Savills บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ Bernstein วาณิชธนกิจจากสหรัฐอเมริกา รวบรวมข้อมูลว่านับตั้งแต่ปี 2023 ที่ผ่านมาเหล่าแบรนด์หรูได้ทุ่มเงินรวมกันมากกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ถ้าหากนับเฉพาะปี 2023 ที่ผ่านมาแบรนด์หรูหลายแบรนด์ได้ปิดดีลทั้งซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์รวมกันเกิน 6,500 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าสูงกว่าปี 2022 ถึงราวๆ 6.5 เท่าด้วยกัน
แม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องของสถานการณ์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (CRE) ซึ่งหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่าอาจเป็นจุดเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ แต่แบรนด์หรูหลายแบรนด์เองยังได้เจรจากับเจ้าของ อสังหาฯ เหล่านี้เพื่อที่จะจับจองพื้นที่ที่ดีที่สุดทั้งในนิวยอร์ก หรือแม้แต่พื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ปารีส หรือแม้แต่ในเมืองมุมไบ ในประเทศอินเดีย
แบรนด์หรูไม่ว่าจะเป็น Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Gucci ได้ทุ่มทุนมากถึง 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในละแวกที่ดีที่สุดในเมืองมิลานอย่าง Via Montenapoleone ซึ่งเป็นโซนรวมร้านแบรนด์หรูที่นักท่องเที่ยวรู้จัก ซึ่งก่อนหน้านี้แบรนด์ลูกอย่าง Saint Laurent เป็นหนึ่งในผู้เช่าละแวกนี้ด้วยเช่นกัน
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา Kering ได้อสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอกร์กมาแล้ว ด้วยดีลมูลค่ามากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่คู่แข่งรายสำคัญอย่าง LVMH หรือ Chanel เองก็ได้ไล่ล่าหาอสังหาริมทรัพย์พื้นที่ที่ดีที่สุดในเมืองดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ไม่เพียงเท่านี้มากกว่า 1 ใน 3 ของร้านค้าที่เช่าตามเมืองต่างๆ ของสหรัฐอเมริกานั้นได้เป็นของแบรนด์หรูไม่ว่าจะเป็น Dior ที่เปิดร้านตามเมือง Orlando และ Detroit รวมถึง Austin ขณะที่ Alexander McQueen ได้เปิดร้านค้าใหม่ตามเมือง Atlanta และ Boston เป็นต้น
นอกจากนี้ร้านค้าที่เช่าพื้นที่ใหม่ บางแห่งเองยังมีการเปิดโซนพิเศษเพื่อเอาใจลูกค้าระดับ VIP ที่มีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ไว้สามารถจับจ่ายซื้อสินค้าแบรนด์หรูแบบเป็นส่วนตัว ไม่ต้องปะปนกับลูกค้าทั่วไปด้วยซ้ำ
แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยยังสูง แต่แบรนด์หรูเหล่านี้กลับไม่สะทกสะท้านกับการไล่ซื้อหรือแม้แต่เช่าอสังหาริมทรัพย์ด้วยซ้ำ เนื่องจากตัวเลขล่าสุดโดยเฉลี่ย ค่าเช่าสถานที่หรือแม้แต่การลงทุนในเรื่องร้านค้านั้นคิดเป็น 9% ของยอดขายของแบรนด์หรูเหล่านี้ด้วยซ้ำ
ที่มา – Wall Street Journal, Business Insider, Forbes
]]>สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า อินเดียกำลังจะกลายเป็นตลาดสำคัญของเหล่าแบรนด์หรูทั่วโลก ซึ่งแต่ละแบรนด์ยอมจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์บริเวณที่ดีที่สุด เพื่อที่จะเจาะเหล่าเศรษฐีที่มีกำลังซื้อ หลังจากหลายแบรนด์เองเริ่มที่จะเจาะตลาดในกลุ่มประเทศใหม่ๆ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Hermes ไปจนถึงแบรนด์รองเท้าหรูอย่าง Christian Louboutin รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ได้ตั้งสาขาขึ้นในเมืองมุมไบ โดยแบรนด์เหล่านี้ยินดีจ่ายค่าเช่าในย่านที่ดีที่สุดของเมืองจนทำให้ค่าเช่าต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากราว 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 7,250 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร
จากรายงานของ Knight Frank คาดการณ์ว่าชาวอินเดียที่มีทรัพย์สินเกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นคาดว่าจะมีมากถึง 1.66 ล้านคนภายในปี 2027 ขณะที่เศรษฐีที่มีสินทรัพย์เกิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐของอินเดียเพิ่มมากขึ้นถึง 60% ในปี 2022 ที่ผ่านมา
อีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงให้เห็นการให้ความสำคัญของตลาดในอินเดีย คือ แฟชั่นโชว์ของ Dior ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งแบรนด์หรูรายนี้ได้เลือกสัญลักษณ์อย่าง Gateway of India ในเมืองมุมไบเป็นฉากหลังของโชว์ หรือแม้แต่คอลเลกชันของเสื้อผ้าในงานได้โชว์ศิลปะการเย็บปักถักร้อยแบบอินเดียเอาไว้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการใช้เอกลักษณ์ดังกล่าวเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าในแดนภาระตะนี้ด้วย
