โซเชียลมีเดีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 11 Sep 2024 12:07:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจ้าของ “OnlyFans” รับปันผลอู้ฟู่กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท หลังแพลตฟอร์มทำรายได้พุ่ง 20% https://positioningmag.com/1489645 Wed, 11 Sep 2024 11:06:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489645 รวยต่อเนื่อง! เจ้าของแพลตฟอร์ม “OnlyFans” รับเงินปันผลปีเดียวทะลุ 1.5 หมื่นล้านบาท หลังจากผลประกอบการบริษัทเมื่อปีที่ผ่านมาเติบโตดี จำนวนครีเอเตอร์และฐานแฟนคลับเพิ่มขึ้น 30% รายได้พุ่ง 20%

บริษัท “Fenix International” บริษัทแม่ของแพลตฟอร์ม “OnlyFans” ประกาศผลประกอบการและการจ่ายเงินปันผลของบริษัทต่อสาธารณะไปเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2024

โดย “ลีโอนิด รัดวินสกี้” นักธุรกิจชาวยูเครน-อเมริกันวัย 42 ปี ผู้เป็นเจ้าของบริษัทคนปัจจุบัน ได้รับเงินปันผลอู้ฟู่ไปที่ 472 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท และนับตั้งแต่ปี 2020 ที่บริษัทเริ่มจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น รัดวินสกี้ได้รับเงินจากบริษัทสะสมไปแล้วเกือบ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 4.3 หมื่นล้านบาท

OnlyFans เป็นแพลตฟอร์มแหล่งรวมครีเอเตอร์สาย “18+” ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในนาทีนี้ วัดได้จากผลประกอบการของบริษัทรอบปีบัญชีสิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 พบว่า บริษัททำรายได้ไป 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 20% จากรอบปีบัญชีก่อนหน้า

ส่วนจำนวนบัญชีกลุ่มครีเอเตอร์เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 4 ล้านคน ขณะที่บัญชีกลุ่มแฟนคลับเพิ่มขึ้นเป็น 305 ล้านคน ทั้งสองกลุ่มบัญชีเติบโตขึ้น 30% ใกล้เคียงกัน

“เคียลีย์ แบลร์” ซีอีโอของ OnlyFans กล่าวว่า “ปี 2023 เป็นปีที่แข็งแกร่งของบริษัท เราได้ยึดหัวหาดการเป็นบริษัทบันเทิงดิจิทัลชั้นนำและเป็นความสำเร็จในกลุ่มบริษัทเทคในสหราชอาณาจักร เราทำได้สำเร็จก็เพราะเราเปิดโอกาสให้ชุมชนครีเอเตอร์ที่หลากหลายได้เข้ามาสร้างรายได้จากคอนเทนต์ของพวกเขาและสร้างฐานแฟนได้ในระดับโลก เห็นหลักฐานได้จากการเติบโตของจำนวนครีเอเตอร์ ฐานแฟนคลับ และรายได้”

OnlyFans แบ่งรายได้จากยอดสมัครสมาชิกให้กับครีเอเตอร์ 80% ส่วนอีก 20% จะเป็นรายได้ของแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม ครีเอเตอร์สามารถทำเงินเพิ่มได้อีกจากการรับ “ทิป” และการสร้างคอนเทนต์พิเศษที่ต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อรับชมเป็นครั้งๆ (pay-per-view) ซึ่งทำให้ปัจจุบันรายได้หลักบนแพลตฟอร์มที่จริงแล้วมาจากแฟนๆ ที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเหล่านี้

ทั้งนี้ ถ้าวัดเม็ดเงินที่แฟนๆ สมัครสมาชิกและ “เปย์” ให้กับครีเอเตอร์คนโปรดบน OnlyFans ปีที่แล้วปีเดียวมีเม็ดเงินหมุนเวียนผ่านแพลตฟอร์มนี้ถึง 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2.21 แสนล้านบาท!

OnlyFans เป็นเทคสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นในอังกฤษเมื่อปี 2016 โดย “ทิม สโต๊คลีย์” ผู้ประกอบการอังกฤษวัย 33 ปี (ณ ขณะนั้น) ร่วมกับคุณพ่อที่เป็นอดีตนายแบงก์คือ “กาย สโต๊คลีย์” ก่อตั้งแพลตฟอร์มรวมครีเอเตอร์แห่งนี้ขึ้น จากนั้นคู่พ่อลูกสโต๊คลีย์ได้ขายบริษัทให้กับรัดวินสกี้ไปในปี 2018 โดยไม่เปิดเผยมูลค่าซื้อขาย

แพลตฟอร์ม OnlyFans มาบูมสุดขีดในช่วงโรคระบาดโควิด-19 และส่งให้บริษัทนี้เป็นหนึ่งในเทคสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จสูงสุดบนเกาะอังกฤษ พร้อมจ่ายภาษีให้กับกระทรวงการคลังของอังกฤษไป 149 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5 พันล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว

Source

]]>
1489645
“ออสเตรเลีย” เตรียมกำหนดอายุผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย ขั้นต่ำ 16 ปี หลังมีความเสี่ยงกระทบร่างกาย และจิตใจ https://positioningmag.com/1489390 Tue, 10 Sep 2024 10:40:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489390 ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน สื่อโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและอารมณ์ของเด็กเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยมเรื่อง Beauty Standard อาชญากรรม และสื่อลามกต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย จึงเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มต่างๆ อาทิ Youtube เริ่มออกกฎจำกัดการเข้าถึง vdo เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายของวัยรุ่น เนื่องจากค่านิยม Beauty Standard แบบผิดๆ 

ล่าสุด รัฐบาลกลางของประเทศออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายจำกัดอายุผู้ใช้งานและเข้าถึงโซเชียลมีเดีย ซึ่งปัจจุบันมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นคนหนุ่มสาวเข้าขั้นวิกฤต โดยอายุขั้นต่ำสำรับผู้ที่จะเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ TikTok มีแผนกำหนดไว้ที่ 16 ปีเป็นขั้นต่ำ รวมถึงแผนการตรวจสอบอายุเพื่อทดสอบแนวทางต่างๆ กําลังอยู่ในขั้นตอนการดําเนิน

Peter Dutton ผู้นําฝ่ายค้านอนุรักษ์นิยมของออสเตรเลียกล่าวว่า เป็นเรื่องที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าวิธีการตรวจสอบอายุในปัจจุบันไม่น่าเชื่อถือ หรือเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกําลังทดลองมาตรการการจำกัดอายุ จึงรู้สึกเห็นด้วยในการจํากัดอายุการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของวัยรุ่น เพราะทุกวันนี้โซเชียลมีเดียมีส่วนทําให้เด็กมีความเสี่ยงต่ออันตรายทั้งทางกายและทางจิตใจมากเกินไป

ปัจจุบัน จีน ฝรั่งเศส และหลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านกฎหมายจำกัดการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มเยาวชนเนื่องจากความวิตกเรื่องภัยอันตรายในโลกออนไลน์ ทั้งการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (cyberbullying) ไปถึงมาตรการความงามที่ไม่แท้จริง (unrealistic beauty standard) และอาจสร้างค่านิยมที่ผิดๆ

ขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มโจมตีความเคลื่อนไหวฯดังกล่าวโดยชี้ว่า จะกระทบต่อสิทธิการแสดงออกของเยาวชน และคุกคามความเป็นส่วนตัว

“การห้ามจะกีดกั้นเยาวชนออกจากการได้เข้าร่วมที่สร้างสรรค์ในโลกดิจิทัล และปิดกั้นช่องทางสำคัญในการเข้าร่วมเครือข่ายสังคม” ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารดิจิทัล นาย Daniel Angus อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งควีนส์แลนด์ กล่าว

Source : The Australian

]]>
1489390
‘TikTok’ เริ่มทดลองขยายความยาวคลิปเป็น ’60 นาที’ คาดเตรียมแย่งชิงตลาดกับ ‘YouTube’ https://positioningmag.com/1474660 Wed, 22 May 2024 11:42:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474660 สำนักข่าว TechCrunch รายงานว่า ‘TikTok’ กำลังทดสอบระบบให้ผู้ใช้สามารถอัปโหลดคลิปความยาวสูงสุด ’60 นาทีโดยทดสอบในวงจำกัดทั้งจำนวนผู้ใช้และประเทศที่สามารถใช้ฟีเจอร์ใหม่นี้ได้ โดยบริษัทยังไม่ยืนยันว่าจะมีการขยายการใช้งานฟีเจอร์นี้เป็นวงกว้างเมื่อไหร่

ความเคลื่อนไหวใหม่ของ TikTok ถือว่าน่าสนใจ เพราะแรกเริ่มเดิมที TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่ให้ผู้ใช้อัปโหลดคลิปยาวไม่เกิน 15 วินาที ก่อนจะค่อยๆ ขยายความยาวเรื่อยมาจนปัจจุบันสามารถอัปโหลดได้สูงสุด 10 นาทีต่อคลิป

เห็นได้ว่าแพลตฟอร์มนี้กำลังปรับตัวเองจากการเป็นโซเชียลมีเดียสำหรับลงคลิปสั้นมาเป็นคลิปยาว และเป็นไปได้ว่า TikTok กำลังพยายามจะแย่งชิงตลาดกับคู่แข่งรายใหญ่ที่สุดในวงการโซเชียลมีเดียที่เน้นวิดีโอคลิป นั่นก็คือ ‘YouTube’

TikTok ระบุว่า ที่ผ่านมาครีเอเตอร์ที่ต้องการจะลงคอนเทนต์ขนาดยาวสามารถใช้ฟีเจอร์ ‘Playlist’ เพื่อรวมวิดีโอที่แยกออกเป็นตอนๆ ให้ผู้ชมสามารถกดเข้าไปดูตอนต่อไปได้ แต่แพลตฟอร์มเองก็ได้รับเสียงเรียกร้องจากครีเอเตอร์เสมอมาว่าพวกเขาอยากจะลงคลิปที่ยาวกว่านี้ได้ เพราะคอนเทนต์บางประเภทเป็นคอนเทนต์ที่จำเป็นต้องใช้เวลานาน เช่น คลิปสอนทำอาหาร คลิปสอนแต่งหน้า คลิปทางการศึกษา ฯลฯ

ดังนั้น การเพิ่มความยาวคลิปจะทำให้ครีเอเตอร์มีโอกาสทดลองคอนเทนต์แบบใหม่ได้ และแน่นอนว่าถ้าเป็นเช่นนั้น TikTok จะกลายเป็นคู่แข่งกับ YouTube มากกว่าที่เคย ทางบริษัท TikTok เองก็หวังว่าครีเอเตอร์ที่ปกติแล้วโพสต์คอนเทนต์ลงใน YouTube เป็นหลัก จะหันมาลงคลิปวิดีโอของตนใน TikTok ด้วย

TikTok
ตัวอย่างฟีเจอร์ลงวิดีโอแนวนอนและให้ผู้ใช้กดดูแบบเต็มจอ (Full Screen) ได้บน TikTok

หนึ่งในโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้นหาก TikTok อนุญาตให้โพสต์คลิปยาวถึง 60 นาที คือการนำ ‘ซีรีส์’ มาลงใน TikTok

ยกตัวอย่างเช่น ปีที่แล้ว Peacock มีการทดลองนำตอนแรกของซีรีส์ชื่อ Killing It มาลงให้ดูฟรีบน TikTok แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องความยาวคลิป ทำให้ซีรีส์ตอนแรกนี้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ถ้าหาก TikTok ขยายความยาวคลิปสูงสุดเป็น 60 นาที ต่อไปค่ายผู้ผลิตซีรีส์ต่างๆ ถ้าอยากจะลงซีรีส์ให้ชมฟรีบนแพลตฟอร์มนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องซอยย่อยออกเป็นส่วนๆ อีกต่อไป

กลยุทธ์ดึงดูดผู้ผลิตซีรีส์จะไปชนกับ YouTube โดยตรง เพราะทุกวันนี้ค่ายผู้ผลิตซีรีส์ฝั่งตะวันตกหลายแห่งมักจะนำตอนแรกของซีรีส์มาให้ดูฟรีก่อนบน YouTube เพื่อเข้าถึงฐานผู้ชมให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ TikTok ถูกผูกติดอยู่กับนิยามการเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมาตลอด ทำให้หลายคนไม่มีพฤติกรรมที่จะดูวิดีโอยาวๆ บน TikTok ทางบริษัทก็เห็นช่องโหว่ตรงนี้จึงพยายามจะเสริมประสบการณ์ให้ผู้ใช้ยอมชมวิดีโอขนาดยาวบนแพลตฟอร์มให้มากขึ้น เช่น มีการทดลองระบบดูวิดีโอแนวขวางได้จากเดิมที่ต้องลงแต่วิดีโอแนวตั้ง (เหมือนกับบน YouTube)

แต่ขณะนี้ข้อมูลเรื่องฟีเจอร์การลงวิดีโอ 60 นาทีก็เหมือนกับการทดสอบฟีเจอร์อื่นๆ คือยังไม่รู้ว่า TikTok จะเดินหน้าขยายฟีเจอร์นี้ให้ใช้ได้ทั่วโลกเมื่อไหร่

Source  

]]>
1474660
ถอดแนวคิด Creator Marketing สูตรสำเร็จการตลาดยุคใหม่ ติดสปีดได้ไกลถึงตลาดโลก https://positioningmag.com/1474453 Tue, 21 May 2024 09:34:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474453

ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนี้มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายคนสามารถเป็นสื่อ หรือเป็นคนผลิตคอนเทนต์เองได้ Content Creator จึงได้จัดว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถหารายได้ และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนี้

มีการสำรวจว่า ในประเทศไทยมี Content Creator อยู่ราวๆ 2 ล้านคนเลยทีเดียว มีทั้ง Influencer คนมีชื่อเสียง คนที่มีอิทธิพลต่อบุคคลทั่วไป, KOL หรือจะเป็น Micro Influencer และ Nano Influencer ยิ่งในทุกวันนี้ทุกคนมีโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น

หลายปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นการมาของแพลตฟอร์ม TikTok เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมที่เน้นติดตามคนรู้จัก คนที่สนใจ แต่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก มีคอนเทนต์หลากหลาย ร้อง เล่น เต้น แสดง เรียกได้ว่าได้เห็น “ดาวติ๊กต็อก” เกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แต่การที่จะเป็น Content Creator มีความยากง่ายแค่ไหน โอกาสที่จะแจ้งเกิด และหารายได้เป็นอย่างไร ทาง AIS ได้รวมทุกข้อสงสัย พร้อมฟังประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟจาก Content Creator ระดับตัวท็อปของประเทศมาเผยแรงบันดาลใจ สูตรเด็ด เคล็ดลับ สร้างครีเอเตอร์สู่อาชีพที่สามารถต่อยอดให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน ภายในงาน Global Creator

Culture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จCulture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จ

ด้าน Professor David Craig กล่าวว่า “วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์ม และอีโคซิสเท็มที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เป็นหว่างหงครีเอเตอร์ ดังนั้นการเดินทางมาแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยในครั้งนี้ของผม จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”

พร้อมกันนี้ภายในยังได้เชิญกูรูด้าน Content Creator ซึ่งเป็นหนึ่งในอีโคซิสเท็มในการขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย Positioning ขอสรุปประเด็นเด็ดที่เหล่า Content Creator ไม่ควรพลาดดังนี้

ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO YDM Thailand กลุ่มบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ต แชร์ข้อมูลในหัวข้อ “กลยุทธ์ Creator Marketing สูตรสำเร็จใหม่ของธุรกิจยุคดิจิทัล”

YDM Thailand เป็นเอเจนซี่ไทยที่ดูแลด้านดิจิทัล มาร์เก้ตติ้ง และดูแลเกี่ยวกับ Content Creator ให้กับแบรนด์ต่างๆ จากข้อมูลผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมี Content Creator มากกว่า 2 ล้านคน ตอนนี้มีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย มีการแยกย่อยเยอะหลายเซ็กเมนต์ บางคนเป็นบล็อกเกอร์สายอาหารก็มีแยกย่อยหลายแขนงลงไปอีก เช่น รีวิวคาเฟ่อย่างเดียว รีวิวอาหารญี่ปุ่นอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในการวางกลยุทธ์ให้กับแบรนด์จะมีการผสมผสาน Content Creator หลายระดับทั้งคนตัวเล็ก กลาง และตัวท็อป ซึ่งอยู่ที่โจทย์ของลูกค้าว่าต้องการอะไร บางแคมเปญใช้ Content Creator ถึง 50 คนก็มี

4 ขั้นตอนในการเลือก Content Creator ให้เหมาะสมกับแบรนด์

  1. เข้าใจตัวเองก่อนว่าตอบโจทย์อะไร : บางแบรนด์เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ ต้องการแบรนด์เลิฟ ก็เลือก KOL ที่มีแฟนคลับสนับสนุนเขา สมมติว่าทำอาหารเสริมแบรนด์หนึ่ง สามารถทำโฆษณาทางโทรทัศน์ได้แค่ 15-30 วินาทีก็ต้องหาครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ให้ความรู้เพิ่ม บวกกับทำ SEO เสริม หรือถ้าอยากขายของเลือกครีเอเตอร์สายรีวิวเลย เน้นขายของอย่างเดียวเลย
  1. เข้าใจ Content Creator : เป็นเรื่องสำคัญมาก บางทีแบรนด์คิดว่าตัวเองมีเงิน มีของที่อยากจะพูดแล้วยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองอยากพูด ต้องรู้ก่อนว่า Content Creator แต่ละคนคือใคร เพราะมีทั้ง Influencer คือ ผู้มีอิทธิพล, KOL คือ ความคิดของเขามีอิทธิพล มีความน่าเชื่อถือ พูดอะไรไปคนฟังเขา แต่สำหรับ Content Creator บางคนอาจจะไม่ได้ดังมาก แต่จุดแข็งคือการสร้างคอนเทนต์
  2. การใช้เทคโนโลยีเลือก : ในการเลือก Content Creator แต่ละครั้ง ไม่ได้เลือกแค่คนดังๆ ท็อปๆ เท่านั้น คนกลางๆ เล็กๆ ก็เลือก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากขึ้น มีการเลือกจากข้อมูล จากเทคโนโลยี เพราะระบบมีการเก็บข้อมูลของ KOL ทุกคน เก็บผู้ติดตาม เอ็นเกจเมนต์ ดูว่ารีวิวแบรนด์อะไร รีวิวคู่แข่งหรือเปล่า
  3. การวัดผล : สามารถดึงข้อมูล ดึงการวัดผลได้ทุกเรื่อง เอ็นเกจเมนต์ ตัวเลขต่างๆ แล้วเอามาแมทช์กับยอดขายของสินค้าได้

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากทางแพลตฟอร์ม โดย กวิน ภาณุสิทธิกร Head of Seller Management Thailand, TikTok Shop มาร่วมแชร์ข้อมูลในหัวข้อ “จาก Seller สู่ Creator สร้างรายได้จาก TikTok”

TikTok เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มาแรงที่สุดแห่งยุค เพราะหลายๆ เรื่องราวที่เป็นไวรัลในสังคม ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจาก TikTok ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก ใครๆ ก็สามารถสร้างวิดีโอได้ง่ายๆ ทำให้กลายเป็นที่นิยมไปโดยปริยาย

โดยที่ TikTok ทำตลาดในประเทศไทยได้ 7 ปี แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีอีกหนึ่งฟีเจอร์เกิดขึ้น นั่นก็คือ TikTok Shop เรียกว่า ได้สร้างความสั่นสะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซอยู่ไม่น้อย กลายเป็นว่ากระแสของ Live Commerce กลายเป็นช่องทาการขายใหม่ของแบรนด์ ซึ่งการขายของใน TikTok Shop มีความยากง่ายแค่ไหน สร้างโอกาสอย่างไร และแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่างไรบ้าง มีจุดแข็งอยู่ 4 ข้อด้วยกัน

  1. Decentralize (ให้ลูกค้าตัดสินใจ) มากกว่า Social Signal (ตัวชี้วัดด้านโซเชียล)

ในทุกๆ วันที่เข้าในแอปพลิเคชั่น TikTok จะพบว่า คอนเทนต์จะแตกต่างกัน ไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือนโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่เน้นติดตามพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก ซึ่งแอปฯ พยายามหาคอนเทนต์ให้โดนใจผู้ใช้มากที่สุด ข้อดีของแพลตฟอร์มนี้ก็คือ ถ้าเป็นครีเอเตอร์จะแจ้งเกิดง่าย ทำให้มีดาวติ๊กต็อกเกิดขึ้นเยอะ แต่ต้องอัพเดตตัวเองตลอดเวลา ถ้าเป็นเจ้าของแบรนด์ ก็เป็นโอกาสมากๆ สามารถหาคนที่เป็นพันธมิตรช่วยขายเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ไม่เคยเข้าถึงได้

