เลือกตั้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Aug 2023 05:16:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘MI Group’ หั่นคาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาลงเหลือ +2.5% ชี้ ปัจจัยบวกจาก ‘รัฐบาลใหม่’ จะเห็นภาพชัดในปีหน้า https://positioningmag.com/1442896 Wed, 30 Aug 2023 13:32:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442896 8 เดือนผ่านไปแล้วสำหรับปี 2023 เม็ดเงินโฆษณาและสื่อสารการตลาดกลับไม่โตตามคาด เนื่องจากตลาดมีปัจจัยบวกเพียงน้อยนิด โดยทาง MI GROUP ได้ออกมาประเมินถึงเม็ดเงินโฆษณาในช่วงโค้ง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2023 หลังจากที่ประเทศไทยสามารถตั้งรัฐบาลสำเร็จและเริ่มเห็นโฉมหน้าครม.

เม็ดเงินโฆษณาโตเพียง 2.5% ลดลงครึ่งหนึ่งจากประเมิน

ผ่านไป 8 เดือนแล้วสำหรับปี 2023 โดยภาพรวมเศรษฐกิจยังเจอทั้งความท้าทายและปัจจัยลบที่ยังมีมาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น GDP ที่เติบโตต่ำกว่าคาดเพียง +3% ของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ส่งออกติดลบ และการเมืองหลังเลือกตั้งยังไม่นิ่ง ทำให้ความเชื่อมั่นและอุปสงค์ต่ำ ขณะที่ปัจจัยบวกก็มีเพียง ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งไม่เพียงพอในการฟื้นอุปสงค์ในประเทศ โดยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด คาดว่า เม็ดเงินโฆษณาปีนี้อาจจะอยู่ที่ 83,000 ล้านบาท โตเพียง +2.5% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะเติบโตประมาณ +5% 

สำหรับปัจจัยบวกใหม่ ๆ ในช่วง 4 เดือนหลังมากจากการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ และนโยบายที่ประกาศว่าจะทำเลยหลังรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศภายในปลายเดือนกันยายน เช่น การปรับลดราคาเชื้อเพลิง ค่าครองชีพ เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่น่าจะ ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาด คือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่จะได้เห็นอย่างเร็วในช่วงต้นปีหน้า ส่วนนโยบายอื่น ๆ อาทิ ค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือนนักศึกษาจบใหม่ เงินเดือนข้าราชการ ซอฟต์พาวเวอร์ จะเป็นส่วนที่ส่งผลในระยะยาว

สื่อทีวีได้รายการข่าวประคอง

สำหรับเม็ดเงิน สื่อโทรทัศน์ จะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยที่ -1% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคอนเทนต์หลักที่ยังขับเคลื่อนสื่อโทรทัศน์ปีนี้คือ รายการข่าว วิเคราะห์ข่าว และละคร ซึ่งปีนี้กลับมาคึกคักเป็นพิเศษ ส่วนสื่อดิจิทัลและสื่อนอกบ้าน (Out of Home) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีอัตราการเติบโตอย่างน้อย +7% และ +10% ตามลำดับ

โดยตัวขับเคลื่อนหลักของสื่อดิจิทัลยังคงมาจาก 2 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ Meta และ YouTube ส่วนแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงคือ TikTok โดยน่าจับตามองทั้งในแง่การเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาและ IMPACT ในเชิง Full-Funnel Solution ส่วนสื่ออื่น ๆ แม้จะมีบทบาทน้อยลงเรื่อย ๆ แต่ยังคงมีบทบาทในการสื่อสารและสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

Generative AI ทำตลาดแตะเบรก

การมาของ Generative AI เริ่มเห็นผลกระทบในเกือบทุกอุตสาหกรรมไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมสื่อโฆษณา เพราะการทำการตลาดและสื่อสารการตลาดที่เปลี่ยนไปจากการพัฒนาและการขับเคลื่อนของ Technology และ Generative AI นำไปสู่นิยาม Marketing Intelligence ซึ่งถือเป็นอีกขั้นของ Data-driven Marketing หรือการทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล อย่างไรก็ตาม การใช้งาน AI เพื่อ Marketing Intelligence ก็มีผลเสียตามมาเช่นกัน อาทิ การแตะเบรคเม็ดเงินโฆษณา เพราะ Generative AI มาช่วยขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านการตลาดและสื่อสารการตลาดเกือบทุกมิติอย่างก้าวกระโดด

แย่งงานมนุษย์ โดยไม่ใช่จำกัดอยู่แค่ Routine Work หรือ Basic Jobs แต่ยังเริ่มแย่งงานมนุษย์ในส่วนของความคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ, ศิลปะ, ดนตรี, ฯลฯ และบางครั้งยังคิดแทนมนุษย์ได้ ตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ และที่สำคัญที่สุด AI สามารถทำแทนได้เร็วกว่าปริมาณมากกว่า ผิดพลาดน้อยกว่า โดยตัวอย่างหมวดงานด้านการตลาด และสื่อสารการตลาดที่ AI ทำแทนมนุษย์ได้แล้ว อาทิ

  • การค้นคว้าหาข้อมูล การทำวิจัย และการสรุปข้อมูล
  • การวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง การคาดการณ์สถานการณ์ (Predictive Analytics)
  • งานออกแบบและงานดีไซน์
  • การทำพรีเซนเทชั่น, การสร้างคอนเทนต์และการเล่าเรื่อง, การทำคลิปวิดีโอ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด (Marketing Optimization)
  • การตลาดเฉพาะบุคคลแบบขั้นกว่า (Hyper-Personalized Marketing)

ดังนั้น สิ่งที่นักการตลาดและเอเจนซี่ต้องปรับตัวเพื่อคว้าโอกาส หรือเพื่อให้อยู่รอด คือ ต้องรู้เท่าทัน AI และพัฒนาทักษะตัวเองเพื่อยังเป็นนาย AI ให้ได้ เช่น ทักษะการ Prompt (การออกคำสั่ง) ควรเรียนรู้ AI tool พื้นฐานให้ใช้งานได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักใช้ประโยชน์จาก AI tools ต่าง ๆ สุดท้าย พัฒนาทักษะที่ AI ยังทำได้ไม่ดีเท่ามนุษย์ เช่น ความละเอียดอ่อนทางด้านอารมณ์ของมนุษย์, ไหวพริบและการสังเกต, ทักษะด้านศิลปะและความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบ, การตัดสินใจที่ซับซ้อน, การเจรจาต่อรอง เป็นต้น