สิ่งดังกล่าวหลายแบรนด์ทำไปเพื่อจะเจาะกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อสูงในประเทศอินเดียที่กำลังเติบโต ซึ่งในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา GDP ของอินเดียเติบโตมากถึง 7.8%
ก่อนหน้านี้แบรนด์หรูหลายรายได้เริ่มที่จะเจาะกลุ่มเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาหรือจีนเท่านั้น หลังจากที่รายได้จาก 2 ประเทศดังกล่าวเติบโตลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด หรือแม้แต่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่สภาวะถดถอย
นอกจากนี้ยังรวมถึงแบรนด์ต่างๆ โฟกัสตลาดอินเดียมากขึ้น ตั้งแต่ภาคการผลิต ที่มีการย้ายกำลังการผลิตออกนอกประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีของ Apple และยังมีการเปิดหน้าร้านเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจนทำให้ยอดขาย iPhone ในอินเดียทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามหลัง สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
เมื่อแบรนด์หรูเริ่มให้ความสำคัญกับแดนภาระตะมากขึ้น เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “อินเดีย” คือตลาดสำคัญอีกแห่ง ไม่ใช่ตลาดรองตามหลังประเทศใหญ่ๆ แล้วหลังจากนี้
]]>แรงส่งหลักจากการประกาศผลประกอบการที่ดีร่วมกับการเติบโตของกำลังซื้อในจีน ทำให้หุ้นบริษัท “แบรนด์เนม” หลักๆ อย่าง LVMH, Hermes International และ Kering SA ต่างทำสถิติราคาหุ้นพุ่งเป็นประวัติการณ์ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จนทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มมองหุ้นกลุ่มแฟชั่นเหล่านี้เทียบกับหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ
“เรามองบริษัทลักชัวรีจากยุโรปเหล่านี้เทียบกับหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ในแง่ที่ว่าธุรกิจกลุ่มนี้ต่างไม่มีคู่แข่งในเชิงอิทธิพลต่อการค้าระดับโลก” จิลส์ รอธบาร์ธ ผู้จัดการบริษัทจัดการกองทุน Blackrock European Dynamic Fund กล่าว โดยเขาเห็นว่าบริษัทกลุ่มธุรกิจนี้บางแห่งยังมีอนาคตที่สดใสและน่าดึงดูดใจรออยู่ แม้ว่าราคาจะปรับขึ้นไปแล้วก็ตาม
Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier คือบริษัทลักชัวรียักษ์ใหญ่รายแรกที่รายงานผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 โดยรายได้ของเจ้าของแบรนด์เครื่องเพชรเจ้านี้สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์มาก ระบุเติบโต 5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เจาะลึกในรายได้ของ Richemont พบว่าตลาดที่เติบโตสูงนั้นมาจากเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะ “จีน” ซึ่งเติบโตถึง 80% และตลาดตะวันออกกลางที่เริ่มฟื้น ขณะที่ยุโรปยังติดลบ -20%
สำหรับยักษ์ใหญ่ของตลาดหุ้นยุโรปอย่าง LVMH จะรายงานผลประกอบการพรุ่งนี้ (26 ม.ค. 2021) โดยบริษัทจัดการกองทุน GAM’s Luxury Brands Equity Fund ประเมินว่า LVMH จะทำรายได้ได้ดีมาก เนื่องจากโมเมนตัมการขายของแบรนด์หลักคือ Louis Vuitton และ Dior เป็นไปด้วยดี
สาเหตุที่ขายดีเพราะนักช้อปกระเป๋าหนักต่างไม่สามารถใช้เงินไปกับการท่องเที่ยวและร้านอาหารหรูได้ ผลจากการล็อกดาวน์ ทั้งปิดประเทศและบางประเทศมีการปิดร้านอาหารด้วย ดังนั้น เศรษฐีเหล่านี้จะใช้เงินกับสินค้าลักชัวรีทดแทน และผู้ที่ได้รับอานิสงส์สูงสุดก็คือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
“แบรนด์ดังดูเหมือนจะหยุดไม่อยู่แล้ว” ลูก้า โซลก้า นักวิเคราะห์ที่ Sanford C.Bernstein & Co. กล่าว ที่ผ่านมา การเติบโตหลักของกลุ่มแบรนด์เนมมาจากลูกค้าจีนที่ยอมช้อปภายในประเทศแม้ราคาจะสูงกว่าไปซื้อต่างประเทศ “ของแบรนด์เนมกลายเป็นสิ่งที่ ‘ขาดไม่ได้’ มากกว่าสิ่งที่ ‘ถ้ามีก็ดี’ ไปแล้ว” เขากล่าว
ลูกค้าจีนคือตลาดที่ทุกคนหมายปอง และไม่ใช่แค่กลุ่มเศรษฐียอดพีระมิดเท่านั้น LVMH ที่เพิ่งจบดีลควบรวม Tiffany & Co. สะท้อนให้เห็นเห็นว่าบริษัทกำลังปรับพอร์ต เก็บแบรนด์ที่แข็งแรงที่สุดในกลุ่มลูกค้าระดับกลางไว้กับตัวด้วย เนื่องจากเทรนด์การยกระดับฐานะของชาวจีนยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ชาวจีนที่ปรับฐานะขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางจะทำให้แบรนด์ได้ประโยชน์ส่วนนี้
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่ขึ้นไปสูงทำให้นักวิเคราะห์บางกลุ่มมองว่าควรระวัง เช่น RBC Capital Markets ชี้ว่าราคาหุ้นลักชัวรีขึ้นไปสูงกว่า 40 เท่าของกำไรต่อหุ้นที่คาดการณ์ปีนี้ และเทียบกับ P/E เฉลี่ยช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 23 เท่า เห็นได้ว่าสูงเกินไปมาก
