เน็กซัส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 20 Jan 2022 09:54:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุปตลาด “คอนโดฯ-ออฟฟิศ-รีเทล” เกิดอะไรขึ้นบ้างในรอบ 20 ปี บทวิเคราะห์จาก “เน็กซัส” https://positioningmag.com/1371037 Thu, 20 Jan 2022 09:54:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371037 “เน็กซัส” ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาฯ ครบรอบ 20 ปีบริษัท จัดทำสรุปตลาด “คอนโดฯ-ออฟฟิศ-รีเทล” ในรอบ 2 ทศวรรษ วัฏจักรธุรกิจเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่ออสังหาฯ ผ่านทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง และโรคระบาด และคาดการณ์ตลาดปี 2565 เป็นต้นไป จะเป็นอย่างไร

ตลาดคอนโดมิเนียม

“นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยการวิจัยตลาดคอนโดฯ 20 ปีที่ผ่านมา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้

  • ช่วงแรก พ.ศ. 2544-2552 จำนวนหน่วยสะสม 123,000 หน่วย ทำเลพัฒนาส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในใจกลางเมืองและรอบใจกลางเมือง
  • ช่วงที่สอง พ.ศ. 2553-2561 จำนวนหน่วยสะสม 482,000 หน่วย ทำเลพัฒนาเริ่มขยายไปรอบนอกเมืองมากขึ้น มีดีเวลลอปเปอร์รายใหม่เข้าตลาดมากขึ้น อุปทานจึงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
  • ช่วงที่สาม พ.ศ. 2562-2564 จำนวนหน่วยสะสม 562,100 หน่วย ตลาดหดตัวลงอย่างมาก เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวในปี 2562 และเกิดเหตุไม่คาดฝันคือการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ปี 2564 มีคอนโดฯ เปิดใหม่เพียง 16,800 หน่วยเท่านั้น และยอดขายก็ทำได้เพียง 23,400 หน่วย ถือเป็นสถิติต่ำสุดในรอบ 12 ปีทั้งซัพพลายและดีมานด์

เน็กซัส

สำหรับราคาคอนโดฯ ตั้งแต่ปี 2544 ราคาเฉลี่ยเคยอยู่ที่ 48,000 บาทต่อตร.ม. และปรับเพิ่มขึ้น 3 เท่าในรอบ 18 ปี มาอยู่ที่ 141,800 บาทต่อตร.ม. เมื่อปี 2562 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของราคาเฉลี่ยคอนโดฯ ในกทม.-ปริมณฑล

หลังจากนั้นราคาเฉลี่ยต่ำลงเพราะ COVID-19 ทำให้ดีเวลอปเปอร์หันมาพัฒนา “บัดเจท คอนโด” เน้นราคาเข้าถึงง่ายมากขึ้น ราคาเฉลี่ยคอนโดฯ ปี 2564 อยู่ที่ 128,600 บาทต่อตร.ม. และถ้านับเฉพาะคอนโดฯ เปิดตัวใหม่จะอยู่ที่ 86,100 บาทต่อตร.ม.เท่านั้น

ปี 2565 จะเกิดอะไรขึ้น? นลินรัตน์มองว่า ที่ผ่านมาวัฏจักรธุรกิจคอนโดฯ มีการเติบโตก้าวกระโดดจนราคาเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้จริงของผู้ซื้อ ทำให้ตั้งแต่ปี 2565 การเติบโตของคอนโดฯ จะมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาสะท้อนความเป็นจริงยิ่งขึ้น

คาดว่าปีนี้จะมีการเปิดตัวคอนโดฯ ใหม่ 30,000 หน่วย และแบ่งการเติบโตออกเป็นกลุ่มคอนโดฯ ระดับลักชัวรีใจกลางเมือง กับกลุ่มคอนโดฯ รอบนอกเมืองที่ราคาย่อมเยา โดยมีปัจจัยส่งเสริมจากรถไฟฟ้าที่ขยายตัวไปมากขึ้น

 

ตลาดอาคารสำนักงาน

“ธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวซอรี่ จำกัด มองภาพรวมทั้งตลาดอาคารสำนักงานและค้าปลีกว่าในช่วง 2 ทศวรรษนี้ มีปัจจัยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การสร้างรถไฟฟ้า ความไม่สงบทางการเมือง พฤติกรรมผู้บริโภค โรคระบาด โดยขอสรุปวัฏจักรของตลาดอาคารสำนักงาน ดังนี้

