AirAsia ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำรายใหญ่ที่สุดของอาเซียน จ่อปลดพนักงานกว่า 30% พร้อมมีกระเเสข่าวว่า Tony Fernandes ผู้ก่อตั้งเตรียมจะขายหุ้นในสัดส่วน 10% เพื่อระดมเงินสด โดยมี SK Corp กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้สนใจจะเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้
nikkei asian review รายงานว่า บริษัท แอร์เอเชีย กรุ๊ป (AirAsia) ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งให้บริการการบินในหลายประเทศอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ เตรียมปลดพนักงานกว่าถึง 30%
ในส่วนนี้จะมีการลดจำนวนกัปตัน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินลงราว 60% ที่ทำงานในสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชีย เอ็กซ์
รายงานข่าวระบุว่า จะมีการปรับลดเงินเดือนพนักงานที่เหลืออยู่ลงระหว่าง 15-75% โดยพนักงานเกือบ 20,000 คนของบริษัท จะได้รับการประเมินเป็นรายบุคคลอีกครั้ง ตามระดับเงินเดือนและผลการปฏิบัติงาน ซึ่งคาดว่าการเลิกจ้างครั้งนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นเดือนก.ค.
“งบประมาณในเเต่ละแผนกจะลดลง และคาดว่าการปรับลดเงินเดือนจะมีต่อไปจนถึงสิ้นปีหน้า หวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในปี 2022” แหล่งข่าวกล่าว
Nikkei รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวหลายแห่งว่า Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งสายการบินที่ยังคงถือหุ้นใหญ่อาจจะมีเเผนขายหุ้น 10% เพื่อเพิ่มกระเเสเงินสด โดยมี SK Corp กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้เเละบริษัท ข้ามชาติหลายแห่งเเสดงความสนใจ
ด้าน Korea Herald สื่อของเกาหลีใต้รายงานว่า SK Group สนใจลงทุนใน AirAsia ด้วยวงเงินราว 78 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2,500 ล้านบาท) คิดเป็นหุ้น 10%
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับ Fernandes เปิดเผยกับว่า Nikkei ว่า กำลังมีการพิจารณาทางเลือกในการขายธุรกิจร่วมลงทุนสายการบินที่ไม่ทำกำไรในญี่ปุ่นและอินเดีย
ด้านรัฐบาลมาเลเซีย กำลังหาช่องทางให้เงินช่วยเหลือราว 350 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับสายการบินหลักในประเทศ 3 เเห่ง ได้แก่ AirAsia, Malaysia Airlines และ Malindo Airways ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19
โดยรัฐบาลมาเลเซียหวังว่า กองทุนจะช่วยให้สายการบินรอดพ้นจากวิกฤตการระบาดใหญ่ครั้งนี้ รวมถึงคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยของสายการบิน เช่น มาตรการเว้นระยะห่างทางสัมคมเเละการให้เช็กอินแบบไม่สัมผัส
ธุรกิจสายการบินกำลังระส่ำทั่วโลกหลังได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 บางบริษัทถึงขั้นล้มละลาย บางบริษัทตัดค่าใช้จ่ายและปรับลดพนักงาน รวมถึงชะลอการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่แม้ว่าตอนนี้บางสายการบินจะเริ่มกลับมาให้บริการแล้ว แต่ก็ไม่สามารถกลับมามีผู้โดยสารได้เท่าเดิมและยังคงเเบกรับต้นทุนสูง จึงทำให้ต้องระดมทุนหาเม็ดเงินเพิ่มเพื่อต่อลมหายใจธุรกิจ
- รัฐไม่อุ้ม Avianca สายการบินเเห่งชาติโคลอมเบีย เก่าแก่อันดับ 2 ของโลก ยื่น “ล้มละลาย
- การล้มละลาย Virgin Australia เป็นสัญญาณ “อันตรายขั้นวิกฤต” ของธุรกิจสายการบินทั่วโลก
ที่มา : nikkei asian review , Korea Herald