แม้แต่การเปรียบเทียบกับหุ้นยักษ์เทคโนโลยี ราคาหุ้นลักชัวรีก็ยังแพงกว่ามาก เช่น Alphabet Inc. บริษัทแม่ของ Google P/E อยู่ที่ 27 เท่า Apple Inc. P/E 33 เท่า หรือ Facebook Inc. P/E 24 เท่า
ขณะที่นักวิเคราะห์ Deutsch Bank AG ก็ระมัดระวังกับหุ้นลักชัวรีเหมือนกัน จากหุ้นกลุ่มนี้ 13 ตัวที่ติดตามในพอร์ต มีแนะนำซื้อเพียงตัวเดียวคือ Richemont เนื่องจากเห็นว่าการปรับราคาขึ้นสูงมาจาก “การซื้อตามความพึงพอใจโดยไม่ได้ประเมินความเสี่ยงร่วมด้วย”
นักวิเคราะห์บางรายมีมุมมองว่า ปีนี้บางประเทศอาจจะเริ่มเปิดการท่องเที่ยว หรือสามารถนั่งทานอาหารในร้านได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น ผู้บริโภคจะใช้เงินกับการท่องเที่ยวและทานอาหารนอกบ้านมากกว่าการซื้อกระเป๋ารุ่นล่าสุด
ลูกค้าจีนคือแรงผลักสำคัญต่อรายได้-กำไรกลุ่มธุรกิจ “แบรนด์เนม” อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ราคาหุ้นสูงเกินไปหรือไม่และจะขึ้นได้อีกหรือไม่ เป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์พิจารณา
]]>ก่อนจะเกิด COVID-19 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ขอให้ LVMH ให้ชะลอการเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ของ Tiffany & Co. จากปัญหาอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ทำให้ขั้นตอนพิจารณาถึงข้อตกลงในการซื้อกิจการมูลค่า 1.62 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5 แสนล้านบาท) ในราคา 135 เหรียญต่อหุ้น ต้องถูกเบรก หลังจากนั้นพอเกิดวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซีอีโอเครือ LVMH ก็ได้ต่อรองให้ Tiffany & Co. ลดราคา ก่อนจะมีข่าวลือว่า LVMH จะยกเลิกดีล
จากกระแสข่าวลือดังกล่าว ส่งผลให้ Tiffany & Co. ตัดสินใจเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อ LVMH ว่า ‘จงใจหลีกเลี่ยง’ การทำข้อตกลงซื้อกิจการให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับราคาที่เสนอขายกิจการ และความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของ LVMH ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาษี พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล่าสุด Tiffany & Co.ได้ตกลงที่จะยอมรับราคาซื้อที่ต่ำกว่าที่ตกลงไว้จากกลุ่ม LVMH จากเดิม 135 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น เหลือ 131.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ส่งผลให้ดีลนี้มีมูลค่าเหลือ 1.58 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการยุติการทะเลาะวิวาทครั้งใหญ่ของทั้ง 2 แบรนด์
“เราเชื่อมั่นในศักยภาพที่น่าเกรงขามของแบรนด์ Tiffany และเชื่อว่า LVMH เป็นบ้านใหม่ที่เหมาะสมของแบรนด์และพนักงานของบริษัท” เบอร์นาร์ด กล่าว
Luca Solca นักวิเคราะห์วิจัยอาวุโสด้านสินค้าฟุ่มเฟือยของ Bernstein มองว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ LVMH สามารถแข่งขันกับ ‘Richemont’ แบรนด์ขายเครื่องประดับสัญชาติสวิสได้ดีขึ้น แถมยังช่วยให้ LVMH มีบทบาทในสหรัฐอเมริกามากขึ้น
]]>ส่วนในอันดับหนึ่งนั้นตกเป็นของแบรนด์หรูอย่าง หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) ได้ขยับแทนที่ “แอปเปิล” เป็นแบรนด์ชั้นนำสำหรับของขวัญในหมู่บุคคลที่มีรายได้สูง ทั้งในหมู่ทั้งชายและหญิง
แบรนด์เหล่านี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดภายในประเทศจีน แม้ว่าการบริโภคฟุ่มเฟือยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในต่างประเทศ
“ในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวจีนเป็นผู้ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 35% ของการบริโภคฟุ่มเฟือยทั่วโลกซึ่งเกินกว่าชาวอเมริกันและชาวยุโรป” รูเพิร์ต ฮูโฮเดอฟฟ์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้านักวิจัยของ Hurun Report กล่าว
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ยังคงเป็นตัวเลือกแรกสำหรับของขวัญของผู้ชายที่ได้รับ และสัดส่วนก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นาฬิกาและไวน์เป็นตัวเลือกที่สองและสาม โดยแบรนด์ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้ชาย คือ หลุยส์วิตตอง, แอปเปิล และชาแนล
ของขวัญที่ได้รับความนิยมสูงสุดสามอันดับแรกของผู้หญิงยังคงเป็นเครื่องสำอาง เครื่องประดับและเครื่องตกแต่งเสริม อันดับแรกคือ หลุยส์ วิตตอง, บุลการี และชาแนล
ผู้มีสินทรัพย์สุทธิระดับสูงของจีนเดินทางไปต่างประเทศสามครั้งต่อปี ในขณะที่บุคคลที่มีมูลค่าสุทธิสูงเป็นพิเศษด้วยสินทรัพย์สุทธิที่หรือสูงกว่า $ 30 ล้าน เดินทางไปต่างประเทศสี่ครั้งต่อปี ซานย่า ทางใต้ของจีน และญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของผู้มีรายได้สูง
