปคุยแผนธุรกิจทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที ครั้งแรกไม่ได้คุยเรื่องการถือหุ้น แต่เป็นการเล่าวิชั่นของอาร์เอส ที่ต้องการร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม BTS ในมุมต่อยอดช่องทางขายธุรกิจเดิมและพัฒนาโปรเจกต์ใหม่ร่วมกัน โดยใช้ Asset ที่แต่ละคนมี เพื่อจับมือกันทำธุรกิจแบบ win win ทั้งคู่

คุณกวินรู้ว่าเฮียกำลังจะทำอะไร มองภาพสุดท้ายของธุรกิจออกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในความร่วมมือครั้งนี้

เมื่อเห็นภาพชัด คุณกวินก็บอกตรงๆ ว่าการ Synergy ตามบิสสิเนสโมเดลที่วางไว้ แม้จะ win win ทั้งคู่ แต่อาร์เอสได้ประโยชน์มากกว่า และ Policy ของกลุ่ม BTS คือต้องการลงทุนในธุรกิจที่เห็นโอกาสเติบโตด้วยการ Synergy ระยะยาว การพูดคุยครั้งต่อมาจึงเป็นการสรุปเรื่องการเข้ามาถือหุ้นของกลุ่ม BTS ในอาร์เอส ซึ่งก็ใช้เวลา 15 นาทีเท่านั้น ทุกอย่างลงตัว

ภาคแรกสรุปกันที่ให้กลุ่ม BTS ถือหุ้น 7.16% โดยเป็นการปล่อยหุ้นในส่วนที่เฮียฮ้อถืออยู่ออกมา 5.62% จากเดิมถือไว้ 36.26% เหลือ 30.64% และหุ้นของ “โสรัตน์ วณิชวรากิจ” อีก 1.54% จากเดิม 11.19% เหลือ 9.65%

นี่แค่ “ภาคแรก” ของจัดสรรหุ้นให้เท่านั้น เพราะทำได้แค่นี้ แม้กลุ่ม BTS อยากได้มากกว่านี้ แต่ยังมี “ภาคสอง” ตามมาอีกแน่นอน เพราะถือเป็นสัญญาที่พูดคุยกันไว้แล้ว ถึงสัดส่วนหุ้นที่ต้องปล่อยมาให้กลุ่ม BTS ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้จบกันที่ 7% เฮียฮ้อย้ำชัดว่า “ผมกับคุณกวินยังมีภาคสอง”

กวาดฐานลูกค้า 35 ล้านคน

จบเรื่องหุ้นแล้วมาต่อกันที่แผนธุรกิจ ที่อาร์เอสมองโอกาสร่วมกับกลุ่ม BTS จะเกิดใน 2 มิติ คือ การ Synergy และต่อยอด ธุรกิจ MPC เดิมของอาร์เอส นั่นคือ กลุ่ม BTS จะทำหน้าที่เป็นอีกช่องทางขาย นอกจากช่องทางเดิมที่อาร์เอส มีอยู่แล้ว และอีกมิติ คือการสร้างธุรกิจใหม่ร่วมกัน

ปัจจุบันในฝั่งอาร์เอส มีฐานผู้ชมช่อง 8 กว่า 10 ล้านคนต่อวัน ผู้ฟังวิทยุคลื่น Cool 2 – 3 ล้านคนต่อวัน ขายตรง Life star Biz ช่องทางออนไลน์ Shop 1781

ฝั่งบีทีเอส มีแพลตฟอร์มการเดินทางรถไฟฟ้า ที่มีผู้โดยสาร 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน จากเส้นทาง 48.9 กม. ในปัจจุบัน จะเพิ่มเป็น 133.4 กม. ในปี 2564 ส่วน VGI ในเครือบีทีเอส มี 3 แพลตฟอร์มหลักคือ ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน (Out of Home Media) ทั้ง วีจีไอ, มาสเตอร์ แอด และแพลนบี ธุรกิจบริการชำระเงินผ่าน Rabbit Group มีผู้ใช้กว่า 18 ล้านคน และธุรกิจโลจิสติกส์ Kerry Express เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงกว่า 1.2 ล้านคนต่อวัน

เมื่อรวม “ดาต้าเบส” ของทั้ง อาร์เอส และบีทีเอส เข้าด้วยกันจะมีฐานลูกค้ากว่า 35 ล้านคน นั่นคือโอกาสมหาศาล

พัฒนาธุรกิจใหม่ “ไร้กรอบ”

ปัจจุบันดาต้าเบสที่เป็นฐานลูกค้าของอาร์เอส อายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ฐานลูกค้าของกลุ่ม BTS จะเป็นกลุ่ม 35 ปีลงมา ทำให้อาร์เอสจะได้ฐานลูกค้าใหม่ขนาดใหญ่จากดาต้าเบสของกลุ่ม BTS ซึ่งไม่ทับซ้อนกับกลุ่มเดิมของอาร์เอส จึงมีโอกาสทั้งต่อยอดธุรกิจ MPC กลุ่ม Health & Beauty เดิมและพัฒนาสินค้าใหม่ร่วมกัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นระยะสั้น จะเห็นการร่วมมือใช้ช่องทางต่างๆ ของกลุ่ม BTS จากเดิมที่ลูกค้ากลุ่ม MPC มาจากช่องทาง อาร์เอส ทั้งทีวีดิจิทัล ช่อง 8 ทีวีดาวเทียม วิทยุคลื่น Cool ก็จะใช้ช่องทางของกลุ่ม BTS เริ่มจากการใช้สื่อของ VGI การทำงานร่วมกับ Kerry ที่จะมีมิติที่กว้างและลึกขึ้น หรือถึงขั้นเป็นพันธมิตร Official

