เศรษฐกิจโลก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Jul 2023 13:07:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เศรษฐกิจ “จีน” ส่อแววเกิดวิกฤต “เงินฝืด” สัญญาณเตือนภัยกระทบชิ่งเศรษฐกิจโลก https://positioningmag.com/1437632 Wed, 12 Jul 2023 12:28:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437632 ตรงข้ามกับเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก “จีน” กำลังส่อแววภาวะวิกฤต “เงินฝืด” ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และด้วยขนาดที่ใหญ่ของเศรษฐกิจจีน ภาวะนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน

ตั้งแต่รัฐบาลจีนยกเลิกมาตรการโควิด-19 ต้องเป็นศูนย์ไปเมื่อสิ้นปีก่อน ปีนี้จีนยังไม่ได้กลับมาเติบโตทางเศรษฐกิจได้ตามคาด เพราะเกิดปัญหาค่าเงินหยวนตกต่ำ และภาคการผลิตอุตสาหกรรมเร่งผลผลิตไม่ได้ตามเป้า

ล่าสุดเศรษฐกิจจีนยังส่งสัญญาณลบเพิ่มอีกเรื่องหนึ่งคือภาวะ “เงินฝืด” หลังจากมีรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนยังคงทรงตัวในเดือนมิถุนายน โดยมีการเติบโตเพียง 0.4% ต่อปี

“ราคาสินค้ายังคงเดิม” ถ้ามองเผินๆ อาจจะดูเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้บริโภค แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ดีในทางเศรษฐศาสตร์ เพราะนั่นหมายถึงขนาดเศรษฐกิจจะไม่เติบโต

นักเศรษฐศาสตร์มักจะเสนอทฤษฎีว่า เศรษฐกิจที่มีภาวะเงินเฟ้อต่ำๆ จะเป็นเศรษฐกิจที่สุขภาพดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มักจะตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ต่อปี

ภาวะเงินเฟ้อมากเกินไปจะทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงจนผู้บริโภคเดือดร้อน (ดังที่โลกตะวันตกเผชิญในปีนี้) แต่ภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อที่ต่ำมากๆ จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้

Photo : Shutterstock

Gary Jefferson ศาสตราจารย์ด้านการเงินและการค้าระหว่างประเทศ Brandeis University กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าไม่ปรับขึ้นหรือบางครั้งถึงขนาดปรับลงไม่ใช่เรื่องดี เพราะเหตุการณ์ลักษณะนี้จะทำให้ผู้บริโภคไม่ใช้จ่ายทันที แต่จะรอด้วยความหวังว่าสินค้าจะปรับราคาลงอีกในอนาคต โดยเฉพาะสินค้าชิ้นใหญ่ เช่น บ้าน รถยนต์

เมื่อผู้บริโภคหยุดใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ผู้ผลิตยิ่งพยายามลดราคาเพื่อกระตุ้นให้ซื้อ กำไรยิ่งน้อยลง และเริ่มลดการจ้างงาน เมื่อประชาชนตกงานมากขึ้นก็ยิ่งทำให้กำลังซื้อลดลงอีก กลายเป็นวัฏจักรที่แก้ไขได้ยาก

ภาวะเงินฝืดเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ “ญี่ปุ่น” ซึ่งต้องรับมือกับภาวะนี้นานถึง 2 ทศวรรษในช่วง 1990s-2000s จนถูกเรียกว่าเป็น ทศวรรษที่สูญหาย

ในกรณีของจีนนั้น ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนมองภัยเงินฝืดเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรง และเริ่มรับมือไปแล้วด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย แต่ถ้าหากมาตรการนี้ก็ยังไม่ได้ผล อนาคตข้างหน้าของจีนน่าจะปวดหัวเป็นแน่

นอกจากนี้ ไม่ใช่แค่จีนประเทศเดียวที่จะต้องกุมขมับ เพราะเศรษฐกิจจีนนั้นใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก จีนคือเป็นประเทศผู้ส่งออกหลัก และเป็นแหล่งผู้บริโภคของสินค้าหลายๆ ชนิด หลายแบรนด์ฝั่งตะวันตกเรียกได้ว่าพึ่งพิงลูกค้าจีนเป็นหลัก เช่น Apple, Nike ทำให้ถ้าหากเศรษฐกิจจีนมีปัญหา โลกก็จะมีปัญหาไปด้วย

ศาสตราจารย์ Jefferson มองว่า หากจีนเกิดภาวะเงินฝืดจะเป็นเหมือน “ดาบสองคม” แก่ประเทศอื่นๆ ในโลก เพราะผลกระทบในแง่บวกคือ ราคาสินค้าส่งออกจากจีนจะถูกลงหรือราคาค่อนข้างเสถียร แต่ในแง่ลบคือ กำลังซื้อชาวจีนจะลดลง ทำให้ประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนจะเผชิญผลลบไปด้วยกัน

ที่มา: Business Insider, VOA

]]>
1437632
‘IMF’ หวั่น การงัดข้อของ “จีน-สหรัฐฯ” อาจฉุดเศรษฐกิจโลก 2% https://positioningmag.com/1426665 Thu, 06 Apr 2023 14:54:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426665 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มองว่า ความตึงเครียดทั่วโลก โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน อาจกระทบกับการลงทุนในต่างประเทศ และอาจทำให้ GDP ทั่วโลกเสียหายถึง 2%

โดย IMF ชี้ว่า ความตึงเครียดระหว่าง สหรัฐฯ และจีน ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการออกร่างกฎหมายหลายฉบับ เช่น ร่างกฎหมาย Chips and Science Act ของสหรัฐฯ และเมื่อไม่นานมานี้ ญี่ปุ่น เองได้ก็เข้าร่วมกับสหรัฐฯ ที่พยายามตัดจีนออกจากการเข้าถึงชิป โดยญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายใหม่ ทำให้ไม่สามารถส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ 23 ประเภทไปยังจีนได้

