อีคอมเมิร์ซจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Jul 2022 08:27:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Alibaba ไปไม่ไหวในตลาด “สหรัฐฯ” แผนดึงซัพพลายเออร์สู้ Amazon ไม่เป็นไปตามเป้า https://positioningmag.com/1394251 Thu, 28 Jul 2022 04:38:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394251 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจากจีน “Alibaba” ไปไม่ถึงดวงดาวใน “สหรัฐฯ” หลังจากแผนดึงซัพพลายเออร์ท้องถิ่นอเมริกันให้ถึง 1 ล้านรายล้มไม่เป็นท่า พร้อมกับปัญหาพนักงานเกินครึ่ง “ลาออก” เพราะวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่าง

Alibaba.com เป็นเว็บไซต์ค้าส่งระดับสากลที่จะดึงผู้ซื้อผู้ขายจากทั่วโลกมาอยู่บนแพลตฟอร์ม โดยเมื่อ 3 ปีก่อนนี้บริษัทมีการเปิดตัวเว็บไซต์ Alibaba.com อีคอมเมิร์ซรูปแบบค้าส่ง B2B ในสหรัฐฯ โดยหวังว่าจะสามารถดึงซัพพลายเออร์ผู้ขายท้องถิ่นสัญชาติอเมริกันได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านรายมาขายบนแพลตฟอร์มของตน เพื่อจะแข่งขันในตลาดโลกได้เหมือนกับ Amazon

Financial Times รายงานจากแหล่งข่าววงใน พบว่า การปฏิบัติงานของ Alibaba.com ในสหรัฐฯ กลับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บีบให้บริษัทจีนรายนี้ต้องปรับเปลี่ยนเป้าการเติบโตของตนเอง นอกจากการดึงคู่ค้าไม่เป็นไปตามเป้าแล้ว ยังเผชิญปัญหาการลาออกของพนักงานจำนวนมากที่ออฟฟิศในเมืองนิวยอร์กอีกด้วย

Alibaba ยังเจอศึกรอบด้านในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะขณะที่หน่วยธุรกิจในสหรัฐฯ มีปัญหา ที่สำนักงานใหญ่ในประเทศจีนก็กำลังถูกรัฐบาลตรวจสอบ ตามนโยบายจีนต้องการลดอำนาจของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี รวมถึงมีปัญหาเศรษฐกิจจีนชะลอตัว แต่คู่แข่งกลับมากขึ้น ทำให้บริษัทอยู่ในช่วงที่ยากลำบาก

ตั้งแต่เปิดตัวเว็บไซต์มา Alibaba.com ยากลำบากมากในการดึงซัพพลายเออร์อเมริกันให้อยู่กับแพลตฟอร์มต่อไป เพราะราคาขายของผู้ผลิตอเมริกันนั้นแข่งขันกับตลาดผู้ขายทั่วโลกได้ยาก

“ผู้ผลิตอเมริกันนั้นไม่ได้มีศักยภาพแข่งขันมากเท่า เนื่องจากต้นทุนของทุกสิ่งทุกอย่างแพงกว่า รวมถึงค่าแรงด้วย ทีมงานเองก็ไม่ได้มีแรงสนับสนุนภายในที่มากเพียงพอ ดังนั้นพวกเขาก็ไม่สามารถจะดึงผู้ขายหรือซัพพลายเออร์อเมริกันให้ขึ้นระบบขายบนแพลตฟอร์มได้เพียงพอ” พนักงานปัจจุบันรายหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าว

ผู้ขายอเมริกันส่วนใหญ่ยกเลิกเป็นสมาชิกหลังผ่านไป 1 ปี ทำให้ Alibaba.com ต้องยอมลดเป้าหมายดึงผู้ขายที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ 1 ล้านราย เหลือเพียงปีละ 2,000 รายเท่านั้น

Photo : Shutterstock

ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากแหล่งข่าววงใน 3 คนยืนยันตรงกันว่า พนักงานอย่างน้อย 35 คนของ Alibaba.com ในนิวยอร์กได้ทยอยลาออกไปในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ทีมงานลดลงมากกว่าครึ่ง สาเหตุการลาออกมาจากทั้งผลงานของแพลตฟอร์มไม่เป็นไปตามเป้า รวมถึงวัฒนธรรมการกลั่นแกล้งรังแกจากพนักงานอาวุโสสูงและการทำงานหนักหลายชั่วโมงต่อวัน