ตัวอย่าง ป้ายโฆษณาในกลุ่ม VGI ที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ขายสินค้าให้กับธุรกิจ MPC ของอาร์เอสได้ทั้งหมด นั่นคือ หลักการเดียวกับการนำเวลาโฆษณาที่เหลืออยู่ของช่อง 8 มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าเป็นโฆษณาแถม

“ลองคิดง่ายๆ ว่าถ้าเดินไปไหน และก็เจอโฆษณา Shop 1781 จากป้ายของวีจีไอ และสามารถโทรสั่งซื้อได้ทันที นั่นคือ อาร์เอส สามารถขายสินค้ากับใครก็ได้ ไม่ใช่แค่คนที่อยู่หน้าจอช่อง 8 แค่นี้ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่แล้ว”

ปัจจุบันธุรกิจ MPC ของอาร์เอส ใช้บริการ Kerry จัดส่ง 60% ที่เหลือเป็นรายอื่นๆ ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้ Kerry ทั้งหมด เพื่อทำให้ประหยัดต้นทุน จากการส่งสินค้าปริมาณมาก เป็นเรื่องที่ win win ทุกฝ่าย

อีกทั้งความร่วมมือ ระบบชำระเงินผ่าน Rabbit ที่จะเข้ามาเป็นตัวเลือก จากปัจจุบันลูกค้า 95% จ่ายเงินสดเก็บเงินปลายทาง เพื่อทำให้กระบวนการซื้อ ขาย จ่ายเงินอยู่ใน Ecosystem เดียวกันทั้งหมด ผ่านช่องทางของอาร์เอสและกลุ่ม BTS

การเป็นพันธมิตรกับบีทีเอส ทำให้อาร์เอสมี “อาวุธครบมือ” ทั้งช่องทาง สื่อ และลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่แตกต่างจากอาร์เอส เป็นลูกค้าที่อยู่กับบีทีเอสมานาน มีดาต้าเบสชัดว่ามีพฤติกรรมอย่างไร การพัฒนาสินค้าจึงตอบโจทย์กลุ่มนี้จึงง่ายขึ้น ที่สำคัญทำให้อาร์เอสหาโอกาสจากการพัฒนาสินค้าใหม่ได้แบบ “ไร้กรอบ” คิดได้กว้างและลึกขึ้น จากฐานลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

เปิดตัวสินค้าใหม่ไตรมาสแรกปี 63

สำหรับความร่วมมือในมิติของการพัฒนาสินค้าใหม่และทำงานร่วมกับพันธมิตรกลุ่มบีทีเอส จะเห็นในไตรมาสแรก ปี 2563 โดยจะเป็นธุรกิจใหม่ สินค้าใหม่ และ Category ที่ต่างจากกลุ่มเดิมที่อาร์เอสมีอยู่ และจะเปิดตัวออกมาอย่างต่อเนื่อง

“ทีมงาน” อาร์เอสกำลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ฐานลูกค้าบีทีเอสและบัตรแรบบิท เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่มาตอบโจทย์กลุ่มนี้ คร่าวๆ ก็คือ กลุ่มคนเมือง เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ เดินทางด้วยบีทีเอส

สินค้าที่เหมาะกับกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาตัดสินใจซื้อไม่นาน ไซส์และราคาที่เหมาะสมสำหรับการซื้อแบบด่วน ต่างจากสินค้าปัจจุบันของอาร์เอส ที่เน้นไซส์ใหญ่ ซื้อต่อครั้งราว 2,000 บาท

ธุรกิจใหม่ที่จะเปิดตัวในไตรมาสแรกปีหน้า มีคนทำอยู่แล้วในตลาด แต่คนอื่นใช้เวลาทำ 5 ปี เมื่ออาร์เอสและบีทีเอสร่วมกันทำจะใช้เวลาเร็วขึ้น ในปีที่ 2 เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะมีทั้งฐานข้อมูลของกลุ่มบีทีเอส ศักยภาพสื่อ OOH หรือกระทั่งการใช้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จัดกิจกรรมแจกสินค้าตัวอย่าง เป็นสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ แต่อาร์เอสทำได้ในฐานะพันธมิตร ธุรกิจใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น “เป็นการทำธุรกิจที่เปลี่ยนใครก็ได้ให้เป็นลูกค้า”

“วันนี้บีทีเอสมีปลา (ฐานผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและแรบบิท) และเปิดโอกาสให้ อาร์เอส ในฐานพันธมิตรเข้าไปจับปลา ที่คนอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาจับได้ แค่นี้ก็มีโอกาสอีกมหาศาล เป็นหลักการการตลาดง่ายๆ ในการทำธุรกิจ”

การร่วมมือกันครั้งนี้ “อาร์เอส” มีสิ่งที่กลุ่มบีทีเอสไม่มี และ “บีทีเอส” มีสิ่งที่อาร์เอสอยากได้ จึงเป็นพันธมิตรที่ลงตัว และร่วมกันสร้างธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แต่สิ่งสำคัญ คือการต่อยอดธุรกิจใหม่ที่จะได้เห็นในไตรมาสแรก ปี 2563 “เฮียฮ้อ” ย้ำว่าเมื่อถึงวันนั้นทุกคนจะถึง “บางอ้อ” กับความเป็นพันธมิตรที่ลงตัวของอาร์เอสและบีทีเอส

