เชนร้านอาหาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Oct 2021 12:56:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Sizzler ลดราคาเมนู Plant-based ดึงลูกค้ามาลองชิม ปรับรสชาติให้เป็น ‘สไตล์ไทย’ มากขึ้น https://positioningmag.com/1356091 Mon, 11 Oct 2021 09:38:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356091 เผชิญกับความท้าทายไม่มีหยุดกับ ‘Sizzler’ ร้านอาหารที่มีจุดเด่นเรื่องบรรยากาศไดน์อิน ที่ต้องเจอมรสุมการล็อกดาวน์ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า

การผ่อนคลายมาตรการครั้งนี้ เป็นโอกาสทองที่ต้องรีบคว้า ทั้งอัดเเคมเปญโปรโมชั่น พร้อมทั้งหา เเนวทางใหม่ๆ เมนูใหม่ๆ ดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาเข้าร้านในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ชดเชยรายได้ที่หายไป

หนึ่งในนั้นก็คือ การลุยตลาด ‘Plant-based’ เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช อย่างเต็มที่ ตามเทรนด์กระเเสนิยมมาเเรงทั่วโลก ซึ่งหลังจากที่ Sizzler ชิมลางวางขายมาตั้งเเต่ปลายปี 2562 ก็มีเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคคนไทย เเละก็ถึงเวลาต่อยอด ขยายไปให้มากขึ้นกว่าเดิม

Sizzler ปล่อยเมนู Plant-based ออกมาใหม่ทุกๆ 6 เดือน เฉลี่ยซีซั่นละ 3 เมนู (รวมๆ ที่ผ่านมามีประมาณ 12 เมนู) เเละล่าสุดตอนนี้ก็มีการเปิดตัว 2 เมนู Plant-Based มาลงเมนูประจำรับไดน์อินและเดลิเวอรี่

เเต่จุดเด่นครั้งนี้เเตกต่างไปจากเดิม นั่นคือการได้เรียนรู้ถึงวิธีปรุงรสชาติ Plant-based ให้ถูกปากคนไทย จึงมีการปรับเมนูเป็นสไตล์ไทยมากขึ้น พร้อมปรับลดราคาลงมา ซึ่งยังไม่ค่อยมีเชนร้านเฮลท์ตี้เฮาส์ในไทยทำ
เเนวนี้กันมากนัก

เทรนด์อาหารเเห่งอนาคต ที่โตไม่หยุด

เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคทั่วไปมากขึ้น ยิ่งเกิดโควิด-19 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งทำให้พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซึ่ง Plant-based Food ก็ได้รับอานิสงส์นี้ไปเต็มๆ

การเติบโตของตลาดอาหาร Plant-based ทั่วโลกเมื่อปี 2563 มีมูลค่าราว 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่าราว 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ส่วนตลาดในประเทศไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของผู้บริโภคอาหาร Plant-based เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

จากข้อมูลของ Krungthai COMPASS พบว่า ในปี 2562 มีมูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นถึง 4.5 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% เลยทีเดียว

กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ในเครือ บมจ. เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ผู้บริหาร ซิซซ์เล่อร์ เล่าว่า ตลาด Plant-based เติบโตขึ้นมาก ทั้งในส่วนฐานผู้บริโภคเเละบรรดาเหล่าผู้ผลิต โดยที่ผ่านมา มักมีผู้ผลิตมาเสนอเป็นพาร์ทเนอร์กับ Sizzler เพียง 2-3 ราย เเต่ตอนนี้มีมากกว่า 10 ราย

ปัจจุบันเเบรนด์ Sizzler เลือกจับมือกับ บียอนด์ มีทและกรีนมันเดย์ ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดโลก เเต่ก็คอยมองหาซัพพลายเออร์รายอื่นๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะในไทย

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เเบรนด์ Sizzler ต้องการจะขยายเจาะตลาดเมนู Plant-based ได้เเก่

  • กลุ่มคนที่ทานวีแกน เเละ Plant-Based อยู่เเล้ว ถ้ามาทานที่ร้านก็สามารถสั่งเมนูสเต๊กได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องไปทานเเต่สลัดบาร์อีกต่อไป
  • กลุ่มคนที่ทานเมนูปกติทั่วไป ที่อยากลองทานเมนู Plant-based หรือคนที่อยากดูเเลสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องการทานวีเเกนประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

Sizzler ตั้งเป้าว่าในปี 2565 เมนู Sizzler จะสามารถสร้างรายได้เติบโตราว 30%” 