“พวกเราทุกคนคงหลีกหนี IMPACT ของ AI ไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวเรามากขึ้นและรอบด้านขึ้นทุกวันการปรับตัวโดยการเรียนรู้จะทำให้ทั้งมนุษย์และ AI สามารถประสานการทำงานร่วมกัน และช่วยเติมเต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานโดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละฝ่ายได้ แต่ที่สำคัญ เราต้องไม่ด้อยค่าตัวเองและต้องทำให้การพัฒนาและการใช้งาน AI อยู่ภายใต้การควบคุมของเรา”

]]>
1442896
“เอสโตเนีย” ประเทศที่ระบบ e-Governance ดีที่สุดในโลก แม้แต่การเลือกตั้ง ก็ผ่านออนไลน์ได้ https://positioningmag.com/1428839 Thu, 27 Apr 2023 07:32:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428839 สาธารณรัฐเอสโตเนีย หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าเอสโตเนีย หนึ่งในประเทศเล็กๆ แถบยุโรปเหนือ มีพื้นที่เพียงแค่ราวๆ 45,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเพียงแค่ 1.3 ล้านคนเท่านั้น มีพรมแดนติดกับอ่าวฟินแลนด์ ลัตเวีย และรัสเซีย ซึ่งประเทศเล็กๆ แห่งนี้นี่เอง ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบ e-Governance ที่ดีที่สุดในโลก

เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางธนาคารกรุงไทยได้มีโอกาสพาสื่อมวลชนบินเลาะฟ้าข้ามทวีปไปยังประเทศเอสโตเนีย เพื่อศึกษาดูงานระบบ e-Governance และถือโอกาสทดลองการใช้บัตร KRUNGTHAI Travel Card เพื่อทดลองการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว

estonia

เมื่อยิงคำถามที่ว่า ทำไมต้องเป็นประเทศเอสโตเนีย? ผยง ศรีวณิช แม่ทัพใหญ่ของธนาคารกรุงไทยได้ให้เหตุผลว่า “จริงๆ เคยได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานในหลากหลายประเทศในยุโรปที่มีความแข็งแกร่งในแต่ละด้าน แต่สุดท้ายประเทศนั้นๆ ก็บอกว่าให้ลองไปประเทศเอสโตเนีย เพราะมีการทำสำเร็จแล้ว จึงเป็นที่มาของการเดินทางมาเอสโตเนีย เพราะมีการวางระบบ e-Governance ครบวงจร”

เอสโตเนียได้รับยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีระบบ e-Governance ที่ดีมาก เนื่องจากตนเองเป็นประเทศเล็ก แต่อยู่ใกล้ประเทศใหญ่ๆ ทั้งสิ้น จึงต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้ประเทศแข็งแรง

ปัจจุบันเอสโตเนียมีความก้าวหน้าด้าน e-Governance และ Digitalize บริการภาครัฐเป็น e-Service มากถึง 99% เรียกได้ว่าบริการภาครัฐทุกอย่างสามารถทำบนดิจิทัลได้ ยกเว้นการจดทะเบียนหย่า สาเหตุที่เอสโตเนียปฏิรูปรัฐบาลเป็น Digital Government คือ

  1. แก้ปัญหาคอร์รัปชัน หลังจากที่เอสโตเนียแยกตัวออกมาจากอดีตสหภาพโซเวียตในปี 1991 ประเทศเอสโตเนียประสบปัญหาคอร์รัปชัน และขาดแคลนทรัพยากรอย่างมาก
  2. ลดต้นทุนการให้บริการภาครัฐ เอสโตเนียเป็นประเทศเล็กมีประชากรประมาณ 3 ล้านคน ทำให้มีต้นทุนในการให้บริการของภาครัฐสูง และไม่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรจำนวนมาก

ในยุค 90 เอสโตเนียมีคนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก เนื่องจากมีสถาบันวิจัยด้าน Cybernetics ซึ่งหารือร่วมกับรัฐบาลแล้วเห็นตรงกันว่า Digitalization จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

สิ่งที่ทำให้เอสโตเนียประสบความสำเร็จในการ Digitalize บริการภาครัฐคือ พรรคการเมืองต่างๆ เห็นไปในทางเดียวกันว่า “ประเทศจะต้องพัฒนาด้านดิจิทัลต่อเนื่อง ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล” นอกจากนี้รัฐบาลยังร่วมมือกับภาคเอกชนซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำวิจัย และพัฒนา รวมถึงมีการปรับกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิด Digitalization

ภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา นอกจากองค์กรด้านไอทีแล้ว ยังมีภาคธนาคารที่ต้องการให้บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเข้าถึงคนได้มากขึ้นด้วยต้นทุนการให้บริการที่ถูกกว่าการเปิดสาขา นอกจากนี้ธนาคารยังสนับสนุนการพัฒนา Computer Literacy ของคนในประเทศ เพื่อรองรับการใช้บริการแบบดิจิทัล

ในปัจจุบัน 99% ของบริการกลายเป็น e-Service โดยบริการเดียวที่ยังไม่สามารถทำออนไลน์ได้ คือ การหย่า เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมาย คาดว่าบริการภาครัฐจะเป็น e-Service ได้ 100% ในปี 2024

estonia

อย่างไรก็ดีทุกบริการที่เป็น e-Service หากไม่สะดวกใช้บริการสามารถใช้บริการรูปแบบเดิม โดยจะได้รับบริการรวดเร็วขึ้นเนื่องจากคนจำนวนมากเปลี่ยนไปใช้ e-Service

ตัวอย่าง e-Service ที่ให้บริการคือ

1. การยื่นภาษี เป็นบริการแรกๆ ที่ปรับเป็น e-Service ปัจจุบันสามารถยื่นชำระภาษีได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่คลิกเนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ถูก Prefill มาให้แล้วโดยระบบจากข้อมูลที่ดึงมาจากหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันคนยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ 90%

2. Internet Voting (i-Voting) เริ่มต้นครั้งแรกต้องแต่ปี 2005 เอสโตเนียเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการเลือกตั้งระดับประเทศผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อดีของการเลือกตั้งออนไลน์ คือ สะดวก ลดค่าใช้จ่ายในการจัดคูหาเลือกตั้ง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับคนเอสโตเนียที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศที่ไม่มีสถานทูต นอกจากนี้ยังช่วยลดเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะเลือกตั้งซ้ำได้หลายครั้งจนกว่าจะปิดให้เลือกตั้ง ดังนั้นแม้ในครั้งแรกจะเลือกพรรคหนึ่ง แต่ก็สามารถกลับไปเลือกพรรคใหม่ได้

การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเดือนมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา มีคนเลือกตั้งผ่าน i-Voting ประมาณ 51% ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีผู้เลือกตั้งออนไลน์มากกว่าครึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด สาเหตุที่คนยังออกมาเลือกตั้งที่คูหาแบบเดิมอาจเป็นเพราะเอสโตเนียเพิ่งได้รับเอกราชมาไม่นาน การออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่คูหาจึงเหมือนสัญลักษณ์เฉลิมฉลองการได้รับเอกราช และการเลือกตั้งเป็นประเพณีของครอบครัว อีกทั้งคนบางกลุ่มมองว่าการเลือกตั้งออนไลน์ไม่ปลอดภัย

ปัจจุบันเอสโตเนียมี State Portal Website (eesti.ee) เป็น One-stop Shop สำหรับบริการภาครัฐ และเป็นแหล่งรวมข้อมูลสำหรับบุคคล และธุรกิจที่ออกแบบให้เข้าใจง่ายใช้งานง่าย นอกจากการดูข้อมูล และใช้บริการ e-Service ต่างๆ ของภาครัฐแล้ว ยังมีฟีเจอร์ที่โดดเด่น และสร้างความโปร่งใสเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชน คือ Data Tracker ทำให้ประชาชนเจ้าของข้อมูลสามารถดูได้ว่าข้อมูลของเราถูกหน่วยงานใดเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคล หากมีสิ่งผิดปกติสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้

estonia

โดยที่ 3 เสาหลักที่เป็นรากฐาน e-Service ของเอสโตเนีย คือ Confidentiality, Availability และ Integrity

1. Confidentiality คือ การที่คนสามารถยืนยันตัวตนผ่าน e-Identification ได้อย่างปลอดภัย มั่นใจว่าข้อมูลต่างๆ เป็นความลับ ปัจจุบันมี “อุปกรณ์” ในการยืนยันตัวตน 3 รูปแบบคือ 1) บัตรประชาชนที่มีชิป 2) Mobile ID ซึ่งเป็นซิมการ์ดที่ใช้ยืนยันตัวตน 3) Smart ID แอปพลิเคชันที่ใช้ยืนยันตัวตน โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องใช้ร่วมกับ PIN 1 และ PIN 2 โดย PIN 1 ใช้กับการยืนยันตัวตน เช่น การล็อกอินเข้าระบบต่างๆ PIN 2 ใช้ในการลงนาม Digital Signature ซึ่งเทียบเท่ากับการลงนามบนกระดาษมีผลผูกพันทางกฎหมาย

ปัจจัยที่ทำให้ e-Identity ในเอสโตเนียประสบความสำเร็จ คือ รัฐบาลบังคับให้ทุกคนมี Digital Identity โดยให้มาพร้อมกับบัตรประชาชน นอกจากนี้รัฐยังเปิดให้ภาคเอกชนต่างๆ นำ e-Identity ไปใช้ในการยืนยันตัวตนทำให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารที่นำไปใช้ยืนยันตัวตนลูกค้าเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งทำให้ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้ e-Identity เทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในการยืนยันตัวตนออนไลน์ คือ Splitkey ของ Cybernetica ซึ่งทำให้คนสามารถใช้มือถือ และแท็บเล็ตในการลงนาม Digital Signature

2. Availability หมายถึงข้อมูลต้องเข้าถึงได้ตลอดเวลาโดยสิ่งที่สนับสนุนสิ่งนี้ คือ X-Road พัฒนาโดยบริษัท Cybernetica โดยที่ X-road เป็น Secure Data Exchange Infrastructure ที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ สามารถส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลของเอสโตเนียเป็นแบบ Decentralized คือ แต่ละหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของตนเอง เมื่อหน่วยงานอื่นต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าวสามารถดึงข้อมูลดังกล่าวไปใช้ ทำให้ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลเดียวกันซ้ำในสองที่ (Once-only Principle) มั่นใจได้ว่าข้อมูลถูกต้อง และเป็นปัจจุบันเช่นข้อมูลที่อยู่จะถูกจัดเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลของทะเบียนราษฎร์เพียงที่เดียว

หากหน่วยงานอื่นต้องการทราบว่าบุคคลนี้อาศัยอยู่ในเมือง Tallinn หรือไม่ สามารถดึงข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ โดย e-Service ของหน่วยงานอื่นจะถามมาที่ฐานข้อมูลของทะเบียนราษฎร์ว่าบุคคลนี้อาศัยอยู่ใน Tallinn หรือไม่ และได้รับคำตอบเพียงเท่าที่จำเป็นต่อการตอบคำถามเท่านั้น (Need-to-know Basis) หากมีการย้ายบ้านก็แจ้งย้ายบ้านกับทะเบียนราษฎร์เพียงครั้งเดียว ไม่ต้องไปแจ้งหน่วยงานอื่นๆ โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่าน X-road แต่ X-road ไม่ได้จำกัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนก็จัดเก็บข้อมูล และส่งข้อมูลผ่าน X-road เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นธนาคารมหาวิทยาลัย ฯลฯ

3. Integrity หรือความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลจึงมีการนำ KSI Blockchain ที่บริษัท Guardtime ให้กับรัฐบาลเอสโตเนียมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยของ Sensitive Data การพัฒนา KSI Blockchain มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่เอสโตเนียโดน Cyberattack ในระดับประเทศ จึงต้องหาวิธีรักษาความปลอดภัยนอกจากนี้ยังมี Data Embassy คือการ Back Up ข้อมูลต่างๆ ไว้ในต่างประเทศ เพื่อป้องกันความเสี่ยง หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลหายไปหรือเกิด Cyberattack

เอสโตเนียในปัจจุบันเป็นแหล่งรวม Start-up ของโลกแห่งหนึ่ง เห็นได้จากการที่เอสโตเนียเป็นประเทศที่มี Start-up per Capita สูงที่สุดในโลกมี Unicorn per Capita สูงที่สุดในยุโรป และเป็นอันดับ 2 ของโลก

Skype หนึ่งในสตาร์ทอัพชื่อดังระดับโลก ที่มีสัญชาติเอสโตเนีย

สาเหตุสำคัญ คือ การที่รัฐบาลทำให้เอสโตเนียมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมี Ease of Doing Business ในระดับสูง เช่น สามารถตั้งบริษัทได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีโครงการ e-Residency คือการที่คนต่างชาติมาสมัครเป็นพลเมืองของเอสโตเนีย และตั้งบริษัทสัญชาติเอสโตเนียบริหารจัดการบริษัทได้แบบออนไลน์ 100% ลดความยุ่งยากในการติดต่อกับรัฐบาล