  1. Entertainment (ความบันเทิง) มากกว่า Social Media

ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งใจเข้าแอปฯ เพื่อไปดูความเคลื่อนไหวของเพื่อน หรือครอบครัว แต่เข้าไปเพื่อหาความบันเทิงใหม่ๆ คล้ายๆ กับการดูทีวี หรือเรียลลิตี้โชว์

  1. Shoppertainment (การขายผ่านความบันเทิง) มากกว่า eCommerce

พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนไป มีทั้งที่ตั้งใจเข้ามาซื้อของ และไม่ตั้งใจ หลายคนชอบดูไลฟ์สตรีมในการขายของ หรือดูคนดังต่างๆ ขายของ มีความสนุก ความบันเทิง มากกว่ากดใส่ตะกร้าตามเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

  1. Localization มากกว่า Global-One-Size-Fit-All

TikTok มีความพยายามในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ให้เข้ากับตลาดท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมผู้ใช้ในประเทศนั้นๆ ไม่ได้นำเอานโยบายในระดับโกบอลมาปรับใช้กับทุกตลาด ทำให้มีความเข้าถึงผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

 

ปัจจุบันการขายของบน TikTok มี 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. ไลฟ์สตรีม 2. วิดีโอสั้น 3. แท็บร้านค้า และ 4. โปรแกรมพันธมิตร ขายผ่านครีเอเตอร์ โดยที่ร้านค้าที่เปิดโปรแกรมพันธมิตรขายผ่านครีเอเตอร์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากกว่า มีข้อมูลว่า กลุ่มที่เปิดโปรแกรมโอกาสที่จะขายสินค้าออกชิ้นแรกสูงกว่า 60% ยกตัวอย่างร้าน Mr. K ร้านขายกิมจิ สินค้าปรุงอาหารเกาหลี อาหารญี่ปุ่น เปิดให้บริการมา 2 ปี ปัจจุบันมียอดขายเกิน 20 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่มาจากครีเอเตอร์ถึง 80%

สำหรับงาน Global Creator Culture Summit ได้ปิดฉากลงด้วยความประทับใจไปแล้วเรียบร้อย AIS ในฐานะแม่งาน และในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว ยังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

]]>
1474453
นักวิจัยเผย ‘โซเชียลมีเดีย’ ทำเงินเฉพาะแค่ ‘เยาวชน’ รวมกันกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1457421 Thu, 28 Dec 2023 05:06:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457421 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ถูกตั้งคำถามว่าส่งผลเสียต่อเยาวชนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของ Harvard TH Chan School of Public Health พบว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหลาย สามารถสร้างรายได้จากการโฆษณาในสหรัฐฯ รวมกันมากกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์จากเยาวชน

เพื่อหาตัวเลขรายได้ นักวิจัยได้เก็บข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาที่ อายุต่ำกว่า 18 ปี บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ได้แก่ Facebook, Instagram, Snapchat, TikTok, X และ YouTube ในปี 2022 เพื่อประเมินรายได้โฆษณาในสหรัฐฯ ของแต่ละแพลตฟอร์ม และเวลาที่เด็ก ๆ ใช้ต่อวันในแต่ละแพลตฟอร์ม หลังจากนั้น นักวิจัยได้สร้างแบบจำลองเพื่อประเมินรายได้โฆษณาที่แพลตฟอร์มได้รับจากเยาวชนในสหรัฐอเมริกา

จากการศึกษาพบว่า รายได้จากโฆษณาสูงสุดจากผู้ใช้ อายุ 12 ปีหรือต่ำกว่า แพลตฟอร์ม YouTube ทำเงินสูงสุด (959.1 ล้านดอลลาร์) ตามมาด้วย Instagram (801.1 ล้านดอลลาร์) และ Facebook (137.2 ล้านดอลลาร์)

ในส่วนของรายได้โฆษณาจากผู้ใช้ อายุ 13-17 ปี แพลตฟอร์ม Instagram ทำรายได้สูงสุดที่ (4 พันล้านดอลลาร์) ตามมาด้วย TikTok (2 พันล้านดอลลาร์) และ YouTube (1.2 พันล้านดอลลาร์)

นอกจากนี้ นักวิจัยยังคาดการณ์ว่า Snapchat ได้รับส่วนแบ่งสูงสุดของรายได้จากโฆษณาโดยรวมในปี 2022 จากผู้ใช้อายุต่ำกว่า 18 ปี (41%) ตามมาด้วย TikTok (35%), YouTube (27%) และ Instagram (16%)

“การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมโซเชียลมีเดียของรัฐบาล เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถควบคุมตัวเองในการใช้แพลตฟอร์มได้ ดังนั้น แพลตฟอร์มควรจะมีความโปร่งใสที่มากขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชน และลดแนวทางการโฆษณาที่อาจเป็นอันตรายซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่เด็กและวัยรุ่น” นักวิจัยกล่าว

people using smart phone ,Social, media, Marketing concept

ทั้งนี้ นักวิจัยและผู้ร่างกฎหมายได้มุ่งความสนใจไปที่ผลกระทบด้านลบที่เกิดจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมานานแล้ว ซึ่งอัลกอริทึมที่ปรับแต่งเฉพาะบุคคลสามารถผลักดันให้ เด็ก ๆ ใช้งานมากเกินไป โดยที่ผ่านมา สมาชิกสภานิติบัญญัติในรัฐ เช่น นิวยอร์กและยูทาห์ แนะนำหรือผ่านกฎหมายที่จะควบคุมการใช้โซเชียลมีเดียในหมู่เด็ก โดยอ้างถึงอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชนและข้อกังวลอื่น ๆ

ปัจจุบัน Meta ซึ่งเป็นเจ้าของ Instagram และ Facebook กำลังถูกฟ้องโดยรัฐหลายสิบแห่งในข้อหามีส่วนทำให้เกิดวิกฤตสุขภาพจิต และจากผลวิจัยพบว่า เด็กและวัยรุ่นวัยเรียนอาจจำโฆษณาได้ และมักจะไม่สามารถต้านทานโฆษณาได้เมื่อโฆษณานั้นฝังอยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เชื่อถือได้ และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพลคนดัง

“แม้ว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอาจอ้างว่าพวกเขาสามารถควบคุมแพลตฟอร์มเพื่อลดอันตรายต่อเยาวชนได้ แต่การศึกษาของเราชี้ให้เห็นว่า แพลตฟอร์มโซเชียลฯ ยังมีแรงจูงใจทางการเงินอย่างล้นหลามเพื่อชะลอการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อปกป้องเด็ก ๆ ต่อไป” Bryn Austin ศาสตราจารย์ภาควิชาสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ที่ Harvard กล่าว