เมนูไทยๆ เเถมปรับราคาลง 

ตามที่เกริ่นไปข้างต้นว่า Sizzler ได้ปรับเมนู Plant-based ให้เป็นถูกปากคนไทยมากขึ้น เห็นได้ชัดผ่านเมนูใหม่ที่เปิดตัวใน 30 สาขา ได้เเก่

ออมนิมีท ลาบทอด เสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียว เมนูลาบทอดจากโปรตีนพืชในสไตล์ไทย ๆ กับรสชาติเเซ่บๆ แบบฉบับอีสานแท้ ในราคา 299 บาท เเละยังเสิร์ฟเป็นเมนูทานเล่นที่ลูกค้าสามารถสั่งแยกมารับประทานระหว่างรออาหารจานหลักได้ในราคา 99 บาท รวมถึงสั่งเดลิเวอรี่ไปลิ้มลองได้ถึงที่อีกด้วย

สเต๊ก บียอร์น กัวคาโมเล่ และซัลซา เป็นสเต๊กเนื้อที่ไร้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม สไตล์เม็กซิกัน ราดด้วยกัวคาโมเล่ที่ทำจากอะโวคาโดบด และซัลซา รวมถึงเผือกทอดด้านบนสุด ในราคา 399 บาท ซึ่งรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว หวาน ลงตัวน่าจะถูกใจคนไทยเช่นเดียวกัน

เเละเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาลองเมนู Plant-based กันมากขึ้น Sizzler ใช้กลยุทธ์ “ปรับลดราคาของเมนู Plant-based” ลงมาเรื่อยๆ เช่น ในช่วงเริ่มต้นประเดิมราคาที่ 439-479 บาท ในปีที่เเล้วปรับลงมาเป็น 329-399 บาท เเละล่าสุดตอนนี้คือมีราคาเฉลี่ยเริ่มต้นตั้งแต่ 99 – 399 บาท นับเป็นการปูทางสร้างความคุ้นเคยในระยะยาว มีเมนูหลากหลายสไตล์ตลอดทั้งปี ขยายฐานลูกค้าเป็นร้อยเป็นพันคนให้ได้

นอกจาก ลดราคาเเล้ว ในบางโอกาสก็จะมีการนำเนื้อ Plant-based ไปลองใส่ในเมนูสลัดบาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ลองชิมอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

-สเต๊ก บียอร์น กัวคาโมเล่ และซัลซา

Sizzler สาขาใหม่…สายเล็ก

วิกฤตโควิด-19 ทำให้ร้านอาหารได้เรียนรู้ถึงการปรับตัวเร็วเเละการขายโดยเน้นหน้าร้านเพียงอย่างเดียวคือความเสี่ยง

ปัจจุบัน Sizzler มีฐานลูกค้าทั้งหมดอยู่ราว 8-9 ล้านคน มีร้านทั้งหมด 54 สาขาทั่วประเทศไทย กลับมาเปิดให้บริการเเล้วเกือบทั้งหมด (ยังปิดชั่วคราวอยู่ 1 สาขา) โดยภายในสิ้นปีนี้ หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น ทางเเบรนด์ยังมีเเผนจะขยายสาขาใหม่ตามเดิม อีก 5 สาขา เเบ่งเป็น 3 สาขาใหม่ เเละอีก 2 สาขาเป็นการย้ายสถานที่เเต่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเดิม 

ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ ต่อจากนี้ร้านใหม่ของ Sizzler จะมีขนาด ‘เล็กลง’ จากเดิมที่สาขาใหญ่ๆ เคยกว้างขวางถึง 600 ตร.ม. ลดลงเหลือราว 300-280 ตร.ม. ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สั่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้น เเละอีกด้านหนึ่งก็คือการที่ห้างสรรพสินค้าต้องการจัดสรรพื้นที่ให้หลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้า ที่ตั้งของร้านต่างๆ จึงมีขนาดเล็กลง เเต่ภายในห้างฯ จะมีเเบรนด์ให้เลือกมากขึ้น

สานต่อโมเดล to go พร้อมขยายเดลิเวอรี่ 

ด้านโมเดล Sizzler to go เจาะกลุ่มคนเดินทาง ที่ต้องสะดุดเพราะวิกฤตโควิดหลายรอบ หลังคลายล็อกดาวน์รอบนี้ก็ดูเหมือนจะมีความหวังอีกครั้ง เเต่ยังไม่มีเเผนจะขยายสาขาเพิ่มในปีนี้ ปีหน้าเมื่อการเดินทางกลับมา ก็มองว่าเป็นโอกาสที่ดี (ตอนนี้มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ) เพราะเป็นการขยายตลาดเข้าหาผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย รวดเร็วเเละต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ เเถมยังมีขนาดเล็กลง ตามเเนวทางของเเบรนด์