ทำให้เข้าถึง European Single Market โดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่เอสโตเนียจากโครงการ e-Residency เอสโตเนียได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีชดเชยภาษีที่เก็บได้น้อยลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ รวมถึงเกิดการสร้างงานทางอ้อมภายในประเทศ และมีการใช้จ่าย หรือใช้บริการบริษัทอื่นๆ

นอกจากนี้เอสโตเนียยังมีนโยบายจัดเก็บภาษีที่ดึงดูดโดยยกเว้นการเก็บภาษีจากกำไรที่นำกลับมาลงทุนต่อรวมทั้งชุมชน Start-up สนับสนุนกันและกันแบ่งปันความรู้กันเนื่องจาก Start-up ในเอสโตเนียไม่แข่งขันกันแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศ เพราะต่างมีตลาดของตนเองในต่างประเทศ

estonia

ในอนาคตเอสโตเนียมีแนวทางพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้

  • รัฐบาลต้องการเป็น Proactive Government ที่จะนำบริการหรือสิทธิที่ประชาชนแต่ละคนพึงได้รับไปยื่นให้กับประชาชนโดยไม่ต้องมาสมัคร เพราะประชาชนบางคนก็ไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการใดบ้าง เช่น เมื่อคลอดลูกโรงพยาบาลจะแจ้งเกิดให้พ่อแม่ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรจะได้รับข้อความให้เลือกบัญชีที่จะรับเงินทันทีโดยไม่ต้องไปแจ้งกับหน่วยงานที่ให้สวัสดิการเองว่าตนเองมีลูกแล้วเป็นต้น
  • นำ AI Chatbot มาช่วยในการโต้ตอบกับประชาชนให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการภาครัฐพัฒนา Speech Recognition เพื่อให้สามารถคุยกันได้โดยใช้เสียงทำให้คนที่มีปัญหาไม่สามารถพิมพ์โต้ตอบสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างเท่าเทียม
  • ใช้งานระบบต่างๆในต่างประเทศได้ (Cross-border Digitalization) ซึ่งในปัจจุบันใช้ได้แล้วเช่น e-Prescription สามารถให้หมอที่หาประจำออกใบสั่งยาให้ และแสดงบัตรประชาชนซื้อยาในฟินแลนด์ได้ เป็นต้น
  • ทำ Personalized Medicine คือ การนำข้อมูลทางการแพทย์และข้อมูลทางพันธุกรรมมาประมวลผลเพื่อให้คำแนะนำกับประชาชนในการป้องกันโรคซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการรักษาโรค
  • มุ่งสู่ Green ICT ด้วยการหาแนวทางและกำหนดยุทธศาสตร์ในการลด Carbon Footprint ที่เกิดการจากจัดเก็บข้อมูลและดำเนินการด้านดิจิทัล

krungthai travel card

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1428839
เม็ดเงินโฆษณา 2 เดือนแรกยังซึม! รอดู “เลือกตั้ง” จุดเปลี่ยนสำคัญ https://positioningmag.com/1421265 Tue, 28 Feb 2023 11:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421265 ซึมต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง Q4/2022 จนถึงช่วง 2 เดือนแรกของปี 2023 สำหรับ เม็ดเงินโฆษณา อย่างไรก็ตาม ทาง MI GROUP ยังมองว่าภาพรวมทั้งปียัง เติบโตได้ เพราะยังพอมีปัจจัยบวก แต่ที่น่าจับตาที่สุดคือ สถานการณ์การ เลือกตั้ง ที่ค่อนข้างจะแน่ชัดแล้วว่าจะเกิดขึ้นช่วงพฤษภาคมนี้

มองตามสถานการณ์ตลาด +5%

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์ของเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 2 เดือนแรกถือว่า ซึมตามคาด โดยเดือนมกราคมติดลบ -10% เนื่องจากผลมาจากปัจจัยลบต่อเนื่องจาก Q4 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น GDP โตต่ำกว่าคาด ของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้อุปสงค์ต่ำ

อย่างไรก็ตาม ในมุมนักการตลาดก็เห็นปัจจัยบวก โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยว ที่คาดว่าภายในสิ้นปีน่าจะมีมากถึง 30 ล้านคน ผู้บริโภคไม่กลัวโควิดแล้ว และอีกปัจจัยสำคัญคือ การเลือกตั้งมีความชัดเจน ทำให้นักการเมืองเริ่มออกมาทำกิจกรรมหาเสียง ซึ่งส่วนนี้ก็จะส่งผลบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเศรษฐกิจ ดังนั้น ในปีนี้คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาน่าจะเติบโตได้ราว 5% หรือประมาณ 85,790 ล้านบาท

เลือกตั้งช่วยทางอ้อมมากกว่า

ภวัต อธิบายว่า การเติบโต 5% ที่ประเมิน ถือเป็นการประเมินตามสถานการณ์ที่เห็นตอนนี้ แต่จะเติบโตมากหรือน้อยกว่านี้ ต้องรอดู หลังเลือกตั้ง ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การมาของการเลือกตั้งจะหนุนเงินสะพัดถึง หมื่นล้านบาท ในช่วงเมษายน-พฤษภาคม แต่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับเม็ดเงินโฆษณา จะเป็นผลทางอ้อมที่มาจากกิจกรรมลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อ กำลังซื้อของผู้บริโภค แบรนด์ที่เป็นสินค้าพื้นฐานก็จะได้ประโยชน์ตรงนี้

ในส่วนของเม็ดเงินที่จะใช้กับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดว่ามี ไม่ถึงร้อยล้าน เนื่องจากแลนด์สเคปของการหาเสียงเปลี่ยนไป นักการเมืองไม่ต้องการสร้างอแวร์เนส แต่ต้องการ สร้างคอนเทนต์ บนโลกออนไลน์ ซึ่งถ้าคอนเทนต์ดีก็จะเกิดการแชร์ ถือว่าได้หน้าสื่อฟรี ดังนั้น การหาเสียงช่วงเลือกตั้ง โซเชียลมีเดียจะเป็นสมรภูมิหลัก

“เม็ดเงินหมื่นล้านอาจเข้าสื่ออาจจะมีไม่ถึงร้อยล้านด้วยซ้ำ เพราะในช่วง 2-3 ปีมานี้แลนด์สเคปเปลี่ยน แค่มีคอนเทนต์ที่แรงจะได้สื่อฟรี แถมสามารถกระจายตัวไปอยู่ในสื่อทีวีได้ด้วย เช่น การดีเบต มันชิ่งไปชิ่งมาโดยมีคอนเทนต์เป็นตัวหลัก ดังนั้น ออนไลน์จะเป็นสมรภูมิหลักแน่นอนในช่วงเลือกตั้ง จากในอดีตที่เม็ดเงินจะไหลไปที่หนังสือพิมพ์และทีวี”