ทั้งนี้ ตัวแพลตฟอร์มเองไม่ได้เปิดเผยว่าพวกเขาทำรายได้จากเยาวชนมากน้อยแค่ไหน

]]>
1457421
สรุป 15 อินไซต์การใช้ ‘โซเชียลฯ’ ของ ‘ภาคธุรกิจ’ ปี 66 ปีแห่งการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่าน “เรียลไทม์คอนเทนต์” https://positioningmag.com/1455076 Mon, 11 Dec 2023 01:51:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455076 ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลและสถิติการใช้งาน Facebook, X, Instagram, YouTube และ TikTok ของภาคธุรกิจกว่า 2,000 แบรนด์ชั้นนำจาก 20 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลกว่า 3 ล้านข้อความ ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2566 ผ่าน “INSTANT REPORT BUSINESS USAGE ภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียเชิงธุรกิจไตรมาส 1-3 2566” โดยมีสรุป 15 สาระสำคัญ ดังนี้

1. ภาคธุรกิจได้รับเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) โดยรวมมากถึง 421 ล้านครั้ง และจากการโพสต์ (Post) รวมมากกว่า 1 ล้านครั้ง โดยที่ 66% ของแบรนด์เน้นใช้พื้นที่บน Facebook เป็นหลัก รองลงมาคือ Instagram ที่มีสัดส่วนประมาณ 20%

2. ช่องทาง TikTok วิดีโอที่มียอดไลก์ (Like) สูง ส่วนมากจะเป็นวิดีโอสั้น เช่น คอนเทนต์โปรโมตสินค้าจากทางแบรนด์และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของแบรนด์

3. ช่องทาง TikTok มีจำนวนการรับชม (View) และจำนวนคอนเทนต์สูงกว่า YouTube แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้น-ลดลงตลอดทั้งปีของทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีทิศทางเหมือนกัน คือ ยอดการรับชมเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ในเดือนมีนาคม และลดลงเรื่อย ๆ ทุกเดือน ในขณะที่การโพสต์คอนเทนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก Pexels

4. พื้นที่บนโซเชียลมีเดียของบัญชีทางการ มีการใช้ Facebook เป็นหลัก โดยแบรนด์เลือกใช้ Facebook มากที่สุด (99%) รองลงมาคือ Instagram (73%), YouTube (50%), TikTok (38%) และ X (34%) ซึ่ง 95% ของแบรนด์ มีบัญชีทางการอย่างน้อย 2 แพลตฟอร์ม โดยใช้ Facebook เป็นหลัก มีเพียงแค่ 5% ของแบรนด์เท่านั้น ที่ยังคงใช้เพียงแค่ 1 แพลตฟอร์มในการทำการตลาดกับผู้บริโภค

5. ในภาพรวมแบรนด์เน้นทำคอนเทนต์สร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาที่ตลกและสนุกสนานให้ดูเข้าถึงง่าย, เรียลไทม์คอนเทนต์ รวมถึงการเกาะกระแสไวรัลต่าง ๆ สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง และทำให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์เพิ่มขึ้น

6. ช่องทาง Facebook Reaction ถูกใช้เป็นฟังก์ชันในการโหวตเพื่อร่วมกิจกรรม และใช้แสดงความรู้สึก โดย Love คือรู้สึกดีชื่นชอบ, Haha คือขำขัน, Wow คือประหลาดใจ, Sad คือแสดงความเสียใจ ต่อการสูญเสีย, Angry คือไม่พอใจการให้บริการ

ภาพจาก Unsplash

7. ช่วงเวลาในการโพสต์คอนเทนต์ของแบรนด์ในทุกแพลตฟอร์ม คือ วันจันทร์-ศุกร์ โพสต์ตามเวลาทำการ (Working Hours) โดยเฉพาะก่อนเวลาพักเที่ยง และก่อนเลิกงาน ส่วนเสาร์-อาทิตย์จะเน้นโพสต์ช่วงครึ่งเช้า

8. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram มากที่สุดคือ Department Store แต่เอ็นเกจเมนต์ที่สูงที่สุดอยู่ในกลุ่มธุรกิจ Cosmetics & Skincare

9. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม X มากที่สุดคือ Bank แต่เอ็นเกจเมนต์ที่สูงที่สุดไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจ Marketplace & E-Commerce Platform

10. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม YouTube มากที่สุดคือ Hospital, Mobile & Consumer Electronics และ Bank ตามลำดับ

11. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม TikTok มากที่สุดคือ Shopping Center & Department Store, Cosmetics และ Skincare ตามลำดับ

ภาพจาก Shutterstock

12. กลุ่มธุรกิจที่เน้นโปรโมตโดยใช้ศิลปิน คือ กลุ่มธุรกิจ Marketplace & E-Commerce Platform โดยจะใช้แพลตฟอร์ม X และ Instagram ควบคู่กัน

13. แพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้ถัดจาก Facebook จะเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในธุรกิจนั้น เช่น Skincare จะใช้ TikTok ควบคู่กับ Facebook ในขณะที่ Hospitality & Travel Agency และ Restaurant จะใช้ Instagram ควบคู่กับ Facebook ไปด้วย

14. กลุ่มธุรกิจที่ได้รับยอดเข้าชมรวม (View) สูงสุดบน TikTok 5 อันดับ คือ 1. Skincare, 2. Marketplace & E-Commerce Platform, 3. Beverage, 4. Cosmetics และ 5. Food & Snacks

15. กลุ่มธุรกิจที่ได้รับยอดเข้าชมรวม (View) สูงสุดบน YouTube 5 อันดับ คือ 1. Beverage, 2. Marketplace & E-Commerce Platform, 3. Personal Care & Skin Care, 4. Mobile & Consumer Electronics และ 5. Food & Snacks โดยกิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การโปรโมทคลิปโฆษณาที่มีความยาว 15-30 วินาที

]]>
1455076
เปิดสูตรความปังฉบับ ‘เบอร์เกอร์คิง’ กับความปั่นที่สร้างทั้ง ‘ตำนาน’ และ ‘ยอดขาย’ https://positioningmag.com/1444439 Fri, 15 Sep 2023 14:40:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444439 กลายเป็นตัวตึงบนโลกโซเชียลฯ ไปแล้วสำหรับ เบอร์เกอร์คิง (Burger King) ไม่ว่าจะเป็น เบอร์เกอร์ชีสล้วน 20 ชั้น, ไก่ทอดหาดใหญ่ รวมถึง โพสต์ปั่น ๆ ทันกระแส ซึ่ง 2 ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการตลาดของแบรนด์ก็คือ ชนินทร์ นาคะรัตนากร Digital Market และ เจริญชัย บำรุงวงศ์ทอง Marketing Director บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยทั้งคู่ได้ออกมาเผยถึงเบื้องหลังแนวคิดการปั้นแบรนด์ให้โดดเด่นสุด ๆ บนโลกโซเชียลฯ