“การหาพันธมิตรที่ใช่และเติบโตไปด้วยกันเป็นกลยุทธ์สำคัญและจำเป็นต้องทำในโลกธุรกิจปัจจุบัน”

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1244722
สื่อนอกบ้านสุดคึกคัก ดันรายได้ VGI โต 24.5% ฟาดกำไรกว่า 300 ล้าน https://positioningmag.com/1241848 Fri, 09 Aug 2019 04:09:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241848 สื่อนอกบ้านเป็นเทรนด์มาแรงที่นับวันกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านกันมากขึ้น และการขยายตัวของเส้นทางรถไฟฟ้า

ปัจจัยเหล่านี้เข้ามาผลักดันผลการดำเนินงาน VGI ไตรมาส 1 ประจำปี 2562/63 ยังแรงต่อเนื่อง โดยทำรายได้รวมถึง 1,392 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.5% กำไรสุทธิ เติบโต 16.3% เป็น 304 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม หากไม่นับรวมค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ จากการรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน บริษัทฯ จะมีกำไรสุทธิที่ 325 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ธุรกิจสื่อโฆษณาหวังรายได้จากการ Synergy กับ PlanB

เมื่อแยกย่อยไปแต่ละธุรกิจเริ่มด้วยธุรกิจสื่อโฆษณา VGI เน้น Synergy ภายใต้ Ecosystem โดยการร่วมมือกับ PlanB รวมแพ็กเกจการขายสื่อโฆษณาดิจิทัลของทั้ง 2 บริษัท บนพื้นที่สื่อที่ครอบคลุมกรุงเทพมหานครมากกว่า 80% ภายใต้แคมเปญ Bangkok Takeover

แต่ละเดือนทั้งเมืองจะถูกย้อมด้วยโฆษณาเพียงแบรนด์เดียวในช่วงเวลา prime time หรือช่วงเวลาที่มีผู้คนเดินทางมากที่สุดเป็นระยะเวลาชั่วโมง สามารถดึงดูดสายของผู้ใช้รถใช้ถนนที่สัญจรไปมาทั่วเมืองได้มากกว่า 9 ล้านคน ครอบคลุมทุกวิธีการเดินทางของผู้บริโภค

นอกจากนี้ VGI ยังได้เริ่มเปิดตัวสื่อโฆษณาดิจิทัลรูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘VGI Immerse’ จำนวน 40 หน้าจอ ที่มาพร้อมคุณสมบัติเด่นของขนาดหน้าจอที่กว้างถึง 45 เมตร ดึงดูดความสนใจอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้แก่ สถานีช่องนนทรี อโศก พร้อมพงษ์ และศาลาแดง VGI Immerse

ขณะเดียวกัน VGI ได้เริ่มนำเสนอโซลูชั่นส์การตลาดออนไลน์เพื่อเจาะตลาดนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีงบประมาณการจับจ่ายใช้สอยกว่า 580 พันล้านบาท โดยร่วมกับ iClick Interactive Asia Group Limited จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ บริษัท วีคลิ๊ก เทคโนโลยี จำกัด (“V-Click”)

นำจุดแข็งของสื่อดิจิทัลและเครือข่ายธุรกิจที่กว้างขวางของทั้งสองบริษัท ผลักดันแบรนด์ในภูมิภาคให้เข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านการทำการตลาดแบบดิจิทัลของ iClick ที่มีฐานลูกค้ามากกว่า 780 ล้านผู้ใช้งาน

สำหรับไตรมาสนี้ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านมีรายได้อยู่ที่ 946 ล้านบาท ลดลง 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากโครงการปรับปรุงสื่อโฆษณาในระบบขนส่งมวลชนและสื่อสตรีทเฟอร์นิเจอร์ของ MACO อย่างไรก็ตาม คาดว่าธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านจะได้รับประโยชน์จาก synergy กับ PlanB ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562

รวมทั้งการเปิดให้บริการของสื่อดิจิทัลบริเวณตอม่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสของ MACO ที่ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเปิดการขายไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต

รูป Facebook : VGI Global Media

ธุรกิจบริการชำระเงินเติบโตจากหลายทิศ

ถัดมาธุรกิจบริการชำระเงินสร้างรายได้พุ่งสูงถึง 445 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 308.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องมาจากการควบรวมงบการเงินของกลุ่มทรานส์.แอด โดย MACO ทั้งนี้ยังได้รับประโยชน์จากการเติบโตของกลุ่มแรบบิทซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้การบริหารโครงการและรายได้จาก Lead Generation

ปัจจุบันบัตรแรบบิทมีจำนวนผู้ใช้งาน 11.5 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 3.9% จากเดือนมีนาคม 2562 และภายหลังจากร่วมมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพทำให้ปัจจุบันแรบบิทไลน์เพย์มีผู้ใช้บริการมากกว่า 6.0 ล้านคน เพิ่มขึ้น 9.5% ในไตรมาส 1 ปี 2562/63