สินเชื่อส่วนบุคคลไม่ใช้เงินร้อนแรงอีกต่อไป

ขณะที่หมวดสินเชื่อโดยเฉพาะ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่คึกคักมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้คาดว่าน่าจะคึกคักน้อยลง จากภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยที่พุ่งสูงแตะ 90% ของ GDP อันเป็นผลมาจากหนี้ส่วนบุคคลที่เต็มวงเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ซึ่งนำไปสู่หนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล (NPL) ที่สูงขึ้นแตะ 4.4% ในปีที่ผ่านมา

“เขาไม่รู้จะใช้เงินทำตลาดไปทำไม เพราะตอนนี้คนที่ต้องการกู้แทบไม่มีแล้ว คนที่กู้ก็กู้เต็มวงเงินไปหมดแล้ว”

สำหรับ 5 อุตสาหกรรมที่คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะคึกคักในปีนี้ ได้แก่

  • หมวดยานยนต์ จักรยานยนต์ โดยเฉพาะ ยานยนต์พาณิชย์, ยานยนต์พลังงานสะอาด (EV, HEV, PHEV) คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 5,800 ล้านบาท
  • หมวดงานอีเวนต์กิจกรรม คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท
  • E-Commerce โดยเฉพาะ Market Place, เดินทาง&ท่องเที่ยว, รถยนต์มือสอง, ประกัน, ดีลและส่วนลดพิเศษ คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,800 ล้านบาท
  • อาหาร เครื่องดื่ม และบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อสุขภาพและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,800 ล้านบาท
  • ผลิตภัณฑ์ในหมวดความสวยและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,300 ล้านบาท

“ปีนี้มีปัจจัยบวกคือ ท่องเที่ยว เลือกตั้ง และคนที่ออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ส่วนการมาของซีเกมส์ เรามองว่าไม่มีนัยเลย คนสนใจแต่ดราม่า แต่การแข่งขันไม่น่าสนใจ ส่วนช่วงหน้าร้อนที่ปกติจะเป็นช่วงที่คึกคักของตลาด ปีนี้ก็มองว่าคงจะคึกคักเหมือนเดิมไม่ได้คึกคักเป็นพิเศษ”

]]>
1421265
“โยชิฮิเดะ สุงะ” ชนะเลือกตั้งหัวหน้าพรรคแอลดีพี รอนั่งเก้าอี้นายกฯ ญี่ปุ่น เเทน “อาเบะ” https://positioningmag.com/1296872 Mon, 14 Sep 2020 12:27:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296872 เป็นไปตามคาด เมื่อโยชิฮิเดะ สุงะตัวเก็งชิงตำเเหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ ชนะคะเเนนโหวต ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) พรรครัฐบาลชุดปัจจุบันของญี่ปุ่น รอขึ้นดำรงตำแหน่งเเทนชินโซ อาเบะที่ลาออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ

โดยโยชิฮิเดะ สุงะหัวหน้าเลขานุการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น วัย 71 ปี ได้รับการวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีอาเบะ หลังประกาศลาออกอย่างกะทันหัน เมื่อเดือนที่ผ่านมาด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ ท่ามกลางความท้าทายของญี่ปุ่นในช่วงวิกฤต COVID-19 เเละมรสุมเศรษฐกิจตกต่ำ

คะเเนนของสุงะนำโด่งจากผลโหวต 377 จาก 534 เสียง เอาชนะคะเเนนชิเกรุ อิชิบะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอย่างฟูมิโอ คิชิดะ

เป็นที่เเน่ชัดว่า ผู้ชนะที่ได้เป็นหัวหน้าพรรคแอลดีพี จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอย่างเเน่นอน เพราะเป็นพรรครัฐบาลที่ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาอยู่แล้ว โดยขั้นตอนต่อไปคือ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในรัฐสภาในวันพุธที่ 16 ..ที่จะถึงนี้

กล่าวกันว่า สุงะคือตัวแทนรัฐบาลที่ประชาชนรู้จักมากที่สุดรองจากอาเบะ เพราะเขาทำหน้าที่หัวหน้าโฆษกรัฐบาลมานานกว่า 7 ปี และต้องเปิดแถลงกับผู้สื่อข่าววันละ 2 ครั้ง เขายังเป็นที่รู้จักด้วยฉายานาม คุณลุงเรวะ เพราะเขานี่เองคือคนเปิดชื่อรัชสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเมื่อปีก่อน

โยชิฮิเดะ สุงะ เลขาธิการของคณะรัฐมนตรี ผู้ทำหน้าที่เปิดชื่อรัชสมัยใหม่ “เรวะ” เมื่อปีก่อน (Photo : Kiyoshi Ota – Pool/Getty Images)

สุงะ เกิดในครอบครัวเกษตรกรที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยโฮเซในปี 1973 ก่อนหันมาลงเล่นการเมืองและเข้าเป็นสมาชิกพรรคแอลดีพี

ส่วนประวัติการทำงานและตำแหน่งของสุงะไม่ใช่แค่เลขาฯ ธรรมดา แต่ถือเป็นหน้าที่ “มือขวา ของนายกฯ และเป็นคนสนิทที่สุดของชินโซ อาเบะมาตลอดเกือบ 8 ปี ทำให้ผลงานของเขาพิสูจน์ได้เพราะเป็นหนึ่งในผู้กำหนดทิศทางนโยบายต่างๆ มาตลอด

โดยคาดหมายว่า สุงะจะดำรงตำแหน่งไปจนครบวาระที่เหลือของอาเบะ จากนั้นจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนก..ปี 2021 อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นอาจจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดในเร็ว ๆ นี้

 

ที่มา : BBC , Japantimes , CNN

]]>
1296872
รู้จัก “หลี่ปิงหยู” ผู้สมัคร ส.ส.ไต้หวัน กลยุทธ์เเต่งคอสเพลย์ ดึงคนสนใจการเมือง https://positioningmag.com/1258646 Thu, 26 Dec 2019 09:28:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258646 Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

สร้างกระเเสฮือฮาให้การเลือกตั้ง “ไต้หวัน” คึกคักมากยิ่งขึ้น เมื่อพรรคการเมืองใหญ่ต่างระดมกำลังหาเสียงด้วยไอเดียเเปลกใหม่ พร้อมสีสันจากผู้สมัครรุ่นใหม่ที่สร้างภาพลักษณ์เเตกต่างจากนักการเมืองเก่า โดยเฉพาะตัวเเทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ที่มีทั้งอดีตนักร้องเดธเมทัล และสาวสวยที่แต่งชุดคอสเพลย์จากการ์ตูนชื่อดัง