เปลี่ยนแบรนด์ให้มีความเป็นคน

จุดแรกเริ่มที่จะทำการสร้างตัวตนแบรนด์บนโซเชียลที่ ชนินทร์ แนะนำก็คือ แบรนด์ต้องมีความเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นแค่แบรนด์ เพราะต้องยอมรับก่อนว่าผู้บริโภคยุคนี้ไม่ได้อยากเห็นโพสต์โฆษณาจ๋า ๆ ที่เน้นขายของ แต่สิ่งที่เขาอยากเห็นคือ คอนเทนต์ที่เขาสามารถเอนเกจได้เหมือนกับโพสต์ของเพื่อน ดังนั้น บทบาทของเบอร์เกอร์คิงจึงมีความเป็นมนุษย์ โดยหยิบเอากระแสต่าง ๆ ในโลกโซเชียลมาเล่น เมื่อแบรนด์เป็นเหมือนเพื่อนคนหนึ่ง ลูกค้าก็จะมีอารมณ์ร่วมได้มากกว่า และเลือกที่จะสนทนาจะสื่อสาร

“เมื่อก่อน Facebook มันเหมือนแดชบอร์ด แบรนด์ก็โพสต์ขายของ ลูกค้าก็มาคอมเพลน แต่ไม่มีการพูดคุยกันแบบที่คนคุยกัน เราเลยเริ่มทำแคมเปญที่แบรนด์มาคุยกัน เราก็เห็นเทรนด์การตอบของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เริ่มมาคุยเล่นกับเรามากขึ้น เราก็ฟอลโล่ตามเทรนด์นั้น” ชนินทร์ อธิบาย 

ศึกษาเพื่อเข้าใจในความต่าง

การศึกษาอินไซต์ของลูกค้าหรือผู้ชม (Audience) ที่อยู่ในแฟนเพจว่าเป็นคนกลุ่มไหน ชอบคอนเทนต์แบบไหน มีความสนใจแบบไหน จะทำให้นักการตลาดเข้าใจว่า ควรสื่อสารกับเขาด้วยภาษาไหน เพราะการจะเป็นเพื่อนกับลูกค้า ต้องพูดภาษาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ลูกค้าสมัยนี้มีความ แยกย่อย (Fragment) บางคนชอบเล่นเกม, ชอบฟุตบอล หรือเพลง แบรนด์ก็ควรพยายามที่จะตอบโต้ให้ได้

“ที่แฟนเพจเรามีการตอบโต้เยอะเพราะเขามาคุยอะไรกับเรา เราก็ตอบได้ ลูกค้าก็จะรู้สึกเซอร์ไพรส์ ชวนคุยอะไรก็คุยได้ ตอบได้ เขาก็อยากกลับมาอยากชวนแอดมินคุย ซึ่งคาแรกเตอร์เราจะเหมือนกับ Audience ที่พบ คือ ตลก จิกกัด แต่ไม่หยาบคาย”

(ขวา) เจริญชัย บำรุงวงศ์ทอง Marketing Director, ชนินทร์ นาคะรัตนากร Digital Market (กลาง), ธนวรรธ ดำเนินทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (ซ้าย)

ใช้อินไซต์ผู้บริโภคนำทาง

หลังจากที่แบรนด์สามารสื่อสารกับลูกค้าได้ มีเอนเกจอย่างสม่ำเสมอ แบรนด์ก็จะสามารถ ฟังเสียง ลูกค้าได้ สามารถนำอินไซต์ความต้องการต่าง ๆ มาพัฒนาเป็น สินค้าและโปรโมชั่น ที่ตรงใจ ไม่ว่าจะเป็น เบอร์เกอร์ชีสล้วน 20 ชั้น ซึ่งเกิดจากอินไซต์ที่พบว่าผู้บริโภคไทยชอบทานชีส หรือ ไก่ทอดหาดใหญ่ ที่ลูกค้าบอกอยากให้มี หรือล่าสุดที่โพสต์ถามความเห็นลูกเพจว่า อยากจะเห็นเบอร์เกอร์อะไรกลับมาขายอีกครั้ง ก็ทำให้เบอร์เกอร์คิงนำเอาเมนู Black and Pink Burger ที่เคยเปิดจำหน่ายในปีก่อนกลับมาขายอีกครั้ง พร้อมปรับปรุงสูตรให้ดีขึ้นกว่าเดิม

“การที่เราสื่อสารกับเขาอย่างจริงใจ ผู้บริโภคก็จะฟีดแบกอินไซต์กลับมา ดังนั้น ก่อนจะทำเมนูใหม่ ๆ เราจะใช้ผู้บริโภคนำ จากนั้นก็มาคิดว่าเหมาะกับซีซันนอลนั้น ๆ หรือเปล่าแล้วก็นำมาปลั๊กอินกัน โดยเราก็ต้องทำงานร่วมกับ R&D หรืออย่างแคมเปญเบอร์เกอร์ชีสล้วนเราไม่ได้คาดหวังว่าลูกค้าจะทานได้ทุกคน แต่ตอบโจทย์คนที่อยากตามกระแสมากกว่า เจริญชัย บำรุงวงศ์ทอง กล่าว

ที่ผ่านมา เบอร์เกอร์คิงมีโปรดักส์ใหม่เกือบ 20 เมนูต่อปี โดยจะมีเมนูออกใหม่ทุกเดือนเพื่อดึงดูดผู้บริโภคใหม่ ๆ เพื่อให้มีสักเมนูที่เขาสามารถทานได้แม้ไม่ใช่เบอร์เกอร์ รวมถึงมีการจัดโปรโมชั่นควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้สามารถ ทดลองได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากเข้าเบอร์เกอร์คิงเพราะเจอเมนูที่ชอบหรืออยากลองเมนูใหม่ ๆ

เอนเกจเมนต์เพิ่ม 3,000%

จากทั้งการตลาด, สินค้าใหม่, โปรโมชั่น และโลเคชั่นที่ครอบคลุม ทำให้ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่โดดเด่นมาก ๆ ของเบอร์เกอร์คิง เพราะแบรนด์มีจำนวน ลูกค้าใหม่ เพิ่มขึ้นถึง +50% ยอดการ สมัครสมาชิก บนแพลตฟอร์มเบอร์เกอร์คิงก็พุ่ง 4 เท่า ขณะที่ยอด เอนเกจเมนต์ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ก็ทะยานถึง 3,000% และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ ยอดขาย ในเดือนกรกฎาคมที่มีแคมเปญเบอร์เกอร์ชีสล้วน 20 ชั้นก็ เป็น New High ตลอดการของบริษัท โดยคาดว่าจบปีนี้เบอร์เกอร์คิงจะเติบโตไม่ต่ำกว่า +20% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

“เมื่อแบรนด์มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ลูกค้าก็จะมองแบรนด์เป็นคนคนหนึ่ง เขาก็จะไม่มาคอมเพลนหรือคอมเมนต์อะไรที่รุนแรง กลับกันถ้าเขามองแบรนด์เป็นก็จะคอมเพลนโดยที่ไม่สนใจว่าแบรนด์จะรู้สึกอะไรไหม” ชนินทร์ ทิ้งท้าย