  • ช่วงแรก พ.ศ. 2544-2552 อุปทานใหม่เพิ่มเฉลี่ย 8% ต่อปี เป็นช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ตลาดดีดตัวอย่างรวดเร็ว จนถึงปี 2551 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และในไทยเกิดความไม่สงบทางการเมือง ตลาดจึงชะลอตัวเล็กน้อย อัตราการเช่าในช่วงนี้ ช่วงต้นอยู่ที่ประมาณ 70% ก่อนจะดีดตัวขึ้นไปที่ 90-95%
  • ช่วงที่สอง พ.ศ.2553-2564 อุปทานใหม่เพิ่มเฉลี่ย 2-3% ต่อปี ตลาดค่อยๆ ฟื้นตัว รักษาระดับอัตราการเช่าไว้ที่ 90-95% อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งเกิดโรคระบาด COVID-19 ที่ทำให้ตลาดออฟฟิศหดตัว โดยเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 20 ปี ปัจจุบันตลาดออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีอุปทาน 3 ล้านตร.ม. และอัตราการเช่าลดลงมาเหลือ 88% เป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2547

เน็กซัส

ด้านราคาเช่านั้นตั้งแต่ปี 2544 ออฟฟิศสามารถขึ้นค่าเช่าได้ 3-5% ต่อปีมาโดยตลอด จนกระทั่งเผชิญ COVID-19 ทำให้ปี 2564 เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่ค่าเช่าลดลง -1% ปัจจุบันราคาเช่าเฉลี่ยทั้งตลาดอยู่ที่ 800 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน

ปี 2565 และต่อจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น? เน็กซัสคาดว่า จะยังมีอาคารสำนักงานเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านตารางเมตรภายใน 5 ปี โดยกว่า 90% ของจำนวนนี้จะเป็นออฟฟิศเกรดเอ ทำให้ค่าเช่าเฉลี่ยจะสูงขึ้นจากการเปิดอาคารใหม่เหล่านี้ แต่ในแง่ดีมานด์ ยังตอบยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะผลจาก COVID-19 ทำให้การใช้งานออฟฟิศกำลังเปลี่ยนไป

 

ตลาดศูนย์การค้า

ธีระวิทย์วิเคราะห์ตลาดโดยเน้นจับตาพื้นที่ Central Retail District (CRD) เป็นหลัก ได้แก่ สยามสแควร์ ราชประสงค์ และพร้อมพงษ์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

  • ช่วงแรก พ.ศ. 2544-2547 อุปทานสะสม 250,000 ตร.ม. ช่วงต้นนั้นตลาดกำลังฟื้นตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่มีการถอนทุนของต่างชาติ ทำให้หลายห้างฯ เช่น เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ปิดตัว แต่ในปี 2546 เกิดโรคระบาด SARS ตามด้วยปี 2547 เกิดสึนามิ ทำให้ตลาดย่อตัวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ศูนย์การค้าบูมมาก สามารถปรับราคาเช่าได้ถึง 10% ต่อปี
  • ช่วงที่สอง พ.ศ. 2548-2553 อุปทานสะสม 550,000 ตร.ม. ช่วงของการฟื้นตัวจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและนักท่องเที่ยวกลับเข้าประเทศมากขึ้น เกิดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ สยามพารากอน และ เซ็นทรัลเวิลด์ แต่ในช่วงปลายวัฏจักรเกิดความไม่สงบทางการเมือง มีการประท้วงย่านราชประสงค์จนเกิดความเสียหาย แม้ช่วงนี้จะเป็นวัฏจักรฟื้นตัว แต่ซัพพลายก็เข้าสู่ตลาดสูง ทำให้ราคาเช่าปรับได้เฉลี่ย 4-5% ต่อปี
  • ช่วงที่สาม พ.ศ. 2554-2564 อุปทานสะสม 635,000 ตร.ม. ช่วงต้นตลาดกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง โดยมีการเปิดศูนย์การค้าใหม่ คือ เซ็นทรัลเอ็มบาสซี และ เอ็มควอเทียร์ จนกระทั่งเผชิญปัจจัยลบระลอกแรกในปี 2561 เรือล่มที่จ.ภูเก็ต ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลง ตามด้วยการระบาดของ COVID-19 ปี 2563 ทำให้นักท่องเที่ยวลดจนเหลือศูนย์ และมีการล็อกดาวน์ศูนย์การค้าเป็นระยะ ราคาเช่าจึงปรับเพิ่มได้เพียง 2% ต่อปี