“บริษัทต่าง ๆ และผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกกำลังค้นหาวิธีที่จะทำให้ซัพพลายเชนของพวกเขาให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดย ย้ายฐานการผลิตหรือไปยังประเทศที่เชื่อถือได้ ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่การกระจายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

การสำรวจที่จัดทำโดยหอการค้าอเมริกันในจีนแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยนักลงทุนมองประเทศจีนในมุมมองด้านลบมากขึ้น โดยมีไม่ถึงครึ่งที่นักลงทุนมองว่าจีนยังเป็น Top 3 ประเทศที่น่าลงทุน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่จีนหลุด Top 3 ประเทศที่นักลงทุนเลือกลงทุน

โดย 66% ของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสำรวจมองว่า ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน ถือเป็นความท้าทายอันดับ 1 ในการทำธุรกิจตอนนี้ และ 65% ระบุว่า พวกเขาไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจีนจะยังคงเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากต่างชาติหรือไม่ โดยบริษัทสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการต้อนรับจากจีนน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา

“ขณะนี้เงินกำลังไหลเข้าสู่ประเทศที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเทศใกล้ชิดทางการเมือง ตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเข้าถึงการลงทุนที่ลดลงจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากการก่อตัวของทุนที่ลดลงและการเพิ่มผลิตภาพจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ที่ดีขึ้น” นักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าว

]]>
1426665
2023 ปีที่คนทั่วโลกมองเชิง ‘ลบ’ มากที่สุดในรอบทศวรรษ เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อมวิกฤตหนัก https://positioningmag.com/1423936 Mon, 20 Mar 2023 10:46:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423936
  • งานวิจัย Ipsos Global Trend 2023 สำรวจความเห็นผู้บริโภคใน 50 ประเทศ พบว่าคนเพียง 65% ที่เชื่อว่าปี 2023 จะเป็นปีที่ดีกว่าปีก่อน ซึ่งถือเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบสิบปี
  • ความกังวลหลักคือเรื่อง “เศรษฐกิจ” และ “สิ่งแวดล้อม” มองภาพปีนี้เป็นเหมือน ‘เคราะห์ซ้ำกรรมซัด’ หลังจากช่วงโควิด-19
  • คนไทยมองในทิศทางเดียวกับทั้งโลก 27% เห็นว่าตนเองยากลำบากทางเศรษฐกิจ และ 86% มองว่าไทยกำลังเผชิญวิกฤตภูมิอากาศ
  • แนะนำแบรนด์ไทยคว้าโอกาส ชวนคนไทยใช้ของไทยซึ่งถูกกว่าสินค้านำเข้า และเน้นหนักการแก้ปัญหาสังคม-สิ่งแวดล้อมอย่างจริงใจ
  • “อุษณา จันทร์กล่ำ” กรรมการผู้จัดการ และ “พิมพ์ทัย สุวรรณศุข” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท อิปซอสส์ จำกัด เปิดรายงานการวิจัย Ipsos Global Trend 2023 ซึ่งครั้งนี้บริษัทสำรวจใน 50 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกทวีป มีผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ 48,000 คน รวมถึงมีการสำรวจในประเทศไทยด้วย (*เฉพาะในไทยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน)

    การวิจัยนี้ Ipsos มีการสำรวจทั้งหมด 12 หัวข้อที่เป็นเทรนด์ในระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวเลือกการดูแลสุขภาพ มิติทางเทคโนโลยี จุดเปลี่ยนของทุนนิยม เป็นต้น

    12 หัวข้อที่สำรวจในงานวิจัย

    หลังจากสำรวจแล้วพบว่ามุมมองความคิดเห็นของผู้บริโภคในปี 2023 นั้นอยู่ภายใต้มุมมองของ ‘A New World Disorder’ เพราะเห็นว่าปัจจุบันเราก้าวเข้าสู่โลกใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวนไร้ระเบียบ

    65% ของประชากรโลกมองว่าปี 2023 จะเป็นปีที่ดีกว่าปีก่อน ตัวเลขนี้ถือว่าต่ำสุดในรอบสิบปี เพราะโลกเราตกอยู่ภายใต้ความกังวลหลายประการ ตั้งแต่เรื่องเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จนถึงเรื่องสงคราม

     

    เศรษฐกิจตกสะเก็ด เงินเฟ้อพุ่ง

    เทรนด์สำคัญที่ Ipsos พบว่าเป็นมุมมองร่วมกันของคนทั้งโลก คือ ความกังวลด้านเศรษฐกิจ นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ดีขึ้น มีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนทั่วโลก

    โดยค่าเฉลี่ยประชากรโลกมี 34% ที่มองว่าตนเองตกอยู่ในภาวะยากลำบากถึงลำบากมากในเชิงเศรษฐกิจ ส่วนชาวไทยที่อยู่ในภาวะนี้มี 27%

    27% ของคนไทยรู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในภาวะยากลำบากถึงลำบากมากในเชิงเศรษฐกิจ

    ตัวเลขหากเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกถือว่าดีกว่า เพราะทวีปที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหนักและเรื้อรังมาตลอดคือประเทศแถบละตินอเมริกากับแอฟริกา แต่ถ้าหากเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ปรากฏว่าคนไทยรู้สึกลำบากทางเศรษฐกิจสูงที่สุด (*ประเทศแถบ SEA ที่ Ipsos สำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์)