]]>
1444439
Meta ฆ่าไม่ตาย! ฟันรายได้ Q2 ทะลุ 3 หมื่นล้านโต 11% ผู้ใช้รวมกันกว่า 3.88 พันล้าน/เดือน https://positioningmag.com/1439201 Thu, 27 Jul 2023 04:43:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439201 ดูเหมือนขาลงของ Meta จะหมดไปแล้ว เพราะล่าสุด หุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นเกือบ 7% ในการซื้อขายระยะยาวในวันพุธหลังจากผลประกอบการดีกว่าที่คาดไว้ โดยกลับมาเติบโตได้ 2 หลัก ขณะที่จำนวนผู้ใช้งาน Facebook ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับรายได้ของ Meta ใน Q2/2023 อยู่ที่ 31,999 ล้านดอลลาร์ เติบโต 11% มีกำไรสุทธิ 7,788 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม รายได้ในส่วนของ Reality Labs ซึ่งเป็นส่วนของการพัฒนา Metaverse อยู่ที่ 276 ล้านดอลลาร์ ลดลง 39% ซึ่งอาจไม่น่าแปลกใจ เพราะที่ผ่านมาส่วนในการพัฒนาด้าน Metaverse นั้นขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

ด้านจำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของตระกูล Meta ทั้งหมด ได้แก่ Facebook, WhatsApp, Instagram, Messenger และ Threads มีผู้ใช้งานรวมกันกว่า 3.88 พันล้านคนต่อเดือน หรือ เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม Facebook มีผู้ใช้งานมากกว่า 3 พันล้านคนต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม Facebook ที่ดูจะเสื่อมความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น แต่ปัจจุบันแพลตฟอร์มนี้ก็ยังห่างไกลจากความตาย จากที่จำนวนผู้ใช้รายวันลดลงทุกไตรมาสนับตั้งแต่ Q4/2021 แต่ใน Q2/2023 จำนวนผู้ใช้ที่ใช้งานรายวันก็เติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 2.037 พันล้านคนต่อวัน เป็น 2.064 พันล้านคนต่อวัน

ที่น่าสนใจคือ การเติบโตดังกล่าวอาจถูกขับเคลื่อนโดย Reels ซึ่งเป็นฟีเจอร์วิดีโอสั้นเหมือนกับของ TikTok ที่ Meta พยายามผลักดันอย่างหนักทั่วทั้งในแพลตฟอร์ม Instagram และ Facebook โดย Mark Zuckerberg CEO ของ Meta เปิดเผยว่า Reels มีการใช้ถึง 2 แสนล้านครั้งต่อวัน

ด้านแพลตฟอร์มใหม่ถอดด้ามอย่าง Threads ก็มีผู้ใช้ถึง 100 ล้านคนภายใน 5 วัน และ ผู้ใช้ราว 10 ล้านคนเข้ามาใช้งานทุกวัน ซึ่ง Mark Zuckerberg มองว่าตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างน่าประทับใจ

ในส่วนของต้นทุนและค่าใช้จ่ายของ Meta ใน Q2/2023 ทั้งหมดอยู่ที่ 2.221 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนจำนวนพนักงานในปัจจุบันอยู่ที่ 71,469 คน ลดลง 14% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา หุ้นของ Meta เติบโตขึ้นกว่า 160%

TechCrunch/CNBC

]]>
1439201
เปิดลิสต์ตัวแทน ‘Twitter’ นอกจาก ‘Threads’ มีแอปฯ ไหนน่าใช้อีกบ้าง? https://positioningmag.com/1436868 Thu, 06 Jul 2023 08:25:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436868 เปิดให้โหลดเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ Threads แพลตฟอร์มใหม่จาก Meta ที่เรียกได้ว่ามาแทนที่ Twitter ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงนับตั้งแต่ที่ อีลอน มัสก์ เข้ามาเป็นเจ้าของ โดยเพียงแค่ 7 ชั่วโมงที่เปิดให้โหลด Threads ก็มียอดผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายไปแล้ว ว่าแต่ถ้าไม่อยากใช้ Threads แทน Twitter เราสามารถใช้งานแอปอะไรได้บ้าง

Bluesky

แพลตฟอร์มที่ถูกสร้างโดย Jack Dorsey อดีต CEO ของ Twitter ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มันจะคล้ายกับ Twitter โดยวิธีการใช้งานของเจ้า Bluesky นั้นก็มีความคล้าย Twitter อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าฟีดที่จะแสดงโพสต์ที่น่าสนใจ, การจำกัดตัวอักษรในการเขียนโพสต์สูงสุด 256 ตัวอักษร, มีปุ่มรีโพสต์ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะแตกต่างจาก Twitter ก็คือ ผู้ใช้ใหม่จะต้องมีคน เชิญ เท่านั้น (คล้าย ๆ กับ Clubhouse) ดังนั้น แพลตฟอร์ม Bluesky จึงยังไม่ได้มีการใช้งานที่แพร่หลายมากนักในปัจจุบัน

Mastodon

ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีมานานต้ังแต่ปี 2016 และที่น่าสนใจคือ Mastodon เป็นแพลตฟอร์มแบบ Decentralized ที่จะประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์อิสระมากมาย ซึ่งจุดนี้เองทำให้ผู้ใช้สามารสร้าง Mastodon (หรือที่เรียกว่าการสร้างเซิร์ฟเวอร์) ของตัวเอง สามารถสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ หรือปรับแต่งได้ตามใจชอบ 

นอกจากนี้ ในหน้าฟีดของ Mastodon แสดงตามบุคคลที่เราติดตามและ แสดงตามลำดับเวลาเท่านั้น เนื่องจากแพลตฟอร์มไม่มีอัลกอริทึมมาคอยจัดการว่าโพสต์ไหนควรขึ้นก่อน ขึ้นหลัง ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ ก็มีให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นการตอบกลับ, รีโพสต์ เป็นต้น และที่น่าจะถูกอกถูกใจผู้ใช้หลายคนก็คือ ไม่มีโฆษณา เพราะ Mastodon ถูกพัฒนาโดย องค์กรไม่แสวงหากำไร ดังนั้น จึงไม่มีการขายโฆษณา

Minds

จุดเด่นของ Minds ก็คือ เป็นแพลตฟอร์มที่ ไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชื่อจริง เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่หมายเลข IP Address ของผู้ใช้งาน แค่เพียงกรอกชื่อ รหัสผ่าน และอีเมล (รอเมลยืนยัน) ก็ใช้งานได้เลย ซึ่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ก็มีครบ อาทิ ปุ่ม Remind ที่เปรียบเสมือปุ่ม Retweet และที่สำคัญคือ ไม่มีการจำกัดเนื้อหาที่โพสต์ 

อย่างไรก็ตาม เพราะแพลตฟอร์มไม่เช็คข้อมูลส่วนตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น หลายคนเลยมีความกังวลด้าน ความปลอดภัย หรือการ แอบอ้าง เป็นบุคคลต่าง ๆ ได้