เน็กซัส

ท่ามกลางปัจจัยบวกและลบที่เข้ามากระทบศูนย์การค้ากลางเมืองตลอดเวลา ธุรกิจศูนย์การค้ายังรักษาอัตราการเช่าไว้ที่ 93-97% ได้ตลอด 20 ปี ยกเว้นช่วง COVID-19 ที่สาหัสที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษจนอัตราการเช่าเฉลี่ยลดเหลือ 91%

ปี 2565 และในช่วงต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น? ธีระวิทย์มองว่าช่วงนี้ต้องจับตาความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และการกลับมาของนักท่องเที่ยว รวมถึงการปรับตัวของศูนย์การค้าเองให้เข้ากับพฤติกรรมคนที่จับจ่ายบนโลกออนไลน์สูงขึ้น แต่เชื่อว่าตลาดจะยังมีสีสันจากการเปิดใหม่ของ “เอ็มสเฟียร์” และ “เซ็นทรัลเอ็มบาสซี (ส่วนต่อขยาย)”

]]>
1371037
“ศูนย์การค้า” ปี 2564 ทำเลกลางเมืองแนวโน้มปรับลดค่าเช่า 3-4% นอกเมืองตรึงราคายาว https://positioningmag.com/1314691 Mon, 18 Jan 2021 05:40:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314691 “สถานการณ์แบบนี้ไม่มีใครกล้าขึ้นราคา มีแต่ต้องรักษาผู้เช่าให้อยู่กับตัวเอง” คือมุมมองจาก “เน็กซัส” ต่อพื้นที่รีเทลกรุงเทพฯ ปี 2564 ซึ่งยังได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อเนื่อง โดย “ศูนย์การค้า” กลางเมืองจะได้รับผลกระทบหนักกว่าเพราะยังคงขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ คาดอาจปรับลดค่าเช่าลง 3-4%

ธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เปิดข้อมูลพื้นที่รีเทลกรุงเทพฯ ปี 2563 โดยประมวลผลเฉพาะพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ (ซีบีดี) ได้แก่ สยาม แยกราชประสงค์-เพลินจิต และพร้อมพงษ์ พบว่าซัพพลายย่านซีบีดีไม่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการเช่าอยู่ที่ 94% ลดลงเล็กน้อย และราคาค่าเช่าเฉลี่ยที่ 3,915 บาทต่อตร.ม. ไม่ปรับเพิ่มและไม่ลดลง

สำหรับปี 2564 ธีระวิทย์กล่าวว่า ศูนย์การค้าใจกลางเมืองอาจจะมีการปรับลดค่าเช่าเล็กน้อย 3-4% ขึ้นอยู่กับการต่อรอง และอัตราการเช่ามีแนวโน้มจะลดลงอีก

อัตราการเช่าของศูนย์การค้าย่านซีบีดีที่ลดลง มีผลสำคัญจากห้างสรรพสินค้าใหญ่ของญี่ปุ่นที่ทยอยออกจากประเทศไทย ตั้งแต่ปีก่อนที่ “อิเซตัน” ไม่ต่อสัญญาเช่ากับเซ็นทรัลเวิลด์ และปีนี้ห้างฯ “โตคิว” ก็กำลังจะหมดสัญญากับมาบุญครองสิ้นเดือนมกราคม 2564

ทั้งนี้ ธีระวิทย์กล่าวว่าการหมดสัญญาเช่าของทั้งอิเซตันและโตคิว เป็นแผนงานที่เจ้าของศูนย์การค้ารับทราบมานานแล้ว และมีการเตรียมปรับเปลี่ยนพื้นที่หลังจากผู้เช่าย้ายออก เพียงแต่สถานการณ์ไม่คาดฝันจาก COVID-19 อาจจะทำให้การหาผู้เช่าใหม่ตามแผนงานได้รับผลกระทบ