คนจีนที่มีสินทรัพย์รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 46 ล้านหยวน ประมาณ 484 คน มีส่วนร่วมในการสำรวจและ 51 ในนั้นเป็นบุคคลที่มีสินทรัพย์สุทธิสูงกว่า 100 ล้านหยวน
ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 55 และเพศหญิงร้อยละ 45 มีอายุเฉลี่ย 36 ปี โดยร้อยละ 28 เป็นโสด และสมรสแล้วร้อยละ 65 มีบุตรสองคนโดยเฉลี่ย มีบ้านโดยเฉลี่ยสี่หลังและแหล่งที่มาหลักของความมั่งคั่งคือ การลงทุน ค่าแรงและเงินปันผล
ปีนี้เป็นปีที่ 16 ที่สถาบันวิจัย Hurun ทำสำรวจผู้บริโภคสินค้าหรูของจีน มีเป้าหมายที่จะเปิดเผยและอธิบายการเปลี่ยนแปลงและความพึงพอใจในแง่ของวิถีชีวิตนิสัยการบริโภคและการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มประชากรที่มีสินทรัพย์มูลค่าสูงของจีน
]]>Zen Sneakers คอลเลกชั่นใหม่จาก Balenciaga ออกแบบมาตรงข้ามกับสไตล์ Dad Shoes โดยสิ้นเชิง รองเท้าคอลเลกชั่นนี้มีรูปแบบคล้ายกับรองเท้ากีฬาฟุตบอล กอล์ฟ หรือรองเท้าโบว์ลิ่ง ลักษณะรองเท้าแบบเพรียวบางปลายแหลม แต่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ใช่หนัง
ก่อนที่จะมี Zen Sneakers ที่เปิดตัวสดๆ ร้อนๆ นี้ รองเท้าทรง Dad Shoes เป็นปรากฏการณ์ของวงการสตรีทแฟชั่นระดับลักชัวรีในช่วงปี 2015 จนถึงปัจจุบัน บรรดาแบรนด์ไฮเอนด์อย่าง Balenciaga, Dior หรือ Lanvin ต่างออกคอลเลกชั่นรองเท้าทรงพื้นหนาแบบนี้กันทั้งนั้น
รองเท้าทรงคุณพ่อเริ่มมีให้เห็นบนรันเวย์ตั้งแต่ปี 2014 แต่มาบูมจริงๆ เมื่อดีไซเนอร์ Raf Simons ร่วมกับ Adidas ผลิตรองเท้ารุ่น Ozweego ราคา 300 เหรียญสหรัฐ ซึ่งขายหมดภายใน 5 นาที ตามด้วยแบรนด์ Vetements x Reebok ออกรองเท้าทรงเดียวกันช่วงปี 2017 ทำให้รองเท้าทรงคุณพ่อที่เคยโด่งดังเมื่อ 30 ปีก่อนคืนชีพสู่วงการแฟชั่น
พอมาถึงปี 2018 คีย์เวิร์ด ‘Dad Shoes’ และ ‘Dad Sneakers’ บน Google สูงขึ้นอย่างชัดเจน และบนแพลตฟอร์ม Pinterest สองคำนี้ถูกใช้ค้นหามากขึ้นถึง 730% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ด้วยกระแสที่มาแรง แบรนด์ห้องเสื้อไฮเอนด์จึงต้องลงมาเล่นสตรีทแฟชั่นกับเขาด้วย ยกตัวอย่างเช่น Gucci ออกรองเท้ารุ่น Rhyton สนนราคา 890 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ Louis Vuitton ออกรองเท้า Archlight ราคาสูงถึง 1,090 เหรียญสหรัฐ ส่วน Balenciaga ออกรุ่น Triple S Trainers ราคา 895 เหรียญสหรัฐ และกลายเป็นหนึ่งในสินค้าขายดีที่สุดของแบรนด์
“สนีกเกอร์จากฝีมือดีไซเนอร์ชื่อดังเหล่านี้เปรียบเสมือนกระเป๋า ‘It-Bag’ ในเวอร์ชั่นผู้ชาย” Damian Paul หัวหน้าฝ่ายเครื่องแต่งกายชายจาก MatchesFashion กล่าวเปรียบเทียบ โดย It-Bag นั้นหมายถึงกระเป๋าหรูของผู้หญิงอย่างแบรนด์ Chanel, Hermes หรือ Louis Vuitton ที่ไม่ได้เป็นแค่แฟชั่นแต่เป็นกระเป๋าแสดงฐานะที่ต้องมีไว้ครอบครอง
แต่กระแสแฟชั่นนี้อาจจะเปลี่ยนไปในไม่ช้า โดย Virgil Abloh ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Off-White และผู้อำนวยการงานสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายชายที่ Louis Vuitton มองว่าสตรีทแฟชั่นกำลังจะร่วงโรย
“ในความคิดของผมคือ คนเราจะมีเสื้อยืดได้อีกกี่ตัว มีเสื้อหนาวได้กี่ตัว มีสนีกเกอร์ได้กี่คู่กัน?” Abloh กล่าวกับนิตยสาร Dazed
เมื่อสิ่งหนึ่งตกสมัย ก็มีสิ่งใหม่ที่ขึ้นมาแทนที่ Balenciaga หนึ่งในแบรนด์ผู้นำเทรนด์ Dad Shoes หันสู่ทิศทางใหม่ด้วยการออกสนีกเกอร์คอลเลกชั่น Zen ราคา 550 เหรียญสหรัฐ โดยแบรนด์ระบุว่า รูปทรงรองเท้าคอลเลกชั่นนี้ได้แรงบันดาลใจจากนักกีฬา ผสมผสานกันระหว่างนักฟุตบอลและศิลปะการป้องกันตัว ออกแบบรูปร่างเพรียวบาง โค้งมน ซ่อนเชือกรองเท้า ใช้สีแบบโมโนโครมและสีพื้นฐานต่างๆ
Business Insider รายงานว่า ยอดขายในตลาดเครื่องแต่งกายสไตล์กีฬาจะเติบโตขึ้นจนแตะมูลค่า 2.317 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2024 และดูเหมือนว่าแบรนด์ลักชัวรีต่างพยายามจะทำเงินจากตลาดนี้ให้ได้มากที่สุดก่อนที่กระแสจะเปลี่ยนทิศทาง โดยช่วงนี้เทรนด์ได้เปลี่ยนจากแนวสตรีทคูลๆ มาเป็นสไตล์นักกีฬามากขึ้น
นอกจาก Balenciaga ยังมี Puma ร่วมกับ Balmain ที่ออกคอลเลกชั่นเสื้อผ้าและรองเท้าโดยได้แรงบันดาลใจจาก “นักมวย” ตัวรองเท้าใช้ชื่อรุ่นว่า RUNNER โดยแบรนด์อธิบายการออกแบบว่าเป็นการนำรูปแบบของรองเท้ากีฬามาปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการสวมใส่
ต้องติดตามกันต่อว่า สนีกเกอร์ทรงเพรียวบางปลายแหลมนี้จะมาแทนที่รองเท้าทรงหนาเตอะแบบเดิม หรือว่า “สนีกเกอร์” จะกลายเป็นของ “ล้าสมัย” ไปเลยในทศวรรษนี้?