ตำแหน่งงานหลายตำแหน่งไม่ได้ถูกจ้างทดแทนคนเดิม เพราะแพลตฟอร์มกำลังค่อยๆ ออกจากตลาดสหรัฐฯ อย่างเงียบๆ

Alibaba.com ถือเป็นแกนหลักในการลุยตลาดโลกของบริษัท โดยบริษัทเลือกจับตลาด B2B แทน B2C ที่เป็นแกนหลักธุรกิจจากการเล็งเห็นศักยภาพ รัฐบาลสหรัฐฯ เองก็ประเมินตลาดอีคอมเมิร์ซสำหรับ B2B ไว้ว่ามีโอกาสทางการตลาดถึง 23.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่กว่าตลาด B2C ถึง 6 เท่า

แม้ว่าจะมีผู้ซื้อ 20 ล้านคนจาก 200 ประเทศในแพลตฟอร์ม Alibaba.com และมีผู้ขายกว่า 200,000 คนจากทั่วโลก แต่มีแค่ไม่กี่พันรายที่มาจากสหรัฐฯ โดยการเป็นผู้ขายจากสหรัฐฯ จะต้องจ่ายค่าสมาชิกปีละ 3,000 เหรียญ

ภาพจาก Shutterstock

เมื่อปีงบประมาณรอบก่อนสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2022 ธุรกิจค้าส่งสากลซึ่งรวมถึง Alibaba.com ทำรายได้ให้บริษัท 1.84 หมื่นล้านหยวน หรือคิดเป็น 2% ของรายได้รวม

วิธีการเข้าตลาดสหรัฐฯ ของ Alibaba เริ่มขึ้นในปี 2018 โดยใช้การเทกโอเวอร์บริษัทซอฟต์แวร์อเมริกันชื่อ Opensky (ไม่เปิดเผยมูลค่าลงทุน) จอห์น แคปแลน ผู้ร่วมก่อตั้ง Opensky และพนักงานเดิมจำนวนหนึ่ง ได้รับการว่าจ้างต่อเพื่อให้เปิดเว็บไซต์ Alibaba.com ขึ้นในสหรัฐฯ

แคปแลนเพิ่งจะออกจากบริษัทเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และขึ้นเป็นซีอีโอร่วมที่บริษัท Payoneer บริษัทด้านบริการชำระเงิน พนักงานที่เคยอยู่มาตั้งแต่ยุค Opensky ปัจจุบันลาออกแล้วกันเป็นส่วนใหญ่เพราะไม่มีความสุขหลังบริษัทถูกซื้อกิจการ

Alibaba ไม่มีความเห็นตอบกลับสำนักข่าวในประเด็นเหล่านี้

Source

]]>
1394251
JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายแรกที่รับชำระด้วย “หยวนดิจิทัล” https://positioningmag.com/1309936 Sat, 12 Dec 2020 06:21:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309936 ฟินเทคแมกกาซีน สื่อต่างประเทศ รายงานว่า JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจะกลายเป็นผู้ค้าปลีกออนไลน์รายแรกที่รับชำระค่าสินค้าด้วย “หยวนดิจิทัล” โดยเป็นส่วนหนึ่งของการนำร่องศักราชหยวนจีน โดยธนาคารกลางจีน

รายงานข่าวระบุว่า ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) จะจัดสรรเงิน 20 ล้านหยวน (3 ล้านดอลลาร์) ในรูปแบบดิจิทัลให้กับประชาชนเพื่อทดลองใช้ “สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง” (Central Bank Digital Currency – CBDC)

ผู้อยู่อาศัยในซูโจวเมืองทางตะวันตกของเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ จะได้รับการจัดสรรเงินหยวนดิจิทัลผ่านระบบลอตเตอรี่ Suzhoudao ซึ่งเป็นแอปบริการสาธารณะของเมือง ด้วยการออก “อั่งเปา ซองแดง” เสมือนจริง ประมาณ 100,000 ซองพร้อมสกุลเงินที่ต้องใช้ภายในวันที่ 27 ธันวาคม

ซึ่งผู้ได้รับจะสามารถใช้สกุลเงินนี้ได้ที่ร้านค้าในพื้นที่หลายพันราย รวมถึงสินค้าที่เลือกบนเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ JD.com