ดังที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ศูนย์ฯ บริเวณซีบีดีได้รับปัจจัยลบสองต่อ หนึ่งคือ ลูกค้าคนไทยเข้าศูนย์การค้าลดลงเมื่อเกิดกระแสการระบาดสูงขึ้นหรือมีการล็อกดาวน์ห้างฯ สองคือ ลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยเข้าประเทศปีละเกือบ 40 ล้านคน ปีก่อนแทบจะเป็นศูนย์ และปีนี้ที่เคยหวังไว้ว่าจะกลับมาเปิดประเทศรับชาวต่างชาติได้บ้างช่วงไตรมาส 3 หรือ 4 แต่ขณะนี้มีความไม่แน่นอนว่าจะเปิดประเทศได้หรือไม่

Photo : Shutterstock

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ศูนย์การค้ากลางเมืองได้รับผลกระทบหนัก ยอดขายร้านค้าบางร้านในศูนย์ฯ ลดลงมากกว่า 50% ตั้งแต่ปีก่อน นำมาสู่การเจรจาต่อรองเพื่อลดค่าเช่า

ธีระวิทย์กล่าวว่า ศูนย์การค้ากลางเมืองมีแผนปรับตัว ที่เริ่มเดินหน้าไปแล้วตั้งแต่ปีก่อนคือการมุ่งเน้นลูกค้าคนไทยทดแทน และหันไปโหมการค้าออนไลน์สูงขึ้น ปรับตนเองให้เป็นสถานที่การพบปะสังสรรค์มากกว่าช้อปปิ้ง ร้านขายสินค้ามีลักษณะเป็น ‘โชว์รูม’ ให้ลูกค้ามาชมของจริงก่อนตัดสินใจซื้อออนไลน์

ส่วนศูนย์การค้านอกพื้นที่ซีบีดีนั้นอาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเพราะพึ่งพิงนักท่องเที่ยวไม่มากนัก แต่ก็ยังได้รับผลกระทบเมื่อเกิดกระแสการระบาดสูงขึ้น ดังนั้น ปีนี้น่าจะยังตรึงราคา ไม่ขึ้นค่าเช่า

“สถานการณ์แบบนี้ไม่มีใครกล้าขึ้นราคา มีแต่ต้องรักษาผู้เช่าให้อยู่กับตัวเอง” ธีระวิทย์กล่าว พร้อมเสริมว่า อสังหาริมทรัพย์ประเภทพาณิชยกรรม กลุ่มพื้นที่รีเทลถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงสุดท่ามกลาง COVID-19 เมื่อเทียบกับกลุ่มสำนักงานให้เช่าหรือนิคมอุตสาหกรรม

]]>
1314691
คนไทยเงินไม่ถึง ก็พึ่ง “เศรษฐีจีน” แทน ผ่าเทรนด์ร้อนอสังหาฯ ทุนมังกรหอบเงินลงทุนพัฒนา-ซื้อคอนโด “บิ๊กล็อต” https://positioningmag.com/1166456 Thu, 19 Apr 2018 09:45:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166456 สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 ด้าน “ดีมานด์” และ “ซัพพลาย”  ไม่ได้โตหวือหวา เพราะยังเป็นปีที่เผชิญเศรษฐกิจ กำลังซื้อชะลอตัว แต่ปี 2561 อสังหาฯ เห็นสัญญาณ “ขาขึ้น” ทั้งจำนวนที่อยู่อาศัยที่พัฒนาขึ้น และผู้ซื้อเองก็ขนเงินมาลงมากขึ้น และยุคนี้ถ้า “พึ่ง” เศรษฐีไทย คนมีเงินหนามาซื้ออสังหาฯ ในประเทศไม่ได้  “เศรษฐีจีน” ยังเป็นคำตอบขุมทองทำให้ดีเวลลอปเปอร์ทำเงิน และถือเป็น ใน เทรนด์ร้อนของอสังหาฯ ปี 2561

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ซื้ออสังหาฯ นอกจากตอบโจทย์ปัจจัย คือเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรด้วย แต่หลายปีที่ผ่านมา “ทุนแดนมังกร” กลับเข้ามามีบทบาทในการซื้ออสังหาฯ ในไทยมากขึ้น และไม่ได้ซื้อกันแค่ห้องสองห้องเท่านั้น แต่กลับซื้อเป็น “บิ๊กล็อต” ยกตึกตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด 49%

“นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ให้เหตุผลที่ทุนจีนบุกหนักยึดลงทุนซื้อคอนโดในไทยเกือบยกตึก เพราะต้องการตอบโจทย์ชาวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทยมากขึ้นหลัก 10 ล้านคนต่อปี จึงต้องใช้ที่อยู่เหล่านั้นเป็นทั้งบ้านหลังที่ และแหล่งพักผ่อนช่วงฮอลิเดย์นั่นเอง            

นอกจากนี้ ถ้าเทียบราคาที่อยู่อาศัยในไทย ต้องยอมรับว่ายัง “ถูก” กว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ จึงทำให้มีการเข้ามาซื้อเพื่อตอบโจทย์การลงทุน และเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุน “จีน” ไม่ปักหลักเทเงินในประเทศเดียวแต่ต้องกระจายความเสี่ยงไปหลายๆ ตลาด และหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำก็ต้องโยกเงินไปยังตลาดที่ดอกเบี้ยดีกว่าแทน

ไม่ใช่แค่ทุนจีนที่ขนเงินมาซื้อคอนโดในไทย แต่ยังมีทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่นด้วย ส่วนโปรเจกต์ที่ “เนื้อหอม” จนเตะตาผู้ซื้อรายใหญ่ได้แก่ โครงการ “พาร์ค 24 ของออริจิ้น และ “ฮาร์เบอร์ เรสซิเดนซ์” ส่วนปีก่อนๆ โครงการที่ขายยกล็อตมีทั้ง

โครงการคอนโดมิเนียมที่ถูกทุนต่างชาติซื้อบิ๊กล็อตมีทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่ลักชัวรี ไฮเอนด์ และระดับกลางบน ส่วนใหญ่เป็นยูนิตขนาด 1-2 ห้องนอน เพราะปล่อยง่าย

“นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์”กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

ขนเงินมาซื้อไม่พอเพราะทุนข้ามชาติยังเข้ามาพัฒนาโครงการด้วย เป็นอีก “เทรนด์ฮอต” ไม่แพ้กัน เช่นเดิมจีนยังเป็น “ขาใหญ่” ระดมเงินมาลงทุนพัฒนาโครงการเองโดยไม่พึ่งบริษัทไทยชื่อดังเพื่อร่วมทุนอีกต่อไป โดยไตรมาสแรกเทเงินแล้วกว่า หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นห้องชุดราว 20% ของตลาด เรียกว่าเข้ามาไม่นาน แต่แย่งแชร์ไปได้ไม่น้อยทีเดียว  

ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งเคยเป็นยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนอสังหาฯ ก็ยังคงร่วมทุนผุดโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ไม่ต่ำกว่า 4-5 โครงการ

“เดิมทุนญี่ปุ่นเมื่อเข้ามาลงทุในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานหรืออินฟราสตรัคเจอร์ ก็ทำให้คุ้นเคยตลาดและลงทุนพัฒนาอสังหาฯ ต่อ เช่นเดียวกับทุนจีนที่ได้เข้ามาลงทุนด้านอินฟราสตัคเจอร์ เมื่อเห็นโอกาสก็เข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม”

4 ทุนข้ามชาติบุกลงทุน-ซื้ออสังหาฯ ในไทย เฉพาะจีนลงทุนคอนโดจนกินสัดส่วนตลาด 20%

ส่วนเทรนด์ที่ 3 ทุนไทยที่พัฒนาโครงการอสังหาฯ ปีนี้เห็นผู้ประกอบการ “รายกลาง” และ “หน้าใหม่” ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้ามาแบ่งเค้กคอนโดได้ 38% จากเดิม “บิ๊กเนม” ในตลาดฯครองตลาดถึง 70% แต่ไตรมาสแรกลดเหลือ 62% โดยกลยุทธ์ที่รายกลางลุยอสังหาฯ จะเน้นพัฒนาคอนโด เพราะขึ้นโครงการและรับรู้รายได้เร็ว ปิดปุ๊บมูฟต่อโครงการใหม่ได้เลย ซึ่งสวนทางกับรายใหญ่ที่ปีนี้เน้นพัฒนาโครงการแนวราบทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และหารายได้ประจำ (Recurring Income) ด้วยการพัฒนาโรงแรมและอาคารสำนักงานมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศ

เทรนด์ที่ หน้าใหม่ที่เข้ามาลงทุน เพราะมีแบ็กดีมีเงินถุงเงินถังจากธุรกิจครอบครัว จึงพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวใหม่ ทั้งโฮสเทล บูทีคโฮเทล คอนโดและบ้านพักระดับหรู ตลอดจน Co-working space และ Lifestyle Retail เพื่อตอบโจทย์ตลาดใหม่ๆ และสร้างความคล่องตัวในการลงทุน ต้นทุนการบริหารจัดการต่ำ

เทรนด์ที่ 5 บรรดาบริษัทอสังหาฯ มีการนำเทคโนโลยีมาสร้าง Platform ตอบสนองไลฟ์สไตล์และอำนวย “ความสะดวก” ให้ผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะป็นแสนสิริ อนันดา ที่นำแอปพลิเคชั่นมาใช้สั่งงานช่างซ่อมต่างๆ มีหุ่นยนต์รับของแทนคน เป็นต้น

เทรนด์ที่ 6 สถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมไตรมาส ปี 2561 มีโครงการเกิดใหม่ 31 โครงการ จำนวน 14,094 ยูนิต ส่วนทั้งปีคาดว่าจะมีโครงการใหม่เพิ่มกว่า หมื่นหน่วย ส่งผลให้มีจำนวนคอนโดสะสมอยู่ที่ 564,000 ยูนิต และมีอัตราการดูดซับไปแล้ว 90%

จำนวนคอนโดในไตรมาส 1 และแนวโน้มทั้งปี

ทั้งนี้ จากราคาที่ดินใจกลางเมืองพุ่งปรี๊ด ส่งผลให้ผู้พัฒนาหาที่ดินพัฒนาโครงการใหม่ยากขึ้น คอนโดที่ผุดใหม่ดังกล่าวจึงกระจายตัวอยู่ในโซนสุขุมวิทตอนปลาย ตั้งแต่สุขุมวิท 71 จนถึงแบริ่งราว 29% โซนพญาไท-รัชดาภิเษก-พระราม 9 ราว 23% โซนตากสิน เพชรเกษม 17%

ส่วนครึ่งปีหลังคาดว่าจะเห็นโครงการใหม่เกิดขึ้นบริเวณแจ้งวัฒนะ และ รามอินทรามากขึ้น เพราะการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น 

ที่น่าสนใจคือราคาที่ดินที่ซื้อแพง และทุบสถิติกันตั้งแต่ตารางวางละ ล้านบาทไปจนถึง ล้านบาทแล้ว ทำให้สิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ราคาคอนโดมิเนียมในกลุ่มซูเปอร์ลักซัวรีกลางเมืองที่เปิดตัวราคาตารางเมตรละ 400,000 บาท จะมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เรีกยว่าขยับขึ้นราว 10% ในขณะที่ตลาดซิตี้คอนโดซึ่งขยายตัวบริเวณส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ราคายังนิ่งไม่พุ่งขึ้นแรงนัก เพราะราคาที่ดินยังไม่สูงเว่อร์

ส่วนเทรนด์ที่ ตลาดที่อยู่อาศัยใน “ครึ่งปีหลัง” ยังคงเห็นความเติบโต โดยเฉพาะ “ทุนข้ามชาติ” ยังเข้ามามีบทบาทเกลื่อนตลาด ส่วน “ราคา” ที่อยู่อาศัยยังคงเห็นการปรับตัวสูง ตามต้นทุนราคาที่ดิน และทำเลทอง “ทองหล่อ” ที่ฮิต ก็จะถูกขยับไปยังเอกมัยมากขึ้น ยิ่งถ้าทำเลทองสุขุมวิท 31-49 ราคาแพง ผู้ประกอบการจะขยับเข้าในซอยมากขึ้น และพัฒนาคอนโดมิเนียมขนาดเล็ก เป็นอาคารโลว์ไรส์สูง 7 – 8 ชั้น และหน้าใหม่ยังคงเข้ามาเล่นเกมในเรียลเซ็กเตอร์ต่อเนื่อง.

]]>
1166456