    ความกังวลของคนไทยในด้านการเงินมี 2 ปัจจัยหลัก คือ 53% กังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และ 48% กังวลเรื่องเงินที่ใช้จับจ่ายประจำวัน แม้แต่คนในระดับฐานะปานกลางก็กังวลทางเศรษฐกิจแล้ว เพราะสินค้าบริการทุกอย่างมีราคาสูงขึ้น

     

    สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องฉุกเฉิน

    ประเด็นถัดมาที่ Ipsos พบว่าทั่วโลกมองในทางเดียวกันคือ “สิ่งแวดล้อม” ประชากรโลก 80% เชื่อว่าโลกเรากำลังมุ่งไปสู่หายนะทางสิ่งแวดล้อม หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    ทั้งนี้ การวิจัยพบว่าประเทศแถบทวีปเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์) มีความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งน่าจะเกิดจากประเทศในแถบนี้คือผู้รับผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสูงที่สุด และมีการแก้ไขรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมช้ากว่าประเทศทางตะวันตก รวมถึงบางครั้งเป็นเหยื่อรับภาระขยะพิษจากตะวันตกนำมาฝังกลบในเอเชีย ทำให้รู้สึกกังวลสูงกว่า

    การวิจัยพบว่าประเทศแถบทวีปเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์) มีความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าค่าเฉลี่ยโลก

    สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน คนไทย 86% เชื่อว่าเรากำลังเผชิญหายนะทางสิ่งแวดล้อม ประเด็นเชิงสิ่งแวดล้อมที่คนไทยกังวลมากที่สุด หนีไม่พ้นเรื่องฝุ่น PM2.5 เพราะเป็นปัญหาร้อนที่เราเผชิญมาหลายปี รองลงมาคือความผันผวนของสภาพอากาศจนเกิดภัยพิบัติแล้งจัดสลับน้ำท่วมอยู่เสมอ

     

    แนะนำ “แบรนด์ไทย” คว้าโอกาส

    จากทัศนคติของคนไทยต่อวิกฤตของปี 2023 ในอีกแง่มุมจะเป็นโอกาสของแบรนด์ที่เข้าใจคนไทยและสามารถปรับตัวได้ โดย Ipsos มีคำแนะนำดังนี้

    1.โอกาสสินค้าไทยทดแทนสินค้านำเข้า

    เมื่อเงินในกระเป๋ามีมูลค่าลดลงเพราะเงินเฟ้อ ทำให้คนไทยเริ่มหันมามองสินค้าไทยที่มีราคาถูกกว่าสินค้านำเข้า โดยผลสำรวจพบว่า คนไทย 73% เลือกซื้อของไทยมากกว่าต่างชาติ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับการทำการตลาดของแบรนด์ไทยที่จะสะท้อนถึงคุณภาพที่ดีทดแทนการนำเข้าได้

    คนไทย 73% เลือกซื้อของไทยมากกว่าต่างชาติ เป็นโอกาสของแบรนด์ไทย

    2.แบรนด์/ธุรกิจควรเน้นหนักการดูแลสังคม-สิ่งแวดล้อม

    ทัศนคติของคนไทย 80% กังวลว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในอนาคต และมีคนไทยเพียง 36% เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลวางแผนในระยะยาวไว้อย่างดีแล้วเพื่อดูแลประชาชน

    เมื่อคนไทยไม่มั่นใจในรัฐบาล กลายเป็นว่า 81% ของคนไทยเชื่อว่าเป็นไปได้ที่แบรนด์/ธุรกิจสามารถดูแลสังคมได้ไปพร้อมๆ กับการทำกำไร และ 71% ของคนไทยยอมที่จะจ่ายเงินแพงกว่าถ้าจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์ที่ดูแลรับผิดชอบสังคม ความคาดหวังของคนไทยเช่นนี้ทำให้แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ควรหันมาใส่ใจการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

    81% ของคนไทยเชื่อว่าเป็นไปได้ที่แบรนด์/ธุรกิจสามารถดูแลสังคมได้ไปพร้อมๆ กับการทำกำไร

    อย่างไรก็ตาม 53% ของคนไทยไม่เชื่อใจผู้นำทางธุรกิจว่าจริงใจกับผู้บริโภค ดังนั้น แบรนด์ที่จะสร้างฐานลูกค้าจากประเด็นนี้จึงต้องเริ่มสร้างความเชื่อใจกับคนไทยให้ได้ก่อน

    โดยสรุปมุมมองความคิดของคนไทยปีนี้สอดคล้องกับความคิดของคนทั่วโลก เพราะคนไทยมีการเสพข่าวสารในระดับโลก และเห็นชัดเจนว่าวิกฤตในอีกมุมหนึ่งของโลกจะส่งผลมาถึงไทยด้วย ทำให้เกิดความกังวลที่ไม่แตกต่างกัน ปี 2023 จึงเป็นจุดเปลี่ยนความกังวลของไทยที่เปลี่ยนจากเรื่องสุขภาพในช่วงโควิด-19 มาเป็นเรื่อง ‘ปากท้อง’ นั่นเอง

    หมายเหตุ: Ipsos เปิดสัมมนาออนไลน์ ฟรี “Global Trends–Thailand Webinar” วันที่ 30 มีนาคม 2566 ลงทะเบียนได้ที่ https://www.ipsos.com/en-th/ipsos-global-trends-2023-thailand-webinar 

    Ipsos

    ]]>
    1423936
    ‘IMF’ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกขึ้นเป็น 2.9% หลังปัญหาเงินเฟ้อเริ่มดีขึ้น https://positioningmag.com/1417300 Tue, 31 Jan 2023 06:05:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417300 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกใหม่เป็น 2.9% ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตในปี 2023 ยังถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับปี 2022 ที่เติบโต 3.4%