ธนาคารกลางของจีนกำหนดให้มีการริเริ่ม Digital Currency Electronic Payment (DCEP) ซึ่งเป็นสกุลเงินที่แตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ใต้การควบคุมและออกโดยธนาคารกลาง

โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการทดลองในเดือนตุลาคม ในภูมิภาค เซินเจิ้น ผู้อยู่อาศัยราว 50,000 คนแต่ละคนได้รับเงิน 200 หยวนดิจิทัล เพื่อใช้จ่ายในท้องถิ่นผ่านแอป มีการทดลองธุรกรรม DCEP มากกว่าพันล้านรายการทั่วประเทศในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงการชำระค่าบริการของรัฐ ค่าสาธารณูปโภค และระบบขนส่งสาธารณะ

ยังไม่มีการประกาศวันที่อย่างเป็นทางการสำหรับการเปิดตัวเงินหยวนดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าแบรนด์ระดับโลกเช่น McDonalds และ Starbucks ได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการทดลองเพิ่มเติม แผนการนำร่องอื่นๆ มีแผนจะเกิดขึ้นในช่วงโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022

Source

]]>
1309936
Alibaba รุกหนัก “ค้าปลีกออฟไลน์” ทุ่มเเสนล้าน ถือหุ้นใหญ่ Sun Art เบอร์หนึ่งไฮเปอร์มาร์เก็ตจีน https://positioningmag.com/1302406 Tue, 20 Oct 2020 09:35:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302406 Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ รุกคืบค้าปลีกออฟไลน์ทุ่มเงินกว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.12 แสนล้านบาท) ผงาดขึ้นถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art เจ้าของไฮเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดในจีน

ตลาดค้าปลีกเเดนมังกรกำลังเฟื่องฟูในปัจจุบัน เเม้จะเจอวิกฤต COVID-19 เเต่ก็กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดย IMF คาดว่าจีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ 

ก่อนหน้านี้ Alibaba ถือหุ้นใน Sun Art อยู่ราว 36% เเต่ตอนนี้ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดที่ 72% ตามกลยุทธ์ผสมออนไลน์ออฟไลน์เพื่อรับกระเเสผู้บริโภคเปลี่ยนไป

Daniel Zhang ประธานและซีอีโอของ Alibaba ระบุในเเถลงการณ์ว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เเละการดำเนินธุรกิจก็ต้องปรับตัวด้วย โดยมองว่าการร่วมมือกันของฝ่ายออนไลน์อย่าง Alibaba เเละไฮเปอร์มาร์เก็ตออฟไลน์อย่าง Sun Art จะตอบโจทย์ค้าปลีกในยุค New Normal ของลูกค้าได้อย่างดี

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba

โดยในช่วงที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มหันมาซื้อกลุ่มอาหารสด ของใช้ในซูเปอร์มาร์เก็ต และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผ่านทางช่องทางอีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเดินทางไปช้อปปิ้งตามร้านค้าปลีก จึงเป็นโอกาสของ Alibaba ที่จะดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ

บริษัทวางเเผนจะพัฒนา SunArt จากไฮเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิม สู่ร้านค้าปลีกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พร้อมขายหมวดสินค้าอีคอมเมิร์ซให้กว้างขึ้น จะเริ่มจากการเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ของชำภายใน 30-60 นาทีหลังจากได้รับคำสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์ม Tmall ของ Alibaba 

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg มองว่า การเข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art ของ Alibaba ครั้งนี้เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับคู่เเข่งในวงการอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังฟาดฟันกันอย่างดุเดือด ทั้ง JD.com หรือ Meituan ที่มีจุดเด่นด้านการจัดส่งเดลิเวอรี่ รวมไปถึงคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Tencent ที่หันมาลงศึกจัดส่งสินค้าสดเช่นกัน

 

ที่มา : AFP , Bloomberg

]]>
1302406
Tencent เปิดตัว Minishop ให้ร้านค้าเปิดหน้าร้านออนไลน์ฟรีบน Wechat ท้าชน Alibaba เเละ JD https://positioningmag.com/1288200 Thu, 16 Jul 2020 09:53:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288200 Tencent ยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน เปิดตัว Minishop ช่วยร้านค้าเปิดหน้าร้านออนไลน์บนเเอป Wechat ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ท้าชนเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba และ JD