]]>ฮ่องกงเป็นพื้นที่ติดอันดับ 1 ใน 5 จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของนักช้อปที่ชื่นชอบสินค้าหรูหรา เพราะแบรนด์ใหญ่เลือกฮ่องกงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการตั้งร้านค้าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ สถิติจาก Bernstein ระบุว่าฮ่องกงครองสัดส่วน 5-10% ของยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณปีละ 285,000 ล้านเหรียญ
แต่ข้อมูลวันที่ 2 ตุลาคมแสดงว่า ยอดค้าปลีกในฮ่องกงประจำเดือนสิงหาคม 62 ลดลง 23% จากปี 61 ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่ายอดขายสินค้ากลุ่มอัญมณี นาฬิกา และสินค้ามีค่ารายการอื่นทำสถิติลดลง 47.4%
Annie Yau Tse ประธานสมาคมการค้าปลีกฮ่องกง Hong Kong Retail Management Association ยอมรับว่ายังไม่เห็นแสงสว่างของวิกฤติพิษประท้วงฮ่องกง บนสถิติล่าสุดที่สรุปแล้วว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนฮ่องกงลดลง 39% โดยจำนวนนักท่องเที่ยวแผ่นดินใหญ่ลดฮวบ 42.3%
ไม่ว่าจะ Hermes หรือ Tiffany รวมถึงหลายแบรนด์ที่ต้องปิดร้านในฮ่องกงชั่วคราวตั้งแต่เกิดการประท้วงในเดือนมิถุนายน ต่างเลี่ยงที่จะเปิดเผยผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 แต่การสำรวจของบริษัท RBC คาดว่าแบรนด์ส่วนใหญ่จะประสบภาวะยอดขายลดลงระหว่าง 30-60% ซึ่งจะปรากฏเป็นตัวเลขในรายงานไตรมาส 3
บริษัทวิจัย Bain & Co มองว่าภาวะนี้จะส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจสินค้าหรูหราหรือ luxury sector ระดับโลกมีการเติบโตระดับต่ำในปีนี้ คิดเป็นการเติบโต 4-6% เท่านั้น
แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกามีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเจ็บหนัก เพราะฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการค้านาฬิการะดับไฮเอนด์ เห็นได้ชัดจากที่กลุ่ม Swatch Group สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์และกลุ่ม Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier ทำเงินจากตลาดฮ่องกงมากกว่า 11-12% จากยอดขายทั่วโลก
ห้างสรรพสินค้าหลักมากกว่า 30 แห่งตัดสินใจปิดบริการชั่วคราวในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไม่เพียงห้างสรรพสินค้า แต่แบรนด์หรูยังจำเป็นต้องปิดสาขาในสนามบินด้วย หนึ่งในนั้นคือ Hermes ผู้ผลิตกระเป๋าหนังสุดหรู Birkin ใบละ 6 แสนถึงเฉียด 3 ล้านที่เผยเมื่อกันยายนที่ผ่านมาว่าถูกกดดันให้ปิดร้านชั่วคราวทั้งหมด 5 สาขาในเกาะฮ่องกง
น่าเสียดายที่แบรนด์อื่นไม่เปิดเผยจำนวนร้านสาขาที่ปิดทำการชั่วคราว แต่สิ่งที่ชัดเจนคือทุกแบรนด์สูญเสียการขายอย่างชัดเจน เพราะการปิดห้าง 1 ต.ค. เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดประจำปีซึ่งเรียกกันว่า Golden Week ที่ปกติจะเป็นช่วงเวลาที่คึกคักสุดขีดสำหรับผู้ค้าปลีกในฮ่องกง
นอกจากการปิดร้าน งานอีเวนท์ของแบรนด์ก็ต้องระงับด้วย หนึ่งในนั้นคือ Chanel ที่วางแผนจัดแสดงแฟชั่นโชว์วันที่ 6 พฤศจิกายนเพื่อนำเสนอคอลเลคชั่น “Cruise” ก็ตัดสินใจเลื่อนโดยหยอดคำหวานว่างานแสดงแฟชันจะเกิดขึ้นในอนาคต ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่านี้
การสำรวจตลาดพบด้วยว่าแบรนด์กำลังหาทางเข้าถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านแหล่งช้อปปิ้งอื่นแทนฮ่องกง นอกจากบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างญี่ปุ่น นักวิเคราะห์มองว่าเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการถดถอยในตลาดฮ่องกง.
]]>ณ พ.ศ. นี้ ฟ่าน ปิงปิง ถือเป็นศิลปินและดาราสาวเบอร์หนึ่งของจีนที่มีผลงานมากมายในวงการบันเทิงทั้งในจีนเอง และในฮอลลีวูด อย่างเช่น การรับบทในภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์อย่าง X-Men: Days of Future Past, Iron Man ฯลฯ ขณะที่หากนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา เธอถือเป็นเซเลบริตี้สาวจีนที่มีรายได้สูงที่สุด 4 ปีติดต่อกัน
ในปี 2558 นิตยสารฟอร์บส์จัดอันดับให้ ฟ่าน ปิงปิง เป็นนักแสดงสาวที่ทำรายได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก หรือมีรายได้กว่า 21 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 680 ล้านบาท) ส่วนในปี 2559 เธอติดอันดับนักแสดงสาวที่ทำรายได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยมีรายได้กว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 550 ล้านบาท)
ว่ากันว่า รายได้ต่อปีของฟ่าน ปิงปิง น่าจะสูงกว่าที่ฟอร์บส์รายงานมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เพียงแค่การรับเป็นพรีเซ็นเตอร์ ระดับ Global Ambassador ให้กับคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรีชั้นหัวแถวของไทยซึ่งเปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็มีข่าวกระเส็นกระสายมาแล้วว่า เธอคิดค่าตัวงานนี้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท (ราว 3 ล้านหรียญสหรัฐ) เข้าไปแล้ว นอกจากนี้สื่อจีนยังเคยเปิดเผยค่าตัวของฟ่านว่า ค่าตัวต่อการแสดงภาพยนตร์หนึ่งเรื่องของเธออยู่ที่ราว 80 ล้านหยวน หรือ 400 ล้านบาท ส่วนการออกงานอีเวนต์ในแต่ละครั้ง ผู้จัดงานต้องควักกระเป๋าอย่างน้อย 2.8 ล้านหยวน หรือ ราว 14 ล้านบาท
หลังมีการยืนยันจากสื่อของรัฐบาลและทางการจีนว่า ฟ่าน ปิงปิง ถูกควบคุมตัวไว้จริงๆ เซาธ์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ สื่อดังของเกาะฮ่องกงจึงลิสต์ออกมาว่ามีแบรนด์ระดับโลก แบรนด์ใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากคดีหนีภาษีของฟ่าน ปิงปิงครั้งนี้
แบรนด์ปากกาและเครื่องประดับหรูสัญชาติเยอรมนีเพิ่งเซ็นสัญญากับ ฟ่าน ปิงปิง ในฐานะ Global Ambassador เมื่อเดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา หรือเพียง 3 เดือนก่อนหน้าที่เธอจะถูกจับ
“ฟ่าน ปิงปิง คือแบบอย่างของผู้หญิงสมัยใหม่ ที่สะท้อนความมั่นใจ ในหลายๆ แขนงนอกเหนือจากงานด้านการแสดงของเธอ ความสนใจและภูมิความรู้ของเธอประกอบไปด้วยด้านแฟชั่น การกุศล และธุรกิจ ความเชื่อมั่น มุ่งมั่น และเป็นอิสระนี้เป็นตัวกำหนดจิตวิญญาณแบบโบฮีเมียน และเรายินดีที่จะต้อนรับฟ่าน ปิงปิง เข้าสู่ครอบครัวมองบลังค์” นิโคลัส บาเรตสกี ซีอีโอของมองบลังค์กล่าวในวันเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ข่าวอื้อฉาวแพร่สะพัด หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส ก็ยืนยันแล้วว่า มองบลังค์ได้ประกาศแยกทางกับซูเปอร์สตาร์สาวชาวจีนเป็นที่เรียบร้อย
ฟ่าน ปิงปิง ร่วมงานกับหลุยส์ วิตตอง แบรนด์ดังในเครือ LVMH มานานหลายปี อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2555 เมื่อเธอเป็นโฆษกสำหรับภาคพื้นเอเชียให้กับหลุยส์ วิตตอง นอกจากนี้เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เธอยังเป็นแขกของหลุยส์ วิตตอง ในงานปารีส แฟชัน วีค อีกด้วย
หลังข่าวอื้อฉาวสายสัมพันธ์ระหว่างฟ่านกับหลุยส์ วิตตอง ยังคงไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม น้ำหอมซีรีส์ใหม่ของหลุยส์ วิตตอง ที่เปิดตัวในเมืองจีนเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ก็ยังคงใช้ดาราสาวเป็นพรีเซ็นเตอร์อยู่ รวมถึงโฆษณาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์หลุยส์ วิตตองที่เมืองจีน (www.louisvuitton.cn/zhs-cn) ก็ยังคงไม่ถูกถอดออก
แบรนด์จิวเวลรีหรูที่มีอายุกว่า 130 ปี ผูกสัมพันธ์กับฟ่าน ปิงปิง ในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ เมื่อช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งทำให้ตลอดปี 2561 ฟ่าน ปิงปิง สวมใส่เครื่องเพชรและเครื่องประดับจากเดอเบียร์สออกงานเป็นหลัก
“พวกเราถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ ปิงปิง เลือกเพชรและเดอเบียร์ส เพื่อออกงานอันทรงคุณค่า และเราขอแสดงความยินดีที่มิตรภาพระหว่างพวกเราดำเนินไปตราบนานเท่านาน” ฟรองซัวร์ ดูลาจ ซีอีโอของเดอเบียร์ส กล่าวในข้อความที่แถลงผ่านสื่อมวลชนระหว่างเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์
หลังความคลุมเครือเรื่องอนาคตของดาราสาว เดอเบียร์สซึ่งเพิ่งเปิดสาขาในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี เลือกวิธีเพลย์เซฟด้วยการใช้ เกา หยวนหยวน ดาราสาวชาวจีนชื่อดังชาวจีนอีกคนแทนฟ่าน ปิงปิง
หนึ่งในแบรนด์ดังจากเครือ LVMH อีกหนึ่งแบรนด์ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 190 ปี ที่เลือกใช้ ฟ่าน ปิงปิง เป็นโฆษกของแบรนด์เมื่อธันวาคม 2560 นี้เอง โดยเดือนถัดมา เกอร์แลงก็ยิงโฆษณาลิปสติกที่มีฟ่านเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อยั่วใจลูกค้าสาวๆ ก่อนเทศกาลตรุษจีน โดยโฆษณาลิปสติกดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปทั่วโซเชียลมีเดีย ทั้ง เวยป๋อ ยูทูป และช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของทั้งเกอร์แลง และของดาราสาวเอง
อย่างไรก็ตาม ถึงปัจจุบันแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังจากฝรั่งเศสยังไม่ประกาศท่าทีใดๆ ต่ออนาคตของตัวเองกับดาราสาวเบอร์หนึ่งของจีน แม้ล่าสุดสำนักงานภาษีแห่งมณฑลเจียงซู ได้ออกแถลงอย่างเป็นทางการแล้วว่าเจ้าหน้าที่กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบการทำบัญชีของ ฟ่าน ปิงปิง และบริษัทของเธออยู่.