    จากการคำนวณของ IMF ระบุว่า ประมาณ 84% ของประเทศต่าง ๆ จะเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2022 ทำให้ IMF ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกใหม่เป็น 2.9% แนวโน้มเศรษฐกิจโลกกลับมาเป็นบวกมากขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศที่ออกมาดีเกินคาดในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา

    อีกปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้นก็คือ จีน ที่ประกาศเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งหลังจากมีมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนทำให้การเติบโตทั่วโลกสูงขึ้น นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงยังทำให้โอกาสของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ถือครองตราสารหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศสดใสขึ้นอีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม IMF มองว่าปัจจัยลบในปี 2023 คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการรุกรานยูเครนของรัสเซียที่น่าจะยังคงส่งผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมี ความไม่แน่นอน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใหม่ของจีนอาจหยุดชะงัก อัตราเงินเฟ้ออาจยังคงสูง การรุกรานยูเครนที่ยืดเยื้อของรัสเซียอาจทำให้ต้นทุนด้านพลังงานและอาหารสั่นคลอนไปมากกว่านี้ และตลาดอาจพลิกผันจากตัวเลขเงินเฟ้อที่แย่กว่า

    การเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับการพิสูจน์แล้วว่าฟื้นตัวอย่างน่าประหลาดใจในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ด้วยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง การบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนทางธุรกิจ และการปรับตัวที่ดีเกินคาดต่อวิกฤตพลังงานในยุโรป อย่างไรก็ตาม การเติบโตจะยังคงอ่อนแอ เนื่องจากต้องเจอกับปัญหาเงินเฟ้อและสงครามของรัสเซียในยูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก” ปิแอร์-โอลิเวียร์ กูรินชาส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ IMF กล่าว

    ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของโลกจะลดลง แต่คาดว่าเฉลี่ยแล้วอัตราเงินเฟ้อปี 2023 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6% และลดลงเหลือ 4.3% ในปี 2024 ซึ่ง IMF คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกของปี 2024 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.1%

    Source

    ]]>
    1417300
    “จีนเปิดประเทศ” ข่าวดีต่อเศรษฐกิจโลก Goldman Sachs วิเคราะห์ “ไทย” ได้ประโยชน์สูง https://positioningmag.com/1414182 Wed, 28 Dec 2022 05:18:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414182 นักวิเคราะห์มอง “จีนเปิดประเทศ” ผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก จากการช่วยลดคอขวดซัพพลายเชนการผลิตสินค้า โดย Goldman Sachs เล็ง “เศรษฐกิจไทย” คือผู้ชนะตัวจริง เพราะเป็นซัพพลายเชนต่อเนื่องจากจีนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของชาวจีนด้วย

    การตัดสินใจเปิดประเทศของจีน ผ่อนคลายกฎการเดินทางเข้าและออกจากประเทศ ทำให้นักวิเคราะห์มีความหวังขึ้นมาว่านี่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยถึงจังหวะชะลอตัวลงบ้าง หลังจากช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ รวมถึงจะเป็นปลดล็อกคอขวดในซัพพลายเชนการผลิตโลก เป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้กับเศรษฐกิจปี 2023

    จีนประกาศเปิดประเทศเริ่มตั้งแต่ 8 มกราคม 2023 โดยผู้ที่เดินทางเข้าประเทศจีนไม่จำเป็นต้องกักตัวอีกต่อไป (จากเดิมต้องกักตัว 8 วัน) ถือเป็นก้าวใหญ่ในการเปิดประเทศจีน แหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ศูนย์รวมการผลิตสินค้า และมีจำนวนประชากรถึง 1,400 ล้านคน

    นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs วาณิชธนกิจสัญชาติอเมริกัน เชื่อว่า แม้ว่าการเปิดประเทศจะยิ่งทำให้ระบบสาธารณสุขจีนตึงเครียดยิ่งขึ้นจากปัจจุบันที่มีจำนวนเคสผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งสูงอยู่แล้ว แต่โดยภาพรวมแล้วการเปิดประเทศจะเป็นผลบวกกับเศรษฐกิจจีน

    การผ่อนคลายให้ชาวจีนเดินทางภายในประเทศได้อิสระ และการท่องเที่ยวขาเข้าเมืองจีนที่จะขยับดีขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า จีดีพีจีนจะโตได้มากกว่า 5% ในปี 2023

    กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ก่อนทันทีคือ สนามบินเซี่ยงไฮ้ คาสิโนในมาเก๊า และ สายการบินสัญชาติจีน ไม่ว่าจะทำการบินในประเทศหรือต่างประเทศ

    รวมถึงเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เช่น “ประเทศไทย” จะเป็นผู้ชนะตัวจริงในการเปิดประเทศจีน เพราะไทยเป็นส่วนสำคัญในซัพพลายเชนการผลิตโลกซึ่งเชื่อมต่อกับจีน รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

    การเปิดประเทศจีนจะทำให้ “ไทย” ได้อานิสงส์เต็มๆ

    ข้อมูลจาก Ctrip แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวของจีนระบุว่า ทันทีที่รัฐบาลจีนประกาศเปิดประเทศ การค้นหาทริปเดินทางต่างประเทศก็พุ่งขึ้นทันที 10 เท่าภายในเวลาครึ่งชั่วโมง และประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ที่คนจีนสนใจเดินทางมา รองจากประเทศญี่ปุ่น

    ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นระบุแล้วว่า จะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากนักท่องเที่ยวจีนก่อนเข้าประเทศ และหากพบเชื้อเป็นบวกจะต้องกักตัวไว้ก่อน มาตรการคัดกรองนักท่องเที่ยวจีนของญี่ปุ่นนี้น่าจะเป็นบวกต่อไทย เพราะรัฐไทยยืนยันว่าจะใช้มาตรการต่อนักท่องเที่ยวจีนแบบเดียวกับทุกชาติที่เดินทางเข้ามา คือไม่มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือขอเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