ร้าน Sizzler To Go สาขาล่าสุดที่เปิดในโรงพยาบาลกรุงเทพ ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลที่แบรนด์ตั้งใจจะขยายไปในพื้นที่ใหม่ ซึ่งจะมีการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในลักษณะนี้อีกต่อไป

ส่วนฝั่งของ ‘เดลิเวอรี่’ นั้น ผู้บริหาร Sizzler บอกว่า มีการเติบโตถึง 3 เท่าจากช่วงก่อนโควิด ซึ่งตอนนี้สัดส่วนการขายออนไลน์สูงถึง 15-20% เเล้ว ถือว่ามากเเละเร็วกว่าที่คิดไว้ถึง 2-3 ปี โดยมียอดสั่งซื้อเฉลี่ยราว 500 บาทต่อบิล

“ยอมรับว่าปีนี้หนักกว่าปีที่เเล้วมาก เพราะโดนล็อกดาวน์นานกว่า เเต่พอเปิดให้นั่งทานที่ร้านได้ ลูกค้ากลับมาเร็วกว่าเพราะหลายคนอัดอั้น อยากออกมาใช้ชีวิตปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี โดยทิศทางธุรกิจปีหน้าคงจะดีขึ้นตามลำดับ หลังมีการกระจายวัคซีนเเละเริ่มเปิดเมืองอีกครั้ง”

โดย Sizzler จะมี ‘บิ๊กโปรเจ็กต์’ ที่สร้างเซอร์ไพรส์ครั้งใหญ่ ที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกหน้าหน้าใหม่ในมุมที่เเตกต่าง โดยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะเปิตตัวได้เร็วที่สุดในช่วงกลางปีหน้า เเต่จะเป็นอะไรนั้น ทางผู้บริหารบอกว่าขออุ๊บไว้ก่อน…ต้องติดตามกันต่อไป 

 

]]>
1356091
Wendy’s เชนเบอร์เกอร์ยักษ์ใหญ่ หวนชิงตลาด ‘อังกฤษ’ ในรอบ 20 ปี รับเทรนด์ Takeaway บูม https://positioningmag.com/1331299 Mon, 10 May 2021 08:30:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331299 ‘Wendy’s’ เชนเบอร์เกอร์ยักษ์ใหญ่เบอร์ 2 จากสหรัฐฯ ตัดสินใจคืนสังเวียนสู้ในตลาดอังกฤษอีกครั้งในรอบ 20 ปี พร้อมชิงส่วนเเบ่งจากคู่เเข่งอย่าง McDonald’s และ Burger King หลังอานิสงส์เทรนด์ซื้อกลับบ้านเเบบ ’Takeaway’ บูมขึ้นช่วงโควิด-19 ตั้งเป้าขยายสาขาทั่วโลกให้ได้ 8,000 เเห่งภายในปี 2025

โดย Wendy’s วางเเผนจะเปิดสาขากว่า 400 เเห่งทั่วสหราชอาณาจักร และตั้งเป้าว่าจะสร้างงานให้ได้อย่างน้อย 12,000 ตำแหน่ง แม้ว่าต้องใช้เวลาหลายปีก็ตาม

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2001 Wendy’s ประกาศออกจากตลาดสหราชอาณาจักรไป โดยให้เหตุผลเรื่องต้นทุนที่ทำให้บริษัทเติบโตได้ไม่เต็มที่ เเต่การกลับมาครั้งนี้ก็ต้องเจอกับงานหิน เมื่อเเบรนด์ McDonald’s ขยายตลาดไปในสหราชอาณาจักรไปกว่า 1,300 แล้ว

Abigail Pringle ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Wendy’s ให้สัมภาษณ์ว่า ตลาดเบอร์เกอร์และเทรนด์การซื้อกลับบ้านเเบบ ‘Takeaway’ ในสหราชอาณาจักรที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาด นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกลับมาของ Wendy’s

Wendy’s จะวางให้สหราชอาณาจักรเป็นสปริงบอร์ดเพื่อขยายการเติบโตไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปต่อไป โดยเมื่อปีที่เเล้ว เเบรนด์เพิ่งจะเเซงคู่เเข่งอย่าง Burger King ขึ้นเป็นผู้เล่นอันดับ 2 ในตลาดเเฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ

สำหรับสาขาแรกของ Wendy’s ในอังกฤษจะเริ่มเปิดในเมือง Reading ช่วงเดือนหน้า จากนั้นจะขยายไปยังเมือง Stratford เเละ Oxford ซึ่งทางร้านระบุว่า จะมีเมนูใหม่ที่เหมาะกับตลาดอังกฤษเเละถูกใจคนในพื้นที่ รวมถึงเมนูที่เป็นมังสวิรัติด้วย 

จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย Wendy’s มองว่าเเม้จะตลาดในสหราชอาณาจักรจะไม่ขยายตัวเร็วอย่างที่คาดการณ์ไว้ เเต่ก็เชื่อว่าจะสามารถชิงส่วนเเบ่งการตลาดจากคู่แข่งได้ โดยเน้นไปที่คุณภาพและบริการพร้อมส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นและเนื้อสดที่ไม่ได้แช่แข็ง

Wendy’s เป็นเชนเบอร์เกอร์เก่าเเก่ที่ก่อตั้งมาตั้งเเต่ปี 1969 ปัจจุบันมีสาขาราว 6,800 เเห่งทั่วโลก อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.56 แสนล้านบาท)

โดยมีเป้าหมายจะขยายสาขาให้ได้ 8,000 เเห่งภายในปี 2025 เน้นไปที่แคนาดาและสหราชอาณาจักร หลังมองเห็นการเติบโตของธุรกิจในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผู้คนหันมาสั่งอาหารผ่านแอปฯ หรือซื้อเเบบ drive-thru

ทั้งนี้ Wendy’s รายงานผลประกอบการเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่ายอดขายของร้านอาหารในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ยอดขายร้านอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5%

 

ที่มา : BBC , Yahoo Finance 

]]>
1331299
เมื่อ Sizzler หาเหตุให้คนเข้าร้าน ปั้นเทศกาลเจ ยอม “ลดราคา” ดึงคนทาน Plant-based มากขึ้น https://positioningmag.com/1299499 Sat, 03 Oct 2020 06:30:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299499 ร้านอาหารยุคนี้ต้องปรับตัวเร็ว เเม้จะเป็นเเบรนด์มีชื่อติดลมบนเเล้วก็ตาม ยิ่งเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤต COVID-19 มาเเล้ว โจทย์ใหญ่จึงไม่ใช่เเค่การพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เเต่ต้องงัดสารพัดวิธี “หาเหตุให้คนมาเข้าร้านให้ได้

ช่วงปีที่ผ่านมา นับเป็นปีทองแห่งการปรับตัวครั้งใหญ่ของ Sizzler ร้านสเต๊กในเครือไมเนอร์ที่ทำภารกิจขอสลัดภาพจากสเต๊กเฮาส์เป็นเฮลท์ตี้เฮาส์เพื่อจับกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น รวมไปถึงการขยับเข้าหาลูกค้าทุกทำเล อย่างการผุดโมเดลใหม่ Sizzler to go ที่จำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นขนาดเล็กที่สุดที่เคยทำมา ตอบโจทย์พฤติกรรม Grab & Go ของคนเมือง 

เเต่เมื่อเปิด Sizzler to go ได้เพียง 1 เดือนกว่าๆ ก็ต้องเจอมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เเบรนด์ต้องกลับมาคิดกลยุทธ์กันใหม่ โดยช่วงกลางปีจะเน้นไปที่การปรับตาม feedback ของลูกค้าเป็นหลัก ทั้งเรื่องการจัดการสลัดบาร์ตักเอง การดูเเลความสะอาดเเละปลอดภัย

พอมาช่วงปลายปี เราจึงจะเห็นการงัดโปรโมชันต่างๆ การปั้นเเคมเปญดึงให้ลูกค้าเข้าร้าน จับกระเเสเทศกาลเจ เทรนด์เมนู Plant-based เพื่อ “ปั้มรายได้” ส่วนที่ขาดหายไปในปีนี้ 

ปั้นเทศกาลเจ ลุย “อาหารทางเลือก” 

ล่าสุดเเคมเปญ ดึงลูกค้าเข้าร้านของ Sizzler คือการดัน “เทศกาลเจที่ Sizzler : Vegetarian Festival” ซึ่งถือเป็นบิ๊กมูฟใหญ่ในเดือนตุลาคม

ปกติเเล้วทุกๆ ปี ลูกค้าที่มาทานเจที่ร้าน จะงดทานเนื้อสัตว์และหันไปทานผักที่สลัดบาร์กัน มาปีนี้ Sizzler เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วยการเปิดตัว 2 เมนู สเต๊ก Plant-based หรือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 100% ได้แก่ สเต๊ก ออมนิมีต กับสปาเกตตีซอสทรัฟเฟิล ราคา 329 บาท และบียอร์น เบอร์เกอร์ ซอสบาร์บีคิว ราคา 399 บาท เริ่มขายใน 30 สาขาที่ร่วมรายการ ตั้งเเต่ 5 ต.ค. เป็นต้นไป