ความเคลื่อนไหวของ Tencent ครั้งนี้เป็นไปเพื่อดึงลูกค้าเเละผู้ขายในตลาดอีคอมเมิร์ซจีนให้เข้ามาร่วมในเเพลตฟอร์ม WeChat มากขึ้น

โดย WeChat เป็นแอปพลิเคชันเเชทยอดนิยม ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคน นับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ WeChat ยังถูกขนานนามว่าเป็น “Super-App” ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลาย ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้คน เช่น ผู้ใช้สามารถซื้อเที่ยวบินและทำการชำระเงินต่างๆ ได้ด้วยแอปฯ เดียว

ก่อนหน้านี้ Tencent มีบริการอีคอมเมิร์ซบน WeChat ที่มีชื่อว่า mini-program” มาสักระยะหนึ่งเเล้ว เเต่ WeChat Minishop จะเป็นการให้ร้านค้ามาเปิดหน้าร้านโดยใช้เครื่องมือของ Tencent เเบบไม่ต้องพึ่งพานักพัฒนาซอฟต์แวร์ เเละไม่ต้องลงทุนสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง อีกทั้งยังไม่เป็นระบบรวมศูนย์แบบ JD.com หรือ Taobao ของ Alibaba

Tencent หวังว่าจะสามารถดึงดูดธุรกิจขนาดเล็กให้ออกห่างจากแพลตฟอร์มคู่เเข่งเหล่านี้ได้ ด้วยการไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม สำหรับการเปิดร้านค้าออนไลน์บน WeChat Minishop ขณะที่เเพลตฟอร์มของ Alibaba ยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ขายอยู่

ข้อได้เปรียบของ WeChat คือการมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่เเละมีการใช้งานทุกวัน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะนำมาพัฒนาด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังมีบริการ WeChat Pay เพื่อชำระค่าสินค้าบนเว็บไซต์อื่นๆ เเละฟังก์ชัน “Moments” ให้ผู้ใช้สามารถโพสต์รูปภาพ วิดีโอและลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจได้

อย่างไรก็ตาม Tencent ยังต้องเผชิญความท้าทายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทั้งคู่เเข่งที่มีความเเข็งเเกร่งเเละติดตลาดเเล้วอย่าง Alibaba และ JD อีกทั้งยังต้องสร้างความเชื่อมั่นกับทางการจีนว่าสินค้าปลอมต่างๆ จะไม่ได้วางขายอยู่มากมายบนเเพลตฟอร์มนี้

 

ที่มา :  CNBC

]]> 1288200 รู้จัก Magellan Project ของ “เถาเป่า” หาสินค้า SME ไทย ใช้เน็ตไอดอล ลุยขายตลาดจีน https://positioningmag.com/1259803 Wed, 08 Jan 2020 12:34:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259803 ยุคที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต คือโอกาสทองของผู้ประกอบการรายเล็กที่จะผลักดันธุรกิจสู่ตลาดโลก เเละเเน่นนอนว่า “ตลาดจีน” คือเบอร์หนึ่งที่ใครๆ ก็อยากเจาะเข้าไปให้ได้ ด้วยกำลังซื้อมหาศาลเเละประชากรกว่า 1.4 พันล้านคน 

จากข้อมูลของ eMarketer บริษัทวิจัยด้านการตลาดพบว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีการเติบโตกว่า 20.7 % ซึ่งสัดส่วนการซื้อขายของออนไลน์มีอยู่ 14.1% ของยอดการค้าปลีกทั่วโลก เเละเฟื่องฟูอย่างมากในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก ลาตินอเมริกา เเละเเอฟริกา 

โดยเฉพาะ “ประเทศจีน” มีมูลค่ากว่า 1.93 ล้านเหรียญ คิดเป็นกว่า 54.7% ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลก นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลกออนไลน์…ที่ไม่มีใครมองข้าม 

หลายคนรู้จัก “เถาเป่า” หรือ “Taobao” ในฐานะที่เป็น E- Market place หัวหอกของ “อาลีบาบา” ที่ตอนนี้ขึ้นเเท่นเป็นเเพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์บนมือถือรายใหญ่ที่สุดของจีน (วัดจากยอดขายช่วง 12 เดือนจนถึง 31 มีนาคม 2019) 