    ในแง่ของซัพพลายเชนโลกที่เคยปั่นป่วนมาตลอดเพราะมาตรการจัดการโควิด-19 ของจีน ทำให้การส่งมอบสินค้าตั้งแต่ iPhone ไปจนถึงรถยนต์ดีเลย์ไปมาก เมื่อจีนจะผ่อนคลายมาตรการเหล่านี้แล้ว ทำให้มุมมองต่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้นไปด้วย

    จากการสำรวจกลุ่มผู้จัดการกองทุน สำรวจโดย Bank of America (BofA) พบว่า ผู้จัดการกองทุนเริ่มจะมองเศรษฐกิจโลกดีขึ้นเพราะข่าวนี้ จากเมื่อเดือนก่อนมีถึง 73% ที่คิดว่าเศรษฐกิจโลกปีหน้าจะย่ำแย่ลง ขณะนี้ลดเหลือ 69% ที่ยังคิดแบบเดิม

    “การประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะดีขึ้นกว่าที่คาดนั้น น่าจะเกิดจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ดูจะดีขึ้นมาบ้างแล้ว” BofA กล่าว

    ข่าวดีของจีนส่งผลดีกับตลาดทุนแล้ว โดยตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ขยับขึ้นมา 1% ส่วนดัชนี CSI 300 ดัชนีรวมหุ้นบริษัทใหญ่ที่สุดของจีน 300 แห่ง ปรับขึ้นมาแล้ว 1.15%

    Source

    ]]>
    1414182
    ‘IMF’ ชี้ ‘สงครามยูเครน’ เป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดเพียง ‘ปัจจัยเดียว’ ทำเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้! https://positioningmag.com/1408884 Thu, 17 Nov 2022 14:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408884 ถือเป็นปีที่มีแต่ซีอีโอบริษัทใหญ่ ๆ ออกมาพูดถึงภาวะ ‘เศรษฐกิจถดถอย’ ทั่วโลก เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งทาง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ออกมาจวก รัสเซีย โดยระบุว่า สงครามกับยูเครนเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ และอาจลากไปถึงปีหน้า

    คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการของ IMF กล่าวว่า สงครามในยูเครนเป็น ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดเพียงปัจจัยเดียว สำหรับเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และเป็นไปได้มากว่าจะกลายไปเป็นปัญหาในปี 2566 ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก, ค่าครองชีพที่สูงขึ้น, ความมั่นคงด้านอาหาร และพลังงาน

    “เราตัดสินว่าสงครามในยูเครนเป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดเพียงปัจจัยเดียวสำหรับเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และเป็นไปได้มากว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในปีหน้าด้วย เพราะสิ่งใดก็ตามที่สร้างความวิตกกังวลมากขึ้นย่อมสร้างความเสียหายต่อโอกาสในการเติบโต”

    คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการของ IMF

    ก่อนหน้านี้ IMF ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการกระจายตัวของเศรษฐกิจโลกอันเป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และลดการคาดการณ์การเติบโตในปี 2566 ลงเหลือ 2.7% จากที่จะเดิมที่คาดไว้ว่าจะเติบโต 3.2% พร้อมกับระบุว่า อัตราการเติบโตดังกล่าวนับเป็นการเติบโตที่ อ่อนแอที่สุด นับตั้งแต่ปี 2544 หากไม่นับวิกฤตการเงินโลกและการระบาดของ COVID-19

    “เนื่องจากสงครามในยูเครนและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกหยุดชะงัด และสร้างความเสียหายต่อการเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยิ่งกระทบหนักในประเทศที่กำลังพัฒนา”

    IMF ย้ำว่า หากโลกไม่ต้องการที่จะสูญเสียเงินระหว่าง 1.4 – 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เพราะผลกระทบจากสงคราม ลองนึกดูว่าจะสามารถทำอะไรกับเงินจำนวนนี้ได้บ้าง

    Source

    ]]>
    1408884
    จัดพอร์ตการลงทุนในปี 2566 ยังไง ในสภาวะตลาดการเงินยังไม่เป็นใจ https://positioningmag.com/1407144 Fri, 11 Nov 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407144

    อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ตลาดการเงินทั่วโลกส่วนใหญ่ได้ให้ผลตอบแทนได้ไม่ประทับใจนักลงทุนมากเท่าไหร่นัก เนื่องจากปัจจัยลบได้สร้างผลกระทบต่อนักลงทุนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง การบุกยูเครนโดยรัสเซีย นอกจากนี้ในปี 2566 ยังมีปัจจัยบวกและลบหลายเรื่องที่นักลงทุนอาจมองข้ามไป

    เดอะวิสดอมกสิกรไทย จึงได้มีการจัดการสัมมนาที่มีชื่อว่THE WISDOM Investment Forum : Wealth in Challenging World ‘เดินหน้าฝ่ามรสุม คว้าความมั่งคั่ง’ เพื่อให้ลูกค้าสามารถได้ข้อมูลและมุมมองการลงทุนที่ลึกซึ้ง หลายประเด็นการลงทุนในงานสัมมนานั้นไม่สามารถมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะความเสี่ยงต่างๆ

    Positioning ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจของสัมมนาดังกล่าวมา ดังนี้