วันนี้เราจะมารู้จัก “หลี่ปิงหยู” (Lai Pin Yu) ผู้สมัครลงชิงตำเเหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวัย 27 ปี ซึ่งนับว่าที่อายุน้อยที่สุดในปีนี้ ด้วยบุคลิกร่าเริงสดใสพร้อมใบหน้าสวยหวาน ทำให้เธอได้รับความนิยมอย่างมาก

โดยเธอยังมีกลยุทธ์การหาเสียงที่ดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั้งเยาวชนไปยันกลุ่มสูงวัยอย่างการ “แต่งชุดคอสเพลย์” ล่าสุดหลี่ปิงหยู เลือกที่จะมาในชุดปลั๊กสูทที่แดงแรงฤทธิ์ หรือ ชุดสำหรับผู้บังคับหุ่นยนต์ จากการ์ตูนสุดฮิต Neon Genesis Evangelion ที่ตัวละคร โซริว อาสึกะ แลงเลย์ (Asuka Langley Soryu) สวมในเรื่อง

Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

สำหรับ “หลี่ปิงหยู” เป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าแห่งไต้หวัน ได้ขึ้นเวทีหาเสียงร่วมกับประธานาธิบดีคนปัจจุบันอย่าง “ไช่ อิงเหวิน”

เธอเกิดในครอบครัวนักการเมืองที่มีพ่อคือ “หลี่จินหลิน” อดีต ส.ส. อย่างไรก็ตาม เเม้จะมีจะอยู่ในตระกูลนักการเมือง เเต่เธอก็ประกาศว่าเธอมีจุดยืนเป็นของตัวเอง

“หลี่ปิงหยู” จบการศึกษาด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยไทเป เริ่มทำงานการเมืองมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย
ในสมัยเรียนเคยร่วมเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการเจรจาการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชนไต้หวัน ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการผูกขาดเเละเข้าร่วมกับขบวนการเสื้อขาว ‘White Shirt Army’ การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในไต้หวัน พร้อมเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

แต่นอกจากเรื่องการเคลื่อนไหวและจุดยืนทางการเมืองแล้ว สิ่งที่ทำให้ชาวไต้หวันรู้จักเธอเป็นวงกว้างนั่นคือการโด่งดังจากการเเต่งตัว “คอสเพลย์” หรือแต่งตัวตามแบบตัวการ์ตูนเเละคาแร็กเตอร์ต่างๆ

“ถ้าคอสเพลย์แล้วคนสนใจประเด็นที่ฉันอยากจะพูด…ฉันก็จะเเต่งคอสเพลย์”

โดยเธอมักจะแต่งคอสเพลย์ในกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ นอกจากชุดปลั๊กสูทบนเวทีหาเสียงแล้ว เธอยังเคยแต่งชุดแบบตัวละคร “อายานามิ เรย์” ใน Neon Genesis Evangelion ระหว่างการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหล่าเกษตรกรซึ่งถูกไล่ที่ดินทำกินด้วย

ตอนสมัครลงชิงตำแหน่ง ส.ส. เธอยังแต่งชุดกิโมโนแบบญี่ปุ่นและยังเคยใส่เสื้อนักเรียนญี่ปุ่นหาเสียงมาแล้ว และแน่นอนว่าชุดเซเลอร์ มูน ก็ไม่พลาดเคยใส่มาแล้วเหมือนกัน

เธอบอกว่าตัวเองเป็นแฟนตัวยงของอนิเมะอยู่แล้ว และยอมรับตรงๆ ว่าเเต่งคอสเพลย์ระหว่างทำกิจกรรมทางการเมือง ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจนั่นเอง

“ฉันรู้สึกมาตลอดว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตัวเอง ไม่มีพลังเพียงพอ ถ้าชุดจากตัวการ์ตูนทำให้คนสนใจในประเด็นต่างๆ ได้มากขึ้น ฉันก็พร้อมที่จะทำ ถ้าใครมาขอเซลฟีเวลาฉันแต่งตัวเป็นตัวะละครที่พวกเขาชอบ
ฉันก็จะยินดีเสมอ พวกเขาอาจจะสนใจชุด สนใจการเซลฟีมากกว่า แต่อย่างน้อยประเด็นที่ฉันต้องการนำเสนอก็จะถูกส่งผ่านภาพเซลฟีพวกนั้นไปด้วย”

Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

ด้านการเมืองไต้หวัน บรรดาผู้สมัครเริ่มโชว์ตัวตามสื่อ ทั้งกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ เเม้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งเป็นรัฐบาลในปัจจุบันจะพ่ายเเพ้ ในการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อปี 2561 เเต่ในช่วงนี้ผลสำรวจระบุว่า “ไช่ อิงเหวิน” ยังมีคะเเนนนำคู่เเข่งอยู่ราว 10%

ซึ่งมีแนวโน้มว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ 4 ของไต้หวัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 มกราคมที่กำลังจะถึงนี้ เธออาจได้รับชัยชนะเป็นสมัยที่ 2 แม้จะเผชิญกับข่าวฉาวและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม

โดยความนิยมเพิ่มขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้เเก่ สถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกง ทำให้แรงสนับสนุนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ามีมากขึ้น รวมถึงพรรคชาตินิยมซึ่งเป็นฝ่ายค้านด้วย เเละผลจากสงครามการค้าระหว่างจีนเเละสหรัฐ ที่ทำให้ต่างชาติพยายามมองหาแหล่งสินค้าอื่นๆ ที่เคยผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งไต้หวันได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในส่วนนี้

 

Source 
Source 

 

 

]]>
1258646
Facebook แจงโฆษณา จัดการเนื้อหา ช่วงเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง https://positioningmag.com/1209689 Tue, 22 Jan 2019 10:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209689 แม้กำหนดที่ชัดเจนของวันเลือกตั้งใหญ่ 2562 จะยังไม่ออกมา แต่ที่ผ่านมาก็พบเห็นการหาเสียงเลือกตั้งขึ้นมาบ้างแล้ว ทั้งในนามของพรรคการเมืองและผู้สมัครส่วนบุคคล โดยเฉพาะในแพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Twitter