Kerry ดันรายได้ธุรกิจโลจิสติกส์

สุดท้ายธุรกิจโลจิสติกส์เพิ่มบริการจัดส่งของ Kerry บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเปิดให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีพร้อมพงษ์ ทองหล่อ และศาลาแดง ซึ่งเราคาดว่าจะเปิดให้บริการเพิ่มเติมที่สถานีสยามภายในไตรมาส 2 ปี 2562/63 นี้

เนลสัน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมาเราได้เปลี่ยนจากการเป็นผู้ให้บริการด้านสื่อโฆษณานอกบ้านเพียงอย่างเดียวไปสู่ผู้ให้บริการด้านออฟไลน์สู่ออนไลน์ (O2O Solutions) ที่ครบวงจร

และเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยงแปลงในจุดยืนของธุรกิจที่มีหลากหลายแพลตฟอร์มรวมอยู่ในแบรนด์เดียว บริษัทฯ จึงได้ทำการเปลี่ยนโลโก้และชื่ออย่างเป็นทางการจาก บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา

]]>
1241848
อยากลงน้ำบ้าง! “VGI” แจ้งใช้เงิน 100 ล้านบาท สยายปีกไปสู่การโฆษณาใน “เรือด่วนเจ้าพระยา” https://positioningmag.com/1227077 Sun, 28 Apr 2019 02:55:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1227077 ตั้งแต่ย่างเข้าสู่ปี 2019 “VGI” บริษัทสื่อโฆษณาที่มี “BTS” เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ยังไม่หยุดใช้เงินในการซื้อหุ้นและร่วมทุนกับบริษัทอื่นๆ เลย เพื่อขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นตามเทรนด์การเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาสื่อนอกบ้านเลย

ไล่มาตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม ร่วมทุนกับ แอ็ดเอเชีย (ประเทศไทย)” ตั้ง วีจีไอ เอนี่มายด์เทคโนโลยี” ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ทำธุรกิจพัฒนาระบบโปรแกรมเมติกสำหรับสื่อโฆษณานอกบ้านระบบดิจิทัล ถัดจากนั้นไม่กี่วัน 26 มีนาคม ใช้เงินอีก 4,620 ล้านบาท ถือหุ้น 18.59% ใน แพลน บี มีเดีย

จนมาถึงเดือนเมษายน ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ 23 เมษายน ได้เข้าทำสัญญาร่วมทุนกับ iCLK” เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็กในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดให้บริการสื่อโฆษณาออนไลน์ในประเทศจีน ตั้ง วีคลิ๊ก เทคโนโลยี ทุนจดทะเบียน 90 ล้านบาท 

VGI ถือหุ้น 30% โดยจะทำธุรกิจเป็นตัวแทนขายสื่อโฆษณาออนไลน์ สำหรับสินค้าไทยที่ต้องการโฆษณาที่จีน พัฒนาแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ และให้บริการเครื่องชาร์จอุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีจอโฆษณาดิจิทัลด้วย

รูป Facebook : VGI Global Media

และสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันก่อน (26 เมษายนได้ใช้เงินอีก 100 ล้านบาท ซื้อหุ้นใน แอดซ์ เจ้าพระยา ซึ่งให้บริการสื่อโฆษณาแต่เพียงผู้เดียวในเรือโดยสาร เรือด่วน เรือข้ามฟาก เรือท่องเที่ยว ที่สัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นผู้ให้บริการสื่อโฆษณาประเภทป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ตามท่าเรือต่าง ริมแม่น้ำ

โดยซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิม Silver Pendulum Limited จำนวน 1,429 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ในราคาหุ้นละ 34,989.50 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 50 ล้านบาท และใช้เงินอีกเท่ากันในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีก 1,429 หุ้น รวมเป็นหุ้นทั้งหมด 2,858 หุ้น

ภายหลังการเข้าซื้อ VGI จะเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับที่ 3 ด้วยสัดส่วน 25.01% โดยมี สุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 37.50% และ พิริยะ วัชจิตพันธ์ ถือหุ้นรองลงมา 33.75%

สำหรับผลประกอบการย้อนหลังของ VGI หรือ บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ มีดังนี้

  • ปี 2558 รายได้รวม 3,077.93 ล้านบาท กำไร 837.58 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้รวม 2,423.42 ล้านบาท กำไร 940.52  ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้รวม 3,358.28 ล้านบาท กำไร 826.40 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้รวม 4,079.66 ล้านบาท กำไร 846.23 ล้านบาท
  • เดือนปี 2562 รายได้รวม 3,903.91 ล้านบาท กำไร 830.89 ล้านบาท

ด้านผลประกอบการ บริษัท แอดซ์ เจ้าพระยา จำกัด ที่รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนี้

  • ปี 2556 รายได้รวม 210,739.27 บาท ขาดทุน 16,860.73 บาท
  • ปี 2557 รายได้รวม 24,584,356.01 บาท กำไร 3,959,823.44 บาท
  • ปี 2558 รายได้รวม 29,332,367.59 บาท กำไร 8,493,197.52 บาท
  • ปี 2559 รายได้รวม 29,932,703.77 บาท กำไร 6,349,833.24 บาท
  • ปี 2560 รายได้รวม 27,390,774.58 บาท กำไร 1,890,561.02 บาท
]]>
1227077
ได้เวลาบุกแดนมังกร VGI ร่วมทุน iClick ลุยตลาดดิจิทัลหนุนแบรนด์อาเซียนเจาะกำลังซื้อชาวจีน https://positioningmag.com/1226344 Wed, 24 Apr 2019 09:20:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1226344 ภายใต้การลงทุน  3 ธุรกิจหลัก “สื่อนอกบ้าน เพย์เม้นต์และโลจิสติกสส์” ของ “วีจีไอ โกลบอล มีเดีย” ที่เริ่มจากประเทศไทย จากนั้นใช้โมเดลเข้าไปลงทุนอาเซียน ที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย ล่าสุดประกาศขยายการลงทุนครั้งแรกในประเทศจีน ร่วมทุนบริษัทเทคโนโลยีเพื่อทำการตลาดดิจิทัลให้กับแบรนด์อาเซียน