โดยมียอดซื้อขายออนไลน์ (GMV) เกิน 1 เเสนล้านหยวน มีเเบรนด์เข้าร่วมกว่า 1.2 เเสนเเบรนด์ จำนวนผู้ใช้มากกว่า 100 ล้านคน โดยวางเป้าเพิ่มเป็น 120 ล้านคนในประเทศจีน ภายในปีนี้ 

Photo : Taobao.com

“เถาเป่า โกลบอล” ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 เป็นเเพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ขายออนไลน์ต่างชาตินำสินค้าเข้ามาขายให้ชาวจีน เเละถือช่องทางการขายสินค้าระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นเฉพาะสินค้า C2C รายเเรกของจีนด้วย 

ล่าสุดวันนี้เถาเป่าได้ประกาศโครงการใหม่เเห่งปี 2020 ที่มีชื่อว่า “Magellan Project” (เเมคเจลเเลน โปรเจกต์) เปิดตัวในไทยเป็นประเทศเเรก เราจะมารู้จักกันว่าเถาเป่ามีกลยุทธ์อย่างไรเเละ SME ไทยต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง 

Magellan Project คืออะไร

“เหยา เหว่ย” ผู้อำนวยการเถาเป่า โกลบอล บอกว่า โปรเจกต์นี้ตั้งชื่อตาม Ferdinand Magellan นักสำรวจชาวโปรตุเกสซึ่งเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนเเรกในประวัติศาสตร์ เหมือนเป้าหมายของเถาเป่าที่จะเติบโตไปทั่วโลก เพื่อเฟ้นหาเเบรนด์นอกประเทศจีนที่ “จิ๋วเเต่เเจ๋ว” เป็นผลิตภัณฑ์จากเเบรนด์เเปลกใหม่จากผู้ผลิตรายย่อยโดยตรง ช่วยให้ SME ที่มีศักยภาพได้มีโอกาสเติบโตในตลาดอีคอมเมิร์ซจีน 

“เป็นได้ทุกสิ่งทุกอย่าง” นี่คือเป้าหมายของเถาเป่า โกลบอลในปี 2020

เหยา เหว่ย ผู้อำนวยการเถาเป่า โกลบอล

ทำไมเลือกเปิดตัวที่ไทยเป็นประเทศเเรก 

“เราตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนเเบรนด์สินค้าไทยบนเเพลตฟอร์มเถาเป่าให้ได้อย่างน้อย 25% ภายในสิ้นปีนี้ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มสินค้า SME เช่น หมอนเเละที่นอนยางพารา ผลไม้อบเเห้ง เเละเครื่องสำอาง” ผู้บริหารเถาเป่ากล่าว 

“ผู้ซื้อของเถาเป่า ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เกิดตั้งเเต่ปี 1995 ขึ้นไป มีความเป็นตัวของตัวเองสูงเเละชื่นชอบเเบรนด์ใหม่ที่ไม่ซ้ำใคร” 

เขากล่าวถึงเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบันว่า ที่ผ่านมาคนรุ่นใหม่ในจีนต่างมองหาผลิตภัณฑ์ที่น่าใช้เเละมีคุณภาพเพิ่มขึ้น เเละสินค้าไทยตอบโจทย์นี้ได้ดี เเต่ยังมีเเบรนด์ไทยที่น่าสนใจเเต่กลับไม่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศมากนัก ซึ่ง Magellan Project จะเข้ามาช่วยโปรโมทในจุดนี้ โดยวางเป้าสินค้าไทยไว้ 100 เเบรนด์ในระยะเเรก

สำหรับกลุ่มสินค้าไทยที่มีวางจำหน่ายมากที่สุดบนเถาเป่า ได้เเก่ 1) เครื่องนอน 2) ความงาม เเละ 3) อาหาร จากบายเออร์กว่า 400 คนในประเทศไทย 

“ความสัมพันธ์ของไทยเเละจีนเป็นมิตรต่อกันมานาน คนทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันเเละสิ่งสำคัญคือการท่องเที่ยวไทยถือเป็นระดับท็อปของโลก เเละเป็นที่ชื่นชอบของชาวจีนอย่างมาก จึงเป็นโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของไทยจะเขาถึงตลาดออนไลน์จีนมากขึ้น เเละต้องการสร้างความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศต่างๆ เพื่อเฟ้นหาผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการรายย่อยที่โดดเด่น ให้สามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้อย่างเเพร่หลาย”

