โลว์คอสต์แอร์ไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Jan 2021 08:19:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ไทยแอร์เอเชีย’ ให้พนักงานลาหยุดไม่รับเงินเดือน ต่อ 4 เดือน เร่งหาเงินกู้ใหม่พยุงธุรกิจ https://positioningmag.com/1314940 Tue, 19 Jan 2021 07:09:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314940 พิษโควิดกระทบหนัก สายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย” ให้พนักงานหยุด ‘โดยไม่รับเงินเดือน’ ต่ออีก 4 เดือน เหลือคนทำงานไว้ 25% พยุงองค์กร เดินหน้าหาแหล่งเงินกู้ใหม่อุ้มธุรกิจ ไม่รอซอฟต์โลนจากรัฐบาลแล้ว

บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชนแจ้งที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชนหรือ AAV ผู้ให้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย แจ้งว่า บอร์ดบริษัทมีมติให้ใช้มาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายองค์กรอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทำให้ความต้องการเดินทางลดลง โดยให้บริษัทฯ ขอความร่วมมือให้พนักงานเข้าร่วมโครงการหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave Without pay) เป็นระยะเวลา 4 เดือน คือตั้งแต่ ก.. – .. 2564

การดำเนินการดังกล่าว จะมีการแบ่งพนักงานเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มที่เข้าโครงการต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเดิมจะสิ้นสุดเดือนมีนาคมนี้ และให้ต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 และกลุ่มพนักงานที่ยังทำงานอยู่ในปัจจุบัน โดยให้หัวหน้างานคัดเลือกพนักงานให้หยุดงาน โดยไม่รับค่าจ้างเป็นระยะเวลา 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปเช่นกัน

หากบริษัทสามารถดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้ จะทำให้สายการบินมีจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานเหลือเพียง 25% ของทั้งบริษัท ซึ่งมาตรการขอความร่วมมือให้มีการหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้างนั้น เป็นมาตรการที่สายการบินต้องการที่จะรักษาพนักงานและองค์กรไว้ให้สามารถเดินต่อไปได้ในช่วงวิกฤต โดยไม่ต้องมีการปลดพนักงาน

ก่อนหน้านี้ ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น กล่าวกับรายการ กรุงเทพธุรกิจ BIZ Insight ว่า ขณะนี้ทั้ง 7 สายการบินที่ทำธุรกิจในไทย ได้หารือที่จะหา ‘แหล่งเงินกู้ใหม่’ เพื่อช่วยสภาพคล่องของธุรกิจหลังได้รับจากผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด

โดยจะไม่รอซอฟต์โลนจากรัฐบาลแล้ว เพราะแม้ว่าจะหารือกับระดับกระทรวงหลายรอบ และหารือกับนายกรัฐมนตรีอยู่หลายครั้ง แต่จนถึงขณะนี้สายการบินก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล

ดังนั้นสายการบินคงต้องช่วยตัวเอง หวังพึ่งรัฐไม่ได้ ซึ่งในส่วนของสายการบินแอร์เอเชียได้มีการหารือกับแหล่งเงินกู้ทั้งสถาบันในประเทศและต่างประเทศ โดยจะมีข่าวดีในเร็วๆ นี้ ถึงแหล่งเงินประมาณ 3-4 พันล้านบาท ที่จะเข้ามาเป็นกระแสเงินสดให้กับแอร์เอเชียไปจนถึงสิ้นปี 2564 นี้ พร้อมยืนยันว่า สายการบินไทยแอร์เอเชีย และจะอยู่คู่กับประเทศไทยไปอีกนาน

 

Source
Source

]]>
1314940
“นกสกู๊ต” ปรับโครงสร้างสู้วิกฤต COVID-19 ลดจำนวนเครื่องบิน – ปลดพนักงานบางส่วน https://positioningmag.com/1284976 Wed, 24 Jun 2020 09:27:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284976 สายการบินนกสกู๊ต” (NokScoot) ยืนยันดำเนินธุรกิจต่อ เเจงปรับโครงสร้างองค์กร ลดจำนวนเครื่องบิน 3 ลำ ปลดพนักงานลงบางส่วน พร้อมชดเชยเเละดูเเลตามกฎหมาย คาดพิษ COVID-19 กระทบการบินระหว่างประเทศไปอีก 2 ถึง 3 ปี

หลังจากกรณีมีกระเเสช่าวว่า “นกสกู๊ต” จะยุติกิจการนั้น ล่าสุดทางสายการบินชี้เเจงว่า จะมีดำเนินธุรกิจต่อไป ซึ่งจะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ลดจำนวนเครื่องบินและพนักงานบางส่วน โดยระบุว่า