Hive Social

แพลตฟอร์มที่ก่อตั้งโดย วัยรุ่นอายุ 24 ปี นาม Raluca Pop ซึ่งหลังจากเปิดตัวก็มียอดดาวน์โหลดถึง 2 ล้านครั้ง โดยจุดเด่นของ Hive Social ที่ผู้พัฒนาต้องการเน้นก็คือ สุขภาพจิตของผู้ใช้ ดังนั้น เอไอของแพลตฟอร์มจะเน้นทำหน้าที่คัดกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม แถมยังไม่สนับสนุนข้อความที่สื่อถึงความเกลียดชังทุกรูปแบบอีกด้วย และที่สำคัญ ไม่มีโฆษณาคั่น

ในส่วนของการใช้งานจะ ไม่มีจำกัดจำนวนตัวอักษร ในการโพสต์ ส่วนเนื้อหาที่ขึ้นฟีดก็จะอิง ตามลำดับเวลา เหมือนกับ Mastodon แต่ที่น่าสนใจคือ สามารถเพิ่มเพลงลงในหน้าโปรไฟล์ได้อีกด้วย

CounterSocial 

แพลตฟอร์มที่ระบุเลยว่า ไม่มีโฆษณา ข่าวปลอม หรือการละเมิดใด ๆ บนแพลตฟอร์ม โดย CounterSocial เน้นนําเสนอข่าวสาร การสตรีมสด และความสามารถในการสร้างชุมชน ผู้ใช้กําหนดเนื้อหาบน CounterSocial นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างคอลัมน์บนอินเทอร์เฟซผู้ใช้เพื่อจัดเรียงโพสต์ตามหัวข้อ แฮชแท็ก และผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถแชร์ กดไลก์ และแสดงความคิดเห็นในโพสต์ได้ มีคุณสมบัติวิดีโอแชทด้วย

นี่เป็นแค่แพลตฟอร์มบางส่วนเท่านั้น เพราะจริง ๆ ยังมีอีกหลายแพลตฟอร์มที่การใช้งานคล้ายกับ Twitter เช่น Tumblr, Reddit ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในตลาดมานาน แต่ก็มีบางแพลตฟอร์มอย่าง Gettr แพลตฟอร์มที่สร้างโดยอดีตโฆษกของ Donald Trump ที่มีเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนกลุ่มอนุรักษนิยมอเมริกัน ดังนั้น แม้จะมีความคล้ายกับ Twitter แบบสุด ๆ แต่ก็มองว่าอาจจะไม่ได้เหมาะกับผู้ใช้ไทยนัก ว่าแต่ นอกจาก Threads แล้ว สนใจอยากลองใช้แพลตฟอร์มไหนกันอีกบ้าง

]]>
1436868
ท้าชิงบัลลังก์! Meta ซุ่มพัฒนาแอปฯ แข่งกับ Twitter โดยใช้ Instagram เป็นฐานส่งต่อผู้ใช้งาน https://positioningmag.com/1431106 Sat, 20 May 2023 09:23:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431106 Twitter จะมีอีกหนึ่งผู้ท้าชิงบัลลังก์ หลังจากมีข่าวหลุดออกมาว่า Meta กำลังพัฒนาทดสอบแอปพลิเคชันใหม่ เป็นโซเชียลมีเดียที่เน้นการส่งข้อความ (Text-Based) โดยเลือก Instagram เป็นฐานสร้างและส่งต่อผู้ใช้งาน

“ลีอา ฮาเบอร์แมน” วิทยากรการสอนด้านการตลาดโซเชียลและอินฟลูเอนเซอร์ ที่มหาวิทยาลัย UCLA ทวีตข้อความและรูปภาพบนบัญชี Twitter ของเธอว่า Meta กำลังพัฒนาแอปฯ ใหม่ขึ้นมา และหน้าตานั้นเหมือนกับ Twitter มาก

ภาพตัวอย่างแอปฯ ใหม่ที่ฮาเบอร์แมนได้มานั้นยังไม่ระบุชื่อแอปฯ แต่เป็นภาพการตลาดเพื่อสื่อสารกับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์/ครีเอเตอร์ว่า Instagram กำลังจะมีโซเชียลมีเดียใหม่ที่เน้นการส่งข้อความ (Text-Based) และเชิญชวนให้ครีเอเตอร์เปิดบัญชีกับแอปฯ ใหม่นี้ ซึ่งจะทำให้โต้ตอบข้อความกับกลุ่มเพื่อน แฟนคลับ และครีเอเตอร์คนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

ภาพหลุดหน้าตาแอปฯ ใหม่ของ Meta ที่จะมาแข่งกับ Twitter จากบัญชี @liahaberman

ทาง Meta อธิบายแอปฯ ใหม่นี้ว่าเป็น “Instagram for your thoughts” หรือเป็น Instagram สำหรับสื่อสาร ‘ความคิด’ ของคุณ

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข้อมูลที่สอดคล้องกับฮาเบอร์แมน โดยอ้างอิงแหล่งข่าววงในพบว่า แอปฯ ได้เปิดให้อินฟลูเอนเซอร์ คนดัง คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่ได้รับเลือกหลายคนทดสอบการใช้งานมานานหลายเดือนแล้ว

รายงานยังบอกด้วยว่า โซเชียลมีเดียใหม่นี้จะทำให้เชื่อมต่อกับ Instagram ได้โดยตรง ความหมายคือ ผู้ที่มีบัญชี Instagram อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสมัครใหม่ สามารถใช้ชื่อ username และ password เดิมได้เลย และแอปฯ จะดึงข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ จาก Instagram มาโดยอัตโนมัติ เช่น ข้อความแนะนำตัว (bio), บัญชีที่ถูกบล็อกไว้, คำที่ถูกบล็อกไว้

ฮาเบอร์แมนยังให้รายละเอียดด้วยว่า แอปฯ ใหม่ของ Meta จะอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งข้อความได้สูงสุดครั้งละ 500 ตัวอักษร ใส่ภาพในข้อความได้ และอัปโหลดวิดีโอได้ยาวสูงสุด 5 นาที

ถือว่าให้มากกว่า Twitter ในยุคอีลอน มัสก์ เพราะบัญชีที่ไม่ได้สมัคร Twitter Blue ไว้จะทวีตได้สูงสุดครั้งละ 280 ตัวอักษร และอัปโหลดวิดีโอได้ยาวสูงสุดไม่เกิน 2 นาที 20 วินาที

ที่ผ่านมามีแอปฯ จำนวนไม่น้อยที่พยายามจะดึงผู้ใช้ออกจาก Twitter หลังจากอีลอน มัสก์เข้าควบคุมกิจการแล้วเกิดกระแสความไม่พอใจ แต่ยังไม่มีแอปฯ ไหนที่สามารถดึงมวลชนให้มาใช้งานได้มากจริงๆ จนนับว่าเป็นคู่แข่งใหม่ของ Twitter

ในรายงานของสำนักข่าวต่างๆ คาดกันว่า Meta น่าจะประกาศการเปิดตัวแอปฯ ใหม่ดังกล่าวได้ภายในฤดูร้อนนี้ และเร็วที่สุดที่เป็นไปได้คือเปิดตัวเดือนมิถุนายนนี้เลย ต้องมาติดตามกันว่า ความพยายามแย่งตลาดของ Meta จะทำสำเร็จหรือไม่

Source

]]>
1431106