]]>ยิ่งเจอกับเงื่อนไขซื้อได้เพียงครั้งละ 12 คน มีเวลาคนละ 20 นาที ซื้อสินค้าได้ไม่เกิน 3 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นห้ามซื้อซ้ำแบบกัน ก็ยิ่งต้องมีมาครอบครอง
เจอโรม เฮอวิโอ อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิปซอสส์ (ไทยแลนด์) จํากัด ร่วมมือกับ LUXELLENCE CENTER ภายใต้การบริหารของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำแบบสำรวจการติดตามผู้บริโภคสินค้าแบรนด์หรูของไทย (Thailand Luxury Tracking) ปี 2559 เพื่อทำความเข้าใจผู้บริโภค/ลูกค้าสินค้าแบรนด์หรู และเข้าใจแรงจูงใจในการซื้อสินค้าทั่วไปและอุปสรรคต่อการซื้อสินค้าแบรนด์หรู และเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบรนด์หรูของคนไทยในปัจจุบัน
โดยสัมภาษณ์คนไทยจำนวน 800 คน ซึ่งมีรายได้สูง 10% ของประชากรไทย (รายได้ครัวเรือนต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท) อายุระหว่าง 18 – 59 ปี ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอีก 8 จังหวัด ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา
ภาพรวมตลาดสินค้าหรูของไทย มีมูลค่าถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือได้ว่าใหญ่ที่สุดในประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีแบรนด์สินค้าหรูเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยกว่า 100 แบรนด์ ซึ่งส่งผลมาจากคนชั้นกลางในประเทศไทยเติบโต มีกำลังซื้อและชื่นชอบสินค้าแบรนด์เนมมากขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบผู้บริโภคสินค้าหรูของไทยกับกลุ่มผู้บริโภคสินค้าหรูของประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ บราซิล รัสเซีย คนไทยมีความชื่นชอบสินค้าหรูเป็นอย่างมาก โดยวัดได้คะแนน 7.4 เต็ม 10 ขณะที่กลุ่มประเทศดังกล่าววัดได้คะแนน 6.5 เต็ม 10
จากภาพรวมการซื้อและเป็นเจ้าของสินค้าหรูในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า แบรนด์สินค้าที่คนไทยนิยมซื้อมากที่สุดคือ LouisVuitton มาเป็นอันดับแรกถึง 36% รองลงมา คือ Chanel, Gucci, Dior
คนไทยนิยมซื้อสินค้าหรู 5 ลำดับแรก คือ เสื้อผ้า 71% นาฬิกา 63% กระเป๋า 61% รองเท้า 59% และแว่นกันแดด, แว่นสายตา 57%
โดยกลุ่มสินค้าที่มีการซื้ออย่างสม่ำเสมอ 5 ลำดับแรก คือ นาฬิกา 21% เสื้อผ้าและแอคเซสซอรี 17% ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เช่น รองเท้า, กระเป๋า 14% ผลิตภัณฑ์ความงาม เช่น เครื่องสำอาง, น้ำหอม, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและใบหน้า 10% และอุปกรณ์เทคโนโลยี 10%
แต่ตัวเลขเหล่านี้ ก็ยังถือได้ว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ บราซิล รัสเซีย
คนไทยในขณะนี้มากกว่า 64% เลือกที่จะเก็บออมเงิน และระวังการใช้จ่ายสูง เพราะส่วนหนึ่งไม่มั่นใจเศรษฐกิจของประเทศ 92% ยังไม่มันใจในเรื่องความมั่นคงในอนาคต ขณะที่มีเพียง 14% ที่มีปฏิสัมพันธ์จับจ่ายอย่างต่อเนื่อง
การซื้อสินค้าลักชัวรีของคนไทย เป็นเพียงสินค้าที่มอบความสุขเนื่องในโอกาสพิเศษ และเพื่อเป็นรางวัลในชีวิตเท่านั้น ไม่ใช่สินค้าในชีวิตประจำวันของคนไทย โดยพบว่าผู้ที่ใช้จ่ายเงินเพื่อชอปปิ้งสินค้าหรูนั้น 42% เพื่อสำหรับโอกาสพิเศษนานๆ ครั้ง และ 38% ซื้อเพื่อเป็นรางวัลและของขวัญให้ตัวเอง รวมทั้งเพื่อต้องการให้คนอื่นเห็น ในขณะที่ประเทศอื่นซื้อเพราะต้องการสินค้าคุณภาพ
ในสายตาของผู้บริโภคสินค้าหรูของไทย คิดว่าสินค้าหรูที่ผลิตจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และอเมริกามีระดับคุณภาพดีที่สุด สินค้าหรูที่ผลิตในประเทศไทยก็จัดได้ว่าอยู่ในระดับคุณภาพดี
คนไทยเลือกที่จะซื้อสินค้าหรูในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2558 โดยคนไทยยังคงชอบไปซื้อสินค้าหรูที่ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี เป็น 3 อันดับต้น ชอบไปซื้อที่ต่างประเทศมากกว่าในประเทศไทยเป็นสัดส่วน 50% ในขณะที่ในสายตาของคนต่างชาติ เช่น คนจีน คนฮ่องกง คนเกาหลี และคนบราซิล ถือว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่คนเหล่านี้นึกถึงแวลาต้องการซื้อสินค้าหรู
ถ้าพูดถึงแบรนด์หรู คนไทยจะนึกถึงแบรนด์ Louis Vuitton, Chanel และ Gucci เป็น 3 อันดับแรก ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจในปี 2558