ด้วยจำนวนประชากรจีนกว่า 1,300 ล้านคน ข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศจีนพบว่า จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังต่างประเทศติดอันดับสูงสุดของโลกกว่า 150 ล้านครั้ง ในปี 2561 จุดหมายปลายทางยอดนิยมก็คือประเทศไทย ตามด้วยญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย

นักท่องเที่ยวชาวจีนมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายในต่างประเทศถึง 258 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 คิดเป็น 21% ของการใช้จ่ายทั่วโลก กำลังซื้อชาวจีนจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก

“วีจีไอ โกลบอล มีเดีย” มองโอกาสเข้าไปขยายธุรกิจในจีน ด้วยการร่วมทุนกับบริษัท iClick Interactive Asia Group Ltd. (iClick)  ซึ่งเป็นผู้นำแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์และเทคโนโลยีฐานข้อมูลในประเทศจีน ทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งการร่วมทุนกับ iClick ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศจีน เพื่อทำตลาดสื่อสารกับผู้บริโภคจีน รวมทั้งการทำตลาดในไทยเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทย

เนลสัน เหลียง

เนลสัน เหลียง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ VGI กล่าวว่าการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ iClick  เป็นการเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงตลาดผู้บริโภคในประเทศจีนที่มีมูลค่ากว่าหลายพันล้านดอลลาร์และกำลังเติบโต  ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาด

ชู 3 เครื่องมือการตลาดิจิทัล

โดยการร่วมทุนดังกล่าวจะใช้จุดแข็งของ VGI เเละ iClick มาสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีมือถือและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ประกอบด้วย

Mobile Application  ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI โมบายแอปพลิเคชัน ที่สามารถสร้างเนื้อหาทางการตลาดได้ตรงตามลักษณะส่วนบุคคลหรือความสนใจของผู้ใช้งาน ทำให้แบรนด์สามารถกำหนดและแบ่งกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

China Solutions  เป็นโซลูชั่นส์การตลาดดิจิทัลที่หลากหลาย ทั้งโซเชียลมีเดียและโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลความสนใจเชิงลึกจากฐานข้อมูลผู้บริโภคในตลาดจีนของ ผ่าน iClick กว่า 780 ล้านผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ลูกค้า ในการได้รับข้อมูลของผู้บริโภคที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะข้อมูลตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งเป็นกลุ่มกำลังซื้อสำคัญ

O2O Solutions   เป็นเครื่องมือ Mobile charging station หรือ เครื่องบริการชาร์จมือถือที่มีหน้าจอดิจิทัลสำหรับนำเสนอคอนเทนต์การตลาด ซึ่งถูกติดตั้งบนเครือข่ายของ VGI ทั้งหมด 10,000 จุด ทั่วประเทศไทย โดยมีจุดติดตั้งที่น่าสนใจ อาทิ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และศูนย์ขนส่งสินค้าของ Kerry Express

หนุนแบรนด์อาเซียนเจาะจีน

การร่วมทุนกัน iClick ถือเป็นการเข้าไปขยายธุรกิจด้านการตลาดดิจิทัลในประเทศจีนของวีจีไอ  โดยจะสนับสนุนแบรนด์สินค้าอาเซียน เข้าไปสร้างการรับรู้และทำการตลาดดิจิทัลในประเทศจีน  โดยใช้ความเชี่ยวชาญของ iClick ในการวิเคราะห์ตลาดดิจิทัล รวมถึงความชำนาญในตลาดประเทศจีนและภูมิภาคเอเชีย ที่จะช่วยเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย  สามารถตรวจสอบและวัดผลกลยุทธ์ทางการตลาดได้อีกด้วย  โดยมองโอกาสของการเข้าไปทำตลาดของธุรกิจค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค การดูแลสุขภาพ และความบันเทิง

“การที่แบรนด์อาเซียนเข้าไปสร้างการรับรู้ในตลาดจีน เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมายังอาเซียนเป็นอันดับต้นๆ  ได้รู้จักแบรนด์มาก่อนแล้ว ก็มีโอกาสที่จะเลือกซื้อสินค้าของแบรนด์นั้นๆ เป็นตัวเลือกแรกๆ”

Sammy Hsieh

Sammy Hsieh ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอ ของ iClick กล่าวว่าการนำเสนอโซลูชั่นส์ผ่านนวัตกรรมที่มีความหลากหลายร่วมกันในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งบนตลาดดิจิทัลในภูมิภาคให้กับทั้ง VGI และ iClick  เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นความสามารถในการนำเสนอโฆษณาที่สอดคล้องตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการโฆษณาในอนาคต

“เราเชื่อว่าการร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับวีจีไอ จะเสริมสร้างแพลตฟอร์มการตลาดที่มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์มากขึ้นให้กับแบรนด์ในภูมิภาค และยังเป็นการเริ่มต้นสู่โอกาสทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆ ของทั้งสองบริษัทในอนาคตอีกด้วย”

]]>
1226344
ช้อปไม่หยุด! “วีจีไอ” ซื้อหุ้น “แพลนบี” 4.6 พันล้าน ยึดสื่อนอกบ้าน 70% https://positioningmag.com/1221741 Wed, 27 Mar 2019 03:16:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221741 ภายใต้นโยบายต้องการเป็นผู้นำ “ออฟไลน์ทูออนไลน์ โซลูชั่น” (O2O Solutions) บนแพลตฟอร์ม 3 ธุรกิจหลัก คือ สื่อโฆษณา เพย์เมนต์ และโลจิสติกส์ “วีจีไอ โกลบอล มีเดีย” เดินหน้าสร้างเครือข่ายด้วยการเข้าซื้อกิจการ (M&A) และร่วมทุน (JV) มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน ยังช้อปธุรกิจไม่หยุด ล่าสุดเติมพอร์ตโฟลิโอสื่อนอกบ้าน ซื้อหุ้น “แพลนบี” 4,600 ล้านบาท

วันนี้ (27 มีนาคม) “วีจีไอ” ประกาศลงทุนใน บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน) บริษัทโฆษณาสื่อนอกบ้านที่มีเครือข่ายหลากหลาย ด้วยมูลค่าการลงทุน 4,600 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 18.6%

เนลสัน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ VGI กล่าวว่า การเข้าไปลงทุนใน “แพลนบี” ทำให้วันนี้ ทั้ง “วีจีไอและแพลนบี”  ครองส่วนแบ่งการตลาดสื่อโฆษณานอกบ้าน กว่า 70% ยึดผู้นำในตลาดสื่อนอกบ้านของไทย ด้วยกำลังการผลิตสื่อมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ และอาเซียน

“การร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของวีจีไอและแพลนบี จะผลักดันให้เราเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถรวมการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัลใหญ่ที่สุด จากแหล่งฐานข้อมูลของวีจีไอ เพื่อครีเอตการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานให้กับแบรนด์ต่างๆ ด้วย ecosystem ของเรา”

ผนึกกำลังชิงโฆษณาสื่อดั้งเดิม-ออนไลน์

ทางด้าน ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือของวีจีไอและแพลนบี จะใช้จุดแข็งด้าน O2O Solutions จากวีจีไอ ร่วมกับเครือข่ายสื่อโฆษณาที่มีความหลากหลายอันดับ 1 ของประเทศไทยและคอนเทนต์ของแพลนบี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

การร่วมมือกันจะช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันของสื่อโฆษณานอกบ้าน เพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากสื่อโฆษณาดั้งเดิมและสื่อโฆษณาออนไลน์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของทั้งแพลนบีและวีจีไอ ยังคงเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมอุตสหกรรมสื่อโฆษณามูลค่ากว่า 120,000 ล้านบาท โดยทั้ง 2 บริษัทยังมองโอกาสเติบโตในตลาดสื่อโฆษณาอาเซียนต่อไป

ปัจจุบันแพลนบี เป็นผู้ให้บริการสื่อโฆษณานอกบ้านที่มีความหลากหลายของประเภทสื่อครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศไทย และได้ขยายธุรกิจไปยังอีก 4 ประเทศอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ ปี 2561 แพลนบี มีรายได้  4,039 ล้านบาท ย้อนหลัง 5 ปี เติบโตเฉลี่ย 24%

5 ปี “วีจีไอ” ช้อป 1.5 หมื่นล้าน

ต้องเรียกว่าเป็น “ขาช้อป” ตัวจริง สำหรับ “วีจีไอ” ในเครือ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ใช้กลยุทธ์สร้างเครือข่ายด้วยการเข้าซื้อกิจการ (M&A) และร่วมทุน (JV) มาตั้งแต่ ปี 2558 ถึงปัจจุบันรวมมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท ใน 3 ธุรกิจหลัก คือ สื่อโฆษณา เพย์เมนต์ และโลจิสติกส์ มาดูกันว่าช่วง 5 ปีนี้ วีจีไอลงทุนอะไรบ้าง

  • กลุ่มสื่อนอกบ้าน มาสเตอร์แอด (MACO) มูลค่า 1,000 ล้านบาท ถือหุ้น 31.65%, มัลติไซน์ 640 ล้านบาท ถือหุ้น 100%, โคแมส 335 ล้านบาท ถือหุ้น 70%, แอโร มีเดีย 200 ล้านบาท ถือหุ้น 30%, เดโม เพาว์เวอร์ 400 ล้านบาท ถือหุ้น 40% และโกลด์สตาร์ 240 ล้านบาท ถือหุ้น 60% ล่าสุด แพลนบี 4,600 ล้านบาท ถือหุ่น 18.6%
  • กลุ่มเพย์เม้นต์ “แรบบิท” 2,000 ล้านบาท ถือหุ้น 90%
  • โลจิสติกส์ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” 6,000 ล้านบาท ถือหุ้น 23%

ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 วีจีไอ มีรายได้ 3,936 ล้านบาท กำไรสุทธิ 21.5%