โดยจากข้อมูลพบว่าคนไทย ทานเนื้อสัตว์น้อยลงกว่า 8% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) เเละความนิยมเมนู Plant-based ก็กำลังเป็นเทรนด์ทั่วโลก นี่จึงเป็นโอกาสของ Sizzler ที่จะขยายไปสู่ตลาดอาหารเจทางเลือกใหม่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่เริ่มทดลองทานเจ ผู้ที่ทานเจ รวมถึงคนทั่วไปที่อยากหันมาดูเเลสุขภาพมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การปั้น “เทศกาลเจที่ Sizzler” ครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เพื่อเติมรายได้ให้กับ Sizzler ด้วยเพราะปกติแล้วในช่วงเทศกาลกินเจ ยอดขายในร้านจะลดลง 10-15% ซึ่งส่วนใหญ่รายได้กว่า 80% มาจากการขายสเต๊ก ดังนั้น Sizzler ตั้งเป้าว่าการมีเมนูเจ Plant-based จะช่วยให้ร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น 20-30%

ยอม “ลดราคา” ดึงคนทาน Plant-based ปูทางระยะยาว 

ในปีที่ผ่านมา Sizzler ปรับกลยุทธ์ใหม่ เดินเกมเรื่อง Health Direction หรือการเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพมากขึ้น เห็นได้จากมีการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ เมนูใหม่ๆ เพื่อสุขภาพมากขึ้น ทั้ง Plant-based และน้ำผลไม้สกัดเย็น ส่วนปีนี้ก็ยังคงสานต่อ เพราะมองว่าเป็นเมนูเเห่งอนาคตจริงๆ

“ต้องยอมรับว่ากระเเส Plant-based มาเเรงมาก หากดูจากผลสำรวจ ดูจากเทรนด์ต่างๆ ทั่วโลก คาดว่าจะกลายเป็นเมนูฮิตในอนาคตข้างหน้า การที่ประเทศไทยยังไม่มีเชนร้านอาหารใหญ่ๆ บุกตลาดนี้อย่างจริงจังเลย ยังจำกัดอยู่ในร้านสเเตนด์อโลนเเละธุรกิจสตาร์ทอัพ นี่จึงถือเป็นโอกาสทองของ Sizzler” กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ผู้ให้บริการร้านอาหารเเบรนด์ Sizzler กล่าวกับ Positioning

Sizzler เริ่มขายเมนู Plant-based มาได้ราว 1 ปีแล้ว โดยปัจจุบันมีจำหน่ายใน 30 สาขา เฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ จากทั้งหมด 54 สาขา

โดยฐานลูกค้านั้น หลังจากที่ทดลองตลาดมาได้สักพัก เพิ่มชื่อเมนู Plant-based จำนวน 2 รายการลงไปในป้ายเมนูให้ลูกค้าได้สั่งซื้อ พบว่า ตลาดไทยมีลูกค้ากลุ่มนี้อยู่จริงๆ แม้ตอนนี้จะไม่ได้มีจำนวนที่เยอะมาก เเต่มีลูกค้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ไม่หายไป มีเเต่เพิ่มขึ้น Sizzler จึงมองว่าเป็นทิศทางที่ควรให้การสนับสนุนต่อไป

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ NRF ระบุว่า ตลาดเนื้อทำจากพืช ปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เเบรนด์ Sizzler ต้องการจะขยายเจาะตลาดเมนู Plant-based ได้เเก่

  • กลุ่มคนที่ทานวีแกนเเละ Plant-Based อยู่เเล้ว ถ้ามาทานที่ร้านก็สามารถสั่งเมนูสเต๊กได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องไปทานเเต่สลัดบาร์อีกต่อไป
  • กลุ่มคนที่ทานเมนูปกติ-ทั่วไป ที่อยากลองทานเมนู Plant-based หรือคนที่อยากดูเเลสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องการทานวีเเกนประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

เเม้เมนู Plant-based จะเป็นโอกาสตลาดใหม่ เเต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก เพราะมี “ราคาสูง” เมื่อเทียบกับเนื้อนำเข้าประมาณ 2.5 เท่า ทำให้ราคาของเมนูที่วางขายไม่สามารถตั้งไว้ในระดับเดียวกันกับเนื้อสัตว์ปกติได้

ดังนั้น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาลองเมนู Plant-based กันมากขึ้น Sizzler จึงตัดสินใจ “ปรับลดราคาของเมนู Plant-based” ลง เช่นจาก 439-479 บาท มาเป็นราว 329-399 บาท เพื่อปูทางสร้างความคุ้นเคยในระยะยาว ค่อยๆ เพิ่มลูกค้าจากหลักสิบ ขยายเป็นร้อยเป็นพันคนให้ได้