ขณะที่เป้าหมายอื่นๆ ที่เถาเป่าวางเเผนจะเข้าไปทำตลาด นอกเหนือจากไทย ได้เเก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ยุโรป เเละอเมริกาเหนือ

เหล่าบายเออร์ของเถาเป่าจากประเทศไทย ซึ่งเป็นเน็ตไอดอลที่มีชื่อเสียง

ขยายบายเออร์ บูม Live Streaming โปรโมตผ่านเน็ตไอดอลจีน 

ผู้บริหารเถาเป่า อธิบายถึง กลยุทธ์ของ Magellan Project ว่าจะช่วยสร้างธุรกิจในจีนให้กับ SME ทั่วโลกผ่านบายเออร์เเละกลุ่มผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ที่เข้าถึงผู้ติดตามชาวจีน เเละช่วยโปรโมตสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเเละ Live Streaming นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้ามาเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ตลาดดิจิทัลด้วย 

สำหรับกลุ่มบายเออร์ (ผู้นำเข้า) ของเถาเป่าที่มีอยู่กว่า 10,000 คนนั้นจะเน้นไปที่กลุ่มคนดังในโลกออนไลน์ เป็นคนชอบเที่ยวต่างประเทศเเละมีไลฟ์สไตล์ที่น่าติดตาม ซึ่งจะคอยสรรหาสินค้านอกประเทศไปขายบนเถาเป่า เเละเเนะนำสินค้าให้ผู้ติดตามในจีน 

“สมัยก่อนเรามักทุ่มงบโปรโมตไปกับโฆษณาทางทีวี เเต่ปัจจุบันคือการใช้ Live Straming โดยเหล่าคนดัง เน็ตไอดอล เเละอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) เเสดงให้เห็นอิทธิพลต่อการเลือกซื้อของจากคนดังในโลกออนไลน์” ผู้บริหารเถาเป่ากล่าว 

ยกตัวอย่าง Mr.TC ผู้เคยทำงานกับเเบรนด์ดังอย่าง Hermès เเละตัดสินใจลาออกเพื่อเดินทางท่องเที่ยว จากนั้นเริ่มเป็นเเฟชั่นบายเออร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก โดยหลายปีที่ผ่านมาเขาทุ่มเทกับการนำเเบรนด์เเฟชั่นไทยที่เเปลกใหม่เข้าไปตีตลาดจีน

ขณะที่บายเออร์ที่น่าสนใจอีกรายคือ Ali Global Buyer หลังเรียนจบเธอได้ท่องเที่ยวไปทั่วโลก ก่อนจะมาเป็นบายเออร์มืออาชีพ โดยเธอมีความสนใจในหมอนยางพาราในไทยอย่างมาก รวมไปถึงชุดชั้นในสตรีของไทยที่ราคาไม่สูงเเละใส่สบาย ซึ่งสินค้าทุกอย่างต้องผ่านการทดสอบจากทีมงานของเธอก่อนจึงนำเสนอขายให้ลูกค้าชาวจีนต่อไป หัวใจหลักของเธอที่จะก้าวขึ้นสู่บายเออร์ระดับท็อปของไทยคือ “สินค้าใช้ได้ดี ราคาไม่เเพง” เพื่อเป็นทางเลือกผู้บริโภค

โดยเถาเป่าได้ร่วมมือกับสมาคม Thailand Zonet Buyers Development Alliance ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกบายเออร์ในไทยมากกว่า 100 คน ซึ่งนำเสนอแบรนด์ไทยที่น่าสนใจไปยังลูกค้าของเถาเป่าในจีนให้มากขึ้น รวมทั้งช่วยผลักดันการส่งออกของไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น แคมเปญการตลาด การอบรมบายเออร์ และการจับคู่บายเออร์กับแบรนด์ เป็นต้น

ด้าน สมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเเบบก้าวกระโดด จึงเป็นโอกาสดีที่ SME ไทยจะเปลี่ยนจากเเบบดั้งเดิมมาค้าขายออนไลน์เเบบไร้พรมเเดน ซึ่งรู้สึกยินดีที่อาลีบาบาซึ่งจะมาช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจไทยสามารถเติบโตในยุคดิจิทัล 

“การที่เถาเป่า โกลบอลได้เลือกไทยเป็นตลาดสำคัญในการเปิดตัวโครงการนี้จะช่วยทำให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน Magellan Project จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันความนิยมของสินค้าไทยในตลาดซื้อขายออนไลน์จีนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