    แบงก์ชาติยังมองเศรษฐกิจไทยยังไปต่อได้ แม้อุปสรรคจะท้าทายก็ตาม

     ดร. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงมุมมองเศรษฐกิจโลก หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ลง 4 ครั้งด้วยกัน สะท้อนว่าภาพเศรษฐกิจโลกนั้นอึมครึมมากขึ้นในช่วงหลังจากนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศพัฒนาแล้วมีเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวสูงมาก เศรษฐกิจเติบโตร้อนแรง ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมา

    ขณะเดียวกันหลายประเทศในยุโรปก็ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน เนื่องจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ อย่างกรณีของรัสเซียบุกยูเครน ส่งผลทำให้เงินเฟ้อนั้นสูงขึ้นไปอีก ทางด้านเศรษฐกิจจีนนั้นคาดว่าน่าจะโตไม่ถึง 5.5% ตามเป้า เนื่องจากปัญหาหลายๆ เรื่อง เช่นนโยบายโควิดเป็นศูนย์ หรือแม้แต่ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ดร. ชญาวดี ชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตแค่ 2.7% และมองว่ามีโอกาส 25% ที่เศรษฐกิจอาจโตไม่ถึงคาดการณ์ด้วยซ้ำ

    ผลดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่น้อยเช่นกัน แต่ประเทศกำลังพัฒนา (EM) นั้นน่าจะยังเติบโตใช้ได้ ยกเว้นกลุ่มที่ส่งออกสินค้าเป็นหลักอย่าง เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ไต้หวัน ขณะเดียวกันไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FDI ที่เข้ามาในประเทศไทย

    ค่าเงินบาทของไทย ดร. ชญาวดี มองว่าเคลื่อนไหวตามปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัจจัยที่ธนาคารกลางสหรัฐนั้นประกาศขึ้นดอกเบี้ย จนกว่าจะชะลอขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งตลาดคาดว่าน่าจะอยู่ในไตรมาส 1-2 ของปี 2566 ซึ่งถ้าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าน้อยลง ความผันผวนของค่าเงินบาทหลังจากนี้น่าจะลดลง แต่ความผันผวนนั้นยังไม่หายไปสิ่งที่ต้องจับตามองว่าค่าเงินบาทจะผันผวนหรือไม่คือเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ถ้าหากผันผวนรวดเร็วเกินไปอาจกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามที่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนของไทยผันผวนมากเกินไป

    ความเสี่ยงของประเทศไทยที่ ดร. ชญาวดี มองไว้คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับมาที่ไทย ถ้าหากมาจำนวนมากก็จะทำให้เศรษฐกิจดี แต่ถ้าหากกลับมาไม่พอก็อาจกระทบเช่นกัน รวมถึงเรื่องของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคการเงินที่ผันผวน

    เธอได้แนะนำภาคธุรกิจในเรื่องการกระจายความเสี่ยง การสร้างกำแพงป้องกัน รวมถึงสายป่านที่ยาวนั้นช่วยภาคธุรกิจได้ การลดภาระหนี้ รวมถึงประกันความเสี่ยง จะทำให้ธุรกิจไทยสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดว่า GDP ของไทยปีนี้จะเติบโต 3.3% และปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 3.8%


    หลักทรัพย์กสิกรไทยชี้หุ้นไทย จีน หุ้นเทคฯ สหรัฐอเมริกา ยังเหมาะแก่การลงทุน

    คุณสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย ได้ชี้ถึงความผันผวนของตลาดทุนทั่วโลก เกิดจากการไถ่บาปทางเศรษฐกิจ จากปัญหาของเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น

    เขาได้ชี้ว่าเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกากับเงินเฟ้อในประเทศอื่นๆ นั้นไม่เหมือนกัน โดยอสังหาในสหรัฐนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ถ้าหากภาคอสังหาชะลอตัวลงมา เงินเฟ้อก็จะชะลอตัวลงมา ขณะที่ประเทศอื่นๆ เงินเฟ้อนั้นเกิดจากราคาพลังงานและอาหาร

    ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมาเขาชี้ว่าการจ้างงานในสหรัฐฯ มีการชะลอตัวมากขึ้น และหลายตัวเลขทางเศรษฐกิจนั้นชี้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลง เป็นเหตุผลทำให้เขามองว่าเป็นช่วงเวลาที่เห็นว่าเงินเฟ้อนั้นทำจุดสูงสุดแล้ว

    สำหรับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีน คุณสรพลมองว่าความผันผวนในตลาดหุ้นจีนที่เกิดขึ้นมาจากแรงเทขายของนักลงทุนชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนโปลิตบูโร 7 คนของจีนนั้นเป็นการรวบอำนาจของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง แม้ว่ายังไม่มีการพูดถึงนโยบายเศรษฐกิจจีนในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เท่าไหร่ แต่คุณสรพลมองว่านี่เป็นโอกาสในการลงทุน หลังจากนี้ในช่วงปลายปีจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา นอกจากนี้จีนยังมี Valuation ที่ถูก และจีนยังมีโอกาสที่เปิดประเทศด้วย

    ส่วนความอึมครึมของเศรษฐกิจ เกิดขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อสูงขึ้น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจลดลง คาดว่าปีหน้าเงินเฟ้อจะลดลงแรงมาก ควรจะลงทุนในประเทศที่เงินเฟ้อเกิดจาก Supply เช่น ในประเทศไทย

    คำแนะนำคือถ้าสัดส่วนการลงทุน 60% ควรจะลงทุนในหุ้นไทยไปก่อน 30% ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ขณะที่ตลาดต่างประเทศคือจีนกับสหรัฐฯ สัดส่วนรวมกัน 30% หุ้นจีนควรลงทุนใน A-Share และซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐ และหลังจากนี้ควรดูว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index) จะขึ้นไปถึงจุดพีคเท่าไหร่ ถ้าพีคแล้ว เงินอาจไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ แทน