นอกจากลดราคาเเล้ว ในบางโอกาสจะมีการนำเนื้อ Plant-based ไปลองใส่ในเมนูสลัดบาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ลองชิมอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

อัปเดต Sizzler to go 

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เมื่อลุยโมเดล Sizzler to go ไปได้ประมาณเดือนกว่า ก็ต้องเจอวิกฤต COVID-19 ซึ่งทำให้ธุรกิจต้องสะดุด หลังคลายล็อกดาวน์เเละผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ เเผนของ Sizzler to go มีการอัปเดตอย่างไรบ้าง

กรีฑากร กล่าวว่า เเม้จะได้รับผลกระทบบ้าง เเต่ Sizzler to go ก็ยังสามารถขยายสาขาได้ 5 เเห่ง ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ปีนี้ เเต่ในปีหน้ายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเปิดอีกกี่สาขา เพราะต้องดูสถานการณ์เป็นหลัก โดยที่ผ่านมาก็ได้รับผลตอบรับดีมาก เข้าถึงเป้าหมายคือ “คนเดินทาง” เเละตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย รวดเร็วเเละต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ ตามที่คาดไว้

ทั้งนี้ ปัจจุบัน Sizzler to go มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ เช่น BTS อโศก , MRT สถานีพระราม 9 , BTS ช่องนนทรี , Office At Central World เเละแฟชั่นไอส์แลนด์ (ทดลองวางหน้าห้างฯ เเทนจุดขนส่ง) มีกิมมิกการจัดร้านให้เห็นเมนูชัดๆ เเละใช้สีสันดึงดูดให้คนเดินไปมาเร็วๆ เห็นเเล้วจำได้

Sizzler to Go ร้านแบบ kiosk ขายอาหาร take away

“ช่วงล็อกดาวน์ถือว่าเป็นโอกาสในวิกฤตก็ว่าได้ เพราะมีร้านค้าต่างๆ ต้องยกเลิกสัญญาเช่าที่ ทำให้เราได้ทำเลใหม่ที่ไม่คิดว่าจะได้เร็วขนาดนี้ เช่นที่ BTS ช่องนนทรี เเต่ก่อนเคยคุยไว้ว่าต้องจองคิวถึง 3 ปี เเต่พอช่วง COVID-19 ก็ว่างให้เข้าไปเช่าได้” 

ผู้บริหาร Sizzler มองว่า โมเดลขยายสาขา “ไซส์เล็ก” เป็นการเดินเกมรุกเข้าหาผู้บริโภคที่ได้ผลดี ใช้งบประมาณน้อยกว่าการขยายสาขาใหญ่ที่มีความเสี่ยงมากกว่า อีกทั้งยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ Grab-and-Go ของผู้คนในปัจจุบันด้วย

ร้านอาหารต้อง “ปรับให้ไว-หาเหตุให้คนเข้าร้าน” 

ปัจจุบันลูกค้าของ Sizzler กลับมากว่า 90% เเล้ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ถึงเเม้จะเป็นเเบรนด์ที่ฮิตในหมู่คนไทย แต่การที่ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” หายไป ก็ส่งผลกระทบอยู่บ้าง ใน 5 สาขา ได้แก่ 3 สาขาในพัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต โดยตอนนี้ Sizzler กลับมาให้บริการทั้งหมด 54 สาขาเเล้ว เริ่มเห็นกำลังซื้อในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวกลับมาเเล้ว

“บทเรียนที่เราได้คือ ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวให้ไว มองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก หาทางหาเหตุให้คนมาร้านเราให้ได้ จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ คิดเมนูเเละโปรโมชันใหม่ จับกระเเสเทรนด์ผู้บริโภคให้ได้ เเละต้องเตรียมความพร้อมรับสิ่งที่ไม่คาดคิด เพราะช่วงนี้เเค่ข่าวสถานการณ์อ่อนไหว ก็ทำให้คนลดการออกมากินข้าวนอกบ้านเเล้ว เช่นมีข่าวที่ระยอง เเต่ก็กระทบร้านในกรุงเทพฯ”

นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด เล่าอีกว่า การปรับให้เร็วของ Sizzler นั้นรวมไปถึงการออก “เมนูโปรโมชัน” ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในกลยุทธ์ดึงลูกค้าเข้าร้าน โดยหลังจากวิกฤต COVID-19 ทางร้านได้มีการปรับความถี่จากเดิมที่จะออกเมนูลดราคา รอบละ 12 สัปดาห์ เหลือเพียง 6-8 สัปดาห์