]]>
1221741
สื่อดั้งเดิมซึม! งบโฆษณาเลือกตั้ง 500 ล้าน “ออนไลน์-สื่อนอกบ้าน” กวาดเรียบ https://positioningmag.com/1213666 Tue, 12 Feb 2019 14:42:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213666 แม้ปีนี้จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เข้ามาเป็นปัจจัยบวก กระตุ้นการใช้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมสื่อมากขึ้น และหากเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 ที่มีเม็ดเงินเลือกตั้งผ่านสื่อราว 300 ล้านบาท พบว่าหนังสือพิมพ์ ได้งบไปถึง 50% ทีวีรองลงมาอยู่ที่ 46% ตามด้วยวิทยุ 3% และสื่อกลางแจ้ง 1%

แต่การเลือกตั้งปี 2562  กกต.กำหนดหลักเกณฑ์ ห้าม” ซื้อโฆษณาเลือกตั้งทางทีวีและวิทยุ เม็ดเงินจึงไปสะพัดใน สื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน เป็นหลัก

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ สายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ เอ็มไอ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ให้มุมมองว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อในช่วงเลือกตั้งปีนี้ น่าจะอยู่ที่ 300-500 ล้านบาท สื่อที่จะได้งบโฆษณาเลือกตั้งสูงสุด คือ ออนไลน์และสื่อนอกบ้าน เรียกว่าครองงบส่วนใหญ่ (Majority) เลยทีเดียว หรืออาจแตะ 80% ของงบทั้งหมด

สื่อดั้งเดิมหมดลุ้นชิงเค้ก 

การเลือกตั้งปีนี้เม็ดเงินโฆษณาที่กระจายในสื่อจะแตกต่างจากการเลือกตั้งในปี 2554 ที่มี หนังสือพิมพ์และทีวี ยึดไปได้ถึง 96% จากหลักเกณฑ์ กกต. ที่ห้ามโฆษณาทางทีวีและวิทยุ ขณะที่หนังสือพิมพ์ที่เคยได้งบมาเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งในปีนั้นสื่อหนังสือพิมพ์ครองเม็ดเงินเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรมโฆษณา รองจากทีวี หรือมีมูลค่ากว่า 14,558 ล้านบาท 

แต่หลังจากปี 2557 ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนจากสื่อออนไลน์ขยายตัวสูง ทำให้การใช้งบโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งพิมพ์ถดถอยมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากงบโฆษณาที่รายงานโดยนีลเส็นในปี 2561 หนังสือพิมพ์เหลืออยู่เพียง 6,100 ล้านบาท ติดลบ 20% จากปีก่อนหน้า

จากจำนวน ผู้อ่าน หนังสือพิมพ์ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกตั้งปีนี้  หนังสือพิมพ์คงได้งบโฆษณาไปไม่มากเหมือนกันเลือกตั้งปี 2554 เพราะหากดูตัวเลขการใช้งบโฆษณาเดือนมกราคมปีนี้ พบว่ามีพรรคการเมืองซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ไม่กี่ครั้งเท่านั้น

แข่งคอนเทนต์ชิง New Voter

ในศึกเลือกตั้งปีนี้สื่อออนไลน์ถือเป็น พระเอก ใช้งบโฆษณา เพราะวันนี้ต้องเรียกว่าเป็น สื่อแมส ที่เข้าถึงสัดส่วนประชากรไทย 80% ปัจจุบันโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มหลัก เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งาน 51 ล้านบัญชี, ไลน์ 44 ล้านบัญชี, อินสตาแกรม 14 ล้านบัญชี และทวิตเตอร์ 12 ล้านบัญชี เรียกว่าเข้าถึงคนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ 

ปีนี้มีกลุ่มผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (New Voter) 7-8 ล้านคน สื่อออนไลน์จึงเป็นสื่อหลักของการสื่อสารกับกลุ่มนี้ ขณะที่วัยอื่นๆ มีพฤติกรรมเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน อีกคุณสมบัติของสื่อออนไลน์คือเป็นสื่อที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ว่าจะเลือกนำเสนอคอนเทนต์กับกลุ่มใดในการเลือกตั้งครั้งนี้ สื่อออนไลน์จึงจะได้เม็ดเงินโฆษณาไปมากที่สุด

รองลงมาคือ สื่อนอกบ้าน (Out of Home Media) โดยเฉพาะ ป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นสื่อยอดนิยมในการหาเสียงของพรรคการเมืองและผู้สมัคร พบว่าอัตราการใช้พื้นที่โฆษณาทั้งป้ายนิ่งและป้ายดิจิทัลเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และมีการปรับขึ้นราคาในป้ายโฆษณาที่อยู่ในทำเลกลางเมือง 

กลยุทธ์การหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะใช้ คอนเทนต์ เป็นตัวนำเพื่อสร้างกระแส (ไวรัล) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใช้โซเชียลมีเดีย นำไปแชร์ต่อ รวมทั้งสื่อต่างๆ ทั้งทีวีและออนไลน์นำคอนเทนต์ไปเสนอต่อผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความนิยมและการจดจำพรรคและนักการเมืองในการช่วงชิงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งนี้

กระแสไวรัสที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกรณีน้องจินนี่ ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ บุตรสาวของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ไปช่วยเดินหาเสียงกระทั่งชาวโซเชียลสะดุดตาในความน่ารัก จนเกิดเป็น #พรรคเพื่อเธอ และกระแสล่าสุด #ฟ้ารักพ่อ ที่สื่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ล้วนเป็นคอนเทนต์ที่นำไปต่อยอดสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพรรคและผู้สมัคร ส.. ได้เป็นอย่างดี