    ข้อมูลจากฮั่วเซ่งเฮง


    ทองคำถ้าหลุด 1,600 ดอลลาร์ อาจเข้าซื้อได้

    คุณธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮั่วเซ่งเฮง ได้ชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ทองคำได้ทำราคาสูงสุดไปแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านคือค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ากลับกดดันราคาทองคำ เขามองว่าในช่วงปี 2566 น่าจะเริ่มเห็นเม็ดเงินไหลเข้ามาซื้อทองคำได้ เนื่องจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าขึ้น แม้ว่าในปี 2566 ตลาดทองคำจะไม่หวือหวาก็ตาม

    ขณะที่ปัญหาของจีน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮั่วเซ่งเฮงมองว่า หลังจากนี้นโยบายจะเน้นเรื่องของความมั่นคงมากกว่าเศรษฐกิจ และถ้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงก็จะทำให้ความต้องการทองคำลดลง แต่ถ้ามองระยะถัดไปแล้ว ถ้านโยบายเศรษฐกิจจีนทำให้ประชาชนจีนเป็นชนชั้นกลางมากขึ้นก็จะทำให้การบริโภคทองคำมากขึ้นด้วยเช่นกัน

    นอกจากนี้ปัจจัยในการขับเคลื่อนทองคำนั้นยังคงเหมือนเดิมในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลลาร์ หรือแม้แต่การบริโภคทองคำของชาวจีน เขามองว่าเงินบาทที่อ่อนค่าทำให้ราคาทองคำยังไปต่อได้

    หลังจากนี้คุณธนรัชต์แนะนำให้จับตาการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำนั้นสูงมากขึ้นได้ เนื่องจาก Dollar Index อ่อนค่าลงมา และถ้าราคาทองคำหลุด 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็อาจเริ่มเข้าซื้อทองคำได้

    ข้อมูลจากคุณพิริยะ สัมพันธารักษ์


    Bitcoin ถ้าหากราคาตกลงมามากๆ อาจเริ่มเก็บสะสมได้

    คุณพิริยะ สัมพันธารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฉลกดอทคอม จำกัด ได้กล่าวถึงสินทรัพย์ดิจิทัล กับกลไกลทางการเงิน เขามองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลต้องใช้เวลาเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะ Bitcoin อย่างไรก็ดีเขากลับมองว่า Bitcoin ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีความปลอดภัย แต่เขามองว่า Bitcoin นั้นมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากการพิมพ์เงินดอลลาร์ที่มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลทำให้ Bitcoin เหมือนเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อ

    เขายังชี้ว่าทุกสินทรัพย์ไม่เว้นแต่ Bitcoin นั้นสัมพันธ์กับปริมาณเงิน เมื่อเวลาผ่านไปทุกสินทรัพย์นั้นเอาไว้ป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นสูงมาก แต่สำหรับปัญหา ตอนนี้คือเรื่องของสภาพคล่อง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดแรงเทขายออกมา

    ขณะที่เรื่องความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ คุณพิริยะมองว่าปลายยุคสมัยของมหาอำนาจหนึ่ง จะมีอีกมหาอำนาจหนึ่งมาท้าทายอำนาจกัน เช่น สหรัฐอเมริกากับจีน ขณะเดียวกันหลายๆ ประเทศเองก็พยายามที่จะบาลานซ์อำนาจดังกล่าว เรื่องสำคัญที่เขามองคือเรื่องสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ในช่วงบั้นปลายแล้ว ขณะที่ Bitcoin ก็เกิดขึ้นในช่วงบั้นปลายของดอลลาร์สหรัฐ เหมือนกับช่วง The Great Reset ในการหา Global Reserve Currency และหลายธนาคารกลางกำลังเลือกทางนั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อทองคำเป็นทุนสำรอง เป็นต้น

    สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล คุณพิริยะมองว่าการใช้งานของ Bitcoin เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินของหลายๆ ประเทศล่มสลาย ถ้าหากมามองสินทรัพย์อย่าง Bitcoin ล่าสุดราคาลงมาจากจุดสูงสุดราวๆ 70% แต่ถ้ามอง Cycle รอบละ 4 ปี นั้นมาจากการลดการผลิตลง เขามองว่าราคาของ Bitcoin จะลดลงครั้งใหญ่ๆ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจได้เห็นกรณีที่แย่สุดอาจเหลือราคาราวๆ 10,000 ดอลลาร์ต่อ 1 BTC ถ้าหากไม่ได้เป็นนักลงทุนระยะสั้นมากๆ ก็ถือว่าช่วงนี้เริ่มเก็บสะสมได้แล้ว

    ]]>
    1407144
    ‘IMF’ คาดการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะ ‘ลดลง 4 ล้านล้านดอลลาร์’ ในช่วง 4 ปีจากนี้ https://positioningmag.com/1403756 Sun, 09 Oct 2022 06:19:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403756 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาสภาพอากาศที่เลวร้าย ทุกสาเหตุส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และทำให้วิกฤตอื่น ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ระดับหนี้ที่สูงขึ้นของประเทศที่มีรายได้ต่ำ

    Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า IMF กำลังลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกของปี 2023 อีกครั้ง โดยคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจะลดลง 4 ล้านล้านดอลลาร์จนถึงปี 2026

    “สิ่งต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะแย่ลงก่อนที่จะดีขึ้น โดยเฉพาะการรุกรานยูเครนของรัสเซียซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ได้เปลี่ยนมุมมองต่อเศรษฐกิจของ IMF ไปอย่างมาก ส่งผลให้ความเสี่ยงจากภาวะถดถอยกำลังเพิ่มสูงขึ้น”