ด้านการเพิ่มช่องทางเดลิเวอรี่ ซึ่งดูจะเป็นงานหินของ Sizzler เพราะฐานลูกค้าส่วนใหญ่ ชื่นชอบบรรยากาศนั่งกินในร้าน เเต่หลังจากที่จำเป็นต้องขยับมารุกออนไลน์มากขึ้น ตอนนี้ยอดขายทางเดลิเวอรี่ก็กระเตื้องขึ้นมาบ้างเเล้ว ในสัดส่วน 10% มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยราว 400-500 บาทต่อบิล ส่วนการกินในร้านอยู่ที่เฉลี่ย 800 บาทต่อบิล โดยในปีที่ผ่านมา Sizzler มีฐานลูกค้าอยู่ราว 8-9 ล้านคน

“คาดว่าปีหน้าอาจจะมีการเปิดอีก 4-5 สาขา เเต่จะทำได้ตามเเผนหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูสถานการณ์ทั้งหมดก่อน เเละดูการเจรจาพื้นที่ด้วย ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะเปิดช่วงใด โดยมองทิศทางธุรกิจปีหน้าจะดีขึ้นตามลำดับ ช่วงครึ่งปีหลังก็ถือว่าโอเคมากเเล้ว ปีหน้าคงดีกว่านี้”

]]>
1299499
ไมเนอร์ฟู้ด ยกเครื่อง “1112Delivery” กดปุ่มลุย “เดลิเวอรี่” เต็มสูบ อุดช่องว่าง กดเบอร์เดียวได้ 7 แบรนด์ https://positioningmag.com/1218258 Wed, 06 Mar 2019 23:07:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218258 ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว “ไมเนอร์ฟู้ด” บอกว่าตัวเองคือเชนร้านอาหารรายแรกในเมืองไทยที่เสิร์ฟให้ผู้บริโภคถึงหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า “เดลิเวอรี่” จากจุดเริ่มต้นด้วยวิธีโทรสั่งในปี 1989 ขยับสู่การสั่งผ่านหน้าเว็บไซต์ในปี 2007 และในปี 2019 “ไมเนอร์ฟู้ด” ยังอยากเป็น First Move อีกครั้งด้วยการเปิดตัว “1112Delivery”

ทำไม “เดลิเวอรี่” ถึงน่าสนใจ? ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานตลาดบริการสั่งอาหารออนไลน์ (Food Delivery) ทั้งเชนร้านอาหารและร้านอาหารทั่วไปปี 2017 มีมูลค่า 2.6 – 2.7 หมื่นล้านบาท ปี 2018 เติบโตกว่า 12 – 15% จึงไม่แปลกที่ในเวลานี้จะมีสารพัดคนขับรถมอเตอรไซค์ใส่เสื้อหลากสีสันวิ่งทั่วกรุงเทพฯ ทั้ง Grab Food, Line Man, Food Panda, Lalamove ซึ่งทุกรายต่างโตเอาๆ

และถึงจะนอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็มีอาหารเคาะประตูมาส่งถึงหน้าบ้าน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่คุ้นเคยของคนในเมืองหลวงไปแล้ว แต่จริงๆ แล้ว “พอล เคนนี่” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เดอะ ไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บอกว่า “เดลิเวอรี่” ยังมี Pain Point คือ หากต้องการสั่งอาหารหลายๆ แบรนด์มากินที่บ้านพร้อมกันจะต้องสั่งใหม่ทุกร้านและต้องเสียเงินค่าส่งทุกรอบ 40 บาท บ้าง 50 บาทบ้าง

“พอล” บอกว่าธุรกิจจะเติบโตได้ต้องทำให้ทุกอย่าง “ง่าย” สำหรับผู้บริโภค หลังจากศึกษาตลาดและเตรียมความพร้อมของระบบหลังบ้านจึงกลายเป็นที่มาของ “1112Delivery” ที่เข้ามาอุด Pain Point ด้วยการใช้วิธีวันออเดอร์ (One Order) วันเพย์เมนต์ (One Payment) และวันไดรเวอร์ (One Driver) สั่งครั้งเดียวได้ทุกเมนูในร้านอาหารทั้ง 7 แบรนด์ในเครือ ได้แก่ เดอะพิซซ่า คอมปะนี, เดอะคอฟฟี่คลับ, ไทยเอ็กซ์เพรส, สเวนเซ่นส์, แดรี่ควีน, ซิซซ์เล่อร์ และเบอร์เกอร์คิง