ตามที่ได้มีการประเมินการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา สายการบินนกสกู๊ตได้ตัดสินใจดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจการบินอย่างหนัก ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีสัญญาณอันดี เกี่ยวกับการแพร่ระบาดและมีบางประเทศที่เริ่มผ่อนปรนการเดินทางแล้ว แต่การเดินทางระหว่างประเทศยังคงถูกจำกัดและอาจมีผลกระทบไปอีก 2 ถึง 3 ปี ทำให้การเดินทางไม่สามารถฟื้นตัวกลับไปเท่าปี 2562

“จากภาพรวมของตลาดอุตสาหกรรมการบินที่หดตัวลง สายการบินนกสกู๊ตจึงปรับลดจำนวนเครื่องบินจำนวน 3 ลำ ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งส่งผลให้ทางบริษัทจำเป็นต้องตัดสินใจลดจำนวนพนักงานด้วยเช่นกัน นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากและทางบริษัทเข้าใจดีถึงผลกระทบต่อพนักงาน โดยสายการบินนกสกู๊ตจะชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเหมาะสม”

อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการหางานใหม่ในช่วงเวลานี้ และจะพยายามช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุดเท่าที่สายการบินนกสกู๊ตสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม สายการบินนกสกู๊ตยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารและพนักงานทุกคนเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ หลังจากมีกระเเสข่าวนี้ออกมา ทำให้ราคาหุ้น NOK เมื่อเวลา 16.04 . (24 มิ..) ปรับลดลง 0.06 บาท หรือเปลี่ยนแปลง -5.31% มาอยู่ที่ 1.07 บาท

ธุรกิจสายการบินกำลังระส่ำทั่วโลก หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 บางบริษัทถึงขั้นล้มละลาย บางบริษัทตัดค่าใช้จ่ายและปรับลดพนักงาน รวมถึงชะลอการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ แม้ว่าตอนนี้บางสายการบินจะเริ่มกลับมาให้บริการแล้ว แต่ก็ไม่สามารถกลับมามีผู้โดยสารได้เท่าเดิมและยังคงเเบกรับต้นทุนสูง จึงทำให้ต้องระดมทุนหาเม็ดเงินเพิ่มเพื่อต่อลมหายใจธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางบมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.63 ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวาระพิเศษ ครั้งที่ 5/2563 มีมติรับทราบ การเลิกกิจการและชำระบัญชีของ บริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด

อ่านรายละเอียด : ยื้อไม่ไหว! “นกสกู๊ตประกาศเลิกกิจการแล้ว พร้อมชดเชยพนักงาน 425 คน

]]>
1284976
สงครามน่านฟ้า เวียตเจ็ท ส่งโปร 0 บาท 2 ล้านใบ สู้ศึกโลว์คอสต์ https://positioningmag.com/1169100 Tue, 08 May 2018 14:29:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169100 ไทยเวียตเจ็ท นับเป็นสายการบินโลว์คอสต์รายล่าสุดที่เข้ามาเปิดเส้นทางบินในไทยในปี 2559 ครั้งนั้นไทยเวียตเจ็ทส่งโปรโมชั่น ตั๋วเครื่องบินราคาเริ่มต้นศูนย์บาทมาใช้ จำนวน 1 ล้านที่นั่ง เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการทดลองบริการ

มาปีนี้ สายการบินเวียตเจ็ท และไทยเวียตเจ็ท ส่งโปรโมชั่น 0 บาทลงสู้ศึกรับช่วงซัมเมอร์ ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2561 ในราคาเริ่มต้น 0 บาท (ไม่รวมภาษีและค่าบริการ) เปิดให้จองในช่วง “ได้เวลาเวียตเจ็ท! 12.00 – 14.00 น. ระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤษภาคม 2561 ผ่านทางเว็บไซต์ www.vietjetair.com หรือจองผ่านเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/vietjetthailand

เส้นทางที่ใช้บัตรโดยสารราคาพิเศษนี้ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ เส้นทางจากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ กระบี่ ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย หรือ เชียงราย – ภูเก็ต และเส้นทางระหว่างประเทศจากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ โฮจิมินห์, ฮานอย, ไฮฟอง, ดาลัด, เชียงใหม่ – โฮจิมินห์ และ ภูเก็ต – โฮจิมินห์

นอกจากนี้เวียตเจ็ทยังให้บริการในเส้นทางภายในประเทศเวียดนามที่ครอบคลุมที่สุด และเส้นทางจากเวียดนามสู่เมืองต่างๆ ได้แก่ โซล ปูซาน แทกู (เกาหลีใต้), ฮ่องกง, เกาสง ไทเปไทจงไถหนัน (ไต้หวัน), สิงคโปร์, กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย), ย่างกุ้ง (เมียนมา), พนมเปญ เสียมราฐ (กัมพูชา) ใช้เดินทางระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2561 (ไม่รวมวันหยุดราชการ).