    Georgieva กล่าวว่า IMF ประมาณการว่าประเทศต่าง ๆ ที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกจะเห็นการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ไตรมาสติดต่อกันในปีนี้หรือปีหน้า และเสริมว่าสถาบันได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทั่วโลกไปแล้ว 3 ครั้ง ตอนนี้คาดว่า -3.2% ในปี 2022 และ 2.9% ในปี 2023

    ทั้งนี้ การคาดการณ์ของ IMF ที่เยือกเย็นเกิดขึ้นในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยหวังว่าจะสามารถบรรเทาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นได้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถือเป็นกลุ่มที่ใช้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือลดอัตราเงินเฟ้อ และธนาคารกลางจากเอเชียไปยังอังกฤษได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ รวมถึงการที่ OPEC+ ตัดสินใจลดการผลิตน้ำมันลง เพื่อพยุงราคาน้ำมันที่ตกต่ำ

    ]]>
    1403756
    ซีอีโอ ‘FedEx’ ชี้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ ‘ถดถอย’ ทั่วโลก หลังยอดขนส่งบริษัทลดลงต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1400419 Fri, 16 Sep 2022 02:43:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400419 ราจ สุบรามาเนียม (Raj Subramaniam) ซีอีโอของ เฟดเอ็กซ์ (FedEx) ได้ออกมาคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจโลกว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยประเมินจากยอดจัดส่งสินค้าทั่วโลกที่ชะลอตัวลง

    การประเมินเศรษฐกิจโลกของ ซีอีโอ FedEx เกิดขึ้นหลังจากที่รายได้ของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ในไตรมาสแรก พร้อมกันนี้บริษัทยังได้ปรับคาดการณ์รายได้ทั้งปีที่เคยให้ไว้เมื่อ 3 เดือนก่อน โดยระบุว่า อุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และมีแนวโน้มแย่ลงในไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน

    ผมคิดว่าเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย” ราจ ย้ำ

    หลังจากเฟดเอ็กซ์เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงรายงานรายรับและกำไรสำหรับไตรมาสแรกสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค. ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลให้หุ้นของบริษัทร่วงลงมากกว่า 15% โดยราจระบุว่า ปริมาณการจัดส่งทั่วโลกที่ลดลงทำให้เฟดเอ็กซ์ประสบผลที่น่าผิดหวัง ในขณะที่บริษัทเคยคาดการณ์ว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่โรงงานในจีนกลับมาเปิดทำการหลังจากปิดไปเพราะ COVID-19 แต่กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่คาดไว้

    “ผมผิดหวังมากกับผลลัพธ์ที่เราเพิ่งประกาศ เนื่องจากสถานการณ์ระดับมหภาคที่เรากำลังเผชิญอยู่ เราเห็นปริมาณการขนส่งลดลงในทุกเซกเมนต์ทั่วโลกทุกสัปดาห์นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ดังนั้นเราจึงถือว่า ณ จุดนี้สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก

    เขาทิ้งท้ายว่า ธุรกิจขนส่งเป็นภาพสะท้อนของธุรกิจของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงในโลก

    Source

    ]]>
    1400419
    ‘อีลอน มัสก์’ ประเมินเศรษฐกิจจะถดถอยยาว 18 เดือน แต่ไม่หนักเพราะผ่านจุดนั้นไปแล้ว https://positioningmag.com/1395283 Fri, 05 Aug 2022 13:41:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395283 ในการประชุมผู้ถือหุ้นของ เทสลา (Tesla) และ SpaceX โดยซีอีโอของทั้ง 2 บริษัทอย่าง อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ออกมาเปิดเผยถึงทิศทางของบริษัท พร้อมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะยังแย่ยาวไปอีก 18 เดือน แต่จะไม่หนักมาก

    อีลอน มัสก์ มองว่า เศรษฐกิจโลกได้ผ่านช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูงสุดไปแล้ว ดังนั้น มีแนวโน้มที่จะเห็นภาวะถดถอยแต่จะไม่รุนแรงซึ่งกินเวลาประมาณ 18 เดือน และในส่วนของราคาวัสดุและสินค้าที่จำเป็นสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มัสก์เพียงแต่ระบุว่าเขาได้รับข้อมูลเชิงลึกมาพอสมควรว่าราคาวัสดุต่าง ๆ จะเป็นอย่างไรในอนาคต

    นอกจากนี้ มัสก์ได้ตอบคำถามถึงแผนการใช้เงินทุนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเขาระบุว่า เทสล่าจะเพิ่มรายจ่ายฝ่ายทุนเป็นหลัก และจะเน้นใช้งบกับการวิจัยและพัฒนา รวมถึงมีโอกาสที่จะ ซื้อคืนหุ้น แต่ขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัท

    ในส่วนของแผนการผลิตรถยนต์ มัสก์ก็ได้ระบุว่า ภายในปี 2573 เขาตั้งเป้าที่จะผลิตรถให้ได้ 20 ล้านคันต่อปี จากโรงงานทั้งหมด 12 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีกำลังผลิตที่ 1.5-2 ล้านคันต่อปี โดยปัจจุบันโรงงานประกอบรถยนต์ของเทสล่ามีอยู่ในเซี่ยงไฮ้, ฟรีมอนต์ แคลิฟอร์เนีย, ออสติน เท็กซัส, และนอกกรุงเบอร์ลินในประเทศเยอรมนี และจะประกาศตั้งโรงงานใหม่ในช่วงปลายปีนี้ นอกจากนี้ยังผลิตแบตเตอรี่ที่โรงงานในเมืองสปาร์กส์ รัฐเนวาดา ซึ่งทำงานร่วมกับพานาโซนิค

    Source

    ]]>
    1395283