เหตุที่มุ่งเข้าไปในทั้ง 2 แพลตฟอร์ม เพราะต้องการเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะมีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกประมาณ 7-8 ล้านคน แน่นอนการจะเข้าไปหากลุ่มคนรุ่นใหม่ ก็ต้องมุ่งไปยังพื้นที่ที่เข้าอยู่อย่างโซเชียลมีเดีย จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เม็ดเงินโฆษณาหลักๆ จะอยู่ในช่องทางนี้

เพื่อเป็นแนวทางในการหาเสียง กกต. หรือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ออกข้อกำหนดให้พรรการเมือง ต้องแจ้ง กกต. ถึงบัญชีที่จะใช้ในการหาเสียงในช่องทางออนไลน์ทั้งหมด

โดยพรรคต้องรับผิดชอบข้อมูลข้อความในการโฆษณาซึ่งต้องไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง (ที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9610000124627) ซึ่ง กกต. อาจจะต้องวอร์รูมขึ้นมาติดตาม

ก่อนหน้านี้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI ให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่า แต่ละแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย ได้แจ้งความชัดเจนเรื่องการรับลงโฆษณา ดังนี้

โดย Facebook รับในทุกรูปแบบ, Line รับทุกรูปแบบเหมือนกัน แต่ถ้ามีข้อความที่พิจารณาแล้วล่อแหลม จะถอดออกเลยโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ส่วน Google และ Youtube ไม่รับโปรโมตทุกรูปแบบ ซึ่งไม่ได้เป็นเฉพาะในไทย นโยบายนี้ใช้กันทั่วโลก ยกเว้นที่อเมริกาแห่งเดียว

ล่าสุดได้มีความคืบหน้าจากตัวเจ้าของแพลตฟอร์มเองแล้วโดย “Facebook” ซึ่งแต่ละเดือนมีผู้ใช้งาน 52 ล้านคน บอกว่า ได้เข้าหารือกับ กกต. บ้างแล้วเรื่องข้อกำหนดในการหาเสียง แต่เป็นการหารือในมุมกว้าง ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เพราะยังไม่ได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างชัดเจน

เคธี ฮาร์บาธ ผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองระดับโลกและการประสานงานภาครัฐของ Facebook อธิบายต่อว่า สำหรับเครื่องมือการซื้อโฆษณา หรือ บูสต์โพตส์สามารถใช้ได้ทุกเครื่องมือ ขอแค่ไม่ละเมิดข้อกำหนดของ กกต.

ขณะเดียวกัน Facebook ก็ได้วางมาตรการป้องกันทั้งไม่อนุญาตให้คนที่อยู่ต่างประเทศ บูสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเรื่องการเมือง, คอยมอนิเตอร์เพจที่มีการเปลี่ยนชื่อในภายหลัง แล้วเปลี่ยนไปเกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นต้น โดยการลงโทษมีตั้งแต่ลดจำนวนการมองเห็นในหน้าฟีด ไปจนถึงลบบัญชีผู้ใช้งาน

ภายในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ Facebook ได้เตรียมนำเครื่องมือใหม่มาใช้ โดยจะเปิดเผยถึงรายละเอียดของการโฆษณาที่มากกว่า ที่โชว์อยู่ในฟังก์ชันการโฆษณาของเพจที่แจ้งอยู่ตอนนี้แล้ว เช่น การเปิดเผยถึงจำนวนเงินที่ใช้, ใครเป็นผู้สนับสนุนจ่ายเงินโฆษณาชิ้นนั้นๆ และจำนวนผู้เข้าถึงมีอยู่เท่าไหร่ เป็นต้น

Facebook ไม่แน่ใจว่าเครื่องมือนี้ประเทศไทยจะได้ใช้ช่วงการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะถึงนี้

นอกจากนั้น Facebook ได้แจง 5 มาตรการดูแลเนื้อหาช่วงเรื่องเลือกตั้ง

1. กวาดล้างบัญชีผู้ใช้ปลอม (Cracking Down On Fake Accounts)

Facebook ใช้ AI ในการตรวจสอบซึ่งได้ผลถึง 99.6% และยังมีคนอีก 30,000 คนในการช่วยดู ซึ่งการใช้คนจะช่วยกรองความผิดพลาด เพราะในแต่ละประเทศบริบทก็จะไม่เหมือนกัน

2. ลดการแพร่กระจายของข่าวปลอม (Reducing The Distribution Of False News)

Facebook จะพยายามให้โพสต์จากคนใกล้ดูขึ้นหน้าฟีดก่อน โดยทำนายจากการกดถูกใจและการมีส่วนร่วมในโพสต์ ส่วนเพจไหนที่มีเนื้อหาสุมเสี่ยงก็จะมีการลดการมองเห็น ไปจนถึงการแบนบัญชี

ในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2018 Facebook ได้ปิดบัญชีปลอมจำนวน 754 ล้านบัญชี ซึ่งบัญชีส่วนใหญ่มาจากการโจมตีแบบสแปม ที่มีแรงจูงใจในการแสวงหาผลกำไร

3. ทำให้โฆษณาโปร่งใสมากขึ้น (Making Advertising More Transparent)

โดยจะแสดงข้อมูลให้เห็นในเพจเลยว่ามีโพสต์ไหนบ้างที่ถูกบูสต์ และมีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร หรือเพจที่มีการเปลี่ยนชื่อภายหลังและเปลี่ยนลักษณะการโพสต์ไปเลย

4. ยับยั้งการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมบนแพลตฟอร์ม (Disrupting Bad Actors)

ตรวจสอบพฤติกรรมเสี่ยงและการแทรกแซงที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศ เช่นเพจที่แสดงเนื้อหาในประเทศหนึ่งแต่แอดมินอยู่อีกประเทศหนึ่ง

5. สนับสนุนการให้ข้อมูลในช่วงเลือกตั้ง (Supporting An Informed Electorate)

พยายามให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง แจ้งข้อมูล สถานที่ในการเลือกตั้ง เป็นต้น

]]>
1209689
เลือกตั้งครั้งนี้สนุกแน่! ใครจะได้ฐานเสียง “คนรุ่นใหม่” วัดกันที่กึ๋น “คอนเทนต์” ล้วนๆ https://positioningmag.com/1198070 Sun, 18 Nov 2018 10:01:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1198070 Thanatkit

ปี 2018 จะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่เข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมโฆษณามีลุ้นกระเตื้องขึ้นมาบ้างทั้งฟุตบอลโลกกับเอเชียนเกมส์ และยังมีเหตุการณ์พิเศษที่เข้ามาเสริม อีกทั้งกระแส BNK48 ตอนต้นปี, ละครบุพเพสันนิวาส ส่งต่อมายังละครเมีย 2018 และยังมีละครเลือดข้นคนจางที่เพิ่งลาจอไปพร้อมกับกระแสมากมายในโลกออนไลน์