]]>
1169100
บางกอกแอร์เวย์ส ขอบินสูงเป็นโกลบอลแบรนด์ https://positioningmag.com/1158987 Mon, 26 Feb 2018 15:12:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158987 ปฏิเสธไม่ว่ายุคนี้ “คนไทย” เดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น และ “สายการบิน” เป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง (Destination) เพิ่มขึ้น ทำให้สายการบินต้นทุนต่ำ (Low-Cost Airlines) แบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุก ๆ ปี สายการบินเหล่านั้นใช้กลยุทธ์ “ราคา” ห้ำหั่นกันถี่ในหลากหลายเส้นทาง ส่งผลให้สายการบินที่วาง Positioning แบรนด์ในเซ็กเมนต์อื่นกระเทือนไม่น้อย ทั้งฐานลูกค้า รายได้ และกำไร

“บางกอกแอร์เวย์ส” วางภาพของแบรนด์เป็นสายการบินบูทีคแอร์ไลน์ บริการแบบครบวงจร (Full Service) โฟกัสเส้นทางการบินในเอเชียเป็นหลัก แต่ปี 2561 บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ ซึ่งทำธุรกิจครบ 50 ปี ขอพลิกภาพครั้งสำคัญประกาศ Kick off สร้างแบรนด์ครั้งแรก และมองไกลถึงการเป็นสายการบินระดับโลกหรือ “Global Brand”

ปัจจุบันสายการบินมีลูกค้าใช้บริการกว่า 5 ล้านคนต่อปี เป็นชาวต่างชาติ เช่น ยุโรป ออสเตรเลีย ราว 60% และรู้จักแบรนด์ เมื่อรวมกับแต้มต่อจากนักเดินทางทั่วโลกนับล้านคนเทใจให้แบรนด์จนได้รางวัล “World’s Best Regional Airline” จาก Skytrax เว็บไซต์ผู้บริโภคสาวกด้านการบิน ถือว่าปูทางสู่โลกไว้แล้ว

 “โจทย์การทำ Global Brand เพราะทุกปีเรารับน้องใหม่เรื่อย ๆ ทั้งแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียตเจ็ท แบรนด์เหล่านั้นมุ่งไปตลาดเดียวกันคือ Low-cost Airlines แต่เราก็ต้องเซ็กเมนต์ตัวเองให้ชัดเพื่อให้ทำการตลาด การโฆษณาโดยไม่ต้องหว่านเม็ดเงินทั่ว แต่ตรงเป้าหมายแค่ 30% ที่เหลือสูญเปล่า” พรต เสตสุวรรณ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการตลาด BA บอก

++ กีฬา-บันเทิง ปักหมุดแบรนด์บนเวทีโลก

เกมรุกสร้างแบรนด์จะใช้กลยุทธ์ Sport Marketing, Entertainment Marketing จับกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น ประเดิมมีนาคมนี้ ด้วยการเป็นพันธมิตร “สโมสรฟุตบอลดังในลีกยุโรป” ทำกิจกรรมตลาดร่วมกัน การเลือกฟุตบอลเพราะเป็นกีฬายอดนิยมอันดับ 1 ของโลก “ทีมดัง” จะช่วย Reach แบรนด์ เจาะฐานแฟนคลับทั่วโลก สร้างการรับรู้แบรนด์ “บางกอกแอร์เวยส์” ได้เร็วขึ้น

การสร้างแบรนด์ต้องเลือก Truly Global Partner ที่พาเราไปในตลาดโลกได้จริงๆ

แบรนด์ยังเป็นสปอนเซอร์ Local Content การแข่งขันชกมวย THAI FIGHT KING OF MUAY THAI เพราะรายการกีฬาดังกล่าวถูกถ่ายทอดผ่านช่องกีฬาของ Fox และ ESPN ซึ่งมีคนดูหลัก “พันล้านคน” ถือเป็นการซึมซับสร้างการรับรู้ไปทีละสเต็ป

ขณะที่ Entertainment Marketing บางกอกแอร์เวย์สจะผนึก “ผู้สร้างภาพยนตร์ระดับโลก เหตุผลหลัก ๆ เพราะมองโอกาสสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านคอหนังดังระดับบล็อกบัสเตอร์ ฟอร์มดี ๆ มีแฟน ๆ ดูเป็นพันล้านคน แต่จุดแข็งของผู้สร้างหนังไม่ได้มีแค่ฐานคนดู เพราะมีเครือข่ายรายการกีฬาที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายสายสปอร์ตด้วย 