แต่ถ้าพูดถึงแบรนด์หรูของไทยแล้ว คนไทยกลับไม่สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้มากนัก ซึ่งแบรนด์ที่เป็นคำตอบจากกลุ่มตัวอย่างที่คนส่วนใหญ่ถือว่าไม่จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าหรู เช่น ลาคอสต์
ดร.ฐิติพร สงวนปิยะพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์องค์ความรู้ด้านลักชัวรี เปิดเผยว่า การจับจ่ายสินค้าหรูของคนไทยถือเป็น “คำนิยาม” เฉพาะรายของแต่ละบุคคล ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนและกำหนดไม่ได้ว่าถูก หรือผิด ยกตัวอย่างเช่น ผู้บางบริโภคบางกลุ่มอาจคิดว่าการโดยสารเครื่องบินชั้นธุรกิจถือเป็นการจับจ่ายบริการระดับลักชัวรีแล้ว แต่บางกลุ่มอาจเห็นว่าต้องเป็นการเช่าเครื่องบินเจ็ตเหมาลำถึงจะเป็นลักชัวรี เป็นต้น
แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยมีพฤติกรรมเหมือนกันในการจับจ่ายสินค้าหรูคือใช้ “อารมณ์และความรู้สึก” เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ ทั้งยังต้องใช้ความมั่นใจเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และมีความคิดแง่บวกเกี่ยวกับอนาคตจึงจะตัดสินใจซื้อ
เมื่อถามถึง “สินค้าหรูแบรนด์ไทย” ในมุมมองของคนไทยปรากฏว่า คนไทยส่วนใหญ่กลับคิดไม่ออก หรืออาจคิดถึงแบรนด์ที่ยังไม่จัดอยู่ในระดับลักชัวรี โดยในปี 2558 พบว่าสินค้าแบรนด์ไทยที่คนไทยคิดถึงคือ สายการบิน “การบินไทย” ห้างสรรพสินค้า “เซ็นทรัล” รวมถึง “เกรย์ฮาวด์”
ในขณะที่ปี 2559 พบว่าแบรนด์ไทยที่คนไทยรู้จักในฐานะแบรนด์หรูคือ 1. Naraya 19%, 2. Jaspal 14%, 3. Chaps 12%, 4. cc-oo 10%
ดร.ฐิติพร ให้ความเห็น
เจอโรม กล่าวด้วยว่า สำหรับปัจจัยที่ทำให้ตลาดสินค้าหรูในประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทำให้สินค้าหรูมีโอกาสเปิดร้านสาขามากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยยังนิยมที่จะเลือกสัมผัสและทดลองใช้สินค้าผ่านช่องทางหน้าร้าน ทั้งร้านสาขา ร้านมัลติแบรนด์ และร้านดิวตี้ฟรี
โดยลูกค้ามิลเลนเนียม ถือเป็นนักชอปกลุ่มใหญ่ และทรงอิทธิพลมากที่สุดในการบริโภคสินค้าแบรนด์หรู หากแบรนด์ต้องการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ ขยายช่องทางขายไปสู่การซื้อขายออนไลน์และเพิ่มแอปพลิเคชันบนมือถือ เพราะคนไทยใช้มือถือในการเข้าถึงสินค้าได้ตลอดเวลา ซึ่งแอปพลิเคชันนั้นต้องโหลดง่ายและรวดเร็ว เพราะคนมิลเลนเนียมไม่ชอบรอช้า ถ้าช้าจะออกจากโปรแกรมทันที ทำให้แบรนด์ขาดโอกาสได้
แต่ถึงแม้ปัจจุบันช่องทางออนไลน์ยังไม่สามารถเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์หรูได้มากนักเพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังต้องการซื้อสินค้าผ่านร้าน เพราะจะทำให้เห็นสินค้าจริงและได้รับการบริการจากพนักงานที่ให้ความรู้และข้อมูลของสินค้าได้มากกว่า แต่ออนไลน์เป็นช่องทางสำคัญที่ขาดไม่ได้
เพื่อให้แบรนด์ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น ควรเปิดช่องทางการซื้อขายแบบโอทูโอ คือ จากออนไลน์สู่ออฟไลน์เหมือนอย่างที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา คือการให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากทางออนไลน์และไปรับสินค้าที่ร้านสาขาของแบรนด์ได้ ซึ่งจะทำให้ร่นระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกสบายกับลูกค้ามากขึ้น และลูกค้าบางคนก็ชอบการค้นหาข้อมูลเพียงลำพัง และยังเข้าถึงสินค้าได้ตลอดเวลา เพิ่มโอกาสให้แบรนด์ได้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
ผู้บริโภคสินค้าหรู กลุ่มสำคัญของคนไทย คือคนยุคมิลเลนเนียม ซึ่งถือเป็นผู้มีอิทธิพล (Influencer) ต่อแบรนด์ต่างๆ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดสินค้าหรูให้มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ คือ
ความเห็นข้างต้นของ เจอโรม ยังสอดรับกับมุมมองของ ดร.ฐิติพร ซึ่งให้ความเห็นถึงทิศทางของของตลาดสินค้าหรูในประเทศไทยอย่างน่าสนใจว่า ผู้บริโภคที่เริ่มซื้อสินค้าหรูเพราะต้องการบ่งบอกบางสิ่งบางอย่าง เช่น สถานะทางสังคม แต่เมื่อใช้สินค้าหรูจนเกิดความเคยชินก็จะเริ่มเบื่อแบรนด์สินค้านั้น จึงทำให้มีความต้องการสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น จึงทำให้มีสินค้าหรูแบรนด์แปลกๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการผู้บริโภคกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเท่ากับเป็นโอกาสในการสร้างแบรนด์สินค้าหรูของคนไทยให้ประสบความสำเร็จในที่สุด
]]>