สินค้าเเบบไหนที่ “เถาเป่า” อยากได้

  • ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในจีน หาซื้อยาก มีโอกาสจะประสบความสำเร็จสูง
  • หมวดหมู่สินค้าที่กำลังเติบโต เช่น เครื่องสำอาง กระเป๋า เคสมือถือเเละเครื่องประดับ
  • สินค้าที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น 
  • เป็นที่รู้จักในสื่อ คนดังหรือสถาบันที่มีชื่อเสียง 
  • เป็นคลัสเตอร์ที่เป็นที่รู้จัก มีอัตราการซื้อสูงในจีน 
  • มีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในตลาดออนไลน์ 

 

]]>
1259803
เลือดรักชาติแรง! ชาวจีน 78% ตั้งใจ “งดซื้อ” สินค้าแบรนด์อเมริกันในมหกรรม 11.11 https://positioningmag.com/1252431 Tue, 05 Nov 2019 08:57:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1252431 สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ดำเนินมาอย่างดุเดือดกว่า 2 ปี ปลุกเลือดรักชาติของคนจีนในระยะหลัง โดยเฉพาะการใช้อาวุธสำคัญอย่าง ‘กำลังซื้อ’ เป็นการตอบโต้ ไม่เว้นแม้แต่มหกรรมลดราคาสินค้า 11.11 ที่กำลังจะมาถึง ชาวจีนถึง 78% ตั้งใจหันหลังให้แบรนด์อเมริกันเพื่อแสดงออกถึงชาตินิยม

จากการสำรวจผู้ใหญ่ชาวจีนจำนวน 2,000 คนโดย AlixPartners ระหว่างวันที่ 2-7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้สำรวจพบว่าคนจีน 78% หรือสัดส่วน 3 ใน 4 ตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าแบรนด์อเมริกันในเทศกาลลดราคาสินค้าวันคนโสด 11.11 ที่จะถึงนี้ โดยครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มนี้กล่าวว่า เหตุผลหลักของพวกเขาคือ “ชาตินิยม”

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนนี้ถือเป็นภาพสะท้อนของสงครามการค้าที่ดำเนินมากว่า 2 ปี โดยมีการเพิ่มกำแพงภาษีเพื่อตอบโต้กันและกันมาโดยตลอด ซึ่งส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกภายในประเทศของทั้งสองฝ่าย

“ผู้บริโภคชาวจีนเลือกสินค้าแบรนด์จีนมากกว่าอยู่แล้ว และกระแสชาตินิยมที่กำลังพุ่งขึ้นในระยะหลังยิ่งส่งให้พฤติกรรมนี้มีมากขึ้นไปด้วย” Jason Ong ผู้อำนวยการ AlixPartners กล่าว “แบรนด์ท้องถิ่นเติบโตขึ้นในประเทศจีน ไม่มีอีกแล้วสำหรับภาพสินค้าจีนที่มีงานดีไซน์และคุณภาพต่ำ หรือการตลาดที่อ่อนแอ”

เทศกาลวันคนโสด 11.11 ซึ่งจัดขึ้นโดย อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง เป็นเทศกาลลดราคาสินค้า 24 ชั่วโมงบน 3 แพลตฟอร์มหลักของเครือได้แก่ Taobao, Tmall และ AliExpress ด้วยมูลค่าการขายรวม 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในวันเดียว (ข้อมูลปี 2018) นับเป็นเทศกาลลดราคาสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชนะทั้งวัน Prime Day ของ Amazon ซึ่งมียอดขายรวม 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ Black Friday ที่มียอดขาย 6.2 พันล้านเหรียญ หรือ Cyber Monday ที่ทำยอดขายรวม 7.9 พันล้านเหรียญ

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคชาวจีนยืนหยัดงดซื้อสินค้าอเมริกันตามที่ตั้งใจจริง กลุ่มสินค้าที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเสื้อผ้าเครื่องประดับ เช่น Nike, Ralph Lauren, Tiffany Co., บริษัท Tapestry Inc. เจ้าของแบรนด์ Coach และ Kate Spade, บริษัท Capri Holdings เจ้าของแบรนด์ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors

อย่างไรก็ตาม แบรนด์อื่นที่ไม่ได้อยู่ใต้ร่มบริษัทอเมริกันก็ยังอุ่นใจได้ เพราะผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าพวกเขายังจะเลือกซื้อสินค้าของต่างประเทศอื่นๆ อยู่ เช่น แบรนด์จากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป แต่จะต้องเป็นแบรนด์ที่พวกเขามองว่ามีดีไซน์และคุณภาพที่ดีกว่าของจีน

ที่มา: scmp, Forbes

 

]]>
1252431
ราคา 2 พันล้านดอลล์!! ผ่าดีล Alibaba ฮุบ Kaola แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ NetEase https://positioningmag.com/1245615 Sat, 07 Sep 2019 08:06:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245615 ยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตจากจีน 2 ราย “อาลีบาบา” (Alibaba) และ “เน็ตอีส” (NetEase) ตกลงซื้อขายกิจการอีคอมเมิร์ซ “คาโอลา” (Kaola) ของ NetEase ให้อยู่ใต้ชายคา Alibaba ผ่านดีลมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากซื้อขายกิจการ Alibaba ประกาศจะลงทุน 700 ล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจสตรีมเพลงของ NetEase ชื่อคลาวด์มิวสิก (NetEase Cloud Music) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนรอบล่าสุดด้วย

ขณะที่ดีลนี้ยังมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่เปิดเผย แต่เป็นที่แน่ชัดว่า Alibaba จะเข้ามาจัดการธุรกิจ Kaola แทนต้นสังกัดเดิม โดยมี Alv Liu Liu ผู้จัดการทั่วไปของ Tmall Import and Export มาทำหน้าที่เป็น CEO

วิลเลียม ติง ซีอีโอของ NetEase กล่าวในแถลงการณ์ว่าบริษัทมีความยินดีที่ได้พบกลยุทธ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับ Kaola ภายในระบบนิเวศที่ยิ่งใหญ่ของ Alibaba โดยที่ Kaola จะยังคงให้บริการและสินค้านำเข้าคุณภาพสูงแก่ผู้บริโภคชาวจีน

ดีลนี้ทำให้ NetEase สามารถเน้นกลยุทธ์การเติบโต และมีสภาพคล่องในการลงทุนเพื่อช่วยให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น จุดนี้ทำให้นักวิเคราะห์ไม่แปลกใจ เพราะดีลนี้เคยมีการร่ำลือมาก่อนช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รายงานระบุว่าทั้ง 2 บริษัทกำลังเจรจาซื้อขายกิจการ แต่บางช่วงการเจรจากลับล้มเหลวเนื่องจากไม่สามารถทำความตกลงในรายละเอียดบางอย่าง รวมถึงราคาในดีลด้วย

ความน่าสนใจของดีลนี้ คือ Alibaba กำลังซื้อบริษัทอื่นเพียงแห่งเดียวที่เอาชนะ “ทีมอลล์ โกลบอล” (Tmall Global) ได้ โดยการสำรวจของบริษัทวิจัย iiMediaResearch พบว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2019 แบรนด์ Kaola เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดในประเทศจีนมากกว่า 27.5% ชนะ Tmall ของ Alibaba ที่มีส่วนแบ่งประมาณ 25% เท่านั้น

เคล็ดลับของ Kaola คือ การสร้างจุดต่างด้วยการมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ต่างประเทศคุณภาพสูงในแต่ละประเภทกลุ่มสินค้า เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ แอสเซสซอรี่ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเพื่อสุขภาพ ดาวรุ่งอย่าง Kaola ยังเดินหน้าร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับแบรนด์และซัปพลายเออร์กว่า 1,000 รายจากกว่า 80 ประเทศ ทำให้ Kaola ได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มคนทำงานชาวจีน อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี

Kaola เติบโตก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ Alibaba ยอมรับในแถลงการณ์ว่ามีความมั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของตลาดอีคอมเมิร์ซนำเข้าของจีน ซึ่ง Alibaba เชื่อว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี

แดเนียล จาง ซีอีโอของ Alibaba มั่นใจว่าด้วยการควบรวมกับ Kaola ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba จะยกระดับบริการนำเข้าและประสบการณ์สำหรับผู้บริโภคชาวจีนผ่านการทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศของบริษัท ซึ่งจะทำให้ Alibaba เป็นปึกแผ่นมากกว่านี้ได้อีกทาง.

Source

]]>
1245615