ที่สำคัญ ปี 2018 ไมเนอร์ฟู้ดมียอดขายจากช่องทางเดลิเวอรี่ 3,000 ล้านบาท เฉพาะเดอะพิซซ่า ซึ่งมียอดขาย 10,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 30% มาจากเดลิเวอรี่ เมื่อเห็นแล้วว่า “เดลิเวอรี่” โตแน่ๆ ไมเนอร์ฟู้ดจึงตัดสินใจ “ยกเครื่อง” บริการ 1112Delivery ให้รองรับกับเทรนด์การเติบโต

ประพัฒน์ เสียงจันทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่าเบื้องต้นจะเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ก่อน สั่งได้ทั้งแอปพลิเคชั่นการโทรและเว็บไซต์ โดยเมื่อคำสั่งซื้อเข้ามาจะให้คนขับรถซึ่งเป็นของแบรนด์เดอะพิซซ่า คอมปะนีที่มีอยู่ราว 2,000 คนทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล จัดส่งสินค้า เพราะมีจำนวนคนมากพอรองรับได้ ซึ่งจะไม่ใช่ Food Delivery เจ้าอื่นๆ เพื่อต้องการจัดการอาหารเสร็จก่อนหลังได้เอง

Ffp เริ่มเปิดให้บริการวันแรกตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นแล้ว 2 หมื่นครั้ง ช่วงแรก “ประพัฒน์” ยอมรับว่าคงไม่สามารถสั่งได้ 7 แบรนด์ในทุกพื้นที่แต่ที่แน่ๆ เดอะพิซซ่า คอมปะนี, สเวนเซ่นส์ และแดรี่ควีน จะเป็น 3 แบรนด์ที่ส่งได้ทุกพื้นที่ด้วยมีสาขากระจายอยู่ทั่ว

ทั้งนี้ ระยะเวลาในการจัดส่งจะไม่รับประกันภายใน 30 นาทีเหมือนสั่งแบรนด์เดียว เพราะแต่ละร้านไม่ได้อยู่บริเวณเดียวกัน 

ความท้าทายในการออกบริการใหม่อยู่ที่การเทรนด์พนักงาน เพราะต้องมีการส่งสินค้าทั้งร้อนและเย็นในเวลาเดียวกัน การรับสินค้าที่ไม่ได้มีเพียงจุดเดียวเหล่านี้ ต้องเทรนพนักงานใหม่หมดเลย

หลังจากนี้ “ไมเนอร์ฟู้ด” จะทยอยปิดช่องทางเดลิเวอรี่ที่มีอยู่เพื่อใช้ “1112Delivery” ที่เดียว ยกเว้นเดอะพิซซ่า คอมปะนี และเบอร์เกอร์คิง ที่จะใช้ช่องทางของแบรนด์เองควบคู่ไปด้วย ภายในครึ่งปีวางแผนขายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

เฟสที่สองจะไปภาคตะวันออกและภาคเหนือก่อน เฟสสามจะขยายไปภาคใต้และอีสาน โดยในต่างจังหวัดมีคนขับส่งอาหารของเดอะพิซซ่า คอมปะนีประมาณ 1,000 คน

ตั้งเป้ายอดดาวน์โหลด 1 ล้านครั้ง ด้านยอดขายจากช่องทางเดลิเวอรี่ได้ตั้งเป้าจาก 3,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเป็น 4,500 ล้านบาท และเพิ่มยอดใช้จ่ายต่อบิลอีก 30% จากเฉลี่ย 500 บาทต่อบิล.

]]>
1218258
ใครเป็นใครในธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1154063 Sun, 21 Jan 2018 23:15:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154063 ประเทศไทยถือว่ามีธุรกิจร้านอาหารหลากหลายประเภทมากตั้งแต่ไทย จีน ญี่ปุ่น ฝรั่ง ตอบไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ร้านริมทาง (Street food) ไปจนถึงร้านหรู (Fine dining) โดยแต่ปีตลาดรวมมีมูลค่ามหาศาล ขณะที่ปี 2560 ตลาดรวมอยู่ที่ 390,000-397,000 ล้านบาท เติบโต 2-4% เมื่อแบ่งย่อยพบว่า เป็นร้านอาหารขนาดกลางและเล็ก 271,000-275,000 ล้านบาท และร้านอาหารเครือข่ายหรือเชนร้านอาหาร 119,000-122,000 ล้านบาท

แม้ร้านอาหารจะมีจากหลากหลายชาติให้บริการแต่ “ร้านอาหารญี่ปุ่น” นับเป็นตลาดที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ในตลาดดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 21,000-22,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 10% มาดูกันว่าตลาดนี้ใครเป็นใครกันบ้าง

]]>
1154063