ส่วนการวัดผลสำเร็จ ใน 3 ปีแรก จะต้องเห็นผู้บริโภคในประเทศเป้าหมายสำคัญของโลกรู้จักแบรนด์บางกอกแอร์เวย์ส จากปัจจุบันเยอรมัน อังกฤษ Destination เหล่านี้รับรู้แบรนด์ค่อนข้างดี

++โจทย์ในประเทศสร้างแบรนด์เจาะคนรุ่นใหม่

ส่วนการสร้างแบรนด์ในประเทศจะใช้ Music Marketing ดึงศิลปินดังมาแต่งเพลงและมี TVC ให้ผู้โดยสารเล่าประสบการณ์การเดินทางสายการบิน เพื่อสร้าง Engagement กับผู้บริโภค ด้านการทำตลาดยังคงโฟกัสคนรุ่นใหม่ ผ่านแคมเปญ U Fare y Bangkok Airways บัตรโดยสารราคาพิเศษจูงใจนักศึกษา เพราะกลุ่มนี้คือ “ฐานลูกค้าในอนาคต” จึงรีบสร้างประสบการณ์เดินทางให้เกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย

++ลงทุน 2,000 ล้าน รุกธุรกิจไม่ใช่สายการบิน

ปีนี้ BA ยังโฟกัสขยายธุรกิจที่ไม่ใช่สายการบิน (Non-Aero) มากขึ้น เพราะสามารถสร้างผลตอบแทน (Yield) ให้บริษัท “สูงกว่า” ธุรกิจสายการบิน

โดยบริษัทเตรียมงบลงทุน 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1,000 ล้านบาท สร้างโรงซ่อมเครื่องบินสุโขทัย รองรับการตรวจซ่อมเครื่องบินที่ขยายตัวดี รับธุรกิจการบินในเอเชียการเติบโต ส่วนอีก 1,000 ล้านบาท ปรับปรุงสนามบินสมุย เปิดครัวการบินกรุงเทพ สาขาสนามบินเชียงใหม่ เพื่อเปิดให้บริการปี 2562

การแข่งขันของสายการบินมีสูง ต้นทุนขยับขึ้นตลอด ในอนาคตการทำรายได้ให้อยู่ระดับสูงเป็นเรื่องยาก และถ้าทำให้ธุรกิจสายการบินมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ถือเป็นซูเปอร์แมน การขยาย Non-Aero จึงเป็นโจทย์หนึ่งในการหารายได้ เพราะทุกตัวทำกำไรเป็นกอบเป็นกำไร ให้ผลตอบแทนดีกว่าบริษัทแม่ เพราะมีการเติบโต 10-15%” พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BA บอก

ปี 2559 ผลประกอบการของ BA มีรายได้ประมาณ 27,451 ล้านบาท มาจากธุรกิจหลักสายการบินสัดส่วน 77.4% ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2558 อยู่ที่ 78% และปี 2557 อยู่ที่ 80.7% สวนทางกับ Non-Aero เช่น ปี 2559 ธุรกิจบริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส (BSF Ground) มีสัดส่วนรายได้ 7.2% เพิ่มจากปี 2558 อยู่ที่ 6.8% 

ส่วนธุรกิจหลักอย่างสายการบิน มีการเปิดเส้นทางใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เชียงใหม่ -ฮานอย (เวียดนาม), ภูเก็ต-ย่างกุ้ง (เมียนมา), กรุงเทพ-เวียงจันทน์ (ลาว) เพิ่มเป็น 14 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จาก 1 เที่ยวบิน และกรุงเทพ-มัณฑะเลย์ (เมียนมา) เพิ่มเป็น 11 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จากวันละ 1 เที่ยวบิน 

รวมถึงเพิ่มเครือข่ายพันธมิตรการบินผ่านการทำข้อตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) ในปีนี้อีก 4-6 สายการบิน ปัจจุบันบริษัทมีข้อตกลงบินร่วม 24 สายการบิน  

จากแผนธุรกิจดังกล่าว BA ตั้งเป้ารายได้ในปี 2561 เติบโต 10% มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 7% และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย (Cabin Factor) แตะ 70% จากปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 28,493.3 ล้านบาท เติบโต 6.5% มีกำไรสุทธิ 846.4 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,768.41 ล้านบาท ส่วนอัตราผู้โดยสารอยู่ที่ 5.944 ล้านคน เติบโต 5%

โดยกำไรที่ลดลง มาจากการปรับภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ทำให้ต้นทุนภาษีพลังงานที่เคยอยู่ระดับจาก 20 สตางค์ เพิ่มเป็น 5 บาทต่อลิตร.

]]>
1158987