ภวัต เรืองเดชวรชัย

ถึงปี 2019 ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน แต่ในมุมมองของ ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด เหตุการณ์ที่จะเข้ามาสร้างสีสันในปีหน้าให้กับวงการได้แน่ๆ คือการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงต้นปีหน้า

ย้อนกลับไปการเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2011 ครั้งนั้นพรรคการของเมืองไทย ใช้เงินสำหรับสร้างการรับรู้ และโปรโมตให้กับฐานเสียงตัวเอง รวมกันทุกพรรคและใช้รวมกันทั้งปี 294,728,000 บาททีวี คือผู้ที่ครองสัดส่วนมากถึง 50% เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงคนไทยมากสุด ตามด้วยสิ่งพิมพ์ 46% ที่เหลือ 4% เป็นสื่ออื่น เช่น วิทยุ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ  

ส่วนปี 2019 พรรคการเมืองจะใช้เงินมากขึ้นหรือน้อยลงภวัตยังไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจน เพราะหลายๆ สื่อไม่ได้แสดงจุดยืนว่าสามารถให้พรรคการเมืองลงสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มได้ไหม ความหมายคือ สมมุติมีเอเจนซี่หนึ่งรับเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์ให้พรรคการเมืองนี้ และมีการทำสปอตโฆษณาขึ้นมา ต้องการไปซื้อสื่อ ยังตอบไม่ได้ว่าจะให้ลงได้ไหม

สื่อในวันนี้กับอดีตไม่เหมือนกัน ปัจจุบันสื่อรวมกันเป็นเน็ตเวิร์ก จะมีผู้เล่นไม่กี่ราย ถ้าเกิดให้ลงก็ต้องดูว่าจะมีเอฟเฟกต์เกิดขึ้นในทิศทางไหน ต้องรอดูกัน วันนี้มีการถามไปแล้วเพราะเผื่อมีลุ้นปีหน้าจะมีเม็ดเงินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งไหลเข้ามา

แม้ยังไม่รู้จะมีเงินสะพัดมากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ สิ่งหนึ่งที่ภวัตตอบได้คือ สื่อไหนที่จะถูกเลือกใช้มากที่สุด ซึ่งครั้งก่อนหลักๆ เงินอยู่ที่ทีวีกับหนังสือพิมพ์ แต่คราวนี้ส่วนตัวเชื่อว่า หนังสือพิมพ์อาจจะน้อยลง สมรภูมิจะถูกโยกไปฝั่งสื่อนอกบ้านและออนไลน์แทน

ขณะเดียวกันความไม่ชัดเจนของสื่อออนไลน์โดยเฉพาะ Facebook และ Youtube ที่ถือครองเม็ดเงินหลักของโฆษณาดิจิทัลอยู่ สร้างความกังวลอยู่พอสมควร เพราะนโยบาย Facebook และ Youtube ที่ค่อนข้างเข้มงวดกับการเลือกตั้ง วันนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะอนุญาตให้พรรคการเข้ามาทำกิจกรรม หรือหาเสียงได้ลงลึกแค่ไหน เช่น Boost Post หรือ การใช้คำต่างๆ บนพจทางการของพรรคการเมือง ส่วนเพจส่วนตัวยังไปได้เรื่อยๆ

ก่อนหน้านี้แคลร์ ดีวีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการนโยบาย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เคยบอกกับ Positioning ว่า เรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้ใช้ในเมืองไทย คือการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว โดย Facebook ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถใช้หาเสียงได้ แต่จากปัญหาข่าวลวง ที่สามารถส่งผลถึงการเลือกตั้ง หลายๆ คนจึงกังวลในเรื่องนี้

แคลร์ ให้ความเห็นกว้างๆ ว่า ช่วง 18 เดือนมานี้ Facebook ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาข่าวลวงที่มีเป้าหมายแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้ง เช่น พยายามบอกสถานที่เลือกตั้งผิดๆ หรือส่งข้อความบอกให้ลงคะแนนผ่าน Facebook ซึ่งหากเจอก็จะลบบัญชีผู้ใช้ทันที

เป้าหมายหลักที่พรรคการเมืองจะมุ่งเป้าไปในปีนี้ คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่เพราะจะมาเป็นนักเลือกตั้งหน้าใหม่” (New Voter) กันอย่างคึกคัก คะเนคร่าวๆ กลุ่มดังกล่าวมีฐานใหญ่มากถึง 7-8 ล้านคน ด้วยจำนวนขนาดนี้หมายถึงสามารถช่วยให้พลิกคะแนนเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองได้เลยทีเดียว

แน่นอนเมื่อต้องการกวาดคนรุ่นใหม่มาเป็นฐานเสียงในมือ การเข้าไปอยู่ใกล้ตัวกับพวกเขาจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก สื่อที่ใช้คงหนีไม่พ้นโซเซียลมีเดียต่างๆ อันได้แก่ Facebook, Youtube และ Twitter รวมไปถึง KOL ด้วย

เพื่อให้สามารถจับเสียงของคนกลุ่มนี้ได้คอนเทนต์จะกลายเป็นตัววัดกึ๋นของพรรคการเมืองได้ทันที โดยสิ่งที่เราจะพบได้ต่อจากนี้ คือ การปั่นเรื่องราวให้เป็นกระแส (Viral) แบบเนียนๆ ที่หากไม่ได้อยู่ในวงการโฆษณาก็อาจจะมองออกได้ยาก เพื่อดึงการมีส่วนร่วม (Engagement) ให้มากที่สุดด้วย หากคุยเรื่องนโยบายเพียงอย่างเดียว คนรุ่นใหม่อาจจะไม่อยากฟังได้

วัยรุ่นไม่ค่อยคิดเยอะ ถึงจะไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมือง แต่ถ้ามีรายใดพูดภาษาที่วัยรุ่นเข้าใจ ก็อาจเป็นตัวเลือกสำหรับพวกเขาได้

หนึ่งในไวรัลที่ออกมาไม่นานก่อนหน้านี้ คือ การที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พร้อมบุตรสาว จินนี่ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ ออกมาลงพื้นที่พบปะประชาชนย่านประตูน้ำ ได้เรียกสือฮือฮาให้กับชาวโซเชียลถึงขนาดตั้งแฮชแท็ก #เข้าคูหากาเพื่อเธอ #เข้าคูหากาให้แม่ยายผมด้วยนะครับ ทั้งใน Twitter และ Facebook เลยทีเดียว.

]]>
1198070