โฆษณาปี 62 โต 5%

สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2562 มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ ประเมินการเติบโตไว้ที่ 5% หรือมีมูลค่า 91,429 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากปีก่อนเติบโต 0.8% และหากย้อนหลังไปปี 2557 ถึงปีก่อน อุตสาหกรรมโฆษณา ติดลบ มาต่อเนื่อง

ปี 2562 สื่อทีวียังครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุด ที่ 49,686 ล้านบาท ตามมาด้วยสื่ออินเทอร์เน็ตที่มูลค่า 17,518 ล้านบาท สื่อโฆษณานอกบ้าน 12,498 ล้านบาท  หนังสือพิมพ์ 4,402 ล้านบาท วิทยุในกรุงเทพฯ 4,163 ล้านบาท สื่อในโรงภาพยนตร์ 2,325 ล้านบาท นิตยสาร 838 ล้านบาท   

สื่อที่เติบโตสูงสุดในปี 2562 คือ ออนไลน์ ที่กว่า 20% ตามมาด้วยสื่อนอกบ้านที่เติบโต 7.83% ขณะที่สื่อทีวีเติบโต 3.98% ส่วนหนังสือพิมพ์และนิตยสารยังคงเป็นสื่อที่ติดลบต่อเนื่อง

]]>
1213666
คินเนติค ฟันธงสื่อนอกบ้านทะลุหมื่นล้าน โต 12% ชี้ป้ายโฆษณาดิจิทัลถึงเอาผู้บริโภคอยู่ https://positioningmag.com/1211040 Tue, 29 Jan 2019 09:11:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1211040 แม้สื่อดั้งเดิมหลายประเภทต้องเจอกับภาวะหดตัว เนื่องจากแบรนด์หันไปเทงบกับสื่อดิจิทัลมากขึ้น แต่สื่อนอกบ้าน หรือ Out of Home Media กลับยังคงเติบโตได้ดี โดยมายด์แชร์คาดการณ์ว่าปี 2562 สื่อนอกบานจะคว้าเม็ดเงินโฆษณา 7,500 ล้านบาท เติบโต 9.8% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น

ล่าสุด บริษัท คินเนติค เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย) จำกัด เอเยนซี่สื่อนอกบ้าน คาดการณ์ว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและโลกดีขึ้น ในปี 2562 ภาพรวมการเติบโตของสื่อนอกบ้านจะเติบโตได้ถึง 12% หรือคิดเป็นมูลค่า 10,000 ล้านบาท

อัญชลี ยุพเมฆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คินเนติค เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย) ระบุว่า สื่อนอกบ้านยังคงมีบทบาทต่อการตัดสินใจซื้อของผู้คนมากขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านของคนเมืองเฉลี่ยในแต่ละวันประมาณ 12-20 ชั่วโมง ทำให้หลายธุรกิจมองเห็นถึงความสำคัญและลงทุนในสื่อประเภทนี้มากขึ้น

สำหรับเทรนด์ของสื่อนอกบ้านในปี 2562 จะถูกปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบของ ป้ายโฆษณาดิจิทัล”มากขึ้น รองรับเทคโนโลยี 5.0

แบ่งเป็นสัดส่วนในกรุงเทพฯ 50% และต่างจังหวัด 50% จากเดิมเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของป้ายโฆษณาดิจิทัลในต่างจังหวัด ยังไม่เติบโตมากนัก โดยเป็นผลพวงมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบความรวดเร็วทันสมัยและเบื่อง่าย สื่อดิจิทัลจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

โดยประเภทธุรกิจที่นิยมเลือกใช้สื่อนอกบ้าน ได้แก่ 1. แบรนด์มือถือ 2. สินค้าท้องถิ่น 3. ธุรกิจความงามของคนไทย 4. เว็บไซต์ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และ 5. สถาบันการเงิน

“พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทุกอย่างต้องเร่งทำให้การจดจำแบรนด์สินค้าเป็นพฤติกรรมที่ฉาบฉวยตามไปด้วย รวมถึงคู่แข่งก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้เท่าทัน ซึ่งสื่อนอกบ้านในรูปแบบของดิจิทัลถือว่าตอบโจทย์ได้ดี ผู้บริโภคจะให้ความสนใจกับสื่อที่เป็นภาพเคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง และหากทำให้ผู้บริโภคสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อโฆษณาดังกล่าวได้ด้วย ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการจดจำแบรนด์ และตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุด” อัญชลี กล่าว

ส่วน คินเนติค วางแผนในปี 2562 จะเพิ่มสื่อดิจิทัลในรูปแบบใหม่ๆ ได้แก่ Paragon Motion Block, Smart Traffic Jam และผลจากการขยายสถานีเพิ่มของรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดิน การขยายสื่อดิจิทัลที่เป็น Network ตามต่างจังหวัด และจากสื่อใหม่ที่รองรับเทคโนโลยี 5.0 จะส่งผลให้ยอดขายสื่อนอกบ้านของคินเนติคเติบโตประมาณ 12% โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด 25% จากมูลค่าการตลาดของสื่อนอกบ้านประมาณ 10,000 ล้านบาท.

]]>
1211040